The world around us: My perspective
Group Blog
 
All Blogs
 
คิดอย่างไรกับการเรียนแบบ เกาะกลุ่มกันไปให้จบด้วยกันให้ได้

ความรู้สึกของคนเราเป็นสัมพัทธ์ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ จะรู้สึกมากหรือน้อยก็จะขึ้นอยู่กับความรู้สึกก่อนหน้า ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพึ่งกินของหวานมา พอมาดื่มโค้กจะรู้สึกว่ารสชาติจืด อ่าาา สงสัยไหมครับว่าทำไมอยู่ๆ ผมถึงเริ่มต้นแบบนี้ มาฟังเรื่องเล่ากันสักสองเรื่องนะครับ

1. ศิษย์เก่าของผมคนหนึ่ง เป็นคนที่ผ่านการเรียน ม.ต้น มาในลักษณะที่มีการช่วยเหลือกันและกันกับเพื่อนๆ มาตลอด พอมาอยู่มหาวิทยาลัยแล้วก็เลยหวังว่าจะเป็นแบบเดียวกัน แต่กลับเจอเพื่อนหลายคนโกรธที่บางครั้งเขาไม่ได้ก็อปชี้ตในคลาสให้

2. ตอนเรียนป.ตรี นั้น ผมแทบจะไม่ได้เข้าไปร่วมเรียนกับเพื่อนๆ นัก เพราะว่าไม่ได้เข้าเรียนบ่อย แต่ผมใช้วิธีอ่านหนังสือด้วยตัวเอง โดยจะอ่านก่อนสอบประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผมไม่เคยก็อปชี้ตให้ใคร (เพราะไม่มีเองอยู่แล้ว) ซึ่งเพื่อนๆ ก็ไม่ได้คิดอะไรเพราะคุ้นเคยกับผมที่เป็นแบบนี้อยู่แล้ว

จากการพูดคุยกับศิษย์เก่าคนนั้น ผมรู้เลยว่า เขาอาจจะเคยก็อปชี้ตให้เพื่อนๆ โดยที่พวกเพื่อนๆ ไม่ได้ร้องขอ ทำกันจนเป็นนิสัยมาตลอดจนกระทั่งเพื่อนๆ ชินว่าจะ "ต้องได้เสมอ" ... แต่ปรากฏว่าใน 10 ครั้งที่ก็อปชี้ตแจกกันนั้น เขาอาจแจกสัก 8 ครั้งแต่มีสัก 2 ครั้งที่เขาไม่ได้แจกให้เพื่อน และเขาก็โดนเพื่อนๆ ด่า ในขณะที่ตัวผมเอง ไม่เคยแจกอะไรใครสักครั้ง แต่เพื่อนๆ กลับไม่ว่าอะไร

ว่าแล้วก็ขอเล่าอีกเรื่อง เป็นเรื่องของศิษย์เก่าอีกคนที่ไปทำงานราชการนะครับ เขาพึ่งเข้างานใหม่เลยถูกรุ่นพี่โยนงานบางส่วนมาให้ช่วยทั้งๆ ที่ตัวเขาเองก็งานหนักอยู่แล้ว ถ้าแบ่งงานมาให้ช่วยบางส่วนก็คงพอคุยกันได้แต่นี่กลับเป็นงานโยนงานเข้ามาทั้งก้อน แถมเป็นงานในความรับผิดชอบตามตำแหน่งของรุ่นพี่เสียด้วย!!

