<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 
รัฐประหารซ้ำซาก (7): คอร์รับชั่นซ้ำซาก 'นักธุรกิจการเมืองไทย'

Link for 2007-02-02

  • เปิดโปงการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิผ่านงานวิจัย : ปิดบัญชี 'นักธุรกิจการเมืองไทย' ประชาไท: 2/2/2550

    งานวิจัยเรื่อง การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจในประเทศ โดย ธานี ชัยวัฒน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ศ.ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร ได้ศึกษารูปแบบค่าเช่า วิธีการแสวงหาและผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองไทยในช่วง พ.ศ.2544-2546 เนื่องจากเป็นการเข้าสู่การเมืองทางตรงของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และได้รับเสียงข้างมากจากการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยภายหลังการเข้าสู่การเมือง มูลค่าค่าเช่าของนักธุรกิจดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นถึงเกือบ 1 เท่าตัวจากหลากหลายปัจจัย โดยมีรากฐานค่าเช่าที่สำคัญคือ สัมปทาน ขณะที่การแสวงหาค่าเช่าที่เกิดขึ้นซึ่งมีทั้งการคงสภาพ สร้างขึ้นใหม่และถ่ายโอนค่าเช่า โดยผลลัพธ์ต่อสังคมที่เกิดขึ้นอาจส่งผลลบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว นอกจากนี้ความพยายามลดต้นทุนการแสวงหาค่าเช่าทำให้กลไกการกำกับดูแลและกลไกการให้ข้อมูลข่าวสารมีประสิทธิภาพน้อยลง และยังมีความพยายามรวมศูนย์อำนาจ ซึ่งการกระทำเหล่านี้อาจส่งผลลบต่อการพัฒนาทางการเมืองในระยะยาวด้วย

    งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า กรณีของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ.2544-2549 ซึ่งคณะรัฐมนตรีล้วนแล้วแต่เป็นนักธุรกิจหรือโยงกับครอบครัวธุรกิจ การหากำไรเกินควรที่พบเห็นมากที่สุดคือการทำธุรกิจผูกขาด (ทำให้เกิดการค้ากำไรเกินควร) หรือการพยายามเข้าถึงอำนาจอื่น ๆ โดยเฉพาะอำนาจรัฐ เพื่อทำให้ธุรกิจได้รับจากรัฐบาลซึ่งเงินอุดหนุน การได้รับสิทธิพิเศษ เช่น การยกเว้นภาษี การได้เข้าถึงทรัพยากรมีค่าแบบไม่ต้องลงทุน เช่น ใช้อำนาจการเป็น ส.ส. หรือการมีอิทธิพลแบบเจ้าพ่อท้องถิ่นครอบครองที่สาธารณะ เพื่อหารายได้แล้วเอาไปลงทุน ผู้ที่เข้าถึงอำนาจรัฐจึงมักได้เปรียบผู้ที่อยู่วงนอก การแสวงหาค่าเช่าดังกล่าวจะทำให้การทำงานของตลาดเบี่ยงเบนไปจากที่ควรจะเป็น เช่น การผูกขาดทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อของราคาแพง การใช้อำนาจรัฐเข้าครอบครองที่ดินสาธารณะส่งผลเสียกับประชาชนคนอื่น นั่นคือ การหากำไรเกินระดับปกติ การแสวงหาค่าเช่าของนักธุรกิจ ซึ่งจะเกิดขึ้นในบรรดานักการเมืองที่ทำธุรกิจด้วย จึงมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    การแสวงหาค่าเช่าจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากอย่างน้อยสองกลุ่ม คือ กลุ่มการเมืองซึ่งเข้าถึงอำนาจรัฐบาล และกลุ่มธุรกิจที่มีอำนาจทุนในระดับหนึ่งมารองรับ โดยแม้จะมีกลุ่มนักวิชาการหรือกลุ่มข้าราชการมาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย แต่การแสวงหาผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นมักจะมาจากสองกลุ่มนี้เป็นหลัก โดยการจัดสรรผลประโยชน์จากคอร์รัปชั่นและค่าเช่าที่เหมาะสมให้กับกลุ่มการเมืองและกลุ่มธุรกิจนั้น หากเป็นการคอร์รัปชั่นทางงบประมาณแนวโน้มจะเป็นของกลุ่มการเมืองและหากเป็นค่าเช่าแนวโน้มจะเป็นของกลุ่มธุรกิจ การจัดสรรผลประโยชน์จำเป็นต้องอยู่ในกระบวนการจัดองค์กรเพื่อการดำรงอยู่ขององค์กร โดยกลุ่มการเมืองจะทำหน้าที่รักษาฐานะคะแนนเสียงในการเลือกตั้งและกลุ่มธุรกิจจะทำหน้าที่เป็นฐานทางการเงิน

