Group Blog
 
All blogs
 

วิธีควบคุมความคิดตามหลักพระพุทธศาสนา

พระพุทธเจ้าทรงสอนวิธีควบคุมความคิด ให้อยู่ในอำนาจใจไว้ว่า ถ้ามีสติรู้ว่ากำลังคิดในเรื่องไม่ควรคิด ซึ่งเมื่อกำลังพูดถึงการแก้โทสะ ก็หมายความได้ถึงเรื่องที่จะทำให้โทสะเกิด หรือเกิดอยู่แล้วแต่น้อยให้เพิ่มมากขึ้น เมื่อมีสติรู้ว่ากำลังคิดเช่นนั้น ให้เปลี่ยนเรื่องคิดเสีย เช่น กำลังคิดถึงเรื่องเกี่ยวกับนาย ก. กำลังเกิดโทสะเกี่ยวกับนาย ก. ก็ให้เปลี่ยนเป็นคิดถึงเรื่องเกี่ยวกับนาย ข. เสีย โทสะที่กำลังจะเกิดเกี่ยวกับนาย ก. ก็จะดับไป

แต่ถ้าเปลี่ยนเรื่องคิดเช่นนั้น ก็ยังคอยแต่จะย้อนกลับไปคิดเรื่องเก่าที่ก่อให้เกิดโทสะอยู่นั่นเอง ท่านให้พิจารณาโทษของความคิดเช่นนั้น คือ พิจารณาให้เห็นว่า การคิดเช่นนั้นทำให้จิตใจเร่าร้อน ไม่สบาย ไม่มีประโยชน์ ถ้าไม่คิดเช่นนั้นแล้วจะสบาย ตนเองได้ประโยชน์จากความสบายนั้น

แม้พิจารณาโทษของความคิดที่ไม่ดีนั้นแล้ว ก็ยังไม่อาจยับยั้งความคิดนั้นให้สงบลงได้ ท่านก็ให้ไม่ใส่ใจเรื่องนั้น คือ พยายามไม่สนใจเสียเลย พยายามลืมเสียเลย แต่ถ้าไม่สำเร็จอีก ลืมไม่ได้อีก คือยังใส่ใจอยู่อีก ท่านให้ใช้ความใคร่ครวญ พิจารณาหาเหตุผลว่าทำไมจึงคิดเช่นนั้น ขณะที่คิดหาเหตุผลอยู่นี้ ความโกรธจะลดระดับความรุนแรงลง

ท่านเปรียบเหมือนคนกำลังวิ่งเร็วก็จะเปลี่ยนวิ่งช้า กำลังวิ่งช้าก็จะเปลี่ยนเป็นเดิน กำลังเดินก็จะเปลี่ยนเป็นยืน กำลังยืนก็จะเปลี่ยนเป็นนั่ง และกำลังนั่งก็จะเปลี่ยนเป็นลงนอน ถ้าทำเช่นนั้นแล้วก็ยังไม่ได้ผล ความคิดเดิมยังไม่หยุด ท่านให้ใช้ฟันกัดฟันให้แน่น เอาลิ้นกดเพดานไว้ เช่นนี้ความคิดจะหยุด

เมื่อแก้ไขความคิดที่จะนำไปสู่ความมีโทสะได้สำเร็จ คือเลิกคิดในทางที่จะทำให้เกิดโทสะได้ ก็เท่ากับไม่เพิ่มเชื้อแก่ไฟโทสะ ไฟโทสะก็จะเย็นลงและหากบังคับความคิดเสมอๆ จนเคยชิน ให้ไม่คิดไปในทางที่จะทำให้เกิดโทสะ โทสะก็จะลดลง ทำให้ความร้อนในจิตใจเบาบางลง มีความเยือกเย็นเกิดขึ้นแทนที่นั้นแหละจะมีความสุข ทั้งตัวเองและทั้งผู้เกี่ยวข้องใกล้ชิดด้วยทั้งหลาย

ว่าน่าขำไหม คนที่ทำให้เราโกรธแค้นไม่รู้ตัวเลยว่าเขาทำให้เรารู้สึกแย่
ในหลายกรณีเขาไม่ได้ทำร้ายเรา เราต่างหากที่ทำร้ายตัวเอง
บางคนสามารถโกรธหัวใจเต้นแรงทุกครั้งที่นึกถึงประสบการณ์เลวร้ายบางเรื่อง ทั้งที่มันเกิดขึ้นนานมาแล้ว

นักฟิสิกส์-จิตแพทย์-นักเขียน ธอมัส แซส บอกว่า
"คนโง่ไม่ให้อภัยและลืม คนอ่อนโลกให้อภัยและลืมทั้งหมด คนฉลาดให้อภัยแต่ไม่ลืม"

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ท่านได้เมตตาอธิบายพุทธวิธีควบคุมความคิดว่า

1.วิธีเปลี่ยนความคิด ต้องตั้งใจคิดถึงเรื่องอื่นให้แรง เรื่องที่คิดอยู่เกิดอันเป็นเหตุให้เกิดโทสะจะดับได้เมื่อคิดเรื่องใหม่แรงพอ เมื่อเรื่องที่คิดดับ อารมณ์อันเกิดจากเรื่องที่คิดนั้นก็จะดับด้วย คือโทสะดับนั่นเอง วิธีดับโทสะด้วยการเปลี่ยนนิมิต หรือเปลี่ยนเรื่องได้ผลแน่ แต่ก็เป็นการได้ผลชั่วระยะ คือชั่วระยะที่ใจยังไม่คิดเรื่องที่จะให้เกิดโทสะ ถ้าใจคิดถึงเรื่องใดก็ตามที่จะนำให้เกิดโทสะ โทสะก็จะกลับเกิดได้อีกเพราะวิธีดับชนิดนี้ เป็นวิธีระงับมิใช่เป็นวิธีรักษาให้หายขาด

วิธีแก้กิเลสทุกประเภทรวมทั้งโทสะ ให้ลดน้อยถึงให้หายขาดไปได้นั้น พระพุทธองค์ทรงสอนให้ใช้เหตุผล คือใช้ปัญญา พิจารณาลงไปเป็นเรื่องๆ ว่าอะไรเป็นอะไร ทำไมจึงเกิดขึ้น ควรปล่อยให้เกิดอยู่ต่อไป หรือควรแก้ไขอย่างไร ควรปล่อยวางอย่างไร

ตัวอย่าง ในกรณีที่เป็นคนงานที่มีผู้ร่วมงานหลายคนต้องเกี่ยวข้องกันอยู่อย่างใกล้ชิด ย่อมเป็นธรรมดาที่จะต้องทำอะไรไม่ถูกใจกันบ้าง คนโทสะแรงจะหาความสุขได้ยากในที่ทำงานนั้น เพราะจะต้องเกิดโทโสอยู่เสมอ คนนั้นทำงานไม่ดีพอ คนนี้ทำได้ไม่ถูกใจ หรือไม่ก็คนนั้นมีความสามารถน้อยจนทำอะไรแล้วได้ผลออกมาเป็นการยั่วโทสะ รวมความแล้วก็คือ ไม่ว่าใครทำอะไรก็ต้องเกิดโทโสเป็นส่วนมาก

ที่จริงก็อาจเป็นจริงดังนั้น คือบางคนอาจจะทำงานได้ไม่ดีพอ หรือมีความสามารถไม่เพียงพอ แต่ก็อยู่ในตำแหน่งหน้าที่ที่จะต้องทำงานนั้น ผู้ใดจำเป็นต้องร่วมงานด้วย ก็ต้องร่วมงานไป และถ้าหากจะยอมเกิดโทโสเพราะผู้ร่วมงานอยู่เรื่อยๆ ก็เป็นการบกพร่องของตนเองมิใช่ของผู้ร่วมงานอื่น

เพื่อแก้โทสะที่เกิดในกรณีนี้ให้ลดลงหรือหมดไป ไม่ใช่ปล่อยให้ดับไปเป็นครั้งคราว ต้องใช้ปัญญาหาเหตุผล เช่นหาเหตุผลมาอธิบายให้ตัวเองเข้าใจและเห็นใจว่าทำไมเขาจึงเป็นเช่นนั้น ในกรณีดังตัวอย่างข้างต้นก็เช่น ให้คิดว่าคนเราเกิดมาไม่เสมอกัน สติปัญญาก็ไม่เท่ากัน ความคิดเห็นก็แตกต่างกัน เขาทำได้เช่นนั้นก็คงสุดความสามารถของเขาแล้ว เขาเห็นว่าดีแล้ว เขาไม่ได้แกล้ง เขาทำด้วยความตั้งใจดี ผลที่ไม่ถูกใจเรานั้นมิได้เกิดจากเจตนาของเขาเลยสักครั้งเดียว เราจะไปเกิดโทโสให้ร้อนแก่ตัวเอง ทั้งๆ ที่ไม่มีเหตุผลสมควรทำไม

ใจหนึ่งอาจจะแย้งว่า ก็มันยั่วโทโสที่ทำงานเช่นนั้น ใช้ไม่ได้เลย อาจจะแก้ว่า เกิดโทโสแล้วผลงานที่เขาทำดีขึ้นหรือถูกใจหรือ สบายใจขึ้นหรือ ถ้าเกิดโทโสแล้วผลงานของเขาเคยอย่างไรก็อย่างนั้นไม่ดีขึ้น ไม่ถูกใจขึ้น ยังร้อนใจเพราะอำนาจโทสะอีกด้วย เช่นนี้แล้วโทสะช่วยอะไรได้ ใจหนึ่งอาจจะเถียงอย่างดื้อดึงว่า ช่วยไม่ได้ก็ช่าง จะต้องโกรธ อยากทำอย่างนั้นให้ยั่วโทสะทำไม อาจจะตอบว่าเขาไม่ได้ตั้งใจจะยั่วโทสะ เขาอาจจะตั้งใจเอาใจเสียด้วยซ้ำ ทำไมเขาจึงจะมาตั้งใจทำงานซึ่งแสดงความสามารถของเขาให้เสียหายไป เขาทำได้เพียงเท่านั้นจริงๆ ให้หาเหตุผลโต้แย้งใจฝ่ายที่คอยจะเข้าข้างโทสะไปเรื่อยๆ ฝ่ายเข้าข้างโทสะแย้งอย่างไร ให้หาเหตุผลมาแก้อย่ายอมจำนน มีเหตุผลเพียงไร ให้ยกมาแสดงตอบโต้จนฝ่ายเข้าข้างโทสะพ่ายแพ้ นั่นแหละโทสะจะไม่กลับเกิดขึ้นในกรณีนี้อีก จะขาดหายไปได้จริงๆ อย่างแน่นอนเด็ดขาด
2.วิธีพิจารณาโทษของความคิด ให้เห็นว่าความคิดที่นำให้เกิดโทสะนั้นมีโทษอย่างไร? เมื่อพิจารณาจนเห็นโทษของความคิดเช่นนั้นชัดเจน ใจก็จะสลัดความคิดนั้นทิ้ง ท่านเปรียบเหมือนหนุ่มสาวที่กำลังรักสวยรักงาม ยินดีพอใจประดับตกแต่งร่างกายด้วยอาภรณ์อันงาม เมื่อซากอสุภเน่าเหม็นไปคล้องคออยู่ ก็ย่อมสลัดทิ้งเสียทันทีด้วยความรังเกียจ

อันที่จริงแม้จับพิจารณาก็ย่อมจะเห็นว่า ความคิดที่จะนำให้เกิดโทสะนั้นมีโทษมากมายต่างๆ กัน คิดไปคิดมาจนโกรธแล้วมีโทษอย่างไรบ้าง พิจารณาตรงนี้ทุกคนเคยคิดไปคิดมาจนโกรธมาแล้วด้วยกันทั้งนั้น และทุกคนก็คงเคยได้รับโทษเพราะการคิดไปคิดมาจนบันดาลโทสะหรือเกิดความโกรธมาด้วยกันแล้วมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่กรณี

3.วิธีไม่ใส่ใจ ไม่ให้นึกถึง ไม่ใส่ใจ ในความคิดหรืออารมณ์ อันจะเป็นเหตุให้เกิดโทสะ พูดง่ายๆ ก็คือ อย่านึกถึงเรื่องที่จะทำให้เกิดความโกรธ อย่าไปเอาใจใส่ในเรื่องที่จะทำให้เกิดความโกรธ นี้หมายรวมไปถึงอย่าไปสนใจในผู้ที่ทำหรือพูดเรื่องที่ทำให้ตนเกิดความโกรธ เมื่อไม่นึกถึงไม่ใส่ใจถึงผู้ใดหรือเรื่องใด ก็เหมือนไม่มีผู้นั้นหรือไม่มีเรื่องนั้นเกิดขึ้น โทสะหรือความโกรธก็ย่อมไม่เกิดในผู้ที่ไม่มีหรือในเรื่องที่ไม่มี ไม่มีผู้ก่อเรื่องให้โกรธ ไม่มีเรื่องให้โกรธ ก็เป็นธรรมดาที่จะไม่โกรธ ดังนั้น การทำใจให้เหมือนไม่มีผู้ก่อเรื่องหรือไม่มีเรื่องเกิดขึ้น จึงเป็นการทำใจไม่ให้เกิดโทสะหรือความโกรธนั่นเอง

แต่การจะไม่นึกถึง ไม่ใส่ใจ ในผู้ใด หรือในเรื่องใดอารมณ์ใด ที่เกิดขึ้นอย่างมีผลกระทบถึงจิตใจแล้ว ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะทำกันได้ง่ายๆ ต้องอาศัยการอบรมฝึกฝน ต้องอาศัยอำนาจจิตที่แรงพอ ต้องอาศัยความตั้งใจจริง และต้องอาศัยปัญญาประกอบด้วยสติ ต้องหัดไม่ใส่ใจในเรื่องหรือในบุคคลที่ไม่ควรใส่ใจไว้ให้เสมอ พยายามไม่ใส่ใจแม้ในเรื่องที่ก่อให้เกิดความหงุดหงิดเพียงเล็กน้อยไว้ให้เสมอ

4.วิธีใคร่ครวญหาเหตุผล

การใช้ความคิดใคร่ครวญพิจารณาเหตุผลว่า ทำไมจึงคิดเช่นนั้น อะไรทำให้คิดเช่นนั้นขณะที่ใจไปคิดหาเหตุผลเช่นนี้ ความคิดเดิมอันเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์กิเลสใดก็ตาม จะเป็นโลภะ โทสะ หรือโมหะก็ตาม จะลดความรุนแรงลงเมื่อความคิดนั้นลดความแรงลง ผลอันเกิดจากความคิดนั้นก็จะลดความแรงลงด้วย เช่น โลภ โกรธ หลง ที่กำลังเกิดจากความคิด จะลดระดับความแรงลงตามระดับความแรงของความคิดที่ลดลง การใคร่ครวญพิจารณาหาเหตุผลของความคิดในเรื่องหนึ่งเรื่องใด เช่น ในเรื่องที่ทำให้เกิดโทสะ ก็จะทำให้โทสะลดระดับความแรงลง ท่านเปรียบเหมือนคนกำลังวิ่งเร็วจะเปลี่ยนเป็นวิ่งช้า กำลังวิ่งช้าจะเปลี่ยนเป็นเดิน กำลังเดินก็จะเปลี่ยนเป็นหยุดยืน กำลังยืนจะเปลี่ยนเป็นนั่ง และกำลังนั่งจะเปลี่ยนเป็นลงนอน

ทั้งหมดเป็นวิธีควบคุมความคิดเท่าที่ตรัสไว้ในวิตกกสัณฐานสูตรครับ

แล้วเราควรต้องทำตัวทำใจอย่างไร เมื่อยังต้องเจอะเจอพบปะกับคู่กรณีนั้น?

พระพุทธเจ้าทรงสอนพระราหุลว่า คนทั้งหลายทิ้งของสะอาด ของสกปรก อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลาย น้ำหนอง เลือด ลงที่แผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดด้วยของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงทำใจเสมอด้วยแผ่นดิน ฉันนั้น เพราะเมื่อเธอทำใจเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันน่าพอใจและไม่พอใจที่เกิดขึ้นแล้วจักไม่ครอบงำจิตของเธอได้ (มหาราหุโลวาทสูตร ๑๓/๑๔๐)

แล้วเราก็ยังจะต้องแผ่เมตตา ให้กับคู่กรณีนั้น ๆ อีกหรือเปล่า?

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาตซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง คือ ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญเมตตาในบุคคลนั้น ๑ พึงเจริญกรุณาในบุคคลนั้น ๑ พึงเจริญอุเบกขาในบุคคลนั้น ๑ พึงถึงการไม่นึก ไม่ใฝ่ใจในบุคคลนั้น ๑ พึงนึกถึงความเป็นผู้มีกรรม เป็นของของตน ให้มั่นในบุคคลนั้นว่า ท่านผู้นี้เป็น ผู้มีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เขาจักทำกรรม ใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เขาจักเป็นทายาท (ผู้รับผล) ของกรรมนั้น ดังนี้ ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นด้วยประการฉะนี้ ฯ”

แผ่เมตตาควรทำทุกวัน แผ่เมตตาให้ตัวเองก่อน ใจของคนเราฝึกได้ ฝึกควบคุมความคิดก็ได้ ถ้าตั้งใจฝึกก็มีผลทุกครั้ง อย่างน้อยความฟุ้งซ่านในใจก็จะลดลง เห็นบันไดร้อยขั้นมันสูง ถ้าเดินไปทีละขั้นๆ ก็ถึงข้างบนได้ใช่ไหมครับ?




 

Create Date : 22 สิงหาคม 2551    
Last Update : 22 สิงหาคม 2551 14:37:58 น.
Counter : 684 Pageviews.  

