epilouge_gm@hotmail.com
Group Blog
 
All blogs
 
ภาษาญี่ปุ่นค่ะ ลองคลิกเข้ามาดูกันนะคะ เม้นด้วยก้อดีค่ะ

เรียนภาษาญี่ปุ่นแบบง่าย ๆ

บทที่ 1 รูป ... wa … desu
รูปแบบนี้ก็มีความหมายว่า ... คือ เป็นประโยคบอกเล่าค่ะ
รูปแบบประโยคพื้นฐานในภาษาญี่ปุ่นเป็นยังงี้ค่ะ
ประธาน --> กรรม --> กริยา
ไม่เหมือนของไทย
ถ้าจะแยกรูปประโยคข้างต้นออกมาก็เป็นยังงี้ค่ะ
wa
คำว่า wa นี่เป็นคำขยายประธานค่ะ เป็นการชี้ว่า ประธานของประโยคคืออะไร
ตำแหน่งของคำๆนี้จะอยู่ข้างหลังของประธานเสมอค่ะ

Desu
เป็นคำกริยา อยู่ท้ายสุดของประโยคเสมอค่ะ คำว่า desu หมายความว่า เป็น อยู่ คือ
เหมือน verb to be ในภาษาอังกฤษ

การนำไปใช้ก็เป็นยังงี้ค่ะ
แต่ก่อนอื่นมาทบทวนเรื่องคำศัพท์กันก่อนนะ
これ = kore = นี่
それ = sore = นั่น
あれ = are = โน้น
の = no = ของ (แสดงความเป็นเจ้าของ)
私 = わたし = watashi = ผม ฉัน
新しい = あたらしい = atarashii = ใหม่ (คุณศัพท์)
本 = ほん = hon = หนังสือ
もの = mono = ของ
かばん = kaban = กระเป๋า


สมมุติเราจะบอกว่า นี่คือหนังสือ ก็ยังงี้ค่ะ
これは本です。
Kore wa hon desu.
นี่ + wa + หนังสือ + คือ
= นี่คือหนังสือ
จากประโยคนี้จะเห็นว่า คำว่า kore (นี่) เป็นประธาน เพราะมี wa ตามท้ายนะค่ะ
Hon เป็นกรรมค่ะ

私はテントです。
Watashi wa tento desu.
ผม + wa + เต้นท์ + คือ
= ผมคือเต้นท์ , ผมชื่อเต้นท์

これは新しいの(もの)です。
Kore wa atarashii no (mono) desu.
นี่ + wa +ใหม่ + ของ (แสดงความเป็นเจ้าของ)+ (ของ) + คือ
= นี่คือของใหม่

それは私のかばんです。
Sore wa watashi no kaban desu.
นั่น + wa + ผม + ของ (แสดงความเป็นเจ้าของ) + กระเป๋า + คือ
= นั่นคือกระเป๋าของผม

• สำหรับคำว่า の no นี่อยากฝากเป็นพิเศษถึงเรื่องตำแหน่งในการวางค่ะ
คือ สมมุติว่าจะบอกว่า กระเป๋าของผม ในภาษาญี่ปุ่นบอกยังงี้ค่ะ
Watashi no kaban
ผม + ของ + กระเป๋า
ไม่ใช่
Kaban no watashi นะครับ อันนี้ผิดค่ะ
ในบางคำ เมื่อวางตำแหน่ง no สลับกันก็ยังมีความหมาย เช่น
Sensei no nihongo = ภาษาญี่ปุ่นของอาจารย์ เช่นเวลาจะบอกว่า อาจารย์เก่งภาษาญี่ปุ่นยังงี้น่ะค่ะ
กับ
Nihongo no sensei = อาจารย์สอนภาษาญี่ปุ่น
ยังงี้น่ะค่ะ
* nihongo = ภาษาญี่ปุ่น

