All Blog
บุคคลที่เกี่ยวข้องกระบวนการพิจารณพิพากษา
บุคคลที่เกี่ยวข้องกระบวนการพิจารณพิพากษา
ทนายความ
คู่ความซึ่งอาจเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม(Environmental group) หรือตัวแทนทางธุรกิจปกติมักจะติดต่อกับทนายความ ซึ่งนอกจากจะเป็นตัวแทนตัวความในศาลหรือคณะกรรมการทางปกครองแล้ว บางครั้งยังทำหน้าที่เป็นผู้เจรจา ด้วย อาทิเช่น ถ้าเอกชนต้องการทำโครงการพัฒนาที่ดินซึ่งประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นกังวลเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และต่างก็อาจจ้างทนายความเข้าเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกันหรือหาทางเลือก
ลูกขุน(jury)
ลูกขุนมีความสำคัญในการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพิจารณาคดีของศาล มีรากฐานมาจากวัฒนธรรมกรีกโบราณ บ่อยครั้งที่มองว่าเป็นการแสดงถึงประชาธิปไตย ลูกขุนเป็นกลุ่มบุคคล ที่ได้รับการคัดเลือกมาโดยการสุ่มตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ศาลนั้นตั้งอยู่ เพื่อเข้ามาตัดสินปัญหาข้อเท็จจริง โดยแบ่งเป็นสองประเภท ได้แก่ Petit Juries กับ Grand Juries สำหรับลูกขุนประเภทแรกนั้นหมายถึงคณะลูกขุนที่ทำหน้าที่ค้นหาข้อเท็จจริงในศาล ในยุคแรกประกอบด้วยลูกขุนจำนวน 12 นาย แต่ในหลายรัฐลดจำนวนลงเหลือเพียงไม่กี่นายสำหรับการพิจารณาคดีแพ่ง โดยปกติ คำตัดสินของลูกขุนต้องเป็นเอกฉันท์ ทุกวันนี้ในคดีแพ่งนั้น กว่าครึ่งของมลรัฐทั้งหมดไม่ได้ยึดถือว่าต้องถึงกับเป็นเอกฉันท์ ในคดีแพ่งซึ่งโจทก์ต้องการการเยียวยาตามกฎหมาย(ค่าเสียหาย) ลูกขุนอาจเป็นผู้พิจารณา อย่างไรก็ดี คู่ความทั้งสองฝ่ายอาจตกลงกันสละสิทธิการได้รับการพิจารณาโดยลูกขุน และผู้พิพากษาจะเป็นผู้ตัดสินปัญหาข้อเท็จจริง แต่ไม่มีกฎเกณท์ว่าเมื่อใดลูกขุนควรได้รับเลือก แต่มีปัจจัยบางประการควรมีการพิจารณา ข้อหนึ่งก็คือธรรมชาติทางเทคนิกของคดี ถ้าคดีมีข้อทางเทคนิกมาก จึงอาจจะดูเป็นธรรมกว่าหากพิจารณาโดยผู้พิพากษา โดยเฉพาะผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่พิพาทกัน ปัจจัยอื่นเช่น อารมณ์ในคดี บางครั้งข้อเรียกร้องของแต่ละฝ่ายเต็มไปด้วยความรุนแรงทางอารมณ์ ผู้พิพากษาอาจมีคำตัดสินที่เป็นธรรมมากกว่า ในคดีสิ่งแวดล้อมส่วนมาก การเยียวยาความเสียหายมุ่งไปที่การรักษาความเป็นธรรม มิใช่ขอค่าเสียหาย อย่างเช่นการขอให้ศาลออกคำสั่งห้ามมิให้จำเลยกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อใดก็ตามที่ศาลได้มีคำสั่งออกไป เช่นคำสั่งห้ามตามที่ร้องขอมา ก็ไม่มีการใช้ลูกขุน
ส่วนลูกขุนในประเภทที่สอง เป็นคณะลูกขุนที่ใช้เฉพาะในคดีอาญา ตามการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งที่ 5 (the Fifth Amendment) นั้น ในการดำเนินคดีอาญาร้ายแรงโดยรัฐบาลกลาง (รวมทั้งคดีความผิดต่อรัฐบาลกลางทุกคดีที่มีโทษจำคุกกว่า 1 ปีขึ้นไป) ต้องได้รับการพิจารณาและมีการทำความเห็นของคณะลูกขุน ในรูปการกล่าวหาอย่างเป็นทางการซึ่งต้องทำก่อนมีการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีกับจำเลย ลูกขุนประเภทนี้จะรับฟังพยานหลักฐานซึ่งนำเสนอโดยพนักงานอัยการ และพิจารณาว่าพยานหลักฐานนั้นเพียงพอต่อการดำเนินคดีกับจำเลยหรือไม่
ผู้พิพากษา
ผู้พิพากษาทำหน้าที่เป็นประธานในการดำเนินกระบวนพิจารณา ควบคุมการพิจารณา ตัดสินปัญหาข้อกฎหมาย อาทิ ปัญหาพยานหลักฐานใดอาจรับได้ กฏหมายที่จะใช้บังคับแก่คดี ผู้พิพากษาจะอธิบายถึงกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีโดยผ่านทางคำแนะนำแก่ลูกขุน ถ้าคู่ความสละสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโดยมีลูกขุน หรือในบางกรณีตามกฎหมายบางฉบับที่กำหนดให้เป็นการพิจารณาโดยไม่ต้องมีลูกขุน ผู้พิพากษาจะเป็นผู้ตัดสินปัญหาข้อเท็จจริงด้วย โดยปกติจะมีผู้พิพากษาเพียงนายเดียวขึ้นนั่งพิจารณาในแต่ละคดีในศาลที่ทำการสืบพยาน
ผู้พิพากษาในศาลอุทธรณ์ทำหน้าที่เป็นองค์คณะโดยมีหน้าที่ทบทวนคำพิพากษาของศาลชั้นต้น และในบางครั้งก็มีการรับฟังการแถลงข้ออ้างข้อเถียงด้วยวาจาจากคู่ความ
อย่างไรก็ดี ผู้พิพากษานั้นยังมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม ความเข้าใจในเรื่องวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการเยียวยาความเสียหาย
ผู้พิพากษาศาลมลรัฐปกติมักมาจากการเลือกตั้ง แต่ก็มีบางแห่งมาจากการแต่งตั้งบ้าง ในขณะที่ผู้พิพากษาศาลรัฐบาลกลางมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีตามคำแนะนำและยินยอมจากวุฒิสภา ผู้พิพากษาศาลรัฐบาลกลางอยู่ในตำแหน่งตลอดชีวิต ส่วนผู้พิพากษาศาลมลรัฐมักจะมีวาระการดำรงตำแหน่ง แต่คราวละกี่ปีจะแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ เพราะว่าการดำรงตำแหน่งของผู้พิพากษาศาลรัฐบาลกลางยาวนานตลอดชีวิต ทำให้ประชาชนจำนวนมากพูดว่าอำนาจที่มากที่สุดของประธานาธิบดีคือการแต่งตั้งผู้พิพากษา



Create Date : 04 มีนาคม 2551
Last Update : 4 มีนาคม 2551 14:39:22 น.
Counter : 461 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Env. Boalt
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments