Group Blog
 
All blogs
 

Your baby can read

Sebbie 15 เดือนแล้วแต่ยังพูดไม่ถึง 5 คำ แม่ก็จนปัญญา หัดให้ลูกพูดตาม ก็ไม่ยอมพูด เปิดทีวี เปิดกาตูนกระตุ้นก็ไม่มีประโยชน์ ได้แต่ทำเสียง อื้อๆๆ ตามทีวี

วันนึงแดดดี้เห็นรายการคั่นโชว์ เป็นโปรแกรมหัดลูกอ่านหนังสือ เห็นว่าน่าสนใจดี เลยโทรสั่งซื้อชุด Your baby can read Program ตอนนี้เปิดวิดีโอชุดเริ่มต้นให้เซ็บได้เกือบเดือนแล้ว ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้คำศัพท์เพิ่มนัก แต่ก็สนใจทุกทีที่เปิดวีดีโอให้ดู เฮ้อกุ้มใจ กลัวลูกจะมีพัฒนาการทางด้านภาษาช้าหรืออาจจะไม่ยอมปริปากพูดเลยก็ได้

ปรึกษาหมอเด็กของลูก ก็บอกให้แม่พูดภาษาอังกฤษกับลูก เพื่อลูกจะได้ไม่สับสนทางด้านภาษานัก กลายเป็นผิดเราอีกที่พูดไทยกับลูก ก็นึกว่าเด็กมันจะแยกแยะภาษาได้ เหมือนอยางที่ใครหลายคนบอกมา ว่าพูดสองภาษาได้เด็กมันจะแยกเอาเอง เฮ้อ.. ทำเอาสับสนเลย



เอาเป็นว่าลองดูก่อนละกัน ใหนก็ซื้อมาแล้วจ่ายสตังค์ไปแล้วไม่อยากให้เสียประโยชน์ ลองดูว่าลูกจะได้คำศัพท์เพิ่มขึ้นกี่คำ จากชุดโปรแกรมการเรียนนี้ ไว้จะมาอัพเดธข่าวคืบหน้า

สำหรับ แม่ๆ ที่สนใจอยากจะได้ชุดโปรแกรมนี้ ลองแวะเข้าไปดู ที่ //www.yourbabycan.com แล้วมาแชร์ประสบการณ์นะ
คะ




 

Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2552 0:43:25 น.
Counter : 982 Pageviews.  

:: สาระ :: พัฒนาการ ของเด็กวัยซน 6 - 9 เดือน





วันเวลาของการเปลี่ยนแปลง

ถือเป็นสัญญาณที่ดีของการเจริญเติบโตของลูกน้อยค่ะและขณะเดียวกันก็เรียกได้ว่าเป็นเวลาแห่งความชื่นใจของคุณพ่อคุณแม่ด้วย เพราะลูกเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย จากที่เคยนอนนิ่งๆ ในที่ที่เรากำหนด วันนี้เขาเรียนรู้วิธีการพาตัวเองเข้าหาสิ่งที่ต้องการได้แล้ว ไม่ว่าจะด้วยการคืบ คลาน ยืน เดิน หรือใช้มือคว้า หยิบ จับ เขย่า ปล่อย เคาะ สิ่งของ และดูท่าว่าจะสนุกสนานกับการฝึกฝน พยายามทำแล้วทำอีกอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเลยล่ะค่ะ

หลังจากเรียนรู้วิธีทรงตัวเพื่อนั่งในเดือนที่ 6 แล้ว ในเดือนที่ 7 ลูกจะเริ่มหัดคลาน โดยเรียนรู้จากประสบการณ์การคืบ แต่ถึงอย่างนั้นการคลานก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเด็กๆ นัก เพราะต้องอาศัยการทำงานที่ประสานกันของกล้ามเนื้อหลายๆ ส่วนด้วยกัน เช่น ขา แขน ไหล่ สะโพก ลำตัว คอ รวมทั้งการทำงานประสานกันของสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อเหล่านั้นด้วย ซึ่งลูกต้องใช้เวลาในการฝึกฝนโดยผู้ช่วยสำคัญก็คือ คุณพ่อคุณแม่นั่นเองค่ะ

เริ่มจากชวนลูกคลานโดยคลานเล่นกับลูก ไม่ควรให้ลูกหัดคลานบนฟูกที่นอน เพียงเพราะหวังดีไม่อยากเห็นลูกหัวปูดหัวโนจาการคลานแล้วล้มเผละกระแทกพื้นนะคะ เพราะความนุ่มของที่นอนจะทำให้ลูกคลานลำบาก ทางที่ดีเพื่อความปลอดภัยและฝึกพัฒนาการลูกใช้พื้นพรมเป็นสนามฝึกคลาน หรือใช้แผ่นโฟมตัวอักษรปูพื้นจะเหมาะกว่า

เมื่อลูกคคลานได้คล่องจนสามารถแบ่งมืออีกข้างหนึ่งไปถือของเล่นได้แล้ว เขาก็จะเริ่มเรียนรู้ที่จะพาตัวเองลุกขึ้นยืนโดยการหาที่เกาะพยุงตัวเองขึ้นยืน พยายามทรงตัวอยู่ในท่านั้น ที่มากกว่านั้นบางคนก็เริ่มรู้จักพาตัวเองไต่ไปรอบๆ โต๊ะหรือเก้าอี้โดยใช้มือเกาะข้างหน้าและดึงตัวพร้อมก้าวขาตามค่ะ

นักสำรวจตัวน้อย

ความที่เริ่มเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วมากขึ้น บวกกับความสนใจใคร่รู้นี้เองที่ดึงดูดใจให้ลูกพาตัวเองเคลื่อนที่ไปไหนต่อไหนได้ บวกกับความตื่นเต้นในสิ่งใหม่ๆ ที่ได้เห็นและสัมผัส ยิ่งมีมากเท่าไหร่ยิ่งมีแรงส่งให้ลูกไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยกับการออกสำรวจ และทำให้ลูกรู้สึกว่าโลกนี้ช่างน่าตื่นเต้นเหลือเกิน จนบางครั้งอาจถึงขั้นไม่อยากหลับอยากนอนเอาเลย ลูกวัยนี้จึงหลับยากมากขึ้นนอนน้อยลงกว่าช่วงแรกๆ

การเป็นนักสำรวจของลูกวัยนี้ไม่ได้มีเฉพาะกับโลกรอบตัวเท่านั้นหรอกนะคะ แต่กับของธรรมดาๆ อย่างอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของคุณพ่อคุณแม่และของตัวเขาเองก็กลายเป็นสิ่งเรียกความสนใจได้ไม่น้อย ลูกอาจจะสนุกกับการจิ้มจมูกจับปากคุณเพราะสงสัยว่ามันจะเอาออกไปได้มั้ย หรือสนุกกับการสำรวจอวัยวะตัวเอง

นักสำรวจตัวน้อยจะใช้มือเป็นเครื่องมือสำคัญในการสำรวจ โดยเริ่มต้นจะใช้เวลามองพินิจพิเคราะห์ก่อน แล้วจึงใช้มือสัมผัสลูบคลำพื้นผิว ขอบวัตถุ จับหมุนไปมาด้านนู้นด้านนี้ที จับเคาะกับพื้น ทิ้งลงพื้น ชอบที่จะหยิบของใส่และออกจากกล่อง ซึ่งการกระทำแบบนี้และที่เป็นการเรียนรู้และการฝึกฝนการควบคุมกล้ามเนื้อมือให้ชำนาญมากขึ้น


นักเรียนรู้

ดูเผินๆ ช่วงวัยนี้ที่จะเห็นมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงมากก็คือ พัฒนาการทางด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย แต่ระหว่างนั้นลูกก็กำลังพัฒนาความสามารถของสมองไปด้วยจากการเรียนรู้ฝึกฝนทักษะทางด้านร่างกายอย่างที่กล่าวไปแล้ว ที่ล้วนแต่มาจากการทำงานประสานกันของสมองส่วนต่างๆ ทั้งสิ้น

ความสามารถในการเชื่อมโยงความคิดของลูกก็มีมากขึ้นและชำนาญขึ้น เช่น ลูกจะเรียนรู้ว่าเมื่อได้ยินเสียงเปิดปิดประตูตอนช่วงเย็นๆ ก็จะคลานมาแถวประตูรอรับพ่อแม่ที่กลับจากทำงาน เชื่อมโยงชื่อเรียกที่ได้ยินกับสิ่งที่เห็น เช่น จะมองหาเมื่อได้ยินคุณเรียกชื่อคนๆ นั้น รู้ว่าเมื่อแม่อุ้มมานั่งที่เก้าอี้นี้หมายถึงว่าได้เวลาหม่ำแล้ว เป็นต้น ซึ่งถ้าในระหว่างทุกๆ การกระทำมีการพูดคุยกับลูกก็ยิ่งช่วยให้การเชื่อมโยงความคิดของลูกมีมากขึ้น การเรียนรู้ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น

เวลากินอาหารก็เป็นช่วงของการเรียนรู้ของลูกค่ะ วัย 7-8 เดือนของลูกนี้หลายครั้งที่คุณเห็นว่าลูกจะดึงจากมือคุณ ยิ่งช่วงเวลากินที่คุณตั้งท่าจับช้อนเตรียมป้อนอาหารส่งเข้าปาก ลูกมักจะคว้าช้อนไปจากมือคุณไปเขี่ยๆ อาหารคล้ายจะพยายามตักอาหารกินเอง หรือบางทีใช้ช้อนไม่ทันใจก็จะทิ้งช้อนหันไปใช้นิ้วหยิบอาหารเข้าปากเอง แต่ด้วยความไม่ชำนาญก็จะหกเลอะเทอะมากกว่าที่เข้าปาก

แทนที่คุณแม่จะหงุดหงิดว่าลูกสร้างงานเลอะเทอะให้ต้องตามเก็บเช็ด หรือกังวลว่าลูกจะไม่โตเพราะได้อาหารไม่พอขอบอกค่ะว่าวัยนี้ของลูกยังไงนมก็ยังเป็นอาหารหลักอยู่ อาหารมีเพียงวันละ 1 มื้อ อีกอย่างกระเพาะอาหารของลูกยังเล็กไม่ต้องการปริมาณอาหารมากแต่ต้องการสารอาหารครบถ้วน เพราะฉะนั้นคุณควรตัดกังวลข้อนี้ออกไป แล้วจัดบรรยากาศในการกินให้เป็นความรื่นรมย์สำหรับลูก เช่น ปูกระดาษหรือพลาสติกที่พื้น ส่วนโต๊ะก็หุ้มพลาสติก เตรียมช้อนไว้ 2 ชุด สำหรับลูกไว้หัดตักกินและสำหรับคุณไว้ป้อนอาหารลูกแล้วปล่อยให้ลูกกินเองอย่างอิสระ

เท่านี้ลูกก็ได้ฝึกซ้อมใช้กล้ามเนื้อมือ ฝึกการใช้สายตากะระยะจากการตักอาหารเข้าปาก เรียนรู้กลิ่น รส และผิวสัมผัสของอาหาร รู้จักช่วยเหลือตัวเองและยังได้ความรู้สึกที่ดีต่อการกินอาหารด้วย แลกกันแบบนี้คุ้มซะยิ่งกว่าคุ้มนะคะ


ติดแม่ กลัวคนแปลกหน้า


วัยนี้แหละที่คุณจะเริ่มเห็นอาการ “ติดแม่” หรือกลัวคนแปลกหน้าเกิดขึ้นกับลูกแล้ว เพราะลูกเริ่มเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนที่ของสิ่งของและคนแล้ว รู้ว่าแม่ก็เคลื่อนไหวไปไหนมาไหนได้เหมือนอย่างที่แกทำได้ ซึ่งนั่นหมายถึงการแยกห่างจากพ่อแม่ ต่อให้ลูกรู้สึกสนุกกับสิ่งแปลกใหม่ที่ได้พบแค่ไหน แต่ก็ยังมีความรู้สึกกลัวและวิตกกังวลที่ต้องอยู่ห่างแม่ ซึ่งอาการ “ติดแม่” นี้ถ้ามีมากก็เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของลูก เพราะลูกจะกลัวการพรากจากจนไม่กล้าเรียนรู้

คุณแม่สามารถช่วยลดอาการนี้ของลูกได้ โดยการบอกให้ลูกรู้ก่อนที่จะหายตัวไปจากที่ตรงนั้น ส่งเสียงให้รู้ว่าแม่อยู่ไม่ไกล ไม่ได้ทิ้งลูกไปไหน และไม่ควรทิ้งลูกไว้นานๆ ค่อยๆ เริ่มต้นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ สักพักลูกก็จะเริ่มคุ้นชินกับการที่ต้องห่างแม่คุณแม่ค่ะ


เสริมทักษะพัฒนาลูกวัย 6-9 เดือน
สร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับการสำรวจของลูกวัตถุที่ลูกจะคว้า เกาะ หรือยึดเพื่อลุกยืนควรมั่นคงแข็งแรงไม่ใช่คว้าปั๊บ หล่นโครมใส่ลูกทันที เพื่อเป็นสนามฝึกที่ปลิดภัยในการฝึกพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของลูกค่ะ

เพื่อฝึกการใช้มือและนิ้วของลูกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลองเล่นเกมรับ-ส่งของระหว่างพ่อแม่ลูก เล่นด้วยระยะเวลาที่นานพอสมควร นอกจากช่วยการฝึกใช้นิ้วและมือแล้วลูกยังได้เรียนรู้เรื่องการให้และการรับซึ่งพัฒนาเรื่องความมีน้ำใจในสังคมให้เขาเมื่อโตขึ้นได้ค่ะ

