ไอเดียของขวัญต้อนรับเทศกาลวาเลนไทน์สำหรับแฟนหนุ่ม
ใกล้เทศกาลวาเลนไทน์ วันแห่งความรักแล้ว หลายคนกำลังมองหาของขวัญให้กับคนพิเศษกันอยู่ วันนี้มีภาพไอเดียจากเวป //www.pinterest.com มาให้ชมกันเพื่อเป็นไอเดีย 
บางคนอาจจะยังนึกไม่ออกว่าสำหรับแฟนหนุ่มแล้ว เค้าอยากได้อะไร ภาพด้านล่างเป็นภาพจากเวปไซด์ที่อาจจะให้ไอเดียเราในการทำของของขวัญที่แหวกแนวออกไปอย่างคาดไม่ถึง โดยการดัดแปลงนำกล่องเครื่องมือมาใส่ของเป็นของขวัญให้แก่กันและกัน หวังว่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนเกิดไอเดียที่แปลกใหม่ขึ้นน่ะค่ะ


















ขอบคุณภาพจาก pinterest.com ค่ะ



Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2556 15:19:49 น.
Counter : 3021 Pageviews.

1 comment
IDEA แขวนเครื่องมือผนัง โดยใช้วัสดุไม้
นำไอเดียการเก็บเครื่องมือโดยการแขวนบนผนังกำแพงมาฝากกัน 




























ขอบคุณภาพจาก //woodgears.ca





Create Date : 19 ธันวาคม 2555
Last Update : 19 ธันวาคม 2555 10:33:37 น.
Counter : 3339 Pageviews.

0 comment
อยากเริ่มทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ งานไม้ ต้องมีอุปกรณืดังนี้
หลายคนเริ่มสนใจที่จะทำงานไม้ ทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ไว้ขายบ้าง ใช้เองบ้าง วันนี้มีบทความดีๆจากเวป //www.thaicarpenter.com มาฝากกันค่ะ เกี่ยวกับเครื่องมือที่จะต้องใช้ในการทำงานไม้ ว่ามีอะไรบ้าง ใช้สำหรับอะไรบ้าง

เครื่องมือทั่วไป Hand tools article

       สำหรับงานไม้แล้วโดยทั่วไปเครื่องมือ(tools)ที่ใช้กันเรามักจะเห็นผ่านๆตากันมาบ้างแล้ว ในที่นี้เราอยากจะแนะนำให้ผู้สนใจได้ทราบถึงเครื่องมือชนิดต่างๆและการนำไปใช้กับงานไม้ เครื่องมือพื้นฐานทั่วไปอยู่ในจำพวกที่ไม่ใช้ไฟฟ้า หรือเรียกว่า Hand tools นั่นเอง จะแบ่งเป็นกลุ่มตามขั้นตอนของงานได้4กลุ่ม

   1.กลุ่มงานวัดขนาดและกำหนดตำแหน่ง



- ดินสอไม้

สำหรับขีดเส้นบอกตำแหน่ง มีหลายรูปแบบแล้วแต่จะเลือกใช้ส่วนใหญ่นิยมใช้ดินสอกดเพราะใช้ง่าย สะดวกไม่ต้องคอยเหลา ส่วนดินสอช่างไม้นั้น ช่างไม้สมัยเก่าบางคนก็ยังนิยมใช้อยู่เพราะทนทานกว่า 



- ฉาก

   ฉาก เป็นเครื่องมือทีใช้ได้หลากหลาย ปกติที่นิยมใช้คือฉากตาย (มุม90 องศา ปรับมุมไม่ได้)ใบฉากทำด้วยโลหะ มีเส้นบอกขนาด เป็นนิ้วและเซ็นติเมตร ใช้สำหรับงานตรวจสอบ-ตรวจเช็คมุมฉาก หรือมุม 45องศา ขีดเส้นตรง วัดละเอียด หรือใช้สันฉากเช็คความเรียบของพื้นผิวก็ได้ ส่วนฉากอีกชนิดหนึ่งก็คือ ฉากเป็น มีใบเป็นโลหะและสามารถปรับมุมได้ นิยมนำมาใช้กับการถ่ายมุมที่ไม่เป็นมุมฉาก จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งเช่นถ่ายจากแบบไปยังชิ้นงานจริง หรือตรวจสอบก็ได้เช่นกัน

