ทาน คือการทำกุศลที่ได้บุญ การให้อภัย คือการทำกุศลที่ได้บุญมากกว่า
Group Blog
 
All blogs
 
บทความ

แถลงการณ์ร่วมกันไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับทำลายกาiปฏิรูปการเมือง"

การปฏิรูปการเมืองเป็นคำตอบที่สังคมไทยร่วมกันค้นพบกว่า ๑๐ ปีมาแล้ว เพื่อตอบปัญหาที่รุมเร้าประเทศไทยในหลายด้าน ส่วนหนึ่งของคำตอบเชิงสถาบันคือรัฐธรรมนูญพ.ศ.๒๕๔๐ อันเป็นรัฐธรรมนูญที่สังคมไทยมีส่วนร่วมในการสร้างขึ้นมากกว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ
่านมา โดยอาศัยกระบวนการร่างที่มุ่งจะฟังเสียงประชาชนมาแต่แรก จึงจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ขึ้น อีกทั้งมีการเคลื่อนไหวในภาคประชาชนอย่างแข็งขัน เพื่อผลักดันข้อเสนอของตนเข้าไปในรัฐธรรมนูญ

"รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" จึงมีความพยายามจะเสนอการปฏิรูปการเมืองในเชิงสถาบันไว้หลายประการ และได้มีโอกาสใช้งานจริงเกือบ ๑๐ ปี ทำให้สังคมเห็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งของรัฐธรรมนูญ ก่อนหน้าการรัฐประหารในวันที่ ๑๙ ก.ย. ๒๕๔๙ สังคมไทยเห็นพ้องต้องกันว่า จำเป็นต้องแก้ไขข้ออ่อนของรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นไปตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชน

แต่การรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ได้ทำลายพัฒนาการทางการเมืองโดยหลักนิติธรรมลงไป และบัดนี้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้อำนาจเผด็จการหลังรัฐประหาร ก็กำลังได้รับการ เสนอเพื่อการลงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะทำให้สังคมไทยหันกลับไปสู่การเมืองยุคเก่า ซึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ทำให้สังคมไทยอ่อนแอจนไม่สามารถปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงนานาชนิดที่ถาโถมเข้าสู่ปร
ะเทศของเราได้ และแน่นอนว่าทำให้การปฏิรูปการเมืองโดยผ่านกระบวนการร่วมกันของสังคมไทยต้องยุติลงอย
่างสิ้นเชิง บุคคลและองค์กรที่ลงนามข้างล่างนี้จึงขอเสนอแก่สังคมไทยว่า เราควรร่วมมือกันไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้โดยผ่านการลงประชามติหากมีการจัดขึ้นใน
ภายหน้า

ประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนเราว่า พลังที่ผลักดันให้การปฏิรูปการเมืองสัมฤทธิ์ผลได้นั้นมีอยู่ 2 ประการ คือพลังทางสังคมและพลังที่เกิดจากการจัดระบบการเมืองที่ตรวจสอบได้, ต้องรับผิด, และอยู่ในความควบคุมและถ่วงดุลของอำนาจที่หลากหลายและเป็นอิสระต่อกันพอสมควร

แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้กลับสวนกระแสของพลังปฏิรูปการเมืองดังกล่าวนี้ แม้ดูเหมือนมีการขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้มากกว่ารัฐธรรมนูญพ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งเท่ากับเพิ่มพลังของสังคมในการตรวจสอบและควบคุมถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ หากทว่าประสบการณ์ที่ได้ใช้รัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ มาเกือบ ๑๐ ปี พบว่าสิทธิเสรีภาพเหล่านี้มีแต่บนกระดาษ ไม่สามารถนำไปเป็นหลักประกันในด้านปฏิบัติได้เลย ไม่ว่าจะเป็นสิทธิชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ, การมีสื่อที่เป็นของประชาชน, การรวมกลุ่มเพื่อการต่อรอง, หลักประกันสวัสดิการพื้นฐาน, ฯลฯ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ไม่ได้ทำให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนในเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้
นได้จริง

ปฏิรูปการเมืองต้องหมายถึงสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้เป็นจริงในทางปฏิบัติ มิฉะนั้นสังคมจะมีพลังกำกับควบคุมให้ระบบการเมืองดำเนินไปอย่างถูกทำนองคลองธรรมได้อ
ย่างไร

