World of Health & Knowledge
Group Blog
 
All blogs
 
ทำไมต้องมีเภสัช....4

ห่างหายกันไปนานกับหัวข้อนี้ ครั้งนี้กลับมาพร้อมกับงานที่เหลือของเภสัชกรครับ

3. บริษัทยา
บริษัทยากำลังเป็น Hot issue ในหลายๆ ที่ บ้างก็ว่าบริษัทยาข้ามชาตินั้น ได้กำไรเกินควรไปเยอะ ส่วนบริษัทในประเทศก็มีแต่ข่าวไม่ค่อยน่าอภิรมย์เท่าไหร่

ลองมารู้จักกันหน่อยดีกว่าครับ ว่าในบริษัทยาเนี่ย เภสัชกรทำอะไรกันบ้าง ส่วนที่อยู่โรงงานที่เคยพูดไปแล้ว ก็จะไม่พูดซ้ำนะครับ

ฝ่ายการตลาด
ฝ่ายนี้ถือเป็นหัวใจขับเคลื่อนบริษัทยาทีเดียว ทำไมหรือครับ...

ถ้าขายไม่ได้ จะเป็นบริษัทไปทำไม (วะ)

แน่นอนครับ ถ้าขาดฝ่ายนี้ไป บริษัทไม่เกิด

แม้จะมีหน้าที่เยอะแยะมากมาย แต่ฝ่ายการตลาดก็คงเอามาเป็นหัวข้อการพูดได้ไม่มากนัก เพราะหน้าที่ของเภสัชกรในฝ่ายนี้ ไม่มีอะไรโดดเด่น ยกเว้นตำแหน่งผู้แทนยา...

ในฝ่ายการตลาดนั้น ก็จะมีระดับการบริหารตั้งแต่ Director, Business Unit Manager, Product Manager, District Manager, Supervisor, และ Medical Representative

ตำแหน่งอื่นๆ ยกเว้น Medical Representative ก็ไม่ต่างกับงานในธุรกิจต่างๆ ครับ

คงเข้าใจกันไม่ยาก

แต่สำหรับ Med. Rep. (ผมเคยแซวว่า เมิงจะไปข่มขืนหมอหรอ ดังนั้นขอเรียกว่าดีเทลจะสะดวกกว่านะครับ) นั้น ต่างออกไป

ดีเทลยาที่ทุกคนรู้จักกัน เงินเดือนไม่มากหรอกครับ แต่ค่า incentive นั้น หอมหวลยิ่งนัก ชวนให้เด็กใหม่ๆ หลงเข้ามาหาได้ตลอดเวลา

บางคน ถ้าได้จับยาดีๆ เงินเดือนๆ หนึ่งเฉียดแสนเลยนะครับ หรือมากกว่า

แต่ถ้าลำบากหน่อย ก็หลายหมื่นอยู่ดี...(ผมก็หลายครับ หลายร้อย)

ดีเทลยามีหน้าที่อะไร...

จริงๆ ก็ไม่ต่างจากเซลล์อื่นๆ หรอกครับ คือไปอธิบายสินค้า ไปคอยกระตุ้นเตือนคุณหมอทั้งหลาย ว่าอย่าลืมเรานะ ต้องคอยเข้าหา มีไอ้นู่นให้ไอ้นี่ให้ ต้องง้อลูกค้า ใครใช้ให้ไปรับลูก ก็ต้องไป

มีพี่คนหนึ่งเคยเล่าให้ฟังว่า โดนใช้ให้ไปรับลูกให้ แล้วแถมสั่งลูกไว้ว่า ถ้าคนนี้มารับ ไม่ต้องไปไหว้....

นี่แหละครับ อาชีพเซลล์ขายยา

อย่างที่บอก เซลล์ขายยาไม่ต่างกับเซลล์อื่นครับ ยกเว้นว่า แค่คุณจะต้องรู้ทุกอย่างในยาที่คุณขายและเกี่ยวข้องมันธรรมดาไป

คุณต้องตอบได้ถึงกลไกการออกฤทธิ์ของยาในระดับ Molecule (เริ่มยากแล้วสิเนี่ย)

เ่ช่นยาลดไขมัน คุณต้องตอบได้ มากกว่าจะตอบว่าลดไขมันด้วยกลไกใด

ถ้าถามว่าแล้วมีผลต่อ Free fatty acid ที่ถูกปล่อยจาก Adipose Cell ที่ Omentum Fat ไหม แล้ว ไปช่วย GLUT-2 ด้วยหรือเปล่า มีผลต่อ PPAR อย่างไร

ต้องตอบได้ ต้องไล่ได้หมด ไม่ได้ผลเป็นอย่างไรหรือครับ

หมอก็ไม่เชื่อถือ เภสัชด้วยกันเองก็ไม่เชื่อใจ

ยาอื่นไม่เท่าไหร่ ยามะเร็งนี่ สุดยอดถึงที่สุด ยากมากกกกกก

รวมทั้งอาชีพนี้ จัดเป็นความเสี่ยงครับ เพราะ Med Rep มันเสี่ยงจริงๆ โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงที่เพิ่งจบใหม่ๆ ใสๆ

ตั้งแต่ต้องขับรถไปๆ มาๆ ต้องเผชิญหน้าผู้ชาย....

เอ่อ..ไม่พูดตรงนี้ต่อดีกว่าครับ เดี๋ยวของขึ้น

เอาเป็นว่าอันตรายใช้ได้ และด้วยตัวงานแ้ล้ว นอกจากนี้แล้ว ค่าใช้จ่ายในการ Entertain ทั้งเงิน และเวลาส่วนตัวก็ต้องเสียไปเกือบหมด

ทำให้เภสัชกรหลายๆ คนปฏิเสธที่จะทำอาชีพนี้อยู่ดี แม้จะรายได้สูงกว่าทำที่อื่นไปมากก็ตาม

ฝ่ายวิชาการ
ผมเรียกรวมงานของเภสัชกรในฝ่ายนี้ซึ่งจริงๆ มีหลากหลายครับ งานของฝ่ายวิชาการแบ่งออกเป็นสองทางหลักๆ คืองานบริการข้อมูล (Drug Information Service, Medical Information Service) และงานวิจัยยา (Clinical Research Associater)

งานบริการข้อมูลยา
ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่า DIS งาน DIS นี้ จริงๆ เราจะพบได้ทั้งที่บริษัทยาและโรงพยาบาล เพราะงานหลักของเภสัชกรอย่างหนึ่งคืองานบริการข้อมูล ไม่ว่าคุณจะอยู่ตรงไหนก็ตาม อย่างที่ผมเคยพูดไปแล้วในหัวข้อ ทำไมต้องมีเภสัช....2 ซึ่งงานในบริษัทยานั้น จะมีส่วนต่างกับงานของโรงพยาบาลเล็กน้อย เพราะเวลาโรงพยาบาลไม่มีข้อมูลยา รพ. ก็จะถามมาที่บ. ยา แต่ถ้าบ. ยาไม่มีข้อมูลยา จะไปถามใครหละครับ

ดังนั้นหน้าที่ของ DIS ในบริษัทยา จึงเน้นไปที่การเก็บรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับยาทั้งหมด โดยที่มีแหล่งกำเนิดมาจากต่างประเทศเป็นส่วนมาก แต่การได้มานั้น ต่างกับ DIS อื่นๆ ครับ เพราะว่า ที่บริษัทยานั้น ทำเพื่อการพาณิชย์ การได้มาของเอกสาร จึงต้องซื้อครับ

ใครที่อยู่ในแวดวงวิชาการคงจะรู้กันดีนะครับ ซื้อบทความหนึ่งๆ จากต่างประเทศ ราคาปรกติก็ตั้งแต่ 15 USD ขึ้นไป ตามความเก่าใหม่ คิดง่ายๆ ก็บทความละ 500 บาทนั่นแหละครับ

