All Blog
ADRนานาทัศนะ ความไม่เข้าใจถึงวิธีการแก้ปัญหา
ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้น หลายครั้งพบว่า เหตุที่คู่กรณีนำคดีมาฟ้องร้องกันต่อศาลนั้น เป็นเพราะการขาดความรู้ความเข้าใจในปัญหาและการแก้ปัญหา หรือเป็นเพราะความไม่รู้ แล้วได้ข้อมูลหรือคำแนะนำที่ไม่ถูกต้องไม่ทำให้เกิดการแก้ปัญหา แถมยังทำให้ความขัดแย้งยิ่งบานปลายจนมาถึงชั้นศาลนั้น
เคยมีคดียู่คดีหนึ่ง เรื่องมีอยู่ว่า โจทก์กับจำเลยไปซื้อทาวน์เฮาส์ห้องติดกัน แต่ได้โฉนดสลับแปลงกันโดยที่ต่างก็ไม่รู้ จนกระทั่งโจทก์ต้องการเงินมาลงทุนในธุรกิจ จึงจะนำบ้านและที่ดินของตนไปจำนองกับธนาคาร เมื่อไปติดต่อกับทางธนาคารและตรวจสอบที่ดินและบ้านที่จะใช้จำนองเพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินแล้ว จึงได้ทราบว่าโฉนดที่ดินสลับกันจำเลย โจทก์จึงไปพูดคุยกับจำเลยเพื่อหาทางออก ญาติของจำเลยทราบเรื่องจึงไปปรึกษากับคนรู้จักแล้วได้รับคำแนะนำว่า โจทก์กับจำเลยต้องย้ายบ้านสลับหลังกันให้ถูกต้องตามโฉนด แต่มีปัญหาว่า บ้านของจำเลยนั้นเป็นห้องหัวมุม มีเนื้อที่มากกว่าบ้านของโจทก์ จึงเรียกให้โจทก์จ่ายเงินในส่วนเนื้อที่ดินที่แพงกว่า โจทก์กับจำเลยเจรจาเรื่องราคาที่ดินกันอยู่พักหนึ่ง แต่ก็ตกลงราคากันไม่ได้ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องศาลขอให้จำเลยส่งมอบบ้านให้โจทก์ จำเลยก็โต้แย้งว่า บ้านเป็นของจำเลยโดยซื้อมาอย่างถูกต้อง เพียงแต่เอกสารสิทธิ์ระบุผิดไปเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้จำเลยส่งมอบบ้านให้
ทนายโจทก์และทนายจำเลยต่างก็เห็นว่า คดีน่าจะคุยกันได้ จึงขอให้ทำการไกล่เกลี่้ เมื่อฟังเรื่องราวแล้วคดี น่าจะมีทางออกอื่นนอกจากการที่คู่ความจะสลับบ้านกันให้ถูกต้องตรงตามที่ระบุในโฉนดแล้วมาต่อรองราคาที่ดินส่วนที่ต่างกัน ซึ่งยังมีข้อติดขัดเป็นปัญหากันอยู่จนต้องนำเรื่องมาฟ้องศาลเช่นนี้ เพราะกรณีนี้เป็นเพียงความผิดพลาดในการออกเอกสารสิทธิ์เท่านั้น ซึ่งทางสำนักงานที่ดินน่าจะมีทางออกอื่นให้ ไม่ใช่แค่สลับบ้านกันให้ถูกต้องตามโฉนด
หลังจากนั้น จึงสอบถามไปยังสำนักงานที่ดินจังหวัดว่า กรณีเช่นนี้ ทางสำนักงานที่ดินพอจะมีทางแก้ไขได้อย่างไรหรือไม่ แล้วได้รับคำตอบว่า เรื่องนี้แก้ไขไม่ยาก เพียงแต่คู่ความไปยื่นคำร้องที่สำนักงานที่ดินขอแก้ไขความถูกต้องและจ่ายค่าธรรมเนียมเท่านั้น ก็สามารถแก้ไขโฉนดให้ถูกต้องได้โดยไม่ต้องสลับบ้านกัน คู่ความจึงไปดำเนินการตามคำแนะนำนั้น เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว โจทก์ก็ถอนฟ้องไป เรื่องก็เลยจบ สบายใจทุกฝ่าย
ความขัดแย้งของเรื่องนี้ ทั้งหมดก็เป็นเพียงเพราะ ความไม่ทราบวิธีการในการแก้ปัญหา รวมทั้ง การที่ไม่ได้รับข้อมูล คำแนะนำที่เหมาะแก่การแก้ไขปัญหาที่แท้จริง ทำให้เกิดข้อพิพาทและไม่สามารถระงับข้อพิพาทได้ จนในที่สุดต้องมาถึงชั้นศาล ทั้งที่อาจแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องกันเองได้โดยไม่ยากนัก
ในการไกล่เกลี่ยก็เช่นกัน ผู้ไกล่เกลี่ยอาจช่วยคู่กรณีหาหนทางที่สามารถระงับข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งกันได้อย่างเหมาะสมหรือโดยง่ายอันเป็นสิ่งที่ดีกับทุกฝ่ายและบรรลุวัตถุประสงค์ในการทำหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาท



Create Date : 06 มีนาคม 2551
Last Update : 6 มีนาคม 2551 16:07:13 น.
Counter : 651 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Env. Boalt
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments