εїз ต้นธรรม εїз เติบโตงดงามด้วยคุณธรรม
แหงนหน้ามองขึ้นใปจากโคนต้น เห็นรูปทรงแผ่ระย้ากิ่งสาขา จากร่มเงาแต่ละใบที่ได้มา เกิดจากว่าผู้มีใจไฝ่ในบุญ
Group Blog
 
All blogs
 

วิจารณ์ข้อถาม “เราเกิดมาทำไม” 501007

ธรรมะ Online บ่ายวันอาทิตย์
เรื่อง วิจารณ์ข้อถาม “เราเกิดมาทำไม”
(วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๐)

ตัดต่อและเรียบเรียงโดย พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร


เป้ says:
นิมนต์ท่านปิยะลักษณ์เจ้าค่ะ
เชิญคุณโอมค่ะ เชิญน้องอ้อค่ะ นิมนต์ท่านเอกชัยเจ้าค่ะ เชิญน้องส้มค่ะ

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
นมัสการท่านปภสฺสโร
เจริญธรรมท่านบินก้าว เจริญพรญาติโยมทุกคน

Ven. Upatham says:
สวัสดี

@@\\>> MY ASSHOLE Birthday<<\\@@ says:
ครับ
@.....Aor.....@ says:
นมัสการพระคุณเจ้าค่ะ

ส้ม says:
สวัสดีค่ะ

เชิญน้องกอล์ฟค่ะ
[b][c=12]GoLF[/c][/b][c=4][/c] says:
นมัสการครับ

นมัสการ ท่านปภัสฺสโร ท่านปิยะลักษณ์ ท่านเอกชัย เจ้าค่ะ
สัปดาห์ที่ผ่านมา ดูว่าสายอินเตอร์เน็ตจะมีปัญหากันหมดนะ
      เจ้าค่ะ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ออนไม่ได้เลย วันนี้ก็มีลุ้นเหมือนกัน เพราะเมื่อวานเน็ทก็ไม่ค่อยดี
มีใครมีคำถามหรือเปล่าคะ

มีเพื่อนฝากถามได้เปล่าค่ะ
ท่านบินก้าว-ชมสถานีโทรทัศน์เพื่อแผ่นดินที่ //www.asoke.info/earth.html และวิทยุชุมชนปฐมอโศก //www.asoke.info/pacradio.html says:
นมัสการพระอาจารย์ปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร ครับ
นมัสการท่านปภัสฺสโร ท่านเอกชัย ด้วยครับ

เจริญพร
คือ เพื่อนถามว่า “เกิดมาทำไม”
ใครให้เกิด
       โยมตั้งคำถามแบบนี้ คิดว่าทุกคนน่าจะตอบดูนะว่า ตรงหรือต่างกันอย่างไรที่ว่า เกิดมาทำไม !
พอมีคำอธิบายไหมค่ะ
เขาว่าเกิดมาเพื่อเดินทาง
ยังไงค่ะ
เดินทางไปสู่ตวามตาย
เพราะยังต้องเดินทางอยู่ ก็เลยต้องเกิด หรือเปล่าเจ้าคะ
แบบนี้ก็เกิดมาเพื่อตายเหรอค่ะ
ที่สำคัญคือเป้าหมายของชีวิตก่อนตาย
คุณเป้ คุณอ้อล่ะ เกิดมาทำไ ม
//www.buddhadasa.in.th/site/detail.php?fid=173
เพราะยังมีเหตุให้เกิด เหมือนตื่นเช้ามาทำไม ก็เพราะว่ามันยังต้องตื่นอยู่
เชิญพี่ชุค่ะ

nuunidja@hotmail.com says:
นมัสการเจ้าค่ะ  สวัสดีค่ะทุกท่าน

เชิญคุณษรค่ะ
ในซอกเล็กๆๆ มีอะไรซ่อนอยู่-สิ่งไหนคิดว่าเป็นของเรา says:
วันนี้เสนอหัวข้ออะไรค่ะ

ตอนนี้กำลังคุยกันเรื่อง เกิดมาทำไม ค่ะ
เกิดมาสร้างบุญ และสร้างบาป
       ท่านปภัสฺสโร ท่านเอกชัย พระอาจารย์ปิยะลักษณ์เล่าครับ ผมอยากรู้เช่นกันตามที่โยมถาม เกิดมาทำไมครับผม ?
      ว่าแต่ว่า ตอนนี้เราก็เกิดมาแล้ว มานั่งหน้าคอมกัน
แต่ไม่รู้กันเท่าไหร่ว่า เกิดมาทำไม หรือว่ามาดูกันดีกว่าว่า ควรทำอะไรต่อไปดี

เกิดมาเพื่อสะสมบุญหรือป่าวคะ
ก็ใช่
นมัสการท่านเอกชัยครับ นิมนต์ท่านช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ
      เกือบทุกศาสตร์ พยายามให้คำตอบของการเกิด เหมือนดังจะบอกว่าเป็นคำตอบของที่เป็นไปได้ แต่ถ้าก่อนหน้านี้มันซับซ้อนซะจนหาลายมือเก่าไม่ได้ล่ะ
       สำหรับอาตมานะ คุณเป้ ตอนเด็ก เกิดมาเพื่อกิน เป็นคนชอบกินมากๆ ชอบไปหาหลวงตาหยุดที่วัดคลองโมง บางปลาม้า ท่านมีขนมแจก พอโตเป็นหนุ่มก็ชอบเที่ยว เกิดมาเพื่อได้เที่ยว ความคิดมันเปลี่ยนนะตามวัย
ง่ะ ตอนเด็กๆ ท่านบินตัวกลมหรือเปล่า
ในรูปที่เคยมีน่ะ แก้มป่องเลย
พระเอกชัย says:
ตาบอด คลำช้าง
(๑)
ครับหลวงพี่ ตาบอดคลำช้างเลย
ความจริงต้องถามว่า  "ทำไมถึงเกิด"
เกิดมาเพื่อสะสมบุญ ใช้หนี้กรรม
อธิบายด้วยนะค่ะว่าตาบอกคลำช้างคืออะไร
หลวงพี่เอกนิมนต์อธิบายสิครับ “ตาบอด คลำช้าง”
ใครอยู่ตรงไหน ก็จะพูดกันไปอย่างนั้น
      เข้าใจแต่ส่วนที่ตนรู้ตนเห็นเหรอเจ้าคะ แต่ความเป็นจริงแล้วช้างทั้งตัวไม่ใช่ แค่หาง แค่งวง แค่ขา แค่หนัง
      คนที่อยุ่หน้าช้าง คลำงวงช้าง, อยู่ข้างช้าง คลำท้องช้าง, ผู้ที่ได้เข้ามาสุ่ธรรมะ ก็ว่ามาสะสมบุญ, ผู้ที่ต้องทำงานหาเช้ากินค่ำ ก็ว่าเกิดมาใช้กรรม, ใครบางคนกำลังสร้างสมบารมี ทศชาติ
       งั้นวันนี้คงต้องถวายให้ พระอาจารย์ปิยะลักษณ์ กระมังครับที่เห็นช้างทั้งตัว ช่วยหาทางตอบคำถาม เพื่อให้เข้าใจว่า เกิดมาทำไม ? แล้วเวลาชีวิตที่มีอยู่นี้ เอาเวลาชีวิตไป ทำอย่างไรต่อไปดี.
เกิดมาทำไมยังน่าคิด แต่ตายแล้วไปไหนคิดยาก
อืมม  ตายแล้วไปไหนก็เพราะเหตุในปัจจุบัน เท่านั้นหรือเปล่า?
มีหนังสือ “เกิดมาทำไม” เคยอ่านแต่นานแล้ว ไม่ทราบใครเคยอ่านบ้าง
เคยอ่านแต่มีไว้ทำไมค่ะ เป็นแค่หัวเรื่องเท่านั้นค่ะ
ไม่เคยอ่านค่ะ
หากไม่ต้องอ่านที่ไหน แล้วตอบด้วยความรู้สึกจริงๆ ของตนเองไม่ได้รึ
        "เกิดมาทำไม" เป็นหนังสือของท่านพุทธทาสค่ะ แสดง ณ สวนโมกข์ฯ ไชยา 21 กค.2508
ที่ร้านธรรมสภา ไม่ทราบว่ามีหรือไม่
      คนเราเกิดมาทำไม ในตอนแรกสุดที่ยังวัยเยาว์ จะมีสักกี่คนที่รู้(นอกจากพระพุทธเจ้า) ต้องมาเรียนรู้โลกสักระยะนึงได้ ถึงจะรู้ แต่บางคนไม่อาจรู้เลยตลอดชีวิตเขา
เชิญน้องคิมค่ะ

[คิม] ดวงใจยังรักเธอ says:
ครับ

       การถามว่า "เกิดมาทำไม" เป็นการถามที่ "การเกิด" (ผล) ได้เกิดขึ้นแล้ว จึงต้องถามว่า "เกิดมาแล้วควรกระทำอย่างไร" มากกว่ามังคะ
ควรกระทำอย่างไร
ควรกระทำอย่างไร..ก็ต้องมาดูที่อริยสัจ ๔ 
เพื่อให้ดีที่สุดสำหรับการที่เกิดมา
สาธุค่ะ
       กระทำอย่างไร หากตามที่พระพุทธองค์ชี้ทาง ก็คือ กระทำมรรคมีองค์ 8 นั่นเองค่ะ

ควรแนะนำผู้ไม่รู้อย่างไร
ท่านปิฯ ท่านวางอุเบกขานานจังเจ้าค่ะ อิอิ นิมนต์เจ้าค่ะ
ท่านปิทำอะไรอยู่น้อ
.....
       สำหรับคำถามที่ถามมา ที่ได้ตั้งเป็นหัวข้อสนทนาตั้งแต่ต้น ซึ่งมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า “คนเราเกิดมาเพื่ออะไร"
นิมนต์เลยครับ พวกเรารอฟัง รออ่าน
ผมรออ่านด้วยคน
       ในขั้นต้น ผู้ที่ตั้งคำถามว่า "คนเราเกิดมาเพื่ออะไร" หรือ "เกิดมาทำไม" นั้น ควรพิจารณาเสียก่อนว่า เราตั้งใจจะมาเกิดอย่างนั้นหรือ? เราจึงได้เกิดข้อสงสัยว่า "เราเกิดมานั้นเพื่ออะไรกัน ?"
       คล้ายกับว่า 'ตอนที่เราจะเกิดมานั้น เราตั้งใจเอาไว้ก่อนว่า จะมาเกิดในโลกนี้ ด้วยวัตถุประสงค์อะไรบางอย่าง แล้วมาวันนี้ เราได้ลืมคำตอบนั้นเสีย' อย่างนั้นล่ะ
       ถ้าหากว่าเราลืมไป ถึงวัตถุประสงค์ที่เราตั้งใจจะมาเกิดเอาไว้ก่อน วันนี้เราจึงได้มาถามหาคำตอบนั้น ที่เราระลึกได้ว่า เราเคยตั้งใจอะไรบางอย่างไว้ อย่างนี้สิ ! เราจึงจะมาช่วยกันระลึก เพื่อทบทวนว่า เธอผู้นั้น ลืมคำตอบอะไรบางอย่างที่เคยตั้งใจเอาไว้ก่อนกันแน่
       แต่ในที่นี้ โดยมากหรือเอาเป็นว่าทั้งหมดก็ได้ คงจะไม่สามารถระลึกได้ว่า ตนนั้นเคยตั้งใจไว้ก่อนว่าจะมาเกิดเพื่อทำอะไรบางอย่าง แล้วอย่างนี้ การตั้งคำถามต่อผู้อื่นให้ช่วยหาคำตอบว่า "เราเกิดมาทำไม" ก็คงจะต้องเป็นเรื่องไร้แก่นสารสาระอย่างสิ้นเชิง ที่จะให้ผู้ใดผู้หนึ่งมาบอกคำตอบแก่เรา ว่าเราเกิดมาทำไม
       ทำคล้ายกับว่า ถ้าผู้ใดผู้หนึ่งให้คำตอบแก่เรา ว่าเราเกิดมาทำไมแล้วเราจะยอมรับในความเห็นของเขา ว่าเราเกิดมาด้วยวัตถุประสงค์อย่างนั้นจริงๆ ตามที่เขากล่าวอย่างนั้นล่ะ?
       เช่น ถ้าผู้ใดผู้หนึ่งให้คำตอบว่า เราเกิดมา 'เพราะเราต้องการจะมาเป็นคนกวาดถนน' อย่างนี้ เราจะเชื่อเขาไหมล่ะ
       หรือถ้าเขาบอกว่า เราเกิดมา 'เพราะเราต้องการมาเป็นทหารหรือตำรวจ' เราจะเชื่อเขาอย่างนั้นหรือ

 "เพราะความไม่รู้(อวิชชา) จึงยังวนถามเช่นนี้นานเหลือเกิน"
      อืมม เหมือนพราหมณ์ หรือแม้แต่ศาสนาปัจจุบันทั่วไป ที่ให้เหตุผลว่าใครเป็นผู้กำหนดเรามา
แบบนี้แต่ละคน ก็ต้องหาคำตอบของตนเอง??
       ฉะนั้น คำถามว่า "เราเกิดมาทำไม" นี้ จึงเป็นคำถามที่ผู้ถามก็ดูว่ายังสับสนอยู่ เพราะแม้แต่ตัวผู้ถามเอง ก็ยังคงสับสนอยู่ว่า เอ! เราจะถามไป เพื่อให้ผู้อื่นมาบอกเราจริงๆ หรือ ว่าเราเกิดมา เพราะเราต้องการอะไร
       หรือเป็นเพียงแต่เราต้องการให้ผู้อื่นมาช่วยแนะนำในการดำเนินชีวิตของตนเองเท่านั้น ถ้าเป็นเช่นนั้นล่ะก็ คงจะต้องให้ผู้ถามตั้งคำถามเสียใหม่ว่า "เราเกิดมาแล้ว เราควรทำตัวอย่างไร" อย่างนี้จึงจะถูกต้องกว่า
       หรืออาจตั้งคำถามเสียใหม่ให้ใกล้เคียงกับความรู้สึกที่มีมาแต่เดิม ซึ่งคล้ายกับมีความน้อยใจอยู่ในที กับการตั้งคำถามอย่างนี้ ซึ่งอาจเปลี่ยนไปตั้งคำถามเสียใหม่ว่า "ทำไมเราจึงต้องมาเกิดด้วย ?" อย่างนี้จะดูเข้าทีกว่าการถามว่า "เราเกิดมาทำไม" ใช่ไหมล่ะ
       ซึ่งสำหรับผู้ถาม เราเข้าใจว่าคงจะมีความรู้สึกน้อยอกน้อยใจอะไรบางอย่าง หรือเกิดความสับสนในการดำเนินชีวิตอะไรบางอย่างกระมัง จึงได้ถามคำถามในลักษณะเช่นว่านี้ คล้ายกับจะบ่น หรือระบายความรู้สึกในใจให้ฟังมากกว่าการหาคำตอบกระมัง

      เจ้าค่ะ “ทำไมเราต้องเกิดมา” แทน “เราเกิดมาทำไม” จะเป็นการถามเพราะมองโลกในแง่ร้ายหรือเปล่า
       ซึ่งถ้าถามว่า "ทำไมเราจึงต้องมาเกิดด้วย ?" "เราเกิดมาทำไมก็ไม่รู้ ?" หรือ "ทำไมเราจะต้องมาเกิดด้วยนะ ?" เราลองดูสิว่า ความรู้สึกของผู้ถามน่าจะเป็นอย่างไร ‘ถามเพื่อหาคำตอบ’ หรือ ‘บ่น’ กันแน่?
       ซึ่งถ้าย้อนกลับไปที่คำถามเริ่มต้น ที่ว่า "เราเกิดมาทำไม ?" ล่ะก็ ก็ยิ่งทำให้สับสนยิ่งขึ้นไปอีก เพราะใครจะไปให้คำตอบได้ว่า ‘คุณ คิดอย่างไร ตอนที่คุณตั้งใจจะมาเกิด’
อันนี้ยิ่งทำให้ผู้ตอบ งง! ไปใหญ่เลย ว่าจะเอาอะไรมาบอกเขาดี
       จะบอกเขาว่า "คุณตั้งใจมาบำเพ็ญบารมี" หรือ "คุณตั้งใจจะมาทำความดี" หรือ "คุณตั้งใจจะมาเป็นายกรัฐมนตรี" แล้วถ้าบอกอย่างนี้ คุณจะว่าอย่างไร เชื่อหรือ? คุณจะเชื่อฉันหรือ?

เชิญคุณเฟิร์นค่ะ
miss julaluck says:
ค่ะ  ชื่อรัยค่ะ

       ฉะนั้น คำตอบนี้ย่อมใช้ไม่ได้ ย่อมเป็นคำตอบที่ไม่ได้ความในสายตาของผู้ถามอย่างแน่นอน และบางครั้งกลับจะทำให้ผู้ถามพลอยคิดไปว่า "นี่เธอ จะเอาอะไรมาสอนฉันอีก !" คล้ายกับว่า ผู้ตอบเป็นคนแก่หรือผู้ใหญ่ขี้บ่น ที่ชอบสอนคนโน้นคนนี้ ก็เลยจะเอาคำตอบสำเร็จรูปมาให้กับผู้ถาม เช่นบอกว่า "เธอเกิดมาเพื่อสร้างบารมี" "เธอเกิดมาเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง" "เธอเกิดมาเพื่อทำความสิ้นทุกข์" หรือ  "เธอเกิดมาเพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไป" เป็นต้น
       ลองดูสิว่า ถ้าผู้ตั้งคำถาม เจอคำตอบแบบนี้ แล้วผู้ถามจะรู้สึกอย่างไร เชื่อหรือไม่เชื่อล่ะ หรือจะคิดอย่างว่า 'เธอจะเอาอะไรมาสอนฉันอีกล่ะ (ยายเพื่อน ขี้บ่น) ! ' กันแน่

ถ้าคำตอบนั้น ไม่ถูกใจผู้ฟังก็ถูกตำหนิได้
ค่ะ เล่าเลยค่ะ เฟิร์นอยากฟัง
พระอาจารย์ท่านกำลังอธิบายในหัวข้อคำถาม เกิดมาทำไม อยู่ค่ะ
       ฉะนั้น คำถามว่า "เราเกิดทำไม" หรือ “หนูเกิดมาทำไม” ก็เลยเป็นอันต้องพับไป เพราะเป็นคำถามที่ใช้ไม่ได้ ด้วยประการทั้งปวง
      แล้วควรถามอย่างไรเจ้าคะ ถ้าต้องการจะรู้ว่า เราเกิดมาทำไม? หรือไม่ควรถามแบบนี้ ควรถามในลักษณะอื่น
       ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น เพียงแต่จะยืนยันว่า คำถามนี้ "..." เป็นคำถามที่ใช้ไม่ได้ และไม่ควรใช้เป็นข้อคำถามได้เลย แต่ถ้าต้องการประโยชน์จากการสนทนาจริงๆ ล่ะก็ ก็ควรตั้งคำถามใหม่ ให้เกิดความรัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในหลักการดำเนินชีวิต
       เช่นถามว่า คนเราเกิดมาได้อย่างไร คนเราควรใช้ชีวิตอย่างไร หรือคนเราควรตั้งเป้าหมายในชีวิตไว้อย่างไร? อย่างนี้จะเกิดประโยชน์ยิ่งกว่า และสามารถหาคำตอบหรือคำอธิบายซึ่งเป็นเหตุเป็นผล ที่จะนำไปสู่ประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลได้
       ซึ่งในหลักพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงสอนให้เรารู้จักชีวิตตามที่เป็นจริง ตามที่ปรากฏจริงประจักษ์แก่เรา ซึ่งในการแสดงรูปลักษณ์แห่งการมีชีวิตอยู่นี้ พระองค์ทรงชี้ให้เห็นถึงคุณและโทษที่เกิดการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องและไม่ถูกต้อง ไว้ในทุกกระบวนการแห่งการมีชีวิตอยู่

ค่ะ
      ตามที่ปรากฎจริง หรือตามที่เราควรเข้าใจในความจริงของธรรมชาติเหรอเจ้าคะ
การใช้ชีวิตของเรานั้นให้มี่ค่าหรือไม่มีค่า กับตัวเราเองและต่อคนอื่น
       ฉะนั้น หากเราเรียนรู้และศึกษาพระพุทธศาสนา ด้วยการขบคิด พินิจพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว จะเห็นได้ว่า พระพุทธศาสนาสอนให้เราดำรงอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง และใช้ความพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบที่สุดในการดำรงชีวิตอยู่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชีวิตเรา ซึ่งจะเป็นผลให้ชีวิตนั้นเกิดความสุขตลอดระยะเวลาแห่งช่วงชีวิตของแต่ละบุคคลนั่นเอง
คนเราควรใช้ชีวิตอย่างไรเจ้าคะ
       เอาล่ะ วันนี้ก็คงจะได้แต่เพียงอารัมภบท เพียงการวิจารณ์หัวข้อแห่งการสนทนาเท่านั้น ส่วนในรายละเอียด ก็คงจะต้องว่ากันในภายหลังแล้วกระมัง
ง่าาาา
กราบลาพระอาจารย์ทุกท่านค่ะ
บายนะค่ะ โชคดีค่ะ
ตอนนี้เวลาก็ล่วงเลยมากว่า ๑๗.๑๕ นาฬิกาแล้ว
กราบลานมัสการพระอาจารย์เจ้าค่ะ
      ขอบคุณพระอาจารย์เจ้าค่ะ ทีทรงให้ปัญญาเจ้าค่ะ กราบลานมัสการพระอาจารย์เจ้าค่ะ
       แต่สิ่งหนึ่งที่เราไม่พึงมองข้ามไปก็คือ การอยู่กับความเป็นจริงในปัจจุบันนั้น ได้แก่ การมีชีวิตอยู่อย่างชาญฉลาดและใช้สติปัญญาอย่างสูงสุดในการดำรงชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า ปัจจัยที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งก็คือ  การมีกัลยาณมิตร (๒) เป็นผู้คอยชี้แนะ ช่วยเหลือ และให้แนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง ซึ่งจะเป็นแบบอย่างอันดี ที่จะคอยบอกสอนเรา แม้จะมิใช่ด้วยคำพูดก็ตาม แต่ที่แท้คือ ความประพฤติที่ดีงามประเสริฐนั่นเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "พุทธานุมัต" (๓)
       พุทธานุมัต หมายถึง การมีผู้นำซึ่งเป็นผู้มีความรู้ เป็นปราชญ์ เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตเพื่อให้เกิดความสุขนั่นเอง
สุดท้ายนี้ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ได้ร่วมสนทนากันในวันนี้
       นมัสการท่านปภสฺสโร นมัสการท่านเอกชัย เจริญธรรมท่านสมณะบินก้าว และขอเจริญพรกับญาติโยมทุกคน ขอให้มีความสุข มีความเบิกบานแจ่มใส รู้แจ้งในธรรมยิ่งขึ้นไป

ขอบพระคุณเจ้าค่ะ
ครับ
สาธุ สาธุ สาธุ
สาธุ สาธุ สาธุ

สาธุ เจ้าค่ะ
กราบลา นมัสการเจ้าค่ะ
ครับ
ขอฝากพุทธภาษิตสำหรับสัปดาห์นี้ไว้ว่า


ปญฺญาชีวึ ชีวิตมาหุ เสฏฐํ (๔)
“บัญฑิตกล่าวสรรเสริญบุคคลผู้มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญาว่า
เป็นชีวิตที่ประเสริฐสูงสุด”


เจริญพร
..............................................



๑. ขุ.อุ.๒๕/๑๓๘/๑๒๖ กิรสูตร
๒. สํ.ม.๑๙/๕-๑๑/๒ องฺ.เอก.๒๐/๗๒/๑๑ ขุ.อิติ.๒๕/๑๙๕/๑๖๘
๓. ขุ.ชา.๒๗/๘๔/๒๙ อัตถัสสทวารชาดก, ขุ.ชา.อ.๕๖ หน้า ๒๙๑
[บทว่า พุทฺธานุมตํ ได้แก่ ความคล้อยตามบัณฑิตผู้เจริญด้วยคุณทั้งหลาย พระโพธิสัตว์แสดงโอวาทของครูทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้ ด้วยบทนี้.]
๔. สํ.ส.๑๕/๒๐๓/๕๑
[ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างประเสริฐของคนในโลกนี้  ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้
ความจริงเท่านั้นเป็นรสที่ดียิ่งกว่ารสทั้งหลาย  คนที่เป็นอยู่ด้วยปัญญานักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่ามีชีวิตประเสริฐฯ]




 

Create Date : 09 ตุลาคม 2550    
Last Update : 19 ตุลาคม 2550 21:33:25 น.
Counter : 543 Pageviews.  

พระโพธิสัตว์เมื่อครั้งประสูติ ดำเนินได้ ๗ ก้าวจริงหรือ 500916

ธรรมะ Onlineบ่ายวันอาทิตย์
เรื่องพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งประสูติ ดำเนินได้ ๗ ก้าวจริงหรือ
(วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๐)

ตัดต่อและเรียบเรียงโดย พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร


ในซอกเล็กๆๆ มีอะไรซ่อนอยู่-สิ่งไหนคิดว่าเป็นของเรา มันอาจจะไม่ใช่ของเรา says:
สวัสดีทุกท่านนะค่ะ แล้วก็คุยได้เลยหรอค่ะ

[คิม] ดวงใจยังรักเธอ says:
สวัสดีทุกๆ ท่านครับ

ขอนั่งอ่านก่อนนะค่ะ ครั้งแรกที่ได้เข้ามาค่ะ
นมัสการท่านปภัสฺสโรเจ้าค่ะ
เราจุมพิตโดยไม่รู้จักกัน says:
สวัสดีครับ

arusaya says:
นมัสการพระคุณเจ้าเจ้าค่ะ พึ่งเข้ามาครั้งแรกเหมือนกัน

นมัสการท่านเอกเจ้าค่ะ
ตื่นเต้นนะค่ะไม่เคยเข้ามาเลยค่ะ
นมัสการท่านปิยะลักษณ์เจ้าค่ะ นิมนต์แสดงธรรมด้วยเจ้าค่ะ
Ven. Upatham says:
นมัสการ-เจริญพรทุกๆ ท่าน

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
นมัสการท่านปภสฺสโรครับ

ทุกคนแนะนำชื่อกันสักนิดไม๊คะ
พระเอกชัย says:
นมัสการครับพระอาจารย์  เจริญพรทุกท่าน

นมัสการเจ้าค่ะ
นมัสการท่านเอกชัยครับ
คิม ครับผม
ชื่อเล่น ษร (เกษร) ยินดีที่ได้รู้จักนะค่ะ
ใครมีคำถามอยากถามพระอาจารย์หรือเปล่าคะ
นัฐพล-น.น้ำใจดี (FM89.25Mhz) says:
นมัสการพระอาจารย์

เจริญพร สวัสดีจ๊ะทุกคน
ส้ม says:
สวัสดีทุกๆ ท่านค่ะ

ใครมีอะไร เปิดประเด็นเลยครับ
มีคุณธนวัฒน์ฝากคำถามมาทางเมล์เจ้าค่ะ 2 ข้อ
      1. จากพุทธประวัติที่ว่า เมื่อพระองค์ประสูติ ทรงเสด็จดำเนินได้ 7 ก้าวนั้น มีนัยอย่างไร เป็นปุคคลาธิษฐานอย่างไร? เกี่ยวข้องกับโพชฌงค์ 7 หรือไม่ ?
      2. มีโรงฆ่าสัตว์อยู่ไม่ไกลจากบ้านผม ดึกๆ จะได้ยินเสียงร้องด้วยความเจ็บปวด ซึ่งกระทบใจให้เศร้าหม่นหมอง ด้วยเหตุนี้ ผมควรวางใจให้เป็นอุเบกขาได้อย่างไร? ใจจริงแท้ ได้รับแรงดลใจให้อยากเลิกทานเนื้อสัตว์ แต่ผมไม่อยู่ในฐานะที่จะเลือกทำอย่างที่ใจชอบได้?

คำถามที่ดีมากๆ เลยครับ
น้องคิมเคยสงสัยไม๊คะ ว่าทำไมเด็กแรกเกิดถึงเดิน 7 ก้าวได้
       ผมตอบไม่ถูกแฮะ รอฟังคำตอบอย่างเดียว เพราะปัญญาไม่ถึงขั้นที่จะตอบได้ สงสัยครับ แต่ตอบไม่ได้
ออกความเห็นกันได้เลยนะคะ และนิมนต์พระอาจารย์ทั้ง 3 รูป ด้วยเจ้าค่ะ
 [b][c=12]G^o^LF[/c][/b][c=4][/c] says:
สวัสดีครับ

นิมนต์ท่านปภัสฺสโรตอบด้วยเจ้าค่ะ
.......

       ในเรื่องของการเสด็จดำเนินไป ๗ ก้าวของพระโพธิสัตว์นั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์อย่างนั้น ซึ่งลักษณะแห่งพระโพธิสัตว์นั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า มีด้วยกันหลายประการ ดังที่ตรัสไว้ในทีฆนิกาย มหาวรรคว่า
       “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ พระโพธิสัตว์ผู้ประสูติแล้วได้ครู่หนึ่ง ประทับยืนด้วยพระบาททั้งสองอันสม่ำเสมอ ผินพระพักตร์ทางด้านทิศอุดร เสด็จดำเนินไปเจ็ดก้าว
          และเมื่อฝูงเทพยดากั้นเสวตฉัตรตามเสด็จอยู่ทรงเหลียวแลดูทั่วทุกทิศ เปล่งวาจาว่าอันองอาจว่า เราเป็นยอดของโลก เราเป็นใหญ่แห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก ความเกิดของเรานี้เป็นครั้งที่สุด บัดนี้ความเกิดอีกมิได้มี ดังนี้ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้ ฯ”
(๑)
       ในข้อที่ว่า การดำเนินไปด้วยพระบาท ๗ ก้าวในครั้งพระโพธิสัตว์ประสูตินั้น บางคนก็เข้าใจว่า น่าจะเป็นอุปมาอุปไมย
       เช่นคิดว่า น่าจะหมายถึง การเผยแผ่พระศาสนาในยัง ๗ แว่นแคว้นใหญ่ในชมพูทวีปในสมัยนั้น หรือบ้างก็ว่า น่าจะหมายถึง การที่จะทรงแสดงหลักแห่งการตรัสรู้ ๗ ประการให้ปรากฏ คือ โพชฌงค์ ๗ อย่างนี้ก็มี
       บางคนก็ตั้งข้อสงสัยว่า เป็นไปได้อย่างไรที่เด็กทารกเกิดมาแล้วจะเดินได้ ? ซึ่งเชื่อว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

       ผมว่าน่าจะเป็นไปได้นะครับ คนปัจจุบันนำวิทยาศาสตร์มาครอบศาสนาจนหมด สิ่งที่พระตถาคตตรัสอยู่ในพระไตรปิฎก ก็น่าจะเป็นความจริงที่ตรงล้วนขอรับ
       หากว่าเราลองพิจารณาเรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เราเชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้จริง แล้วถามว่า มีใครบ้างไหมในที่นี้ที่เคยตรัสรู้บ้าง คำตอบก็คงจะเป็นว่า "ไม่มี" แล้วทำไมเราเชื่อล่ะว่า พระพุทธเจ้าทั้งที่เป็นมนุษย์เหมือนเราทรงตรัสรู้ได้ ทรงกระทำกิเลสให้หมดสิ้นไปได้ หรือมนุษย์มีความสามารถตรัสรู้ธรรมได้จริงหรือ ในแง่อย่างนี้เราเคยคิดบ้างไหม
หรือว่า ตรัสรู้ ยอมรับได้  แต่เด็กตัวแค่นั้นเดินได้ ไม่น่าเป็นไปได้
       หลายสิ่งหลายอย่างที่พระองค์ทำ แล้วเราทำไม่ได้นั้นมากนะครับ เช่น พระที่สำเร็จฌานล้วเหาะ เพราะได้อภิญญา ปฐวีกสิณ
       บางครั้ง เราเอามาตรฐาน หรือความรู้ความสามารถของตัวเราเข้าไปวัด หรือนำไปเทียบเคียงกับสิ่งที่เราไม่อาจเข้าใจได้ด้วยความรู้ความสามารถที่มีจำกัดของเราเอง ฉะนั้น เราจึงมองสิ่งต่างๆ แคบจนเกินไป แต่กลับคิดไปว่า อะไรที่เราทำไม่ได้ คนอื่นก็น่าจะทำไม่ได้เช่นเดียวกัน
สาธุครับ เราเอาวิทยาศาสตร์ของคุณๆ ฝรั่งทั้งหลายมาครอบจนหมดเสียแล้ว
       อย่างที่คุณเจดว่า ในเรื่องของฌานสมาบัติและอภิญญาก็เช่นเดียวกัน เราในที่นี้บางคนก็คงจะทำไม่ได้ หรือแทบจะไม่สามารถเข้าใจได้เลยว่า อภิญญาหรืออิทธิวิธีต่างๆ นั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วอย่างนี้ เราก็คงจะต้องปฏิเสธด้วยเช่นเดียวกันว่า ไม่มี เป็นไปไม่ได้ ถ้าเราเอามาตรฐานความสามารถของเราเป็นตัวตัดสิน (๒)
       เห็นด้วยเจ้าค่ะ ดิฉันเห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่หยาบ วิทยาศาสตร์ของคุณฝรั่งนะคะ
       พระพุทธเจ้าตรัสว่า "เป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์อย่างนั้น" เพราะเหตุใด ก็เพราะเหตุว่า พระโพธิสัตว์ในพระชาติสุดท้ายที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น ได้ทรงบำเพ็ญบารมีมาแล้วอย่างน้อยที่สุดก็ ๔ อสงไขย กับแสนมหากัปป์ เพื่อการตรัสรู้ธรรมนั้น (๓)
       แล้วเรามิได้บำเพ็ญบารมีมายาวนานเช่นเดียวกับท่าน เพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเช่นนั้น ฉะนั้น บางสิ่งที่เราไม่อาจกระทำ หรือเข้าใจได้ จึงเป็นสิ่งธรรมดาที่จะเกิดขึ้นได้

สาธุครับ
       อย่างทุกท่านที่เกิดมานี้ ย่อมมีบุญญาบารมีต่างๆกัน ที่บำเพ็ญมา ทำไมบางคนเป็นหญิงเป็นชาย นั่นก็เป็นพระบารมีของพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญมา ผมว่านะครับ
       บางคนนั่งสมาธิอย่างหนัก เเต่มิได้ฌานเสียที เเต่บางคนปิติมาเร็วมาก อาจเป็นเพราะเคยทำมาก่อน เเล้วมาทำต่อ

       หรืออย่างเช่น พระพุทธเจ้าตรัสธรรมดาแห่งพระโพธิสัตว์ว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จออกจากพระครรภ์พระมารดา เสด็จออกอย่างง่ายดายทีเดียว ไม่เปรอะเปื้อนด้วยน้ำ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยเสมหะ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลหิต ไม่เปรอะเปื้อนด้วยอสุจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย แก้วมณีอันบุคคล วางลงไว้ในผ้ากาสิกพัสตร์ แก้วมณีย่อมไม่ทำผ้ากาสิกพัสตร์ให้เปรอะเปื้อนเลย ถึงแม้ผ้ากาสิกพัสตร์ก็ไม่ทำแก้วมณีให้เปรอะเปื้อน เพราะเหตุไรจึงเป็นดังนั้น เพราะสิ่งทั้งสองเป็นของบริสุทธิ์ แม้ฉันใด
          ดูกรภิกษุทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกันแล ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จออกจากพระครรภ์พระมารดา เสด็จออกอย่างง่ายดายทีเดียว ไม่เปรอะเปื้อนด้วยน้ำ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยเสมหะ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลหิต ไม่เปรอะเปื้อนด้วยอสุจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง  ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้ ฯ”
(๔)
ครับ เป็นบุญของทั้งพระมารดาและพระโอรส
ค่ะ
       ดังพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงและยกเป็นตัวอย่างให้เห็นนี้ เราเองโดยธรรมดาก็คงคิดว่า เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เช่นเดียวกัน ว่าทำไมเด็กเพิ่งคลอดใหม่ๆ จะไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลหิต(เลือด) เพราะเราก็เคยเห็นแต่ทารกที่เวลาคลอดแล้ว ก็ต้องเลอะเทอะด้วยเลือด อันนี้ก็เช่นเดียวกัน เป็นสิ่งที่เราไม่อาจเข้าใจได้ด้วยลำพังสติปัญญาของเราเช่นเดียวกัน
คนปัจจุบัน บางคนคลอดง่าย บางคนคลอดยาก
       แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสด้วยคำเพียงสั้นๆ ว่า "นี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้ ฯ" นี้เป็นธรรมดาแห่งพระโพธิสัตว์อย่างนั้น
อืมม เป็นธรรมดา
       สิ่งเหล่านี้เข้าใจยากนะ แต่เราก็มีความศรัทธาเลื่อมใส มีความเชื่อในพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ว่าพระพุทธเจ้าจะทรงพูดแต่ความจริง และตรัสเฉพาะสิ่งที่เป็นจริงที่ปรากฏให้เห็นได้เท่านั้น เพียงแต่ว่า บุคคลใดจะมีปัญญาเข้าถึงสิ่งที่พระองค์ทรงตรัสแสดงไว้ได้เท่านั้นเอง
      แล้ว 7 ก้าว มีความหมายว่าอย่างไรเหรอเจ้าคะ พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสไว้หรือเปล่า ว่าทำไมต้อง 7 ก้าว
ครับ รู้สึกจะทรงตรัสว่า เป็นธรรมดาเฉยๆ นะครับ เป็นธรรมดาเฉยๆ
       เช่น พระองค์ตรัสว่า
          "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ เมื่อใด พระโพธิสัตว์เสด็จออกจากพระครรภ์พระมารดา เมื่อนั้น ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ แสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย..
       ซึ่งเราเองเกิดในยุคสมัยนี้ เราย่อมไม่มีโอกาสได้เห็นโอภาส คือ แสงสว่างอันยิ่งเช่นนั้น และเราก็ไม่ใช่เทพยดาเสียด้วย ที่จะได้เห็นโอภาส คือ แสงสว่างอันไม่มีประมาณ ซึ่งสามารถล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายได้ (หรือบางทีเราอาจจะเกิดเป็นเทวดาในครั้งนั้น แต่จำไม่ได้ก็ได้นะ)

      มันเป็นแสงอย่างไรเหรอเจ้าคะ เหมือนเนื้อตัวพระพุทธเจ้าสว่างขึ้นมาเหรอเจ้าคะ หรือว่าเป็นอุปมาอุปไมย
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทรงเเผ่รังสีขอรับ คิดว่าไม่ใช่อุปมาครับ
       โอภาสก็คือแสงสว่างวาบขึ้น โพลงขึ้น ท่านว่า
“(แม้)ช่องว่างซึ่งอยู่ที่สุดโลก มิได้ถูกอะไรปกปิด ที่มืดมิดก็ดี สถานที่ที่พระจันทร์และพระอาทิตย์เหล่านี้ ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากปานนี้ส่องแสงไปไม่ถึงก็ดี ในที่ทั้งสองชนิดนั้น แสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ถึงสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในสถานที่เหล่านั้นก็จำกันและกันได้ด้วยแสงสว่างนั้นว่า พ่อเฮ้ย ได้ยินว่าถึงสัตว์พวกอื่นที่เกิดในนี้ก็มีอยู่เหมือนกัน และหมื่นโลกธาตุนี้ ย่อมหวั่นไหวสะเทื้อนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้ ฯ”
(๕)
สาธุครับ
ค่ะ
คับ
       สิ่งหนึ่ง ที่อยากให้เราลองพิจารณาก็คือ การที่เราไม่เข้าใจในสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เช่น ในเรื่องธรรมดาแห่งพระโพธิสัตว์ เป็นต้น แล้วเราด่วนสรุปลงไป ว่าท่านไม่ได้เป็นอย่างนั้น ท่านมิได้มีอย่างนี้ หรือท่านเพียงพูดในเชิงเป็นอุปมาอุปไมยเท่านั้น เช่นนี้แล้ว จะถูกต้องอย่างนั้นหรือ
       บางคนหาญกล้าแสดงภูมิของตน ว่าตนรู้ตนเห็นในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ดี ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงอุปมาอุปไมย ถึงกับมีนักวิชาการทางการศาสนาและการศึกษา ต้องการให้ตัดสิ่งเหล่านี้ออกไปจากพระไตรปิฏกเลยทีเดียว อย่างนี้จะถูกต้องหรือ

สาธุครับ
       บางท่านก็ว่า ขอให้พระภิกษุสงฆ์สอนเด็กนักเรียนว่า เรื่องเหล่านี้เป็นแต่เพียงอุปมาอุปไมยเท่านั้น เป็นบุคคลาธิษฐาน (๖) เพื่อให้ทรงจำได้ง่าย ให้น่าสนใจเท่านั้น แล้วให้สอนว่า พระโพธิสัตว์ไม่ได้เดินได้จริง เป็นแต่อุปมาอย่างนั้นอย่างนี้เท่านั้น อย่างนี้จะสมควรหรือ
       ท่านเหล่านั้น เอาศาสนามาปนกับเรื่องโลกๆ จนเกินไปมั้งครับ เเคร์กับเรื่องโลกๆ มากกว่า
       โดยแท้แล้วเขาเหล่านั้นที่กล่าว ก็มิได้มีคุณธรรมเสมอด้วยพระพุทธเจ้า แต่กลับปฏิเสธพระพุทธพจน์โดยอาศัยเพียงสติปัญญาอันจำกัดของตนมาตัดสินความถูกต้องของพระไตรปิฎก อย่างนี้เป็นสิ่งที่อันตรายมาก
       ครั้งหนึ่ง อาตมาเคยได้ยินเขากล่าวว่า "ต้องการให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เป็นสากล ประกอบด้วยเหตุและผล ไม่สอนให้งมงาย" จึงต้องการให้เปลี่ยนการสอน ‘วิชาพุทธประวัติ’ ให้เป็นวิทยาศาสตร์ทั้งหมด อะไรที่อธิบายไม่ได้ หรือผู้กล่าวไม่เข้าใจ ก็ให้บอกสอนไปว่า เป็นอุปมา เป็นเพียงอุปมาอุปไมยเท่านั้น ในลักษณะอย่างนี้
       แต่โดยแท้แล้ว มีสิ่งหนึ่งที่ผู้กล่าวกำลังหลงไปโดยที่ไม่รู้ตัว ก็คือ ความงมงายที่แท้จริงนั้น ก็คือ การปฏิเสธต่อสิ่งที่ตนไม่รู้ไม่เห็นนั้นล่ะ โดยทำคล้ายกับว่าเป็นสิ่งที่ตนรู้ตนเห็น แล้วก็กล่าวไปด้วยความเชื่อมั่นของตนนั้น ‘ว่าตนรู้’ ทั้งที่ตนมิได้รู้จริงเลย นี่ล่ะความงมงายต่อระบบการศึกษาสมัยใหม่ที่แท้จริง

ค่ะ
       ที่ว่า ‘งมงายต่อระบบการศึกษาสมัยใหม่นั้น’ ก็คือ ความงมงายต่อระบบวิทยาศาสตร์ ที่ยอมรับเฉพาะสิ่งที่วัดค่าได้ วัดออกมาเป็นตัวเลขได้ มองเห็นได้ จับต้องได้ ยอมรับเฉพาะสิ่งที่รู้เห็นได้ทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ของตนเท่านั้น สิ่งใดที่ตนไม่รู้ ก็บอกว่า ‘ไม่มี’ นี่ล่ะ ความงมงายที่แท้จริง
เห็นด้วยคับ
สาธุครับ
       พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการกระทำ (๗) การพิสูจน์ทดลอง ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์เสียยิ่งกว่าวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันเสียอีก เพราะว่า วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันสอนให้เชื่อเฉพาะเรื่องทางวัตถุที่จับต้องได้เท่านั้น แต่พระพุทธศาสนาสอนให้เราเป็นนักวิทยาศาสตร์ทั้งในทางวัตถุรูปธรรม และในทางนามธรรม คือ จิตใจ ไปด้วยพร้อมกัน
แล้วเราควรตั้งความเชื่อไว้อย่างไรเจ้าคะ
วิทยาศาสตร์สอนแค่ สัมผัส ลิ้น จมูก ตา เเต่ศาสนาพุทธ มีใจด้วยครับ
เห็นด้วยค่ะ
       พระพุทธศาสนาเราสอนให้รู้จักพินิจพิจารณาและกล่าวสัตย์ซื่อตามความเป็นจริง ไปตามที่ตนมีความรู้ความเข้าใจนั้นอย่างตรงไปตรงมาที่สุด
       เช่น ถ้ารู้ก็บอกว่ารู้ ถ้าเห็นก็บอกว่าเห็น ถ้าไม่รู้ก็ต้องบอกว่าไม่รู้ ถ้าไม่เข้าใจก็ต้องกล้าบอกว่าไม่รู้ไม่เข้าใจ อย่างนี้เป็นต้น

      สัมผัสที่พิสูจน์ได้ด้วยการรับรู้ของเราเอง อืมม ไม่ใช่ว่าไม่รู้ แล้วมาอธิบายเป็นอย่างอื่น ด้วยเหตุผลที่ตนเข้าใจ ก็เหมือนการไม่ซื่อสัตย์ต่อตน และบิดเบือนสิ่งที่ได้ยินมา
       เรียกว่า เป็นผู้ที่ถือ “สัจจนิยม” หรือถือ “สัจจานุรักษ์” (การคุ้มครองสัจจะ การตามรักษาสัจจะ หรือการตามรักษาความจริง) คือกล่าวและยอมรับในสิ่งที่ตนรู้ตนเห็นเท่านั้น ไม่กล่าวครอบคลุมลงไปว่า คงจะเป็นอย่างนั้น คงจะเป็นอย่างนี้ ทั้งที่ตนไม่รู้ เป็นต้น
       อย่างนี้ล่ะเรียกว่า เป็นชาวพุทธที่แท้จริง คือ เป็นผู้ตื่นจากความโง่เขลางมงาย ตื่นจากความหลงในหลักการ ทฤษฎี ความเชื่อที่ตนยึดถืออยู่ ตื่นจากความหลงในวิธีการคิดของตน โดยเข้าใจว่าตนเป็นผู้รู้ผู้เข้าใจแล้ว แม้ในสิ่งที่ตนยังไม่อาจรู้ไม่อาจเข้าใจได้ในขณะนั้นนั่นเอง

อืมม สัจจานุรักษ์ คำนี้เคยได้ยินในวงสนทนาแบบไดอะล๊อก
ค่ะ
       พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อเธอรู้เห็นอย่างไร ก็พึงกล่าวตามไปอย่างนั้น กล่าวตรงตามไปอย่างนั้น ไม่กล่าวไม่ไขว้เขวเป็นอย่างอื่นไป นี่ล่ะเรียกว่า ผู้ถือสัจจานุรักษ์ (๘) คือ ลักษณะของผู้ที่ย่อมกล่าวไปตามที่ตนรู้ และได้ศึกษามาเท่านั้น ไม่พูดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิดไปว่า ‘ที่แท้มันเป็นอย่างนี้นะ มิใช่อย่างนั้น โดยเอาความเห็นของตนเข้ามาสอดแทรกไปกับข้อมูลที่มี ให้เกิดความสับสนว่าอันไหนเป็นข้อมูลความจริงที่ตนรู้ อันไหนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้พูดเท่านั้นกันแน่’ แยกออกจากกันอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา อย่างนี้สิ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นสัจจานุรักษ์ (ผุ้ตามรักษาสัจจะ) ที่แท้จริง ไม่ด่วนสรุปลงไปทีเดียว
เราควรหัดฟังเสียงในใจเราด้วย ว่าเราได้เกิด bias ขึ้นหรือไม่
ฝนตกขอลงก่อน สวัสดี
นมัสการเจ้าค่ะ
       ซึ่งในเรื่องที่ได้ยกขึ้นมาเป็นประเด็นสนทนาในวันนี้ ถ้าจะกล่าวให้ถูก กล่าวอย่าง "สัจจานุรักษ์" ก็ควรจะกล่าวว่า "ตามที่ได้ศึกษามา พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ ซึ่งมีปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎกว่า 'ธรรมดาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เมื่อเสด็จออกจากพระครรภ์มารดา ย่อมเสด็จดำเนินไป ๗ ก้าว แล้วเปล่งอาสภิวาจา.. นี้เป็นธรรมดาแห่งพระโพธิสัตว์"
       แล้วกล่าวต่อไปว่า "ตามหลักฐานที่ปรากฏเป็นเช่นนั้น ในส่วนตัวของข้าพเจ้าๆ ไม่รู้ไม่เห็น จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นจริงเช่นนั้นหรือไม่ แต่โดยความเห็นของข้าพเจ้าๆ คิดว่า น่าจะเป็นอุปมาอุปไมย เท่านั้น" อย่างนี้เป็นต้น
       หรือกล่าวว่า ตามหลักฐานในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสว่า "..." เช่นนี้ ซึ่งข้าพเจ้ามีศรัทธาเลื่อมใสในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเชื่อว่า พระองค์จะไม่ทรงโกหกเรา สิ่งที่ท่านกล่าวคงจะเป็นจริงอย่างนั้นอย่างแน่นอน ข้าพเจ้ามีศรัทธาเช่นนี้ อย่างนี้ก็ได้

เจ้าค่ะ
       ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ เราควรมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และให้ความยุติธรรมแก่พระธรรมวินัย สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ก็ล่วงเลยมากว่า ๒๐๐๐ ปีแล้ว ฉะนั้น การที่เราจะตัดสินสิ่งใดลงไป เราควรพินิจพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนด้วยสติปัญญาเท่าที่เรามีอยู่ ไม่พึงตัดสินหรือคัดค้านพระธรรมคำสอนโดยที่เราไม่รู้ไม่เข้าใจ ซึ่งจะเป็นบาปแก่บุคคลผู้ปฏิบัติเช่นนั้น เรียกว่า กล่าวให้ผิดไปจากพระธรรมวินัย แสดงในสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงแสดงไว้ แต่กลับกล่าวไปให้ผิดเพี้ยนไม่ตรงกับที่พระพุทธเจ้าตรัส แล้วกล่าวว่า "เป็นเช่นนั้นเช่นนี้" ซึ่งเป็นสิ่งไม่สมควรเลย
       ถ้าจะกล่าวให้หนักแน่นอย่างที่ไม่เกรงใจกัน ก็จะกล่าวว่า ท่านผู้พูดให้เสื่อมเสียผิดเพี้ยนจากพระธรรมวินัยนั้น ได้กระทำกรรมหนักที่เรียกว่า "อริยุปวาท"
(๙) คือ กล่าวคัดค้าน ลบหลู่ต่อพระธรรมคำสอนของพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทั้งที่ตนไม่รู้ไม่เข้าใจ
       ย่อมจักเป็นบาปตกแก่บุคคลนั้น ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งเราเหล่าพุทธบริษัททุกคนผู้ปรารถนาความสุขความเจริญแก่ชีวิต ก็พึงสำเหนียกไว้โดยความสำรวมระวัง อย่าได้ประมาทในการกล่าววาจาจ้วงจาบต่อพระพุทธศาสนาอีกเลย

สาธุ
       ขอให้ทุกท่านได้มีความสงบร่มเย็นในชีวิต ขอให้มีความเบิกบานในจิตใจ ขอให้ได้เข้าถึงเป้าหมายแห่งพระพุทธศาสนา คือ ความพ้นจากทุกข์ และจากความลุ่มหลงด้วยกันทุกคน เทอญ
       ขอบูชาคุณแห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาค ด้วยบาลีว่า
"จิรํ ติฎฺฐตุ สทฺธมฺโม" ขอพระสัทธรรมจงสถิตสถาพรตลอดกาลนานเทอญ

ขอรับ สาธุครับ
และขอส่งท้ายด้วยบทพุทธภาษิตอีกครั้งหนึ่งว่า (๑๐)


“มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ      สจฺจานํ จตุโร ปทา
วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ           ทิปทานญฺจ จกฺขุมา”
บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ ประเสริฐสุด
บรรดาสัจจะทั้งหลาย บททั้ง ๔ (อริยสัจ) ประเสริฐสุด
บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรมประเสริฐที่สุด
บรรดาสัตว์สองเท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐสุด


       ขอนมัสการท่านเอกชัยด้วยความเคารพ และขออนุโมทนาบุญกับญาติโยมทุกคน ที่ได้เข้ามาร่วมสนทนาธรรมกันในวันนี้
ขอบพระคุณมากเจ้าค่ะ
อาตมาลาล่ะนะ
ครับ ขอบพระคุณครับ นมัสการลา
       สัปดาห์หน้า อาตมาขอลานะ จะไม่ได้เข้ามาร่วมสนทนาด้วย เพราะจะต้องไปพบแพทย์จ๊ะ
อาทิตย์ต่อไป มีการสนทนาเป็นปกตินะเจ้าคะ
จ๊ะ
...................................................






๑.  ๔ ๕ ที.ม.๑๐/๒๖/๑๑, ๑๐/๒๔/๑๑, ๑๐/๒๗/๑๒ มหาปทานสูตร
๒. ที.ปา.๑๑/๔๓๑/๒๖๔, อง.ฉกฺก.๒๒/๒๗๓/๒๕๘
๓. ขุ.พุทฺธวํส.๓๓/๒/๒๙๕, ขุ.จริยา.๓๓/๑/๓๗๒
๖ ม.มู.อ.๑๗ หน้า ๖๒
[เทศนา ๔ - จริงอยู่ การเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันดับแรกมี ๔ ประการ ด้วยอำนาจธรรมและบุคคลนั่นแล คือ ธรรมเทศนาที่ยกพระธรรมเป็นที่ตั้ง(ธัมมาธิษฐาน) บุคคลเทศนาที่ยกพระธรรมเป็นที่ตั้ง (ธัมมาธิษฐาน) บุคคลเทศนาที่ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (บุคคลาธิษฐาน) และพระธรรมเทศนาที่ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (บุคคลาธิษฐาน).


  • บรรดาเทศนา ๔ ประการนั้น เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้, เวทนา ๓ อะไรบ้าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา เละอทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาทั้ง ๓ เหล่านี้แล พึงทราบว่า ชื่อว่าธรรมเทศนาที่เป็นธัมมาธิษฐาน.

  • เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษนี้ มีธาตุ ๖ มีผัสสายตนะ ๖ มีมโนปวิจาร ๑๘ มีอธิษฐานธรรม ๔ พึงทราบว่า ชื่อว่าบุคคลเทศนาที่เป็นธัมมาธิษฐาน.

  • เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษบุคคล ๓ พวกเหล่านี้ มีอยู่ในโลก ๓ จำพวกเหล่าไหนบ้าง? คือบอด, มีจักษุข้างเดียว และจักษุ ๒ ข้าง ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลบอดเป็นไฉน? พึงทราบว่า ชื่อว่าบุคคลเทศนาที่เป็นบุคคลาธิษฐาน.

  • เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยในทุคติเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า  กายทุจริตแลมีวิบากอันลามก อภิสัมปรายภพ ฯลฯ ย่อมบริหารตนอันสะอาด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภัยในทุคติ พึงทราบว่า ชื่อว่า ธรรมเทศนาที่เป็นบุคคลาธิษฐาน.]

๗ ที.สี.๙/๑๘๒/๑๒๑, ม.ม.๑๓/๖๕๐/๔๔๘
๘ ม.ม.๑๓/๖๕๕/๔๕๒ จังกีสูตร, ขยายความ ม.ม.อ.๒๑ หน้า ๓๖๙
๙ วิ.ม.อ.๑ หน้า ๓๐๐, ขุ.อิติ.อ.๔๕ หน้า ๔๒๓, ขุ.เถรี.อ.๕๔ หน้า ๓๖๘, ขุ.จริยา.อ.๗๔
หน้า ๓๒๗,
   องฺ.ทสก.อ.๓๘ หน้า ๒๘๔, ม.มู.๑๒/๑๖๖-๙/๙๙, ม.มู.๑๒/๑๗๖/๑๐๖
[การกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้ามีโทษเช่นกับอนันตริยกรรม - ก็บรรดาอริยุปวาทและมิจฉาทิฏฐิ เหล่านั้น แม้เมื่อท่านสงเคราะห์อริยุปวาทเข้าด้วยวจีทุจริตศัพท์นั่นเอง และมิจฉาทิฏฐิเข้าด้วยมโนทุจริตศัพท์เช่นกันแล้ว การกล่าวถึงกรรมทั้ง ๒ เหล่านี้ซ้ำอีก พึงทราบว่า มีการแสดงถึงข้อที่กรรมทั้ง ๒ นั้นมีโทษมากเป็นประโยชน์.
จริงอยู่ อริยุปวาทมีโทษมากเช่นกับอนันตริยกรรม. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนสารีบุตร ! เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญาพึงได้ลิ้มอรหัตผลในภพปัจจุบันนี้แล แม้ฉันใด, ดูก่อนสารีบุตร ! เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ฉันนั้น บุคคลนั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสียแล้ว ต้องถูกโยนลงในนรก (เพราะอริยุปวาท) เหมือนถูกนายนิรยบาลนำมาโยนลงในนรกฉะนั้น…]
ม.มู.อ.๑๘ หน้า ๒๙๙
[ชื่อว่าอันตรายิกธรรม เพราะทำอันตรายต่อสวรรค์และนิพพาน. อันตรายิกธรรมเหล่านั้นมี ๕ อย่าง คือ กรรม กิเลส วิบาก อริยุปวาท และอาณาวีตกกมะ.


  • ในอันตรายิกธรรมเหล่านั้น อนันตริยกรรม ๕ ชื่อว่า กัมมนตรายิกธรรม...

  • ธรรมคือนิยตมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า อันตรายิกธรรมคือกิเลส.

  • ปฏิสนธิธรรมของบัณเฑาะก์ สัตว์เดรัจฉานและอุภโตพยัญชนก ชื่อว่า อันตรายิกธรรมคือวิบาก.

  • ธรรมคือการเข้าไปว่าร้ายพระอริยเจ้า ชื่อว่า อันตรายิกธรรมคืออุปวาทะ. แต่อุปวาทันตรายิกธรรมเหล่านั้น ย่อมกระทำอันตรายตลอดเวลาที่ยังไม่ให้พระอริยเจ้าทั้งหลายอดโทษ เบื้องหน้าแต่นั้นให้พระอริยเจ้าอดโทษแล้ว หากระทำอันตรายไม่.

  • อาบัติ ๗ กองที่ภิกษุจงใจล่วงละเมิดแล้ว ชื่อว่า อันตรายิกธรรมคืออาณาวีติกกมะ. แม้อาณาวีติกกมันตรายิกธรรมเหล่านั้น ย่อมกระทำอันตรายตลอดเวลาที่ภิกษุต้องอาบัติแล้วยังปฏิญญาตนว่าเป็นภิกษุอยู่ก็ดี ไม่อยู่ปริวาสกรรมก็ดี ไม่แสดงอาบัติก็ดี เบื้องหน้าแต่นั้น (แสดงอาบัติแล้ว) หากระทำอันตรายไม่….]

๑๐ ขุ.ธ.๒๕/๓๐/๓๕




 

Create Date : 29 กันยายน 2550    
Last Update : 19 ตุลาคม 2550 21:29:28 น.
Counter : 526 Pageviews.  

เหตุที่ทำให้ทานมีอานิสงส์มากน้อยต่างกัน 500909

ธรรมะ Onlineบ่ายวันอาทิตย์
เรื่องเหตุที่ทำให้ทานมีอานิสงส์มากน้อยต่างกัน
(เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๐)

ตัดต่อและเรียบเรียงโดย พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร


เป้ says:
นมัสการท่านปิยะลักษณ์เจ้าค่ะ

[b][c=12]GoLF[/c][/b][c=4][/c] says:
นมัสการครับ

preephas@hotmail.com says:
นมัสการด้วยคนครับ

 ('oo' )     โบ says:
นมัสการท่านปิยะลักษณ์ครับ

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
เจริญพรจ๊ะทุกคน

          นมัสการเจ้าค่ะ วันนี้มีสมาชิก 1 2 3.. 8 คน เอาล่ะ ขอให้สมาชิกแนะนำตัวด้วยนะคะ
แล้วก็ใครมีประเด็น เสนอได้เลยค่ะ

ชื่อคนขับช้าครับ สนใจเรื่องกาลามสูตรครับ
//gotoknow.org/blog/ariyachon/120363
เอาของ ดร.วรภัทร์ มาฝาก

ชื่อกอล์ฟครับ อายุ 21
ชื่อโบ ครับ
หนูนิดจ้ะ. says:
สวัสดีทุกท่านค่ะ  พี่ชื่อชุติมาค่ะ กราบนมัสการท่านปิยะลักษณ์เจ้าค่ะ

       ช่วยกันตั้งประเด็นนะคะ ถ้ามีหลายประเด็น ก็โหวดกันนิดหน่อยว่าจะเอาเรื่องไหน หรือว่าพระอาจาร์ยท่านอาจตอบให้หมดก็ได้ เมื่อกี้เรื่องอะไรน้า กาลามสูตร ใช่ไม๊คะ
ครับๆ ช่วงนี้โฆษณาชวนเชื่อเยอะมาก
นมัสการท่านเอกเจ้าค่ะ
นมัสการท่านเอกชัยครับ
พระเอกชัย says:
นมัสการพระอาจารย์ครับ

น้องโบ เสนอเรื่องอะไรเหรอคะ
เสนอเรื่องความตาย และก็ผลของกรรมครับ
ศาสนาทุกศาสนาก็อธิบายเรื่องหลังความตายกันไว้นะคะ แต่ศาสนาพุทธมีอะไรที่แตกต่างล่ะ
      ถ้าทางคริสต์ก็คือ ตายไปแล้วไม่ขึ้นสวรรค์ก็รอไปลงนรก ไม่มีการเกิดอีก ทางพุทธนี่คือตายแล้วไปเกิดใหม่เลยใช่ไหมครับ
ได้ยินว่า รอพิพากษา
ใช่ครับ
        ในหนังสือโอวาทสี่ท่านเหลี่ยวฝาน ให้บันทึกความดีและความชั่วไว้ครับ เอาไว้แสดงต่อท่านยมบาล (นี่ผมคิดเอง) สำหรับท่านเหลี่ยวฝาน เอาไว้เปลี่ยนดวง แบบว่ากำหนดดวงเอง จดกันบ้างไหมครับ ความดี vs ความชั่ว
แต่ละคน คิดอย่างไรเกี่ยวกับความตายบ้างล่ะ
ตายให้เป็นเจ้าค่ะ
          ความตายเหรอ ตอนนี้คิดอยู่แต่ว่า จะตายยังไงให้ไปต่อไปได้ดี ทุกคนคิดถึงเรื่องความตายว่าอย่างไรบ้างคะ  ทุกๆ คนต้องเจอแน่ๆ
จิตดับจากภพภูมิหนึ่ง ก็ไปเกิดอีกภพหนึ่งทันที ตามปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขารขณะที่จิตดับ
น้องโบคะ ศาสนาคริสต์สอนเรื่องความตายไว้ว่าอย่างไรบ้างคะ การปฏิบัติตัวก่อนตาย
      ก็ถ้าเจ็บป่วยมากๆ ก็จะมีพิธิเชิญคุณพ่อมา แล้วสวดให้ครับ เพื่อให้จิตสงบ ตายไปจะได้ขึ้นสวรรค์ เรียกศีลเจิมคนไข้
แล้วในชีวิตปกติล่ะคะ
ก็ทำตามบัญญัติ 10 ประการ ที่พระเจ้าประทานให้ คุยกันตามวิธีพุทธดีกว่าครับ
ตอนนี้อยากได้ความคิดเห็นของหลายๆ คนค่ะ
ผมอยากฟังความเห็นท่านๆ อื่น
เชิญพระอาจารย์มาแนะนำดีกว่า
      อย่างเรื่องที่คิดว่า ก่อนตายให้คิดดีๆ จะได้ไปสู่ภพภูมิที่ดี ถ้าอย่างงั้นทำชั่วมาตลอด แต่ตอนใกล้ตายคิดดี ก็ได้ไปภพภูมิที่ดีได้ ใช่หรือไม่ครับ
      จิตที่ดับดวงสุดท้าย หากเป็นจิตกุศลก็ไปสุคติก่อน เมื่อเสวยหมดบุญแล้ว อกุศล(บาป) ก็รอส่งผลแน่นอนค่ะ นอกจากได้บรรลุเป็นอริยบุคคลเท่านั้นค่ะ หากสิ้นใจไป ก็ไม่ไปสู่อบายอีก
รอท่านปิ วิสัชนาดีกว่านะค่ะ

ไร้ความคิด ไร้ตัวตน ไร้หัวใจ says:
        นมัสการพระคุณเจ้าทุกๆ ท่าน เเละสวัสดีทุกๆ คนนะครับ เอ่อ อ่านมาเเล้วงงๆ อ่ะครับ ตกลงตอนนี้สนทนากันเรื่องใดหรือครับ

เรื่องความตายค่ะ ที่แต่ละคนได้ยินมา แต่ละคนคิดเรื่องนี้ว่าไงบ้าง
อ่อ...งี้นี่เอง
น้องอุ้ยคิดว่ายังไงบ้างคะ เมื่อถึงเวลาที่จะต้องตาย หรือว่าเมื่อนึกถึงเรื่องนี้   
        ส่วนตัวผมว่าความตายไม่น่ากลัวหรอกครับ มันน่ากลัวตรงที่ทำอย่างไรให้มีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่ามากกว่าอ่ะครับ
อืมม สนใจชีวิต ณ ปัจจุบันดีกว่า แต่ยังไงทุกคนก็ต้องตาย อย่างไรที่ว่ามีคุณค่าคะ
        เพราะคนเรายังไงก็ต้องตายอยู่เเล้ว เเละอีกอย่าง เวลาเราตายก็ใช่ว่าจะต้องตายเพียงคนเดียว เเต่ยังมีเพื่อนๆ ร่วมโลกร่วมชะตากรรมตายเป็นเพื่อนอีกตั้งเยอะ ดังนั้นผมว่าความตายไม่น่ากลัวเท่าการมีชีวิตอยู่หรอกครับ
        สำหรับผมเเล้วการสั่งสมบารมีวันละนิดวันละน้อยย่อมสำคัญที่สุดครับ...ประมาณว่าขอให้วันหนึ่งๆ ได้ให้ทานบารมี หรือทำอะไรก็ได้ที่เป็นกุศลก็พอเเล้วครับ

ค่ะ
นอร์ทthe-wealth-societyความมั่งคั่งไม่ใช่เงินตราที่เป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยนคุณค่า หากแต่คือความสุขต่างหากที่เป็นคุณค่าแท้ says:
นมัสการพระคุณเจ้า และเพื่อนทางธรรมทุกท่านครับ

        ผมว่าความตายเป็นเรื่องธรรมชาติครับ ขอเเค่ก่อนตายเราได้ทำอะไรไว้ให้ดีที่สุดก็พอแล้วล่ะครับ
คือการเปลี่ยนสถานะจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นรูปแบบหนึ่งครับ
      การทำบุญสะเดาะเคราะห์สามารถช่วยยืดชีวิตจากความตายได้จริงเหรอครับ เหมือนจะเคยอ่านว่ามีพระรูปหนึ่งเป็นศิษย์ของพระสารีบุตร พระสารีบุตรทำนายว่า จะต้องตายแน่ๆ ให้ไปลาพ่อแม่ แต่ระหว่างทางได้ช่วยชีวิตปลาที่กำลังจะขาดน้ำตาย ผลบุญนั้นทำให้รอดชีวิต
        อ่อ เรื่องนี้เกี่ยวกับให้ทานด้วยชีวิตสินะครับ (ถ้าจำไม่ผิดปลาตัวนั้นเป็นปลาพระโพธิสัตว์ด้วยนา)
ครับ ผมสงสัย
กรรมดี ทำให้ชีวิตพลิกผันหรือเปล่าคะ
        ก็ก่อเหตุอย่างไรผลก็เช่นนั้นไงครับ รวมถึงถูกเนื้อนาบุญด้วย เลยส่งผลให้ชีวิตของศิษย์พระสารีบุตรแคล้วคลาดไงครับ
        คนเราจะอยู่หรือจะตาย ผมว่าอยู่ที่กรรมครับ ถ้าสร้างกรรมดีไว้มากๆ ผลของกรรมดีอาจจะส่งผลตัดรอนวิบากกรรมได้ครับ จากหนักให้เป็นเบาลง

      อย่างนี้ถ้าเราทำบุญกับพระสงฆ์ที่อาพาธ เราก็จะอายุยืนสิครับ แต่ไม่รู้ว่าถ้าทำบุญหวังผล จะได้ผลตามนั้นจริงหรือไม่ หรือควรทำโดยไม่หวังผล
        การอธิษฐานนั้นเป็นสิ่งที่ดีครับ เพราะมันจะเป็นการวางเเผนให้บุญนั้นส่งผลออกมาในรูปเเบบไหน เช่น ถ้าอธิฐานให้รวยๆๆๆๆๆๆ เพียงอย่างเดียว
อธิษฐานไม่ใช่การขอนะจ๊ะ
        เวลาบุญส่งผล อาจจะรวยจริงเเต่รวยเเบบมิจฉาน่ะครับ เเต่ควรอธิษฐานล้อมกรอบไว้ด้วยว่าขอให้รวยด้วยสัมมาอาชีวะน่ะครับนั่นเเลจึงจะถูกต้อง ดังนี้ผมขอสรุปตามความเข้าของผมว่า
การทำบุญที่หวังผลนั้นเป็นสิ่งที่ดีครับ
เเต่ต้องดูว่าการหวังในผลบุญนั้นรอบคอบพอหรือไม่ครับ

        การทำบุญหวังผลนั้น ถ้าหวังผลให้ได้มาซึ่งวัตถุกามารมณ์ทั้งหลาย เช่น ลาภ ยศ สรรเสริฐ สุข เหล่านี้ พระพุทธเจ้าท่านไม่ทรงสรรเสริฐเลยนะ
        และทรงแสดงผลหรืออานิสงส์จากการทำบุญหวังผลต่างๆ เหล่านี้ว่า เป็นสิ่งที่เป็น "หีนธรรม" คือ ธรรมที่ยังต่ำอยู่ ซึ่งเป็นขั้นต้นๆ ของการกระทำบุญของ "ปุถุชน" ทั่วไป

เหมือนกับการทำเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนใช่ไม๊เจ้าคะ
ขอบคุณสำหรับคำตอบครับท่าน ผมก็เห็นด้วยกับความเห็นนั้นครับ
        แต่หากบุคคลใดทำบุญโดยมิได้มีจิตผูกพันธ์ในทานหรือในบุญกุศลอันเกิดจากการกระทำนั้น คือ ให้หรือกระทำโดยเห็นแก่ประโยชน์ของผู้รับ หรือเห็นแก่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการได้พัฒนาจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ขึ้น จึงจะเป็นบุญในขั้นสูงได้
เครื่องจองจำที่ทำด้วยเหล็ก ไม้ และปอป่าน
ท่านผู้รู้กล่าวว่า ยังไม่ใช่เครื่องจองจำที่มั่นคง
แต่ความกำหนัดยินดีในเครื่องเพชร บุตร ภริยา
เป็นเครื่องจองจำที่มั่นคงนัก
          ถ้าเราทำบุญแล้วหวังผลให้ได้เงินกลับมา ก็เหมือนกับขอให้ผลบุญนั้นส่งเราเข้าไปในคุกตัณหา

       อืมม เพราะว่าจิตจะมีอิสระจากของที่เราได้ทำไป ไม่ไปยึดติดที่จะได้คืนมาหรือไม่ก็ตาม ใช่ป่าวเจ้าคะ 
ครับ
กฤษณ์<กิจ>หยุดคือตัวสำเร็จ<สัมมา says:
นมัสการครับท่าน และพี่ทุกๆ คนครับ

นมัสการท่านปภสฺสโร เจ้าค่ะ
นมัสการด้วยครับ
นมัสการท่านปภสฺสโรครับ
นมัสการพระอาจารย์ปภสฺสโรครับ
Ven. Upatham says:
เจริญพร
        ตัวอย่างในเรื่องของการให้ทานโดยหวังผล พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน “ทานสูตร” (๑) โดยแบ่งประเภทแห่งการให้ทานไว้ ๗ ประเภท ว่ามีอานิสงส์แตกต่างกัน
        ซึ่งโดยสรุป ก็คือ การให้ทานโดยหวังผลตอบแทนนั้น เป็นทานในขั้นต้นๆ เท่านั้น ดังความตามพระบาลีว่า
         ครั้งนั้น พระสารีบุตรพร้อมด้วยอุบาสกชาวเมืองจัมปา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานเช่นนั้นนั่นแลที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมีหรือหนอแล และทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก พึงมีหรือพระเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมีความหวังให้ทาน มีจิตผูกพันในผลให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลทานนี้ เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์.. เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ  หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังมีผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้...”
        ในที่นี้จะขอสรุปความเป็นข้อๆ เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ดังนี้คือ
        ๑. บุคคลบางคนให้ทานอย่างมีเยื่อใย ให้ทานอย่างมีจิตผูกพัน ให้ทานอย่างมุ่งหวังสั่งสมบุญ ด้วยคิดว่า "เราละโลกนี้ไปแล้ว จักบริโภคผลทานนี้" [ชื่อว่า การให้อันยิ่งด้วยความอยาก] ย่อมมีผลน้อย มีอานิสงส์น้อย พระพุทธเจ้าตรัสว่า หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ชั้นที่ ๑
        ๒. บุคคลบางคนให้ทานอย่างไม่มีจิตเยื่อใย ให้ทานอย่างไม่มีจิตผูกพัน ไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิได้คิดว่า "เราละโลกนี้ไปแล้ว จักบริโภคผลทานนี้" แต่ให้ทานด้วยคิดว่า "การให้ทานเป็นการดี" [ชื่อว่า ให้ทานด้วยความยำเกรงในทาน] ย่อมมีผลยิ่งขึ้น สูงขึ้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชั้นที่ ๒
        ๓. บุคคลบางคนให้ทานอย่างไม่มีจิตเยื่อใย ให้ทานอย่างไม่มีจิตผูกพัน ไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิได้คิดว่า "เราละโลกนี้ไปแล้ว จักบริโภคผลทานนี้" ทั้งมิได้คิดว่า "การให้ทานเป็นการดี" แต่ให้ทานด้วยคิดว่า "บิดามารดา ปู่ย่าตายาย เคยให้ทาน เคยทำทาน เราไม่ควรให้วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อมเสียไป" [ชื่อว่า ให้ด้วยละอายและเกรงกลัว(ประกอบด้วยหิริโอตตัปปะ)] ย่อมมีผลยิ่งขึ้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในสวรรค์ชั้นยามา ชั้นที่ ๓

          สวรรค์แต่ละชั้นมีลักษณะเป็นไงน้อ ผู้ที่ทำบุญด้วยจิตต่างๆ กัน ถึงสามารถไปอยู่ได้แต่ชั้นนั้นๆ เท่านั้น
        ๔. บุคคลบางคนให้ทานอย่างไม่มีจิตเยื่อใย ให้ทานอย่างไม่มีจิตผูกพัน ไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิได้คิดว่า "เราละโลกนี้ไปแล้ว จักบริโภคผลทานนี้" ... แต่ให้ทานด้วยคิดว่า "เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ ผู้หุงหากินเองไม่ได้ ย่อมไม่ควร [ชื่อว่า ให้ด้วยไม่ให้เหลือเศษ] ย่อมมีผลยิ่งขึ้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ชั้นที่ ๔
มีหลายคนคิดอย่างนี้ บางทีเป้ก็คิดแบบนี้ ถึงว่า ชอบไปอยู่ดุสิตกัน
อืม ถ้าเกิดใหม่แล้ว จำความรู้สึกที่เคยอยู่บนสวรรค์ได้ก็คงดีนะครับ
เรียนท่านปิต่อเลยครับ

        ๕. บุคคลบางคนให้ทานอย่างไม่มีจิตเยื่อใย ให้ทานอย่างไม่มีจิตผูกพัน ไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิได้คิดว่า "เราละโลกนี้ไปแล้ว จักบริโภคผลทานนี้" ...  แต่ให้ทานด้วยคิดว่า "เราให้ทานและจำแนกทานนี้เหมือนเหล่าฤาษีในปางก่อน ได้บูชามหายัญ คือ การประกอบมหาทานแล้ว ฉะนั้น" [ชื่อว่า ให้แก่พระทักขิไณยบุคคล] ย่อมมีผลยิ่งใหญ่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ชั้นที่ ๕
        ๖. บุคคลบางคนให้ทานอย่างไม่มีจิตเยื่อใย ให้ทานอย่างไม่มีจิตผูกพัน ไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิได้คิดว่า "เราละโลกนี้ไปแล้ว จักบริโภคผลทานนี้" ...  แต่ให้ทานด้วยคิดว่า "เมื่อเราให้ทานนี้ จิตย่อมผ่องใส จะเกิดความชื่นชม โสมนัส [ชื่อว่า ให้ด้วยอิงอาศัยโสมนัส] ย่อมมีผลยิ่งขึ้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ชั้นที่ ๖

ยินดีที่ได้ให้เหรอ
        ๗. บุคคลบางคนให้ทานอย่างไม่มีจิตเยื่อใย ให้ทานอย่างไม่มีจิตผูกพัน ไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิได้คิดว่า "เราละโลกนี้ไปแล้ว จักบริโภคผลทานนี้" ...  แต่ให้ทานเป็นเครื่องประดับจิต ปรุงแต่งจิต เราจึงให้ทานนั้น [ชื่อว่า ให้เป็นเครื่องประดับ และเป็นบริวารแห่งกุศลจิต อันสัมปยุตด้วยสมถะและวิปัสสนา] ย่อมมีผลสูงสุด พระพุทธเจ้าตรัสว่า หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในพรหมโลก
        พระพุทธเจ้าตรัสว่า "นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทานชนิดเดียวกัน มีอานิสงส์ต่างกัน"

ให้เพื่อให้เกิดจิตที่เป็นกุศลเท่านั้น
        จะเห็นได้ว่า ในข้อแรกๆ เป็นการให้ทานโดยหวังผลเพื่อตน เป็นทานที่มีผลน้อย มีอานิสงส์น้อย แต่เมื่อพัฒนาจิตขึ้นไปตามลำดับ ย่อมเห็นแก่ประโยชน์ต่อบุคคลอื่นยิ่งขึ้นตามลำดับ จนท้ายที่สุด ถึงขั้นให้ทานเพราะต้องการทำลายความยึดติดถือมั่นในตัวตนเลยทีเดียว นี่ล่ะประเสริฐสุด
อืมมม แต่การให้ทาน สูงสุดก็แค่พรหมโลก
        เอ...เคยอ่านเจอในพุทธประวัติว่าต้องได้ฌานถึงจะไปพรหมโลกได้มิใช่หรือครับ
มีทางอื่นด้วยหรือครับ ให้ทานก็ไปพรหมโลกได้ด้วยหรือครับ

        ถูกต้องแล้ว ในขั้นสุดท้ายนี้ เป็นการให้ทานโดยเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต ประกอบจิต เพื่อการเจริญสมถะ(สมาธิ) และวิปัสสนา(ปัญญา)นั่นเอง คือ ช่วยให้จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ และเกิดปัญญาในที่สุด
        ฉะนั้น การให้ทานเพื่อเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต ประกอบจิต ก็เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิจนถึงที่สุด คือบรรลุถึงฌานได้ในที่สุดนี่เอง จึงจะเป็นปัจจัยให้ไปเกิดในพรหมโลกได้

        อ่อ เข้าใจละ เเอบงงๆ ตั้งนาน ขอบพระคุณขอรับ เหมือนกับตอนสวดมนต์นานๆ ก็ทำให้จิตเกิดสมาธิได้สินะขอรับ
ใช่จ๊ะ สวดมนต์ก็ทำจิตให้สงบเป็นสมาธิได้
          เกิดจิตที่เป็นกุศลอย่างเดียว? เราจะต้องพิจารณาผู้รับที่เป็นเนื้อนาบุญด้วยใช่ไม๊เจ้าคะ เอาอะไรมาพิจารณาเหรอเจ้าคะว่าคนนี้สมควรที่จะให้
เหมือนบูชาบุคคลที่ควรบูชาสินะครับ
        คุณเป้ถามถึงผู้ที่สมควรรับทาน (ปฏิคาหก=ผู้รับทาน) พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราให้ทานกับคนทุกคน โดยไม่เลือกว่าจะเป็นใครก็สมควรให้ได้ แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน
ดังที่ทรงตรัสว่า"ผู้ใดพูดว่า พระสมณโคดมตรัสว่า พึงให้ทานแก่เราคนเดียว ไม่ควรให้แก่คนอื่นๆ พึงให้ทานแก่สาวกของเรานี่แหละ ไม่ควรให้แก่สาวกของคนอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ที่ให้แก่คนอื่นหามีผลไม่ ดังนี้ ผู้นั้นชื่อว่า ไม่พูดตามที่เราพูด ทั้งกล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่ดี ไม่เป็นจริง"
(๒)
        คือตอนนี้ มีความรู้สึกว่า คนที่เรียนรู้มาว่าควรทำบุญกับผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญ เขามีความรังเกียจที่จะทำกับคนที่ได้ทำกรรมไม่ดีมาก่อน อย่างผู้ติดเชื้อเอดส์ที่พุทธบาทน้ำพุน่ะเจ้าค่ะ เป้มีความรู้สึกแปลกๆ กับความคิดนี้
ตรัสว่า"ดูกรวัจฉะ ก็เราพูดเช่นนี้ว่า ผู้ใดสาดน้ำล้างภาชนะหรือน้ำล้างขันไป แม้ที่สัตว์ซึ่งอาศัยอยู่ที่บ่อน้ำคลำ หรือที่บ่อโสโครกข้างประตูบ้าน ด้วยตั้งใจว่า สัตว์ที่อาศัยอยู่ในที่นั้น จงยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้นเถิด ดังนี้"
          "ดูกรวัจฉะ เรากล่าวกรรมซึ่งมีการลาดน้ำล้างภาชนะนั้นเป็นเหตุว่า เป็นที่มาแห่งบุญ จะป่วยกล่าวไปใยถึงในสัตว์มนุษย์เล่า"
          "ดูกรวัจฉะ อีกประการหนึ่ง เราย่อมกล่าวว่า ทานที่ให้แก่ท่านผู้มีศีลมีผลมาก ที่ให้ในคนทุศีล หาเหมือนเช่นนั้นไม่"
        ฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ตามหลักการของพระพุทธศาสนานั้น ไม่ทรงให้รังเกียจการกระทำบุญหรือการอนุเคราะห์ด้วยสิ่งของต่างๆ กับผู้ใด คือ การกระทำความดีย่อมเป็นสากล ไม่เลือกหมู่ชน ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดอยู่ในถิ่นประเทศใดก็ตาม ก็ควรได้รับการช่วยเหลือด้วยกันทั้งนั้น
        เมื่อทำความดี ไม่ว่าทำกับใครก็เป็นบุญเป็นกุศล ควรทำทั้งนั้น เช่นกัน การทำบาป ทำความชั่วร้ายเสียหาย ไม่ว่าทำกับใคร จะเป็นมิตรหรือศัตรู ก็เป็นบาปเช่นเดียวกัน เสมอหน้ากัน ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ หรือพงศ์เผ่าเหล่ากอ นี่ล่ะ คำสอนในพระพุทธศาสนาจึงเป็นสากล เป็นกลางแก่ทุกผู้คนอย่างแท้จริง

นั่งสมาธิ (หลับ) กันหมดแย้ว
        ขอร่วมอนุโมทนาบุญกับทุกท่าน และญาติโยมทุกคนด้วยนะ ที่ได้เข้ามาร่วมกันสนทนาธรรมในวันนี้
ครับผม สาธุครับ
อนุโมทนาบุญด้วยครับ
ขอบพระคุณมากเจ้าค่ะ
กำลังหาหัวข้ออยู่ครับ เเต่ยังไม่เเน่ว่าจะถามดีไหมอ่าครับ
ขอบคุณมากครับ
        หวังว่าทุกท่านจะได้รับความเข้าใจในหลักธรรมยิ่งขึ้น เพื่อความเข้าใจอันดี และสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างถูกต้อง เพื่อผลอันงอกงามไพบูลย์แก่ชีวิตของทุกคนตลอดไป
สุดท้ายนี้ ขอฝากพระพุทธภาษิตไว้ว่า
(๓)
"ทานญฺจ ยุทฺธญฺจ สมานมาหุ"ปราชญ์กล่าวว่าทานกับการรบเสมอกัน

ทานกับรบ?
อรรถาธิบายว่า
คนขลาด เกรงเสียดายทรัพย์มิอาจให้ทาน
        คนขลาด มิแกล้วกล้าอาจหาญ ก็มิอาจออกรบ เช่นกัน
        ท่านจึงกล่าวว่า ทานกับการรบเสมอกัน ต้องอาศัยความกล้าหาญเสมอกัน ต้องอาศัยบุคคลผู้กล้าหาญเสมอ เช่นเดียวกัน

ความกล้าหาญเสมอกันเหรอ แต่กล้าในทางใดอ่ะ พระกล้าให้อยู่แล้ว แต่พระกล้ารบหรือเปล่าอ่ะ
ดู ! แซว
กล้าให้ เสมอด้วย กล้าออกรบ ทีเดียวนะ ไม่ใช่ธรรมดาเลย
และขอเสริมพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ในตอนท้ายพระสูตรว่า


“ก็ทานอันบัณฑิตสรรเสริญแล้วโดยส่วนมากโดยแท้
ก็แต่ธรรมบท(นิพพาน) แหละประเสริฐกว่าทาน
เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลายผู้มีปัญญาในกาลก่อนก็ดี
ในกาลก่อนกว่าก็ดี บรรลุซึ่งนิพพานแล้ว แท้จริง.”


ขออำนวยอวยพรทุกท่าน ขอให้มีความสุข ความสงบเย็นในจิตใจด้วยกันทุกคน
รบกับสิ่งที่ไม่ดีใช่หรือเปล่าครับ
จ๊ะ ถ้ารบกับสิ่งที่ไม่ดีในจิตใจได้ เป็นดีที่สุด
วันจันทร์ก้อถึงวันเกิดนู๋ข้าวแล้วนะค้า อิอิ ยางม่ายรู้ว่าจาเลี้ยงดีอ่ะป่าว says:
สาธุค่า   

ครับ สาธุ   สาธุครับ
ชมสถานีโทรทัศน์เพื่อแผ่นดินที่ //www.asoke.info/earth.html และวิทยุชุมชนปฐมอโศก //www.asoke.info/pacradio.html says:
สาธุ

Minimono says:
สาธุ  
สาธุ
        นมัสการท่านเอกชัย เจริญธรรมกับท่านสมณะบินก้าว และขออนูโมทนาบุญกับญาติโยมทุกๆ คน สำหรับสนทนาธรรมยามบ่ายในวันนี้
ลาจริงๆ ล่ะนะ เจริญพรทุกคน

ครับผม นมัสการครับ
ครับ เจริญธรรมครับ
นมัสการค่าา
...................................................

๑ อง.สตฺต.๒๓/๔๙/๕๔ (ทานสูตร หรือทานมหัปผลสูตร)
๒ องฺ.ติก.๒๑/๔๙๗/๑๕๕ (ชัปปสูตร)
๓ สํ.ส.๑๕/๙๗/๒๔ (สาธุสูตร), สํ.อรรถกถา ๒๔ หน้า ๑๗๗
[คนกลัวความสิ้นเปลือง ย่อมไม่มีการให้
คนขลาดต่อภัย ย่อมไม่มีการยุทธนา คือนักรบสละความอาลัยในชีวิตได้ ก็อาจเข้ารบกันได้
ทายกสละความอาลัยในโภคะเสียได้ ก็อาจบริจาคได้
ด้วยเหตุนั่นแหละ ท่านผู้รู้จึงกล่าวการให้และการรบทั้งสองอย่างนั้นว่ามีสภาพเสมอกัน]




 

Create Date : 17 กันยายน 2550    
Last Update : 19 ตุลาคม 2550 21:26:28 น.
Counter : 203 Pageviews.  

การล่วงละเมิดของรักของผู้อื่น (กาเมสุมิจฉาจาร) 500902

ธรรมะ Onlineบ่ายวันอาทิตย์
เรื่องการล่วงละเมิดของรักของผู้อื่น (กาเมสุมิจฉาจาร)
(เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๐)

เป้ says:
นมัสการท่านปิยะลักษณ์และท่านเอกชัยเจ้าค่ะ

...... says:
นมัสการพระคุณเจ้า และสวัสดีค่ะทุกท่าน

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
เจริญพรทุกคนจ๊ะ

วันนี้สนทนาเรื่องไรกันคะ
พี่ชลมีประเด็นที่อยากคุยหรือเปล่าคะ
อยากคุยเรื่องกรรมค่ะ
คุณชล สนใจ "กรรม" ในด้านไหนล่ะ
มีด้านไหนบ้างคะท่าน
อ๋อ มีเรื่องไหนที่คุณยังติดใจ มีข้อสงสัยอยู่ล่ะ
เอาเป็นว่าด้านของคนที่ผิดศีลข้อ “กาเม” ค่ะ เพราะสังคมทุกวันนี้มีกันเยอะค่ะ
นมัสการท่านปภสฺสโรเจ้าค่ะ
Ven. Upatham says:
เจริญพร
นมัสการพระคุณเจ้าค่ะ
นมัสการ ท่านปภสฺสโร ครับ
สวัสดี
เชิญน้องส้มค่ะ
ส้ม says:
สวัสดีค่ะ

คนเรายังเข้าใจผิดๆ เรื่องกรรมอยู่เยอะเลย
คนส่วนมากที่มีภรรยาน้อยมักบอกว่าเป็นกรรม แต่ทำไมไม่ยอมออกจากกรรมนั้นกันเสียทีคะ
นิมนต์ท่านปภสฺสโร ช่วยตอบคำถามโยมหน่อยครับ เรื่องของกาเมสุมิจฉาจาร
ขอดูก่อนครับ
ที่ว่าเป็นกรรมก็ถูกของเขานะ คือ เขากำลังทำกรรมนั่นเอง คือ ประกอบอกุศลกรรม
อย่างนี้ ถ้าสามีไปมีภรรยาน้อย ต้องอยู่ที่วิธีคิดของภรรยาคนแรก ด้วยใช่ไม๊เจ้าคะ
ไม่ใช่อยู่ที่วิธีคิดของภรรยาหลวง แต่อยู่ที่ความยินยอมต่างหาก หากภรรยาหลวงยินดีหรือยินยอมด้วยใจสมัคร อย่างนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร
คือ ในข้อกาเมสุมิจฉาจาร นี่นะ เป็นข้อที่ว่าด้วยการล่วงละเมิดของรักของหวงของบุคคลอื่น โดยเฉพาะเป็นบุคคล ที่เขาไม่ยินดี ถ้าเขายินดีก็ไม่เข้าลักษณะการล่วงละเมิดนะ ฉะนั้น
จะไม่ผิดศีลข้อ ๓ เลย

ถ้าอยู่ในวัฒนธรรมที่เขายอมรับกัน ก็ถือว่าผิดศีลใช่ไม๊เจ้าคะ
ทำอย่างไร/ มีวิธีไหนถึงจะพ้นจากกรรมนั้นคะ
การพ้นจากกรรม ก็ต้องหยุดทำกรรมนั้นต่อไปสิ ก็จะพ้นจากกรรมไปเอง
พ้นจากกรรม ที่พี่ชลหมายถึง คือ การที่สามีกลับมามีภรรยาคนแรกแค่คนเดียวใช่ไหมคะ
ใช่ค่ะ และท่านคิดว่า การที่ภรรยาน้อยนั้นรถถูกยึด ถือว่าเป็นกรรมที่เอาของที่ไม่ชอบธรรมจากเราไปหรือเปล่าคะ
ที่ถามว่า "เมื่อไรจะพ้นจากกรรม" นั้น ถามว่า เมื่อไรสามีจะพ้นจากการกระทำกรรม(ล่วงละเมิด) ต่อภรรยาหลวง หรือเมื่อไรภรรยาหลวงจะพ้นจากวิบากกรรมที่สามีกระทำต่อเธอล่ะ
ประเด็นที่ว่า รถภรรยาน้อยถูกยึด เนื่องจากสามีไม่สามารถส่งให้ได้ ถือว่าเป็นกรรมที่เค้าเอาเงินที่เราหามาได้ไปใช้ในทางที่ไม่ควรหรือเปล่าคะ
อันนี้ต้องดูที่เหตุปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกันนะ จะชี้ชัดลงไปว่าเป็นวิบากกรรมจากการล่วงละเมิดศีลนั้นยังเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาถึงเหตุปัจจัยอะไรอีกหลายอย่างประกอบกันไป
อ๋อ ค่ะ
คือ ถ้าเราเชื่อมโยมความเป็นไปเป็นมาของสิ่งที่เกิดขึ้นได้ อย่างนี้สิ จึงจะเป็นความเข้าใจเรื่องกรรม คือ การกระทำ และวิบากกรรม คือผลของการกระทำต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ไม่ตีขลุมลงไปทีเดียวว่าเป็นเพราะกรรมนั้นหรือกรรมนี้ ต้องแยกองค์ประกอบของเหตุปัจจัยไปทีละประเด็น ๆ ไป
ค่ะ
เช่นว่า ถูกยึดรถเพราะฟุ่มเฟือยเกินฐานะ หรือ ถูกยึดรถเพราะคำนวณรายรับรายจ่ายไม่ดีเพียงพอ อย่างนี้เป็นต้น หรือแม้แต่เกิดเหตุสุดวิสัยอะไรบางอย่าง ทำให้ชักหน้าไม่ถึงหลัง
อะไรทำนองนี้นะ ก็จะเข้าใจเรื่องของกรรม คือ การกระทำที่ดีหรือไม่ดี ที่ถูกหรือไม่ถูกได้อย่างชัดเจน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งทั้งหลายที่เรากระทำลงไป ก็ล้วนมีรากฐานความคิดการตัดสินใจมาจากจิตใจทั้งสิ้น ฉะนั้น หากบุคคลกระทำสิ่งทั้งหลายด้วยความรอบคอบ และใช้สติปัญญาอย่างเต็มที่แล้ว ก็ย่อมให้ผลที่ดีติดตามมาโดยมาก
ซึ่งในข้อนี้เอง เป็นเหตุให้บุคคลผู้ที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความประมาทขาดสติ ดังเช่น การล่วงละเมิดศีลเป็นอาจิณ ย่อมเป็นเหตุให้ประสิทธิภาพของกระบวนการคิดพิจารณาด้วยความรอบคอบนั้นพลอยเสียไปด้วย จึงเป็นโอกาสหรือเปิดช่องให้แก่ความผิดพลาดต่างๆ นั้นเกิดขึ้นได้ง่าย เช่นว่า ใจร้อนเกินไป หรือต้องการเอาใจใครบางคนหรือบุคคลที่อยู่เฉพาะหน้า เป็นต้น ทำให้ขาดการพิจารณาอย่างแยบคาย ปัญหายุ่งยากต่างๆ จึงติดตามมาได้อย่างมากมายในที่สุด

อย่างนี้ ถ้าเราไม่ประมาทและมีปัญญาพอ รถก็ไม่อาจถูกยึดได้ แม้ว่าเราอาจมีกรรมที่จะทำให้ต้องเสียทรัพย์มาอยู่แล้วใช่ไม๊เจ้าคะ หนีกรรมได้
การกระทำ(กรรม) ด้วยความรอบคอบ ย่อมเป็นกุศลกรรม และให้ผลเป็นความดีเสมอไป ก็ถ้าว่าบุคคลกระทำกรรมที่ดีแล้วไซร้ ผลดีก็ย่อมติดตามมาดังเงาติดตามตัวไป
ดังพระพุทธภาษิตว่า
“มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา.. ฯ”
(๑) เป็นต้น
แปลความว่า
“สิ่งทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จแล้วแต่ใจ
ถ้าบุคคลมีจิตใจผ่องใสดีแล้ว จะพูดก็ตาม จะทำก็ตาม
ความสุขย่อมติดตามบุคคลไป เหมือนดั่งเงาติดตามตนไป ฉะนั้น”
ฉะนั้น ในการที่บุคคลดำเนินชีวิตด้วยสติปัญญา ด้วยความไม่ประมาทครั้งใด ในครั้งนั้น ย่อมเป็นเหตุที่ทำให้บุคคลนั้นละเว้นจากการกระทำความชั่วเสียหาย แต่กลับดำเนินชีวิตไปด้วยสติปัญญาอย่างถูกต้อง ตรงตามแนวทางที่พึงปฏิบัติ
มิใช่ว่า บุคคลที่กระทำกรรมชั่ว อย่างเช่น การล่วงละเมิดศีลเป็นอาจิณนั้น เป็นผู้ไม่ประมาทได้นะ ที่แท้ การกระทำกรรมชั่วนั่นแหละ คือตัวความประมาทที่เกิดขึ้นจากการไม่ได้ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รอบคอบอย่างเพียงพอนั่นเอง
ฉะนั้น หากผู้ใดสามารถดำเนินชีวิตไปได้อย่างถูกต้อง ควบคุมจิตของตนได้ ไม่ปล่อยไปตามอำนาจของกิเลสชักจูงแล้วไซร้ บุคคลนั้นล่ะ จึงจะได้ชื่อว่า "ไม่ประมาท" อย่างแท้จริง

เมื่อเราบอก และเค้าเองก็รับทราบถึงผลของกรรมที่ได้ทำ แต่ยังดื้อที่จะประพฤติอยู่ เราจะทำไงดีกะเค้าคะ
การที่เราตักเตือนเขาแล้ว เขาก็ยังคงกระทำผิดอยู่นั้น ในส่วนหนึ่ง เราต้องเข้าใจว่า ธรรมดาบุคคลที่ถูกกิเลส มีความโลภ เป็นต้น เข้าครอบงำแล้วนั้น ย่อมไม่เห็นอรรถไม่เห็นธรรม ไม่เห็นประโยชน์และสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์โดยแท้จริง
เปรียบเหมือนกับบุคคลกำลังหน้ามืดตามัว ย่อมมองไม่เห็นทางชัดเจน ฉันใด ผู้ที่กำลังตกอยู่ท่ามกลางความนึกคิดที่ถูกกิเลสชักพาไป ก็ฉันนั้น ย่อมไม่อาจที่จะเข้าใจในเหตุผลแม้จะเป็นเรื่องสามัญ ที่ขัดกับความต้องการในใจของเขาได้

ก็คงต้องปล่อยเค้าไปตามการกระทำหรือกรรมของเค้าโดยแท้
ในฐานะที่เราก็เป็นส่วนร่วมในกรรมนั้นด้วย ถูกวิบากกรรมเข้าเบียดเบียนไม่ให้ได้รับความสุข เราจะต้องมีความอดทนที่จะรอคอย ให้เมฆหมอกทั้งหลายนั้นจางคลายไป บางครั้งก็ต้องยอมรับกับความจริง และอดทนรอคอยจนกว่าที่อะไรๆ จะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น หรือจนกว่าเขาจะได้สติกลับคืนมา และหันหน้าเข้าหากัน พูดคุยกันอย่างเข้าใจ
เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้ทบทวนในสิ่งที่เกิดขึ้น พิจารณาตนเอง และพิจารณาความสัมพันธ์ที่มีระหว่างกันว่ามันควรเป็นอย่างไร โดยใช้สติปัญญาอย่างรอบคอบที่สุด

ค่ะ ขอบคุณท่าน ที่ให้ความกระจ่างค่ะ
น.น้ำใจดี (FM89.25Mhz) says:
ใคร ๆ ก็เตือนไม่ได้ หรือว่าต้องให้บุคคลที่เคยนับถือ หรือเป็นคู่แก้กัน จึงจะปรามเขาได้ครับ