ในด้านระบบการเมือง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ไว้วางใจประชาชนเจ้าของประเทศ จึงริบสิทธิเลือกตั้งองค์กรทางการเมืองไปจากประชาชน พร้อมกันกับทำให้ระบบการแต่งตั้งองค์กรอิสระทั้งหลายไม่ยึดโยงกับพลังทางสังคม แต่ไปผูกติดกับระบบราชการ ระบบเลือกตั้งมุ่งแต่จะไม่ให้เกิดพรรคใหญ่โดยไม่สนใจว่าจะทำลายความเป็นตัวแทนประชาช
นของนักการเมืองลงไปมากสักเพียงใด การใช้อำนาจอธิปไตยก็เต็มไปด้วยความสับสน เพราะมีการก้าวก่ายอำนาจกันระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่ใช้อำนาจอธิปไตย โดยเฉพาะจากฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร ในทางปฏิบัตินักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนจะอ่อนแอจนไม่สามารถริเริ่มน
โยบายใหม่ใดๆ ได้ จนกว่าจะได้รับความเห็นชอบของระบบราชการเสียก่อน จึงสมกับที่ถูกเรียกว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับขุนนางที่มุ่งจะรื้อฟื้นระบอบอำมาตยาธิปไต
ยกลับขึ้นมาใหม่

พวกเราดังมีรายนามข้างล่างนี้จึงมีความเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะนำประเทศไทยถอยหลังกลับไปหลายสิบปี อำนาจและสิทธิของประชาชนที่ได้มาด้วยการต่อสู้จนสูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อไปนับไม่ถ
้วน จะต้องถูกริบไปจนไร้ความหมาย จึงไม่ควรนำมาใช้กำหนดความสัมพันธ์ในรัฐของเรา ควรร่วมมือกันไม่รับรองร่างรัฐธรรมนูญโดยผ่านการลงประชามติ และเรียกร้องให้นำเอารัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ กลับมาใช้ใหม่ โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมเพียงสองประเด็นคือ

๑) ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน ๖๐ วัน
๒) รัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งต้องจัดให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยกระบวนการที่นักการ
เมืองไม่มีอำนาจเข้ามากำกับควบคุมการแก้ไข แต่ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร.เพื่อการนี้โดยเฉพาะ

แท้จริงแล้ว ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใดในโลกที่เป็นเอกสารสมบูรณ์พร้อมและสถิตสถาพรโดยไม่เปลี่ยนแปลง
แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่โดยกระบวนการทางสังคม นั่นคือเกิดสำนึกใหม่ในสิทธิเสรีภาพบางประการหรือบางมิติ จนทำให้ต้องมีการจัดความสัมพันธ์ในองค์กรทางการเมืองใหม่ สังคมที่เสรีคือเครื่องมือสำคัญที่ขาดไม่ได้ของกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและปฏิรูปกา
รเมือง ไม่มีอำนาจ"บริสุทธิ์"ของทหารหรือการรัฐประหารใดๆ จะทำหน้าที่นี้แทนสังคมเสรีได้ การนำเอารัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ กลับมาใช้ใหม่จะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้การปฏิรูปการเมืองเดินหน้าต่อไปได้

โดยวิธีนี้เท่านั้นที่จะนำสังคมไทยกลับไปสู่ความสงบเรียบร้อย และกู้คืนเกียรติภูมิที่สูญเสียไปจากการรัฐประหารกลับมาได้อย่างถาวร โดยไม่ต้องสูญเสียเลือดเนื้อดังเหตุการณ์ที่ผ่านมาอีก

พวกเราที่มีชื่อข้างท้ายนี้จึงใคร่ขอให้พี่น้องร่วมมือกันรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนู
ญฉบับนี้ในการลงประชามติ เพื่อผลักดันให้นำเอา"รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน"กลับมาแก้ไขปรับปรุง ด้วยกระบวนการประชาธิปไตยในภายหน้า โดยการใช้สีเขียวตองอ่อนเป็นสัญลักษณ์ร่วมกัน ท่านอาจติดแถบริบบิ้นสีเขียวตองอ่อนที่พาหนะของท่าน ติดแถบเขียวตองอ่อนกับเครื่องแต่งกาย ใช้แถบข้อมือสีเขียวตองอ่อน ติดธงเขียวตองอ่อน หรือวิธีอื่นใดที่ท่านอาจคิดขึ้นเองเพื่อแสดงถึงสัญลักษณ์ร่วมกันดังกล่าว ทั้งนี้นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าเราจะได้รัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ กลับคืนมา พร้อมทั้งกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตย

76 นักวิชาการทั่วประเทศ
(๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐)

รายชื่อนักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

1. นิธิ เอียวศรีวงศ์ 2. จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล 3. อรรถจักร สัตนานุรักษ์ 4. วารุณี ภูริสินสิทธิ์ 5. สมเกียรติ ตั้งนโม 6. สายชล สัตยานุรักษ์ 7. สมชาย ปรีชาศิลปกุล 8. เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช 9. ชัชวาล ปุญปัน 10. สุชาดา จักรพิสูทธิ์ 11. ไพสิฐ พาณิชย์กุล 12. นัทมน คงเจริญ 13. พิกุล อิทธิหิรัญวงศ์ 14. วัลลภ แม่นยำ 15. อำพล วงศ์จำรัส 16. พรภิมล ตั้งชัยสิน 17. อรณิชา ตั้งนโม 18. ปราณี วงศ์จำรัส 19. นงเยาว์ เนาวรัตน์ 20. ชำนาญ จันทร์เรือง 21. ชาญกิจ คันฉ่อง 22. คมเนตร เชษฐพัฒนวนิช

รายชื่อนักวิชาการจากทั่วประเทศ

23. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 24. รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 25. เกษียร เตชะพีระ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 26. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 27. อรศรี งามวิทยาพงศ์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 28. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 29. อัครพงษ์ ค่ำคูณ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 30. อภิชาติ สถิตนิรามัย (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 31. ปกป้อง จันวิทย์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 32. วิภา ดาวมณี (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) 33. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 34. ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 35. ประภาส ปิ่นตกแต่ง (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 36. ราณี สหัสรังษี (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 37. สุวิมล รุ่งเจริญ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 38. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 39. วรศักดิ์ มหัทธโนบล (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 40. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 41. จิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) 42. วิระดา สมสวัสดิ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 43. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

44. วรวิทย์ เจริญเลิศ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 45. ทพ. วิชัย วิวัฒน์คุณูปการ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 46. ทัศนัย เศรษฐเสรี (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 47. ท.พญ. ศศิธร ไชยประสิทธิ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 48. จันจุฑา สุขขี (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 49. กัญญณัฏฐา อิทธินิติวุฒิ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 50. อุษามาศ เสียมภักดี (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
51. สุชาติ เศรษฐมาลินี (มหาวิทยาลัยพายัพ) 52. สฤณี อาชวานันทกุล (นักวิชาการอิสระ) 53. วรดุลย์ ตุลารักษ์ (นักวิจัย TDRI) 54. กฤตยา อาชวนิจกุล (มหาวิทยาลัยมหิดล) 55. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว (มหาวิทยาลัยมหิดล) 56. ศรีประภา เพชรมีศรี (มหาวิทยาลัยมหิดล) 57. วราภรณ์ แช่มสนิท (มหาวิทยาลัยมหิดล) 58. โสฬส ศิริไสย์ (มหาวิทยาลัยมหิดล) 59. สุภิญญา กลางณรงค์ (มหาวิทยาลัยมหิดล) 60. บุณยสฤษฏิ อเนกสุข (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี) 61. พฤกษ์ เถาถวิล (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี) 62. ธัญญา สังขพันธานนท์ (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)

63. กุลจิรพัส บุษกลธนาวรัตน์ (มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี) 64. วสันต์ ลิมป์เฉลิม (สถาบันราชภัฎธนบุรี) 65. ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ (มหาวิทยาลัยฮาวาย) 66. ธนศักดิ์ สายจำปา (มหาวิทยาลัยเกริก) 67. ธนศักดิ์ วรธรรมดุษฎี (มหาวิทยาลัยเกริก) 68. เชษฐา พวงหัตถ์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร) 69. นฤมิตร สอดศุข (มหาวิทยาลัยศิลปากร) 70. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร) 71. พิพัฒน์ สุยะ (มหาวิทยาลัยศิลปากร) 72. นาตยา อยู่คง (มหาวิทยาลัยศิลปากร) 73. สุนัย ครองยุทธ (มหาวิทยาลัยศิลปากร) 74. โกวิท แก้วสุวรรณ (มหาวิทยาลัยศิลปากร) 75. บาหยัน อิ่มสำราญ (มหาวิทยาลัยศิลปากร) 76. สุวิดา ธรรมณีวงศ์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร)

