Group Blog
 
All blogs
 
3.พุทธวิธีควบคุมความคิด

พุทธพจน์

ควรละความโกรธ และมานะ
เอาชนะกิเลสเครื่องผูกมัดทุกชนิด
ผู้ที่ไม่ติดอยู่ในรูปนาม หมดกิเลสแล้ว
ย่อมแคล้วคลาดจากความทุกข์



วันนี้ขอนำพุทธวิธีควบคุมความคิดพระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราชวัดบวรนิเวศวิหาร มาปันกันอ่านต่ออีกนะครับ

วิธีที่สาม : ไม่ใส่ใจ

ข้อที่ว่า ไม่ให้นึกถึง ไม่ใส่ใจ ในความคิดหรืออารมณ์ อันจะเป็นเหตุให้เกิดโทสะ พูดง่ายๆ ก็คือ อย่านึกถึงเรื่องที่จะทำให้เกิดความโกรธ อย่าไปเอาใจใส่ในเรื่องที่จะทำให้เกิดความโกรธ นี้หมายรวมไปถึงอย่าไปสนใจในผู้ที่ทำหรือพูดเรื่องที่ทำให้ตนเกิดความโกรธ เมื่อไม่นึกถึงไม่ใส่ใจถึงผู้ใดหรือเรื่องใด ก็เหมือนไม่มีผู้นั้นหรือไม่มีเรื่องนั้นเกิดขึ้น โทสะหรือความโกรธก็ย่อมไม่เกิดในผู้ที่ไม่มีหรือในเรื่องที่ไม่มี ไม่มีผู้ก่อเรื่องให้โกรธ ไม่มีเรื่องให้โกรธ ก็เป็นธรรมดาที่จะไม่โกรธ ดังนั้น การทำใจให้เหมือนไม่มีผู้ก่อเรื่องหรือไม่มีเรื่องเกิดขึ้น จึงเป็นการทำใจไม่ให้เกิดโทสะหรือความโกรธนั่นเอง

แต่การจะไม่นึกถึง ไม่ใส่ใจ ในผู้ใด หรือในเรื่องใดอารมณ์ใด ที่เกิดขึ้นอย่างมีผลกระทบถึงจิตใจแล้ว ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะทำกันได้ง่ายๆ ต้องอาศัยการอบรมฝึกฝน ต้องอาศัยอำนาจจิตที่แรงพอ ต้องอาศัยความตั้งใจจริง และต้องอาศัยปัญญาประกอบด้วยสติ ที่กล่าวว่าต้องอาศัยฝึกอบรม หมายความว่าต้องหัดไม่ใส่ใจในเรื่องหรือในบุคคลที่ไม่ควรใส่ใจไว้ให้เสมอ พยายามไม่ใส่ใจแม้ในเรื่องที่ก่อให้เกิดความหงุดหงิดเพียงเล็กน้อยไว้ให้เสมอ การไม่นึกถึง การไม่ใส่ใจในเรื่องเล็กน้อย ย่อมทำได้ง่ายกว่าในเรื่องที่ใหญ่โตรุนแรง ดังนั้น แม้ฝึกฝนอบรมด้วยการไม่ใส่ใจในเรื่องเล็กน้อยไปก่อน จะมีความสามารถไม่ใส่ใจในเรื่องใหญ่โตได้เมื่อมีกำลังความสามารถแรงขึ้นพอสมควรกับเรื่องนั้น เป็นการค่อยหัดค่อยไป