ในที่นี้ก่อนที่จะผ่านไป จึงจะขอยกหลักธรรมวินัยขึ้นมาอ้างอิง เพื่อความเข้าใจในเรื่อง "กาเมสุมิจฉาจาร" อย่างสมบูรณ์ ดังนี้ คือ (๒)
คำว่า กาเมสุ แปลว่า ของรัก ได้แก่ การเสพเมถุนธรรม (อันบุคคลหวงแหน)
คำว่า มิจฉาจาร คือ การประพฤติลามกอันบัณฑิตติเตียน ว่าโดยลักษณะได้แก่ เจตนาเป็นเหตุก้าวล่วงฐานะที่ไม่ควรเกี่ยวข้องที่เป็นไปทางกายทวารโดยประสงค์ "อสัทธรรม"
อคมนียฐานะ คือ ฐานะ(หรือบุคคล) ที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง ได้แก่ หญิง(หรือชาย) ๒๐ จำพวก คือ
๑. หญิงที่มารดา ๒. บิดา ๓. มารดาบิดา
๔. พี่ชายน้องชาย ๕. พี่สาวน้องสาว
๖. ญาติ ๗. ตระกูล หรือ ๘. ธรรม รักษา
๙. หญิงที่รับหมั้นแล้ว ๑๐. หญิงที่กฏหมายคุ้มครอง
๑๑. หญิงที่เป็นภรรยามีการซื้อมาด้วยทรัพย์ ดังนี้คือ ภรรยาที่ซื้อไถ่มาด้วยทรัพย์
๑๒. ภรรยาที่อยู่ด้วยความพอใจ
๑๓. ที่อยู่ด้วยโภคะ ๑๔. ที่อยู่ด้วยผ้า
๑๕. ภรรยาที่ทำพิธีรดน้ำ
๑๖. ที่ชายปลงเทริดลงจากศีรษะ(วิธีสมรสอย่างหนึ่ง)
๑๗. ภรรยาที่เป็นทาสีในบ้าน ๑๘. ที่จ้างมาทำงาน
๑๙. ภรรยาที่เป็นเชลย ๒๐. ที่อยู่ด้วยกันครู่หนึ่ง
ทั้ง ๒๐ จำพวกนี้ เรียกว่า อคมนียฐานะ คือ บุคคลที่เราไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะเหตุแห่งการที่เขามีสิทธิโดยชอบที่จะอยู่ร่วมกัน มีความรัก และความหวงแหนต่อกันและกัน
การที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องในความสัมพันธ์ที่เขามีต่อกันนั้น ย่อมนำมาซึ่งความทุกข์ใจ และความเศร้าเสียใจทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายที่ล่วงละเมิดและฝ่ายที่ถูกล่วงละเมิด
ในอรรถกถาได้พรรณนาต่อไปว่า มิจฉาจารนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยเพราะฐานะที่ไม่ควรเกี่ยวข้องหรือล่วงเกินนั้น เว้นจากคุณ(ความดี)มีศีลเป็นต้น ชื่อว่ามีโทษมากเพราะฐานะนั้นถึงพร้อมด้วยคุณ(ความดี)
ในที่นี้หมายถึง ถ้าบุคคลที่ถูกล่วงละเมิดนั้น เป็นผู้ที่มีคุณความดีหรือมีคุณธรรมสูง ย่อมจักเป็นบาปมาก แต่หากบุคคลที่ถูกล่วงละเมิดนั้น ไร้ซึ่งคุณธรรมหรือคุณความดี ย่อมจักมีบาปน้อยลงมา

ที่ว่าบาปน้อยลงมา เพราะว่าความเสียหายเกิดขึ้นแก่เขาน้อยกว่าที่กระทำต่อผู้ที่มีคุณความดี
ใช่ไหมเจ้าคะ

ถูกต้องแล้ว
แต่บาปที่อยู่ที่ใจเรา ก็อยู่ที่เราตั้งใจไว้แรงแค่ไหนด้วย
เชิญน้องกิจค่ะ

กฤษณ์<กิจ>หยุดคือตัวสำเร็จ<สัมมา says:
กราบนมัสการ พระอาจารย์ ครับ

สวัสดีจ๊ะ
องค์ประกอบแห่งการล่วงละเมิดสิกขาบท(ศีล) ในข้อนี้ มี ๔ ประการ คือ
๑. อคมนียวัตถุ วัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง
๒. ตสมึ เสวนจิตฺตํ มีจิตคิดเสพในหญิงนั้น
๓. เสวนปฺปโยโค พยายามเสพ
๔. มคฺเคน มคฺคปฏิปตฺติอธิวาสนํ การยังมรรคให้ถึงมรรค
คำว่า วัตถุไม่ควรเกี่ยวข้อง ก็หมายถึง หญิง(หรือชาย) ๒๐ จำพวกข้างต้นนั้น
คำว่า มีจิตคิดเสพในหญิงนั้น ก็ได้แก่ เจตนาที่จะล่วงละเมิด หรือล่วงเกินกับหญิง(หรือชาย)นั้น โดยหวังหรือปรารถนาอยู่ซึ่งเมถุนธรรม คือ ยินดีในเรื่องชู้สาว
คำว่า พยายามเสพ ก็ได้แก่ การกระทำหรือแสดงออกบางประการ เพื่อให้ความปรารถนานั้นสำเร็จลง เช่น มีการจับมือถือแขน หรือการจ้องมอง เป็นต้น
คำว่า การยังมรรคให้ถึงมรรค ก็หมายถึง การอยู่ร่วมกันแม้เพียงชั่วคราว หรือการยังเมถุนธรรมให้เป็นไปแล้ว คือ สำเร็จการอยู่ร่วมกันแล้ว นั่นเอง
ถ้าครบองค์ประกอบดังกล่าวแล้วข้างต้นทั้ง ๔ ประการ ก็ชื่อว่า การล่วงละเมิด “กาเมสุมิจฉาจาร” เป็นอันสำเร็จ เป็นเหตุให้ศีลขาดทำลายไป มีผลเป็นวิบากแห่งกรรมติดตามตนไป
สามารถนำไปสู่ความเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรกได้
จบล่ะจ๊ะ

ค่ะ ค่ะ
เอ อย่างนี้การดูหนังโป๊เพี่อความสนุกล่ะเจ้าคะ เสพ แต่ไม่เข้าข่ายกาเมสุมิจฉาจารหรือเปล่า
การดูหนังลามก หรือ "หนังโป๊" นั้น ไม่เข้าศีลข้อนี้นะ เพราะไม่มีการเข้าไปล่วงละเมิดต่อบุคคลอื่น เป็นแต่อกุศลจิต ก่อให้เกิดการกระทำอกุศลกรรม (ดูหนังโป๊) ไปตามอำนาจความอยาก ก็จะเป็นการสะสมหรือเพิ่มพูนอนุสัยกิเลสให้มียิ่งขึ้นในขันธสันดาน
ดูหนังโป๊แล้วเกิดอกุศลจิต ก็บาปสิ
อคมนียฐานะ นี่มีรวมถึงสัตว์ด้วยไม๊เจ้าคะ (แล้วกับสัตว์ล่ะเจ้าคะ? )

คุณถามว่า "แล้วกับสัตว์ล่ะเจ้าคะ" ข้อนี้ออกจะแปลกๆ หน่อย หรือออกจะซับซ้อนหน่อยนะ คือ การล่วงละเมิดต่อสัตว์เดรัจฉานนั้น ต้องขึ้นอยู่กับว่าสัตว์เดรัจฉานนั้นรู้สมมติโดยความเป็นผัวเมียกันหรือไม่ ถ้าสัตว์นั้นไม่มีสำนึกนี้อยู่ คือ ไม่รู้ถึงความเป็นเจ้าของ อย่างเช่น แม่-ลูก สามี-ภรรยา เป็นต้น ก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์ ในการล่วงละเมิดต่อสัตว์หรือบุคคลที่มีผู้หวงแหนนั่นเอง (๓)
แต่พระเสพเมถุนนะ นี่คือรวมถึงฆราวาสด้วยใช่ไม๊เจ้าคะ หรือสำหรับพระเท่านั้น เห็นว่าเป็นพระวินัย
อ้าว ก็นี่กำลังพูดถึงเรื่องของคฤหัสถ์นะ เอ ! พระจะไปทำอะไรอย่างนั้นได้อย่างไรล่ะ ถามแปลกจัง
เห็นท่านกล่าวว่า " จึงจะขอยกหลักธรรมวินัยขึ้นมาอ้างอิง" น่ะเจ้าค่ะ
คำว่า “ธรรมวินัย” หมายถึง พระพุทธศาสนา, ชื่อเดิมของ "พระพุทธศาสนา" เรียกว่า "ธรรมวินัย" (๔)
และแค่การจับมือถือแขน มองตา ก็ถือว่าละเมิดขั้นนึงแล้วเหรอ คือ "พยายามเสพ" แล้ว ก็เลยนึกว่าสำหรับพระ
การจับมือก็ตาม มองตากันก็ตาม ถ้าผู้กระทำมีจิตคิดจะเสพ คือ ประกอบอยู่ด้วยอกุศลจิต คือ ความต้องการทางกามารมณ์ อย่างนี้ก็เข้าองค์ประกอบที่ ๒ แล้ว คือ มีจิตคิดเสพ นั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนชายหญิงจูงมือกันข้ามถนน อย่างนี้ไม่มีอกุศลเจตนา ก็ไม่เข้าข้อนี้ แต่ถ้าแกล้งจูงมือข้ามถนนโดยคิดมิดีมิร้าย เช่นว่า ต้องการ "แต๊ะอั๋ง" ล่วงเกินอย่างนี้ ก็เข้าศีลข้อนี้แล้ว เรียกว่า ศีลด่างพร้อย

แล้วถ้าเขาเป็นแฟนกัน แต่ยังไม่แต่ง (ยังไม่ขออนุญาตเจ้าของคือพ่อแม่) ก็ผิดด้วยสิ
ถ้าเป็นแฟนกันต้องดูที่ว่า บิดามารดาอนุญาตหรือยินยอมต่อความสัมพันธ์ระดับนั้นหรือไม่
พ่อแม่อนุญาต
ถ้าพ่อแม่อนุญาต ก็ไม่มีปัญหาอะไร
เช่นว่า ในสังคมนั้นยอมรับหรือเป็นอันรู้ร่วมกันว่า ความสัมพันธ์ในระดับนี้ๆ เป็นที่ยอมรับได้ และพ่อแม่ก็ยินยอมหรือยินดีในความสัมพันธ์ระดับนั้น อย่างนี้ไม่เป็นไร คือ ไม่เข้าองค์ประกอบในข้อที่ ๑ คือ ไม่มีวัตถุหรือบุคคลอันถูกหวงสิทธิ์ไว้ในระดับนั้น หรือสามารถเกี่ยวข้องได้ในระดับนั้น
ดังเช่นในวัฒนธรรมตะวันตกบางประเทศ ยินยอมหรือยินดีให้หนุ่มสาวมี “เดท" กัน ทดลองคบหา หรือแม้อยู่ร่วมกันก่อน เป็นต้น อย่างนี้ก็ไม่เข้าสิกขาบท(ศีล) ข้อ ๓ เพราะขาดองค์ประกอบข้อแรก คือ ไม่มีวัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง

ไม่ผิดกาเมฯ แต่อกุศลจิตเกิด ถ้าคิดจับมือเพราะอยากแต๊ะอั๋ง
การจับไม้จับมือ อย่างที่ได้ยกเป็นตัวอย่างข้างต้นนั้น แน่นอน เราต้องยอมรับว่า เกิดขึ้นจากอกุศลจิต คือ นิวรณ์ ข้อกามฉันทะหรือกามราคะ เข้าครอบงำจิตใจ เป็นเหตุให้แสดงออกเช่นนั้น และหากถึงขั้นมีการล่วงละเมิดเกิดขึ้น ก็เรียกว่า พัฒนาจากนิวรณธรรมที่มีในใจ (ปริยุฏฐานกิเลส) ไปเป็นการแสดงออกด้วยการล่วงละเมิดทางกายหรือวาจา ตามอำนาจกิเลส (วีติกมกิเลส) (๕) นั้นออกมา
อย่างนี้ อคมนียวัตถุ ก็ขึ้นกับสังคมนั้นๆ แล้วสิ่งที่กำหนดไว้อย่างอคมนียฐานะ 20 ข้อนี่ อาจมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสังคม ใช่ไม๊เจ้าคะ
ใช่จ๊ะ อคมนียวัตถุ มีทั้ง ๒ ด้าน คือ
๑ เป็นสิ่งที่พึงรู้ด้วยใจ เช่น ความรู้สึกหวงแหนเฉพาะของบิดามารดาก็มี
๒ เป็นสิ่งที่สังคมกำหนดยอมรับกันขึ้น (เป็นสมมติ) ก็มี
การที่จะไม่ล่วงละเมิดต่อ "อคมนียวัตถุ" ก็พึงปฏิบัติอย่างดีงามตามนัยทั้ง ๒ นี้ ควบคู่กันไป
เช่นว่า กฏหมายแม้จะกำหนดว่า หญิงอายุ ๒๐ ปีสามารถจดทะเบียนสมรสได้เอง เป็นต้น (ข้อที่ ๒) แต่ในทางการปฏิบัติที่เหมาะสม ก็พึงได้รับความเห็นชอบจากบิดามารดาด้วยนั่นเอง (ข้อที่ ๑)
เอาล่ะมั๊งจ๊ะ วันนี้
พอสมควรแล้วกระมัง คงจะได้หลักในการปฏิบัติในเรื่องของกาเมสุมิจฉาจารไปพอสมควร

กราบลาครับพระอาจารย์ และพี่ๆ ทุกคนครับ
ค่ะ ขอบคุณค่ะ
ข้อกาเมฯ นี้ เป็นข้อที่เอาสังคมมาพิจารณาด้วย ใช่ไม๊เจ้าคะ
จ๊ะ ในข้อที่ว่า การใช้มาตราฐานในทางสังคมเข้ามาร่วมตัดสินความถูกผิดด้วยนั้น มิใช่มีเฉพาะแต่สิกขาบท ข้อ ๓ นี้เท่านั้น แม้แต่สิกขาบท ข้อ ๒ คือ อทินนาทาน ก็นำหลักทางสังคมมาตัดสินร่วมด้วยเช่นกัน (๖) เช่น กฏหมายลิขสิทธิ์ เป็นต้น
การยอมรับของสังคม แต่การฆ่า คงไม่นะเจ้าคะ อย่างกฏหมายของบางศาสนา ที่ฆ่าคนได้
ส่วนสิกขาบท ๕ ประการ ในข้ออื่นๆ อีก ๓ ข้อ ไม่ได้นำมาตราฐานทางสังคมมาร่วมพิจารณาด้วย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การพูดเท็จ และการดื่มสุรา เป็นหลักความจริงทางธรรมชาติเพียงฝ่ายเดียว
เจ้าค่ะ
เอาล่ะจ๊ะ ลาจริงๆ ล่ะนะ
ขอบพระคุณมากเจ้าค่ะ
ขออนุโมทนาบุญกับทุกคนด้วย ที่ได้เข้ามาร่วมสนทนาธรรมกันในบ่ายวันนี้ ในที่สุดนี้ จะขอฝากพระพุทธภาษิตไว้ว่า

อิมสฺมึ สติ อิทํ โห ติ
“เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
(๗)
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป”


ทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย
ดับไปเพราะเหตุปัจจัยไม่มี ?
อย่างนี้ ถ้าอยากให้เกิดสิ่งดีๆ ก็ต้องสะสมปัจจัยที่ดีๆ
และอยากให้สิ่งไม่ดีดับ ก็ต้องตัดปัจจัยที่ไม่ดี

และดังคำพระอัสสชิได้กล่าวแก่พระสารีบุตรว่า (๘)

"ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะตรัสสอนอย่างนี้"

เพียงคาถานี้ เป็นเหตุให้พระสารีบุตรบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน
ทุกข์และปัญหาทั้งหลายในชีวิตก็เกิดแต่เหตุ จะดับปัญหาและทุกข์ทั้งปวงได้ ก็ต้องดับที่เหตุเช่นเดียวกัน
ดังพระพุทธองค์ตรัสนั่นล่ะว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี ฯลฯ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ย่อมไม่มี”
ลาล่ะนะ เจริญพรทุกคน

ค่ะ
นมัสการเจ้าค่ะ


...............................................


๑. ขุ.ขุ.๒๕/๑๑/๑๑
๒. ม.มู.๑๒/๔๘๔/๓๖๕, ม.มู.อ.๑๗ หน้า ๕๔๘, อภิ.สํ.อ.๗๕ หน้า ๒๘๙
๓. พึงเทียบเคียงกับพระวินัยบัญญัติ วิ.ม.๑/๑๒๕/๒๕๘, วิ.ม.๑/๑๓๗/๒๖๖, วิ.ม.อ.๒ หน้า ๒๒๑
๔. ที.ม.๑๐/๑๓๒/๑๓๖
๕. ม.มู.๑๒/๕๔๓/๔๑๔, วิ.ม.อ.๑ หน้า ๔๘, อภิ.สํ.อ.๗๕ หน้า ๔๙
๖. ม.มู.อ.๑๗ หน้า ๕๔๗ พึงเทียบเคียงกับพระวินัยบัญญัติ วิ.ม.๑/๘๔-๘๗/๒๔๔-๒๔๕
๗. สํ.นิ.๑๖/๑๔๔/๖๒
๘. วิ.ม.๔/๖๕/๕๗




 

Create Date : 11 กันยายน 2550    
Last Update : 11 กันยายน 2550 20:07:11 น.
Counter : 604 Pageviews.  

การทานเนื้อสัตว์บาปหรือไม่ 500819

ธรรมะOnlineบ่ายวันอาทิตย์ เรื่องเกร็ดความรู้จากมงคลสูตร และการทานเนื้อสัตว์บาปหรือไม่
(เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๐)

เป้ says:
นมัสการท่านปิยะลักษณ์เจ้าค่ะ

Annie says:
นมัสการค่ะ

กฤษณ์<กิจ>หยุดคือตัวสำเร็จ<สัมมา อะระหัง> says:
นมัสการครับ พระอาจารย์

('oo' ) says:
นมัสการพระอาจารย์ครับ
...... says:
นมัสการค่ะ

ไร้ความคิด ไร้ตัวตน ไร้หัวใจ...จะดีไหมนะ says:
โห คนเยอะจังครับ สวัสดีครับทุกๆ ท่าน

น.น้ำใจดี (FM89.25Mhz) says:
นมัสการพระอาจารย์ปิฯ ครับ

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
เจริญพรจ๊ะ ทุกคน

She's all ThatOnly  says:
สวัสดีทุกคนครับ นมัสการพระคุณเจ้า

มงคล 38 มีไรบ้างคะ ดีอย่างไร
ขอเชิญท่านปิยะลักษณ์ช่วยตอบครับ
ขอส่งเว็บ มงคลสูตร  38 ประการ เพื่อบางท่านอาจจะยังไม่เคยอ่านครับ
//larnbuddhism.net/milintapanha/mongkol38/

//mongkhol.cjb.net/
อ๋อ มงคลชีวิต 38 ประการหรอครับวันนี้ สวัสดีครับทุกๆ ท่าน กระผมเพิ่งมาวันนี้เป็นวันเเรก
ฝากตัวด้วยนะครับ นมัสการพระอาจารย์ครับ

ผมเช่นกันครับ ฝากตัวด้วยครับพี่ๆ
มงคล แปลว่า สิ่งที่นำชีวิตไปสู่ความเจริญ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แก่เทวดาผู้เข้ามาทูลถามปัญหา เมื่อครั้งประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน (๑)
มลคลชีวิตนี่ข้อใดสำคัญที่สุดหรอครับพระอาจารย์
ทุกข้อละครับ
โห ขนาดนั้นเลยหรอครับ ขาดไม่ได้เลยสักข้อเลยหรือครับ
ข้อที่ใกล้ตัวที่สุดจะเป็นข้อแรกๆ ไล่ลำดับขึ้นไป จนถึงข้อที่ลึกซึ้งขึ้นโดยลำดับเป็นข้อท้ายๆ
คือเราควรปฏิบัติไล่มาจากข้อแรก ไปข้อสุดท้ายใช่ไหมครับ
มงคล 38 ดีทุกข้อ ต่างจากการถือศีล 8 + ศีลห้าอย่างไรคะ รบกวนท่านผู้รู้ให้ความกระจ่างด้วยค่ะ
ศีลนี่น่าจะเป็นรักษาความปกติ แต่มงคลชีวิตก็คงจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราดียิ่งๆๆ ขึ้น น่าจะเป็นอย่างนี้ใช่ไหมครับ
ในมงคล ๓๘ ประการ ก็มีทั้งส่วนของศีล สมาธิ และปัญญา ประกอบไปด้วยกัน
ครับพระอาจารย์ มีทั้งหมวดที่ใช้ฝึกฝนตนเอง เเละหมวดที่เป็นข้อปฏิบัติในการเตรียมตัวที่จะฝึกฝนตนเองด้วยครับ
แสดงว่า ก้อครอบคลุมกว่าศีล ใช่มั้ยคะ
จ๊ะ มงคล ๓๘ ประกอบครอบคลุมทั้งหมด ทั้งด้านศีล สมาธิ และปัญญา
ในมงคล ข้อ ๑๙. อาระตี วิระตี ปาปา : งดเว้นบาป (ความชั่ว) น่าจะหมายถึงศีลนะครับ (ในความคิดของผมเอง)
จ๊ะ อย่างเช่น 
ข้อ ๙ วินโย จ สุสิกฺขิโต มีวินัยดี
ข้อ ๑๘ อนวชฺชานิ กมฺมานิ กระทำการที่ไม่มีโทษ
ข้อ ๑๙ อารตี วิรตี ปาปา เว้นจากความชั่วทั้งปวง
ข้อ ๒๐ มชฺชปานา จ สญฺญโม เว้นจากการดื่มน้ำเมา
เหล่านี้ล้วนแต่เป็นคุณธรรมในขั้นศีลทั้งสิ้น

เอ่อ บาปนี้อยู่ในอกุศลกรรมบท ๑๐ ครับ มีฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ คิดโลภมาก เเละมีความเห็นผิดครับ
มงคลสูตร ข้อ ๒๑. อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ : ไม่ประมาทในพระธรรม มีความหมายว่าอย่างไรครับ
ก็หมายถึง การอยู่อย่างไม่ประมาทนั่นล่ะ คำว่า “ไม่ประมาทในธรรม” ก็หมายถึง ไม่ประมาทในธรรมทั้งปวง หรือไม่ประมาทต่อการเจริญกุศลธรรมทั้งปวง
คือ ไม่ประมาทว่าเรารู้ดีแล้วเช่นนั้นหรือครับ หรือว่าไม่ประมาทว่าเรายังมีชีวิตอีกยาวนาน
ที่ว่าไม่ประมาทในธรรม คำว่า “ในธรรม” นั้นหมายถึง ในกุศลธรรมทั้งปวง (๒) คือ ไม่ประมาทละเลยต่อการกระทำคุณงามความดีนั่นเอง หรือโดยความหมายกว้างๆ คำว่า “ธรรม” ก็หมายถึง กิจหน้าที่ทั้งปวงที่เรามีอยู่ เรามีธรรมอย่างไรในขณะนั้น ก็พึงปฏิบัติให้ถูกต้องตามธรรมนั้น เช่น เราปฏิบัติธรรมของบุตรธิดา ธรรมของประชาชน ธรรมของชาวพุทธ เป็นต้น
กระจ่างชัดเจนมากครับ ขอบคุณครับ
มงคลสูตรข้อ ๗. พาหุสัจจัญ จะ : มีความรู้ (พหูสุต) หมายถึงความรู้ทางธรรมะอย่างเดียว หรือว่าทางโลกด้วยครับ

พาหุสัจจะ หมายถึง ความเป็นผู้รอบรู้ในธรรมทุกประการ เรียกว่า ฟังมาก ศึกษามาก
เอ...เเล้วหิริเเละโอตัปปะนี้ หากทำได้เเล้ว จะต้องกลัวในการประพฤติปฏิบัติธรรมอีกหรือไม่ครับ
หิริโอตตัปปะ เป็นคุณสมบัติหรือคุณธรรมที่มีอยู่ในใจ ซึ่งเมื่อมีขึ้นในขณะใดแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้ทำความดี ละวางความชั่วทั้งปวง
เเล้วหากเราบกพร่องในศีลโดยไม่ได้ตั้งใจนี้ถือว่าบาปหรือไม่ขอรับ
บาปนิดนึงครับ
นิดนึงในที่นี้คืออะไรหรอครับ ผมไม่ค่อยเข้าอ่าครับ
ก็เสียใจหรือเศร้าหมองใจครับ
เอ่อ ยกตัวอย่างเช่น นอนๆ อยู่ดันเอี้ยวตัวไปทับมดตาย 1 ตัว อย่างนี้ถือว่าบาปหรือไม่ครับ
ผมว่าน่าจะเป็นวิบากกรรมมากกว่าใช่ไหมครับท่าน
ไม่บาปครับ แต่จิตเศร้าหมอง และเป็นกรรมของผู้ตายครับ
ถ้าเราไม่มีเจตนาในการทำกรรมนั้น เช่น ไม่มีเจตนาที่จะกระทำต่อมดนั้น ก็ไม่มีบาป
เเสดงว่านั่นเป็นกรรมเก่าของมดตัวนั้นใช่ไหมครับ
จ๊ะ การที่มดตายโดยที่เราไม่มีเจตนาทำร้ายนั้น เป็นวิบากกรรมของมดนั้นเอง
ถ้าขับรถชนคนตาย โดยไม่ได้เจตนาล่ะคะ
ถ้าตั้งใจก็ขาดครับ แล้วก็กรรมของผู้ตายด้วยครับ
การขับรถชนคน บางครั้งแม้ไม่มีเจตนาจะชนเขา แต่ก็ขึ้นอยู่กับเจตนาในการขับนั้นด้วยว่า มีเจตนาขับด้วยความประมาทหรือไม่ ถ้ามีเจตนาขับด้วยความประมาท นั่นก็เป็นกรรมที่เกิดจากอกุศลเจตนา อันมีมูลฐานมาจากโมหะ(ความหลง) ก็เป็นบาปเหมือนกัน
อย่างการสนับสนุน หรือเฉยเมยต่อการทำผิดของคนล่ะเจ้าคะ เช่น คิด บอกให้เขาทำผิดศีล
วาจาทุจริต
เอ อย่างนี้บาปนี่ครับ
การบอกพูดให้ผู้อื่นกระทำนั้น กระผมว่ามันก็ไม่เเตกต่างจากการที่เราได้กระทำเองเลย เช่น การที่โรงงานสุราผลิตน้ำเมาออกมาเพื่อให้ประชาชนดื่มกันอยู่ทั่วไปครับ

ศีลข้อไหนที่คนมักผิดกันมากคะ
1 และ 3 ครับ   4 ด้วย
อ๋อ ถ้าเช่นนั้นกระผมว่าอยู่ที่จริตของเเต่ละคนครับ
ศีลข้อไหนที่ประพฤติแล้วผิดมากคะ
หมายถึงมีความผิดสูงสุดเหรอครับ
บาปที่สุด นี่คือผลกระทบรุนแรงสุดหรือเปล่าคะ
5 ครับ
ช่ายครับข้อ 5 นี่เเรงสุดครับ เพราะผิดข้อเดียวมีโอกาสผิดได้อีก 4 ข้อที่เหลือเลยครับ เพราะน้ำเมาทำให้ขาดสติเเละเมื่อขาดสติที่พึงระลึกได้เเล้วไซร้ นั่นเองจะนำไปสู่ความประมาท เเละความประมาทนี้เองจะนำความหายนะมาสู่ตนเองครับ
ค่ะ
ครับ
แหม คุณอุ้ยตอบได้เก่งจัง
ไม่หรอกครับพระอาจารย์ ความรู้เมื่อไปบวชมาน่ะครับ
ดิฉันว่าในยุคนี้คนมักผิดข้อ 3 กัน ซึ่งผิดแล้วทำให้ล่วงละเมิดข้ออื่นๆ ด้วยค่ะ


..................................................


แล้วการซื้อของโจร หรือของๆ ผู้ทำผิดศีล เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เราจะบาปไม๊เจ้าคะ
ต้องดูที่ว่าเรารู้หรือไม่ว่าเขาไปกระทำผิดนั้นเพื่อนำมาให้เราครับ
ก็ฆ่ามาให้เราซื้อกินน่ะค่ะ
เช่นเเม่ค้าขายหมูที่ตลาดน่ะเหรอครับ
ค่ะ
อันนี้เขาไม่ได้เจตนาฆ่ามาให้เรานี่ครับ เขาฆ่าเพื่อขายให้คนที่เข้าไปซื้อ ซึ่งเเน่นอนว่าไม่ใช่เป็นการเจาะจงว่าฆ่ามาเพื่อให้เรารับประทานโดยตรง หากเราไม่ซื้อคนอื่นๆ ก็ซื้อ ดังนั้น การที่เราซื้อเนื้อหมูหรือเนื้อสัตว์นั้นจึงไม่ถือว่าผิดครับ เพราะเราไม่ได้ซื้อเพราะเขาฆ่าให้เรา เเต่เราซื้อเพื่อยังชีวิตหรือขันธ์ของเราเพื่อกระทำความดีอีกต่อไปในภายภาคเบื้องหน้าครับ
คือหนับหนุนการฆ่าอย่างเป็นทางการ
ไม่ได้สนับสนุนครับ
แสดงว่ารูปนี้ต้องอยู่ด้วยชีวิตผู้อื่น?
บางครั้งนะครับ การที่เราซื้อเนื้อจากคนขาย บางครั้งเนื้อนั้นอาจจะเป็นเนื้อที่ตายก่อนที่จะถูกฆ่าเเล้วก็ได้ ดังนั้น การยังชีวิตอยู่ในสังสารวัฏนี้จึงเป็นเช่นนี้ครับ ดังเช่นการบริโภคเนื้อที่ตายเเล้วเราไม่ได้ฆ่าเเต่มันตายอยู่ก่อนเเล้ว ท่านว่าผิดไหม
การยังชีวิตอยู่ในสังสารวัฏนี้จึงเป็นเช่นนี้? ว่าไปแล้ว เขียงหมู คงไม่เอาหมูตายมาเท่าไหร่หรอกค่ะ
ผมคงใช้คำพูดที่ฟังดูกำกวมสักนิด ต้องขออภัยด้วยครับ
ที่ผมเคยคุยกับอานะครับถึงเรื่องนี้ ผมว่าไม่ผิดครับ เพราะการที่เราจะกินยังชีพนั้นเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา
แต่อย่ายอมรับกันนะคะ ว่าสัตว์ที่เกิดมาเพื่อให้เรากินน่ะ
ครับ ช่ายครับเขาไม่ได้เกิดมาให้เรากินนา
เป้ว่าประเด็นอยู่ที่จิตขณะนั้นนะ เราไม่ได้ฆ่า เราไม่ผิดศีลข้อ 1  แต่จิตเรายังมีความโลภ ที่จะเสพรสของเนื้อสัตว์อยู่
พ่อค้าที่เขาฆ่าหมูนั้น เพราะเขารู้ว่าเนื้อหมูวัยหนุ่มๆ มันอร่อย จึงฆ่ามาเพื่อให้ได้ราคานั่นเองครับ การที่เราซื้อมานั้นจึงไม่เป็นบาป ถ้าเราพิจารณาว่าอาหารนั้นกินเพื่อยังชีพ หรือไม่ได้กินเพื่อความเพลิน
ถ้าเราพิจารณาว่ากินเพื่อยังชีพ เราก็จะกินแต่ของที่ตายแล้ว เพราะเราไม่ได้กินเพื่อความอร่อย เพราะอย่างงั้นผมว่าไม่ผิดหรอกครับพี่ ผมเคยได้ฟังพระอาจารย์ท่านเล่าให้ฟังว่า
ถ้าจะกินแต่เนื้อที่มีความอร่อยเราก็จะกินแต่ของที่ยังไม่ตาย

แต่เมื่อกี้คือกรณีที่เราเป็นผู้ซื้อเนื้อ  ไม่ใช่ตอนนั่งทาน คนละเวลากัน
ครับ ถ้าซื้อไม่บาปครับ แต่เป็นวิบากของหมูและพ่อค้า
บาป จะเกิดขึ้น เมื่อเราละเมิดศีล 5 เท่านั้นเหรอคะ
กระผมได้กล่าวไปเเล้วในข้างต้นว่า การที่เราซื้อนั้นเราไปซื้อซากครับ ไม่ได้ไปซื้อมาเพื่อฆ่าครับ เพราะงั้น หากไม่มีซากเราก็ไม่ซื้อไงครับ
ใช่ครับ แต่ศีลคือปกติทางกายและวาจา
ทั้งนี้ทั้งหมดอยู่ที่จิตเเละเหตุเเห่งการกระทำครับ ดังที่ว่า “กรรมใดเกิดเเต่เหตุ” ครับ
สนับสนุนการฆ่าอย่างเป็นทางการ
ผมไม่ได้บอกให้ซื้อเนื้อที่เขาฆ่านะครับ เเต่ผมให้ซื้อซากตะหาก เเละการที่เราซื้อซากนั้นบาปหรือ
ท่านปิเจ้าคะ บาปเกิดขึ้นต่อเมื่ออะไรเหรอเจ้าคะ เอาโดยสภาวะจิตเลย
จิตมีกิเลสเช่นโทสะก็เป็นบาปใช่มั้ยเคะ
ฟังพระอาจารย์เเถลงดีกว่าครับผมว่า
การเป็นบาปหรือไม่ ดูที่เจตนาในการกระทำ ว่ามีเจตนากระทำอะไรลงไป (๓) เช่น เจตนาในการซื้ออาหาร เจตนาในการฟังธรรม เจตนาในการดื่มสุรา เป็นต้น เหล่านี้ล้วนแต่เป็นกรรม (การกระทำที่มีความตั้งใจ) ในขณะนั้น
การซื้อเนื้อสัตว์มารับประทาน ก็เป็นเจตนาในการซื้ออาหาร เป็นกรรม คือ เป็นการซื้ออาหารด้วยความตั้งใจนั่นเอง

กระจ่างเลยครับสำหรับผมนะ (คำว่าเจตนาคำเดียวนี่เเหละ)
สำหรับการรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์ประกอบนั้น ตัวเจตนาในการรับประทานเป็นสิ่งที่สำคัญ ว่าเรารับประทานด้วยเจตนาที่ประกอบด้วย "โลภะ" ความติดใจในรสเนื้อนั้นหรือไม่ ถ้ารับประทานเนื้อสัตว์นั้น เพราะติดใจในรสเนื้อสัตว์ ก็เป็น "กรรม" คือ การกระทำ (หรือการรับประทาน) ด้วยอกุศลจิต คือโลภะนั่นเอง
โดยไม่สำคัญว่าจะรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์หรือไม่ แม้จะทานมังสวิรัติ ทานเจ หรือทานเนื้อสัตว์ ถ้ามีเจตนาในระหว่างการรับประทานด้วยความโลภ ก็ล้วนแต่เป็น "อกุศลกรรม" ด้วยกันทั้งนั้น

อาหย่อย ! ปัญหาที่ตามมาคืออะไรเจ้าคะ เราละไม่ได้ ต้องเสพต่อโดยอ้างสารพัดว่าเป็นธรรม
ฉันใดก็ฉันนั้น แม้จะรับประทานเนื้อสัตว์ก็ตาม เจก็ตาม มังสวิรัติก็ตาม ถ้ารับประทานด้วยใจที่สงบ ไม่ประกอบด้วยความโลภในอาหาร รับประทานด้วยสติสัมปชัญญะ ก็ถือว่า เป็นเจตนาในการรับประทานด้วยกุศล เรียกว่า กำลังเจริญกุศลอยู่ในขณะนั้น
ครับ
โหยกระจ่างเลยครับ สรุปคืออยู่ที่เจตนาใช่หรือไม่ขอรับ
อ๋อ
จะขอยกพระพุทธภาษิตที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ใน “ชีวกสูตร” (๔) มาแสดงเพื่อประกอบความเข้าใจดังนี้ คือ
[๕๘] ดูก่อนชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เธอมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไปในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี เขาไปหาเธอแล้วนิมนต์ด้วยภัต เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น ดูก่อนชีวก เมื่อภิกษุหวังอยู่ ก็รับนิมนต์
พอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ภิกษุนั้นนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี แล้วนั่งลงบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ คฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดีนั้น อังคาสเธอด้วยบิณฑบาตอันประณีต ความดำริว่าดีหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้ อังคาสเราอยู่ด้วยบิณฑบาตอันประณีตดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เธอ แม้ความดำริว่า โอหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้พึงอังคาสเราด้วยบิณฑบาตอันประณีตเช่นนี้ แม้ต่อไป ดังนี้ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอไม่กำหนัด ไม่สยบ ไม่รีบกลืนบิณฑบาตนั้น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องถอนตน บริโภคอยู่
ดูก่อนชีวก ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนว่า ในสมัยนั้น ภิกษุนั้นย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย บ้างหรือ.
ไม่เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
ดูก่อนชีวก สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษมิใช่หรือ.
        อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า พรหมมีปรกติอยู่ด้วยเมตตา คำนั้นเป็นแต่ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมา คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นองค์พยานปรากฏแล้ว ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีปรกติอยู่ด้วยเมตตา.

..................................................

“”และจะขอยกพระพุทธภาษิตในตอนท้ายที่ทรงตรัสถึงโทษในการฆ่าสัตว์ทำบุญ เพื่อประกอบความเข้าใจ ดังนี้ คือ
การฆ่าสัตว์ทำบุญได้บาปด้วยเหตุ  ๕  ประการ (๕)
      [๖๐] ดูก่อนชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ 
      ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา ดังนี้ชื่อว่าย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๑ นี้
      สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้เสวยทุกข์โทมนัส ชื่อว่า ย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่  ๒ นี้.
      ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ ชื่อว่าย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๓ นี้
        สัตว์นั้นเมื่อเขากำลังฆ่า ย่อมเสวยทุกข์โทมนัส ชื่อว่าย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๔ นี้. 
      ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อเป็นอกัปปิยะ(เนื้อที่ไม่สมควรฉัน) ชื่อว่าย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๕ นี้.
      ดูก่อนชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคตหรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมากด้วยเหตุ ๕ ประการนี้.


..................................................