เบญจศีลและเบญจธรรม

วันนี้เรื่องเบญจศีลและเบญจธรรม เป็นเรื่องที่สำคัญ ที่น่าศึกษาให้ละเอียด

คนไม่มีศีล ย่อมไม่อาจบำเพ็ญ สมาธิ-ปัญญา ให้ได้ผลเต็มที่ได้

นำมาฝากชาวห้องศาสนาครับ


สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสอานิสงส์ของศีล ๕ ว่า

ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของผู้มีศีล ๕ ประการนี้

ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้เป็นผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมได้ประสบกองแห่งโภคะใหญ่ มีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๑ แห่งศีลสมบัติของผู้มีศีล

ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก กิตติศัพท์อันงามของผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมฟุ้งไป นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๒ แห่งศีลสมบัติของผู้มีศีล

ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล จะเข้าไปสู่บริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คฤหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมเป็นผู้องอาจ ไม่เคอะเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๓ แห่งสมบัติของผู้มีศีล

ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ไม่หลงทำกาลกิริยานี้เป็นอานิสงส์ที่ ๔ แห่งศีลสมบัติของผู้มีศีล

ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์


เบญจศีล สิกขาบทที่ ๑


ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการฆ่าสัตว์มีชีวิต

การบัญญัติศีลข้อนี้ มุ่งให้มนุษย์ปลูกเมตตาจิตในสัตว์ทุกจำพวก หรือแม้ในมนุษย์ด้วยกัน เพราะเมตตาจิตนี้เป็นความดี มีทั่วไป ทั้งในมนุษย์และสัตว์เดียรัจฉาน

คำว่า “สัตว์” ในที่นี้หมายถึง สัตว์ที่มีชีวิตทุกชนิด ทั้งมนุษย์และสัตว์เดียรัจฉาน ที่ว่ามีชีวิตนั้น นับตั้งแต่สัตว์นั้นมีปราณหรือลมหายใจ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือในไข่ จนกระทั่งสิ้นลมหายใจ คือ ตาย

สัตว์ทุกชนิดย่อมมีสิทธิ์โดยชอบในการมีชีวิตของตนไปจนตาย ผู้ใดทำให้เขาเสียชีวิตด้วยเจตนา ศีลของผู้นั้นก็ขาด เมื่อเพ่งเจตนาจิตเป็นใหญ่ ในสิกขาบทข้อนี้มีข้อห้าม ๓ อย่าง (เว้นการกระทำ) คือ.

๑. การฆ่า
๒. การทำร้ายร่างกาย
๓. การทรมาน

๑. การฆ่า ได้แก่ การทำให้ตาย โดยต่างแห่งวัตถุ มี ๒ ประเภท คือ

๑. ฆ่ามนุษย์
๒. ฆ่าสัตว์เดียรัจฉาน

วัตถุที่ใช้ฆ่ามี ๒ อย่าง คือ

๑. ศาสตรา วัตถุที่มีคมเป็นเครื่องฟันแทง เช่น หอก ดาบ เป็นต้น

๒. อาวุธ วัตถุไม่มีคม เช่น ไม้พลอง ก้อนดิน

ฆ่ามนุษย์

ฆ่ามนุษย์ มีโทษหนักโดยวัตถุ ฝ่ายพุทธจักรปรับโทษภิกษุผู้กระทำเป็นปราชิก ฝ่ายอาณาจักรก็ปรับโทษแก่ผู้กระทำอย่างสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต จะเบาลงมาก็โดยเจตนา การฆ่าโดยต่างแห่งเจตนาก็มีอยู่ ๒ ประเภท คือ ฆ่าโดยจงใจ และฆ่าโดยไม่จงใจ

๑. ฆ่าโดยจงใจ คือ สจิตตกะ ได้แก่ คิดไว้ทีแรกว่าจะฆ่าในขณะที่ใจไม่งุ่นง่าน แต่เพราะเหตุ คือ

- ตกอยู่ในฐานะแห่งความโลภ เช่น โจรปล้นบ้าน แล้วฆ่าเจ้าทรัพย์ตาย
- ตกอยู่ในฐานะแห่งความพยาบาท เช่น ลอบฆ่าคนที่มีเวรต่อกัน
- และเพราะสาเหตุอื่นนอกจากนี้ แล้วพยายามใช้เครื่องมือ หรืออุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้เขาตาย

๒. ฆ่าโดยไม่จงใจ คือ อจิตตกะ ได้แก่ ไม่ได้คิดไว้ก่อน แต่เพราะหตุเหล่านี้ คือ

- บังเอิญเป็น
- เพราะบันดาลโทสะ เช่น วิวาทกัน บันดาลโทสะขึ้นแล้วฆ่ากันตาย
- ประสงค์จะป้องกันตัว เช่น ต่อสู้กันกับผู้ที่มาทำร้ายตัว และฆ่าเขาตาย
- เพราะไม่แกล้ง เช่น หมายตีพอหลาบจำ แต่ถูกที่สำคัญ ผู้ถูกตีนั้นาย

การฆ่านั้นสำเร็จด้วยประโยค ๒ อย่าง คือ

๑. ฆ่าเอง เรียกว่า สาหัตถิกประโยค เป็นการลงมือฆ่าเอง
๒. ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า เรียกว่า อาณัตติกประโยค

ศีลข้อนี้ขาดทั้ง ฆ่าเอง และใช้ให้คนอื่นฆ่า

การใช้ให้คนอื่นทำนั้นมีนิยม ๖ ข้อ เป็นเครื่องวินิจฉัยว่า จะล่วงศีลหรือไม่ คำว่า นิยม คือ วัตถุ เครื่องกำหนดมี ๖ คือ

๑. นิยมวัตถุ หมายถึง วัตถุที่ถูกฆ่า มีมนุษย์ และสัตว์ เป็นต้น
๒. นิยมกาล คือ กำหนดเวลาใช้ฆ่า เช่น เวลาเช้า สาย บ่าย เย็น เป็นต้น
๓. นิยมโอกาส หมายเอากำหนดสถานที่ เช่น ในป่า ในบ้าน เป็นต้น
๔. นิยมเครื่องประหาร หมายเอาเครื่องประหาร มี ศาสตรา อาวุธ เป็นต้น
๕. นิยมอิริยาบท หมายเอาอิริยาบท มีการ ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น
๖. นิยมกิริยาวิเศษ หมายถึง วิธีใช้ฆ่า มี ฟัน แทง ยิง เป็นต้น

ในนิยมทั้ง ๖ นี้ เมื่อสั่งให้เขาทำแล้ว ถ้าเขาทำถูกต้องตามนิยมนั้น จึงเชื่อว่า ล่วงศีล แต่ถ้าผู้รับใช้ทำผิดจากนิยมที่เขาสั่งไป ไม่ชื่อว่า ล่วงศีล

เมื่อกล่าวโดยความเป็นกรรม มีโทษหนักเป็นชั้นกัน เป็น ๓ คือ วัตถุ เจตนา ประโยค

๑. โดยวัตถุ หมายถึง สิ่งที่มีตัวตน แยกเป็น ๓ ประเภท คือ

ก. ฆ่ามนุษย์ผู้หาความผิดคิดได้ คือ ผู้ไม่ได้ประทุษร้ายตนเองและผู้อื่น มีโทษมาก เพราะเว้นจากเหตุจำเป็น
ก. ฆ่ามนุษย์ผู้มีอุปการะมาก เช่น บิดา มารดา ครู อาจารย์ มีโทษมาก เพราะตัดประโยชน์สุขของผู้อื่น
ก. ฆ่ามนุษย์ผู้มีคุณความดี มีโทษมาก เพราะไม่เป็นแต่ผลาญชีวิตเปล่า ยังทำลายคุณที่เป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นประพฤติตามเสียด้วย

๒. โดยเจตนา หมายถึง ความคิดอ่าน ความตั้งใจ จัดเป็น ๓ คือ

ก. ฆ่าโดยไม่มีสาเหตุ เช่น ผู้นั้นไม่มีโทษผิดถึงตายตามกฎหมายบ้านเมือง หรือไม่ได้จะทำร้ายตน มีโทษมาก
ก. ฆ่าด้วยกำลังกิเลสกล้า เช่น รับจ้างฆ่าเขา มีโทษมาก
ก. ฆ่าด้วยความพยาบาทอันร้ายกาจ ล้างผลาญเขาให้ถึงความพินาศ มีโทษมาก

๓.โดยประโยค หมายถึง อาการสำหรับประกอบ(การกระทำ) ได้แก่ ฆ่าให้ลำบาก เช่น ทุบตีให้บอบช้ำกว่าจะตาย มีโทษมาก เพราะผู้ถูกฆ่า เสวยทุกข์เวทนาแสนสาหัส

การฆ่านั้น มิใช่แต่ห้ามฆ่ามนุษย์อื่นเท่านั้น แม้ฆ่าตัวเองให้ตาย ก็ห้าม เพราะเท่ากับเป็นคนสิ้นคิด

การฆ่าตัวเองให้ตายนั้น มีชื่อเรียกว่า อัตวินิบาตกรรม
ฆ่าสัตว์เดียรัจฉาน

การฆ่าสัตว์เดียรัจฉานนั้น มีโทษเบาลงโดยวัตถุจากการฆ่ามนุษย์ ฝ่ายพุทธจักรปรับโทษแก่ภิกษุผู้กระทำเพียงปาจิตตีย์ ฝ่ายอาณาจักรมีจำกัดโทษแต่เฉพาะการฆ่าสัตว์บางเหล่าที่หวงห้าม เมื่อกล่าวโดยความเป็นกรรม การฆ่าสัตว์เดียรัจฉาน มีโทษหนักเป็นชั้นกัน โดยวัตถุ เจตนา ประโยค

๑. โดยวัตถุ จัดเป็น ๕ อย่าง คือ

ก. ฆ่าสัตว์ที่มีเจ้าของหวงแหน
ข. ฆ่าสัตว์ที่มีคุณ คือ อุปการะ
ค. ฆ่าสัตว์ใหญ่อันจะใช้ประโยชน์ได้มาก
ง. ฆ่าสัตว์ของตัวเอง
จ. ฆ่าสัตว์อันหาเจ้าของมิได้

ทั้งหมดนี้มีโทษมาก

๒. โดยเจตนา จัดเป็น ๓ อย่าง คือ

ก. ฆ่าโดยหาสาเหตุมิได้
ข. ฆ่าด้วยกำลังกิเลสกล้า
ค. ฆ่าด้วยความพยาบาท

๓. โดยประโยค ได้แก่ ฆ่าให้ลำบาก หรือ น่าสมเพช เช่น วางยาในหนองน้ำเบื่อให้ปลาเมาตาย มีโทษมาก

ฉายาปาณาติบาต

ผู้รักษาศีลข้อนี้ นอกจากระวังไม่ให้ขาด เพราะการฆ่าสัตว์แล้ว ถ้าเว้นจากการกระทำที่เป็นฉายาของปาณาติบาติได้ด้วยแล้ว ก็จะทำให้ศีลของตนบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ถ้าเว้นไม่ได้ ศีลของตนก็ด่างพร้อย เหมือนผ้าที่ไม่ขาดแต่สกปรก ฉายาปาณาติบาต คือ การทำร้ายร่างกาย และทรกรรม

การทำร้ายร่างกาย

ข้อนี้หมายเอาเฉพาะทำแก่มนุษย์ แยกเป็น ๓ ประเภท คือ

๑. ทำให้พิการ คือ ทำให้เสียอวัยวะเป็นเครื่องใช้การ เช่น การทำให้เสียนัยน์ตา เสียขา เสียแขน
๒. ทำให้เสียโฉม คือ ทำให้ร่างกายเสียรูป เสียงาม ไม่ถึงพิการ
๓. ทำให้เจ็บลำบาก คือ ไม่ถึงกับเสียโฉม แต่ทำให้เสียความสำราญ

ทรกรรม

ข้อนี้หมายเอาเฉพาะสัตว์เดียรัจฉาน เพราะมนุษย์ไม่เป็นวัตถุอันใครๆ จะพึงทรกรรมได้ทั่วไป ทรกรรมได้แก่ ความประพฤติเหี้ยมโหดแก่สัตว์ ไม่มีความกรุณาปรานีสัตว์ ตามที่จัดไว้เป็นแผนกดังนี้

๑. ใช้การ ได้แก่ การใช้การเกินกำลัง ไม่ปรานีสัตว์ ปล่อยให้อดอยากซูบผอม ไม่ได้หยุดพักผ่อนตามกาล ทำความสำราญของสัตว์ให้เสียไป ขณะใช้ก็เฆี่ยนตี

๒. กักขัง ได้แก่ กังขังในที่คับแคบ จนเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้
๓. นำไป ได้แก่ นำสัตว์ไปโดยวิธีทรมาน เช่น ลากไป หรือผูกมัด เป็นไก่ สุกร หิ้วหามเอาหัวลง เอาเท้าขึ้น หรือเอาปลาขังข้องให้ทับยัดเยียดกัน ปล่อยให้ดิ้นกระเสือกกระสนจนตาย

๒. เล่นสนุก เช่นเอาประทัดผูกหางสุนัข แล้วเอาไฟจุด หรือเอาไฟจุดบนกระดองเต่า เอาก้อนดินก้อนหินขว้างปานกเล่นเป็นต้น

๕. ผจญสัตว์ เช่น กัดปลา ขนโค(วัว) ชนกระบือ(ควาย) ตีไก่ กัดจิ้งหรีด เป็นต้น

หลักวินิจฉัยปาณาติบาต

ปาณาติบาตมีองค์ ๕ คือ

๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสัญญิตา ตนรู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๒. วธกจิตตัง จิตคิดจะฆ่าให้ตาย
๓. อุปกกโม ทำความพยายามฆ่า
๕. เตน มรณัง สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

ศีลข้อนี้จะขาด ต่อเมื่อทำครบองค์ทั้ง ๕ ข้อข้างต้นนี้

ศัพท์ที่ควรรู้

๑. โลกวัชชะ คือ ความผิดที่มนุษย์ทำขึ้น เป็นความผิด เป็นความเสียหาย เช่น ฆ่ามนุษย์ การโจรกรรม ทุบตีกัน เป็นต้น บาอย่างเป็นความเสียหายที่ชาวโลกติเตียน ถือว่าไม่เหมาะสมกับความเป็นสมณะ เช่น ดื่มสุรา เป็นต้น จึงเป็นโทษทางโลก

๒. ปัณณัตติวัชชะ คือ ความผิดที่เป็นโทษทางพระบัญญัติ คือ คนสามัญทำเข้า ไม่เป็นความผิด ไม่เป็นความเสียหาย ผิดเฉพาะแก่ภิกษุ โดยฐานะละเมิดพระบัญญัติ เช่น ฉันอาหารในเวลาวิกาล ขุดดิน เป็นต้น


เบญจศีล สิกขาบทที่ ๒

อทินนาทานา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์

ศีลข้อนี้บัญญัติขึ้น เพื่อป้องกันการทำลายกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สมบัติของกันและกัน โดยหวังจะให้เลี้ยงชีพในทางที่ชอบ เว้นจากการเบียดเบียนกันและกัน การประพฤติผิดเช่นนี้ ได้ชื่อว่าประพฤติผิดธรรม เป็นบาป

ข้อนี้หมายถึง การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ คือ ถือเอาด้วยอาการเป็นโจร สิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ กำหนดดังนี้

ก. สิ่งของที่มีเจ้าของ ทั้งที่เป็นวิญญาณกทรัพย์
และอวิญญาณกทรัพย์ อันเจ้าของไม่ได้ยกให้เป็นสิทธิ์ขาด

ข. สิ่งของที่ไม่ใช่ของใคร แต่มีผู้รักษาหวงแหน ได้แก่ สิ่งของที่เขาอุทิศบูชาปูชนียวัตถุในศาสนานั้นๆ

ค. สิ่งของที่เป็นของในหมู่อันไม่พึงแบ่งกัน ได้แก่ ของสงฆ์ และของมหาชนในสโมสรสถานนั้นๆ เมื่อเพ่งถึงความประพฤติชอบธรรม ในทรัพย์สมบัติของผู้อื่นเป็นสำคัญ พึงทราบในสิกขาบทนี้ ท่านห้าม ๓ ประการ คือ

๑. โจรกรรม ประพฤติเป็นโจร
๒. ความเลี้ยงชีพอนุโลมโจรกรรม
๓. กิริยาเป็นฉายาโจรกรรม

การกระทำในข้อ ๑ ศีลขาด ในข้อ ๒ และข้อ ๓ พึงตัดสินด้วยเจตนา ถ้ามุ่งทำลายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของผู้อื่น ศีลขาด ถ้าไม่เจตนา ศีลด่างพร้อย

โจรกรรม

การถือเอาสิ่งของที่ไม่มีผู้ให้ ด้วยการกระทำอย่างโจรทุกอย่าง จัดเป็นโจรกรรม ในทางศีลธรรม ท่านรวมไว้ ๑๔ วิธีด้วยกัน ดังนี้

๑. ลัก ได้แก่ การขโมยทรัพย์ของคนอื่นที่เจ้าของเขาไม่เห็น มีชื่อเรียกต่างกัน ดังนี้

ก. ขโมย ในเวลาเงียบเห็นเขาตากผ้าไว้ ไม่ให้เจ้าของรู้ หยิบเอาของเขาไป

ข. ย่องเบา เวลาสงัดคน แอบเข้าไปในบ้าน หยิบฉวยเอาของต่างๆ ไป

ค. ตัดช่อง งัดหรือเจาะประตูหน้าต่างที่ปิดช่องอยู่ แล้วหยิบเอาของเขาไป

๒. ฉก ได้แก่ การถือเอาของในเวลาเจ้าของเผลอ มีชื่อเรียกต่างกันตามอาการ ดังนี้

ก. วิ่งราว คนถือเอาของมากำลังเผลอ เข้าแย่งแล้ววิ่งหนีไป

ข. ตีชิง ตีเจ้าของทรัพย์ให้เจ็บตัว แล้วถือเอาของไป


๓. กรรโชก แสดงอำนาจ หรือใช้อาวุธให้เขากลับแล้วให้ของ เรียกว่า ขู่ หรือจี้

๔. ปล้น ได้แก่ รวมพวกกันหลายคน มีศาสตราวุธเก็บเอาของผู้อื่นด้วยอำนาจ

๕. ตู่ คือ อ้างกรรมสิทธิ์ ยืนยันเอาของคนอื่นมาเป็นของตน

๖. ฉ้อ ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่น เช่น รับของแล้วโกงเสีย อ้างว่าเป็นของของตน

๗. หลอก ได้แก่ กิริยาที่พูดปด เพื่อถือเอาของของผู้อื่น

๘. ลวง ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาของผู้อื่น ด้วยแสดงของอย่างใดอย่างหนึ่งให้เข้าใจผิด เช่น ใช้เครื่องชั่งเครื่องตวงโกง

๙. ปลอม ได้แก่ กิริยาที่ทำของปลอมให้คนอื่นเห็นว่าเป็นของแท้ แล้วแลกเปลี่ยนเอาทรัพย์ไป

๑๐. ตระบัด ได้แก่ กิริยาที่ยืมของคนอื่นไปใช้ แล้วเอาเสีย เช่น ยืมของแล้วไม่ส่งคืน กู้เงินเขาแล้วเบี้ยวไม่ส่งดอก

๑๑. เบียดบัง ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาเศษ เช่น ท่านใช้ให้ไปเก็บเงินค่าเช่าบ้าน เป็นต้น ได้มากแต่ให้ท่านน้อย

๑๒. ลักลอบ ได้แก่ กิริยาที่ลักลอบเอาของที่ต้องห้ามหลบหนีภาษี เช่น สินค้าเถื่อน เป็นต้น

๑๓. สับเปลี่ยน ได้แก่ กิริยาที่ถือเอาสิ่งของของตน ที่เลวเข้าไว้แทน แล้วเอาสิ่งของที่ดีของผู้อื่น

๑๔. ยักยอก ได้แก่ กิริยาที่ยักยอกทรัพย์ของตน ที่จะต้องถูกยึด เอาไว้เสียที่อื่น

โจรกรรมมีลักษณะต่างประเภทที่กล่าวมานี้ บุคคลทำเองก็ดี เป็นแต่รวมพวกไปกับเขาก็ดี เหล่านี้ชื่อว่า ประพฤติผิดเป็นโจรกรรมทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยความเป็นกรรม มีโทษหนักเป็นชั้นกัน โดย วัตถุ เจตนา ประโยค

ก. โดยวัตถุ ถ้าของที่ทำการโจรกรรมมีค่ามาก ทำความฉิบหายให้แก่เจ้าของทรัพย์มาก ก็มีโทษมาก

ข. โดยเจตนา ถ้าถือเอาโดยโลภ มีเจตนากล้า ก็มีโทษมาก

ค. โดยประโยค ถ้าถือเอาโดยการฆ่า หรือทำร้ายเจ้าทรัพย์ หรือประทุษร้ายเคหสถาน และพัสดุของเขา ก็มีโทษมาก

ความเลี้ยงชีพอนุโลมโจรกรรม

ข้อนี้ ได้แก่ การแสวงหาทรัพย์พัสดุในทางไม่บริสุทธิ์ แต่ไม่นับเข้าในอาการเป็นโจร มีประเภท ดังนี้

ก. สมโจร ได้แก่ การกระทำอุดหนุนโจรกรรมโดยนับ เช่น รับซื้อของโจร ข้อนี้เป็นปัจจัยแห่งโจรกรรม

ข. ปลอกลอก ได้แก่ การคบคนด้วยอาการไม่ซื่อสัตย์ ด้วยหวังทรัพย์ของเขาฝ่ายเดียว เมื่อเขา สิ้นเนื้อประดาตัว ก็ทิ้งขว้าง ข้อนี้เป็นปัจจัยให้คนตกยาก


ค. รับสินบน ได้แก่ การถือเอาทรัพย์พัสดุที่เขาให้เพื่อช่วยทำธุระให้เขาในทางที่ผิด เช่น ข้าราชการรับสินบนจากประชาชน ข้อนี้เป็นปัจจัยให้บุคคลประพฤติผิดทางธรรม

กิริยาเป็นฉายาโจรกรรม

ข้อนี้ ได้แก่ การทำพัสดุของผู้อื่นให้สูญเสีย และเป็นสินใช้ ตกอยู่แก่ตน มีประเภท ดังนี้

ก. ผลาญ ได้แก่ กิริยาที่ทำความเสียหายแก่ทรัพย์พัสดุของคนอื่น เช่น เผาบ้าน ฟันโค ฟันกระบือ เป็นต้น

ข. หยิบฉวย ได้แก่ การถือเอาทรัพย์พัสดุของผู้อื่นด้วยความมักง่าย ไม่บอกเจ้าของ คิดเอาเองว่า เจ้าของไม่ว่าอะไร

หลักวินิจฉัยอทินนาทาน

๑. ปรปริคคหิตัง ของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
๒. ปรปริคคหิตสัญญิตา ตนก็รู้ว่าของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
๓. เถยยจิตตัง จิตคิดจะลัก
๔. อุปักกโม พยายามจะลัก
๕. เตน หรณัง นำของนั้นมาด้วยความพยายามนั้น

ศีลข้อนี้จะขาด ต่อเมื่อกระทำครบองค์ทั้ง ๕ ข้างต้นนี้

สวิญญาณกทรัพย์ ได้แก่ ทรัพย์พัสดุที่มีวิญญาณครอง ได้แก่ สัตว์ต่างๆ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น

อวิญญาณกทรัพย์ ได้แก่ ทรัพย์พัสดุที่ไม่มีวิญญาณครอง เช่น บ้าน เรือน เงิน ทอง เป็นต้น

สังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ทรัพย์พัสดุที่เคลื่อนที่ได้ เช่น สัตว์เลี้ยง เตียง ตั่ง ถ้วย ชาม รถยนต์ เป็นต้น บางอย่างก็มีชีวิต บางอย่างก็ไม่มีชีวิต

อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แก่ ที่ดิน และทรัพย์ซึ่งติดอยู่กับที่ดิน เช่น ตึก บ้าน โรงรถ เป็นต้น



เบญจศีล สิกขาบทที่ ๓

กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย

ศีลข้อนี้ ท่านบัญญัติขึ้น ด้วยหวังปลูกความสามัคคี สร้างความเป็นปึกแผ่น ป้องกันความแตกร้าวในหมู่มนุษย์ และทำให้วางใจกันและกัน ชายกับหญิงแม้ไม่ได้เป็นญาติกัน ก็ยังมีความรักใคร่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ด้วยอำนาจความปฏิพัทธ์ในทางกาม สิกขาบทข้อนี้ แปลว่า เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย

คำว่า "กามทั้งหลาย" ในที่นี้ได้แก่ กิริยาที่รักใคร่กันทางประเวณี หมายถึง เมถุน คือ การส้องเสพระหว่างชายหญิง

การผิดในกาม หมายถึง การเสพเมถุนกับคนที่ต้องห้ามดังจะกล่าวต่อไป ผู้ใดเสพเมถุนกับคนที่ต้องห้าม ผู้นั้นทำผิดประเวณี ศีลข้อนี้ขาด เมื่อเพ่งความประพฤติไม่ให้ผิดเป็นใหญ่สำหรับชายและหญิง มีดังนี้...

สำหรับชาย หญิงที่ต้องห้ามสำหรับชาย มี ๓ ประเภท คือ

๑. สัสสามิกา หญิงมีสามี ที่เรียกว่า ภรรยาท่าน ได้แก่ หญิง ๔ จำพวก คือ

ก. หญิงที่แต่งงานกับชายแล้ว
ข. หญิงที่ไม่ได้แต่งงาน แต่อยู่กินกับชายอย่างเปิดเผย
ค. หญิงที่รับสิ่งของ มีทรัพย์ เป็นต้น ของชายแล้วยอมอยู่กับเขา
ง. หญิงที่ชายเลี้ยงเป็นภรรยา

๒. ญาติรักขิตา หญิงที่ญาติรักษา คือ มีผู้ปกครอง ไม่เป็นอิสระแก่ตน เรียกว่า หญิงอยู่ในพิทักษ์รักษาของท่าน คือ หญิงที่มารดาบิดารักษา หรือญาติรักษา

๓. ธรรมรักขิตา หรือ จาริตา หญิงที่จารีตรักษา ที่เรียกว่า จารีตห้าม ได้แก่ หญิงที่เป็นเทือกเถาเหล่ากอ

ก. เทือกเถา คือ ญาติผู้ใหญ่ นับย้อนขึ้นไป ๓ ชั้น มี ย่าทวด ยายทวด ๑ ย่า ยาย ๑ แม่ ๑ เหล่ากอ คือ ผู้สืบสายจากตนลงไป ๓ ชั้น มีลูก ๑ หลาน ๑ เหลน ๑

ข. หญิงที่อยู่ใต้พระบัญญติในพระศาสนา อันห้ามสังวาสกับชาย เช่น ภิกษุณี ในกาลก่อน หรือ แม่ชีในบัดนี้

ค. หญิงที่บ้านเมืองห้าม เช่น แม่หม้ายงานท่าน อันมีในกฎหมาย

หญิง ๓ จำพวกนี้ จะมีฉันทะร่วมกัน หรือไม่ร่วมกัน ไม่เป็นประมาณ ชายร่วมสังวาสด้วย ก็เป็นกามาสุมิจฉาจาร

หญิงที่เป็นวัตถุต้องห้ามของชาย ในกาเมสุมิจฉาจาร โดยพิสดารมี ๒๐ จำพวก คือ

๑. มาตุรักขิตา หญิงที่มารดารักษา
๒. ปิตุรักขิตา หญิงที่บิดารักษา
๓. มาตาปิตุรักขิตา หญิงที่มารดาบิดารักษา
๔. หญิงที่พี่ชายน้องชายรักษา
๕. หญิงที่พี่สาวน้องสาวรักษา
๖. หญิงที่ญาติรักษา
๗. หญิงที่โคตร หรือมีแซ่รักษา
๘. หญิงมีธรรมรักษา
๙. หญิงมีสามีรักษา
๑๐. หญิงมีสินไหม คือ พระราชารักษา
๑๑. หญิงที่ชายไถ่หรือซื้อมาด้วยทรัพย์เพื่อเป็นภรรยา
๑๒. หญิงที่อยู่กับชายด้วยความรักใคร่ชอบใจกันเอง
๑๓. หญิงที่อยู่เป็นภรรยาชายด้วยโภคทรัพย์
๑๔. หญิงที่เข็ญใจ ได้สักว่าผ้านุ่งผ้าห่มแล้วอยู่เป็นภรรยา
๑๕. หญิงที่ชายขอเป็นภรรยา มีผู้ใหญ่จัดการให้
๑๖. หญิงที่ชายช่วยปลงภาระอันหนักให้แล้ว ยอมเป็นภรรยา
๑๗. หญิงที่เป็นทาสีอยู่ก่อน แล้วชายเอามาเป็นภรรยา
๑๘. หญิงที่รับจ้างแล้ว ชายเอาเป็นภรรยา
๑๙. หญิงที่ชายรบข้าศึกได้เป็นเชลยแล้ว เอาเป็นภรรยา
๒๐. หญิงที่ชายอยู่ด้วยขณะหนึ่ง และหญิงนั้นก็เข้าใจว่าชายนั้นเป็นสามีของตน

สำหรับหญิง ชายต้องห้ามสำหรับหญิง มี ๒ ประเภทคือ

๑. ชายอื่นนอกจากสามี เป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิงที่มีสามีแล้ว
๒. ชายที่จารีตห้าม เป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิงทั้งปวง

ชายที่จารีตห้ามนั้น มี ๓ จำพวก คือ

๑. ชายที่อยู่ในพิทักษ์รักษาของตระกูล เช่น ปู่ พ่อ ตา ทวด
๒. ชายที่อยู่ในพิทักษ์ของธรรมเนียม เช่น นักพรต นักบวช
๓. ชายที่กฎหมายบ้านเมืองห้าม เช่น พระภิกษุ สามเณร

หญิงที่ไม่เป็นวัตถุกาเมสุมิจฉาจารของชาย มี ๔ อย่าง คือ

๑. หญิงที่ไม่มีสามี
๒. หญิงที่ไม่อยู่ในพิทักษ์รักษาของท่าน
๓. หญิงที่จารีตไม่ห้าม
๔. หญิงที่เป็นภรรยาของตน

ชายที่ไม่เป็นวัตถุแห่งกาเมสุมิจฉาจารของหญิงมี ๔ คือ

๑. ชายที่ไม่มีภรรยา
๒. ชายที่จารีตไม่ห้าม
๓. สามีของตน
๔. ชายที่ทำโดยพลการพ้นอำนาจของหญิง (เช่นชายที่ข่มขืน)

โทษของกาเมสุมิจฉาจาร

กาเมสุมิจฉาจารนี้ เป็นความประพฤติชั่วร้าย มีโทษทั้งทางโลก และทางธรรม ฝ่ายอาณาจักรมีกฎหมายลงโทษผู้ประพฤติล่วง ฝ่ายพุทธจักรก็จัดเป็นบาปแก่ผู้ทำ

เมื่อกล่าวโดยความเป็นกรรม จัดว่ามีโทษหนักเป็นชั้นกัน โดย วัตถุ เจตนา ประโยค

ก. โดยวัตถุ ถ้าเป็นการทำชู้ หรือล่วงละเมิดในวัตถุที่มีคุณ มีโทษมาก
ข. โดยเจตนา ถ้าเป็นไปด้วยกำลังราคะกล้า มีโทษมาก
ค. โดยประโยค ถ้าเป็นไปโดยพลการ มีโทษมาก

หลักวินิจฉัยกาเมสุมิจฉาจาร

กาเมสุมิจฉาจาร มีองค์ ๔ คือ

๑. อคมนียวัตถุ วัตถุอันไม่ควรถึง (มรรคทั้ง ๓)
๒. ตัสมิง เสวนจิตตัง จิตคิดจะเสพในวัตถุอันไม่ควรถึงนั้น
๓. เสวนัปปโยโค ทำความพยายามในอันที่จะเสพ
๔. มัคเคน มัคคัปปฏิบัตติ มรรคต่อมรรคถึงกัน

ในเรื่องกาเมสุมิจฉาจารนี้ ผู้ที่เสพเท่านั้นจึงจะชื่อว่า ล่วงกาเมสุมิจฉาจาร ส่วนการใช้คนอื่นให้ทำแก่คนอื่นนั้น ไม่เป็นการผิดกาเมสุมิจฉาจาร

แต่การใช้ให้คนอื่นทำกาเมสุมิจฉาจารแก่ตนนั้น ชื่อว่า เป็นการล่วงกาเมสุมิจฉาจารแท้

เบญจศีล สิกขาบทที่ ๔


มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ

ศีลข้อนี้บัญญัติขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันการทำลายประโยชน์ของกันและกัน ด้วยการพูด คือ ตัดประโยชน์ทางวาจา และรักษาวาจาของตนให้เป็นที่เชื่อถือของคนอื่น เมื่อเพ่งความเจริญเป็นใหญ่ พึงทราบในสิกขาบทนี้ ท่านห้ามเป็นข้อใหญ่ ๓ ประการ คือ

๑. มุสาวาท ๒. อนุโลมุสา ๓. ปฏิสสวะ

การกระทำตามข้อ ๑ ศีลขาด กระทำตามข้อ ๒ และ ๓ ศีลด่างพร้อย

มุสาวาท

การพูดเท็จ คือ การโกหก หมายถึง การแสดงออกด้วยเจตนาบิดเบือนความจริง ให้คนหลงเชื่อแสดงออกได้ ๒ ทาง คือ

๑. ทางวาจา ได้แก่ พูดโกหกชัด ๆ
๒. ทางกาย ทำเท็จทางกาย เช่น เขียนจดหมาย โกหก ทำรายงานเท็จ ทำหลักฐานปลอม หรือ มีใครถามข้อความที่ควรรับ ก็สั่งศีรษะแสดงปฏิเสธ

เพื่อความสะดวกในการเรียน และการปฏิบัติ ท่านจำแนกกิริยาที่เป็นมุสาวาทไว้ ๗ อย่าง คือ

๑. ปด
๒. ทดสาบาน
๓. ทำเล่ห์กระเท่ห์
๔. มารยา
๕. ทำเลศ
๖. เสริมความ
๗. อำความ

๑. ปด ได้แก่ พูดมุสาชัดๆ ไม่อาศัย ไม่อาศัยมูลเหตุเลย เช่น เห็นว่าไม่เห็น รู้ว่าไม่รู้ โดยโวหารต่างกัน ตามความมุ่งหมายของผู้พูด ท่านแสดงไว้เป็นตัวอย่าง ๔ ข้อ คือ

ก. พูดเพื่อจะให้เขาแตกกัน เรียกว่า ส่อเสียด
ข. พูดเพื่อจะโกงท่าน เรียกว่า หลอก
ค. พูดเพื่อจะยกย่อง ท่านเรียกว่า ยก
ง. พูดไว้แล้วไม่รับ เรียกว่า กลับคำ