เหมือนขึ้นบันไดขั้นหนึ่งเพื่อก้าวไปสู่ขั้นสองขั้นสาม จนถึงขั้นสูงสุดเป็นลำดับ ซึ่งถ้าไม่หยุดเสียที่ขั้นหนึ่งขั้นใดในระหว่างทาง ก็ย่อมจะไปถึงขั้นสูงสุดได้ด้วยกันทั้งนั้น นั่นก็คือแม้ค่อยฝึกฝนอบรมในเรื่องไม่ใส่ใจหรือไม่นึกถึงบุคคล หรือเรื่องที่จะก่อให้เกิดโทสะไว้ให้เสมอ ในที่สุดก็จะไม่ใส่ใจในบุคคลหรือในเรื่องทั้งหลายดังกล่าวได้เลย อย่างไรก็ตาม ผู้จะฝึกฝนอบรมตนเองได้สม่ำเสมอให้ไม่ใส่ใจในเรื่องในอารมณ์ดังกล่าว ก็จะต้องมีความตั้งใจจริง ไม่เช่นนั้นก็จะทอดทิ้งการฝึกฝน ไม่กระทำ เมื่อไม่กระทำก็ย่อมไม่มีผล แต่ความตั้งใจจริงที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ตาม จะเกิดขึ้นได้จริงจังก็ต่อเมื่อมีความเห็นมีความมั่นใจแล้วว่าควรจะกระทำ นั่นคือเมื่อกระทำแล้วจะเกิดผลดีแก่ผู้กระทำ คือเกิดผลเป็นความสุขสบายของผู้กระทำ ถ้าไม่มีความมั่นใจว่าทำแล้วจะได้รับผลดีจริงๆ ความตั้งใจจริงที่จะกระทำก็จักไม่เกิด และก็จักไม่ทำ


ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ปัญญาตัดสินลงไปในเห็นชัดเจนว่า การฝึกฝนอบรมให้ไม่นึกถึง ให้ไม่ใส่ใจในบุคคลหรือในเรื่องที่จะทำให้เกิดโทสะนั้น จะให้ผลดีแก่ผู้ปฏิบัติจริงๆ และปัญญาในเรื่องนี้ รวมทั้งปัญญาในเรื่องทั้งหลาย จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อสติเกิด คือมีสติเสียก่อน นั่นก็คือในการแก้ไขและตัดสินเรื่องทุกเรื่องที่จะให้เป็นไปอย่างถูกต้อง จำเป็นต้องใช้ปัญญาประกอบด้วยสติ สติกับปัญญาขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะในการพิจารณาเรื่องใดที่ต้องการรู้ความถูกผิด ความควรไม่ควร อย่างถูกต้องถ่องแท้ อันการจะไม่นึกถึง ไม่ใส่ใจ ในบุคคลหรือในเรื่องหนึ่ง เรื่องใดนั้น สำหรับบางท่านทำได้ง่ายมาก เพียงบอกตัวเองว่า คนนั้นไม่มี เรื่องนั้นไม่มี เท่านั้นก็เลิกใส่ใจได้แล้ว ไม่นึกถึงได้แล้ว แต่ผู้จะทำสำเร็จได้ง่ายๆ เช่นนี้ น่าจะมีไม่มากนักส่วนมากน่าจะทำสำเร็จได้ยาก หรือไม่สำเร็จเสียเลยก็คงมีมาก

อย่างไรก็ตาม เมื่อมาคำนึงถึงผลดีที่จะได้รับจากการไม่นึกถึง ไม่ใส่ใจ ในบุคคล หรือในเรื่องในอารมณ์ที่กอให้เกิดโทสะ ก็น่าจะพยายามกันให้สุดความสามารถ เพื่อทำใจให้ได้รับความสำเร็จในเรื่องนี้ให้ได้ใช้วิธีง่ายๆ ดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ ก็ควรใช้วิธีที่ยากขึ้นไป คือใช้สติและใช้ปัญญาพิจารณาลงไป จนได้ความรู้จริงว่า บุคคลนั้นก็ตาม เรื่องนั้นก็ตาม ไม่ควรใส่ใจถึง เมื่อความรู้จริงเกิดเช่นนี้ ความไม่ใส่ใจหรือความไม่นึกถึงก็จะเกิดตามมาได้ในทันที พูดอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เมื่อไม่เห็นค่าควรสนใจแล้วจะไปสนใจทำไม แม้แต่ลิงซึ่งสติปัญญาไม่ทัดเทียมคน เมื่อไม่เห็นค่าของแก้วก็ยังไม่สนใจแก้ว

การพิจารณาว่าบุคคลใดหรือเรื่องใด ไม่ควรแก่ความนึกถึง ไม่ควรแก่ความสนใจ ก็อาจจะทำได้โดยการคิดว่าบุคคล ที่ทำเช่นนั้นพูดเช่นนั้นได้ ไม่ใช่คนดี เป็นคนไม่ดี คนไม่ดี จิตใจไม่ดี จะพูดอะไรก็ได้ จะทำอะไรก็ได้ ที่ไม่ดีเราพูดเช่นนั้นไม่ได้ ทำเช่นนั้นไม่ได้ เพราะเราไม่เหมือนเขา เราไม่ใช่เป็นคนไม่ดีอย่างเขา คนอื่นๆ อีกมากมายที่ไม่ใช่เป็นคนไม่ดีอย่างบุคคลนั้นก็มีอยู่ เราจะไปเสียเวลาสนใจกับคนไม่ดีทำไม เขาจะพูดจะทำอะไรที่ไม่ดีก็ช่างเขา การให้ความสนใจในคนเช่นนั้นเสียเวลา เสียสิริมงคล ถ้าคิดให้หนัก คิดให้แรง จะได้ผล คือจะเลิกใส่ใจบุคคลผู้พูดไม่ดีทำไม่ดีต่อตนนั้นได้ เช่นเดียวกัน เรื่องใดจะนำให้เกิดโทสะควรไม่ใส่ใจถึง ควรไม่นึกถึง ก็ให้คิดหาเหตุผลมาชี้แจ้งกับตนเองจนใจปล่อยวางเรื่องนั้นๆ ไม่ใส่ใจ ไม่นึกถึงอีก เช่นอาจจะคิดว่า เรื่องเล็กไม่สำคัญ ตัวเราสำคัญกว่าเป็นไหนๆ ควรจะสนใจเรื่องสำคัญกว่าเท่านั้น ถึงจะเป็นเรื่องกระทบกระเทือนเราบ้างก็ช่าง มันเล็กน้อย หรืออาจจะคิดไปถึงว่า สนใจเรื่องเช่นนั้น เสียเกียรติเปล่าๆ ก็ยังได้

คิดอย่างไรก็ตาม ถ้าสามารถทำให้เลิกใส่ใจในเรื่องที่จะนำให้เกิดกิเลส ไม่เฉพาะโทสะเท่านั้น รวมทั้งโลภะ และโมหะด้วย นับว่าคิดถูกทั้งนั้น เพราะการเลิกใส่ใจเสียได้ในเรื่องหรืออารมณ์ที่จะนำให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะ เท่ากับเป็นการไม่ส่งเสริมโลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งมีอยู่มากบ้างน้อยบ้างในจิตใจของสามัญชนทุกคน เมื่อไม่เสริมก็ไม่แข็งแรงงอกงามเจริญ จะเสื่อมสิ้นลงไป เหมือนชีวิตไม่มีอาหารก็จะไม่อาจดำรงอยู่ได้ โลภ โกรธ หลง หรือโลภะ โทสะ โมหะ อ่อนแรงในผู้ใด ผู้นั้นจะอยู่เย็นเป็นสุข ในทางตรงกันข้าม โลภ โกรธ หลง หรือโลภะ โทสะ โมหะ รุนแรงในผู้ใด ผู้นั้นจะร้อนรนทนทุกข์


วิธีที่สี่ : ใคร่ครวญหาเหตุผล

ข้อที่ว่า ให้ใคร่ครวญหาเหตุผลในเรื่องที่กำลังคิด และข้อที่ว่าให้กัดฟันเข้าด้วยกันให้แน่น เอาลิ้นกดเพดานไว้อย่างแรงเพื่อเปลี่ยนความคิดอันกำลังดำเนินอยู่นั้น สำหรับข้อหลังเป็นที่เข้าใจได้ง่าย ชัดเจนอยู่แล้ว จึงจะไม่อธิบายเพิ่มเติม จะอธิบายเฉพาะข้อต้น คือให้มีความใคร่ครวญหาเหตุผลในเรื่องที่กำลังคิด การใคร่ครวญหาเหตุผลในเรื่องความคิด ก็คือการใช้ความคิดใคร่ครวญพิจารณาเหตุผลว่า ทำไมจึงคิดเช่นนั้น อะไรทำให้คิดเช่นนั้นขณะที่ใจไปคิดหาเหตุผลเช่นนี้ ความคิดเดิมอันเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์กิเลสใดก็ตาม จะเป็นโลภะ โทสะ หรือโมหะก็ตาม จะลดความรุนแรงลง เมื่อความคิดนั้นลดความแรงลง ผลอันเกิดจากความคิดนั้นก็จะลดความแรงลงด้วย เช่น โลภ โกรธ หลง ที่กำลังเกิดจากความคิด จะลดระดับความแรงลงตามระดับความแรงของความคิดที่ลดลง เพราะอารมณ์โลภ โกรธ หลงเป็นผล ความคิดเป็นเหตุ เหตุร้ายย่อมก่อให้เกิดผลร้าย ฉันใด เหตุแรงย่อมก่อให้เกิดผลแรง เหตุเบาย่อมก่อให้เกิดผลเบา ฉันนั้น

การใคร่ครวญพิจารณาหาเหตุผลของความคิดในเรื่องหนึ่งเรื่องใด เช่น ในเรื่องที่ทำให้เกิดโทสะ ก็จะทำให้โทสะลดระดับความแรงลง ท่านเปรียบเหมือนคนกำลังวิ่งเร็วจะเปลี่ยนเป็นวิ่งช้า กำลังวิ่งช้าจะเปลี่ยนเป็นเดิน กำลังเดินก็จะเปลี่ยนเป็นหยุดยืน กำลังยืนจะเปลี่ยนเป็นนั่ง และกำลังนั่งจะเปลี่ยนเป็นลงนอน อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้เช่นเดียวกับกิริยาภายนอก เมื่อใช้ความใคร่ครวญพิจารณาเหตุผล เช่น เมื่อกำลังคิดว่า มีผู้ที่ไว้ใจเชื่อถือได้ว่าจะพูดความจริงมาเล่าให้ฟังว่า นาย ข. พูดถึงตัวเราอย่างนั้นอย่างนี้ นี่เป็นการว่าร้ายเป็นการตำหนิ ฯลฯ คิดไปอารมณ์ก็เกิดไปตามความคิด เป็นความไม่พอใจ ไม่ชอบใจ เป็นโทสะ ถ้าไม่ควบคุมความคิด ปล่อยให้คิดไปเช่นนั้นเรื่อยๆ โทสะก็จะเกิดติดต่อกันไปเรื่อยๆ และก็จะแรงขึ้นเรื่อยๆ ได้ด้วย แต่ถ้าใช้ความใคร่ครวญพิจารณาเหตุผลแม้เพียงสั้นๆ ว่าคิดทำไมเท่านั้น ความคิดที่แม้ว่ากำลังแรงก็จะเบาลงทันที หรือกำลังเบาอยู่แล้วก็จะหยุดได้ทันที ก็เห็นจะเหมือนคนกำลังทำอะไรเพลินอยู่ แล้วมีเสียงทักขัดขึ้น เช่นทักว่าทำไม ทำไม มือที่กำลังทำอยู่ก็จะชะงักได้ทันทีเป็นอัตโนมัติ แต่ถ้าไม่มีใครมาทักเป็นการขัดจังหวะ ก็คงจะทำต่อไปจนกว่าจะชอบใจหยุดเองเมื่อไร ความคิดก็ทำนองเดียวกัน คือมีเวลาหยุด เพราะมีเวลาเหน็ดเหนื่อยเหมือนการทำงานอย่างอื่นนั่นเอง