สิ่งที่ผมให้คำแนะนำไปก็คือ ให้ทำงานที่เรารับผิดชอบให้ครบถ้วนสมบูรณ์เสียก่อน แล้วถึงค่อยช่วยงานคนอืื่น ถ้าเป็นงานเล็กน้อยก็ทำได้เลย แต่ถ้าเป็นงานใหญ่มาก ผมแนะไปว่า "อย่าทำ" ด้วยเหตุผลของความรู้สึกสัมพัทธ์อย่างที่ผมพูดไปในตอนแรกนั่นแหละครับ

บอกไว้ก่อนว่างานที่ได้มาก็คืองานพิมพ์เอกสารนั่นแหละครับ ซึ่งผมบอกไปว่าถ้าแค่หน้าสองหน้าก็คงช่วยๆ กันได้ แต่ถ้าเป็นสิบๆ หน้านี่มันเกินไป ผมยกตัวอย่างไปว่า ถ้าเราเคยช่วยเขา 50 หน้ามาตลอด ในขณะที่อีกคนเคยทำแค่ 10 หน้ามาตลอดเช่นกัน วันดีคืนดี เราเหนื่อยก็เลยทำน้อยลงมาเป็น 35 หน้าในขณะที่อีกคนแรงเยอะเป็นพิเศษเลยทำเพิ่มเป็น 25 หน้า ... ผลจะกลายเป็น เราจะโดนด่าหาว่าอู้ ในขณะที่อีกคนอาจโดนชมว่าวันนี้ขยัน อ่ะนะ

ที่พูดขึ้นมานี่ไม่ใช่สอนให้อู้งานนะครับ สิ่งที่ผมย้ำในการสอนก็คือ ต้องทำงานของตัวเองให้เสร็จ แต่การช่วยงานคนอื่นนั้นเป็นสิ่งละเอียดอ่อนเหลือเกิน การให้ที่มากเกินไปจะย้อนกลับมาทำร้ายตัวเองและยังเปิดโอกาสให้คนอื่นเอาเปรียบจากเราได้

สิ่งที่ผมมองว่าเป็นปัญหาและต่อต้านมาตลอดก็คือแนวความคิดต่างหากครับ 1. แนวความคิดที่ว่าเพื่อนต้องช่วยกันเรียนไปให้จบด้วยกัน 2. แนวความคิดที่ว่ารุ่นน้องต้องยอมรุ่นพี่ โดยแนวความคิดแรกนั้น คนรู้จักของผมคนหนึ่งก็ใช้แนวคิดนี้ให้เป็นประโยชน์โดยการเกาะเจ้าคนที่พูดว่า "เราจะจบไปด้วยกัน" จนเรียนจบโทไปได้ หรือศิษย์เก่าของผมอีกคนก็แทบจะต้องทำวิทยานิพนธ์คนเดียวเพื่อให้เพื่อนร่วมกลุ่มจบโทไปด้วยกัน

ส่วนในแนวคิดที่สองนั้น เราเห็นได้บ่อยในหนังสือพิมพ์ตอนที่มีการเลื่อนตำแหน่งของทหารหรือตำรวจครับ ผมเบื่อมากๆ กับคำว่า ได้เลื่อนตำแหน่งล้ำหน้ารุ่นพี่ แซงหน้ารุ่นพี่ไป ... อ้าวว ตกลงทหารตำรวจเขาไม่ได้เลื่อนยศตามความสามารถเหรอครับ นั่นหมายความว่าที่เป็น ผบ. ทั้งหลายได้นี่เป็นเพราะถึงคราวของรุ่นตัวเองจะได้งั้นเหรอครับ ... เฮ่ออออ

ผมไม่ได้ต่อต้านการช่วยเหลือกันและกันในตอนเรียนของนักเรียน นิสิตและนักศึกษา แต่ผมคัดค้านการทำให้มันเป็นประเพณีที่ทุกคนควรต้องทำ เพราะไอ้แนวคิดแบบนี้ถึงทำให้เกิดคนอู้การเรียนและคาดหวังให้เพื่อนลากถูลู่ถังกันไปด้วย มีอาจารย์คนหนึ่งเล่าให้ผมฟังว่า เพราะแนวคิดแบบนี้เอง ทำให้ลูกศิษย์ของเขาคนหนึ่งที่มีศักยภาพมากๆ กลับจบมหาวิทยาลัยไปโดยไม่ได้เก่งขึ้นจากเดิมเท่าไหร่เลยเนื่องจากต้องเสียเวลาไปคอยดึงเพื่อนๆ ร่วมชั้นให้จบไปด้วยกัน