๒. ทนสาบาน ได้แก่ กิริยาที่เลี่ยงสัตย์ว่า จะพูดตามจริง แต่ใจไม่ตั้งจริงตามนั้น มีพูดปดเป็นลำดับ บริวาร เช่น เป็น
พยานทนสาบานไว้ แล้วเบิกความเท็จ เป็นต้น

๓. ทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ กิริยาที่อวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์อันไม่มีจริง เช่น อวดรู้วิชาคงกระพัน ฟันไม่เข้ายิงไม่ออก เป็นต้น ซึ่งเป็นอุบายหาลาภ

๔. มารยา ได้แก่ กิริยาที่แสดงให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง หรือลวงให้เข้าใจผิด เช่น เป็นคนทุศีล ก็ทำท่าทางให้เขาเห็นว่ามีศีล เจ็บน้อก็ครวญครางมาก

๕. ทำเลศ ได้แก่ พูดมุสาเล่นสำนวน เช่น เห็นคนวิ่งหนีเขามา เมื่อผู้ไล่มาถาม ไม่อยากจะให้เขาจับคนนั้นได้ แต่ไม่ต้องการให้ใครตราหน้าว่าเป็นคนพูดมุสา จึงย้ายไปยืนที่อื่น แล้วพูดว่าตั้งแต่มายืนที่นี่ ยังไม่เคยเห็นใครวิ่งมาเลย

๖. เสริมความ ได้แก่ พูดมุสาอาศัยมูลเดิม แต่ตัดความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้ออกเสีย เรื่องมากพูดให้เหลือน้อย ปิดความบกพร่องของตน

โทษของมุสาวาท

บุคคลพูดมุสา มีโทษทั้งทางโลกและทางธรรม ทางโลกปรับโทษทางกฎหมายที่หักประโยชน์ของผู้อื่น ทางธรรมปรับโทษอย่างหนักถึงปาราชิก อย่างเบาปรับเสมอปาจิตตีย์ กล่าวโดยความเป็นกรรมมีโทษหนักเป็นชั้นกัน โดย วัตถุ เจตนา ประโยค

ก. โดยวัตถุ ถ้าข้อความนั้นเป็นเรื่องหักล้างประโยชน์ เช่น ทนสาบาน เบิกพยานเท็จ กล่าวใส่ความท่าน หลอกลวงเอาทรัพย์ท่าน มีโทษหนัก หรือกล่าวมุสาแก่ผู้มีคุณ เช่น พ่อ แม่ ครู อาจารย์ เจ้านาย และท่านผู้มีศีลธรรม มีโทษหนัก

ข. โดยเจตนา ถ้าผู้พูดคิดให้ร้ายท่าน เช่น กล่าวใส่ความท่าน มีโทษหนัก

ค. โดยประโยค ถ้าผู้พูดพยายามทำให้เขาเชื่อสำเร็จ มีโทษหนัก

อนุโลมมุสา

อนุโลมมุสา คือ เรื่องที่พูดนั้นไม่จริง แต่ผู้พูดมิได้มุ่งจะให้ผู้ฟังหลงเชื่อ แยกประเภท ๒ อย่าง คือ

๑. เสียดแทง กิริยาที่ว่าให้ผู้อื่นให้เจ็บใจ อ้างวัตถุไม่เป็นจริง กล่าวยกให้สูงกว่าพื้นเพเดิมของเขา เรียกว่า ประชด กล่าวทำให้คนเป็นคนเลวกว่าพื้นเพเดิมของเขา เรียกว่า ด่า

๒. สับปลับ ได้แก่ พูดปดด้วยคะนองวาจา

โทษของอนุโลมมุสา

อนุโลมมุสา มีโทษทั้งทางโลกและทางธรรม ทางโลกจัดว่าเป็นกิริยาที่หยาบช้าเลวทราม ไม่สมควรประพฤติ ทางธรรม จัดว่าเป็นบาป เมื่อกล่าวโดยความเป็นกรรม ก็มีโทษหนักเป็นชั้นกัน โดยวัตถุ เจตนา ประโยค

ก. โดยวัตถุ ถ้าเป็นข้อความเป็นเรื่องประทุษร้ายท่าน เช่น พูดเสียดแทง มีโทษหนัก และกว่าแก่ผู้มีคุณ ก็มีโทษหนัก

ข. โดยเจตนา ถ้าพูดใส่ร้ายผู้อื่น เช่น หวังจะให้ท่านเจ็บใจ และกล่าวเสียดแทง มีโทษหนัก

ค. โดยประโยค ถ้าผู้พูดพยายามทำความเสียหายแก่ท่านสำเร็จ เช่น ยุให้ท่านแตกกัน และเขาก็แตกกัน มีโทษหนัก

ปฏิสสวะ

ปฏิสสวะ ได้แก่ เดิมรับคำของคนอื่นด้วยเจตนาบริสุทธิ์ แต่ภายหลังกลับใจ ไม่ทำตามที่รับนั้น แม้ไม่เป็นการพูดเท็จโดยตรง แต่ก็เป็นการทำลายประโยชน์ของคนอื่นได้ มีประเภทเป็น ๓ อย่าง คือ

๑. ผิดสัญญา ได้แก่ สองฝ่ายทำสัญญากันว่าจะทำอย่างนั้นๆ แต่ภายหลังไม่ทำอย่างนั้น เช่น ทำสัญญาจ้าง เป็นต้น

๒. เสียสัตย์ ได้แก่ ให้สัตย์แก่ท่านฝ่ายเดียวว่าตนจะทำ หรือไม่ทำเช่นนั้นๆ แต่ภายหลังไม่ทำตามนั้น เช่น ข้าราชการ ผู้ถวายสัตย์สาบานแล้ว ไม่ทำตามนั้น

๓. คืนคำ ได้แก่ รับว่าจะทำสิ่งนั้นๆ แล้วภายหลังไม่ทำ เช่น รับว่าให้สิ่งนั้นๆ แล้วไม่ให้

โทษของปฏิสสวะ คือ ทำให้เสียชื่อเสียง ตามฐานที่ไม่ตั้งอยู่ในสัตย์

ถ้อยคำที่ไม่เป็นมุสา

มีคำพูดอีกประเภทหนึ่ง ที่ผู้พูดๆ ไม่จริง แต่ก็ไม่ประสงค์ให้ผู้ฟังเชื่อ เรียกว่า ยถาสัญญา คือ พูดตามความสำคัญ ผู้พูดไม่ผิดศีล แยกประเภทเป็น ๔ อย่าง คือ

๑. โวหาร
๒. นิยาย
๓. สำคัญผิด
๔. พลั้ง

๑. โวหาร ได้แก่ ถ้อยคำที่ใช้เป็นธรรมเนียม เพื่อความไพเราะทางภาษา เช่น เราเขียนจดหมายลงท้ายด้วยความนับถืออย่างสูง ทั้งที่เราไม่ได้นับถือเขาเลย

๒. นิยาย ได้แก่ เรื่องเปรียบเทียบ เพื่อได้ใจความเป็นสุภาษิต เช่น ผูกนิยายขึ้น เช่น ลิเก ละคร

๓. สำคัญผิด ได้แก่ ผู้พูดเข้าใจผิด พูดไปตามความเข้าใจของตนเอง เช่น จำวันผิด ใครถามก็ตอบตามนั้น

๔. พลั้ง ได้แก่ ผู้พูดตั้งใจว่าจะพูดอย่างหนึ่ง แต่ปากไพล่ไปพูดอย่างหนึ่ง

หลักวินิจฉัยมุสาวาท

มุสาวาทมีองค์ ๔

๑. อภูตวัตถุ เรื่องที่พูดเป็นเรื่องไม่จริง
๒. วิวาทนจิตตัง จงใจจะพูดให้ผิด
๓. ตัชโช วายาโม พยายามพูดคำนั้นออกไป
๔. ปะรัสสะ ตะทัตถวิชานะนัง คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น


เบญจศีล สิกขาบทที่ ๕

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี

เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

ศีลข้อนี้บัญญัติขึ้น เพื่อให้คนรู้จักรักษาสติของตนให้บริบูรณ์ เพราะสุราเป็นของที่ทำให้ผู้ดื่มมึนเมา เมื่อมึนเมาแล้วย่อมทำให้เสียสติ เป็นที่ตั้งของความประมาท จะทำอะไรก็ผิดพลาด ทั้งเป็นเหตุทอนคุณความดีที่มีอยู่ให้น้อยลง

เมื่อเสพเข้าไปแล้วทำให้สติเลื่อนลอย ขาดการควบคุมตัวเอง ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ พูดในสิ่งที่ไม่เคยพูด เป็นเหตุให้ล่วงสิกขาบทอีก ๔ ข้อข้างต้นได้ ศีลข้อ ๕ นี้ นับว่ามีความสำคัญที่สุดในเบญจศีล

น้ำเมา มี ๒ ชนิด คือ

๑. สุรา น้ำเมาที่กลั่นแล้ว ภาษาไทยเรียกว่า เหล้า
๒. เมรัย น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น เป็นของหมักดอง เช่น เหล้าดิบ น้ำตาลเมา กระแช่ ของมึนเมาเสพติดต่างๆ เช่น ฝิ่น กัญชา ก็รวมเข้าในศีลข้อนี้ด้วย

ในปัจจุบันมีสิ่งเสพติดให้โทษร้ายแรงระบาดอยู่ในหมู่ของประชาชน เท่าที่ราชการพบแล้ว คือ

๑. สุรา น้ำเมาที่กลั่นแล้ว
๒. เมรัย น้ำเมาที่ยังไม่ได้กลั่น
๓. ฝิ่น เป็นยางไม้ชนิดหนึ่ง (ต้นฝิ่น)
๔. กัญชา เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง (ต้นกัญชา)
๕. มอร์ฟีน เป็นผลิตภัณฑ์ทำจากฝิ่น
๖. โคเคน เป็นผลิตภัณฑ์จากมอร์ฟีน
๘. แลคเกอร์ ทินเนอร์ ทำมาจากสารเคมี

สุรา เมรัย เสพทางการดื่ม ฝิ่น กัญชา เป็นต้น เสพโดยวิธีสูบบ้าง ฉีดเข้าไปในร่างกายบ้าง

โทษแห่งการดื่มน้ำเมา

ในพระบาลีท่านแสดงโทษของการดื่มน้ำเมาไว้ ๖ อย่าง คือ

๑. เป็นเหตุให้เสียทรัพย์
๒. เป็นเหตุก่อวิวาท
๓. เป็นเหตุให้เกิดโรค
๔. เป็นเหตุให้เสียชื่อเสียง
๕. เป็นเหตุประพฤติมารยาที่น่าอดสู
๖. ทอนกำลังปัญญา

โทษของการเสพฝิ่น

การเสพฝิ่นนั้นมีโทษมาก เมื่อกล่าวแล้วแบ่งออกเป็น ๔ สถาน คือ

๑. เป็นเหตุให้เสียความสำราญของร่างกาย
๒. เป็นเหตุก่อวิวาท ให้เสียทรัพย์
๓. เป็นเหตุเสียความดี
๔. เป็นเหตุเสียชื่อเสียง

โทษเหล่านี้ ยิ่งหย่อนตามพื้นเพของเสพ

โทษของการเสพกัญชา

กัญชาเป็นสิ่งเสพติดให้โทษเหมือนกัน เพราะฤทธิ์กัญชานั้น ย่อมทำมัตถุลังค์ (มันในสมอง) และเส้นประสาทให้เสียไป ตาลาย เห็นอะไรผิดไปจากความจริง เช่น เห็นเชือกเป็นงู หูเชือน ฟังอะไรเขวไปจากความจริง เช่น ได้ยินเสียงกลองเป็นเสียงปืน หรือ เสียงฟ้าร้อง

นึกจะทำอะไรก็ยั้งไม่ได้ ความคิดฟั่นเฟือน มักทำให้หวาดกลัวไปต่างๆ เหมือนคนบ้า ไม่ควรเสพ

หลักวินิจฉัยสุราปานะ

สุราปานะ (การดื่มสุรา) มีองค์ ๔ คือ

๑. มทนียัง น้ำเมา
๒. ปาตุกัมมยตาจิตตัง จิตคิดจะดื่มน้ำเมา
๓. ตัชโชวายาโม พยายามดื่มน้ำเมา
๔. ปีตัปปเวสนัง น้ำเมานั้นล่วงลำคอลงไป

ศีลขาด คือ ศีลของผู้ที่สมาทานศีลแล้ว แต่ไม่รักษาศีลนั้นให้ดี ล่วงละเมิดเป็นประจำ ทำให้ขาดต้นขาดปลายหาที่บริสุทธิ์จริงได้ยาก เหมือนผ้าที่ขาดชายรอบทั้งผืน หรือขาดกลางผืนเลย

ศีลทะลุ คือ ศีลของผู้ที่ชอบละเมิดสิกขาบททีเดียว ๒ หรือ ๓ ข้อ เหมือนแม่โคด่าง ที่กะดำกระด่างลายไปทั้งตัว ดำบ้าง ขาวบ้าง

ศีลพร้อย คือ ศีลของผู้ชอบล่วงละเมิดศีลคราวละสิกขาบท หรือล่วงศีลคราวละองค์สององค์ คือ มีศีลบริสุทธิ์บ้างไม่บริสุทธิ์บ้างสลับกันไป

ศีลห้าประการนี้ เป็นวินัยในพระพุทธศาสนา ด้วยประการฉะนี้
สีเลน สุคตึ ยนฺติ, สีเลน โภคสมฺปทา
สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ, ตสฺมา สีลํ วิโสธเย

บุคคลจะถึงสุคติโลกสวรรค์ก็ด้วยศีล
จะถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์ก็ด้วยศีล
จะถึงความดับเย็นก็คือความสิ้นกิเลสได้ ก็ด้วยศีล
เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงรักษาศีลให้บริสุทธิ์

ขอขอบคุณ ข้อมูลจากลานธรรม คุณ mayrin
หนังสือเบญจศีลเบญจธรรม ผู้แต่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งเป็นโอรสของ ร.๕ และเจ้าจอมมารดาแพ
ภาพประกอบสมาชิกพันทิปครับ




 

Create Date : 22 สิงหาคม 2551    
Last Update : 22 สิงหาคม 2551 12:19:22 น.
Counter : 674 Pageviews.  

ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ทราบความหมายกันไหมครับ

เวลาฟังธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ทราบความหมายกันไหมครับ

หนังสือของวัดเขาพระ ท่านแปลได้ไพเราะมาก นำมาฝากกันครับ
เอวัม เม สุตัง, อาตมาชื่อว่าพระอานนท์ ได้รับฟังมาจากพระบรมศาสดาอย่างนี้ว่า

เอกัง สะมะยัง ภะคะวา , พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิ ปะตะเน มิคะทาเย ,

ในกาลครั้งหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า , ได้ประทับสำราญพระอิริยาบถอยู่ , ที่ป่าอิสิปตมฤทายวัน , ใกล้บริเวณกรุงพาราณสี

ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ,

ในกาลครั้งนั้นแล , สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า , ได้ตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาพร้อมกันแล้ว, ได้ทรงแสดงพระธรรมจักร์แก่ภิกษุปัญวัคคีย์ว่า

ทะเว เม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพโพ ,

ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย์ ,วัตถุทั้งสองอย่างเหล่านี้คือ , วัตถุกามคุณทั้งห้า , และกิเลสกามทั้งหลาย , อันบรรพชิตทั้งหลาย , ไม่ควรเข้าไปลองเสพกิเลสกามและวัตถุกามเลย

โยจายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิยานุโยโค ,

ในกามคุณทั้งหลายใดแล , การประกอบกามกิจกามคุณ, หมกมุ่นวุ่นวายอยู่ในกาม , เป็นการเหนื่อยยากลำบาก

ฮีโน , การประกอบกามกิจเป็นของต่ำ ,

คัมโม, เป็นของฆรวาสผู้อยู่ครองบ้านครองเรือน

โปถุชชะนิโก, เป็นของปุถุชนที่มีกิเลสตัณหาปัญญาทราม

อะนะริโย, ไม่เป็นเหตุให้สำเร็จมรรคผลนิพพาน

อะนัตถะสัญหิโต, ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ทั้ง ๓ ประการ, อันนี้เป็นทางหย่อนยานข้อแรก ,
1. โยจายัง อัตตะกิมะถานุโยโค , การประพฤติปฏิบัติตน , ด้วยการทรมาณร่างกายให้ลำบากอันใด ,

ทุกโข , เป็นเหตุนำมาแต่ความทุกข์กายทุกข์ใจ

อะนะริโย, ไม่เป็นเหตุให้สำเร็จมรรคผลนิพพาน

อะนัตถะสัญหิโต, ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ทั้ง ๓ ประการ ข้อปฏิบัติอันนี้ เป็นทางเคร่งตึงเกินไปเป็นข้อที่สอง,
เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต, อะนุปะคัมมะมัชฌิมา ปะฏิปะทา ,
ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย์ , การประพฤติปฏิบัติธรรม, อันเป็นข้อประพฤติปฏิบัติสายกลาง, คือการบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา, อันไม่เข้าไปแวะใกล้ข้อปฏิบัติ, ทั้งย่อหย่อนทั้งเคร่งสองอย่างนั้น

ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา, อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระตถาคต, ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันชอบยิ่งแล้วด้วยพระปัญญา
จักจขุกะระณี, ได้ดวงตาคือปัญญาเห็นโลกุตตรธรรม

ญาณะกะระณี , ได้ปัญญารู้มรรคผลนิพพาน

อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ, ย่อมเป็นไปเพื่อสงบระงับดับกิเลสตัณ หา เพื่อรู้แจ้งอริยสัจจะสี่ , เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน , เพื่อดับเพลิงกิเลส และดับเพลิงทุกข์ได้หมดสิ้นเชิง