เตรียมรับมือกับความหงุดหงิดและอารมณ์โกรธของลูกที่มาพร้อมๆ กับความต้องการทำอะไรหลายอย่างแต่ยังทำไม่ได้อย่างอดทนด้วยนะคะ เช่น เขาอาจต้องคลานไปข้างหน้าเพื่อหยิบของเล่นที่สนใจ แต่พบว่าตัวเองกลับคลานถอยหลังห่างไปจากของนั้น คุณพ่อคุณแม่อย่าหยิบของนั้นส่งให้นะคะ แค่ลงไปนั่งด้านหลังลูก เพื่อให้ลูกคลานถอยหลังไม่ได้ลูกก็จะเริ่มเคลื่อนไปข้างหน้าแทนเพื่อไปหาของนั้นด้วยตัวเอง

เมื่อลูกเริ่มต้นใช้เสียงและท่าทางสื่อสารความต้องการของเขา คุณพ่อคุณแม่ต้องตีความและพูดออกมาแทนเขานะคะจะผิดหรือถูกก็ไม่เป็นไร เป็นการช่วยลูกพัฒนาทักษะทางภาษา เช่น เขาชี้ที่ขวดน้ำ คุณลองถามว่า “หนูอยากกินน้ำใช่ไหม” หากเขาไม่กิน ก็ถามใหม่ว่า “หนูอยากถือขวดเล่นหรือคะ” ถามไปเรื่อยๆ แล้วคุณจะได้คำตอบที่ถูกต้องเอง เขาเข้าใจทุกอย่างที่คุณพูดค่ะ อย่าบ่นว่าเขาจะเอาอะไรคุณไม่เห็นรู้เลยนะคะ เขาจะไม่กล้าส่งเสียงอีก พัฒนาการด้านภาษาก็จะไม่ได้รับการพัฒนา

เมื่อลูกเป็นนักสำรวจ พ่อแม่ก็ต้องเป็นนักสังเกตค่ะ คือสังเกตว่าลูกชอบหรือสนใจอะไรเป็นพิเศษแล้วหาสิ่งนั้นมาให้เขาสำรวจ เช่น ลูกอยากสำรวจหนังสือ ก็หาหนังสือที่คุณสามารถปล่อยให้มันฉีกขาดชำรุดได้มาให้ลูก และปล่อยให้ลูกเปิดหนังสือเอง เขาอาจเปิดจากท้ายมาหน้า หน้ามาท้าย กลับหัวกลับหาง กลับหน้ากลับหลัง หรือดูหน้าใดหน้าหนึ่งเป็นเวลานานมาก นั่นก็เพราะเขากำลังเรียนรู้จากหนังสืออย่างเพลิดเพลินและสนุกสนาน อีกอย่างถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ให้ลูกได้ใกล้ชิดคุ้นเคยกับหนังสือค่ะ

หากต้องการให้ลูกเข้าใจเรื่องการดำรงอยู่ของคนและสิ่งของแม้จะไม่ได้เห็นชั่วขณะก้ตาม ให้เล่น เกมจ๊ะเอ๋ ปิดตา ซ่อนหา เกมนี้เด็กๆ จะชอบมาก และเกมซ่อนสิ่งของให้เข้าหาเขาจะดีใจมากที่หาเจอ ถ้าคุณเล่นเกมนี้กับลูก นั่นคือคุณกำลังช่วยให้เขาเข้าใจเรื่องการดำรงอยู่ของสรรพสิ่งแม้จะมองไม่เห็นชั่วขณะก็ตาม

วัยนี้ลูกจะหลับยาก คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกผ่อนคลายด้วยการทำกิจกรรมต่างๆ ก่อนถึงเวลานอน และทำอย่างสม่ำเสมอ จนลูกมั่นใจว่าการที่เขาจากคุณแม่คุณพ่อไปในเวลานอนก็แค่ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น เมื่อตื่นมาในวันใหม่เขาก็จะได้พบกับคุณพ่อคุณแม่อีก และทำกิจกรรมร่วมกันอีกด้วยความเพลิดเพลิน เช่น ร้องเพลง เล่าหรืออ่านนิทานจากหนังสือภาพด้วยระยะเวลาที่นานพอสมควร แล้วปล่อยให้ลูกหลับไปเองอย่างผ่อนคลาย โดยไม่ต้องไกวเปล ตบก้นเบาๆ กล่อมเขา หรือป้อนนมเขา
พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของลูกที่กล่าวมานี้ผ่านไปอย่างรวดเร็วนะคะ หากคุณไม่ได้ใกล้ชิด สังเกตและเก็บรับไว้ เมื่อเวลาผ่านไปแล้วเราไม่สามารถเรียกวันเวลาที่น่าชื่นใจนี้กลับมาได้ ที่สำคัญการได้อยู่ใกล้ชิดและเฝ้าสังเกตทุกขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงของลูกจะช่วยทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้ว่าจะปรับตำราเลี้ยงดูและดูแลลูกอย่างไรเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้สอดคล้องกับลูกมากที่สุดค่ะ เรื่องแบบนี้มีแต่คุณพ่อคุณแม่เท่านั้นที่รู้ดีที่สุดค่ะ


พัฒนาการเฉพาะตัว

เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการเฉพาะของตน แต่ละคนมีความแตกต่างอาจช้าหรือเร็วกว่าเกณฑ์พัฒนาการบ้างสลับขั้นตอนไปบ้าง พัฒนาการของเด็กจะเป็นไปตามบุคลิกลักษณะของตัวเด็กเอง เช่น ที่เกณฑ์เฉลี่ยเด็กจะเริ่มคืบในเดือนที่ 6 คลานได้คล่องในเดือนที่ 8 แต่เด็กที่บุคลิกแอคทีฟอาจทำให้เร็วกว่านั้น เด็กที่เงียบอาจช้ากว่านั้น

เด็กที่เงียบ พัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่อาจช้าไปกว่าเกณฑ์บ้าง แต่พัฒนาของกล้ามเนื้อเล็กอาจจะทำได้ดี เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเป็นกังวลมากไป แต่ใช้การใกล้ชิดสังเกตพฤติกรรมและพัฒนาการของลูกก็จะทำให้คุณรู้จักลูกและรู้วิธีที่จะส่งเสริมลูกได้ดียิ่งขึ้นค่ะ.






CREDIT [ ที่มา.. นิตยสารรักลูก ปีที่ 24 ฉบับที่ 280 พฤษภาคม 2549 ]




 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2551 23:42:33 น.
Counter : 5730 Pageviews.  

อาหารเสริม เสริมอาหาร ของเจ้าเซ็บ

สวัสดีวันสงกรานต์คะ

อาหารเสริมของเจ้าเซ็บคะ
หลังจากเริ่มกินอาหารเสริมมาเป็นเวลาเกือบ 2 เดือนแล้ว
ดิฉันเริ่มจากอาหารสำเร็จรูปให้ลูกทดลองกินก่อน ในอาทิตย์แรก
พอลูกเริ่มคุ้นกับรสอาหารแล้ว ก็เลยทำอาหารแช่แข็งให้ลูกจะดีกว่า
ได้สารอาหารที่หลากหลาย และราคาถูกลงด้วยคะ

ดิฉันซื้อ อุปกรณ์ ที่จำเป็นมา
ผัก ผลไม้ เด็กอ่อนในวัยนี้ กินได้หลายชนิดคะ
แต่เรายังไม่ให้เริ่มกิน อาหารจำพวกเนื้อ เพราะยังย่อยอาหารได้ไม่ดีมากพอ
แต่เราให้กินไข่ได้นะคะ ควรเริ่มจากไข่แดงต้มสุกบด

และ ควรจะเริ่มด้วยอาหารที่ย่อยง่าย ที่มีรสชาติไม่หวานมากเกินไป
อย่าลืมว่าอาหารมื้อหลักของลูก ก็ยังคงเป็นนม ควรจะให้นมตามปรกติ หรืออาจจะลดปริมาญลงมานิดหน่อย

มาดูกัน ว่าเตรียมอะไรไว้ให้เจ้าเซ็บหม่ำบ้าง




ผักผลไม้ที่มีในตู้เย็น ที่มีอยู่ ก็เอามาต้ม เพื่อให้นิ่มลงก่อน
สำคัญ อย่าต้มนานไปนะคะ เพราะจะทำให้สูญเสียไวตามิน ในผักผลไม้
เสร็จแล้วก็ปั่นๆๆ เรียบร้อย เช็คดูอีกที ว่าละเอียดพอหรือยัง
เพราะเศษอาหารชิ้นเล็ก ถ้าลูกกลืนลงคอไปไม่ได้
อาจจะทำให้สำลักได้นะคะ
ปั่นเสร็จก็ เคาะใส่ถาดน้ำแข็ง แช่เสร็จแล้วแคะๆ ใส่ถุงพลาสติก
แช่ช่องฟรีซ เสร็จเรียบร้อยคะ

อ้อ.. อาหารควรจะเก็บไว้ได้ไม่เกิน เดือนครึ่งนะคะ และอย่าผสมนมลงไปในอาหารเด็ดขาด

สาระสำคัญสำหรับคุณแม่ควรจะรู้ไว้
อัตราส่วนการเจริญเติบโตของลูก อยู่ที่การกิน การนอน
วัย แรกเกิดจนถึง 3 ขวบ เป็นวัยที่ลูกจะมีพัฒนาการการเจริญเติบโตที่ดีของร่างกาย ส่งผลให้ส่วนสูงของลูกคะ