คำกริยา
คำกิริยาที่ควรรู้
Imasu = มี (สิ่งมีชีวิต) มี (สิ่งของ) aru
Desu = เป็น , อยู่ , คือ คล้ายกับ Verb to be ในภาษาอังกฤษ แต่ จะอยู่ท้ายสุดของประโยคเสมอ
Wasuremasu = ลืม wasureru
Ikimasu = ไป iku
Tabemasu = กิน taberu
Mimasu = ดู , มอง miru
Hanashimasu = พูด hanasu
Iimasu = พูด , บอก iu
Aimasu = พบ au
Shimasu = ทำ suru
Benkyo shimasu = เรียน benkyo suru
Utaimasu = ร้องเพลง utau
Kaimasu = ซื้อ kau
Kaerimasu = กลับบ้าน kaeru
Kakimasu = เขียน kaku
Wakarimasu = เข้าใจ wakaru
Nomimasu = ดื่ม nomu
Machimasu = รอ matsu
Yomimasu = อ่าน yomu
Kikimasu = ฟัง kaku
Hatarakimasu = ทำงาน hataraku
Hajimarimasu = เริ่มต้น hajimaru
Owarimasu = เลิก owaru
Arukimasu = เดิน aruku
Kaburimasu = สวมหมวก kaburu
Nakimasu = ร้องไห้ naku
Naraimasu = เรียน narau
Tachimasu = ยืน tatsu
Shinimasu = ตาย shinu
Suwarimasu = นั่ง suwaru
Demasu = ออก deru
Oshierimasu = สอน oshieru
Okimasu = ตื่น okiru
Nemasu = นอน neru
Tomemasu = จอด tomeru
Oboemasu = จำ oboeru
Ai shimasu = รัก ai suru
Ryokou shimasu = เที่ยว ryokou suru


กิริยาที่ได้สอนไปบ้างแล้วนั้นอยู่ในรูปสุภาพนะค่ะ
–masu (ด้านซ้าย) ส่วนด้านขวาคือรูปธรรมดาค่ะ
ภาษาญี่ปุ่นนั้นก็มีทั้งรูปสุภาพและไม่สุภาพค่ะเหมือนบ้านเรานี่แหละแต่ของเขาจะใช้ยากกว่าเราค่ะ
ทำเอาสับสนได้ง่ายๆเลยล่ะค่ะ เช่น คำว่า tabemasu ที่แปลว่ากิน และ อยู่ในรูปสุภาพ จะเปลี่ยนเป็น
รูปธรรมดาคือคำว่า taberu ค่ะ เป็นการผันกิริยาชนิดหนึ่งในหลายชนิด ซึ่งการผันกิริยาบางชนิดยากมาก
ทำเอาเราสับสนเลยค่ะ เพราะมันขึ้นอยู่กับเวลา ผู้ฟัง ความรู้สึก การคาดคะเน ผู้ฟังรู้หรือไม่รู้ ความสะดวก
จะเห็นว่าญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการพูดมาก ทำให้คำๆเดียวผันได้เป็นสิบๆแบบ
สำหรับการทำคำกิริยาให้เป็นรูปปฏิเสธ ถ้ากิริยานั้นอยู่ในรูปสุภาพ ให้เปลี่ยน –masu เป็น –masen
ถ้าเป็นรูปธรรมดาให้เติม –anai หรือ –nai ไว้ท้ายกิริยานั้น
เช่น tabemasen หรือ tabenai
(กิริยากลุ่มที่2) -raremasu , (กิริยากลุ่มที่1) -aremasu ถ้าต่อท้ายคำกิริยา
จะแสดงว่าทำสิ่งนั้นได้ค่ะ แต่ก็มีอีกความหมายคือถูกกระทำค่ะ
อย่างเช่น taberu แปลว่ากิน taberaremasen จะแปลว่ากินไม่ได้ค่ะ
(กิริยากลุ่มที่2) -sasemasu , (กิริยากลุ่มที่1) -asemasu ถ้าต่อท้ายคำกิริยา
จะแสดงความอนุญาติให้ทำสิ่งนั้นได้ค่ะ

การแสดงความต้องการที่จะกระทำสิ่งนั้นๆ
ทำได้โดยเติม (กิริยากลุ่มที่ 2) -tai , (กิริยากลุ่มที่ 1) –itai ค่ะ
การแสดงออกว่าจะกระทำสิ่งนั้นๆ
ทำได้โดย (กิริยากลุ่มที่ 1) เปลี่ยนเสียง u เป็น oo (กิริยากลุ่มที่ 2 ) ตัด ru แล้วเติม yoo ค่ะ

การผันรูปกิริยาธรรมดาให้เป็นรูปสุภาพทำได้โดย

กิริยากลุ่มที่1
กิริยาธรรมดาจะลงท้ายด้วยเสียง “u” กริยาที่ลงท้ายด้วยเสียง “u” ในทุกกรณี ให้เปลี่ยนเสียง u เป็นเสียง iแล้วเติม masu เป็นรูปสุภาพ ในรูปปฏิเสธแบบสุภาพจะเป็น masen และแบบธรรมดาจะเป็น -anai

กิริยากลุ่มที่2
กริยาที่ลงท้ายด้วย “ru” เพียงตัวเดียว และหน้า “ru” ต้องเป็นเสียง “i” หรือ “e” เท่านั้น
ยกเว้น ikimasu ที่แปลว่า ไป ถือเป็นกริยากลุ่มหนึ่ง
การเปลี่ยนรูป ให้ตัด ru ออกก่อน แล้วจึงเติม masu ลงไป
ในรูปปฏิเสธแบบสุภาพจะเป็น masen และแบบธรรมดาจะเป็น -nai

กริยากลุ่มที่ 3
คือ กริยาที่ลงท้ายด้วย “suru” เท่านั้น ยกเว้น “kuru” = kimasu = มา ซึ่งอยู่ในกลุ่มสามนี้เอง
การเปลี่ยนจากรูปพจนานุกรมให้เป็นรูปสุภาพ โดย ตัด “suru” ออก แล้วเติม “shimasu” แทน


คงพอเข้าใจนะค่ะ ไปบทต่อไปกันเลย ในกลุ่มนี้เวลาผันจะเปลี่ยนรูปแบบคำว่า suru โดยทำเหมือนกิริยากลุ่มที่ 1 ค่ะ




คำเลียนเสียงธรรมชาติ
เนื่องจากเป็นคำที่คนญี่ปุ่นใช้กันมากในชีวิตประจำวัน เพราะจะช่วยประหยัดคำพูด ไม่ต้องอธิบายมากก็เข้าใจได้ จึงเป็นสิ่งที่คนที่คิดจะศึกษาภาษาญี่ปุ่นควรศึกษาไว้

Atsu atsu (あつあつ)
ใช้ในความหมายต่อไปนี้
1. กล่าวถึงสภาพที่ดูแล้วให้ความรู้สึกว่าร้อน เช่น
あつあつのコーヒーって、おいしいですね。
atsu atsu no koohiite oishii desu ne.
กาแฟที่ชงร้อนๆอร่อยนะคะ

2. ใช้กล่าวถึงชายหนุ่มและหญิงสาวที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
หรือ กล่าวถึงความรักที่มีต่อกันอย่างดูดดื่ม
あの二人はあつあつだ。
Ano futari wa atsu atsu da.
ทั้งสองคนรักกันอย่างดูดดื่ม

อะทซึ อะทซึ あつあつ Atsu atsu ความร้อน เป็นคำนามมาจาก คำคุณศัพท์ อะทซึอิ あつい atsui ร้อน
โดยที่จะใช้กล่าวถึงความร้อนของสิ่งของประเภทต่างๆ เช่น กาแฟ อาหาร และความเร่าร้อนแห่งความรักของมนุษย์ที่มีต่อกัน

Romanji
ก่อนจะเริ่มขอให้ทำความเข้าใจกับตัวอักษรที่ชื่อว่า Romanji ก่อนนะคะ เป็นภาษาญี่ปุ่น ที่ดัดแปลงมาจากภาษาอังกฤษครับ วิธีอ่านก็ง่ายๆค่ะ คือ
A = อะ
I = อิ
U = อึ,อุ
E = เอะ
O = โอะ
Ka = คะ
Ki = คิ
Ku = คึ,คุ
Ke = เคะ
Ko = โคะ

อ่านตามตัวเลยครับแต่มีบางตัวพิเศษคือ
วรรค y ที่นอกจากจะมีแค่ 3ตัวคือ ya yu yo แล้วยังใช้ผสมคำได้ด้วยเช่น
Kyo = เคียว きょう เวลาเขียนจะเขียนเป็นตัวเล็กคค่ะ
แล้วก็ตัว อึ้น ん ค่ะเป็นตัวสะกดเพียงตัวเดียวในภาษาญี่ปุ่นก็ว่าได้ค่ะว่าเวลาออกเสียง
จะออกได้ 3แบบค่ะคือ เป็น แม่กน , กม , กง ค่ะ แล้วแต่กรณี
ทดลองอ่านดูนะคะ
Kaze = คะเซะ
Kase = คะเสะ
Namae = นะมะเอะ
Enpitsu = เองพิทสึ





Create Date : 29 เมษายน 2550
Last Update : 29 เมษายน 2550 13:57:57 น. 12 comments
Counter : 4436 Pageviews.

 
ดีค่ะ เหมือนได้กลับไปเรียนอีกครั้ง เป็นกำลังใจให้คุณแพรว ทำต่อไปเรื่อยๆ นะคะ จะมาอ่านและทบทวนไปในตัวค่ะ อ่ะ สู้ๆๆ จ่ะ


โดย: shin chan IP: 41.204.46.168 วันที่: 29 เมษายน 2550 เวลา:17:24:26 น.  

 
โอย ยากจังค่ะ


โดย: mungkood IP: 222.123.1.189 วันที่: 29 เมษายน 2550 เวลา:19:18:38 น.  

 
ดีมากเลยค่ะน้อง...ทำให้นึกถึงตอนพี่เรียนที่มหาลัยเลย คริๆๆแบบว่าแก่แล้ว....

อืมแต่พี่อยากให้น้องเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นตรง กริยาด้วยอ่ะค่ะ เผื่อมีผู้สนใจเรียนจากบลอกของน้องค่ะ เอาใจช่วยค่ะ



โดย: เจี๊ยบจัง IP: 222.5.89.242 วันที่: 29 เมษายน 2550 เวลา:19:39:30 น.  

 
เรานี่แหละผู้สนใจอิอิ


โดย: Blitzer IP: 203.156.21.97 วันที่: 30 เมษายน 2550 เวลา:13:25:59 น.  

 
Uhmmmm..... sugoi!!!!!!
สรุปได้เข้าใจดีค่ะ ขอบคุณค่ะ


โดย: panad วันที่: 1 พฤษภาคม 2550 เวลา:17:35:05 น.  

 
แนะนำหนังสือ
ชุด ฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาญีปุ่น หนังสือ 4 เล่ม+ 14 VideoCD

รวม 4 สุดยอดสื่อการสอนภาษาญี่ปุ่น ที่จะทำให้คุณได้ความรู้ครบทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เป็นพื้นฐานที่ดี ในการเรียนภาษาญี่ปุ่นขั้นสูงต่อไป

สื่อการสอนชุด 'ชุด ฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาญีปุ่น' จัดทำขึ้นสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาภาษาญี่ปุ่น โดยเนื้อหาจะเริ่มศึกษาตั้งแต่ตัวอักษรพร้อมๆ กับการเรียนไวยากรณ์พื้นฐานที่ควรรู้ ถ้าหากผู้เรียนสามารถจดจำ และศึกษาอย่างเข้าใจ จะทำให้การเรียนภาษาญี่ปุ่นนั้นง่ายขึ้น ทั้งนี้ยังมีตัวอย่างบทสนทนากว่า 100 สถานการณ์ ซึ่งเป็นสำนวนที่นิยมใช้กับในชีวิตประจำวันให้ฝึกพูดไปพร้อมๆ กันกับอาจารย์เจ้าของภาษา จะทำให้ผู้เรียนสามารถสนทนาภาษาญี่ปุ่นได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญยังเป็นพื้นฐานที่ดี ในการเรียนภาษาญี่ปุ่นขั้นสูงต่อไป


>> ดูรายละเอียด



โดย: teecom วันที่: 7 พฤษภาคม 2550 เวลา:10:15:47 น.  

 
เม้นๆๆๆจร้า

สวยดีนะ ไหนบอกว่าเพิ่งหัดทำไง

สวยดีอ่า สดใส ไงก้อไปเยี่ยมไดเค้าบ่อยๆนะ

//diary.yenta4.com/diary.php?SaLoveAme

อิอิ บาย

TC


โดย: สาเองนะ 3/12 จ.เจริญ IP: 125.27.23.151 วันที่: 8 พฤษภาคม 2550 เวลา:18:05:39 น.  

 
อืมมมม ขอแก้นิดนึง ไม่ว่ากันนะคะ

これは新しいの(もの)です。
Kore wa atarashii no (mono) desu.
นี่ + wa +ใหม่ + ของ (แสดงความเป็นเจ้าของ)+ (ของ) + คือ
= นี่คือของใหม่

ประโยคนี้ no ไม่ได้แสดงความเป็นเจ้าของนะคะ

คำว่า mono เป็นคำนาม แปลว่า สิ่งของ หรือ ของ (อะไรก็ได้ ประมาณว่า thing)

คำว่า atarashii เป็นคำคุณศัพท์ เมื่ออยู่หน้าคำนามจะเป็นการขยายคำนามค่ะ เช่น

atashii mono = ของใหม่ สิ่งของใหม่

ส่วนประโยคที่ใช้

kore wa atarashii no desu.

no ในที่นี้ จะใช้แทนคำนาม ที่ผู้พูดและผู้ฟังเข้าใจกันว่าหมายถึงสิ่งใด

สมมูติว่า คนขายพูดกับลูกค้า แล้วชี้มือมือไปที่ สิ่งของ (ในที่นี่ทั้งสองคนต่างทราบแล้วว่า มันคืออะไร)

ดังนั้น ความหมายจึงหมายถึง นี่คือของใหม่ (อาจเป็นรถ หนังสือ โทรศัพท์ )

หรือ อีกตัวอย่างหนึ่ง ของการใช้ no

watashi ga umarata no wa tokyo desu.

no จะใช้แทนสถานที่ ประโยคนี้จึงหมายถึง สถานที่ๆฉันเกิดคือโตเกียว

แว๊บ หายตัวก่อนนะครับ


โดย: Inu (srikoson ) วันที่: 9 กรกฎาคม 2550 เวลา:19:21:30 น.  

 
เป็นประโยชน์มากเลยครับ :)


โดย: Bion@l_Fantasy_X วันที่: 9 สิงหาคม 2550 เวลา:15:45:22 น.  

 
ขอบคุณในความห่วงใย.....ที่มีเผื่อให้กัน

ขอบคุณมากคับ


โดย: godesa IP: 203.113.56.11 วันที่: 24 ตุลาคม 2550 เวลา:22:38:31 น.  

 
แอบเข้ามาอ่านค่ะ
ขอบคุณนะคะ อ่านแล้วได้ความรู้มากขึ้น
..Have a nice day.ค่ะ


โดย: ^_^อมยิ้ม^_^ IP: 1.46.86.158 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2553 เวลา:8:27:31 น.  

 
เป็น blog เกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่น และการแปลภาษาญี่ปุ่นที่ดีจริงๆครับ


โดย: คุณ โตน วันที่: 11 กรกฎาคม 2554 เวลา:11:11:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

epilouge
Location :
ชลบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add epilouge's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.