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว, มัชฌิมา ปะฏิปะทา

ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย์ การประพฤติธรรมปฏิบัติธรรม , ที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ,คือการบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญานั้นเป็นอย่างไรบ้าง ฯ

ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา , อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระตถาคต, ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณแล้วด้วยปัญญายิ่ง

จักขุกะระณี ,ได้ดวงตาคือปัญญาเห็นโลกุตตรธรรม

ญาณะกะระณี , ได้ปัญญารู้มรรคผลนิพพาน

อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ , ย่อมเป็นไปเพื่อสงบระงับดับกิเลสตัณหา , เพื่อรู้แจ้งอริยสัจจะสี่ , เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน , เพื่อดับเพลิงกิเลส และดับเพลิงทุกข์ได้หมดสิ้นเชิง

2. อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค , มัชฌิมาปฏิปทาได้แก่อริยมรรค ๘ ประการนี้เอง

เสยยาถีทัง , มัชฌิมาปฏิปาทาคืออริยมรรค ๘ ประการนั้น, มีอะไรบ้าง

สัมมาทิฏฐิ , คือปัญญารู้แจ้งรู้จริงในอริยสัจจะสี่

สัมมาสังกัโป, คือปัญญารู้แจ้งรู้จริง , ยกจิตใจออกจากกิเลสกามและวัตถุกาม

สัมาวาจา , คือการพูดวาจาสุจริตทั้ง ๔ประการ

สัมมากัมมันโต, คือการประพฤติปฏิบัติสมถวิปัสสนา, เป็นการทำการงานทางกายและทางจิตใจ

สัมมาอาชีโว, คือการเลี้ยงชีพสุจริต, มีชีวิตอยู่ด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรม

สัมมาวายาโม,ขยันหมั่นเพียรปฏิบัติสมถวิปัสสนา,เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน

สัมมาสติ , คือมีสติ มีความเพียร มีปัญญา, พิจารณาอยู่ซึ่งกาย เวทนา จิต และธรรม

สัมมาสมาธิ, คือจิตใจสงบจากนิวรณ์ธรรมทั้ง ๕, บรรลุฌานสมาบัติทั้งสี่ตาสมลำดับ ฯ

3. อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา, ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย์ , การประพฤติปฏิบัติที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา , คือการบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญานี้แล

ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา , อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระตถาคต, ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณแล้วด้วยปัญญายิ่ง

จักจขุกะระณี, ได้ดวงตาคือปัญญาเห็นโลกุตตรธรรม

ญาณะกะระณี , ได้ปัญญารู้มรรคผลนิพพาน

อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ , ย่อมเป็นไปเพื่อสงบระงับดับกิเลสตัณหา , เพื่อรู้แจ้งอริยสัจจะสี่ , เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน , เพื่อดับเพลิงกิเลส และดับเพลิงทุกข์ได้หมดสิ้นเชิง

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยสัจจัง,

ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย์ , ขันธ์ห้านี้แลเป็นกองทุกข์, เป็นที่รวมแห่งกองกิเลสและกองทุกข์ , อันพระอริยเจ้าได้รู้แจ้งแทงตลอดมาแล้ว

ชาติปิ ทุกขา, แม้การเกิดขึ้นใน ๓๑ ภูมิก็เป็นทุกข์

ชะราปิ ทุกขา, แม้ความแก่เฒ่าชรา เจ็บป่วยไข้ก็เป็นทุกข์

มะระณัมปิ ทุกขัง , แม้แต่ ความตายก็เป็นทุกข์

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา, แม้แต่ความเศร้าโศกเสียใจ, ร้องไห้รำพึงรำพัน, ความทุกข์กายทุกข์ใจ , ความกลุ้มอกกลุ้มใจร้อนใจ, ความหนักอกหนักใจ, ความคับแค้นอก แค้นใจ ก็เป็นทุกข์

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข, การประสพพบเห็นบุคคลและสัตว์, ที่เป็นศัตรูกันไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข , การพลัดพรากจากบุคคลที่ตนรัก และสิ่งของอันเป็นที่รักที่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์

ยัมปิจฉัง นะละภะติ ตัมปิ ทุกขัง , มีความปรารถนาสิ่งหนึ่งสิ่งใดๆ , เมื่อไม่ได้สิ่งนั้นๆมาก็เป็นทุกข์

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา , ว่าโดยย่อแล้วอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยสะสัจจัง ,

ดูก่อนภิกษุปัญวัคคีย์, ก็แล ตัณหา ๓ ตัณหา ๖ ตัณหา ๑๐๘ นี้ , เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์, มีชาติทุกข์เป็นต้น, อันพระอริยบุคคลทั้งหลาย, ได้รู้แจ้งแทงตลอดมาแล้วด้วยปัญญา

ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา , ตัณหา ๓ ตัณหา ๖ ตัณหา ๑๐๘ นี้อันใด, เป็นเหตุให้เกิดในภพ ๓ ภูมิ ๔ กำเนิด ๔ และคติทั้ง ๕ ,

นันทิราคะสะหะคะตา , ตัณหาประกอบไปด้วยราคะกำหนัดยินดีในกาม , มีความยินดีเพลิดเพลินในภพชาติ

ตัตระตัตราภินันทินี , มีความรักใคร่กำหนัดยินดี,เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์ต่างๆ , มีการติดอกติดใจอยู่ในภพชาตินั้นๆ

เสยยะถีทัง , ได้แก่ตัณหาความอยากเหล่านี้คือ

กามตัณหา , ความอยากในกามคุณ ๕ และความติดอกติดใจในกามภพกามภูมิ

ภะวะตัณหา , ความอยากความยินดีพอใจอยู่ในภพทั้ง ๓ , และความอยากความเห็นว่า, สัตว์ทั้งหลายเป็นของเที่ยง

วิภะวะตัณหา , ความอยากความยินดีพอใจติดใจอยู่ , ในความเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายตายแล้วสูญ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยสัจจัง ,

ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย์, นิโรธสัจจะคือพระนิพพาน ๒, พระนิพพาน ๓ นี้นั้นแล , เป็นธรรมที่ดับเพลิงกิเลสและดับเพลิงทุกข์ได้หมดสิ้นเชิง , อันพระอริยบุคคลทั้งหลาย, ได้รู้แจ้งแทงตลอดมาแล้วด้วยปัญญา

โยตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ

นิโรธสัจจะคือพระนิพพานนั้นใด , เป็นธรรมดับเพลิงกิเลสและดับเพลิงทุกข์ได้หมดไม่มีเหลือ

จาโค , นิโรธสัจจะ คือพระนิพพานนั้น, สลัดทิ้งซึ่งกิเลสตัณหาอุปาทาน

ปะฏินิสสัคโค , นิโรธสัจจะ คือพระนิพพานนั้น ,สละคืนสลัดทิ้งซึ่งกองกิเลสและกองทุกข์

มุตติ , นิโรธสัจจะ คือพระนิพพานนั้น, เป็นธรรมที่พ้นไปจากกองกิเลสและพ้นจากกองทุกข์

อะนาละโย ,นิโรธสัจจะ คือพระนิพพานนั้น, เป็นธรรมที่ไม่มีความยินดีพอใจในภพชาติอีกต่อไป

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ฯ
ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย์, อริยมรรคมีองค์ 8 นี้นั้นแล, เป็นข้อประพฤติปฏิบัติสายกลาง, เป็นข้อประพฤติปฏิบัติให้บรรลุมรรคผลนิพพาน, เป็นธรรมที่ดับเพลิงกิเลสและดับเพลิงทุกข์ได้หมดสิ้นเชิง , อันพระอริยบุคคลทั้งหลาย, ได้รู้แจ้งแทงตลอดมาแล้วด้วยปัญญา

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค, ได้แก่หนทางอันประเสริฐ , ประกอบไปด้วยองค์ ๘ ประการนี้เอง

เสยยาถีทัง , มัชฌิมาปฏิปาทาคืออริยมรรค ๘ ประการนั้นมีอะไรบ้าง

สัมมาทิฏฐิ , คือปัญญารู้แจ้งรู้จริงในอริยสัจจะสี่

สัมมาสังกัโป, คือปัญญารู้แจ้งรู้จริง , ยกจิตใจออกจากกิเลสกามและวัตถุกาม

สัมมาวาจา , คือการพูดวาจาสุจริตทั้ง ๔ประการ

สัมมากัมมันโต, คือการประพฤติปฏิบัติสมถวิปัสสนา, เป็นการทำการงานทางกายและทางจิตใจ

สัมมาอาชีโว, คือการเลี้ยงชีพสุจริต, มีชีวิตอยู่ด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรม

สัมมาวายาโม, ขยันปฏิบัติสมถวิปัสสนา, เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน

สัมมาสติ , คือมีสติ มีความเพียร มีปัญญา, พิจารณาอยู่ซึ่งกาย เวทนา จิต และธรรม

สัมมาสมาธิ, คือจิตใจสงบจากนิวรณ์ธรรมทั้ง ๕, บรรลุฌานสมาบัติทั้งสี่ตามลำดับ ฯ

อิทัง ทุกขัง อะริยสัจจันติ เม ภิกขะเว , ปุพเพ
อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ ,ญาณัง อุทะปาทิ,
ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ ,อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย,์ พุทธจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ปัญญาจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ทิพพจักษุคือวิชชา ๓ วิชชา ๘, ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา, สมันตะจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ในธรรมทั้งหลาย , ที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมา,จากสมณพราหมณ์ทั้งหลายในกาลก่อนเลยว่า, ขันธ์ทั้ง ๕นี้เป็นกองทุกข์, อันพระอริยบุคคลทั้งหลาย , ได้รู้แจ้งแทงตลอดมาแล้วด้วยปัญญา

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยสัจจัง, ปะริญเญยยันติ
เม ภิกขะเว , ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ,
วิชชา อุทะปาทิ , อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย์ พุทธจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ปัญญาจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ทิพพจักษุ คือวิชชา ๓ วิชชา ๘, ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา, สมันตะจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมา, จากสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ในกาลก่อนเลยว่า, ขันธ์ทั้ง ๕ ที่เป็นทุกขอริยสัจจนี้, อันบุคคลพึงกำหนดพิจารณาให้รอบรู้

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยสัจจัง, ปะริญญาตันติ
เม ภิกขะเว , ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ,
วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย,์ พุทธจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ปัญญาจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ทิพพจักษุคือวิชชา ๓ วิชชา ๘, ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา, สมันตะจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ในธรรมทั้งหลาย , ที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมา,จากสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ในกาลก่อนเลยว่า, ขันธ์ทั้ง ๕ ที่เป็นทุกขอริยสัจจนี้, อันเราตถาคตได้กำหนดรู้รอบแล้ว

อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยสัจจันติ เม ภิกขะเว ,
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ,
ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ,
วิชชา อุทะปาทิ , อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย์, พุทธจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ปัญญาจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ทิพพจักษุคือวิชชา ๓ วิชชา ๘, ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา, สมันตะจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมา,จากสมณพราหมณ์ทั้งหลาย, ในกาลก่อนเลยว่า, ตัณหา ๓ ตัณหา ๖ ตัณหา ๑๐๘, อันเป็นทุกขสมุทยสัจจะนี้นั้นแล , อันบุคคลควรละทิ้งให้หมดไป

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยสัจจัง,ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ,
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ,
ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ,
วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ ฯ


ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย,์ พุทธจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ปัญญาจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ทิพพจักษุคือวิชชา ๓ วิชชา ๘, ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา, สมันตะจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาจากสมณพราหมณ์ทั้งหลาย , ในกาลก่อนเลยว่า, ตัณหา ๓ ตัณหา ๖ ตัณหา ๑๐๘ , อันเป็นทุกขสมุทยอริยสัจจนี้นั้นแล , อันบุคคลควรประหารทิ้งเสียให้หมดไป

ตัง โข ปะนิทัง ทุกะสะมุทะโย อะริยสัจจัง, ปะฮีนันติ เม ภิกขะเว ,
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ,
ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ,
วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย,์ พุทธจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ปัญญาจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ทิพพจักษุคือวิชชา ๓ วิชชา ๘, ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา, สมันตะจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมา,จากสมณพราหมณ์ทั้งหลาย , ในกาลก่อนเลยว่า , ตัณหา ๓ ตัณหา ๖ ตัณหา ๑๐๘ , อันเป็นทุกขสมุทยะอริยสัจจะนี้นั้นแล อันเราตถาคตได้ประหารทิ้งหมดสิ้นไปแล้ว

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยสัจจันติ เม ภิกขะเว ,
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ,
ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ,
วิชชา อุทะปาทิ , อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย์, พุทธจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ปัญญาจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ทิพพจักษุคือวิชชา ๓ วิชชา ๘ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา, สมันตะจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมา,จากสมณพราหมณ์ทั้งหลายในกาลก่อนเลยว่า, นิโรธสัจจะคือพระนิพพาน ๒ พระนิพพาน ๓ นี้, เป็นทุกขนิโรธอริยสัจจะ ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ,
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ,
ปัญญา อุทะปาทิ , วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย์, พุทธจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ปัญญาจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ทิพพจักษุคือวิชชา ๓ วิชชา ๘, ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา, สมันตะจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมา, จากสมณพราหมณ์ทั้งหลายในกาลก่อนเลยว่า, นิโรธสัจจะคือพระนิพพาน ๒ พระนิพพาน ๓ , ที่เป็นทุกขนิโรธอริยสัจจนี้นั้นแล , อันบุคคลควรกระทำให้แจ่มแจ้ง , บรรลุถึงด้วยปัญญาญาณ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ,
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ,
ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ , อาโลโก อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย์, พุทธจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ปัญญาจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ทิพพจักษุคือวิชชา ๓ วิชชา ๘, ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา, สมันตะจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมา, จากสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ,ในกาลก่อนเลยว่า, นิโรธสัจจะคือพระนิพพาน ๒ พระนิพพาน ๓,ที่เป็นทุกขนิโรธอริยะสัจจนี้นั้นแล , อันเราตถาคตได้กระทำให้แจ่มแจ้ง,บรรลุถึงด้วยปัญญาญาณแล้ว

อิทัง ทุกขะนิโรคามินีปะฏิปะทา อะริยสัจจันติ เม ภิกขะเว ,
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง, อุทะปาทิ,
ปัญญา อุทะปาทิ , วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย,์ พุทธจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ปัญญาจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ทิพพจักษุคือวิชชา ๓ วิชชา ๘, ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา, สมันตะจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมา, จากสมณพราหมณ์ทั้งหลาย , ในกาลก่อนเลยว่า, อริยมรรค ๘ประการนี้ , เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยะสัจจะ , เป็นข้อประพฤติปฏิบัติสายกลาง, ให้บรรลุถึงมรรคผลนิพพานได้, อันพระอริยบุคคคลได้รู้แจ้งแทงตลอด, มาแล้วด้วยปัญญาญาณ ,

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรคามินีปะฏิปะทา อะริยสัจจัง ภาเวตัพพันติ เมภิกขะเว,
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ ,ญาณัง อุทะปาทิ,
ปัญญา อุทะปาทิ ,วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย์ พุทธจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ปัญญาจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ทิพพจักษุ คือวิชชา ๓ วิชชา ๘, ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา, สมันตะจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมา, จากสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ในกาลก่อนเลยว่า, อริยมรรค ๘ประการนี้, เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยะสัจจะนี้นั้นแล , เป็นข้อประพฤติปฏิบัติสายกลาง , อันบุคคลควรประพฤติปฏิบัติให้เจริญมากขึ้น

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรคามินีปะฏิปะทา อะริยสัจจัง, ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ,
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ,
ปัญญา อุทะปาทิ ,วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย์, พุทธจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ปัญญาจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ,ทิพพจักษุคือวิชชา ๓ วิชชา ๘, ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา, สมันตะจักษุได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา , ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมา, จากสมณพราหมณ์ทั้งหลาย , ในกาลก่อนเลยว่า, อริยมรรค ๘ประการนี้ , เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยะสัจจะนี้นั้นแล , เป็นข้อประพฤติปฏิบัติสายกลาง , ให้บรรลุถึงมรรคผลนิพพานได้, อันเราตถาคตประพฤติปฏิบัติให้เจริญมากขึ้นแล้ว


ยาวกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ , จตูสุ อะริยะสัจเจสุ
เอวันติปะรัวัฏฏัง ทะวาทะสาการัง, ยะถาภูตัง
ญาณะทัสสะนัง , นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ

ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย์ , ปัญญาในมรรคจิตทั้ง ๔ ,ที่รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจจะทั้ง ๔ คือ, ปัญญารู้แจ้งทุกขอริยสัจจะ , ปัญญารู้แจ้งทุกขสมุทยสัจจะ , ปัญญารู้แจ้งทุกขนิโรธอริยสัจจะ , ปัญญารู้แจ้งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจะ , เหล่านี้ของเรามี ๓ รอบคือ , ขันธ์ทั้ง ๕นี้เป็นทุกขอริยสัจจะ , ตัณหา ๓ ตัณหา ๖ ตัณหา ๑๐๘นี้ , เป็นทุกขสมุทยอริยสัจจะ , พระนิพพาน ๒ พระนิพพาน ๓นี้ , เป็นทุกขนิโรธอริยสัจจะ ,อริยมรรคประกอบไปด้วยองค์ ๘ นี้ , เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจะ, ทุกขอริยสัจจะควรกำหนดรู้ , สมุทยอริยสัจจะควรกำหนดละ, ทุกขนิโรธอริยสัจจะ , ควรกระทำให้แจ้งแทงตลอด , ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจะ , อันบุคคลควรเจริญให้
มากขึ้น , ทุกขอริยสัจจนี้,เรา ได้กำหนดรู้แจ้งแล้ว , ทุกขสมุทยอริยสัจจะนี้ , เรากำหนดละได้หมด แล้ว , ทุกขนิโรธอริยสัจจนี้, เรากระทำให้แจ่มแจ้งด้วยปัญญาแล้ว , ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจะนี้ , เราทำให้เจริญขึ้นมากแล้ว , รวมเป็นญาญ ๓ ,ในอริยสัจจะสี่อย่างนี้ของเรา, ยังไม่หมดจดจากกิเลสตัณหาอยู่เพียงไร , (ญาณ ๓ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ ตกญาณ ในอริยสัจจะสี่ ๓ รอบ รวมเป็น ๑๒ )


