All Blog
บทบาทของการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งที่มีต่อการไกล่เกลี่ยในอังกฤษและเวลส์
บทบาทของการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งที่มีต่อการไกล่เกลี่ย
มีการเปรียบการดำเนินคดีไว้ว่า เป็นเสมือนเครื่องจักรที่เวลาเข้าไป เป็นตัวหมูแต่เมื่อออกมาแล้วเป็นไส้กรอก หรือบางครั้งก็เปรียบเปรยว่า เป็นการยอมเสียเนื้อเพื่อรักษากระดูกเอาไว้ ซึ่งแสดงให้เห็น ทัศนคติด้านลบเกี่ยวกับการฟ้องร้องดำเนินคดีในศาลและกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง และทำให้ข้อพิพาททางแพ่งจำนวนมากจบลงก่อนที่จะมีการพิจารณาคดี
ตาม Beldam Report ซึ่งนำเสนอต่อสภาใหญ่ของสภาทนายสรุปว่า การไกล่เกลี่ยควรนำมาใช้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของกระบวนพิจารณาคดีในศาลอังกฤษ
ข้อเท็จจริงที่ว่า การดำเนินคดีไม่ใช่แต่เพียงมีความหมายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการระงับข้อพิพาทอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพแต่อย่างเดียวเท่านั้น ได้รับการอ้างอิงโดย Lord Woolf เพื่อรวมเอาการไกล่เกลี่ยและการระงับข้อพิพาททางเลือกอื่นมาใช้ในการปรับปรุงการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของศาลอังกฤษ โดยในรายงานของ Lord Woolf ให้ข้อแนะนำว่า
- ศาลควรส่งเสริมการใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือก
- คู่ความควรแจ้งนับแต่ขั้นตอนการประชุมจัดการคดีและขั้นตอนก่อนพิจารณาคดีว่า จะนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกมาใช้หรือไม่
- ผู้พิพากษาควรให้ความสนใจหากคู่ความปฏิเสธการใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือกโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเมื่อพิจารณาการกระทำต่อไปในคดี

จุดประสงค์ของ Lord Woolf ก็คือ ต้องการให้มีการลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการดำเนินคดีโดยการนำการไกล่เกลี่ยมาใช้นั่นเอง ตาม Final Report ของ Lord Woolf ได้วางแนวทางกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งไว้ดังนี้
- ให้หลีกเลี่ยงการพิจารณาคดีหากเป็นไปได้
- ลดความเป็นปฏิปักษ์ของคู่ความลงแล้วใช้การดำเนินคดีแบบร่วมมือกันให้มากขึ้น
- ลดความซับซ้อนของการดำเนินคดี
- ระยะเวลาของการดำเนินคดีต้องสั้นลงและมีความแน่นอนมากขึ้น
- ต้องมีความเสมอภาคกันในระหว่างคู่ความ
- โครงสร้างของศาลต้องตอบสนองต่อความต้องการของคู่ความ
- มีการจัดการคดีโดยผู้พิพากษา
นอกจากนี้ยังคำนึงถึงหลักการอีกหลายประการได้แก่
- การปฏิบัติอย่างเที่ยงธรรม
- ผลลัพธ์ที่ยุติธรรม
- ราคาค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
- รวดเร็วตามสมควรแก่เหตุและผล
- เป็นระบบยุติธรรมทางแพ่งที่สามารถทำความเข้าใจได้
- มีความแน่นอน
- มีประสิทธิภาพ
ในเดือนตุลาคม 1997 ประธานศาลฎีกาของอังกฤษได้ประกาศโครงการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งหลายประการ ได้แก่
- ทำกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้เป็นเอกภาพ
- ในกระบวนการก่อนพิจารณาคดีนั้น ให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการสอบสวนศึกษาคดีอย่างเต็มที่ก่อนที่จะเริ่มกระบวนพิจารณาและให้พยายามรอมชอมก่อนดำเนินกระบวนพิจารณา
- แบ่งคดีเป็น 3 ช่องทาง ได้แก่ ช่องทางการดำเนินคดีมโนสาเร่ (Small claims) ที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 ปอนด์ (แต่ถ้าเป็นเรื่องความเสียหายส่วนบุคคล (Personal injury) ทุนทรัพย์ไม่เกิน 1,000 ปอนด์) ช่องทางด่วน (Fast track) สำหรับคดีที่มีทุนทรัพย์สูงขึ้นแต่ไม่เกิน 15,000 ปอนด์ และช่องทาง Multi-track สำหรับคดีที่มีทุนทรัพย์กว่า 15,000 บาท และมีความซับซ้อนแต่มีคุณค่าน้อย(Low Value)
ต่อมาเมื่อวันที่ 26 เมษายน 1999 มีการบังคับใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (Civil Procedural Rules, CPR) ซึ่งใช้กับ High Court และ County Court ในอังกฤษและเวลส์ โดยมีหลักการที่เป็นเหมือนกระจกสะท้อนภาพหลักการตามรายงานของ Lord Woolf ซึ่งมีหลักการสำคัญๆ ได้แก่ การประกันความมั่นใจว่า คู่ความจะมีโอกาสเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน ประหยัดค่าใช้จ่าย การจัดการระงับข้อพิพาทในคดีนั้นเป็นในทางที่ได้สัดส่วนเหมาะสมกับทุนทรัพย์และความซับซ้อนของคดี ด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรม รวมถึงการใช้ทรัพยาการของศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด



Create Date : 05 มีนาคม 2551
Last Update : 5 มีนาคม 2551 12:04:35 น.
Counter : 859 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Env. Boalt
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments