5 ความเชื่อผิดๆ ที่คุณก็ต้องเชื่อ









1.
ความเชื่อ : หลังจากเสียชีวิต ผมและเล็บของมนุษย์ยังสามารถยาวและงอกต่อได้

เนื่องมาจากสารเคมีในร่างกายตามธรรมชาติ


ข้อเท็จจริง : ไม่เป็นความจริง เพราะเมื่อเสียชีวิต
อวัยวะทุกอย่างจะหยุดทำงานอย่างถาวร

แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิดเสียทีเดียว เพราะเมื่อเราเสียชีวิต
ผิวหนังบริเวณเล็บ
และหนังศีรษะที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อนจะหดลงตามธรรมชาติ
(เช่นเดียวกับเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ)
ทำให้ดูเหมือนว่าผมและเล็บยาวขึ้นได้เอง


2.
ความเชื่อ : อ่านหนังสือในที่สลัว
หรือใช้ไฟฉายส่องจะทำให้สายตาเสีย-ต้องใส่แว่น


ข้อเท็จจริง :
นับว่าเป็นหนึ่งในคำขู่สุดฮิตของบรรดาคุณพ่อและคุณแม่

การที่อ่านหนังสือในที่มีแสงสว่างน้อย หรือใช้ไฟฉายส่องไม่มีผลทำให้สายตาเสีย
ขนาดต้องใส่แว่น
อย่างไรก็ตามการอ่านหนังสือในที่ที่แสงสว่างส่องไม่เพียงพอ
หรือแสงที่ส่องไม่มีคุณภาพ
เช่น แสงจากหลอดไส้ แสงไฟฟลูออเรสเซนท์ที่มีสีแสบตา

การอ่านหนังสือในสภาวะเช่นนี้ส่งผลทำให้ตาต้องปรับโฟกัสมากกว่าปกติ
ทำให้เกิดอาการตาแห้ง
ตาเมื่อยล้าได้ง่าย เนื่องจากต้องใช้การเพ่งมากกว่าปกติ
ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนัก


3.
ความเชื่อ : เผลอกลืนหมากฝรั่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ข้อเท็จจริง : เป็นคำขู่ของผู้ใหญ่อีกเช่นกัน
แต่ก็ทำให้เด็กระมัดระวังในการเคี้ยวหมากฝรั่งได้ผลดีนัก
ในความเป็นจริงแล้ว
การเผลอกลืนหมากฝรั่งไม่ได้มีอันตรายถึงชีวิต ไม่ถึงขนาดต้องไปพึ่งแพทย์ให้ผ่าตัด

เอาก้อนหมากฝรั่งออก
เพราะระบบย่อยอาหารของคนเราสามารถย่อยหมากฝรั่งได้เหมือนกับอาหารชนิดอื่นๆ

แต่ระบบย่อยอาหารอาจจะต้องทำงานหนักมากกว่าปกติสักหน่อย
เนื่องจากส่วนผสมหนึ่งของหมากฝรั่งคือยาง
แต่ก็สามารถย่อยหมดภายในเวลา 24
ชั่วโมง จากนั้นขับออกมาทางอุจจาระตามปกติ


4.
ความเชื่อ : การดึงหรือหักนิ้วมากๆ จะทำให้เป็นโรคข้ออักเสบ หรือข้อเสื่อมได้ง่าย


ข้อเท็จจริง : โรคข้ออักเสบ
หรือข้อเสื่อมมีปัจจัยมาจากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม อายุ น้ำหนัก

อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือการติดเชื้อบริเวณข้อ เป็นต้น
การดึงหรือหักนิ้วจนทำให้เกิดเสียงดังกร๊อบแกร๊บ

เป็นการบิดและดึงจนทำให้น้ำหล่อเลี้ยงภายในข้อที่ป้องกันการเสียดสีระหว่างกระดูก

เกิดแรงดันกลายเป็นฟองอากาศจนเกิดเสียงขึ้น ซึ่งการดึงแบบนี้ไม่ส่งผลใดๆ
ต่อข้ออย่างที่เข้าใจกัน
แต่การดึงหรือหักข้อนิ้วเป็นประจำจะทำให้เอ็นรอบๆ
ข้อสูญเสียความแข็งแรงและความยืดหยุ่น


5.
ความเชื่อ : กินไอศกรีมโยเกิร์ตลดความอ้วน แถมดีต่อร่างกาย


ข้อเท็จจริง :
สิ่งที่เหมือนกันระหว่างโยเกิร์ตและไอศกรีมโยเกิร์ตคือ สีขาวของโยเกิร์ต

การเลือกรับประทานไอศกรีมที่ทำมาจากโยเกิร์ตย่อมดีกว่าไอศกรีมทั่วไปในเรื่องของปริมาณพลังงานและไขมัน

ทั้งนี้หากพิจารณาคุณประโยชน์ที่ได้จากการรับประทานไอศกรีมโยเกิร์ตก็คงจะดีไม่เท่ากับการรับประทานโยเกิร์ต

เนื่องจากไอศกรีมที่ทำมาจากโยเกิร์ตต้องผ่านกระบวนการผลิตและปั่นหลายขั้นตอน
ทำให้จุลินทรีย์ชนิดดีต่อสุขภาพ
นั้นสูญสลายไปหมด
ถ้าอยากลดความอ้วนหันมารับประทานผลไม้สดแช่เย็นก็อร่อยไม่แพ้กันค่ะ
แถมยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย


ที่มาข้อมูล : นิตยสาร
Health Today







Free TextEditor




 

Create Date : 15 ตุลาคม 2553   
Last Update : 15 ตุลาคม 2553 16:49:54 น.   
Counter : 295 Pageviews.  


แปลผลการตรวจเลือด


การแปลผลตรวจเลือด แบบที่ตรวจกันทั่วไปนะครับ




CBC (Complet Blood Count ) เป็นการตรวจเลือดทั่วๆ ไปที่ใช้กันบ่อยที่สุด
ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้หลายอย่างๆ
การรายงานจะมีค่าที่เกี่ยวข้องออกมาหลายตัว ซึ่งต้องดูประกอบไปด้วยกันหลายๆ
ค่า ค่อนข้างยุ่งยากเล็กน้อย แต่ก็เป็นการตรวจ ที่สำคัญอันนึง
(บางแห่งใช้เป็นการตรวจพื้นฐานก่อนรับคนไข้นอนรพ.คู่กับ การตรวจปัสสาวะ
(U/A)


ค่าต่างๆ ที่รายงานใน CBC ได้แก่


Hct (Hemotocrits) หรือ เปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดแดงอัดแน่นเทียบกับปริมาตร
ของเลือดทั้งหมด ค่านี้ใช้บอกภาวะโลหิตจาง หรือ ข้น ของเลือด

ปกติ คนไทย Hct จะอยู่ประมาณ 30กว่า % ถึง 40 กว่า% ถ้าต่ำกว่า 30% ถือว่า
ต่ำมาก อาจจะต้องพิจารณาให้เลือด ช่วยในบางราย ถ้าHct สูงมากอาจจะต้อง
ระวังโรคที่มีการ สร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมามากผิดปกติ
หรือพวกไข้เลือดออกในระยะช้อค
ก็จะมีค่าตัวนี้สูงเนื่องจากน้ำเลือดหนีออกจากเส้นเลือด (ต้องดูค่าอื่นๆ
ประกอบด้วย)


Hb (Hemoglobin) เป็นสารสีแดงในเม็ดเลือดมีหน้าที่ช่วยจับอ๊อกซิเจน ค่าของ Hb ใช้บอกภาวะโลหิตจาง เช่นเดียวกันกับ Hct


ค่าปกติของ Hb มักจะเป็น 1/3 เท่าของ Hct และหน่วยเป็น Gm% เช่น คนที่ Hct 30% จะมี Hb =10 gm% เป็นต้น


WBC (White Blood Cell Count) หรือ ปริมาณเม็ดเลือดขาวทุกชนิด ในเลือดรวมกัน ค่าปกติ จะอยู่ ประมาณ 5000-10000 cell/ml


ถ้าจำนวน WBC ต่ำมาก อาจจะเกิดจากโรคที่มีภูมิต้านทานต่ำบางอย่าง หรือ
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางประเภท หรือ โรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดผิดปกติ
เช่น Aplastic Amemia
หรือไขกระดูกฝ่อซึ่งจะทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดลดลงทั้งหมด (ทั้ง
เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกร็ดเลือด ต่ำหมดทุกตัว)


ถ้าWBC มีจำนวนสูงมาก อาจจะเกิดจากการติดเชื้อพวกแบคทีเรีย แต่จะต้องดูผล
การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว (Differential Count) ประกอบด้วย


แต่ถ้าจำนวน WBC สูงมากเป็นหลายๆ หมื่นเช่น สี่ห้าหมื่น หรือเป็นแสน
อันนั้นจะทำให้สงสัยพวกมะเร็งเม็ดเลือดขาว
แต่จะต้องหาดูพวกเซลล์เม็ดเลือดขาว ตัวอ่อนจากการแยกนับเม็ดเลือดขาว
หรือเจาะไขกระดูกตรวจอีกครั้ง (มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)
อาจจะมีจำนวนเม็ดเลือดขาวปกติ หรือ ต่ำกว่าปกติ ก็ได้เรียกว่า Aleukemic
Leukemia)

 
Differential Count การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว จะรายงานออกมาเป็น %
ของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ (ดังนั้นรวมกันทั้งหมดทุกชนิดจะต้องได้ 100 (%)
พอดี) ตัวสำคัญหลักๆ ดังนี้




PMN หรือ N หรือ Neu (Polymorphonuclear cell หรือ Neutrophil) ตัวนี้
ค่าปกติ ประมาณ 50-60% ถ้าสูงมาก (เช่นมากกว่า 80% ขี้นไป และโดยเฉพาะถ้า
สูงและมีปริมาณWBC รวม มากกว่าหมื่น ขึ้นไป
จะทำให้นึกถึงภาวะมีการติดเชื้อแบคทีเรีย

Lymp หรือ L (Lymphocyte) หรือเม็ดน้ำเหลือง พวกนี้ปกติ จะพบน้อยกว่า PMN
เล็กน้อย (สองตัวนี้รวมกัน จะได้เกือบ 100 % ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด) ถ้าพบ
Lymp ในปริมาณ สัดส่วนสูงขึ้นมามากๆ โดยเฉพาะร่วมกับ
ภาวะเม็ดเลือดขาว(WBC)โดยรวมต่ำลง อาจจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส
โดยเฉพาะถ้ามี Lymp ที่รูปร่างแปลกๆและตัวโตผิดปกติ ที่เรียกกันว่า
Atypical Lymphocyte จำนวนมากร่วมกับ เกล็ดเลือดต่ำ และ Hct สูง
จะพบได้บ่อยในคนไข้ ไข้เลือดออก

Eosin หรือ E (Eosinophil) พวกนี้เป็นเม็ดเลือดขาว ที่ปกติไม่ค่อยพบ
(อาจจะพบได้ 1-2%) แต่ถ้าพบสูงมากเช่น 5-10% หรือมากกว่า
พวกนี้จะสงสัยว่าเป็น พวกโรคภูมิแพ้ หรือพยาธิในร่างกาย




นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายตัว เช่น B หรือ Basophil , M หรือ Monocyte
และพวกตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาว ซึ่งจะพบในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
จะรายงานเมื่อพบ และต้องการการตรวจละเอียดเพิ่มต่อไป

Platelets หรือเกล็ดเลือด เป็นเซลเม็ดเลือด คล้ายเศษเม็ดเลือดแดง
เป็นตัวที่ช่วยในการหยุดไหล ของเลือด เวลาเกิดบาดแผล คนปกติ
จะมีจำนวนประมาณ แสนกว่าเกือบสองแสน ขึ้นไปถึงสองแสนกว่า
การรายงานอาจจะรายงานเป็นจำนวน cell/ml เลยจากการนับ หรือ
จากการประมาณด้วยสายตาเวลาดูสไลด์ที่ย้อมดูเม็ดเลือด
แล้วประเมินปริมาณคร่าวออกมาดังนี้




- Adequate หรือเพียงพอ หรือพอดี หรือปกติ - Decrease หรือ ลดลงกว่าปกติ
หรือต่ำกว่าปกติ พวกนี้มักจะพบในคนไข้ที่ติดเชื้อพวกไวรัส
(เช่นไข้เลือดออก) หรือ มีการสร้างผิดปกติ หรือ
โรคเกล็ดเลือดต่ำโดยไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Thrombocytopenic Purpura
(ITP) ซึ่งทำให้มีเลือดออกง่ายและเกิดจ้ำเลือได้ตามตัว พบได้บ่อยพอสมควร


- Increase พบได้ในบางภาวะเช่นมีการอักเสบรุนแรง
มีเนื้องอกบางชนิดในร่างกายหรือ มีการเลือดฉับพลัน
(จะมีการกระตุ้นให้ไขกระดูกเร่งสร้างเกล็ดเพื่อไปช่วยทำให้เลือดหยุด
และอุดบาดแผล)
นอกจากนี้ยังมีพวกที่เกล็ดเลือดสูงขึ้นมาเองโดยไม่มีสิ่งกระตุ้น ต่างๆ
ก็ได้ เรียกว่า Essential Thrombocytosis (พวกที่มีความผิดปกติ ทั้ง Decrease และ Increase นี่อาจจะต้อง นับ Platelets ให้ละเอียดแล้วรายงานเป็นตัวเลขอีกที)

RBC Morphology หรือรูปร่างของเม็ดเลือดแดง จะมีรายงานออกมาหลายรูปแบบ
ตามลักษณะที่มองเห็น ซึ่งจะช่วยแยกโรคได้หลายอย่าง เช่น บอกว่าเป็น
ธาลลาสซีเมียได้คร่าวๆ หรือ บอกภาวะโลหิตจาง จากการขาดเหล็กเป็นต้น
และบางครั้ง อาจจะเห็นพวก มาเลเรีย อยู่ในเม็ดเลือดแดงด้วยก็ได้


ไวรัสตับอักเสบบี


HBsAg เป็นการตรวจหาเชื้อไวรัส ตับอักเสบชนิด B ว่ามีในเลือดหรือไม่


* ถ้ารายงานว่า HBsAg -ve ก็คือปกติ หรือไม่มีเชื้อนี้ในเลือด


* ถ้ารายงานว่า HBsAg +ve ก็คือพบว่า มีเชื้อนี้ในเลือด ซึ่งต้องดูว่าจะเป็นประเภทไหนดังต่อไปนี้


...... พวกที่มีเชื้อ และ มีอาการอักเสบฉับพลันของตับชัดเจน
(เช่นมีไข้ท้องอืดตาเหลืองตัวเหลือง และมีค่าเอ็นไซม์ต่างๆของตับผิดปกติ)
รวมทั้งอาจจะมีประวัติเพิ่งสัมผัสโรคมา ก็จัดเป็นพวกที่
กำลังเป็นไวรัสตับอักเสบชนิด B พวกนี้ถ้าได้รับการรักษา
ด้วยการพักผ่อนให้พอเพียง ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติได้
และเชื้อจะหมดไปจากเลือดภายในหกเดือน และจะมีภูมิต้านทาน (HBsAb)
เกิดขึ้นมาแทน และจะไม่เป็นโรคนี้อีกต่อไป แต่ถ้าหกเดือนแล้วยังไม่หาย
ก็จะกลายเป็นพวกพาหะ หรือ พวกตับอักเสบเรื้อรัง ต่อไป


...... พวกที่มีเชื้อ แต่ไม่มีอาการใดๆ ทั้งสิ้น
รวมทั้งผลการตรวจเอ็นไซม์ของตับปกติ พวกนี้เรียกเป็นพาหะ (Carrier)
(ดูเรื่อง LFT ข้างล่างประกอบอีกที) พวกนี้ไม่มีอันตราย
แต่ต้องระวังเชื้อจะติดต่อไปยัง คู่สมรสได้หรือ ถ้าเป็นหญิงก็
จะมีเชื้อผ่านไปลูกได้
และถ้ากินเหล้าหรือตรากตรำอาจจะเกิดตับอักเสบขึ้นมาภายหลังได้ แต่ก่อนพวก
พาหะตับอักเสบบีนี้ จะไม่มีการรักษาเฉพาะ (มีหายไปเองได้บ้างบาวส่วน)
แต่ปัจจุบัน มีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
เพื่อใช้ยาให้ภาวะนี้หายไปได้มากขึ้น ซึ่งต้องติดตามกันต่อไป


(หมายเหตุ - กรณีที่เป็นพาหะ ที่เจาะเลือดเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะมีประวัติ
คล้ายตับอักเสบมาก่อนไม่เกินหกเดือนอาจจะ ไม่ใช่พาหะก็ได้
อาจจะเป็นพวกตับอักเสบ ที่กำลังหายแต่เชื้อยังไม่หมดไป
ควรรอจนครบหกเดือนแล้วเจาะซ้ำอีกครั้ง ถ้ายังพบเชื้ออยู่
จึงจัดเป็นพาหะนำเชื้อตับอักเสบ)


...... พวกที่มีเชื้อ และยังไม่มีอาการอะไร
แต่อาจจะพบมีค่าเอ็นไซม์ของตับสูงผิดปกติ หรือ
มีประวัติเคยเป็นตับอักเสบเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง
พวกนี้จะจัดเป็นพวกที่เป็นตับอักเสบเรื้อรัง
พวกนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดตับอักเสบรุนแรงกลับขึ้นมาอีก หรือ เกิด
ภาวะตับแข็ง ตลอดจนมะเร็งตับได้ง่ายกว่าคนปกติมาก พวกนี้ถ้าจำเป็นอาจจะต้อง
รับการวินิจฉัยด้วยการเจาะเอาเนื้อตับมาตรวจ (Liver Biopsy) และพิจารณาให้
Interferon เพื่อการรักษา (ราคาแพงมาก)



HBsAb ตัวนี้เป็นการตรวจหาระดับ ภูมิต้านทานต่อเชื้อตับอักเสบชนิด B


# ถ้ารายงานว่า HBsAb -ve ก็คือ ไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อนี้ในเลือด
และถ้าไม่มีเชื้อ (HbsAg) ด้วย และไม่เคยมีประวัติได้รับวัคซีนมาก่อน
ถ้าอยากจะป้องกันโรคนี้ไว้ ก็ให้วัคซีนป้องกันตับอักเสบได้ รวมสามเข็ม
จะมีผลป้องกันได้ตลอดไป


แต่ถ้าเคยมีประวัติได้รับวัคซีนนี้มาครบสามเข็มแล้ว แม้ว่าการตรวจ
จะไม่พบระดับภูมิต้านทานนี้ อายุรแพทย์ และกุมารแพทย์หลายท่าน
ยังคงแนะนำว่าไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเพิ่ม เนื่องจากมีการศึกษา
และรายงานว่า แม้ระดับภูมิต้านทานจะต่ำกว่า ระดับที่เราจะตรวจพบได้
แต่ก็ยังคงเพียงพอต่อการป้องกันโรค


# ถ้ารายงานว่า HBsAb +ve พวกนี้ดี คือมีภูมิต้านทานต่อเชื้อนี้แล้ว
และจะไม่เป็นโรคนี้อีก พวกนี้อาจจะเกิดจากเคยฉีดวัคซีนนี้ครบแล้วมาก่อน
หรือเคยเป็นโรคนี้แล้วหายไปแล้ว หรือ
บางคนเคยรับเชื้อและหายไปเองโดยไม่รู้สึกตัว (ผมเองก็เป็นแบบนี้
คือมีภูมิต้านทานโดยไม่รู้ตัว)


เบาหวาน


FBS (Fasting Blood Sugar) = ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด ที่เจาะหลังงดอาหารไม่น้อยกว่า 6 ชม.


คนปกติ ค่าจะอยู่ระหว่าง 60-110 mg%(บางแห่งใช้แค่ 100 )
ถ้าสูงกว่านี้เรียกว่า เป็นเบาหวาน แต่ถ้าต่ำกว่า 60
ถือว่าต่ำเกินไป(Hypoglycemia) อาจจะมีอาการหิวใจสั่นหน้ามืดเป็นลม
ไปถึงชักหมดสติได้เช่นกัน เช่นคนเป็นลมเพราะอดอาหาร
หรือคนเป็นเบาหวานแล้วกินยา หรือฉีดยาลดน้ำตาลมากเกินไป


Cholesterol

Cholesterol เป็นไขมันตัวนึงในเลือด (ตัวนี้ส่วนใหญ่รู้จักกันดี)
ถ้าสูงมากจะทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดตามที่ต่างๆ เช่นสมอง หัวใจ
หรือไต เป็นต้น คนปกติ จะไม่เกิน 200 Mg%
(ตัวนี้เดิมเคยให้ถือว่าสูงเมื่อเกิน 250mg% แต่ปัจจุบันใช้ค่าที่มากกว่า
200mg% ก็ถือว่าสูงจนผิดปกติแล้ว)


ไขมันในเลือด

Triglyceride เป็นไขมันอีกตัวนึงในเลือด (แต่คนไม่ค่อยคุ้นกับตัวนี้กัน)
ตัวนี้ถ้าสูงมากก็ทำให้เกิดการอุดตันหลอดเลือดในที่ต่างๆ ได้เหมือนกับ
Cholesterol นอกจากนี้ยังพบขึ้นสูงได้ ในรายที่กินเหล้ามากๆ
พวกนี้ถ้าสูงมากๆ อาจจะไปสะสมที่ตับ เป็น Fatty Liver
และเกิดตับแข็งตามมาได้


ค่าปกติ ไม่ควรสูงเกิน 200 mg% เช่นกัน (แต่บางตำราให้แค่ 170 mg%
และบางคนที่กินไขมันมากๆ อาจจะทำให้ไขมันตัวนี้ในเลือดขึ้นสูงไปได้ถึง
5-600 mg% ก็มี)


การเจาะพวกไขมันทั้งสองตัว ถ้าให้ได้ผลดีควรหลีกเลี่ยงอาหารพวกไขมันมากๆ ล่วงหน้าสามสี่วันก่อนตรวจก็จะดียิ่งขึ้น



HDL (High Density Lipoprotien) = ไขมันชนิดที่มีความหนาแน่นของโมเลกุลสูง
ตัวนี้ช่วยในการนำพวกไขมันที่เกิดโทษ (เช่น Cholesterol และ Triglyceride)
ไปกำจัดทิ้ง ซึ่งจะทำให้มีการอุดตันหลอดเลือดตามอวัยวะต่างๆได้น้อยลง


ตัว HDL ยิ่งมีระดับสูงยิ่งดี(ถ้าเปรียบให้เข้าใจง่ายก็คือ Cholesterol กับ
Triglyceride เป็นขยะที่ต้องกำจัดทิ้ง (จริงๆ
มันก็มีประโยชน์แต่ถ้ามีมากก็จะก่อให้เกิดปัญหา
การอุดตันตามหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ) เหมือนขยะหมักหมม แต่ HDL
จะเปรียบเหมือน รถขนขยะ ถ้ายิ่งมีมากยิ่งดี จะได้มาช่วยเก็บขยะไปได้มาก
ทำให้แม้ขยะจะมีมาก แต่ถ้ามีรถขนขยะมากก็ช่วยบรรเทาไปได้


คนปกติ ควรมี HDL สูงมากกว่า 35 Mg% (ยิ่งมากยิ่งเสี่ยงต่อโรคไขมันอุดตัน หลอดเลือดต่างๆ น้อยลง รวมทั้งหลอดเลือดหัวใจด้วย)


โรคเก๊าต์

Uric Acid ตัวนี้เป็นเกลือยูริคในกระแสเลือด พบสูงได้ในโรคเก๊าต์
นอกจากนี้ยังพบในโรคอื่นๆอีกหลายอย่างเช่นโรคที่มีการทำลายของเม็ดเลือดมาก
ผิดปกติ เป็นต้น คนปกติผู้ชายสูงไม่เกิน 8.5 mg% หญิงไม่เกิน 8.0mg% (
บางแห่งให้ใช้ค่าปกติ เป็นชายน้อยกว่า 8 หญิง น้อยกว่า 7)


ตรวจการทำงานของไต

Creatinine = เป็นการตรวจการทำงานของไต ในการกำจัดของเสีย
ถ้าคนไข้ที่มีภาวะไตวาย จะมีค่าตัวนี้สูงกว่าปกติ คนปกติ จะสูงไม่เกิน
1.8mg% ถ้าสูงมากๆ ต้องระวังว่าเกิดภาวะไตเสื่อม
หรือไตไม่ค่อยทำงานที่เรียกกันว่า ไตวาย



BUN (Blood Urea Nitrogen) = การตรวจหาสารนี้ในเลือด
ใช้เพื่อดูการทำงานของไต คู่กับ Creatinine เช่นกัน
ในคนที่ไตทำงานกำจัดสารพิษ ออกจากร่างกายได้น้อยลง (ไตวาย) จะมีสารนี้สูง
มาก คนปกติ ไม่ควรสูงเกิน 20 mg%


ตรวจการทำงานของตับ

LFT (Liver Function Test) หรือ การตรวจการทำงานของตับ
จะเป็นการตรวจหาเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือดหลายตัวเข้ามาประกอบกัน
ด้วยกันเป็นชุด ประกอบด้วย


# SGOT และ SGPT สองตัวนี้เป็นเอ็นไซม์ของตับ
ที่จะพบเมื่อมีการทำลายของเซลล์ตับ เช่นเกิดจากภาวะตับอักเสบ จากโรคต่างๆ
เป็นต้น ค่าปกติ ของสองตัวนี้ประมาณไม่เกิน 40 U/L


# Alk Phosphatase = ค่าเอ็นไซม์ของเลือดอีกตัวหนึ่ง คนปกติจะมีค่า Alk Phos สูงไม่เกิน 280 Mg%


ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคตับ คือ ถ้าตัวนี้สูงมาก
จะระบุว่าอาจจะมีการอุดตัน ของระบบทางเดินน้ำดีในตับ เช่นจากภาวะตับแข็ง
หรือถ้าสูงมากๆ ก็อาจจะต้องนึกถึง พวกนิ่วในท่อน้ำดี หรือ
มะเร็งในตับหรือทางเดินน้ำดี


นอกจากนี้ยังพบเอ็นไซม์ตัวนี้สูงได้ ในโรคที่มีการทำลายกระดูก และมีการสร้างกระดูกขึ้นชดเชย ด้วยเช่นกัน


(ถ้าคนทีมีนิ่วอุดตันหรือมะเร็งในตับอาจจะสูงเป็นพัน เลยก็ได้)


# TB (Total Bilirubin) = สารน้ำดี ทั้งหมด ในกระแสเลือด คนปกติ ค่า TB
จะสูงไม่เกิน 1.5 mg% ถ้ามีมาก เรียกว่ามีภาวะ ดีซ่าน(Juandice)
มีอาการตาเหลืองตัวเหลือง ซึ่งเกิดได้จากทั้งโรคจากตับ
หรือนิ่วในระบบท่อน้ำดี หรือโรคที่มีการแตกตัวหรือ
ทำลายเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติก็ได้


DB (Direct Bilirubin) = สารน้ำดี ชนิดที่ได้รับการเปลี่ยนแปลง
(Conjugated) ที่ตับแล้ว (เป็นพวกที่ละลายในน้ำ) คนปกติ จะมี DB ไม่เกิน
0.5 mg %


ถ้าเอาค่า DB หักออก จากค่า TB (TB- DB) จะได้เป็นค่าของ Indirected
Bilirubin หรือพวกน้ำดี ซึ่งยังไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงที่ตับ
(Unconjugated Bilirubin) ซึ่งเป็นพวกละลายในไขมัน)


การแปลผลโดยอาศัย ค่าของ TB , DB และ Indirect
Bilirubin(ปกติตัวหลังไม่มีรายงาน แต่หาได้จากการคำนวนที่
เอาสองตัวแรกลบกันอย่างที่บอก) จะช่วยให้เราช่วยแยกได้ว่า ดีซ่านนั้น
มีสาเหตุจากตัวตับทำงานผิดปกติเอง หรือ ตับยังทำงานได้ (เปลี่ยนแปลงน้ำดี
จาก Indirect Bilirubinไปเป็น DBได้) แต่เกิดการอุดตันจากทางเดินน้ำดี หรือ
จากสาเหตุอื่น ที่ทำให้มีการสร้างน้ำดีมากผิดปกติ เช่น
โรคที่มีการแตกของเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ


# Alb (Albumin) = ระดับของโปรตีนอัลบูมินในเลือด ค่าปกติ ตัวนี้อยู่ประมาณ
3.5-5 mg% ถ้ามีค่าต่ำกว่าปกติอาจจะเกิดจาก ขาดอาหารพวกโปรตีน
หรือมีการสูญเสียออกทางไตไปมากในคนที่เป็นโรคไต (Nephrotic Syndrome) หรือ
มีความผิดปกติเรื้อรังของตับ เช่นตับแข็ง ก็ทำให้ มีระดับอัลบูมิน ต่ำลงได้


Glob (Globumin) = โปรตีนอีกตัวหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทาน
ของร่างกาย (พวกแอนติบอดี้ ต่างๆ ก็มักจะอยู่ในรูปของ Globurin )

# ค่าปกติ ของ Glob ประมาณ 2.0-3.5 mg%


Glob สร้างจากเนื้อเยื่ออื่นๆ ของร่างกายไม่ใช่ที่ตับเหมือน Albumin
นอกจากนี้ ในคนไข้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง เช่น ตับแข็ง
จะพบว่ามีการกระตุ้นให้มีการสร้าง Globulin มากกว่าปกติ ทำให้ระดับของ Glob
ในเลือดสูงผิดปกติ


จะสังเกตเห็นว่าในโรคตับเรื้อรัง จะมี Alb ลดลง และ Glob เพิ่มขึ้น
ดังนั้นเมื่อดูสัดส่วนระหว่าง Alb/Glob จะเห็นว่า แทนที่ Alb จะมากกว่า
Glob ตามปกติ คนไข้โรคตับเรื้องรัง จะพบว่า สัดส่วนจะพลิกกลับกลายเป็น Glob
มากกว่า Alb












การตรวจปัสสาวะ

U/A (Urinary Analysis) คือการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ จะมีค่าที่รายงานออกมาหลายอย่างเช่น

ลักษณะของปัสสาวะทั่วไป เช่น ความขุ่นใส สี คนปกติ ควรมีสีเหลืองอ่อนและใส ( Yellow Clear)

* Sp G (Specific Gravity) = ความถ่วงจำเพาะ คนปกติจะอยู่ประมาณ 1.010 ถึง 1.020

......ถ้าสูงเกินไป อาจจะเกิดจากร่างกายขาดน้ำ เช่นดื่มน้ำน้อย
ท้องร่วงรุนแรง หรือในเด็กเป็นไข้เลือดออกที่กำลังช้อค และได้น้ำชดเชย
น้อยเกินไปทำให้ขาดน้ำในกระแสเลือด จะทำให้ปัสสาวะเข้มข้น


......ถ้าต่ำไป อาจจะเกิดจาก กินน้ำมากเกิน ร่างกายจึงกำจัดน้ำ
ออกมาทางปัสสาวะเยอะ หรือ เป็นโรคที่ทำให้มีปัสสาวะมีน้ำออกมา มากผิดปกติ
เช่น โรคเบาจืด

*

pH หรือ ความเป็นกรดเป็นด่างของปัสสาวะ คนปกติจะมี pHประมาณ 6-8
ค่าความเป็นกรด และด่างของปัสสาวะมีผลต่อการออกฤทธิ์
ของยาบางอย่างและการตกตะกอน ของสารบางอย่าง ในปัสสาวะทำให้เกิดนิ่วได้


Alb (Albumin) หรือ Protein คือโปรตีนไข่ขาว
ปกติในปัสสาวะไม่ควรมีโปรตีนไข่ขาวนี้ หลุดออกมา แต่ถ้าไตทำงานผิดปกติ
จะมีAlb ออกมาในปัสสาวะ เช่นคนไข้ โรคไตชนิด Nephrotic Syndrome หรือ
ถ้าเป็นในคนท้อง ถ้าพบ Alb ก็จะต้องระวังภาวะครรภ์เป็นพิษ
(ซึ่งจะพบมีอาการบวม และ ความดันสูงร่วมไปด้วย)


* Sugar หรือ Glucose คนปกติ ไม่ควรมีน้ำตาลหรือกลูโคสในปัสสาวะ
ถ้าตรวจพบ จะสงสัยว่าคนไข้อาจจะเป็นเบาหวาน ควรจะงดอาหารไม่น้อยกว่าหกชม.
แล้วเจาะเลือด ดูน้ำตาลในเลือด(FBS )เพื่อยืนยันโรคเบาหวานต่อไป (Note ทั้ง
alb และ sugar ปกติจะรายงานปริมาณมากน้อย เป็น +1,+2,+3,+4 ตามลำดับ)



WBC หรือเม็ดเลือดขาว ในคนปกติ ไม่ควรมีเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะเลย


* ถ้ามีเม็ดเลือดขาวออกมามากในปัสสาวะ
แสดงว่ามีการอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
หรือกรวยไตอักเสบ (ปกติจะรายงานเป็นจำนวนเซลที่พบ
ต่อพื้นที่ที่มองเห็นด้วยหัวกล้อง ขนาด X40หรือ High Dry Field (HDF)


* ถ้าพวกที่พบเล็กน้อย เช่น 1-2 Cell/ HDF
อาจจะไม่สำคัญเท่าไรนักแต่ถ้าพวก มีการติดเชื้ออาจจะพบหลายสิบตัว
หรือเป็นร้อยๆ ซึ่งจะรายงานว่า มีจำนวนมาก (Numerous)



RBC หรือเม็ดเลือดแดง เช่นเดียวกับเม็ดเลือดขาวคือ คนปกติไม่ควรพบเม็ดเลือดแดง


* ถ้าพบแสดงว่ามีเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ อาจจะจากอุบัติเหตุ
(ถ้ามีประวัติบ่งชี้ว่า ได้รับการกระแทกตามทางเดินปัสสาวะ)
หรือมีเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ หรือมีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
(การติดเชื้อบางครั้งก็ทำให้มีเม็ดเลือดแดงออกมา ในปัสสาวะได้แต่มักจะมี
เม็ดเลือดขาวมากกว่า แต่สาเหตุที่พบบ่อยสุด
ที่ทำให้พบเม็ดเลือดแดงจำนวนมากในปัสสาวะคือ นิ่ว )


(หมายเหตุ - การเก็บปัสสาวะถ้าคนไข้กำลังเป็นเม็นส์ควรหลีกเลี่ยง
เพราะว่าจะมีเลือด จากเม็นส์ลงไปปนทำให้ พบเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง
จำนวนมากในปัสสาวะได้)

Epithelial หรือเซลเยื่อบุทางเดินปัสสาวะในส่วนต่างๆ อาจจะพบได้เมื่อมีการอักเสบหรือความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ


ที่มา //www.nutritionwithherb.com




















คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่ม2

ราคาปกติ:
350.00 บาท
ราคาขาย:
350.00
บาท
ราคาสมาชิก:
315.00
บาท









Free TextEditor




 

Create Date : 15 ตุลาคม 2553   
Last Update : 15 ตุลาคม 2553 16:41:43 น.   
Counter : 841 Pageviews.  


โรคเบาหวาน


เบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน

โรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้
อย่างเหมาะสม
ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุม
ของฮอร์โมนอินซูลิน
ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ โรค
เบาหวานนี้เปรียบเทียบได้ง่ายๆ โดยเปรียบร่างกายเราเป็นระบบปั๊มน้ำ
และน้ำในระบบก็คือเลือดของเราโดยปรกติแล้วปั๊มน้ำก็จะทำงานอย่างปรกติ
แต่เมื่อมีการทำให้น้ำในระบบเกิดความข้นขึ้น(ก็คือการเติมน้ำตาลลงไปในน้ำ)
น้ำในระบบก็จะมีความหนืดขึ้น ปั๊ม(หัวใจ)ก็จะต้องทำงานหนักขึ้น
ท่อน้ำ(หลอดเลือด)ก็ต้องรับแรงดันที่มากขึ้น
ดังนั้นคนที่เป็นโรคเบาหวานก็จะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนกับอวัยวะต่างๆเพิ่ม
ขึ้นได้
ปี 2550 พบผู้ป่วยเบาหวานแล้วถึง 246 ล้านคน โดยผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลก 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย
เบา
หวาน เป็นโรคที่เป็นกันมากขึ้นทุกปีจนมีการกำหนดให้วันที่ 14 พฤษจิกายน
ของทุกปีเป็นวันเบาหวานโลกเพื่อให้มีการรณรงค์ป้องกันให้เป็นที่แพร่หลาย
ขึ้น





อินซูลิน กับ เบาหวาน




อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มเซลล์ภายในตับอ่อน
มีหน้าที่ในการนำน้ำตาลในเลือดไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆทั่วร่างกายเพื่อใช้ใน
การสร้างพลังงานและสร้างเซลล์ต่างๆ
โดยปรกติแล้วเมื่อมีน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดตับอ่อนก็จะถูกกระตุ้นให้หลั่ง
อินซูลิน แล้วอินซูลินก็จะเข้าจับน้ำตาลเพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งร่างกายมี อินซูลิน
ไม่เพียงพอก็จะทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น







ประเภทของ เบาหวาน




เบาหวาน สามารถแบ่งออกได้เป็น2ชนิด ได้แก่

โรคเบาหวานชนิดที่ 1
เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์
ซึ่งสร้างอินซูลินในส่วนของตับอ่อนทำให้ร่างกายหยุดสร้างอินซูลิน
หรือสร้างได้น้อยมาก ดังที่เรียกว่า โรคภูมิต้านทานตัวเอง หรือ
ออโตอิมมูน(autoimmune) ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1
จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว
และถ้าเป็นรุนแรง จะมีการคั่งของสารคีโตน(ketones)
สารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาททำให้หมดสติถึงตายได้

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็น เบาหวาน ที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวกับ พันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะ น้ำหนักตัวมาก และขาดการออกกำลังกาย มีลูกดก อีกทั้งวัยที่เพิ่มขึ้น
เซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีการสร้างอินซูลินแต่ทำงานไม่เป็นปกติ
เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป
บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว โดยอาจจะใช้ยาในการรับประทาน
และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด

นอกจากนี้ เบาหวาน ยังมีสาเหตุมาจากการใช้ยาด้วย เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาเม็ดคุมกำเนิด








อาการเบื้องต้นของ เบาหวาน




ผู้เป็นโรคเบาหวานจะมีอาการเบื้องต้นคือ




  1. ปวด
    ปัสสาวะบ่อย ครั้งขึ้น
    เนื่องจากในกระแสเลือดและอวัยวะต่างๆมีน้ำตาลค้างอยู่มาก
    ไตจึงทำการกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน
    สังเกตุจากการที่มีมดมาตอมปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของการเรียก เบาหวาน


  2. ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น


  3. กระหายน้ำ และดื่มน้ำในปริมาณมากๆต่อครั้ง


  4. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง


  5. เบื่ออาหาร


  6. น้ำหนัก
    ตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน
    อันเนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปสร้างพลังงานได้เต็มที่จึงต้องนำ
    ไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้ทดแทน


  7. ติดเชื้อบ่อยกว่าปรกติ เช่นติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร สังเกตุได้จากเมื่อเป็นแผลแล้วแผลจะหายยาก


  8. สายตาพร่ามองไม่ชัดเจน


  9. อาการชาไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องมาจากเบาหวานจะทำลายเส้นประสาทให้เสื่อมสมรรถภาพลงความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกจึงถดถอยลง


  10. อาจจะมีอาการของโรคหัวใจ และโรคไต


โดย เบาหวานชนิดที่ 2 อาจจะมีอาการเหล่านี้บางอย่าง หรืออาจไม่มีอาการเหล่านี้เลย










อาการแทรกซ้อนของ โรคเบาหวาน




มักจะเกิดเมื่อเป็น เบาหวาน อย่างน้อย 5 ปีแล้วไม่ได้รักษาอย่างจริงจัง




  • ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy)เกิด
    จากการที่น้ำตาลเข้าไปใน endothelium ของ หลอดเลือดเล็กๆ ในลูกตา
    ทำให้หลอดเลือดเหล่านี้มีการสร้างไกลโคโปรตีนซึ่งจะถูกขนย้ายออกมาเป็น
    Basement membrane มากขึ้น ทำให้
    Basement membrane หนา แต่เปราะ หลอดเลือดเหล่านี้จะฉีกขาดได้ง่าย
    เลือดและสารบางอย่างที่อยู่ในเลือดจะรั่วออกมา และมีส่วนทำให้ Macula บวม
    ซึ่งจะทำให้เกิด Blurred vision
    หลอดเลือดที่ฉีกขาดจะสร้างแขนงของหลอดเลือดใหม่ออกมามากมายจนบดบังแสงที่มา
    ตกกระทบยัง Retina ทำให้การมองเห็นของผู้ป่วยแย่ลง ตาหรือจอตาเสื่อม
    หรือมองเห็นจุดดำลอยไปมา และอาจจะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด

  • ภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy)ไต
    มักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย พยาธิสภาพของหลอดเลือดเล็กๆ ที่ Glomeruli
    จะทำให้ Nephron ยอมให้ albumin รั่วออกไปกับ filtrate ได้ Proximal tubule
    จึงต้องรับภาระในการดูดกลับสารมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นนานๆ ก็จะทำให้เกิด
    Renal failure ได้ ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 3 ปี
    นับจากแรกเริ่มมีอาการ


  • ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy) เบาหวาน จะทำให้หลอดเลือดเล็กๆ ที่มาเลี้ยงเส้นประสาทบริเวณปลายมือปลายเท้าเกิดพยาธิสภาพ ก็จะทำให้เส้นประสาทนั้น
    ไม่สามารถนำความรู้สึกต่อไปได้ เช่นรู้สึกชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือ
    เมื่อผู้ป่วยมีแผล ผู้ป่วยก็จะไม่รู้ตัว และไม่ดูแลแผลดังกล่าว
    ประกอบกับเลือดผู้ป่วยมีน้ำตาลสูง จึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเหล่าเชื้อโรค
    และแล้วแผลก็จะเน่า และนำไปสู่ Amputation ในที่สุด ในผู้ชายอาจมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ(impotence)


  • โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary vascular disease)
    เบาหวาน
    เป็นตัวการที่จะเร่งให้เกิดการเสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกายและเมื่อหลอด
    เลือดที่เลี้ยงหัวใจเสื่อมสภาพจาก เบาหวาน ประกอบกับการมีไขมันในเลือดสูง
    ก็จะส่งผลให้มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิด โรคหัวใจขาดเลือด แต่หากหลอดเลือดเกิดอุดตัน ก็จะเกิดอาการ กล้ามเนื้อหัวใจตาย
    ในผู้ป่วย เบาหวาน บางราย กล้ามเนื้อหัวใจมีการทำงานน้อยกว่าปกติ คือ
    มีการบีบตัวน้อยกว่าปกติอันเนื่องมาจาก
    เส้นเลือดฝอยเล็กๆที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติจาก เบาหวาน
    ซึ่งจะทำการรักษาได้ยาก การรักษาที่ดีที่สุดคือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
    ปัญหาที่สำคัญ
    มากอีกประการหนึ่งของผู้เป็น เบาหวาน
    คือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจจะไม่แสดงอาการผิดปกติซึ่งจะบ่งชี้
    ว่าเป็นโรคหัวใจให้เห็นก่อน เช่นอาการเจ็บหน้าอก
    อันเป็นอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไป ดังนั้นผู้เป็น เบาหวาน
    บางรายอาจจะแสดงอาการครั้งแรกด้วยอาการที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย
    หรือ หัวใจล้มเหลว ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ช้ากว่าปกติ
    ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้


  • โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease) ผู้เป็น เบาหวาน จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอัมพาตชนิด
    หลอดเลือดตีบได้สูง เพราะ เบาหวาน ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย
    โดยจะมีหลอดเลือดแข็งทั่งร่างกายและถ้าเป็นที่หลอดเลือดของสมอง
    ก็จะเกิดอัมพาตขึ้น โดยอัตราเสี่ยงของผู้ป่วยที่เป็น โรคเบาหวาน
    จะมีโอกาสเป็นอัมพาตได้สูงกว่าผู้ป่วยปกติ 2-4 เท่า
    โดยจะมีอาการเบื้องต้นสังเกตุได้จาก กล้ามเนื้อแขน
    ขาอ่อนแรงครึ่งซีกอย่างทันทีทันใดหรือเป็นครั้งคราว
    ใบหน้าชาครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง พูดกระตุกกระตัก
    สับสนหรือพูดไม่ได้เป็นครั้งคราว ตาพร่าหรือมืดมองไม่เห็นไปชั่วครู่
    เห็นแสงผิดปกติ วิงเวียน เดินเซไม่สามารถทรงตัวได้ กลืนอาหารแล้วสำลักบ่อยๆ
    มีอาการปวดศรีษะอย่างรุนแรงโดยอาการปวดมักจะเกิดในขณะที่เคร่งเครียด
    หรือมีอารมณ์รุนแรง


  • โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral vascular disease)


  • แผลเรื้อรังจากเบาหวาน (Diabetic ulcer)










ผู้ที่มีโอกาสเป็น โรคเบาหวาน




เบาหวาน พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในคนอายุกว่า 40 ปีขึ้นไป
คนที่อยู่ในเมืองมีโอกาสเป็น เบาหวาน มากกว่าคนในชนบท คนอ้วนที่น้ำหนักเกิน
โดยดูจากดัชนีมวลกาย ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย
และหญิงที่มีลูกดกโดยเฉพาะผู้มีประวัติคลอดบุตรมีน้ำหนักแรกคลอด
มากกว่า4กิโลกรัม จะมีโอกาสเป็น เบาหวานได้มากขึ้น
แต่ในปัจจุบันลักษณะการบริโภค
และกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันส่งผลให้มีคนเป็น เบาหวาน เพิ่มมากขึ้น
และการพบผู้ป่วยที่อายุน้อยที่เป็น เบาหวาน ก็เพิ่มสูงขึ้น







การป้องกันการเป็นเบาหวาน





  1. ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และแก้ไขปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอันจะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน


  2. ควบคุมโภชนาการ ให้มีความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย รวมไปจนถึงการใช้ยารักษาโรค


  3. ควรตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ โดยปรึกษาแพทย์ว่าควรตรวจเช็คเมื่อใด และ ระยะเวลาห่างในการตรวจที่เหมาะสม


  4. ยาบางชนิดหรือยาสมุนไพร อาจมีผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด จะต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา หรือ สมุนไพร เหล่านี้








สิ่งที่ตรวจพบเมื่อเป็น เบาหวาน



เบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในคนที่ มีรูปร่างซูบผอม ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อลีบฝ่อ
เบาหวานชนิดที่ 2 อาจมีรูปร่างอ้วน บางรายตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติตามร่างกาย การตรวจปัสสาวะมักจะพบน้ำตาลในปัสสาวะขนาดมากกว่าหนึ่งบวกขึ้นไป
การ
ตรวจน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 6 ชั่วโมง (fasting plasma glucose/FPG)
มักพบว่ามีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร







การวินิจฉัย เบาหวาน




หากสงสัยว่าเป็น เบาหวาน ควรไปตรวจเลือดที่โรงพยาบาลโดย
อดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด ตั้งแต่เที่ยงคืน แล้วไปเจาะเลือดในตอนเช้า
เพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร6ชั่วโมง (FPG)
ซึ่งคนปกติจะมีค่าต่ำกว่า 110 มิลลิกรัม ต่อเลือด 100 มิลลิลิตร หากพบมีค่า
เท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลลิกรัม ในการตรวจอย่างน้อย 2ครั้ง ก็วินิจฉัยได้ว่าเป็นเบาหวาน และยิ่งมีค่าสูงเท่าใดก็แสดงว่ามีความรุนแรงของการเป็นเบาหวาน เพิ่มมากขึ้น







คำแนะนำเกี่ยวกับ เบาหวาน





  1. เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง ต้องใช้เวลาการรักษานานหรือตลอดชีวิต หากไม่ได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องก็อาจมีอันตรายจากโรคแทรกซ้อนได้มาก


  2. ผู้
    ที่กินยาหรือฉีดยารักษาเบาหวานอยู่ บางครั้งอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
    อาการได้แก่ ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย ตัวเย็น เหงื่อออก ถ้าเป็นมากๆ อาจเป็นลม
    หมดสติ และอาจจะชักได้ ควรจะต้องพก น้ำตาลหรือของหวานติดตัวไว้
    ถ้ารู้สึกมีอาการก็ให้รีบรับประทาน
    แล้วทบทวนดูว่าเกิดอาการเหล่านี้ได้อย่างไร
    โดยสังเกตุตัวเองจากการบริโภคอาหารเมื่อเป็นเบาหวานเช่น
    กินอาหารน้อยไปหรือไม่ ออกกำลังมากเกินไปหรือไม่ กินหรือฉีดยาเบาหวาน
    เกินขนาดไปหรือไม่ แล้วควมคุมทั้ง 3 อย่างนี้ให้พอดีกัน
    สำหรับผู้ที่กินอาหารผิดเวลาก็อาจเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควร
    รับประทานอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อด้วย

  3. อย่า
    ซื้อยากินเอง เนื่องจากยาบางประเภทมีผลต่อค่าน้ำตาลในเลือดได้ เช่น
    สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ และยาบางประเภทก็อาจทำให้ฤทธิ์ของยารักษาเบาหวาน
    แรงขึ้นได้ ก็จะมีผลให้น้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ เช่น แอสไพริน
    ดังนั้นเมื่อเป็น เบาหวาน
    ก่อนทานยาประเภทใดควรจะต้องแน่ใจว่ายานั้นไม่มีผลต่อค่าน้ำตาลในเลือด


  4. ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นเบาหวาน ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นครั้งคราว เพื่อป้องกันตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม








การบริโภคอาหารเมื่อเป็น เบาหวาน







  1. เลือก
    บริโภคอาหารให้ครบ 5หมู่
    โดยคำนึงถึงพลังงานที่ได้จากอาหารโดยประมาณจากคาร์โบไฮเดรต(แป้ง) ประมาณ
    55-60%โปรตีน (เนื้อสัตว์) ประมาณ 15-20%ไขมัน ประมาณ 25%


  2. ผู้
    ที่มีน้ำหนักตัวมากควรจะต้องลดปริมาณการรับประทานลง
    โดยอาจจะค่อยๆลดลงให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่เคยรับประทานปรกติ
    และพยายามงด อาหารมันๆ ทอดๆ


  3. รับประทานอาหารที่มีกากใยมากเพื่อช่วยในการขับถ่าย


  4. หลีกเลี่ยงการรับประทานจุกจิกและรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา


  5. พยายามรับประทานอาหารในปริมาณที่สม่ำเสมอกันในทุกมื้อ


  6. หากมีอาการเกี่ยวกับโรคไตหรือความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม


  7. แม้ระดับน้ำตาลในเลือดจะปรกติดีแล้วก็ควรจะต้องควบคุมอาหารตลอดไป






อาหารที่ห้ามรับประทานเมื่อเป็น เบาหวาน diabetes






  • น้ำตาลทุกชนิด รวมไปถึงน้ำผึ้ง


  • ผลไม้กวนประเภทต่างๆ


  • ขนมเชื่อม ขนมหวานต่างๆ


  • ผลไม้ที่มีรสหวานมากๆ


  • น้ำหวานประเภทต่างๆ


  • ขนมทอดกรอบหรือชุบแป้งทอด







Free TextEditor




 

Create Date : 15 ตุลาคม 2553   
Last Update : 15 ตุลาคม 2553 12:06:39 น.   
Counter : 351 Pageviews.  


ปัญหาการนอนไม่หลับ


นอนไม่หลับ




นอนไม่หลับ
ความต้องการในการนอนหลับพักผ่อนของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน
ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ อายุ สภาพร่างกาย และสุขภาพโดยทั่วไป
ตัวอย่างเช่น คนที่มีอายุน้อยจะต้องการนอนหลับพักผ่อนมากกว่าผู้สูงอายุ
สภาพร่างกายคนบางคนพักผ่อนน้อยก็สดชื่นทำงานได้ดี
และในคนที่สุขภาพไม่ดีมีโรคทางกายก็ต้องการการพักผ่อนมากกว่าคนที่สุขภาพดี
กว่า เป็นต้น โดยทั่วไปผู้คนส่วนใหญ่จะใช้เวลานอนหลับพักผ่อนเป็นเวลาประมาณ
7-8 ชั่วโมง เมื่อตื่นขึ้นก็สดชื่น พร้อมที่จะทำงาน
และไม่ต้องการนอนพักผ่อนตอนกลางวันอีก
อย่างไรก็ตามบางคนอาจจะต้องการเวลานอนน้อยหรือมากกว่านั้น
บางคนนอนเพียงหกชั่วโมงครึ่ง ก็พักผ่อนเพียงพอ
แต่บางคนอาจต้องนอนนานกว่าแปดชั่วโมงครึ่ง บางคนอาจนอนดึก
และตื่นสายเป็นประจำ ในขณะที่บางคนเข้านอนแต่หัวค่ำ และตื่นแต่เช้าตรู่
โดยทั่วไปคนปกติจะหลับภายใน 10-15 นาทีหลังจากล้มตัวลงนอน
ส่วนใหญ่มักจะไม่ตื่นขึ้นเลยในตอนดึก นั่นคือนอนหลับรวดเดียวจนถึงรุ่งเช้า
แต่ถ้าตื่นขึ้นมาบ้าง ก็จะหลับต่อได้ในชั่วเวลาเพียงไม่กี่นาที


การนอนไม่หลับไม่ใช่โรค
แต่เป็นภาวะ
หรืออาการที่เกิดขึ้นร่วมกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่ทำให้เครียด
หรือไม่สบายใจ ความผิดปกติทางกายหรือจิตใจ หรือสภาพแวดล้อมบางอย่าง เช่น
การแปลกสถานที่ เป็นต้น บางคนสงสัยว่าเมื่อใดจึงจะเรียกว่า
มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ โดยทั่วไปมีข้อสังเกตง่ายๆ ว่า
เมื่อรู้สึกว่านอนไม่หลับ หลับไม่สนิทหรือหลับไม่พอเป็นเวลา 3
วันในหนึ่งสัปดาห์ ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน
และรู้สึกวิตกกังวลต่ออาการที่เกิดขึ้นร่วมกับหน้าที่การทำงานที่แย่ลง
ก็จะถือว่านอนไม่หลับเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข


การนอนไม่หลับแบบชั่วคราว


การนอนไม่หลับแบบชั่วคราว
หมายถึง นอนไม่หลับติดต่อกันเป็นหลายวัน แต่ไม่ถึงหลายสัปดาห์
คนไม่น้อยอาจจะเคยประสบกับปัญหาเหล่านี้
ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของความเครียดหรือความกังวลใจต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์
หนึ่ง เช่น ทะเลาะกับเพื่อน หรือแฟน มีปัญหากับที่ทำงาน หรือใกล้ๆ
วันสอบหรือวันที่ต้องมีธุระสำคัญเป็นต้น
ส่วนใหญ่แล้วอาการจะดีขึ้นเองภายในไม่กี่วัน
หรือในบางรายอาจต้องใช้ยานอนหลับช่วยในระยะสั้นๆ พออาการดีขึ้นก็หยุดยาได้



การนอนไม่หลับแบบระยะต่อเนื่อง


การนอนไม่หลับแบบระยะต่อเนื่อง
หมายถึง อาการนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นนั้น มันเป็นอย่างต่อเนื่อง
เป็นสัปดาห์ๆ ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหายหรือดีขึ้น
ส่วนใหญ่มักเป็นผลจากความเครียดหรือเหตุการณ์ที่ทำให้เครียดนั้นยังไม่คลี่
คลาย เช่น การ ตกงาน ปัญหาเศรษฐกิจเงินทอง รวมถึงปัญหาครอบครัว
โดยทั่วไปถ้าปัญหาต่างๆ ได้รับการคลี่คลาย
การนอนหลับก็มักจะกลับมาเป็นปกติได้ อย่างไรก็ตาม
ทางที่ดีผู้ที่มีอาการเหล่านี้
ควรได้รับคำปรึกษาแนะนำจากแพทย์ว่ามีแนวทางอย่างไรที่จะช่วยปัญหาการนอนหลับ
ของตน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื้อรัง


การนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง


ผู้ที่นอนไม่หลับแบบเรื้อรัง
จะมีปัญหาในการนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่องเกือบทุกคืน ติดต่อกันหลายเดือน
หรือแม้กระทั่งเป็นปี สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการก็จะเริ่มซับซ้อนมากขึ้น
ไม่ตรงไปตรงมาเพียงแค่ว่าเครียดแล้วนอนไม่หลับ
หลายครั้งที่ความเครียดได้เบาบางหรือหายไปหมดแล้ว
แต่อาการนอนไม่หลับกลับยังดำเนินอยู่ต่อ
บางคนใจจดใจจ่อตลอดเวลาว่าคืนนี้จะหลับหรือไม่หลับ


ถ้าไม่หลับแล้วพรุ่งนี้จะเป็น
อย่างไร จะทำงานได้อย่างแจ่มใสหรือไม่ ทำให้เกิดความรู้สึกกลัวการนอน
ไม่กล้าที่จะนอน เลยทำให้แทนที่เวลานอนจะเป็นเวลาที่ให้ความสุข
กลับกลายเป็นช่วงเวลาที่มีแต่ความทุกข์และทรมาน
นอกจากนี้แล้วยังพบได้อยู่เรื่อยๆ ว่า
สาเหตุทางร่างกายบางอย่างก็เป็นต้นเหตุทำให้นอนไม่หลับเรื้อรังได้ เช่น
การหายใจผิดปกติขณะหลับ กล้ามเนื้อขากระตุกเป็นพักๆ ระหว่างนอน
อาการปวดหรือแม้กระทั่งผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือโรคปอด เป็นต้น



สาเหตุ



  1. สาเหตุของการนอนไม่หลับ เกิดจากปัจจัยทางกาย ทางจิตใจ และสภาพแวดล้อมของการนอน

  2. ปัจจัยทางกาย ได้แก่
    โรคที่ทำให้มีอาการเจ็บปวดมาก หายใจไม่สะดวกหรือผลจากยา
    และสารกระตุ้นบางอย่าง เช่น กาแฟ ปัจจัยทางจิตใจ ได้แก่
    เหตุการณ์ในชีวิตที่เกิดขึ้น อาจเป็นเรื่องที่ทำให้เสียใจ ไม่สบายใจ
    หรือเป็นอาการเริ่มแรกของโรคทางจิตบางอย่าง ส่วนสภาพแวดล้อมของการนอน
    ได้แก่ สภาพห้องนอน หรือการแปลกต่อสถานที่ก็อาจทำให้นอนไม่หลับได้

  3. อาการปวด
    ไม่ว่าจะเป็นจากอาการปวดกระดูก ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
    หรือปวดจากสาเหตุอะไรก็แล้วแต่
    จะรบกวนคุณภาพและประสิทธิภาพการนอนหลับอย่างมาก

  4. การหายใจผิดปกติระหว่างหลับ
    พบได้บ่อยทีเดียวว่าสาเหตุของนอนไม่หลับเรื้อรังนั้นเป็นจากกลุ่มอาการหายใจ
    ผิดปกติในขณะหลับ หรือหยุดหายใจเป็นพักๆ ในขณะหลับ
    ทำให้สมองขาดออกซิเจนเป็นพักๆ เปรียบเหมือนกับคนถูกรัดคอเป็นพักๆ
    ทำให้ต้องรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาเพื่อหายใจซ้ำในหลายครั้ง
    ตนเองนั้นอาจจะจำไม่ได้ หรือไม่รู้สึกตัวตื่นในขณะที่สมองต้องตื่นขึ้นมา
    เพื่อหายใจ อาจรู้สึกแต่เพียงว่าเมื่อคืนที่ผ่านมานอนหลับได้ไม่ดีพอ
    หลับได้ไม่ลึก ไม่สดชื่น อาการหยุดหายใจที่กล่าวมานั้นจะเกิดขึ้นเป็นพักๆ
    อาจหลายสิบจนกระทั่งถึงหลายร้อยครั้งได้ในแต่ละคืน

  5. ขากระตุกเป็นพักๆ ระหว่างหลับ
    ในบางรายจะพบว่าในขณะที่หลับนั้น กล้ามเนื้อที่ขาจะมีอาการกระตุกเร็วๆ
    เป็นพักๆ ได้ ส่วนใหญ่แล้วจะประมาณทุกๆ 30-45 วินาที
    และอาจจะต่อเนื่องเป็นชั่วโมง หลายรอบต่อคืน สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ
    จะทำให้สมองตื่นเป็นพักๆ โดยที่คนผู้นั้นอาจไม่รู้สึกตัวตื่น
    ผลในตอนเช้าก็คือ จะรู้สึกว่าคืนที่ผ่านมานอนหลับได้ไม่ดี

  6. บางคนนอนไม่หลับเนื่องจากใจไม่
    สงบ หรือจิตไม่มีสมาธิ ใจไม่สงบก็เพราะใจมันไปยึด ห่วง กังวล วิตก ทุกข์
    ร้อน กลัว เกลียด โกรธ โลภ หลงฯ ไม่อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็หลายๆ อย่างผสมกัน
    แล้วฝังแน่นอยู่ในส่วนลึกของจิต จนเกิดความเครียดขึ้นมาในจิตใจ
    โดยที่บางครั้งก็ไม่รู้ตัวว่าเกิดจากอะไร
    พึงระลึกไว้เสมอว่าไม่มีสิ่งใดในโลกนี้ ที่จะเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ
    การแก้ปัญหาการนอนไม่หลับก็เช่นเดียวกัน จะแก้ให้เด็ดขาด
    ต้องค้นหาให้พบต้นเหตุก่อน แล้วขจัดสาเหตุเสีย



ลักษณะอาการที่พบร่วมกับอาการนอนไม่หลับ



  1. นอนไม่หลับมักพบร่วมกับอาการของ
    ความเครียด ความไม่สบายใจ และเมื่อเริ่มนอนไม่หลับ
    เราก็มักจะเริ่มรู้สึกกลัวการนอนไม่หลับ หมกมุ่นเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ
    พยายามบังคับให้ตนเองนอนให้หลับ โดยปกติการนอนเป็นธรรมชาติบังคับไม่ได้
    ทำให้การนอนในคืนถัดไปแย่ลงจากความกังวลของเราเอง
    เกิดเป็นวงจรที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การนอนไม่หลับรุนแรงมากขึ้น
    ถึงแม้บางครั้งสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับจะหมดไปแล้วก็ตาม

  2. การที่มาพบแพทย์เร็วจะทำให้พบ
    สาเหตุโดยเร็ว การรักษาจะง่ายขึ้นถ้าปล่อยให้เป็นมาก การรักษาจะยากขึ้น
    หรือถึงแม้ว่าจะไม่มีโรคใดๆ ก็ตาม
    ก็จะได้รับคำแนะนำการปฏิบัติเกี่ยวกับการนอนหลับที่ถูกต้อง
    ทำให้ป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคตได้


ชนิดของการนอนไม่หลับ



  1. หลับยาก พวกนี้จะหลับได้ อาจใช้เวลาเป็นชั่วโมง

  2. หลับไม่ทน พวกนี้หัวค่ำอาจพอหลับได้ แต่ไม่นานก็จะตื่นบางคนอาจไม่หลับอีกตลอดคืน

  3. หลับๆ ตื่นๆ พวกนี้อาจจะมีความรู้สึกคล้ายไม่ได้หลับเลยทั้งคืน เพียงแต่เคลิ้มๆ ไปเป็นพักๆ






Free TextEditor




 

Create Date : 14 ตุลาคม 2553   
Last Update : 14 ตุลาคม 2553 15:00:10 น.   
Counter : 297 Pageviews.  