- ตลับเมตร

   เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากสำหรับช่างทุกสาขา ใช้วัดขนาด กำหนดระยะ ตรวจสอบขนาด ตลับเมตรโดยทั่วไปสายวัดทำด้วยโลหะปลายสุดจะมีตะขอเกี่ยว เอาไว้เป็นตัวเกี่ยว (สำหรับการวัดแบบภายนอก) และเป็นตัวชน (สำหรับงานวัดภายใน) ทั้งนี้จะสังเกตได้ว่าตัวเกี่ยวนี้จะขยับไปมาได้ก็เพื่อจะได้ค่าเริ่มต้นจากค่า 0 (ศูนย์)โดยค่าที่ขยับไปมาที่ตัวเกี่ยวก็จะเท่ากับความหนาของตัวเกี่ยวที่ต้องทดคืนให้นั่นเอง

- ขอขีด 

   อาจจะไม่คุ้นหูนักกับหลายๆคน แต่ถ้าช่างไม้แล้วก็ถือเป็นเครื่องมือกำหนดตำแหน่ง ที่จำเป็นชิ้นหนึ่ง สามารถลอกแบบหรือถ่ายแบบจากงานหนึ่งไปยังอีกงานหนึ่งได้ โดยการใช้งานจะเป็นในลักษณะบอกเส้นคู่ขนานไปกับแนวอ้างอิง โดยลากผ่านให้ส่วนที่เป็นโลหะแหลมกดจิกลงบนเนื้อไม้ จนเป็นรอยลึกพอจะสังเกตเห็นได้ แขนปรับเลื่อนเข้าออกได้ล็อกให้แน่นด้วยสลักลิ่ม ส่วนใหญ่ทำจากไม้เนื้อแข็ง  สนใจดูรายละเอียดการใช้งาน คลิ๊ก

2.กลุ่มงานขึ้นรูป( ตัด-ไส-ซอย)



- เลื่อย  


        เลื่อยชนิดต่างๆ เช่น เลื่อยลันดา เลื่อย-อก เลื่อยลอ เลื่อยฉลุ การเลือกใช้ก็จะขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและทักษะของแต่ละบุคคล เช่น เลื่อยลันดาจะใช้กับการตัด ซอย ไม้แผ่น ที่ตัดเป็นระยะยาวๆ แนวตรงตลอดแนว คล้ายกับเลื่อย-อก แต่ผู้ใช้ต้องมีความชำนาญพอสมควรในการบังคับ เหมาะกับงานผ่า ตัด ชิ้นงานที่ไม่กว้างมากนัก(ไม่เกินระยะของใบเลื่อยกับด้าม)ส่วนงานที่มีลักษณะคดหรือโค้งก็เลือกใช้เลื่อยฉลุ ถ้างานตัดละเอียดก็เลือกใช้เลื่อยลอเพราะจะให้ฟันถี่ละเอียดกว่า

- กบไสไม้  

ทำจากไม้เนื้อแข็ง ต่างประเทศนิยมทำด้วยเหล็ก มีหน้าที่หลักในการปรับผิวไม้ให้เรียบ  ตั้งแต่ผิวดิบจนไปถึงผิวงานขั้นสุดท้าย เพียงแต่ผู้ใช้ต้องเลือกให้เหมาะกับงานในแต่ละขั้นตอนให้เหมาะสมกับกบแต่ละประเภท  เช่น    

กบล้าง เหมาะกับงานที่ปรับพื้นผิวให้เรียบ ลักษณะตัวกบผิวจะยาว และใบกบจะมีมุมประมาณ45องศา เพื่อให้จิกเนื้อไม้ง่ายขึ้น กบล้างมีทั้ง ล้างสั้น กลาง ยาว ยิ่งยาวก็ยิ่งทำให้พื้นผิวงานมีความเที่ยงตรงขึ้น แต่ก็ขึ้นกับความยาวของชิ้นงานด้วย