และไม่ใช่แค่หนึ่งบทความที่ถูกนำมาเก็บไว้ที่บริษัทยา เพราะส่วนใหญ่แล้วก็หลายร้อยรายการต่อปีสำหรับบริษัทเล็กๆ คิดเป็นเงินคงหลายแสนบาทอยู่

ซึ่งตรงนี้ ก็เป็นต้นทุนของการขายแน่นอนครับ

นอกจากนี้แล้ว DIS ของบริษัทยา ยังต้องช่วยสนับสนุนด้านวิชาการแก่บุคลากรในบริษัทด้วย เช่นเตรียมเอกสารสำหรับยาตัวที่จะนำไปนำเสนอแก่แพทย์หรือโรงพยาบาล

รวมทั้งหาข้อมูลเวลาที่คุณหมอฝากดีเทลมาหาคำตอบอีกต่างหาก

แน่นอนครับ DIS เป็นงานที่สนุกเสมอ เชื่อผมสิ

บางที DIS ยังต้องเก็บข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยหลังวางตลาดด้วย เช่นติดตามอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ทั้งหลาย คอยรายงานส่งคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และส่งไปยังบริษัทแม่ที่ต่างประเทศ บริษัทไหนยาเยอะหน่อย ก็สนุกหละครับ

งานวิจัย
สำหรับงานวิจัย เป็นหนึ่งในงานที่มีคนทำในสายบริษัทยาค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่แล้วคนที่ทำมักจะจบในระดับปริญญาโท หรือมีประสบการณ์ทำงานในหน่วยวิจัยอื่นๆ เช่นโรงพยาบาล, สถานศึกษามาก่อน ดังนั้น คนที่จบป.ตรีทางเภสัชศาสตร์และไม่มีประสบการณ์นั้น ได้เข้าไปทำในส่วนนี้น้อยมาก

ที่พูดมาไม่มีอะไรหรอกครับ....เพื่อนสนิทผมได้เข้าไปทำ

งานในส่วนวิจัยส่วนใหญ่ก็ไม่มีอะไรเกินไปกว่ารับนแนวทางการทำงานวิจัยมาจากต่างประเทศ ยื่นให้คณะกรรมการจริยธรรมดู และติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามนั้น

แต่ก็ไม่เสมอไปครับ เพราะหลายๆ ครั้ง เราต้องดูแลตั้งแต่การกำหนดรูปแบบงานวิจัยเองจนจบเลย ขึ้นอยู่กับว่าเป็น Local Trial หรือ International Trial และนโยบายงานวิจัยของแต่ละบริษัท

งานไม่หนักครับ แต่ทำตลอด...คือไม่ต้องเร่งๆ เหมือนอยู่โรงพยาบาล แต่มีงานให้ทำทั้งวัน

ถึงเร่งไป เดี๋ยวมันก็มีอีก

จุดสำคัญของเภสัชกรที่อยู่ในฝ่าย CRA ก็คือ การที่เราจะควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่ต้องการไหม เก็บข้อมูลได้ครบไหม ตรงเวลาไหม ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพหรือเปล่า

เหมือนไม่ยากครับ แต่ต้องไปทำเองจะรู้




อื่นๆ ของงานในบริษัทยา ก็ไม่ต่างกับงานบริษัทอื่นๆ ครับ
แต่เภสัชกรจะแทรกไปได้ทุกที่

เช่นพี่ที่บ. ทาเคดา (ขอพาดพิงครับ) เป็นพี่เภสัชที่น่ารักคนนึง (ผู้ชายครับ ผู้ชาย ผมหมายถึงใจดี) ก็ไปเป็นหัวหน้าฝ่าย IT ซะเฉยๆ

และนอกจากนี้ ก็จะมีงานเหมือนกับโรงงานก็คือขึ้นทะเบียนยา (Registration Pharmacy)

ของบริษัทยา ผมไม่ค่อยถนัดนัก คงต้องพอแค่นี้ครับ

ต่อไปก็จะเป็นส่วนที่ผมถนัดที่สุดครับ งานร้านยา

ไม่ถนัดได้ไงหละครับ ก็อยู่ทุกวันนี่


Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2550
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2550 21:40:55 น. 11 comments
Counter : 3052 Pageviews.