แต่ความคิดนั้น ไม่ว่าจะเป็นความคิดดีหรือความคิดชั่วก็ตาม เมื่อคิดขึ้นแล้วจะไม่ลบหายไปจากจิตใจ จะฝังลงเป็นพื้นฐานของจิตใจ ความคิดดีก็จะฝังลงเป็นพื้นฐานที่ดี ความคิดชั่วก็จะฝังลงเป็นพื้นฐานที่ชั่ว คิดดีนานก็จะฝังลงเป็นพื้นฐานที่ดีมาก คิดชั่วนานก็จะฝังลงเป็นพื้นฐานที่ชั่วมาก การพยายามควบคุมความคิดให้ถูกต้องไว้เสมอ เป็นสิ่งควรทำด้วยกันทุกคน เพื่อเป็นการไม่ใส่เชื้อให้แก่กองไฟ ไฟที่ได้การเพิ่มเชื้อและได้รับการพัดกระพืออยู่เสมอ ย่อมจะไม่ดับแต่จะใหญ่โตร้อนแรงยิ่งขึ้น ในทางตรงข้าม ถ้าไม่เพิ่มเชื้อให้แก่ไฟ ไม่พัดกระพือไว้เสมอ ไฟก็จะดับสิ้นไปเอง หมดร้อนเยือกเย็น เป็นการบริหารจิตที่ถูกต้องตามพระโอวาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

วิธีที่สี่ : ใคร่ครวญหาเหตุผล

ข้อที่ว่า ให้ใคร่ครวญหาเหตุผลในเรื่องที่กำลังคิด และข้อที่ว่าให้กัดฟันเข้าด้วยกันให้แน่น เอาลิ้นกดเพดานไว้อย่างแรงเพื่อเปลี่ยนความคิดอันกำลังดำเนินอยู่นั้น สำหรับข้อหลังเป็นที่เข้าใจได้ง่าย ชัดเจนอยู่แล้ว จึงจะไม่อธิบายเพิ่มเติม จะอธิบายเฉพาะข้อต้น คือให้มีความใคร่ครวญหาเหตุผลในเรื่องที่กำลังคิด การใคร่ครวญหาเหตุผลในเรื่องความคิด ก็คือการใช้ความคิดใคร่ครวญพิจารณาเหตุผลว่า ทำไมจึงคิดเช่นนั้น อะไรทำให้คิดเช่นนั้นขณะที่ใจไปคิดหาเหตุผลเช่นนี้ ความคิดเดิมอันเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์กิเลสใดก็ตาม จะเป็นโลภะ โทสะ หรือโมหะก็ตาม จะลดความรุนแรงลง เมื่อความคิดนั้นลดความแรงลง ผลอันเกิดจากความคิดนั้นก็จะลดความแรงลงด้วย เช่น โลภ โกรธ หลง ที่กำลังเกิดจากความคิด จะลดระดับความแรงลงตามระดับความแรงของความคิดที่ลดลง เพราะอารมณ์โลภ โกรธ หลงเป็นผล ความคิดเป็นเหตุ เหตุร้ายย่อมก่อให้เกิดผลร้าย ฉันใด เหตุแรงย่อมก่อให้เกิดผลแรง เหตุเบาย่อมก่อให้เกิดผลเบา ฉันนั้น

