งานประชุมสิ่งแวดล้อม จัดที่กรุงเทพ เดือนม.ค.
งานประชุมนานาชาติเรื่อง Thailand 2009: An International Perspective on Environmental and Water Resources กำลังจะจัดขึ้นที่กรุงเทพ ในเดือนมกราคมปีหน้าค่ะ งานประชุมครั้งนี้จัดโดย American Society of Civil Engineers (ASCE) ซึ่งเป็นสมาคมระดับประเทศของอเมริกาสำหรับผู้เกี่ยวข้องในวิชาชีพวิศวกรโยธาค่ะ ซึ่งสมาคม ASCE นี้ ก็มีหน่วยย่อยสำหรับผู้ทำงานสาขาสิ่งแวดล้อม (เพราะวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมก็เป็นแขนงหนึ่งในวิศวกรรมโยธาค่ะ)ที่เรียกว่า Environmental and Water Resources Institute of ASCE (EWRI) โดย EWRI นี้ที่เป็นผู้จัดงานประชุมนี้โดยตรง

งานนี้จะครอบคลุมเนื้อหา ๓ ส่วนคือ

๑. Climate and Natural Hazards

๒. Water Resources and Water Supply

๓. Environment, Ecology, and Waste Management

โดยหัวข้อปลีกย่อยลงไป สามารถดูได้จาก website ใน link ข้างต้นค่ะ

สำหรับนักเรียน อาจารย์ และนักวิจัย ที่มีผลงานเดี่ยวกับหัวข้อที่กล่าวมานี้ ก็สามารถส่งบทคัดย่อได้ ภายในวันที่ ๙ เมษายนนี้ค่ะ ถ้าได้รับคัดเลือก ก็จะได้เสนอผลงานในงานประชุม ซึ่งก็อาจจะเป็นการพูด presentation หรือ เสนอเป็น poster presentation ค่ะ รายละเอียดทั้งหมดอยู่ใน website ค่ะ

ส่วนผู้ที่สนใจเข้าร่วมแต่ไม่เสนอผลงาน ก็สามารถลงทะเบียนได้ค่ะ แต่ตอนนี้ยังไม่เปิดรับลงทะเบียน เพราะเร็วเกินไป มีแค่ abstract สำหรับคนที่ต้องการเสนอผลงานค่ะ ที่ต้องส่งเร็วๆนี้ ก็เลยยังไม่ทราบว่าค่าลงทะเบียนว่าเท่าไร

งานนี้น่าสนใจทีเดียวที่จะได้แลกเปลี่ยนความรู้ และรับความรู้ เทคนิคการวิจัย และเทคโนโลยีใหม่ๆด้านสิ่งแวดล้อมค่ะ และจะเป็นโอกาสดีที่จะได้รู้จักเจอะเจออาจารย์ นักวิจัย และผู้ชำนาญการด้านนี้อย่างจริงจังค่ะ ผู้เขียนก็ตื่นเต้น อยากไปร่วมงานให้ได้ค่ะ มีท่านผู้อ่านท่านไหนสนใจบ้างมั้ยคะ




Create Date : 21 มีนาคม 2551
Last Update : 21 มีนาคม 2551 11:14:56 น.
Counter : 623 Pageviews.

2 comment
สิ่งแวดล้อม: มารู้จักโรงบำบัดน้ำเสียในแคลิฟอร์เนียกันค่ะ
เมื่อเร็วๆนี้ ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปชมทัวร์โรงบำบัดน้ำเสียชุมชนของเมือง Woodland รัฐแคลิฟอร์เนีย มาค่ะ ก่อนอื่นขอเล่าให้ฟังคร่าวๆเกี่ยวกับเมือง Woodland นะคะ เมืองนี้อยู่ทางตอนเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย ห่างจากเมืองหลวงของรัฐ ชื่อเมือง Sacramento (ที่มีผู้ว่าการรัฐ Arnold Schwarzenegger อยู่ค่ะ) ไปเพียงครึ่งชั่วโมง เมือง Woodland เป็นเมืองเล็กๆ มีพี้นที่ ๑๔ ตารางไมล์ มีประชากรประมาณ ๕๒,๕๐๐ คน เมืองนี้เป็นศูนย์กลางของ County ที่ชื่อ Yolo County ค่ะ (County เป็นเขตการปกครองที่มีหลายๆเมืองมารวมกัน และหลายๆ County รวมกันเป็นรัฐ –State) มหาวิทยาลัย UC Davis ซึ่งมีนักเรียนไทยมาเรียนเยอะจำนวนหนึ่ง ก็ห่างจาก Woodland ไปเพียง ๑๕ นาทีค่ะ