เนวะ ตาวะหัง ภิกขะเว, สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก,
สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ,
สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง
อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ

ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย์, เราตถาคตได้ปฏิญญาณตน, ยืนยันด้วยตนเองว่า,เราเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมาสัมโพธิญาณ , ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งโลกุตตรธรรม ๙ได้ด้วยตนเอง, ด้วยปัญญาอันยอดเยี่ยม , เป็นศาสดาองค์เอกใน โลกทั้ง ๓ , คือในมนุษย์โลก , เทวโลก, มารโลก, และพรหมโลก , ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ , และในหมู่มนุษย์เทวดาอินทร์พรหมทั้งหลาย , ยังไม่ได้เพียงไร ,

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว, อิเมสุ จะตูสุ อะริยสัจเจสุ,
เอวันติปะริวัฏฏัง ทะวาทะสาการัง ยะถาภูตัง,
ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ

ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย์ ,ก็เมื่อใดแลปัญญาในมรรคจิตทั้ง ๔ ,ได้รู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจจทั้ง ๔ , ตามความเป็นจริงเหล่านี้ของเราตถาคต , มี ๓ รอบ, คือสัจจญาณในอริยสัจจะสี่ ,กิจจญาณในอริยสัจจะสี่ ,กตญาณในอริยสัจจะสี่ , รวมเป็นญาณ ๓ ในอริยสัจจะสี่รวมเป็น ๑๒ อย่างนี้ ,เป็นของบริสุทธิหมดจดดีแล้วจากกิเลตัณหา

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก, สะมาระเก
สะพรัหมะเก, สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ,
สะเทะวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง, สัมมาสัมโพธิง
อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ

ดูก่อนภิกษุปัญจวัคคีย์, เราตถาคตได้ปฏิญญาณตน, ยืนยันด้วยตนเองว่า , เราเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมาสัมโพธิญาณ , ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งโลกุตตรธรรม ๙ได้ด้วยตนเอง, ด้วยปัญญาอันยอดเยี่ยม , เป็นศาสดาองค์เอก ในโลกทั้ง ๓ , คือในมนุษย์โลก , เทวโลก, มารโลก, และพรหมโลก , ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ , และในหมู่มนุษย์เทวดาอินทร์พรหมทั้งหลาย ,

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ ,

สัพพัญญุตญาณและมรรคญาณ ,พร้อมด้วยปัจจเวกขญาณ, อันแจ่มแจ้งได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า,

อะกุปปา เม วิมุตติ , การหลุดพ้นจากกองกิเลสและกองทุกข์ , ของเราจักไม่กำเริบกลับมาอีก

อะยะมันติมา ชาติ , การเกิดในภพ ๓ ภูมิ ๔ , เกิดในกำเนิดทั้ง ๔ ในคติทั้ง ๕, จักไม่มีอีกต่อไป , ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา

นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ, บุญบาปกุศลกรรม, หรืออกุศลกรรมที่เป็นพืช, เป็นเหตุให้เกิดในภพชาติอีก,บัดนี้ไม่มีอีกแล้ว ฯ

อิทะมาโวจะ ภะคะวา , เมื่อพระบรมศาสดา ได้ทรงประกาศ พระธรรมจักรนี้จบลงแล้ว

อัตตะมานา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู, ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ

ภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้งหลาย, มีจิตศรัทธาโสมนัสยินดี, เพลิดเพลินพุทธภาษิต, ของพระบรมศาสดา

อิมัสะมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสสะมิง ภัญญะมาเน

ก็แลเมื่อพระบรมศาดา ,ได้ตรัสพระธรรมจักร,เป็นเวยยากรณ์อยู่อย่างนี้

อายัสสะมะโต โกญฑัญญัสสะ ,วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ฯ

ธรรมจักษุคือโสดาปัตติมรรคญาณ , อันปราศจากสักกายทิฏฐิวิจิกิจฉา,และสีลพัตตปรามาส ,ได้เกิดขึ้นแล้วแก่ท่านโกณฑัญญะ

ยังกิญจ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ

ว่าขันธ์ ๕ขันธ์คือรูปธรรมนามธรรมนั้น, เกิดจากเหตุทั้ง ๖ เมื่อเหตุทั้ง ๖ ดับไป , ขันธ์ทั้ง ๕นั้น ย่อมแก่เจ็บตายลงไปเป็นธรรมดา

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก, เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า , แสดงธรรมจักร์อยู่

ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ,

พวกภุมมัฏฐะเทวดาทั้งหลาย ,พวกรุกขเทวดาทั้งหลาย ,พวกอากาสเทวดาทั้งหลาย, ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน ,ด้วยเสียงดังสะนั่นบันลือลั่น ,

เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง, อิสิปะตะเน มิคะทาเย,
อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตตะติ

ว่าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า , ทรงประกาศพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม , ที่ป่าอิสิปะตะนมฤทายวัน , ใกล้เมืองพาราณสี

อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา,
เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสสะมินติ ฯ

ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์, หรือเทวดามารพรหม, หรือผู้ใดผู้หนึ่งในหมื่นโลกธาตุแสนโกฏิจักรวาล , แสดงพระธรรมจักรนี้ได้เลย

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตะวา, จาตุมหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

พวกเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลาย , ที่อยู่สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา, เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการ, ของภุมมัฏฐกเทวดาทั้งหลายแล้ว , ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสั่นบันลือลั่น ,

จาตุมหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตะวา , ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสานเวสุง ฯ

พวกเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลาย , ที่อยู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์, เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการ, ของเทพบุตรเทพธิดาเทวดาทั้งหลาย, ที่อยู่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาแล้ว, ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสั่นบันลือลั่น ,

ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตะวา , ยามา เทวา สัททะมะนุสสานเวสุง ,

พวกเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลาย , ที่อยู่สวรรค์ชั้นยามา, เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการ, ของเทพบุตรเทพธิดาเทวดาทั้งหลาย, ที่อยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้ว, ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสั่นบันลือลั่น ,

ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตะวา , ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสานเวสุง ฯ

พวกเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลาย , ที่อยู่สวรรค์ชั้นดุสิต์, เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการ, ของเทพบุตรเทพธิดาเทวดาทั้งหลาย, ที่อยู่ในสวรรค์ชั้นยามา แล้ว, ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสั่นบันลือลั่น ,

ดุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตะวา ,นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสานเวสุง ฯ

พวกเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลาย , ที่อยู่สวรรค์ชั้นนิมมานรดี, เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการ, ของเทพบุตรเทพธิดาเทวดาทั้งหลาย, ที่อยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิตแล้ว, ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสั่นบันลือลั่น ,

นิมมานะรตีนัง เทวานัง สัททัง สุตะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา, สัททะมะนุสสานเวสุง,

พวกเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลาย , ที่อยู่สวรรค์ชั้นปรนิมิตวสวัสดี, เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการ, ของเทพบุตรเทพธิดาเทวดาทั้งหลาย, ที่อยู่ในสวรรค์ ชั้นนิมมานรดีแล้ว, ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสั่นบันลือลั่น ,

ปะระนิมมิตะวสวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ,พรัหมะปาริสัชชา เทวา, สัททะมะนุสสาเวสุง ,

พวกพรหมทั้งหลาย ,ที่อยู่บนพรหมโลกชั้นปาริสัชชาภูมิ , เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการ, ของเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลาย, ที่อยู่ในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวะสวัสดีแล้ว , ก็ให้เสียงสาธุการ พรัอมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสนั่นบันลือลั่น ฯ

พรัหมะปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตะวา ,พรัหมะปะโรหิตา เทวา, สัททะมะนสุสาเวสุง ,

พวกพรหมทั้งหลาย , ที่อยู่บนพรหมโลกชั้นปโรหิตาภูมิ , เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการของพวกพรหมทั้งหลาย, ที่อยู่ในพรหมโลกชั้นปาริสัชชาภูมิแล้ว , ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสนั่นบันลือลั่น

พรัหมะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตะวา ,มหาพรัหมา เทวา สัททะมะนสุสาเวสุง ,

พวกพรหมทั้งหลาย , ที่อยู่บนพรหมโลกชั้นมหาพรหมาภูมิ , เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการของพวกพรหมทั้งหลาย, ที่อยู่ในพรหมโลกชั้นปุโรหิตาภูมิแล้ว , ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสนั่นบันลือลั่น

มหาพรัหมานัง เทวานัง สัททัง สุตะวา ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนสุสาเวสุง ,

พวกพรหมทั้งหลาย , ที่อยู่บนพรหมโลกชั้นปริตตาภาภูมิ , เมื่อได้ฟัง เสียงสาธุการของพวกพรหมทั้งหลาย, ที่อยู่ในพรหมโลก ชั้นมหาพรัหมาภูมิแล้ว , ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสนั่นบันลือลั่น ฯ

ปริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตะวา, อัปปมาณาภา เทวา สัททะมะนสุสาเวสุง ,

พวกพรหมทั้งหลาย , ที่อยู่บนพรหมโลกชั้นอัปปมาณาภาภูมิ , เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการของพวกพรหมทั้งหลาย, ที่อยู่ในพรหมโลกชั้นปริตตาภาภูมิแล้ว , ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสนั่นบันลือลั่น ฯ

อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตะวา, อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนสุสาเวสุง

พวกพรหมทั้งหลาย , ที่อยู่บนพรหมโลกชั้นอาภัสสราภูมิ , เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการของพวกพรหมทั้งหลาย, ที่อยู่ในพรหมโลกชั้นอัปปมาณาภาภูมิแล้ว , ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสนั่นบันลือลั่น ฯ

อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตะวา, ปะริตตสุภา เทวา, สัททะมะนสุสาเวสุง

พวกพรหมทั้งหลาย , ที่อยู่บนพรหมโลกชั้นปริตตสุภาภูมิ , เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการของพวกพรหมทั้งหลาย, ที่อยู่ในพรหมโลกชั้นอาภัสสราภูมิแล้ว , ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสนั่นบันลือลั่น

ปริตตสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตะวา , อัปปะมาณะสุภา เทวา, สัททะมะนสุสาเวสุง

พวกพรหมทั้งหลาย , ที่อยู่บนพรหมโลกชั้นอัปปมาณสุภาภูมิ , เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการของพวกพรหมทั้งหลาย, ที่อยู่ในพรหมโลกชั้นปริตตะสุภาภูมิแล้ว , ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสนั่นบันลือลั่น ฯ

อัปปมาณสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตะวา , สุภะกิณหา เทวา สัททะมะนสุสาเวสุง

พวกพรหมทั้งหลาย , ที่อยู่บนพรหมโลกชั้นสุภกิณหาภูมิ , เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการของพวกพรหมทั้งหลาย, ที่อยู่ในพรหมโลกชั้นอัปปมาณสุภาภูมิแล้ว , ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสนั่นบันลือลั่น ฯ

สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตะวา , เวหัปผลา เทวา สัททะมะนสุสาเวสุง

พวกพรหมทั้งหลาย , ที่อยู่บนพรหมโลกชั้นเวหัปผลาภูมิ , เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการของพวกพรหมทั้งหลาย, ที่อยู่ในพรหมโลกชั้นสุภะกิณหาภูมิแล้ว , ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสนั่นบันลือลั่น ฯ

เวหัปผลานัง เทวานัง สัททัง สุตะวา, อะวิหา เทวา สัททะมะนสุสาเวสุง

พวกพรหมทั้งหลาย , ที่อยู่บนพรหมโลกชั้นอวิหาภูมิ , เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการของพวกพรหมทั้งหลาย, ที่อยู่ในพรหมโลกชั้น เวหัปผลาภูมิแล้ว ,ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสนั่นบันลือลั่น ฯ

อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตะวา , อะตัปปา เทวา สัททะมะนสุสาเวสุง

พวกพรหมทั้งหลาย , ที่อยู่บนพรหมโลกชั้นอตัปปาภูมิ , เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการของพวกพรหมทั้งหลาย, ที่อยู่ในพรหมโลกชั้น อะวิหาภูมิแล้ว , ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสนั่นบันลือลั่น ฯ

อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตะวา , สุทัสสา เทวา สัททะมะนสุสาเวสุง

พวกพรหมทั้งหลาย , ที่อยู่บนพรหมโลกชั้นสุทัสสาภูมิ , เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการของพวกพรหมทั้งหลาย, ที่อยู่ในพรหมโลกชั้น อะตัปปาภูมิแล้ว , ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสนั่นบันลือลั่น ฯ

สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตะวา , สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง

พวกพรหมทั้งหลาย , ที่อยู่บนพรหมโลกชั้นสุทัสสีภูมิ , เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการของพวกพรหมทั้งหลาย, ที่อยู่ในพรหมโลกชั้น สุทัสสาภูมิแล้ว , ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสนั่นบันลือลั่น ฯ

สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตะวา , อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนสุสาเวสุง

พวกพรหมทั้งหลาย , ที่อยู่บนพรหมโลกชั้นอกนิฏฐาภูมิ, เมื่อได้ฟังเสียงสาธุการของพวกพรหมทั้งหลาย, ที่อยู่ในพรหมโลกชั้น สุทัสสีภูมิแล้ว , ก็ได้ให้เสียงสาธุการพร้อมเพียงกัน , ด้วยเสียงดังสนั่นบันลือลั่น ฯ

เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง ,อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติยัง ,

สมเด็จพระผู้มีพระาคเจ้า, ได้ทรงแสดงพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม, ที่ป่าอิสิปตนะมฤคะทายวัน , ใกล้เมืองพาราณสี

อัปปะฏิวัตติยัง สะมะฌณนะ วา, พรัหมะเณนะ วา ,
เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนจิ วา โลกัสสะมินติ ฯ

ไม่มีสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา, หรือมารเทวดาอินทร์พรหมยม ยักษ์ ,คนใดคนหนึ่งแสดงพระธรรมจักรได้เลย

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉะติ ฯ

โดยกาลครู่เดียวเท่านั้น , เสียงให้สาธุการของเทวดาอินทร์พรหมทั้งหลาย , ก็ดังสั่นบันลือลั่นทั่วๆไปจนถึงพรหมโลก , ด้วยประการฉะนี้แล

อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกธาตุ , สังกัมปิ สัมปะกัมป สัมปะเวธิ

หมื่นโลกธาตุแสนโกฏิจักรวาลนี้ ,ก็ได้เกิดเหตุอัศจรรย์หวั่นไหว, สะเทือนสะท้านขึ้น, เสียงโกลาหลแตกตื่น, ด้วยเสบียง แซ่ซ้อง สาธุการ,

อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร , โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ ฯ

ได้เกิดนิมิตอัศจรรย์ ๓๒ประการขึ้น , แสงสว่างอันโอฬารยิ่ง,ไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ , ได้ปรากฏเกิดขึ้นแล้ว,ในหมื่นโลกธาตุ แสนโกฏิจักรวาฬ

อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง

รัศมีแสงสว่างอันโอฬาร,ได้ครอบงำอานุภาพของเทวดาอินทร์พรหมทั้งหลาย

อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ,

ในลำดับนั้นแล, สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า, ได้ทรงเปล่งพระสุระเสียงอุทานว่า

อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ,

โกณฑัญญะได้บรรลุธรรมจักษุ, คือโสดาปัตติมรรคญาณแล้วหนอ,

อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ ,

โกณฑัญญะได้บรรลุธรรมจักษุ, คือโสดาปัตติมรรคดีแล้วหนอ

อิติหิทัง อายัสสะมะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญตะเววะ, นามัง อะโหสีติ ฯ

เพราะเหตุนั้นแล , ท่านโกณฑัญญะจึงได้มีชื่อใหม่ว่า, อัญญาโกณฑัญญะ, ด้วยประการฉะนี้แล

จบพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร




 

Create Date : 22 สิงหาคม 2551    
Last Update : 22 สิงหาคม 2551 11:52:45 น.
Counter : 596 Pageviews.  

เวลาอ่านถวายทานด้วยสิ่งของต่างๆ ทราบอานิสงส์กันไหมครับ?

พระปิลินทวัจฉะ ท่านเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระปิลินทวัจฉะว่า เป็นผู้เลิศกว่าพระภิกษุทั้งหลายในทางเป็นที่รักแห่งเทวดา คือเทวดาจะรักท่านมากด้วยความดีที่ท่านได้สร้างมาทั้งในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านได้ระลึกชาติในอดีตกาลของท่านว่า

ในอดีตกาลผ่านมาแล้วแสนกัป ครั้งนั้นได้มีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งอุบัติตรัสรู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาอยู่ในโลก ทรงพระนามว่า พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประกาศพระศาสนาตั้งหลักมั่นอยู่ที่พระนครหังสวดี พระปิลินทวัจฉะเกิดเป็นผู้มีทรัพย์ได้ถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยสิ่งของมากมายหลายอย่าง

อานิสงส์แห่งการถวายทานด้วยสิ่งของต่างๆ ย่อมให้ผลต่างๆ แก่ท่านซึ่งท่านได้บรรยายไว้ละเอียด จึงขอนำมาฝากชาวห้องศาสนาครับ

การทำบุญด้วยร่มย่อมมีอานิสงส์ ๘ ประการคือ ๑.ไม่รู้สึกหนาว ๒.ไม่รู้สึกร้อน ๓.ละอองและธุลีไม่แปดเปื้อน ๔.เป็นผู้ไม่มีอันตราย ๕.ไม่มีจันไร ๖.มหาชนยำเกรงทุกเมื่อ ๗.มีผิวพรรณละเอียด ๘.เป็นผู้มีใจกว้างขวาง และเมื่ออุบัติเป็นเทวดา ฉัตรหนึ่งแสนคันอันประกอบด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง ย่อมทรงไว้เหนือศีรษะของผู้ทำบุญด้วยร่ม

การทำบุญด้วยผ้าย่อมมีอานิสงส์ ๘ ประการคือ ๑.เป็นผู้มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดังทองคำ ๒.ปราศจากธุลี ๓.มีรัศมีผ่องใส ๔.มีเดช ๕.เนื้อตัวผิวพรรณละเอียดอ่อน ๖.เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพย่อมมีผ้าขาวแสนผืน ๗.ผ้าเหลืองแสนผืน ๘.ผ้าแดงแสนผืน ทรงอยู่เหนือศีรษะ เธอย่อมได้ผ้าไหมผ้าป่าน ผ้ากัมพล ผ้าฝ้ายในที่ทุกแห่ง นี่เป็นอานิสงส์แห่งการถวายผ้าเป็นทาน

การถวายบาตรพระย่อมมีอานิสงส์ ๑๐ ประการคือ ๑.ย่อมได้บริโภคโภชนาหารในภาชนะทองคำ ภาชนะแก้วมณี ภาชนะเงิน และภาชนะที่ทำด้วยทับทิมในกาลทั้งปวง ๒.เป็นผู้ไม่มีอันตราย ๓.ไม่มีจันไร ๔.มหาชนยำเกรงทุกเมื่อ ๕.เป็นผู้ได้ข้าว น้ำ ผ้า และที่นอนเป็นปกติ ๖.โภคสมบัติไม่พินาศ ๗.เป็นผู้มีจิตมั่นคง ๘.เป็นผู้ใคร่ธรรมทุกเมื่อ ๙.เป็นผู้ไม่มีกิเลส ๑๐.ไม่มีอาสวะ

การถวายมีดโกนย่อมมีอานิสงส์ ๘ ประการคือ ๑.เป็นผู้กล้า ๒.ไม่มีความเดือดร้อน ๓.ถึงที่สุดในเวสารัชธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็นผู้แกล้วกล้าในหมู่ชน) ๔.เป็นผู้มีธิติ (ความหนักแน่นอดทน) ๕.มีความเพียร ๖.มีใจอันประคองไว้ด้วยสติทุกเมื่อ ๗.ย่อมได้ญาณอันสุขุมเครื่องตัดกิเลส ๘.มีความบริสุทธิ์อันมิอาจชั่งตวงวัดได้

การถวายมีดพร้าย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการคือ ๑.ย่อมได้ความเพียรเป็นที่พึ่งพิงได้ ๒.มีขันติความอดทน ๓.เป็นผู้มีจิตไมตรี ๔.มีปัญญาคมกล้า ๕.มีญาณสุกสว่างเสมอด้วยแก้ววิเชียร

การถวายเข็มเย็บผ้าย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการคือ ๑.เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ย่อมเป็นผู้อันมหาชนนอบน้อม ๒.ตัดความสงสัยได้ ๓.มีรูปงาม ๔.มีโภคสมบัติ ๕.มีปัญญากล้าสามารถพิจารณาเห็นอรรถอันเป็นฐานะอันละเอียดลึกซึ้งด้วยญาณอันคมกล้า

การถวายมีดตัดเล็บย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการคือ ๑.ย่อมได้ทาสชายหญิง ๒.ได้วัวและม้า ๓.ได้คนฟ้อนรำ ๔.ได้ช่างตัดผม ๕.ได้พ่อครัวทำอาหารเป็นอันมากในที่ทั้งปวง

การถวายพัดใบตาลย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการคือ ๑.ไม่รู้สึกหนาว ๒.ไม่รู้สึกร้อน ๓.ไร้ความอบอ้าว ๔.ไร้ความกระวนกระวาย ๕.ไร้ความเดือดร้อนใจ

การถวายธมกรก (เครื่องกรองน้ำ) ย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการคือ ๑.ย่อมก้าวล่วงอันตรายทั้งปวง ๒.ย่อมได้อายุอันเป็นทิพย์ ๓.เป็นผู้อันโจรหรือข้าศึกไม่ข่มขี่ในกาลทุกเมื่อ ๔.อาวุธและยาพิษย่อมไม่เบียดเบียน ๕.ไม่ตายก่อนวัยอันควร

การถวายภาชนะน้ำมันย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการคือ ๑.เป็นผู้มีรูปสวยงาม ๒.มีความเจริญ ๓.มีใจเบิกบาน ๔.ไม่ฟุ้งซ่าน ๕.มีผู้อารักขา

การถวายกล่องเข็มย่อมมีอานิสงส์ ๓ ประการคือ ๑.มีความสุขใจ ๒.มีความสุขกาย ๓.มีความสุขอันเกิดแต่อิริยาบถ


การถวายผ้าอังสะย่อมมีอานิสงส์ ๓ ประการคือ ๑.ย่อมได้ความหนักในพระสัทธรรม ๒.ย่อมระลึกชาติที่แล้วมาได้ ๓.มีผิวพรรณอันงาม

การถวายประคดเอวย่อมมีอานิสงส์ ๖ ประการคือ ๑.ย่อมไม่หวั่นไหวในสมาธิ ๒.มีความชำนาญในสมาธิ ๓.มีบริษัทไม่แตกกัน ๔.มีถ้อยคำอันมหาชนเชื่อถือทุกเมื่อ ๕.มีสติตั้งมั่น ๖.ย่อมไม่มีความสะดุ้งกลัว

การถวายเชิงรองบาตร ย่อมมีอานิสงส์ ๓ ประการคือ ๑.ไม่มีภัย ๒.ไม่หวั่นไหวด้วยอะไรอะไร ๓.ธรรมเหล่าใดที่ได้ฟังแล้วย่อมทรงไว้ได้ไม่เสื่อมไป

การถวายภาชนะและเครื่องบริโภคย่อมมีอานิสงส์ ๔ ประการคือ ๑.ย่อมได้ภาชนะแก้วมณี ภาชนะแก้วผลึก และภาชนะแก้วทับทิม ๒.ภริยา ทาสชายหญิง พลช้างพลม้า พลรถ พลเดินเท้า และสตรีรับใช้ย่อมยำเกรงผู้นั้น ๓.ได้เครื่องบริโภคทุกเวลา ๔.ย่อมสามารถใคร่ครวญวิชาในบทมนต์อาคมต่างๆ ศิลปะทั้งปวง นำมาใช้ได้ทุกเวลา

การถวายขันย่อมมีอานิสงส์ ๓ ประการคือ ๑.ย่อมได้ขันทองคำ ขันแก้วมณี ขันแก้วผลึก ขันแก้วทับทิม ๒.น้ำที่ดื่มย่อมมีรสชาติหวาน ๓.มีข้อปฏิบัติในวัตรอันงามในอาจาระ และกิริยามารยาท

การถวายเภสัช ย่อมมีอานิสงส์ ๑๐ ประการคือ ๑.มีอายุยืน ๒.มีกำลัง ๓.มีปัญญา ๔.มีวรรณะ ๕.มียศ ๖.มีสุข ๗.ไม่มีอันตราย ๘.ไม่มีจันไร ๙.มหาชนยำเกรงทุกเมื่อ ๑๐.ไม่พลัดพรากจากของรัก

การถวายรองเท้าย่อมมีอานิสงส์ ๓ ประการคือ ๑.ยานช้าง ยานม้า วอ ย่อมบังเกิดแก่เขา ๒.เมื่อเที่ยวไปในภพ รองเท้าแก้วมณี รองเท้าเงิน รองเท้าทองคำย่อมเกิดขึ้นในขณะยกเท้าขึ้น ๓.รถหกหมื่นคันย่อมแวดล้อม

การถวายผ้าเช็ดหน้าย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการคือ ๑.มีผิวพรรณดุจทองคำปราศจากธุลี ๒.มีรัศมีผ่องใส ๓.มีเดช ๔.เนื้อตัวผิวพรรณละเอียดอ่อน ๕.ฝุ่นละอองไม่ติดตัว

การถวายไม้เท้าคนแก่ย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการคือ ๑.มีบุตรมาก ๒.ไม่มีความสะดุ้งกลัว ๓.ได้รับการอารักขา ๔.ไม่พลั้งพลาด ๕. จิตใจไม่มีความขลาดกลัว

การถวายยาหยอดตาย่อมมีอานิสงส์ ๘ ประการคือ ๑.ตากลมกว้างใหญ่ ๒.เห็นสีเหลืองสีขาวอย่างชัดเจน ๓.เห็นสีแดงอย่างชัดเจน ๔.ตาไม่มัว ๕.ตาแจ่มใส ๖.ไม่เป็นโรคตาทั้งปวง ๗.ได้ตาทิพย์ ๘.ได้ดวงตาเห็นธรรม

การถวายลูกกุญแจ ย่อมมีอานิสงส์คือ ย่อมได้ลูกกุญแจคือญาณเป็นเครื่องเปิดประตูธรรมคือความรู้แจ้ง

การถวายแม่กุญแจ ย่อมมีอานิสงส์ ๒ ประการคือ ๑.เป็นผู้มีความโกรธน้อย ๒.ไม่มีความคับแค้นใจ

การถวายสายโยค ย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการคือ ๑.มีสมาธิที่ไม่หวั่นไหว ๒.ชำนาญในสมาธิ ๓.มีพวกพ้องไม่แตกกัน ๔.มีถ้อยคำอันมหาชนเชื่อถือ ๕.ได้โภคสมบัติ

การถวายกล้องเป่าควันย่อมมีอานิสงส์ ๓ ประการคือ ๑.มีสติตั้งตรงคงที่ ๒.เส้นเอ็นต่อเนื่องกันดี ๓.ย่อมได้ตาทิพย์

การถวายตะเกียงตั้งย่อมมีอานิสงส์ ๓ ประการคือ ๑.เป็นผู้มีสกุล ๒.มีอวัยวะสมบูรณ์ ๓.มีปัญญาอันพระพุทธเจ้าสรรเสริญ

การถวายคนโทน้ำ และผอบ ย่อมมีอานิสงส์ ๑๐ ประการคือ ๑.ได้รับการคุ้มครอง ๒.พร้อมพรั่งด้วยสุข ๓.มียศมาก ๔.มีคติ ๕.ไม่มีความวิบัติ ๖.เป็นผู้ละเอียดอ่อน ๗.เว้นจากความจันไรทั้งปวง ๘.เป็นผู้ได้คุณอันไพบูลย์ ๙.ได้ความนับถือ ๑๐.พ้นจากความหวาดเสียว

การถวายผ้าเช็ดสิ่งสกปรกย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการคือ ๑.ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๒.มีอายุยืน ๓.มีปัญญา ๔.มีจิตมั่นคง ๕.กายพ้นจากความยากลำบากทุกอย่างในกาลทั้งปวง

การถวายมีดและกรรไกรย่อมมีอานิสงส์คือ ได้ญาณเป็นเครื่องตัดกิเลสอันคมกล้า

การถวายคีมย่อมมีอานิสงส์คือ ได้ญาณเป็นเครื่องถอดถอนกิเลสอันหนักหน่วง

การถวายยานัตถุ์ย่อมมีอานิสงส์ ๘ ประการคือ ๑.มีศรัทธา ๒.มีศีล ๓.มีหิริ ๔.มีโอตตัปปะ ๕.มีสุตะ ๖.มีจาคะ ๗.มีขันติ ๘.มีปัญญา

การถวายตั่งย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการคือ ๑.เกิดในตระกูลสูงมีโภคสมบัติมาก ๒.ชนทั้งปวงย่อมยำเกรง ๓.ชื่อเสียงฟุ้งไป ๔.บัลลังก์ย่อมเกิดขึ้น ๕.ยินดีในการจำแนกทาน

การถวายที่นอนย่อมมีอานิสงส์ ๖ ประการคือ ๑.มีร่างกายสมส่วน ๒.เป็นผู้อ่อนโยนมีรูปงามน่าดู ๓.ย่อมได้ญาณอันประเสริฐ ๔.ย่อมได้เครื่องนอนเครื่องลาดอันวิจิตร ๕.ย่อมได้ที่นอนขนสัตว์อันอ่อนนุ่ม ๖.ย่อมได้บรรลุฌาน

การถวายหมอนย่อมมีอานิสงส์ ๖ ประการคือ ๑.ย่อมได้หมอนอันวิจิตร ๒.ย่อมได้ญาณในมรรคผล ๓.ย่อมได้ญาณในทาน สัญญมะ อัปปมัญญา และรูปฌาณ ๔.ย่อมได้ญาณในศีลและวัตร ๕.ย่อมได้ญาณในการจงกรมและการทำความเพียร ๖.ย่อมได้ญาณในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และในวิมุตติญาณทัสสนะ

การถวายตั่งแผ่นกระดานย่อมได้อานิสงส์คือ ย่อมได้บัลลังก์อันประเสริฐอันทำด้วยทองคำ แก้วมณีและงาช้าง

การถวายตั่งรองเท้า ย่อมได้อานิสงส์ ๒ ประการคือ ๑.ย่อมได้ยวดยานเป็นอันมาก ๒.บริวารย่อมปรนนิบัติโดยชอบ

การถวายน้ำมันสำหรับทาเท้าย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการคือ ๑.ไม่ป่วยไข้ ๒.มีรูปงาม ๓.เส้นเอ็นเส้นประสาทรับสัมผัสเร็ว ๔.ได้ข้าวและน้ำ ๕.มีอายุยืน

การถวายเนยใสและน้ำมันย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการคือ ๑.เป็นผู้มีกำลัง ๒.มีรูปสมบูรณ์ ๓.เป็นผู้ร่าเริงทุกเมื่อ ๔.มีบุตรตามต้องการ ๕.ไม่ป่วยไข้


การถวายน้ำบ้วนปาก ย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการคือ ๑.มีลำคอบริสุทธิ์ ๒.มีเสียงไพเราะ ๓.ไม่เป็นโรคไอ ๔.ไม่เป็นโรคหอบหืด ๕.กลิ่นปากหอม

การถวายนมส้มอย่างดีย่อมมีอานิสงส์คือ ย่อมได้บริโภคภัตไม่ขาดสายและย่อมบรรลุกายคตาสติกรรมฐาน

การถวายน้ำผึ้งย่อมได้บรรลุวิมุตติธรรม

การถวายข้าวและน้ำย่อมมีอานิสงส์ ๑๐ ประการคือ ๑.มีอายุยืน ๒.มีกำลัง ๓.เป็นนักปราชญ์ ๔.มีวรรณะ ๕.มียศ ๖.มีสุข ๗.เป็นผู้ได้ข้าว ๘.เป็นผู้ได้น้ำ ๙.เป็นคนกล้า ๑๐.มีญาณรู้ทั่ว

การถวายธูปย่อมมีอานิสงส์ ๑๐ ประการคือ ๑.มีกลิ่นตัวหอมฟุ้ง ๒.มียศ ๓.มีปัญญาเร็ว ๔.มีชื่อเสียง ๕.มีปัญญาคมกล้า ๖.มีปัญญากว้างขวาง ๗.มีปัญญาร่าเริง ๘.มีปัญญาลึกซึ้ง ๙.มีปัญญาแล่นไป ๑๐.ได้บรรลุนิพพาน

...................................................................

ขอขอบคุณที่มีจิตเป็นกุศลติดตามอ่านธรรมะครับ

ผู้ให้ของชอบใจ ย่อมได้ของชอบใจ ผู้ให้ของเลิศ ย่อมได้ของเลิศ
ผู้ให้ของดี ย่อมได้ของดี ผู้ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงฐานะอันประเสริฐ


ขอขอบคุณที่มีจิตเป็นกุศลติดตามอ่านธรรมะ
ข้อมูลจากพระอาจารย์ชุมพล อ้างอิงจากปิลินทวัจฉเถราปทาน พระไตรปิฎก ขอบคุณภาพประกอบจากสมาชิกพันทิป




 

Create Date : 22 สิงหาคม 2551    
Last Update : 22 สิงหาคม 2551 11:49:58 น.
Counter : 494 Pageviews.  