การใคร่ครวญพิจารณาหาเหตุผลของความคิดในเรื่องหนึ่งเรื่องใด เช่น ในเรื่องที่ทำให้เกิดโทสะ ก็จะทำให้โทสะลดระดับความแรงลง ท่านเปรียบเหมือนคนกำลังวิ่งเร็วจะเปลี่ยนเป็นวิ่งช้า กำลังวิ่งช้าจะเปลี่ยนเป็นเดิน กำลังเดินก็จะเปลี่ยนเป็นหยุดยืน กำลังยืนจะเปลี่ยนเป็นนั่ง และกำลังนั่งจะเปลี่ยนเป็นลงนอน อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้เช่นเดียวกับกิริยาภายนอก เมื่อใช้ความใคร่ครวญพิจารณาเหตุผล เช่น เมื่อกำลังคิดว่า มีผู้ที่ไว้ใจเชื่อถือได้ว่าจะพูดความจริงมาเล่าให้ฟังว่า นาย ข. พูดถึงตัวเราอย่างนั้นอย่างนี้ นี่เป็นการว่าร้ายเป็นการตำหนิ ฯลฯ คิดไปอารมณ์ก็เกิดไปตามความคิด เป็นความไม่พอใจ ไม่ชอบใจ เป็นโทสะ ถ้าไม่ควบคุมความคิด ปล่อยให้คิดไปเช่นนั้นเรื่อยๆ โทสะก็จะเกิดติดต่อกันไปเรื่อยๆ และก็จะแรงขึ้นเรื่อยๆ ได้ด้วย แต่ถ้าใช้ความใคร่ครวญพิจารณาเหตุผลแม้เพียงสั้นๆ ว่าคิดทำไมเท่านั้น ความคิดที่แม้ว่ากำลังแรงก็จะเบาลงทันที หรือกำลังเบาอยู่แล้วก็จะหยุดได้ทันที ก็เห็นจะเหมือนคนกำลังทำอะไรเพลินอยู่ แล้วมีเสียงทักขัดขึ้น เช่นทักว่าทำไม ทำไม มือที่กำลังทำอยู่ก็จะชะงักได้ทันทีเป็นอัตโนมัติ แต่ถ้าไม่มีใครมาทักเป็นการขัดจังหวะ ก็คงจะทำต่อไปจนกว่าจะชอบใจหยุดเองเมื่อไร ความคิดก็ทำนองเดียวกัน คือมีเวลาหยุด เพราะมีเวลาเหน็ดเหนื่อยเหมือนการทำงานอย่างอื่นนั่นเอง

แต่ความคิดนั้น ไม่ว่าจะเป็นความคิดดีหรือความคิดชั่วก็ตาม เมื่อคิดขึ้นแล้วจะไม่ลบหายไปจากจิตใจ จะฝังลงเป็นพื้นฐานของจิตใจ ความคิดดีก็จะฝังลงเป็นพื้นฐานที่ดี ความคิดชั่วก็จะฝังลงเป็นพื้นฐานที่ชั่ว คิดดีนานก็จะฝังลงเป็นพื้นฐานที่ดีมาก คิดชั่วนานก็จะฝังลงเป็นพื้นฐานที่ชั่วมาก การพยายามควบคุมความคิดให้ถูกต้องไว้เสมอ เป็นสิ่งควรทำด้วยกันทุกคน เพื่อเป็นการไม่ใส่เชื้อให้แก่กองไฟ ไฟที่ได้การเพิ่มเชื้อและได้รับการพัดกระพืออยู่เสมอ ย่อมจะไม่ดับแต่จะใหญ่โตร้อนแรงยิ่งขึ้น ในทางตรงข้าม ถ้าไม่เพิ่มเชื้อให้แก่ไฟ ไม่พัดกระพือไว้เสมอ ไฟก็จะดับสิ้นไปเอง หมดร้อนเยือกเย็น เป็นการบริหารจิตที่ถูกต้องตามพระโอวาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ขอบพระคุณที่มีจิตกุศลติดตามอ่านครับ

ขันติ...นำความสุขมาให้ท่านได้
ขันติ ... คือ ... ความอดทน
อดทนต่อคำพูดของมนุษย์ ทั้งดี และชั่ว
ก็จะนำความสงบมาให้ท่านได้

ข้อมูลจากหนังสือพุทธวิธีควบคุมความคิด พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
คุณเมริน และมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภาพประกอบจากสมาชิกพันทิป
ขอกราบอนุโมทนามา ณ โอกาสนี้ครับ


Create Date : 22 สิงหาคม 2551
Last Update : 25 สิงหาคม 2551 0:32:12 น. 0 comments
Counter : 281 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ebusiness
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]







พระพุทธเจ้าทรงมอบสิ่งที่ดีที่สุดไว้ให้แก่มวลมนุษยชาติ สิ่งนั้นคือพระธรรมที่ใช้เป็นกรอบในการดำเนินชีวิตไปสู่สิ่งที่ดีงาม สู่ความเจริญสูงสุดของชีวิต ในฐานะชาวพุทธ ทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาสิ่งที่ดีเหล่านี้เอาไว้ให้ได้นานที่สุด อย่างน้อยก็ในช่วงชีวิตเราแต่ละคน
Friends' blogs
[Add ebusiness's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.