โรงบำบัดน้ำเสียที่นี่ (Wastewater treatment plant) มีชื่อว่า Water Pollution Control Facility เป็นการตั้งชื่อให้ดูดี ฟังแล้วดูสะอาดปลอดภัยค่ะ เพราะถ้าเรียกว่า Wastewater treatment plant ก็คงมีคนทั่วไปที่ไม่ค่อยเข้าใจก็อาจจะไม่อยากมาตั้งบ้านหรือทำงานใกล้ๆโรงบำบัดน้ำเสียค่ะ แต่จริงๆแล้ว ทางโรงบำบัดนี้ดูสะอาดและไม่มีกลิ่นเลยค่ะ ทางเข้าไปเป็นถนนเล็กๆ เค้าตั้งใจมีเป็น buffer zone คือให้อยู่ห่างออกมาจากแหล่งพักอาศัยและชุมชน แต่ว่าตอนหลังๆนี่ ชุมชนเองที่ขยับขยายพื้นที่เข้ามาใกล้โรงบำบัดเข้าไปทุกที สามารถมองเห็นได้ข้ามถนน highway ค่ะ

รอบๆตัวอาคารสำนักงานและตัวระบบบำบัดเค้ามีบ่อ evaporation pond ซึ่งเป็นที่กักเก็บน้ำหลังบำบัดแล้ว ก่อนลงสู่แม่น้ำค่ะ แต่เวลามีฝนตกน้ำหลาก แล้วระบบบำบัดไม่สามารถรับน้ำทั้งหมดได้ เค้าก็จะปล่อยน้ำเสียส่วนหนึ่งไปที่ evaporation ponds (รูปข้างล่าง) เหล่านี้ แล้วรอให้มันระเหยไปค่ะ จะไม่ปล่อยกลับมาเข้าระบบเพื่อบำบัดอีก แต่บ่อเหล่านี้ดูสะอาดค่ะ บางบ่อมีเหล่านกน้ำมาอาศัยเต็มไปหมด



ที่นี่เค้าเพิ่งปรับปรุงระบบให้รับน้ำได้จาก ๗.๘ มาเป็น ๑๐.๔ แกลลอนต่อวันค่ะ น้ำเสียที่รวบรวมมาจากท่อก็มาผ่านตะแกรง (Screen) ก่อน เพื่อเอาพวกเศษขยะหรือของชิ้นไม่เล็กมากออกก่อน จะได้ไม่ไปอุดตันปั้ม จากนั้นน้ำเสียก็มาเข้า pump station ดังรูปข้างล่าง มีปั้ม ๔ ตัว แต่เวลาปกติช่วงฝนไม่ค่อยตก เค้าก็จะใช้งานปั้มแค่ตัวเดียวค่ะ



จากนั้นน้ำเสียก็จะถูกส่งปั้มไปที่บ่อด้านบน ซึ่งก็จะผ่านไปที่ Parshall Flume เป็น โครงสร้างบ่อที่สามารถวัดความเร็วการไหลของน้ำได้ (flow) รูปด้านล่างมืดไปนิดนึงค่ะ เลยมองไม่เห็นตัวโครงสร้าง Flume ข้างล่าง



จากนั้น น้ำเสียก็ถูกส่งไปที่บ่อตกตะกอนเบื้องต้น (Primary sedimentation) เป็นบ่อสี่เหลี่ยม เพื่อเอาพวกกรวดทรายที่หนักๆหน่อยออกก่อน



โรงบำบัดน้ำนี้ เค้าพยายามออกแบบให้มีการปั้มยกระดับน้ำเพียงแค่ไม่กี่ครั้ง แล้วออกแบบให้น้ำจาก unit หนึ่งไหลไปอีก unit หนึ่งด้วย gravity เอง เพื่อประหยัดพลังงานค่ะ ดังนั้นแต่ละขั้นตอนอาจจะไม่อยู่ติดๆกันค่ะ ขั้นอยู่กับระดับพื้นดิน หลังจากบ่อ primary sedimentation tank แล้ว น้ำก็จะไหลไปที่อีกฟากของโรงบำบัด ซึ่งก็เดินไปประมาณ ๒-๓ นาที ไปที่ Oxidation Ditches ๔ บ่อค่ะ ซึ่งบ่อเหล่านี้มีจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้ ลักษณะบ่อมีน้ำไหลเข้ามาทางช่องขวา แล้วมาไหลกลับทางช่องซ้ายในรูปค่ะ บ่อลึก ๑๕ ฟุต ในรูปจะเห็นว่ามี rotor อยู่ไกลๆ ๒ อัน อันหนึ่งตีน้ำเพื่อเพิ่ม oxygen ในน้ำ ตัว rotor เอง ขยับขึ้นลงได้ตามระดับผิวน้ำเพื่อควบคุมระดับ dissolved oxygen ซึ่งจำเป็นต่อจุลินทรีย์ในน้ำให้มีชีวิต โดยควยคุมให้มี oxygen ประมาณ ๑ ถึง ๓ mg/l ค่ะ ถ้าระดับ oxygen สูงกว่านี้ก็จะมีปัญหาเรื่องแบคทีเรียอีกชนิด ที่ชื่อ filamentus โตขั้นมา ซึ่งมีสักษณะเป็นใยๆ ทำให้ระบบล่มได้ค่ะ ในบ่อนี้จะบำบัด nitrogen ให้เปลี่ยนเป็น nitrate ด้วย เค้ามีบ่อแบบนี้ ๔ บ่อ ทุกๆปีก็จะปิดหนึ่งบ่อเพื่อทำความสะอาด ก็จะมี ๓ บ่อที่เหลือเปิดทำงานค่ะ ดังนั้น บ่อหนึ่งๆก็จะได้รับการทำความสะอาดทุกๆ ๔ ปี



จากนั้น น้ำก็จะถูกส่งไปที่บ่อตกตะกอนขั้นที่สอง (secondary clarifier) เป็นบ่อกลมๆดังรูปค่ะ โดยเค้าจะเติมสารเคมี polymer ช่วยตกตะกอน (coagulants) สารนี้เมื่อรวมตัวกับตะกอนเล็กๆ มันจะไปจับให้ตะกอนเล็กๆรวมตัวกันใหญ่ขึ้น ขั้นตอนการรวมตะกอนให้ใหญ่ขึ้น เรียกว่า Flocculation ตัวตะกอนที่จับให้ใหญ่ขึ้น เรียกว่า floc พอตะกอนมันใหญ่ ก็จะจมลงก้นบ่อด้วยน้ำหนักของมัน ก็เป็นการทำให้น้ำใสขึ้น เรียนขั้นตอนนี้ว่า clarification ค่ะ ดังนั้น บ่อนี้ก็ทำหน้าที่ทั้ง flocculation and clarification ค่ะ ตัว polymer ที่เค้าเติมช่วยตกตะกอนนี้ เป็นขั้นตอนที่เค้าเพิ่งเพิ่มเข้าไปในระบบ ซึ่งช่วยให้คุณภาพน้ำดีขึ้นมาก เพราะทำให้ความขุ่นของน้ำลดลงเป็น ๐.๒ NTU (หน่วยวัดความขุ่น) ระบบ secondary clarifier ของที่นี่ เค้ามีการออกแบบพิเศษ คือตัว weir ที่รับน้ำใสที่ผ่านการบำบัดแล้ว ไปยัง unit ถัดไปนั้น มีการสร้างหลังคากันแดดไว้ ดังในรูปข้างล่าง ซึ่งการออกแบบพิเศษนี้ เป็นการแก้ปัญหาตะไคร่น้ำขึ้นที่ตัว weir ดังที่เป็นปัญหาที่เห็นกันทั่วๆสำหรับ weir ที่ไม่มีหลังคาคลุมกันแดด




จากนั้น น้ำก็ถูกส่งไปที่ปั้ม เพื่อสูบไปที่ตึกที่มี filters เพื่อทำการ filtration ตัว filter มีรูขนาด ๑๐ ไมครอน การกรองน้ำขั้นนี้ เป็นการเตรียมน้ำก่อนที่จะไปยังขั้นตอนสุดท้ายของระบบ นั่นก็คือ การฆ่าเชื้อโรคด้วยแสง UV แต่จริงๆแล้วในข้อกำหนดกฎหมาย ก่อนเข้าระบบ uv disinfection ที่จะกล่าวต่อไปนั้น น้ำจะต้องมีความขุ่นน้อยกว่า ๒ NTU ดังนั้นคุณภาพน้ำหลังจากออกจาก clarifiers ไม่จำเป็นต้องเข้าระบบกรองก็ได้ แต่เค้าก็มีการใช้ระบบกรองเพื่อเป็นการบำบัดน้ำให้ดีขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง



ระบบสุดท้ายคือ ระบบฆ่าเชื้อโรคด้วยแสง UV ซึ่งเค้าเพิ่งเปลี่ยนมาแทนการใช้คลอรีนเติมลงในน้ำ เนื่องจากการบำบัดน้ำเสียไม่ได้กำหนดว่าต้องมีคลอรีนคงอยู่ในน้ำแบบของน้ำประปาเวลาส่งไปตามท่อ (chlorine residuals) ดังนั้น ระบบ UV จึงมาแทนที่คลอรีนโดยสิ้นเชิง ในรูปแสดงหนึ่ง chamber ซึ่งมี UV อยู่ ๒๐ แถว หนึ่งแถวมีหลอด UV ลงไปในน้ำ ๘ หลอด ระบบที่เค้าใช้เป็นของ Trojan UV 3000 plus เป็นแบบ medium pressure high intensity ทั้งหมดมีหลอด UV ๒๕๐ หลอด เค้าบอกว่าหลอดหนึ่งไม่แพง แค่ ๗๕ เหรียญ



ทั้งระบบนี้มีการควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ คือเมื่อมีอะไรผิดพลาด ระบบจะบอกให้ปั้มหยุดทำงาน และ alarm ก็จะดังไปที่ห้องควบคุมและบุคคลผู้ดูแลก็จะมาทำการแก้ไขค่ะ

การทัวร์ใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง มีวิศวกรผู้ออกแบบระบบนี้มาอธิบายข้อมูลด้านเทคนิค และมีวิศวกรผู้ควบคุมระบบอีกท่านมาอธิบายการควบคุมดูแลระบบค่ะ



Create Date : 03 มีนาคม 2551
Last Update : 3 มีนาคม 2551 9:56:31 น.
Counter : 3230 Pageviews.

2 comment
ข่าวสิ่งแวดล้อมในอเมริกา: นิวยอร์กกับการผ่านกฎหมายปรับปรุงระบบรวบรวมน้ำฝน
ที่อเมริกามีการตื่นตัวอย่างมากในด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งผู้เขียนเพิ่งย้ายมา จากที่ได้อยู่ที่รัฐอิลลินอยล์มา ๖ ปี พอมาอยู่แคลิฟอร์เนียก็มาเจอ culture shock อีกรอบ เพราะรัฐนี้มีการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในอเมริกา ขนาดกฎหมายสิ่งแวดล้อมของรัฐยังเข้มงวดกว่ากฎหมายของประเทศเลย การที่ผู้เขียนได้เรียนมาทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และตอนนี้ก็มาทำงานวิจัยทางด้านนี้ ก็มีเรื่องราวสิ่งแวดล้อมมากมายค่ะ กลุ่มบลอกนี้ผู้เขียนตั้งใจจะรวบรวมข้อมูล ข่าวสารที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยเป็นในอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ค่ะ แต่วันนี้จะยังไม่ขอพูดเกี่ยวกับของรัฐแคลิฟอร์เนียค่ะ พอดีไปเจอข่าวประจำวันเกี่ยวกับนิวยอร์กผ่านกฎหมายแผนจัดการน้ำท่วมลงในระบบท่อรวบรวมน้ำเสีย ก็เลยเอามาฝากกันวันนี้ค่ะ