อนุปุพพิกกถา ธรรมเทศนาที่แสดงเนื้อความลุ่มลึกลงไปโดยลำดับ

ตามปกติสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่คฤหัสถ์ ผู้มีอุปนิสัยสามารถที่จะบรรลุธรรมพิเศษ ทรงแสดงอนุปุพพิกกถา คือธรรมเทศนาที่แสดงเนื้อความลุ่มลึกลงไปโดยลำดับ เพื่อขัดเกลาอัธยาศัยของผู้ฟังให้ประณีตขึ้นไปเป็นชั้นๆ จนพร้อมที่จะทำความเข้าใจในธรรมส่วนปรมัตถ์นี้ก่อน แล้วจึงทรงแสดง “สามุกกังสิกเทศนา” คือเทศนาที่ได้ทรงยกขึ้นแสดงด้วยความตรัสรู้ของพระองค์เอง อันได้แก่ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ก็คืออริยสัจจ์ทั้งสี่ นี้ในอันดับต่อไป เป็นการทำจิตให้พร้อมที่จะรับ อนุปุพพิกถา กถาที่ได้ตรัสแสดงไปโดย ลำดับตั้งแต่ขั้นต้น ที่มักจะได้ทรงแสดงก่อนอริยสัจจ์นั้นก็มี ๕ ข้อ คือ ๑.ทานกถา พรรณนาทาน ๒.สีลกถา พรรณนาศีล ๓.สัคคกถา พรรณนาสวรรค์ คือความสุขที่พรั่งพร้อมด้วยกาม ๔.กามาทีนวกถา พรรณนาโทษของกาม และเนกขัมมานิสังสกถา ๕.พรรณนาอานิสงส์แห่งการออกจากกาม มาพิจารณาอนุปุพพิกกถากันครับ


ทาน

พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงทาน การให้การบริจาคเพื่อสงเคราะห์อนุเคราะห์บูชาผู้ที่ควรสงเคราะห์อนุเคราะห์ ผู้ ที่ควรบูชาเป็นข้อแรก อันหมายถึงว่า เป็นข้อที่ผู้มีความสามารถจะให้ จะบริจาคเป็นการช่วยเหลืออนุเคราะห์หรือเป็นการบูชาได้ ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ ทานคือการให้การบริจาค นี้เองเป็นเครื่องชำระจิตใจให้บริสุทธิ์จากความโลภ และมัจฉริยะ ความตระหนี่เหนียวแน่น เมื่อทำทานด้วยจิตใจ ที่บริสุทธิ์เพื่อสงเคราะห์อนุเคราะห์หรือบูชาดังกล่าว เพื่อให้เกิดความสุขแก่ผู้ที่ได้รับสิ่งที่บริจาคนั้นไป ดังนี้ก็จะทำ จิตใจของผู้ที่บริจาคให้มีความบริสุทธิ์และมีความสุข และเมื่อค้นดูในความบริสุทธิ์และความสุขนั้นเองก็จะพบว่า เป็นจิตใจที่ปราศจากความโลภ ความตระหนี่ในสิ่งที่บริจาคนั้น คือเป็นอันว่าเป็นการละลายความโลภ ความตระหนี่ในสิ่งนั้นได้ จึงได้ให้ออกไปได้ และเมื่อการให้นั้นก็ทำให้ผู้รับได้ รับความสุข คนที่อดอยากเมื่อได้รับอาหารที่บริจาคไป ได้บริโภคอาหารนั้นก็มีความสุข เป็นการช่วยต่ออายุต่อชีวิตของเขา คนป่วยไข้เมื่อได้รับหยูกยาไปก็หายป่วยไข้ก็เป็น การต่ออายุต่อชีวิตเขาอีกเหมือนกัน และเมื่อให้เพื่อบูชาดังที่เรียกว่าทำบุญ เช่นว่าทำบุญตักบาตร เป็นต้น ก็ทำให้ จิตใจผ่องใส เพราะได้บริจาคให้ผู้มีศีล และก็เป็นอันว่าได้ ตัดโลภะมัจฉริยะในสิ่งที่บริจาคนั้น กับทั้งทำจิตใจให้บังเกิดเมตตากรุณาขึ้นมาอีกด้วย เพราะจะทำให้เกิดความเอ็นดูรักใคร่สงสารในผู้ที่ได้รับ และทำให้เกิดความเลื่อมใสนับถือในผู้ที่มีศีลที่ทำบุญไปนั้น เหล่านี้เป็นการชำระฟอกล้างจิต ใจของตนให้บริสุทธิ์ขึ้นด้วยทานเป็นขั้นที่หนึ่ง



ศีล

ต่อจากนั้นก็ทรงแสดงศีลเป็นข้อที่สอง คือให้ตั้งใจงด เว้นจากความประพฤติที่เป็นการก่อภัยก่อเวรแก่ใครๆ ทางกายทางวาจา ทรงบัญญัติศีล ๕ เป็นนิจศีลสำหรับบุคคลทั่วไป โดยให้เว้นจากการฆ่า ให้เว้นจากการลัก ให้เว้นจาก ความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ให้เว้นจากการพูดเท็จ ให้เว้นจากน้ำเมาคือสุราเมรัย อันเป็นฐานแห่งความประมาท และเมื่อปฏิบัติในศีลดังนี้ ก็ชื่อว่าเป็นการให้อภัย อันเรียกว่า อภัยทานแก่ใครๆ อีกด้วย และเป็นการเว้นจากความประพฤติที่ก่อบาปก่อกรรมอันเป็นภัยเป็นเวรต่างๆ เพื่อความไม่เดือดร้อนทั้งแก่ตนเองด้วย แก่ผู้อื่นอีกด้วย ก็ เป็นการชำระโทสะคือความประทุษร้ายออกไปจากจิตใจได้ และอันที่จริงนั้นก็เป็นอันได้ชำระทั้งกองโลภ ทั้งกองโกรธ ทั้งกองหลง อันเป็นขั้นศีลนี้อีกขั้นหนึ่งที่นับว่าเป็นความประพฤติที่สูงขึ้นไปกว่าทาน
เมื่อพิจารณาดูความประพฤติของคนทั่วไปแล้วจะเห็น ได้ว่า คนพากันทำทานมากกว่าที่จะปฏิบัติในศีล ก็เพราะว่าการทำทานนั้นเป็นการที่ให้ออกไปแล้วก็เสร็จเรื่องกันคราวหนึ่งๆ แต่ศีลนั้นเมื่อรับมาปฏิบัติก็เป็นข้อผูกพันแก่ ตนเองที่จะต้องเว้นจากสิ่งนั้นสิ่งนี้ เพราะฉะนั้นจึงปรากฏว่าคนพากันทำทานมากว่าจะปฏิบัติในศีล แต่ว่าควรจะปฏิบัติในศีลด้วย และการปฏิบัติในศีลนี้ก็นับว่าเป็นการฟอกล้างชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์สะอาดยิ่งขึ้นไปอีกกว่าในขั้นทานนั้น เป็นการสร้างความไม่มีภัยไม่มีเวรให้กับตนเองและให้กับผู้อื่นด้วย สร้างความไม่เดือดร้อนให้กับตนเองและให้กับผู้อื่นด้วย และเป็นการก่อเมตตากรุณาให้ตั้งขึ้นในจิตมากขึ้นไปกว่าในขั้นทานนั้นอีกขั้นหนึ่ง และนอกจากนี้ยังให้สำเร็จอานิสงส์ดังที่พระบอกอยู่ทุกคราวที่ให้ศีลว่า
สีเลน สุคตึ ยนฺติ ถึงสุคติก็ด้วยศีล
สีเลน โภคสมฺปทา ถึงพร้อมด้วยโภคสมบัติก็ด้วยศีล
สีเลน นิพฺพุตึยนฺติ ถึงความดับทุกข์ร้อนใจก็ด้วยศีล
เพราะว่าเมื่อพิจารณาดูแล้วก็จะเห็นว่า ศีลนั้นให้ไปสุคติจริงๆ คือไปดีจริงๆ ก็ในปัจจุบันนี่แหละ เมื่อมีศีลต่อกันแล้วไปไหนก็มีแต่ความสวัสดี เราก็ไม่ไป ขโมยเขา เขาก็ไม่มาขโมยของของเรา เราก็ไม่ไปทำร้ายเขา เขาก็ไม่มาทำร้ายเราเป็นต้น ดั่งนี้แล้วก็เป็นสุคติคือไปดีนั่นเองถ้ามีศีลต่อกัน แต่ว่าคนอื่นนั้นเราไปบังคับเขาไม่ได้ แต่ตัวเรานั้นเราสามารถปฏิบัติตัวเราให้มีศีลได้ และยังเป็นเครื่องประกันโภคสมบัติให้เป็นสมบัติขึ้นอีกด้วย ไม่ให้เป็นวิบัติ กับยังสมารถดับทุกข์ร้อนใจต่างๆได้ด้วย



สวรรค์

ทานและศีลที่ปฏิบัตินี้ทำให้เกิดผลเป็นข้อที่สาม คือ “สัคคะ” อันได้แก่สวรรค์ สวรรค์ที่เป็นปัจจุบันท่านแสดง ว่า ก็คือได้เห็นได้ยินได้ทราบได้รู้ทางทวารทั้งหก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และเรื่องราวทั้งหลายอันเป็นที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจนำให้เกิดความสุข เห็นรูปอะไรก็เป็นที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจนำให้เกิดความสุข ได้ยินเสียงอะไร ได้ทราบกลิ่นอะไร รสอะไร โผฎฐัพพะอะไร อะไรผุดขึ้นในใจก็เป็นเช่นเดียวกัน ก็แปลว่าได้รับอารมณ์ที่ดี อยู่เป็นอันมาก ดังนี้แหละเป็นสวรรค์ปัจจุบันอันเรียกว่า “ผัสสายตนิกะ” คือสวรรค์ที่เป็นไปทางผัสสายตนะทั้งหกประการ เมื่อพากันปฏิบัติในทานในศีลดังกล่าวนั้น ก็ย่อมจะนำให้เกิดสวรรค์ดังกล่าวนั้นใน ปัจจุบันนี้ เมื่อปัจจุบันนี้เป็นอย่างไร ในอนาคตก็จะเป็นอย่างนั้น จึงได้ตรัสสวรรค์ไว้เป็นข้อที่สาม

กามาทีนพ

ต่อจากนั้นก็ตรัสกามาทีนพคือโทษของกามว่า สวรรค์นั้นกล่าวคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตลอดถึงเรื่องราวทั้งหลายที่น่ารักใคร่พอใจทำให้เกิดความสุขนั้น ถ้าหากว่าจิตใจไปติดเข้าก็เป็นกาม และเมื่อเป็นกามขึ้นมาก็ย่อมบังเกิดทุกข์โทษ ทุกข์โทษที่ได้รับนั้นย่อมมีอยู่เป็นอันมาก แต่ว่าสุขโสมนัสที่ได้รับนั้นมีอยู่เป็นส่วนน้อย เพราะฉะนั้นจึงได้ตรัสชี้ให้มองเห็นว่า บรรดาผลทั้งหลาย ที่ดีที่ชอบที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจเหล่านั้น ก็ไม่พ้นไป จากรูปที่ตาเห็น เสียงที่หูได้ยินเป็นต้น อันเป็นที่น่ารักใคร่ ปรารถนาพอใจ แต่ว่าสิ่งเหล่านั้นล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ดำรงคงที่อยู่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลง ไป เมื่อเป็นดั่งนี้จึงไม่มีใครสามารถที่จะยึดถือเอาไว้ได้ว่าจะต้องเป็นของของเรา จะต้องเป็นเราอยู่อย่างนั้นตลอดไป คือจะต้องเป็นเราผู้เสวยสวรรค์อยู่อย่างนั้นตลอดไป และสิ่งที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจเหล่านั้นก็จะต้องเป็นของของเราอยู่ตลอดไป ไม่สามารถที่จะไปปรารถนายึดถือให้เป็นอย่างนั้นได้ เพราะเป็นสิ่งที่จะต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป เป็นสิ่งที่ต้องเกิดดับ ฉะนั้น จึงได้รับสุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบันเท่าที่สิ่งเหล่านั้นยังดำรงอยู่ หรือเท่าที่ชีวิตของตนยังดำรงอยู่เท่านั้น แต่แล้วครั้นความไม่เที่ยงมาถึง ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงมาถึงเข้า สิ่งเหล่านั้นก็จะต้องจากไป หรือตัวเราเองก็จะต้องจากสิ่งเหล่านั้นไป เมื่อเป็นดั่งนี้ โทษต่างๆก็ปรากฏขึ้นคือความทุกข์ต่างๆ จึงได้ตรัสชี้ให้มองเห็นโทษดั่งนี้ที่เรียกว่า “กามาทีนพ” โทษของกาม ก็คือโทษที่ไปรักใคร่ยึดถือว่าจะต้องเป็นของเรา จะต้องเป็นเราเอง



เนกขัมมานิสงส์

ครั้นได้ตรัสชี้กามาทีนพเป็นข้อที่สี่ดั่งนี้ ก็ได้ตรัสเนกขัมมานิสงส์ อานิสงส์ของเนกขัมมะ คือการออกเป็น ประการที่ห้า คือตรัสชี้ให้เห็นว่า เมื่อความจริงเป็นดั่งนี้ จึงไม่ควรที่จะหลงยึดถือในสิ่งเหล่านั้นว่าเป็นเรา เป็นของ เราอย่างแท้จริง ให้มองเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เกิดดับ ต้องมีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา ไม่มีใครที่จะสามารถยึดถือเอาไว้ว่าเป็นเรา เป็นของเราอยู่ได้ ตลอดไป เพราะฉะนั้นจึงสมควรที่จะเปลื้องจิตใจออก ไม่ยึดถือไว้ให้มั่นนัก แม้ว่าจะมีความยึดถืออยู่ตามธรรมดาของสามัญชน ก็ให้มีปัญญาที่รู้เท่าสำหรับที่จะนำจิตใจออกได้ในเมื่อความไม่เที่ยง ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลง มาถึงเข้า และความไม่เที่ยง ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลง นั้นก็มีอยู่เสมอ เพราะฉะนั้น จึงตรัสสอนให้รู้จักใช้ปัญญาพิจารณาในการที่จะนำจิตออกได้ดั่งนี้ การนำจิตออกได้ดั่งนี้เรียกว่า “เนกขัมมะทางจิต” เมื่อเนกขัมมะทางจิตมีขึ้นได้ เนกขัมมะทางกายก็จะมีได้ เมื่อเป็นดังนี้แล้ว จึงจะพบความสุขอันแท้จริงซึ่งเป็นความสุขที่เกิดจากเนกขัมมะนั้น ไม่ต้องเป็นทุกข์เดือดร้อนเพราะความหลงยึดถือสิ่งที่ไม่เที่ยง ในสิ่งที่ต้องแปรปรวนเปลี่ยน แปลงนั้น ดั่งนี้เป็นเนกขัมมานิสงส์



การแสดงสวรรค์ก็เป็นการแสดงผลของทาน ของศีล ว่าให้เกิดผลดี นำให้เกิดความสุข เป็นการที่นำให้ผู้ปฏิบัติมองเห็นผลของการปฏิบัติในทานในศีลว่า ให้เกิดความสุข ได้จริง เป็นความสุขที่ต้องการอันเรียกว่าสวรรค์นั้น ครั้นแล้วก็ได้ทรงแสดงกามาทีนพ คือโทษของกาม เพื่อเป็น การเตือนจิตมิให้หลงอยู่ในสวรรค์ ให้มองเห็นสวรรค์นั้นว่า ก็เป็นรูป เสียง เป็นต้น ที่ไม่เที่ยง ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป เพราะฉะนั้น ถ้าไปหลงยึดถือเข้าก็เป็นโทษมากกว่าที่จะเป็นคุณ ก็เป็นการฟอกจิตให้ออกจากความยึดถือเกี่ยวเกาะอยู่ในสิ่งที่เป็นสวรรค์ คือความสุข ที่ต้องการกันอยู่นั้น แล้วก็ทรงแสดงอานิสงส์ของเนกขัมมะ คือการออก ชักนำให้นำจิตออกไป เป็นการฟอกจิตให้บริสุทธิ์ขึ้นอีกชั้นหนึ่ง ก็รวมเป็นอนุปุพพิกกถา ๕ ข้อ

ครั้นทรงแสดงอนุปุพพิกกถา ๕ ข้อนี้เป็นการฟอกจิต ให้บริสุทธิ์ สมควรที่จะรับเทศนาในอริยสัจจ์ เหมือนอย่าง การซักฟอกผ้าที่ไม่สะอาดให้สะอาดขึ้น สมควรที่จะรับน้ำ ย้อมได้แล้ว จึงทรงแสดงอริยสัจจ์ทั้งสี่ ชี้ให้เห็นทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ และทุกข์ที่ทรงชี้นั้นก็ทรงชี้โดยปริยายที่เข้าใจได้ง่าย ดังที่ทรง ชี้ให้เห็นสภาวทุกข์ คือ ชาติ ชรา มรณะ แล้วก็ทรงชี้ให้เห็นปกิณกทุกข์ มีโศกะเป็นต้น แล้วก็ทรงแสดงชี้ให้เห็น ว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ความปรารถนาไม่ได้สมหวังเป็นทุกข์ ก็เป็นการชี้นำให้เห็นทุกข์ที่ทุกๆคนได้รับอยู่ปกตินี้เอง

เรียบเรียงจาก การบรรยายธรรมอบรมกรรมฐานของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ที่มีเป็นประจำในคืนวันธรรมสวนะและคืนหลังวันธรรมสวนะ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ครบ ๘๐ พรรษา เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๓

ภาพจาก สมาชิกพันทิป ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ




 

Create Date : 22 สิงหาคม 2551    
Last Update : 22 สิงหาคม 2551 11:45:59 น.
Counter : 549 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  

ebusiness
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]







พระพุทธเจ้าทรงมอบสิ่งที่ดีที่สุดไว้ให้แก่มวลมนุษยชาติ สิ่งนั้นคือพระธรรมที่ใช้เป็นกรอบในการดำเนินชีวิตไปสู่สิ่งที่ดีงาม สู่ความเจริญสูงสุดของชีวิต ในฐานะชาวพุทธ ทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาสิ่งที่ดีเหล่านี้เอาไว้ให้ได้นานที่สุด อย่างน้อยก็ในช่วงชีวิตเราแต่ละคน
Friends' blogs
[Add ebusiness's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.