    การศึกษาแสดงให้เห็นระดับการคอร์รัปชั่นที่สูงของครอบครัวนายกรัฐมนตรี และกลุ่มธุรกิจสำคัญที่โยงกับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลทักษิณ ส่งผลให้เกิดภาวะที่เรียกว่า ระบบพรรคพวก (Cronyism) ทำให้นักธุรกิจที่อยู่นอกศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองถูกกีดกันออกไป อำนาจเหนือตลาดของนักธุรกิจวงในจึงส่งผลเสียกับนักธุรกิจวงนอก ก่อเป็นความขัดแย้งและน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของกระบวนการเข้าสู่ “ขาลง”ของทักษิณ ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2547 จนจบลงที่การยึดอำนาจโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอกประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549.


    <<<อ่านรายงานข่าวนี้ >>>



    Link for 2007-02-06
  • รายงาน สกว. : ก่อสร้างการเมือง-การเมืองก่อสร้าง สู่ ‘หายนะ’ สุวรรณภูมิ
  • ประชาไท | 6/2/2550

    สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
    `โครงการวิจัยเรื่อง ‘ก่อสร้างการเมือง-การเมืองก่อสร้าง’ ภายใต้โครงการวิจัยเมธีวิจัยอาวุโส สกว. โดย นายนพนันท์ วรรณเทพสกุล อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ

    "......
    จากการศึกษาเรื่อง ‘การเมืองก่อสร้าง ก่อสร้างการเมือง’ ภายใต้โครงการวิจัยเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ซึ่งศึกษาย้อนหลังไปถึงเส้นทางการเข้าสู่การเมืองของกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งมีมายาวนานและเห็นได้ชัดในช่วง ทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา กระทั่งวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ธุรกิจก่อสร้างปรับตัวเรื่อยมาจนถึงยุครัฐบาลทักษิณ การเข้าสู่เส้นสายทางการเมืองมีรูปธรรมอย่างชัดเจนและขยายสู่เครือญาติผู้รับเหมาเข้ามาสู่สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา ( ส.ว.) นักการเมืองหลายคนจากเดิมที่ไม่ค่อยมีชื่อเสียงก็กลายเป็นผู้ยิ่งใหญ่ของจังหวัด โดยที่รัฐบาลทักษิณมีข้อพิเศษคือ มีการรวมกลุ่มกันได้ระหว่างนักการเมืองที่เคยเป็นฝ่ายตรงข้าม หรือเป็นนักการเมืองต่างพรรค ย้ายรวมเข้ามาอยู่พรรคเดียวกัน จึงตกลงกันได้ แบ่งผลประโยชน์กันลงตัว เกิดการกินเงียบ แต่ผลประโยชน์ที่ตกแก่ประชาชนนั้นน้อยลง

    อ.นพนันท์ กล่าวว่า กลุ่มตระกูลที่เรียกว่า ‘นักธุรกิจก่อสร้าง’ ที่เข้ามาสู่การเมืองมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ พวกแรกเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างก่อนเข้าสู่การเมือง อีกพวกที่เป็นนักธุรกิจก่อสร้างโดยอ้อม โดยเรียนรู้ช่องทางนี้หลังเข้าสู่การเมืองหรือหาผลประโยชน์ตามน้ำ จากเดิมตัวเองไม่ได้มีธุรกิจก่อสร้างแต่พอเข้ามามีตำแหน่งก็เลยเข้าไปเกี่ยวพันกับเรื่องผลประโยชน์ในงานก่อสร้างของทางราชการ ซึ่งมีผลประโยชน์เยอะ ใช้วิธีให้ตัวแทนเป็นคนดำเนินการ หรือทำหน้าที่เป็นนายหน้า หักค่าหัวคิว คนกลุ่มนี้มีเยอะ และทำกันจนคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น แต่ความจริงเป็นเรื่องไม่ปกติมาก เพราะเมื่อเทียบกับก่อนวิกฤตไม่เป็นขนาดนี้ แต่หลังจากเจอผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจ เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมืองที่เอื้อให้เกิดผลประโยชน์ของธุรกิจก่อสร้างโดยอาศัยช่องทางการเมืองเป็นตัวนำ