9 วิธี แก้โรคนอนไม่หลับ





         
คุณเคยอ่อนเพลียเนื่องจากนอนไม่หลับในตอนกลางคืน
และตื่นขึ้นด้วยอาการอิดโรยในตอนเช้า ต่อไปนี้คือวิธีง่าย ๆ
ที่ช่วยกำจัดความทุกข์ตอนนอนให้หายไป แล้วคืนนี้จะได้นอนหลับสบาย 

1. งดเครื่องดื่มกาแฟ เป็นที่ทราบกันว่าคาเฟอีนมีสารกระตุ้นที่ทำให้นอนไม่หลับ แต่รู้ไหมว่าสารดังกล่าวยังตกค้างอยู่ในร่างกายอีกด้วย? ดัง
นั้นทางที่ดี คือ
กำจัดมันออกไปจากอาหารที่คุณกินหรืองดดื่มคาเฟอีนตั้งแต่มื้อเที่ยงเป็นต้น
ไป อย่าลืมคาเฟอีนที่ซ่อนอยู่ในน้ำอัดลม และของว่างต่าง ๆ เช่น โค้ก
ช็อกโกแลต เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้นอนไม่หลับ อ่านฉลากข้างกระป๋อง
และข้างถุงผลิตภัณฑ์ให้ละเอียด ดื่มชาสมุนไพร เช่น ชาคาโมมาย์ล
หรือชาดอกมะนาว ที่ช่วยให้จิตใจผ่อนคลายแทนชาหรือกาแฟ
เนื่องจากในชาทั้งสองชนิดนี้มีสารที่ช่วยให้จิตใจสงบเยือกเย็น
และปลอดคาเฟอีน



2. อาบน้ำก่อนนอน
การแช่ตัวในน้ำอุ่นก่อนนอน จะช่วยให้จิตใจผ่อนคลายจากความเครียดทั้งปวง
แต่อย่าแช่น้ำนานเกินไป เพราะแทนที่จะหายเครียดกลับเครียดหนักขึ้น
เนื่องจากการแช่ตัวในน้ำร้อนนานเกิน จะทำให้ผิวสูบเสียความชุ่มชื่น
ดูไม่มีชีวิตชีวา เพื่อช่วยให้หลับสบาย
อย่าลืมหยดน้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์
2-3 หยด ลงในน้ำที่อาบ หรือจะใช้น้ำนมอาบน้ำ



3. จัดห้องให้น่านอน
แปลงโฉมห้องนอนให้เป็นที่ที่คุณอยากใช้เวลาอยู่นานๆ
จัดข้าวของที่ระเกะระกะให้เข้าที่
ทำห้องให้มีกลิ่นหอมด้วยการวางถุงกลิ่นลาเวนเดอร์ และแจกันดอกไม้สด
จัดห้องนอนให้มีแสงสลัว ๆ โปร่ง และอากาศถ่ายเทได้ดี
หาอะไรปิดส่วนที่เรืองแสงของนาฬิกาปลุก
ซึ่งนอกจากจะให้แสงสว่างเป็นพิเศษแล้ว
ยังทำให้เราหันความสนใจไปที่นาฬิกาตลอดทั้งคืน
ตั้งเครื่องปรับอากาศที่อุณหภูมิพอเหมาะ ประมาณ
25 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้ห้องเย็นสบายกำลังดี



4. สมุนไพรพึ่งได้ มี
สมุนไพรหลายตัว โดยเฉพาะสมุนไพรจีนช่วยคลายเครียด ทำให้นอนหลับได้ดี เช่น
ถั่งเฉ้า มีลักษณะเป็นแท่งยาว ๆ มีสีเหลืองเป็นมันเงา ประกอบด้วยวิตามินบี
12 โปรตีน
กรดไขมัน ทั้งอิ่มตัว และไม่อิ่มตัว มีสรรพคุณช่วยระงับประสาท
ทำให้นอนหลับสนิท พุทราจีน เป็นผลไม้บำรุงสุขภาพที่ดีของคนจีน
สามารถกินได้ทั้งสดและแห้ง แก้อาการนอนไม่หลับ
เนื้อในเมล็ดช่วยผ่อนคลายประสาท ทำให้นอนหลับสบาย โสม
จัดเป็นสมุนไพรจีนที่ใช้รักษาโรคมากกว่า
2,000 ปี สารไบโอแอคทีฟ (bioactive) ใน
โสมช่วยแก้โรคนอนไม่หลับ และรักษาโรคความจำเสื่อม ลดความเครียด
ดอกไม้จีนหรือจำฉ่ายเป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับลิลลี่
เกสรดอกไม้จีนมีสรรพคุณช่วยบำรุงประสาท ช่วยให้ผ่อนคลาย ทำให้สดชื่น
และมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อน ๆ จึงช่วยให้หลับสบาย  



5. ยืดเส้นยืดสาย คนที่เคลื่อนไหวร่างกายขณะทำงานในระหว่างวัน จะมีปัญหาในการนอนน้อยกว่าคนที่นั่งปักหลักอยู่กับโต๊ะทำงาน การออกกำลังกายแค่วันละ 15 นาที
จะช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจน ทำให้ผ่อนคลาย และนอนหลับง่ายขึ้น
ระหว่างวันควรออกไปเดินเล่นในสวน หรือเดินยืดเส้นยืดสายหลังอาหารเย็น
หลังเดินออกกำลังแล้ว ให้พักประมาณครึ่งชั่วโมง จึงค่อยเข้านอน
ทั้งนี้เพื่อให้อัตราการเต้นหัวใจและร่างกายทำงานช้าลงก่อนถึงจะสามารถเข้า
นอนได้



6. กินอย่างถูกต้อง การเข้านอนขณะท้องหิว หรืออิ่มแปล้จะไปรบกวนการนอน ซึ่งรวมถึงการกินอาหารก่อนนอนด้วย ไม่ควรกินอาหารเย็นหลัง 2 ทุ่ม
และถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเหลี่ยงโปรตีนจากเนื้อสัตว์
เพราะจะเป็นเหมือนยาชูกำลังที่ไปกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมน
ที่ทำให้ร่างกายเกิดความคึกคัก กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตจำพวกแป้ง
อาหารเย็นควรเป็นข้าว มันฝรั่ง พาสต้า ผัก ที่มีรากเป็นลำต้นใต้ดิน
ถั่วต่าง ๆ อาหารเหล่านี้ทำให้ร่างกายผลิตเซโรโตนิน ที่ช่วยในการนอนหลับ



7. เอนตัวลง
และทำจิตใจให้ผ่อนคลาย เปิดเพลงทำนองเบาๆ ฟังสบายๆ ขณะนอน
หรือจะเปิดเทปบันทึกเสียงธรรมชาติที่ให้ความรู้สึกสงบ เยือกเย็น เช่น
เสียงคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง ปิดไฟในห้องนอน นอนซุกตัวใต้ผ้าห่ม
ปล่อยให้เสียงนั้นขับกล่อมคุณ จากนั้นหายใจลึกๆ ช้าๆ
เพ่งสมาธิไปที่แขนขาแต่ละข้าง โดยเริ่มจากที่เท้า
จินตนาการว่าแขนขานั้นจมหายลงไปในเตียง ควรใช้เครื่องเล่นเทป
หรือซีดีที่ปิดเองอัตโนมัติ เพราะจะได้ไม่ต้องลุกขึ้นมาปิดเวลาเคลิ้มๆ
ใกล้จะหลับ 


8. ลุกขึ้นเดิน หากตื่นขึ้นกลางดึก และไม่สามารถข่มตาให้หลับลงได้ภายใน 30 นาที
จงลุกขึ้น อย่านอนกระสับกระส่ายพลิกตัวไปมา
รอเวลาจนเสียงนาฬิกาปลุกดังขึ้น เพราะนั่นจะทำให้รู้สึกหงุดหงิด
อย่าเปิดทีวี อ่านหนังสือ หรือนั่งบนเตียงคิดเรื่องที่ยังติดค้างอยู่ในสมอง
แม้นั่นจะเป็นวิธีฆ่าเวลายามนอนไม่หลับ แต่ไม่ควรทำ
คุณจำเป็นต้องฝึกให้ร่างกายรับรู้ว่าเตียงนอนใช้เป็นที่สำหรับนอน
แม้ว่าสิ่งที่คุณทำบนเตียงจะเป็นกิจกรรมสบายๆ ประเภทดูหรือฟังก็ตาม
เพราะนั่นสามารถเข้าไปกระตุ้น หรือรบกวนจิตใจได้ หากตื่นขึ้นกลางดึก
ให้ลุกจากเตียงไปเอนหลังบนโซฟา หรือเก้าอี้ตัวโปรดที่นั่งสบายๆ หลับตาลง
ทำจิตใจให้สบายจนรู้สึกง่วงแล้วจึงค่อยลับไปนอนที่เตียง



9. มหัศจรรย์แห่งนม
ตอนเด็กๆ แม่จะให้เราดื่มนมอุ่นๆ ก่อนนอน เพราะในนมมีกรดอะมิโนที่เรียกว่า
ทรัยป์โตฟาน ช่วยให้นอนหลับสบาย และยังมีแคลเซียมสูง ช่วยผ่อนคลายประสาท
ทำให้จิตใจสบาย บางคนบอกว่าการดื่มนมอุ่นๆ ช่วยคลายเครียด และหายอ่อนเพลีย
จากการศึกษาวิจัยพบว่า เมลาโทนิน (
melatonin) ช่วยให้นอนหลับ โดยเฉพาะนมที่รีดจากแม่วัวตอนเช้ามืด เพราะเป็นช่วงเวลาที่นมวัวมีเมลาโทนินสูงสุด


ข้อมูลจาก : HealthPlus




Free TextEditor




 

Create Date : 14 ตุลาคม 2553   
Last Update : 14 ตุลาคม 2553 14:51:16 น.   
Counter : 387 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  

dinshay
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ออกกำลัยกันเถอะ
[Add dinshay's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com