ถ้ายังคงความคิดแบบนี้อยู่ สุดท้ายแล้ว เราก็จะได้คลาสที่มีจำนวนคนจบการศึกษาเยอะขึ้นแต่ความเก่งเฉลี่ยกลับต่ำลง คนที่มีศักยภาพกลับไม่ได้เก่งขึ้นนัก ส่วนคนเฉื่อยก็จะจบไปทำงานแบบเฉื่อยๆ ด้วยทัศนคติเดิมๆ ซึ่งรับรองว่าไม่ได้ช่วยประเทศชาติในด้านไหนเลย

ถึงเวลาที่จะปรับแนวความคิดกันแล้วล่ะครับ เลิกเรียนแบบฉุดกันไปฉุดกันมาเสียที เลิกก็อปเอกสารให้เพื่อนๆ กันเสียที (ก็อปให้ต่อเมื่อเพื่อนรู้ว่ามันคืออะไร ไม่ใช่ก็อปให้กันเองโดยเพื่อนๆ ยังไม่รู้เรื่อง) ขวนขวายหาข้อมูลกันเองได้แล้ว (ผมเบื่อมากๆ กับพวกทำอะไรเองไม่ได้ ต้องให้เพื่อนทำให้ทุกอย่าง ขนาดผมสั่งงานไปชัดๆ และสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรในเฟสบุ๊คด้วยซ้ำ แต่พวกเขากลับไปฟังจากเพื่อนว่าผมสั่งงานอะไร และทำมาให้ไม่ถูก เฮ้อออ)

เราต้องแยกให้ถูกนะครับ ว่าความแตกต่างของคำว่า "แบ่งปัน" กับคำว่า "จับป้อนให้" นั้นเป็นอย่างไร แล้วสังคมไทยจะมีนักศึกษาที่ช่วยเหลือตัวเองได้มากกว่านี้ และจะมีคนทำงานที่มีความรับผิดชอบมากกว่านี้แน่นอน

------------------------------------------------------------------------
ช่วงนี้ผมจะเขียนบทความทั้งเรื่อง E-Commerce เรื่องภาษาอังกฤษ และเรื่องอื่นๆ อีกที่อยากคุย ใส่ไว้ใน fan page ก่อนแล้วก็อปมาวางไว้ที่บล็อกครับ ดังนั้นถ้าใครสนใจ ก็สามารถตามไปที่ //www.facebook.com/dr.ekkasit ได้เลย

หรือแวะไปดูสัมมนาการตลาดออนไลน์ที่ผมทำกับสถาบันปัญญาธุรกิจของเครือเนชั่นได้ที่ //www.nation-education.com/enews/SocialBeauty-Jun8/Outline.pdf

หรือจะดูสัมมนาเรื่องภัยออนไลน์กับเด็กและผู้ปกครอง ที่ผมทำกับสถาบันปัญญาธุรกิจของเครือเนชั่นได้ที่ //www.nation-education.com/enews/Kids&Disaster-Jul13/Outline.pdf




Create Date : 01 มิถุนายน 2555
Last Update : 1 มิถุนายน 2555 11:15:20 น. 0 comments
Counter : 1202 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

MrET_TK
Location :
พิษณุโลก Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




วิศวกรคอมพิวเตอร์โดยปริญญา แต่ไปๆ มาๆ กลายเป็นอาจารย์ในที่สุด (แถมเป็นคณะวิทยาศาสตร์ด้วย ฮะๆๆ) ปัจจุบันเป็นวิทยากรด้านการตลาดออนไลน์ให้กับสถาบันในเครือกรุงเทพธุรกิจและเว็บ exitcorner รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านการตลาดออนไลน์ให้บริษัทเอกชน

ปัจจุบันผมเขียนบทความใน fan page เป็นประจำ (http://www.facebook.com/dr.ekkasit กับ http://www.facebook.com/InspireRanger)
Friends' blogs
[Add MrET_TK's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.