ชีวิต ใครๆ ก็รักนะ
นั่นสินะ
เนื้อสัตว์นั้น แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท (๖) คือ
๑.อุททิสสมังสะ แปลว่า เนื้อเจาะจง
๒.ปวัตตมังสะ แปลว่า เนื้อมีอยู่แล้ว
ทรงตรัสไว้ในพระวินัยปิฎกว่า "ภิกษุใดรู้อยู่ ไม่พึงฉันเนื้อที่เขาทำจำเพาะ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ"
(๗)
เเหง่ะ พระวินัยนี่นา
ถ้าเสพเนื้อ ๒ แบบนี้ มีผลต่างกันอย่างไรเจ้าคะ
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "ปลาและเนื้อเป็นของบริสุทธิ์(ในการรับประทาน) ด้วยอาการ ๓ อย่าง (๘) คือ  
๑. ไม่ได้เห็นว่าเขาฆ่ามาเพื่อตน  
๒. ไม่ได้ยินว่าเขาฆ่ามาเพื่อตน และ
๓. ไม่ได้รังเกียจ คือ มิได้สงสัยว่าเขาฆ่ามาเพื่อให้ตนรับประทาน

นั่นคือในมุมของผู้รับประทานด้วยความสำรวม เน้น ด้วยความสำรวม
สรุปคือไม่ทราบว่าเขาฆ่ามาเพื่อตนใช่ไหมครับ จึงไม่ถือว่าเจาะจง
คำว่า อุททิสสมังสะ แปลว่า เนื้อที่เขาเจาะจงฆ่าเพื่อให้เรารับประทาน เช่น ล้มวัวหรือฆ่าไก่เพื่อถวายพระ อย่างนี้เป็นต้น อันนี้พระพุทธเจ้าทรงห้ามภิกษุฉัน เพราะเป็นปัจจัยแห่งการฆ่าโดยตรง
ส่วนคำว่า ปวัตตมังสะ แปลว่า เนื้อที่เขาฆ่าไว้อยู่แล้ว สัตว์ที่ตายแล้ว หรือเป็นสิ่งที่เขาทำไว้อยู่ก่อนแล้ว เป็นเนื่อที่เขามีไว้เพื่อรับประทานเป็นปกติ หรือมีไว้ขายเป็นปกติ เช่น เนื้อสัตว์ที่วางขายตามท้องตลาด เป็นต้น อันนี้พระพุทธเจ้าไม่ทรงห้ามภิกษุฉันเนื้อประเภทนี้ เพราะไม่ใช่เป็นปัจจัยแห่งการฆ่านั้น (คือเขาฆ่าไว้อยู่ก่อนแล้ว)

ออ งั้นผมก็คงเข้าถูกละ
แต่พระถูกนิมนต์ไปแล้วก็ต้องฉันค่ะ (แม้จะเป็นเนื้อที่เขาเจาะจงฆ่า)
ท่านสามารถปฏิเสธได้นะ ถ้าใจเด็ดพอ ว่าไม่กลัวอดมื้อเพล
เอ...การนิมนต์สามารถปฏิเสธได้ด้วยหรือขอรับ ขอท่านพระอาจารย์โปรดให้ความกระจ่างเเด่พวกเราด้วยเถิดขอรับ
พระไม่สามารถขัดนิมนต์ได้ แม้งานนั้นฆ่าวัวเพื่อให้พระฉันหรือเปล่าเจ้าคะ
การนิมนต์พระเพื่อไปฉันภัตตาหาร หรือนิมนต์พระเพื่อไปในกิจทั้งปวงนั้น เป็นสิ่งที่พระภิกษุจะรับหรือปฏิเสธก็ได้ ตามแต่ท่านจะอนุเคราะห์ หรือตามแต่ท่านจะสะดวก ไม่ผิดพระวินัย แต่โดยมาก พระก็จะรักษาศรัทธาของญาติโยมเสมอนั่นล่ะ ถ้าไม่ติดขัดอะไร
อ๋อ เข้าใจละ ถ้างั้นการที่นิมนต์ในข้างต้น เเม้พระจะไปก็ไม่อาบัตินี่นา เพราะการที่เขาล้มวัวแม้จะล้มจริง เเต่ไม่ได้เจตนาให้พระภิกษุฉันทั้งหมด รวมถึงพระท่านเองก็ไม่ได้ทราบว่าเขาล้มวัวเพื่อให้ท่านฉัน ดังนั้นจึงน่าจะไม่ผิดใช่หรือไม่ขอรับ
อย่างที่คุณอุ้ยบอก การฆ่าวัวนั้น ถือว่าเป็นการฆ่าให้พระฉันด้วยหรือเปล่าเจ้าคะ
ในการล้มวัวเพื่อเลี้ยงแขกหรือเพื่องานฉลองในพิธีการนั้นๆ พระภิกษุรับนิมนต์ไปฉันในพิธีการนั้นๆ ได้ ไม่มีโทษ (๙) (เพราะเขาไม่ได้เจาะจงทำเพื่อให้พระฉัน) เว้นแต่ถ้าเราแน่แก่ใจว่าเขาล้มวัวเพื่อทำบุญหรือให้เราฉันโดยเฉพาะ อย่างนี้ฉันไม่ได้
เอ เเต่หากภิกษุไม่รู้ล่ะครับ
ถ้าไม่รู้ไม่เป็นไร
กรณีที่ไปตลาด ชี้จะซื้อปลาตัวนี้ ให้แม่ค้าทำให้นี่ ถือว่าเจาะจงป่าวคะ
ถ้าเราชี้ลงไปว่า จะเอาปลาตัวนี้ๆ อย่างนี้ถือว่ามีเจตนาร่วมในการฆ่านะ เพราะมีเจตนาชี้ลงไปยังสัตว์นั้นว่า ต้องการให้สัตว์นั้นตาย
เอ ผมว่าเราจะมาไกลเกินมงคลชีวิตเเล้วนา เริ่มเข้าวินัยสงฆ์ละ !
แต่ก็กระทบวินัยเราด้วยเน้อ เราก็เป็นผู้อำนวยให้ท่านปฏิบัติได้อย่างถูก ฉะนั้นเราต้องรู้
เเต่ส่วนตัวนะครับ ผมว่าสำหรับตัวเราเองกิจใดๆ ของฆราวาสนั้น อย่างไรก็ไม่ลำบากเท่ากับสงฆ์หรอกครับ (เเต่อย่างไรผมก็ชอบเพศภาวะภิกษุมากกว่า อ่านะ)
พระอาจารย์ครับ ถ้าได้รับมอบหมายจากเจ้านายละครับโดยที่ท่านว่าให้เราไปซื้อปลาเป็นๆๆ น่ะครับ แล้วลูกน้องจะบาปไหมครับ
ถ้าเจ้านายใช้ให้เราไปซื้อปลาเป็นๆ แล้วเราจำเป็นต้องไป เราก็ไม่ควรชี้ลงไปยังปลาตัวใดตัวหนึ่ง (เพื่อการสั่งฆ่า) เราควรเพียงบอกว่า ต้องการปลาเท่าไร หรือกี่กิโลกรัมเท่านั้น การเลือกปลาที่จะถูกฆ่า (เตรียมการฆ่า และการตั้งเจตนาในการฆ่า) รวมถึงการฆ่า เป็นส่วนที่แม่ค้าพึงกระทำเองโดยหน้าที่ของแม่ค้านั้น ซึ่งเขาเลือกอาชีพการฆ่านั้นไว้ก่อนแล้ว
แต่ถึงอย่างไรก็พึงทราบว่า การที่สัตว์นั้นยังเป็นอยู่ แล้วเราไปซื้อสัตว์นั้น เป็นเหตุให้สัตว์นั้นต้องตาย (แม้เราจะไม่ใช่ผู้ชี้ให้ฆ่าก็ตาม) เนิ้อนั้นก็เป็นอกัปปิยมังสะ คือ เนื้อที่ไม่สมควรรับประทานเช่นเดียวกัน รวมทั้งผู้ซื้อก็เป็นบาปด้วย

เอ...อย่างนั้นเเล้วเพรชฆาตล่ะครับ ฆ่าเพราะหน้าที่อ่ะ
คนเราเลือกได้
บางครั้งก็เลือกไม่ได้ครับ
เลือกได้สิเจ้าคะ
ไม่ได้เสมอไปหรอกครับ...อยู่ที่กรรมนำพา
อาชีพที่ต้องมีการฆ่า เช่น เพชรฆาต เป็นต้น ก็เป็นอาชีพที่เป็นบาป เรียกว่า “มิจฉาอาชีวะ”
ว่าละเชียว น่าสงสารจัง
ก็กรรมนำพานี่ล่ะ ที่ทำให้เลือกได้
คนเรามีโอกาสที่จะเลือกอาชีพได้นะ ขึ้นอยู่กับเราว่าจะประกอบอาชีพนั้นหรือไม่
อย่างบางคน อาตมาเคยได้ยินเขาว่า ที่บ้านเขาเป็นประมง ฉะนั้น เขาก็ต้องทำอาชีพนั้นต่อไปเลือกไม่ได้ อันนี้เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะหากเราไม่ต้องการ ก็ควรเปลี่ยนอาชีพเสีย หรือขายกิจการนั้นไป

ดวงใจยังรักเธอ says:
นมัสการ พระอาจารย์ครับ

นั่นคือต้องใช้ความพยายามอย่างมากระดับหนึ่ง เมื่อสามารถทำได้แล้ว เราก็จะมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มขึ้น
อ่าว เเล้วขายกิจการนั้นต่อไม่บาปหรือครับ เพราะผมว่าไม่ต่างจากการขายมิจฉาอาชีวะเลยนะครับ เเล้วเเบบนี้จะดีหรือครับ
อย่างที่คุณอุ้ยพูดก็ถูกต้อง, พระพุทธองค์ตรัสถึง "มิจฉาวณิชชา" อาชีพค้าขายที่ชาวพุทธไม่ควรกระทำไว้ ๕ ประการ (๑๐) คิอ
๑. การค้าขายศัสตรา อาวุธ
๒. การค้าขายสัตว์(มนุษย์) เช่น ค้าทาส
๓. การค้าขายเนื้อสัตว์(ขายสัตว์เป็นๆ เพื่อเป็นอาหาร)
๔. การค้าขายน้ำเมา(สุราเมรัย)
๕. การค้าขายยาพิษ
การขายอุปกรณ์ในการทำประมงบางประเภท เช่น แห อวน สมอ เหล่านี้ก็ไม่ควรกระทำ ถือว่าเป็นบาป คือเข้าในความหมายของการขายศัสตรา อาวุธนั่นเอง

ขอรับพระอาจารย์
โห แล้วถ้าขายสารเคมีที่ทำให้เกิดคุณเกิดโทษได้ แต่คนซื้อเอาไปทำให้เกิดโทษล่ะเจ้าคะ
อันนั้นเป็นส่วนของบุคคลนั้น ที่นำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง เช่น ยาฆ่าหญ้า หรือยาฆ่าวัชพืช บุคคลซื้อไปใช้เป็นยาพิษ เช่นนี้บาปก็ย่อมตกแก่ผู้กระทำนั้น ไม่เป็นบาปแก่ผู้ขาย
แต่การล่าปลามานั้น ปลาเป็นอาหารของมนุษย์ ผมว่าก็ไม่ใช่บาปที่มากมายนี่ครับ
สัตว์ไม่ได้เกิดมาเพื่อให้คนกินค่ะ นั่นเป็นความเชื่อของชาวตะวันตก ซึ่งสืบมาจากคริสต์อีกทีนึง
งั้นคนก็ไม่ต้องทานอาหารประเภทที่มีส่วนประกอบของสัตว์ซิครับ หรือเราจะบริโภคได้แต่สัตว์ที่เสียชีวิตโดยธรรมชาติ
ตรงนี้ล่ะ  ถ้าทำได้ ก็ gain level
คำว่า หิริโอตตัปปะ ไม่น่าเชื่อเลยนะครับ คุยไปคุยมาจะยาวได้ถึงขนาดนี้ เเบบนี้ 38 ข้อคงจะยากมากๆ เเน่ๆ เลย
ถ้าได้คุยเรื่องกุศลกรรมบถ 10 คงสนุกแน่ๆเลยค่ะ มีข้อให้ขบคิดอีกเยอะ
*หิริโอตัปปะอยู่นหัวข้อย่อยของมงคลที่ 19 ครับ เหอๆ จะ 17.00 ละ
วันนี้คงพอแค่นี้ก่อนไม๊คะ
ครับผมก็ว่าเดี๋ยวพระอาจารย์คงจะต้องไปทำวัตรเย็นเเล้วกระมัง
ท่านปิเจ้าคะ กราบขอบพระคุณมากเจ้าค่ะ
ขออโมทนากับทุกๆ คนเลยนะครับ สาธุ  ดีจังเลยมีคนมาเยอะๆ ธรรมะจะได้กระจายไปทั่วทุกทิศทาง
นมัสการท่านฐานจาโร และเจริญพรญาติโยมทุกคนด้วยนะ
กราบนมัสการอีกครั้งครับ
การสนทนาวันนี้ หวังว่าท่านปิจะช่วยตัดต่อรวบรวมให้อีกทีนะเจ้าคะ จะได้อ่านกันเพื่อความกระจ่างมากขึ้น

..................................................

เชิญคุณกิตค่ะ
"ล้มเพราะก้าวไปข้างหน้า ยังดีกว่ายืนเเต๊ะท่าอยู่กับที่ says:
กราบนมัสการ เเละสวัสดีทุกท่านครับ

สวัสดีครับ
ผมมีข้อสงสัย อยากจะถามครับ
เจตสิก คืออะไรครับ
เหยอ เล่นอภิธรรมเลยเหรอนั่น
เจตสิก แปลว่า ธรรมชาติที่เกิดกับจิต หรือธรรมชาติที่ประกอบกับจิต มี ๕๒ ประเภท เช่น เวทนา สัญญา ผัสสะ เจตนา มนสิการ, โลภะ โทสะ โมหะ, หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ กรุณา มุทิตา ปัญญา เป็นต้น เหล่านี้ล้วนแต่เป็นเจตสิกทั้งสิ้น
โห พิมพ์เร็วจัง
ครับ ขอเว็บที่อธิบาย 52 ประเภทหน่อยครับ สาธุ
กล่าวง่ายๆ คือ สภาพปรุงแต่งจิตใจ หรือความเป็นไปของจิตใจ
โห พระอาจารย์เเจงดูง่ายจังเลยอ่าครับ เเต่ผมอ่านดูเเล้วงงมากๆ เลยอ่า
มีจิตเกิดล้วนๆ ก็ไม่ได้
เจตสิก เป็นธรรมชาติที่เกิดร่วมกับจิต ดับพร้อมกับจิต ประกอบกับจิต มีอารมณ์เดียวกันกับจิต (ย่อมรับอารมณ์เดียวกัน เช่น จิตเห็นหรือได้ยินในสิ่งใด เจตสิกก็ประกอบกับจิตที่รู้ในอารมณ์นั้นด้วยเช่นกัน) (๑๑)
ในจิตทุกดวง (ทุกสภาพ) ย่อมมีเจตสิก คือ คุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้เกิดร่วมด้วยเสมอ เป็นเครื่องประกอบกับจิต หรือปรุงแต่งจิตให้เป็นไปต่างๆ

เเล้วอีกอย่างครับ หลังจากที่ “หลวงตาสุภัททะ” กล่าววาจาจ้วงจาบเเก่พุทธศาสนาเเล้วสังคายนา อยากจะทราบว่าหลังจากนั้นหลวงตาสุภัททะได้เป็นยังไงบ้าง
อืม อันนี้ยังไม่เคยค้นเลย ต้องขออภัยด้วย, มีใครทราบบ้าง ช่วยไขปัญหาหน่อย
ไม่รู้อ่ะ
หมวดไหนอ่ากำลังค้นอยู่อ่าครับ
เกี่ยวกับพุทธประวัตินะ
เอ่อกระผมค้นไม่เจอครับ ในตำราผมที่อยู่ตอนนี้มีเเต่อภิธรรมอ่าครับ
ไว้ต่อสัปดาห์หน้าไม๊คะ
ถ้าอย่างนั้น วันนี้อาตมาขอตัวก่อนล่ะนะ ลาล่ะจ๊ะ
ขอรับพระอาจารย์
ขอบพระคุณมากเจ้าค่ะ
กราบลาพระอาจารย์ เเละขอบคุณขอรับที่ได้เเจ้งเเถลงไขเกี่ยวกับมงคลชีวิต 38 ประการครับ
..................................................... ในเรื่องของการทานเนื้อสัตว์นั้น มีข้อที่น่าสังเกตประการหนึ่ง คือ บางท่านก็เข้าใจว่า พระพุทธศาสนาสอนให้รังเกียจการทานเนื้อสัตว์ หรือพระพุทธศาสนาสอนให้งดทานเนื้อสัตว์แล้วจะเป็นบุญเป็นกุศล
ถึงกับมีบางท่านกล่าวว่า “ผู้ยังทานเนื้อสัตว์อยู่ ไม่สามารถบรรลุธรรมชั้นสูงได้” เป็นต้น หรือบ้างก็ว่า ผู้พัฒนาตนดีแล้ว ดังเช่น พระอริยบุคคลทั้งหลายย่อมไม่ทานเนื้อสัตว์ ไม่ซื้อเนื่อสัตว์มาประกอบ หรือบางครั้งถึงกับเข้าใจไปว่า พระพุทธเจ้าทรงฉันมังสวิรัติ ไม่ทรงฉันเนื้อสัตว์เลย เป็นต้น
ในข้อนี้ เพื่อความเข้าใจพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง พึงศึกษาพระพุทธพจน์ที่ทรงแสดงไว้ใน ชีวกสูตร
(๑๒) และสีหสูตร (๑๓) ดังกล่าวแล้วข้างต้นโดยละเอียด ก็จะได้รับความแจ่มชัดยิ่งขึ้น และไม่กล่าวตู่(บิดเบือน)พระพุทธพจน์เช่นนั้นอีก แต่กลับจะเห็นได้เองว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงรังเกียจการฉันเนื้อสัตว์เลย แต่ทรงเน้นให้ละความยินดีในรส(ของอาหาร) ไม่ว่าจะรับประทานสิ่งใดก็ตาม เพื่อบรรเทาความเมาในอาหาร บริโภคด้วยสติสัมปชัญญะอย่างบริบูรณ์
โดยเฉพาะหากศึกษาลงไปในส่วนแห่งพระวินัยปิฎกแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า แม้ในครั้งพระเทวทัตทูลขอวัตถุ ๕ ประการ โดยหมายจะให้สงฆ์แตกแยกกัน ก็ยกเอาข้อนี้ขึ้นอ้างด้วยเช่นกัน
(๑๔) เพื่อให้เข้าใจว่าตนนั้นเคร่งครัดกว่าพระพุทธเจ้า คือ ในข้อที่ ๕ ขอให้สงฆ์งดการฉันเนื้อสัตว์ตลอดชีวิต ผู้ใดฉันมีโทษ (ให้ฉันแต่มังสวิรัติ) โดยหมายใจไว้ก่อนแล้วว่า พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงรับและบัญญัติในข้อนี้
และก็เป็นไปดังคาดหมายของพระเทวทัต พระพุทธเจ้าเมื่อไม่ทรงรับ ภิกษุผู้บวชใหม่จำนวนหนึ่ง เมื่อยังไม่เข้าใจหลักการของพระพุทธศาสนาดีอย่างพียงพอ จะพลอยเข้าใจไปว่า ผู้ถือเช่นนั้นเป็นผู้ประพฤติเคร่งยิ่งกว่าพระศาสดา เป็นเหตุให้เกิดสังฆเภทในที่สุด ซึ่งปัญหานี้พระพุทธเจ้าก็ทรงเคยประสบมาแล้ว
การที่ผู้เรียบเรียงได้ยกเอาพระพุทธพจน์มาอ้างอิงทั้งสิ้นนี้ ก็ปรารถนาความสมัครสมานสามัคคีแก่หมู่สงฆ์และพุทธบริษัทให้มีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่คิดจ้วงจาบหรือกล่าวตู่พระธรรมวินัย ทั้งที่ไม่เป็นจริง ซึ่งจะเป็นโทษตามติดตนไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นเหตุให้ได้รับความเศร้าหมอง และยังเป็นการทำลายรากฐานแห่งพระศาสนาอีกด้วย

ปญฺญาวโรภิกขุ


......................................................




๑. ขุ.ขุ.๒๕/๕/๒, ขุ.สุ.๒๕/๓๑๗/๒๘๘
๒. ขุ.ขุ.อ.๓๙ หน้า ๑๙๖
๓. องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๓๔/๓๖๘
๔. ม.ม.๑๓/๕๘/๔๓
๕. ม.ม.๑๓/๕๖/๔๘
๖. วิ.ม.อ.๗ หน้า ๑๗๓-๔,๑๘๐, องฺ.อฏฺฐ.อ.๓๗ หน้า ๓๘๒
๗. วิ.ม.๕/๗๘/๑๐๐
๘. ม.ม.๑๓/๕๗/๔๒, วิ.ม.อ.๓ หน้า ๕๗๕
๙. วิ.ม.อ.๓ หน้า ๑๗๗
๑๐. องฺ.ปญฺจ.๒๒/๑๗๗/๑๘๖
๑๑. สงฺคห ปริจเฉทที่ ๒ บทที่ ๓ 
๑๒. ม.ม.๑๓/๕๖/๔๒  
๑๓. องฺ.อฏฺฐ.๒๓/๑๐๒/๓๖๐   
๑๔. วิ.ม.๑/๕๙๑/๗๑




 

Create Date : 05 กันยายน 2550    
Last Update : 5 กันยายน 2550 22:01:34 น.
Counter : 559 Pageviews.  

1  2  3  

กลุ่มต้นธรรม
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




* * * * * * * * * * * * * * * * * * *

อันเวลาอันนับไม่ได้ที่เราหมักหมมมานานแสนนานแล้วนั้นถ้าเราไม่เริ่มรู้เราก็ไม่เริ่มตัด ถ้าไม่ตัดก็ไม่เห็นปลาย และเวลาอันนับไม่ได้นั้นก็เป็นปลายที่ยังอยู่
web site hit counter
We keep fighting fires because we keep adding fuel.
We truly putout fires only when we remove their fuel.

ถึงโลกกว้างไกล ใครๆ รู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่ รู้บ้างไหม
มองโลกภายนอก มองออกไป
มองโลกภายใน คือใจเรา

Friends' blogs
[Add กลุ่มต้นธรรม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.