กินดี หมายถึง กินอาหารที่มีประโยชน์ เนื้อ นม ไข่ ผัก ผลไม้ ส่งเสริมให้ลูกมีการเจริญเติบโตที่ดี และยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ลูก สูงได้
อยู่ดี หมายถึง อยู่ในสถานที่ สะอาด ปลอดโปร่ง หายใจสะดวก โล่ง ไม่อับชื้น ไม่สกปรก จะส่งผลให้ลูก ไม่เป็นโรคทางเดินหายใจและส่งผลให้นอนหลับสนิทด้วย
นอนดี หมายถึง นอนแต่หัวค่ำ ตื่นแต่เช้า เพราะร่างกายจะผลิตฮอร์โมน ที่เป็นปัจจัย ในการเจริญเติบโตที่ดีของสรีระทางร่างกายและจิตใจของลูก ภายหลังจากนอนหลับ 1 ชั่วโมง ไม่ควรจะให้ลูกนอนดึกนะคะ

สาระสำคัญๆ เครดิตจากรายการทีวีของเมืองไทย
จำชื่อรายการไม่ได้แล้วคะ คุณหมอมาพูดถึงเรื่องความสูงของคนเรามีความจำเป็นต่อหน้าที่การงานมากแค่ใหน
ดิฉันเตี้ยคะ และอยากให้ลูกสูงๆ และเชื่อว่าคุณแม่หลายๆคนก็คงคิดไม่ต่างกันกับดิฉันแน่ๆ
คุณหมอท่านแนะนำให้ดูแลเป็นพิเศษช่วง 3 ปีแรก
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นลูกจะสูงได้ก็ต้องมาจากพันธุกรรมทางพ่อและแม่เป็นตัวกำหนด
เราสามารถทำได้แค่ส่งเสริมและกระตุ้นให้เจริญเติบโตได้บ้างเล็กน้อย
ขึ้นอยู่กับอาหารและการออกกำลังกายที่เพียงพอด้วยคะ

ตามรายละเอียดที่เขียนในบลอคนะคะ



ดิฉันเองก็ตั้งใจว่าจะทำหน้าที่แม่ให้ดีที่สุด
เพราะฉนั้นก็ต้องเลือกสิ่งที่คิดว่าดีที่สุดให้กับลูกเท่านั้นคะ
ขอให้บลอคนี้เป็นประโยชน์กับคุณแม่ ที่เลี้ยงลูกในวัยใกล้เคียงกันนะคะ
ใครมีข้อแนะนำ ที่เป็นประโยชน์ จะแลกเปลี่ยนกันได้ ก็เชิญฝากข้อความไว้นะคะ
และขอบคุณมากคะ ที่แวะเข้ามาอ่าน
ขอให้เจริญอาหารนะคะ




 

Create Date : 16 เมษายน 2551    
Last Update : 16 เมษายน 2551 1:20:57 น.
Counter : 1039 Pageviews.  

พัฒนาการในแต่ละด้าน ของเด็กวัย 3 เดือน


อีกไม่กี่วัน เจ้าเซ็บก็จะ 3 เดือนแล้ว คุณแม่ยุคอินเตอร์เนตอย่างเราจะปรึกษาใครได้นอกจาก ค้นจาก Google ได้ข้อมูลมาอย่างละเอียดยิบ พอที่จะย่อมาเก็บเอาไว้อ่าน และเผื่อแผ่ให้พี่น้องชาวบลอคแกงค์ ที่มีลูกน้อย วัยใกล้เคียงกัน ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นด้วยคะ


มาดูกันว่าลูกมีพัฒนาการในแต่ละด้านยังไงบ้าง ยาวนิดนึงนะคะ

และโดยทั่วไป เด็กในวัย 3 เดือน ควรจะ...

พลิกตัวได้ สามารถพลิกตัวจากหน้าไปหลังเมื่อ 4 เดือน และพลิกจากหลังมาหน้าได้เมื่อ 6 เดือน แม้ว่าหลาย ๆ คนอาจช้าหรือเร็วกว่านี้

เด็กควรจะเอามือยันพื้นยกอกตัวเองพ้นเมื่ออายุได้4 เดือนเป็นอย่างต่ำ

คืบ คลานคืบได้แบบอกแตะพื้น เวลาจับมือสามารถลากตัวเองมาข้างหน้าได้
เราสามารถจับมือขึ้นเพื่อให้เด็กยืนบนขาตัวเองได้

เล่นนิ้วมือนิ้วเท้าตัวเอง

เริ่มที่จะนั่ง เด็กสามารถเริ่มนั่งได้เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน แต่น้อยรายที่จะนั่งได้เองโดยไม่มีการช่วยจับ เพราะเด็กส่วนใหญ่จะนั่งสักพักก็ล้ม จึงไม่แนะนำให้หัดนั่งบนพื้นแข็ง

นน.ตัวเพิ่มเป็นสองเท่าของแรกเกิด คือ 6-8 กก ในช่วงอายุ 4 เดือน

ร้องน้อยลง และดูเหมือนจะร้องเมื่อมีเหตุ คืออาจมีเหตุผลของการร้องมากขึ้น สามารถหาสาเหตุได้ เช่น ปวดท้อง แฉะ หิว อย่างไรก็ตาม การร้องจากเหตุ โคลิก หรือร้องร้อยวัน จะไม่เจอในช่วงนี้แล้ว

ควบคุมการใช้มือแขนเท้าได้ดีขึ้น สามารถหยิบจับของเข้าปาก และเมื่ออายุ 6 เดือน สามารถส่งของจากมือ ไปยังอีกมือ และรับของที่เรายื่นให้ได้

ส่งเสียงแปลก ๆ อย่างสนุกสนาน และเด็กบางคนเมื่อถึง6เดือนสามารถเลียนเสียงได้บ้าง


- - - - - - - - - - -
พัฒนาการทางด้านต่างๆ แยกเป็นหัวข้อย่อยได้ดังต่อไปนี้

1. พัฒนาการทางร่างกาย

น้ำหนัก 5-6.2 ก.ก. ส่วนสูงประมาณ 60 ซ.ม. ชันคอได้บ้างสามารถพลิกตัว ผงกศีรษะและหันไปมาได้ บังคับกล้ามเนื้อได้บ้าง ถีบเท้าได้
มองดูและเล่นนิ้วตัวเองได้ ต้องการนอนหลับลดลงกว่าเดิม

2. พัฒนาการทางด้านอารมณ์

แสดงความรู้สึกพอใจด้วยการเปล่งเสียงอ้อแอ้ ยิ้มได้บ่อยครั้งมากขึ้น
แสดงความรู้สึกทางสีหน้าได้

3. พัฒนาการด้านสังคม

สนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มองหน้าแม่ขณะดูดนม มองคนที่อยู่ใกล้ๆได้
รู้จักหยุดฟังเสียง เริ่มจำเสียงแม่ได้

4.ความต้องการของเด็ก

ความต้องการพื้นฐานเช่นเดียวกับเด็กอ่อน
ต้องการของเล่นที่เหมาะสมกับการพัฒนาของร่างกายเด็กวัยนี้
ต้องการคนโอบกอดและพูดคุย ต้องการอาหารเสริม


- - - - - - - - - -



เด็กในวัยนี้ จะมีพัฒนาการ อย่างรวดเร็ว และมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก รวมถึงเริ่มเข้าใจภาษามากขึ้นและ
จะซนมากขึ้นด้วย ดังนั้น การส่งเสริมพัฒนาการ ด้านต่างๆควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ

1.การส่งเสริม พัฒนาการ ด้านร่างกาย
ในช่วงนี้ เด็ก จะยังคงทาน น้ำนม เป็นอาหารหลัก และควรเป็น น้ำนมแม่ จะดีที่สุด คุณแม่ที่มีสุขภาพดี แข็งแรง อาจจะให้น้ำนมได้ถึง 6 เดือน ทารก จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ประมาณเดือนละ 0.5 กิโลกรัม ความยาว ของตัวเด็ก เพิ่มประมาณ 2 ซม.ต่อเดือน ควรเริ่มให้อาหารเสริมตามวัย ทดแทนนม 1 มื้อเมื่อ อายุ 4 เดือน และพยายามงดการให้นมในมื้อดึก เมื่อเด็กมีอายุ 4 เดือนขึ้นไป

2.การ ส่งเสริมพัฒนาการ ด้านการเคลื่อนไหว
เด็กในช่วงนี้ จะพัฒนา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ด้วยการพลิกคว่ำ พลิกหงาย ไขว่คว้า สิ่งของต่างๆ และการมองเห็นได้ ในระยะที่ไกลขึ้น ดังนั้น ควรส่งเสริม พัฒนาการ เช่น การเล่นกับลูกด้วยของเล่นชิ้นโปรด เพื่อให้ลูกได้พยายามพลิกคว่ำ พลิกหงาย โดยหา ของเล่น ที่เขย่าแล้วมีเสียง เล่นกับลูก ฝึกให้มีการเอื้อม ไขว่คว้า เขย่า เปลี่ยนมือ ถือของ จัดหาของเล่น ที่ปลอดภัยและมีผิวสัมผัสต่างๆกัน เช่น ไม้ พลาสติก ผ้า ยาง เป็นต้น เด็กจะมองเห็น สิ่งที่เคลื่อนไหว และวัตถุที่มีสีสันสดใส หรือของเล่น ได้ในระยะที่ไกล ขึ้นเรื่อยๆ จนใกล้เคียงผู้ใหญ่ เมื่ออายุ 6 เดือน นอกจากนี้ ถ้าจับเด็กนั่ง เด็ก จะยกศีรษะตั้งตรงได้ และนั่งพิงได้นานขึ้น เมื่ออุ้มในท่ายืน จะชอบเอาเท้ายันพื้นและกระโดดไปมา สามารถใช้มือประคองขวดนมได้ สำรวจสิ่งของต่างๆ ด้วยการหยิบเข้าปาก ดังนั้นควรจัดสิ่งแวดล้อม ภายในบ้านให้เอื้อต่อการเคลื่อนไหวของลูก ไม่วางสิ่งของเกะกะ จนเป็นอันตรายต่อลูก