รายชื่อเพิ่มเติมหลังแถลงการณ์

จิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์). ปิยบุตร แสงกนกกุล (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), กตัญญู แก้วหานาม (มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์), เอกกมล เอมระดี (นิติศาสตร์บัณฑิต รุ่น 27 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล), ชาตรี ประกิตนนทการ (มหาวิทยาลัยศิลปากร), มาลินี คุ้มสุภา (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่), อานนท์ อุณหะสูต (นักศึกษาโครงการปริญญาโท สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มธ.), พรรคนักศึกษายุวธิปัตย์ องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความประสงค์ขอร่วมลงชื่อไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๕๐ ดังรายชื่อต่อไปนี้ นายนนท์ กาศโอสถ, นางสาวนันทนัช จีระสุวรรณ, นายพิษณุ ก๋าวิตา, นายปิยะเวศน์ กองสอน. ว่าที่ ร.ต.สุรัตน์ หงษ์จันทร์ (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ), พร้อมพงศ์ วานิชสมบัติ (นศ.สัตว์แพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่),

วรงค์ หลูไพบูลย์ (ประชาชน), สุชาติ โฮ (นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนเทพลีลา), สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์ (คณะศิลปศาสตร์ สาขารัฐศาตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา), นายชาญ พนารัตน์ (อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา), นายธนิต ขมสนิท (กำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น), ปรัชญ บุญส่ง (นศ.ปโท มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะสถาปัตยกรรม ภาควิชาวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม), สุขทวี สุวรรณชัยรบ (อาจารย์วิชาสันติภาพและการแก้ไขข้อขัดแย้ง, มหาวิทยาลัยอเมริกานา, ประเทศนิคารากัว), สมศักดิ์ เข็มเพชร, อนุสรณ์ งอมสงัด (อาจารย์ประจำวิทยาลัยนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด), นักศึกษาภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วย ๓ คนคือ ๑.นายทศพล ศรีนุช, ๒.นายอานนท์ ตันติวิวัฒน์, ๓.นายอนุพงษ์ อิ่มลาภ.

ทรงยศ วีระทวีมาศ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น), ผศ.อัจฉริยา เนตรเชย อาจารย์ประจำสาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร, งามศุกร์ รัตนเสถียร (จากมหาวิทยาลัยมหิดล), ดร. วิรัช วิรัชนิภาวรรณ (อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช), บูรณ์เชน สุขคุ้ม (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม), สุรชาติ ไตรสูงเนิน (เศรษฐศาสตรบัญฑิต รุ่น 6 มหาวิทยาลัยขอนแก่น), เสกรินทร์ บุญชูสวัสดิ์ (บุคคลทั่วไป), เรวัตร บูรณธนิต (บุคคลทั่วไป), พรนภา ทัศนพงษ์ (อดีตนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์), สุชาติ ธาตุบุรมย์ (บุคคลทั่วไป), ดร.ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ (มหาวิทยาลัยมหิดล), Anirudh Chaiworaporn (Bachelor Degree (Political Science) Thammasat University, ลลิตา สุทัศน์วัฒนะ(นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), วิจา ตินตะโมระ (สจล.- คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าสเจ้าคุณทหารลาดกระบัง). ผมไม่เชื่อว่า รัฐธรรมนูญ ที่เกิดอย่างผิดกระบวนการธรรมชาติของสังคมเช่นนี้ จะนำพาสังคมไปสู่ดุลยภาพ ไปสู่ความอยู่รอดใน สังคมโลกอันยากลำบากยุคสมัยนี้ได้ เช่นนี้แล้ว ผมไม่อาจรับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 อันมีกำเนิดที่พิกลพิการนี้ได้ ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนที่เปิดช่องทางให้ร่วมแสดงความคิดเห็น (พีระ เอมศรีกุล).

นางน้อมจิตต์ พึ่งพินิจ, นายจำรูญศักดิ์ พึ่งพินิจ, น.ส.นิชนันท์ พึ่งพินิจ (บุคคลทั่วไป). ประเสริฐ ลิ้มประสงค์ (รัฐศาสตร์บัณฑิต รุ่น 27 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). เจเรมีย์ ปรมัตถ์ กังสดาลอำไพ นิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

รายชื่อเพิ่มเติมจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

1. ดร.สมชัย ภัทรธนานันท์, 2. รศ.ดร.บุญยงค์ เกศเทศ, 3. ดร.พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์, 4. ผศ.สมชาย นิลาธิ, 5. ผศ.สมชาติ มณีโชติ, 6. อ.กีรติ ธนะไชย, 7. อ.ลาวัณย์ สังขพันธานนท์, 8. อ.อุษณา อารี, 9. อ.รัญชนีย์ ศรีสมาน, 10. อ.ภาคภูมิ หรรนภา, 11. อ.ทม เกตวงศา, 12. อ.ลลิตา หิงคานนท์, 13. อ.อัครา มะเสนา, 14. อ.บัญญัติ สาลี, 15. ภาคภูมิ หรรนภา, 16. อธิปัตย์ วงษ์ยิ้ม, 17. โตมร โสตะภา, 18. ชวรา ฤทธาพรหม, 19. อนัญญา ภาโนชิต, 20. บัญญัติ สาลี, 21. ธนัญญา ธัญญะประกอบ, 22. ณัฐกรณ์ หิรัญชาติ, 23. ณัฐริกา อภิมติรัตน์, 24. ชูศักดิ์ ภานุวัตร์, 25. อัครครา มะเสนา, 26. ช่อนิภา ทวีโคตร, 27. นารีรัตน์ บุญประเสริฐ, 28. สมชาย นิลอาธิ, 29. บุญเลิศ สดสุชาติ, 30. วราภรณ์ จรรยา, 31. ญาณิกา แสนสุริวงค์, 32. บุษกร โยธาฤทธิ์, 33. ศิริพร ทูลคำรักษ์, 34. ศุภวัฒน์ มาตย์ภูมี, 35. อลิษา พุทธิศักดิ์แสง, 36. ณัฐิดา กุลศรี, 37.ดร. พุฒิพงศ์ สัตยวงค์ทิพย์, 38. อุษาวดี มาลีวงค์, 39. ณัฐนิชา ไพบูลย์โรจน์รุ่ง, 40. ทม เกตุวงศา, 41. กรีติ ธนะไชย, 42. อุษณา อารี, 43. อธิป วัดเวียงคำ, 44. บรรจง บุรินประโคน,

องค์กรที่ประกาศตัวไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ

ถึง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, ตามเนื้อหาที่ 1260 เรื่อง ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับทำลายการปฏิรูปการเมือง เครือข่ายพลเมืองเพื่อการมีส่วนร่วม (คพส.) ได้ประชุมเครือสมาชิกเห็นพ้องต้องกันเป็นเอกฉันท์ว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับ คมช. มีปัญหาหลายประเด็น ไม่เป็นไปตามประชาธิปไตย ตั้งแต่การยกร่าง การทำประชาวิจารณ์ และการซ่อนเงื่อนปมในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งไม่สมควรรับเป็นอย่างยิ่ง จึงขอร่วมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับทำลายการปฏิรูปการเมือง มา ณ โอกาสนี้ด้วย.
นายโอภาส ภาสบุตร : ประธานเครือข่ายพลเมืองเพื่อการมีส่วนร่วม (คพส.)

(หมายเหตุ : รายชื่อที่นำเสนอนี้ หากมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับชื่อซ้ำ หรือความเข้าใจผิดใดๆ กรุณาแจ้งให้ กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนทราบโดยด่วนที่ midnightuniv@gmail.com เพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้องที่สุด)

สำหรับผู้ที่สนใจลงชื่อเพิ่มเติม ทั้งนักวิชาการ, สื่อมวลชน, ประชาชนทั่วไป, สามารถส่งชื่อของท่านไปที่
midnightuniv@gmail.com

//www.midnightuniv.org/midnightuniv/index230550.html



Create Date : 30 มิถุนายน 2550
Last Update : 30 มิถุนายน 2550 15:51:28 น. 2 comments
Counter : 792 Pageviews.

 
drunkcatนี่ถ่อมตนจริงๆเลยครับ
สมเป็นยอดยุทธ


โดย: deknaew_ton (deknaew_ton ) วันที่: 5 กรกฎาคม 2550 เวลา:11:09:13 น.  

 
...รธน.กระบอกปืนฯนั้น
ในสายตา(สั้นๆ)ของผมมองว่าในหลายๆมาตรานั้น ผมก็ยอมรับครับว่าค่อนข้างมีพัฒนาการที่ดีขึ้น แต่ปัญหามันไม่จบแค่นั้น สาระสำคัญคือที่มาของรธน. ว่าประชาชนในทุกๆภาคส่วนจะยอมรับได้มากแค่ใหน(อันนี้ไม่ขอวิจารณ์)
...แต่ในฐานะโดยวิชาชีพแล้ว ที่ยอมรับไม่ได้จริงๆคือ มาตรา299 อันเป็นที่ทราบดีแล้วนั้น ***ประชาชนชาวไทยย่อมอยู่ภายใต้กฎหมาย(โดยมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน) แต่เมื่อมีบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งละเมิดต่อกฎหมาย(ไม่ว่าจะมีเจตนาเช่นไรก็ตาม) แต่สามารถที่จะนิรโทษกรรมให้ตนเองและพวกได้ ใหนเลยจะหาได้ซึ่งความยุติธรรมในสังคม

***ในอดีตพันท้ายนรสิงห์ ท่านก็ได้กระทำผิดกฎมลเฑียรบาล แม้จะโดยมิได้มีเจตนาหรือประมาท และความผิดก็มีเหตุสมควรอภัย แต่ท่านก็ยังเคารพต่อความศักดิ์สิทธิของกฎหมายและยินดีรับโทษด้วยชีวิตของตน เยี่ยงวีรบุรุษ...แต่ปัจจุบันมีกลุ่มผู้กระทำละเมิดกฎหมายสูงสุดและได้เจตนากระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน กลับไม่ยอมจะรับโทษ โดยอ้างเหตุผลต่างๆเพื่อนิรโทษกรรมด้วยตนเอง โดยคิดว่าตนปราศจากความผิด ไร้ซึ่งความเป็นลูกผู้ชายไม่อายบรรพบุรุษ



โดย: deknaew_ton (deknaew_ton ) วันที่: 5 กรกฎาคม 2550 เวลา:11:28:36 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

drunkcat
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




กตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประสูติจากพระครรภ์พระมารดาแล้ว ในที่สุดองค์สมเด็จพระประทีปแก้วใกล้จะถึงวาระที่จะบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะองค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงบำเพ็ญบารมีมาครบ ๔ อสงไขยกับแสนกัป ควรจะได้เป็นพระพุทธเจ้า

ในวันหนึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จประพาสพระราชอุทยาน ก็ทรงพบเด็กเกิดใหม่ วันต่อมาทรงพบคนแก่ คนป่วย แล้วก็คนตาย วันสุดท้ายทรงพบสมณะ

ความจริงเวลานั้นพระที่แต่งตัวแบบนี้ ไม่มีในโลก แต่ว่าเทวทูตทั้ง ๕ ที่เรียกกว่า เทวทูต คือ เด็กก็ดี คนแก่ก็ดี คนป่วยก็ดี คนตายก็ดี พระก็ดี ที่ปรากฏกับสายพระเนตรขององค์สมเด็จพระชินสีห์ เมื่อยังเป็นสิทธัตถะราชกุมาร ท่านบอกว่า เวลานั้นเทวดาแสดงขึ้นให้ปรากฏ ครั้นเมื่อองค์สมเด็จพระบรมสุคตเห็นคนเกิดยังเด็กเล็ก แล้วต่อมาพบคนแก่ แล้วก็พบคนป่วย แล้วก็พบคนตาย น้ำพระทัยขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตรัสว่า

"โลกนี้ทุกข์หนอ ไม่มีอะไรเป็นสุข หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้"

ต่อมาวันสุดท้าย องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงเห็นสมณะวิสัยก็เข้าใจว่าทางนิพพานมีอยู่ ทางนี้เป็นทางสิ้นทุกข์ เหตุฉะนั้นองค์สมเด็จพระบรมครูจึงได้ตัดสินพระทัยออกบวช นี่ขอเล่าลัดๆ นะ แต่ความจริงเรื่องนี้ยาวมาก
Friends' blogs
[Add drunkcat's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.