Group Blog
 
All blogs
 

[กระต่าย] 05/10 (จะรู้ได้อย่างไรว่ากระต่ายเรามีปัญหา)

ที่มา : [* กระทู้สาระ *] อยากให้ลูกๆ อยู่กับเรานานๆ ต้องทำยังไงน้า โดย คุณ แม่หมีตัวอ้วน




5. จะรู้ได้อย่างไรว่ากระต่ายเรามีปัญหา

ควรสังเกตุดูอุจจาระอย่างสม่ำเสมอ กระต่ายควรจะถ่ายเยอะ และเป็นก้อนกลมเหมือนถั่วลันเตา และควรมีขนาดเดียวกัน และรูปทรงเดียวกันทุกก้อน ถ้ากระต่ายไม่ถ่าย หรือถ่ายน้อยกว่าปรกติ หรือมีอุจจาระรูปร่างแปลกๆ หรือถ่ายเป็นสร้อย อาจเป็นสัญญาณว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น จึงควรพากระต่ายไปพบสัตว์แพทย์ หรือถ้าหากต้องการรักษาเองในเบื้องต้น ก็ควรให้กระต่ายกินยารักษาก้อนขนขนาดยาว 1 นิ้ว วันละ 1-2 ครั้งเป็นเวลา 3 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือ กระต่ายหยุดกินอาหาร หรือ หยุดกินน้ำ หรือ มีอาการปวด หรือถ้ากระต่ายไม่ถ่ายเป็นเวลา 12 ถึง 24 ชั่วโมง ต้องพากระต่ายไปหาสัตว์แพทย์ทันที ทั้งนี้ การให้กระต่ายเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนกินยาแก้ก้อนขน โดยไม่ได้ปรึกษาสัตว์แพทย์ เนื่องจากอาจเป็นอันตรายได้

ในกรณีที่ให้กระต่ายกินยาแก้ก้อนขนเพื่อเป็นการป้องกันอาจจะมีผลดีในบางกรณี แต่หากให้ยาแก้ก้อนขนกับกระต่ายที่มีอาการหยุดนิ่งของระบบทางเดินอาหารแล้วก็จะเป็นผลร้าย เนื่องจากสิ่งที่อยู่ในทางเดินอาหารได้เกิดการแห้งแข็งตัว บางครั้งแข็งเป็นก้อนอิฐ การที่จะให้วัสดุที่เหมือนขี้ผึ้งไปเคลือบก้อนแข็งๆ นั้นไว้ อาจจะไปหยุดยั้งการดูดซึมน้ำกลับเข้าไปในก้อนนั้นๆ ทำให้ก้อนนั้นไม่สามารถแตกออกและถ่ายออกมาได้ ด้วยเหตุนี้ น่าจะเป็นการดีที่จะเน้นการเพิ่มความชื้นให้ก้อนในทางเดินอาหาร ก่อนที่จะใช้ยาถ่ายที่ทำจากปิโตรเลียม ถ้าต้องใช้ และขอย้ำว่าถ้ากระต่ายของคุณมีอาการหยุดนิ่งของระบบทางเดินอาหาร ให้พาไปหาสัตว์แพทย์ทันที

ที่ซูคอนเนอร์ เราจะให้ยาแก้ก้อนขนความยาวประมาณ 1 นิ้ว กับกระต่ายสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อเป็นการป้องกัน ในช่วงผลัดขนอาจจะให้มากขึ้น และเราจะให้ผักเพิ่มจากปรกติ และนำผักไปล้างน้ำก่อนจะให้เพื่อเป็นการเพิ่มน้ำให้กับกระต่าย นอกจากการให้อาหารที่ถูกต้อง การออกกำลังกาย การสังเกตุอุจจาระกระต่ายอย่างใกล้ชิด รวมถึงการสังเกตุอาการทั่วๆ ไปของกระต่าย จะทำให้ทางเดินอาหารมีสุขภาพดี และกระต่ายมีความสุข

การหยุดนิ่งของระบบทางเดินอาหารมักจะถูกวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคก้อนขน กระต่ายที่เป็นโรคก้อนอาหาร ซึ่งเป็นผลจากการหยุดนิ่งของระบบทางเดินอาหาร แตกต่างจากก้อนขนอยู่ในระบบทางเดินอาหาร และต้องการวิธีรักษาที่แตกต่างกัน การวินิจฉัยโรคผิด ทำให้วิธีรักษาผิดไปด้วย ซึ่ง เป็นอันตรายร้ายแรงต่อกระต่าย ดังนั้นการช่วยเหลือจากสัตว์แพทย์เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ในกรณีเช่นนี้แม้กระทั่ง สัตว์แพทย์บางท่านที่ไม่คุ้นเคยกับการดูแลรักษากระต่ายก็ยังอาจจะผิดพลาดได้ ดังนั้นคุณควรจะหาสัตว์แพทย์ที่คุ้นเคยกับการรักษากระต่ายเพื่อพึ่งพาในกรณีฉุกเฉิน สัตว์แพทย์ที่ชำนาญทางกระต่ายจะสามารถบอกเราได้ว่ากระต่ายเรามีการหยุดนิ่งของระบบทางเดินอาหาร หรือว่าเกิดการอุดตัน และหมอจะสามารถแนะนำการแก้ไขอย่าถูกต้องได้ด้วย




 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2550 13:07:27 น.
Counter : 788 Pageviews.  

[กระต่าย] 04/10 (ความสำคัญของไฟเบอร์และการให้อาหาร)

ที่มา : [* กระทู้สาระ *] อยากให้ลูกๆ อยู่กับเรานานๆ ต้องทำยังไงน้า โดย คุณ แม่หมีตัวอ้วน




4. ความสำคัญของไฟเบอร์ และการให้อาหารที่เหมาะสม

เมื่อกระต่ายได้รับอาหารที่ไม่ถูกต้อง นั่นคือได้รับอาหารที่มีไฟเบอร์ที่ย่อยไม่ได้ไม่เพียงพอ หรือได้รับอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป กระเพาะอาหารและลำไส้ (Gastro-Intestinal หรือ GI) จะไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ และจะเริ่มหยุดทำงาน ซึ่งจะทำให้เกิด การหยุดนิ่งของระบบทางเดินอาหาร (GI stasis) ในระดับต่างๆ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาโดยทันที กระต่ายอาจตายด้วยความทรมานได้

อะไรคือการหยุดนิ่งของระบบทางเดินอาหาร เมื่อความเร็วในการส่งอาหารผ่านระบบการย่อยอาหารได้เปลี่ยนไป ซึ่งจะส่งผลทำให้กระเพาะ และกระเพาะหมักว่างเร็วขึ้น ซึ่งเมื่อเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในความอยากอาหารของกระต่าย อาการไม่อยากกินนี้เป็นได้กับทั้งน้ำและอาหาร

เมื่อกระต่ายไม่กินทั้งน้ำและอาหารจะทำสุขภาพแย่ลง เนื่องจากร่างกายขาดน้ำและอาหาร ดังนั้นร่างกายจะปรับตัวโดยการดูดน้ำจากกระเพาะ และกระเพาะหมักในอัตราที่เพิ่มขึ้น ทำให้สิ่งที่อยู่ในทางเดินอาหาร (เช่น อาหาร เส้นขนที่กลืนลงไปจากการแต่งตัว) เกิดการขาดน้ำ อาหารในกระเพาะ และกระเพาะหมักขาดน้ำ จึงแห้งและจับกันเป็นก้อนแข็ง ซึ่งกระต่ายก็จะไม่สามารถขับถ่ายเอาก้อนอาหาร และขน ออกออกจากร่างกายได้ กระต่ายจึงเกิดอาหารอิ่ม ไม่สบายท้อง และมักจะมีก๊าซในทางเดินอาหาร (เนื่องจากมีการสะสมของแบคทีเรียที่ไม่ดีในกระเพาะหมัก) ยิ่งทำให้เกิดการไม่อยากอาหารมากขึ้นไปอีก

กระต่ายที่เกิดการหยุดนิ่งของระบบทางเดินอาหารส่วนมากจะไม่ยอมกินอาหาร และเป็นโรคเบื่ออาหาร (anorexic) และ ปัญหาแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นคือตับวาย เนื่องจากการดูดซึมสารพิษจากเชื้อแบคทีเรียไม่ดีจากกระเพาะหมัก สารพิษนี้จะทำลายตับ ทำให้ถึงแก่ความตายในที่สุด

โดยส่วนมาก หากเจ้าของช่างสังเกตุและเห็นว่ากระต่ายมีอาการผิดปรกติแต่เนิ่นๆ อาการหยุดนิ่งของระบบทางเดินอาหารจะสามารถแก้ไขได้ โดยใช้เวลา และความใจเย็น ประกอบกับคำแนะนำที่ดีจากสัตว์แพทย์ แต่ในที่นี้เราจะเน้นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอาการดังกล่าว




 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2550 13:07:22 น.
Counter : 694 Pageviews.  

[กระต่าย] 03/10 (ระบบการย่อยของกระต่าย)

ที่มา : [* กระทู้สาระ *] อยากให้ลูกๆ อยู่กับเรานานๆ ต้องทำยังไงน้า โดย คุณ แม่หมีตัวอ้วน




3. ระบบการย่อยของกระต่าย

การย่อยเริ่มต้นที่ปาก อาหารจะถูกบดด้วยฟัน และ ผสมกับน้ำลายซึ่งมีโปรตีนสามารถเริ่มย่อยอาหาร เมื่อกระต่ายกลืนอาหารลงไปในกระเพาะอาหารก็จะผสมกับกรด และเอ็นไซม์น้ำย่อย ซึ่งจะทำการย่อยอาหารอย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นอาหารจะเคลื่อนออกจากกระเพาะอาหารไปยังลำไส้เล็ก ที่ลำไส้เล็กนี้สารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย อาหารที่ไม่ได้รับการดูดซึมก็จะเดินทางไปสู่ลำไส้ใหญ่

ณ ที่นี่อาหารจะถูกจัดลำดับตามขนาด อาหารขนาดใหญ่ ที่เป็นไฟเบอร์ที่ไม่สามารถย่อยได้ (indigestible) จะดันอาหารชิ้นเล็กกว่าที่มีไฟเบอร์ที่ย่อยได้ ให้ย้อนกลับเข้าไปในกระเพาะหมัก (Cecum หรือที่บางคนเรียกว่าไส้ตัน บางคนเรียกว่ากระพุ้งลำไส้ใหญ่)

กระเพาะหมักเป็นถุงตันที่อยู่ระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ (ถ้าเทียบกับคนจะคือไส้ติ่ง) อาหารขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถย่อยได้จะออกมาเป็นเม็ดอุจจาระปกติ (fecal pellets) และกระเพาะหมักที่มีอาหารชิ้นเล็กก็จะเริ่มกระบวนการหมัก ซึ่งจะผลิตอุจจาระที่เราเรียกกันว่า อึองุ่น หรือ อึกลางคืน (night feces หรือ cecotropes) ซึ่งกระต่ายมักจะกินจากก้นตัวเองเลย อึองุ่นจะต่างจากอุจจาระธรรมดาโดยมีลักษณะนิ่มๆ ผิวดูมันๆ เป็นกระจุก และมีกลิ่นแรงกว่าอุจจาระธรรมดา

กระเพาะหมักจะรักษาสัดส่วนอันละเอียดอ่อนระหว่าง โปรโตซัว ยีสต์ และแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับสุขภาพที่ดีของกระต่าย ถ้าหากมีอะไรมาทำให้สัดส่วนอันเปราะบางนี้เสียความดุลย์ (เช่นความเครียด หรือ ยากินฆ่าเชื้อ อย่างเพนนิซิลิน หรือ ยาที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน หรือ การกินอาหารที่มีไขมันสูง ไฟเบอร์ต่ำ หรือ การกินคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป เป็นต้น) แบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อร่างกายก็จะเริ่มเติบโต และจะทำการผลิตสารพิษ (ทอกซิน) ซึ่งเป็นอันตรายต่อกระต่าย และอาจจะทำให้กระต่ายตายได้

ในทางตรงกันข้ามผลิตผลที่เกิดจากการหมักในกระเพาะหมักอย่างถูกต้องมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาความสมดุลของสัดส่วนของ โปรโตซัว ยีสต์ และแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายทำให้เกิดอึองุ่นปกติ และเมื่อกระต่ายกินกลับเข้าไปใหม่ (coprophagy) ทำให้ระบบการย่อยปกติของกระต่ายสามารถดูดซึมสาร อาหาร และวิตามินที่จำเป็นเหล่านี้จากอึองุ่นที่ได้การหมักอย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นกระเพาะหมักจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพของกระต่าย และมีหลักฐานบ่งบอกว่า แบคทีเรียที่ได้จากการกินอึองุ่นที่กินกลับเข้าไปนี้ จะช่วยย่อยอาหารในท้องได้สมบูรณยิ่งขึ้น (Laura Tessmer, B.Sc. and Susan Smith Ph.D: Rabbit Nutrition 1998)




 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2550 13:06:54 น.
Counter : 7072 Pageviews.  

[กระต่าย] 02/10 (การให้อาหารกระต่ายเลี้ยง)

ที่มา : [* กระทู้สาระ *] อยากให้ลูกๆ อยู่กับเรานานๆ ต้องทำยังไงน้า โดย คุณ แม่หมีตัวอ้วน




2. การให้อาหารกระต่ายเลี้ยงเพื่อชีวิตที่แข็งแรงและยืนยาว

เขียนโดย อเลกซานดรา ลอคสดอน โดยมี สัตว์แพทย์ แอน แมคโดแวล เป็นที่ปรึกษา

คนส่วนมากมักเข้าใจว่าอาหารเม็ดที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้เลี้ยงกระต่ายมีส่วนประกอบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกระต่ายที่เป็นสัตว์เลี้ยงของเราโดยเฉพาะ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ อาหารเม็ดดังกล่าวได้ถูกปรุงขึ้นมาเพื่อเป็นการสะดวก และประหยัดสำหรับการเลี้ยงกระต่ายเพื่อใช้เนื้อหรือขนของมันในทางธุรกิจ

เนื่องอาหารเม็ดเหล่านี้สามารถทำให้กระต่ายโตเร็ว และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่กระต่ายของเราเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีไว้เพื่อเป็นเพื่อนของเรา ดังนั้นเราจึงต้องการให้กระต่ายของเรามีสุขภาพดีแข็งแรงและมีชีวิตที่ยืนยาว ซึ่งเป็นเหตุผลที่สำคัญยิ่งสำหรับการเรียนรู้และศึกษาถึงความต้องการสารอาหารที่เป็นประโยชน์สำหรับกระต่ายของเราอย่างแท้จริง