ผู้ว่าการนิวยอร์กได้เซ็นผ่านกฎหมายให้มีการปรับปรุงระบบรวบรวมน้ำฝนของเมือง โดยให้ไปปะปนกับระบบรวบรวมน้ำเสียจากบ้านเรือนน้อยลงค่ะ เพราะมีปัญหาที่น้ำเสียก็ไหลเอ่อเพราะน้ำฝนท่วมค่ะ กฎหมายนี้จะทำให้ต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมว่าจะหาวิธีอย่างไรมาจัดการปัญหานี้ค่ะ ตอนนี้ที่เค้าคิดไว้ก็เช่น การต่อท่อรวบรวมน้ำฝนที่ไม่ไปต่อกับท่อน้ำเสีย ทางเดินถนนที่สามารถกรองน้ำฝนไปที่รวบรวมเฉพาะ ที่เก็บกักน้ำฝนชั่วคราวใต้ดิน และการปลูกต้นไม้ตามหลังคา กำแพง และริมถนน เพื่อดูดซับน้ำฝน เป็นต้นค่ะ

ผู้เขียนคาดว่า หลังจากออกกฎหมายนี้ เค้าก็จะมีเงินทุนมาจ้างบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม หรือมหาวิทยาลัย มาทำโครงงานวิจัยเพิ่มเติมว่าจะใช้วิธีไหนดี แล้วประเมินว่าจะได้ผลไม่ได้ผลอย่างไรค่ะ เค้าก็จะทำเป็นเรื่องเป็นราวจริงจังค่ะ

ในเนื้อข่าวก็เขียนด้วยว่า ทางนิวยอร์กก็ภูมิใจว่ากฎหมายนี้จะเป็นแบบอย่างให้เมืองอื่นๆด้วยค่ะ สังเกตุได้ว่าที่อเมริกาเค้าจะแข่งกันเป็นผู้นำกันในทุกๆด้านเลยค่ะ

เนื้อข่าวจริงมีดังนี้ค่ะ


Mayor Bloomberg gets on board with plan to manage storm water runoff

BY JOHN LAUINGER
DAILY NEWS STAFF WRITER
Wednesday, February 20th 2008, 4:00 AM

Mayor Bloomberg played the muckraker Tuesday by signing a bill to drastically reduce the amount of filth-filled storm water that seeps into city waterways.
The environmentally progressive law - approved unanimously by the City Council last month - calls for the adoption of a citywide storm water management plan by Dec. 1.
The bill establishes guidelines for the management plan, which would make use - on public and private lands - of innovative strategies to cut down the volume of storm water entering the city's sewer system.
By doing so, the plan attempts to reduce the roughly 27 billion gallons of sewage-tainted storm water discharged into city waterways each year.
Bloomberg said the bill - which dovetails with waterquality objectives outlined in his sweeping PlaNYC initiative - will utilize inventive technologies to help further the ongoing "renaissance" of the city's waterways.
"In the coming decades, we must challenge ourselves to creatively reclaim our waterways for public use," Bloomberg said.
The bill calls for analysis and implementation of a series of storm water-capturing techniques. They include storm sewers that are not connected to overall sewer grids; pavement designed to filter rainwater into discharge areas, underground chambers for storm water storage and so-called green systems that line roofs, walls and portions of streets with vegetation.
Also, the legislation proposes to use tax incentives, grants and low-interest financing to encourage owners of new and existing buildings to install the selected techniques, when appropriate.
Councilman James Gennaro (D-Fresh Meadows), who authored the legislation along with the Bloomberg administration, said its passage makes New York a leader in urban storm water management.
"This certainly will serve as the paradigm for other cities," he said.



Create Date : 26 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 26 กุมภาพันธ์ 2551 21:58:34 น.
Counter : 2440 Pageviews.

5 comment

DrJoyKwanrawee
Location :
Davis, California  United States

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]