 


อัพถี่จริงๆ พี่โผมมมมมมม


โดย: Due_n วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:20:08:15 น.  

 
ผมคนนึงครับที่ไม่ไฝ่ฝันการเป็น Medical Representative แต่ผมก็อยากเห็นแบบที่คุณเขียนไว้ว่าเมื่อไหร่ เงิน+สุขภาพ+วิชาการ มันจะสมดุลได้ประโยชน์ทุกฝ่ายครับ


โดย: weerapong_rx วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:1:25:39 น.  

 
สาธุครับ คุณ weerapong_rx

ผมภาวนาให้เป็นเช่นนั้นให้ได้ครับ

อ้อ...ไปอ่านบล็อกมาแล้วครับ สุดยอดดดด ^^


โดย: Epinephrine วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:10:39:27 น.  

 
หน้าที่ของดีเทลบางบริษัทคือ การเลี้ยงเหล้าหมอ และพาหมอไปลงอ่างอาบน้ำ ส่วนวิชาการนั้น ไม่ต้องพูดครับ หมอหลายคนรู้ดีกว่าดีเทลที่มาขายเสียอีก


โดย: Marquez วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:2:00:59 น.  

 
ทำ web ได้น่ารักมากเลย อ่านแล้วขอเป็นกำลังใจให้


โดย: Adrenaline IP: 203.150.117.236 วันที่: 29 มีนาคม 2550 เวลา:21:58:36 น.  

 
กว่าจะจบคงเหนื่อยน่าดูเลย

ตอนนี้กำลังเรียนอยู่ค่ะ กำลังขึ้นปี 3 แล้ว
อ่าน blog พี่แล้วดีมากเลยค่ะ

แล้วจะมาอ่านอีกนะคะ

^^


โดย: noum IP: 124.121.135.123 วันที่: 31 มีนาคม 2550 เวลา:3:57:06 น.  

 
เป็นตัวของตัวเองก็ดีแล้วครับ ดีซะอีก ไม่ต้องง้อใคร

ผมเห็น detail ยาต้องเดินตามหมอแล้ว ก็อดเซ็งแทนไม่ได้ครับ


โดย: Lueng IP: 160.39.243.87 วันที่: 15 เมษายน 2550 เวลา:14:24:32 น.  

 
เห็นด้วยกับยามะเร็งค่ะ เพิ่งเรียนไปในbiochem เมื่อ+กลไกการทำงานแอบงง แบบว่าอ่านแล้วอ่านอีกยังงงอะค่ะ ขนาดไม่ได้เรียนละเอียดถึงขั้นเจาะลึกนะเนี่ย


โดย: Pharmaranger IP: 202.28.181.10 วันที่: 13 พฤษภาคม 2550 เวลา:15:27:20 น.  

 
Hm, I cant agree with you in this particular case.


โดย: MattGar IP: 200.170.171.202 วันที่: 18 พฤษภาคม 2550 เวลา:3:57:15 น.  

 
เข้าใจมากขึ้นเยอะเลยค่ะ ขอบคุณนะคะที่นำสาระดีๆมาให้อ่าน


โดย: auroraza09 IP: 58.9.84.3 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2550 เวลา:20:31:43 น.  

 
เหมือนเราเคยรู้จักกันมาก่อนมั้ยครับ


โดย: pond112 IP: 61.19.21.3 วันที่: 21 มกราคม 2551 เวลา:15:59:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Epinephrine
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เมื่อไหร่ที่สุขภาพ วิชาการ และธุรกิจจะไปด้วยกันได้ดีซะที




Friends' blogs
[Add Epinephrine's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.