    แม้ว่าบรรดานักการเมืองหลายตระกูลจะมีลักษณะการเอาเครือญาติเข้ามาเล่นการเมืองเพื่อหาผลประโยชน์แก่วงศ์ตระกูลในรูปแบบอื่นด้วย แต่การเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากงานก่อสร้างในวงราชการ มีมากเป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะงานก่อสร้างในวงราชการซึ่งเป็นแหล่งผลประโยชน์ขนาดใหญ่ และธุรกิจก่อสร้างได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายการประกอบกิจการของคนต่างด้าว ทำให้ทุนข้ามชาติไม่สามารถเข้ามาเกี่ยวข้องได้โดยตรง นักธุรกิจการเมืองในวงก่อสร้างจึงกลายเป็นทุนผูกขาดขนาดใหญ่
    ไม่เหมือนธุรกิจค้าปลีก หรืออุตสาหกรรมรถยนต์และอื่นๆ ที่ถูกทุนข้ามขาติเข้ามาเป็นเจ้าของไปเกือบหมด

    ..........................

    จากการสำรวจรายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีและเลขานุการรัฐมนตรีใน ครม.ทักษิณ 1 (พ.ศ.2544-2547) เพื่อดูว่ามีใครบ้างที่นามสกุลเดียวกันกับผู้เป็นเจ้าของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในปัจจุบัน โดยเทียบกับรายชื่อผู้รับเหมาก่อสร้างที่เป็นสมาชิกในสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย
    ปี พ.ศ.2544-2546 และผู้รับเหมาก่อสร้างที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโยธาธิการและผังเมือง ปี 2546
    พบรายชื่อที่น่าสนใจในแต่ละพรรคการเมืองนับรวมได้ 75 ตระกูล โดยแยกเป็นในส่วนพรรคไทยรักไทย 36 ตระกูล พรรคชาติไทย 13 ตระกูล พรรคชาติพัฒนา (ขณะนั้น) 6 ตระกูล พรรคความหวังใหม่ก่อนรวมกับไทยรักไทยมีอยู่ 5 ตระกูล พรรคเสรีธรรมก่อนรวมกับไทยรักไทย มี 3 ตระกูล พรรคประชาธิปัตย์ มี 13 ตระกูล และหลังจากปี 2543 เป็นต้นมา ทุนก่อสร้างหน้าใหม่ก็ขยับขยายเคลื่อนเข้าสู่สภาผู้แทนฯเรื่อยมา
    ดังปรากฎว่าในการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. นับจากนั้น มีคนในครอบครัวหรือเครือญาติเข้ามาสู่การเมืองมากขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับเหมาก่อสร้างกับการเมืองอีกลักษณะคือ การทำธุรกิจร่วมกัน เช่น
    กลุ่มสี่แสงการโยธาของตระกูลวงศ์สิโรจน์กุลซึ่งเคยทำธุรกิจร่วมกับตระกูลศิลปอาชา กลุ่มวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้างของตระกูลชวนะนันท์มีการร่วมลงทุนกับตระกูลลิปตพัลลภ กลุ่มวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้างมีธุรกิจร่วมกับตระกูลสะสมทรัพย์ เป็นต้น

    ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 เป็นต้นมา เมื่อพรรคไทยรักไทยได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล มีการรวมพรรคการเมืองอื่นๆ หลายพรรคเข้ามาเป็นพรรคเดียวกัน โครงการก่อสร้างที่เกิดขึ้นใหม่ช่วงปี พ.ศ.2544-2546 เห็นได้ชัดว่าตกอยู่ในมือกลุ่มทุนก่อสร้างบางกลุ่มเป็นพิเศษ เช่น ...........

    ......<<<รายงานข่าวนี้>>> ....."







    posted by a_somjai on 2007-02-02.



    Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2550
    Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2550 10:47:22 น. 0 comments
    Counter : 475 Pageviews.

    ชื่อ :
    Comment :
      *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
     

    a_somjai
    Location :
    เชียงใหม่ Thailand

    [Profile ทั้งหมด]

    ฝากข้อความหลังไมค์
    Rss Feed
    Smember
    ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




    Friends' blogs
    [Add a_somjai's blog to your web]
    Links
     

     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.