กระต่ายมีระบบการย่อยอาหารที่ละเอียดอ่อนกว่าสัตว์กินพืชอื่นๆ ดังนั้นจึงสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแนวทางการให้อาหารกระต่ายของเราอย่างเคร่งครัด ระบบการย่อยอาหารของกระต่ายได้ถูกออกแบบมาให้สามารถนำเอาพลังงาน และสารอาหารต่างๆ ออกมาจากอาหารที่ไม่ค่อยมีพลังงานและคุณค่าทางอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งการที่กระต่ายได้รับอาหารที่มีไขมัน และ/หรือ โปรตีนสูง แต่มีไฟเบอร์น้อย เช่นการเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดเพียงอย่างเดียว จะเป็นสาเหตุให้กระต่ายโตเร็วแต่สุขภาพไม่ดี เป็นเหตุให้อายุของกระต่ายสั้นกว่าที่ควรจะเป็นด้วย กระต่ายที่เราเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงอาศัยอยู่ในบ้าน เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเรา จึงควรที่จะมีสุขภาพแข็งแรง สำหรับกระต่ายที่ทำหมันแล้ว และได้รับสารอาหารที่ถูกต้องควรจะมีอายุได้นานตั้งแต่ 8 ถึง 13 ปี




 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2550 13:06:53 น.
Counter : 736 Pageviews.  

[กระต่าย] 01/10 อยากให้ลูกๆ อยู่กับเรานานๆ ต้องทำยังไงน้า [หน้าหลัก]

ที่มา : [* กระทู้สาระ *] อยากให้ลูกๆ อยู่กับเรานานๆ ต้องทำยังไงน้า โดย คุณ แม่หมีตัวอ้วน




1. [* กระทู้สาระ *] อยากให้ลูกๆ อยู่กับเรานานๆ ต้องทำยังไงน้า

มาตามคำสัญญา ไม่รู้มีใครจำกันได้รึเปล่าว่าแม่หมีฯ สัญญาอะไรไว้ จำไม่ได้ก็แล้วไป กร๊ากกก

วันนี้เอาสาระมาฝากกันตามเคย แปลมาจากข้อมูลในเวป //www.mybunny.org นะจ้ะ ไม่ได้เขียนเองจ้ะ เวปนี้เค้าเป็นองค์กรที่ชื่อ Zooh Corner ที่ช่วยเหลือกระต่ายค่ะ มีข้อมูลดีๆ เยอะเหมือนกัน

เมื่อคราวที่แล้วคุยเรื่องระบบการย่อยอาหารของกระต่ายไปแล้ว

//topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2007/05/J5428354/J5428354.html

ครั้งนี้เป็นเรื่องคล้ายๆ กัน แต่มีข้อมูลที่คราวที่แล้วไม่มี และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ ก็เลยเอามาให้อ่านกัน เตรียมตัวตาแฉะนะ

ใครภาษาอังกฤษแข็งแรง เชิญที่ //www.mybunny.org ก็ได้นะจ้ะ ไม่ว่ากัน

อ้อ เนื่องจากไม่ใช่นักแปลมืออาชีพก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ถ้าหากมีการแปลผิดพลาด รบกวนบอกกันด้วยนะคะถ้าเห็นว่าตรงไหนไม่ถูกต้อง เรื่องชื่อผักนี่ก็เป็นปัญหาค่ะ แปลไม่ค่อยได้ค่ะ เลยจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษไว้สำหรับบางอัน ใครทราบช่วยแจ้งด้วยนะคะ



1. [* กระทู้สาระ *] อยากให้ลูกๆ อยู่กับเรานานๆ ต้องทำยังไงน้า [หน้าหลัก]
2. การให้อาหารกระต่ายเลี้ยง
3. ระบบการย่อยของกระต่าย
4. ความสำคัญของไฟเบอร์และการให้อาหาร
5. จะรู้ได้อย่างไรว่ากระต่ายเรามีปัญหา
6. การป้องกันดีและคุ้มค่ามากกว่าการแก้ไข
7. หญ้าแห้งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับกระต่าย
8. ผักและผลไม้สำหรับกระต่าย
9. การควบคุมปริมาณอาหารเม็ด
10. แนวทางการให้อาหารกระต่ายเพื่อให้มีสุขภาพดี

^-^




 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2550 13:06:34 น.
Counter : 639 Pageviews.  

1  2  3  4  

dorapanda
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




^-^
Friends' blogs
[Add dorapanda's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.