3.การส่งเสริม พัฒนาการ ด้านภาษา
เด็กจะสามารถ ส่งเสียง หัวเราะ หันตามเสียงเรียกของ คุณพ่อ คุณแม่ ได้ ดังนั้นจึงควร ส่งเสริม ด้วยการพูดคุย กับลูกโดยใช้ภาษา สั้นๆ ง่ายๆ และน้ำเสียงสูงต่ำ ในขณะที่ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ

4.การส่งเสริม พัฒนาการด้านสังคม
เด็กจะมีพัฒนาการ จำพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูได้ เมื่ออายุประมาณ 5 เดือน เริ่มแยกแยะคนแปลกหน้าได้เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน รวมถึงการจดจำชื่อของตัวเองได้ และหันตามเสียงเรียกชื่อของตัวเอง ดังนั้นพ่อแม่ ควรเรียกชื่อลูกบ่อยๆ พูดคุย เล่น หรือ ร้องเพลงกับลูก อาจ อุ้มลูก นั่งตักและอ่าน หนังสือภาพ นิทาน ให้ลูกฟัง ควรหาโอกาสให้ลูกได้พบปะคนแปลกหน้า ที่ไม่คุ้นเคยบ้าง รวมถึงให้ลูกฟัง เพลง ดนตรี เสียงอื่นๆ เช่น เสียงสัตว์ ต่างๆ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ถึง ความแตกต่าง โดยเด็กจะตอบสนอง ด้วยอาการต่างๆผ่านทางสีหน้า เช่นดีใจ ยิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ กลัว โกรธ เป็นต้น

- - - - - - - - - - -




 

Create Date : 17 มกราคม 2551    
Last Update : 17 มกราคม 2551 1:39:00 น.
Counter : 27469 Pageviews.  

Eczema - What it is

Eczema - What it is
Eczema is a common skin condition that is characterized by itchy, dry, red, scaly skin. It often starts as a rash on the cheeks, but then can appear just about anywhere on baby’s body. Often, eczema is a vicious cycle: the skin is irritated, it itches, your child rubs or scratches it, which makes it more inflamed and itchier.

Symptoms
The first signs are red, scaly, itchy patches that typically appear on baby’s cheeks but can also appear just about anywhere. Eczema usually first appears between three months and two years of age. Many babies outgrow eczema and symptoms usually decrease as a child gets older.


Causes of Eczema
While the causes are not fully understood, eczema seems to run in families with a history of allergies and skin disorders. There are many environmental factors that can trigger eczema, including heat, scratchy fabrics, animal dander, or detergents. Sometimes, eczema can be an allergic reaction to baby’s food, or even the food in your diet, if you’re a nursing mother.

Eczema Treatment
Treating eczema is a three-part plan: Keep baby’s skin well moisturized, treat the inflammation, and identify and remove any potential triggers.

Babies with eczema need a moisturizer applied several times a day and especially right after a bath to lock in moisture. Gentle Naturals Baby Eczema Cream is formulated with petrolatum and dimethicone to form a barrier on the skin to prevent moisture loss. It contains aloe vera to help heal irritated skin, and calendula, jojoba oil, apricot oil, and soybean oil to soften and moisturize, plus vitamins A, D, and E to nurture skin and help it heal.

You should try washing baby’s clothes in a laundry detergent made for sensitive skin. Watch for food triggers in baby’s diet (or yours, if you’re nursing) and in the environment.

Topical prescription medications that are used to treat eczema are not generally recommended for children under two years of age.





 

Create Date : 22 ธันวาคม 2550    
Last Update : 22 ธันวาคม 2550 10:55:59 น.
Counter : 527 Pageviews.  

1  2  

dapumpkin
Location :
TEXAS United States

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]





รักลูกที่สุด
Friends' blogs
[Add dapumpkin's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.