     กบผิว เหมาะกับการปรับผิวงานให้ละเอียด ต่อจากกบล้าง หรืองานตบแต่งเล็กๆน้อยๆ มุมใบกบจะมีลักษณะชันกว่า ประมาณ60องศา





กบขูด



          ปัจจุบันไม่นิยมใช้ ส่วนใหญ่เหมาะกับงานที่ผิวโค้งไม่อยู่แนวราบ ตัวกบทำด้วยเหล็ก บางที่เรียกว่ากบหูกระต่ายหรือเขียด เพราะมีมือจับทั้ง 2 ข้างเหมือนกับหูกระต่าย การใช้งานจะขูดไปตามส่วนโค้งที่ต้องการ ปรับให้กินมากน้อยได้ตามต้องการ

กบกระดี่



ปัจจุบันกบชนิดนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมแล้ว เนื่องจากมีเครื่องมือไฟฟ้ามาทดแทน มีหน้าที่คือใช้บังใบโดยใช้ร่วมกับเลื่อย  กล่าวคือจะเลื่อยแนวที่จะบังใบงานก่อน แล้วจึงใช้กบบังใบอีกครั้ง (เดี๋ยวนี้มี Router หรือเลื่อยวงเดือน มาทดแทนเร็ว และคุณภาพดีกว่า)

สนใจสั่งซื้อกบแบบต่างๆ คลิกที่นี่



- ค้อน

          ที่นิยมก็จะเป็นแบบค้อนหงอน แต่ในค้อนหงอนเองก็มีหลายขนาดเช่นกัน ก็เลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน ส่วนค้อนชนิดอื่นๆ ก็มีแบบค้อนไม้ ค้อนพลาสติกแข็ง หรือค้อนยาง ค้อนเหล็ก ฯ

- สิ่ว

        เป็นเครื่องมือเจาะ เซาะ สิ่วที่นิยมได้แก่สิ่วปากบาง สิ่วมีขนาดตั้งแต่ 1/4นิ้ว จนถึง2นิ้ว เลือกใช้ให้เหมาะกับการใช้งาน สิ่วอีกชนิดหนึ่งที่ช่างไม้แกะสลักนิยมใช้ได้แก่สิ่วเล็บมือ ใบสิ่วจะโค้งคล้ายกับเล็บมือ มีโค้งรัศมีเล็กจนถึงโค้งใหญ่ หน้าแคบจนถึงกว้าง สิ่งใช้คู่กับฆ้อน แต่ควรเป็นฆ้อนไม้ ด้ามสิ่วจะได้ไม่สึกเร็วเกินไป และกะนำหนักได้ง่าย

 -อุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน           





แคลมป์ ( F,C แคลมป์)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับช่วยในการจับยึดชิ้นงานมีขนาดต่างกันไป ระยะตั้งแต่3นิ้วจนมากกว่า12นิ้ว งานไม้มักใช้แคลมป์มาเป็นตัวช่วยยึดในระหว่างการตั้งเครื่อง การตั้งรั้ว เพื่อใช้ในการซอยไม้ เป็นต้น

 C แคลมป์ใช้บีบอัดกรณีที่ต้องการความแน่นมาก

  F แคลมป์ ใช้ง่าย สะดวกรวดเร็ว ใช้บีบอัด จับยึด งานที่แน่นปานกลาง



แม่แรง(ปากกา)





       เป็นอุปกรณ์อีกคัวหนึ่งที่ใช้กับงานที่มีระยะยาวมากๆ กับงานไม้นิยมมาเพลาะไม้ เป็นระยะกว้างกว่าปกติ(การนำไม้มาต่อกันเป็นแผ่นใหญ่ด้วยกาว)

  - คีมปากนกแก้ว เอาไว้ตัด หรือถอนตะปูเข็ม

- บักเต้า





เอาไว้สำหรับบอกแนวเส้นในแนวระนาบ หรือเส้นตรง ที่ยาวๆ เช่นต้องการเลื่อยไม้อัด 4 มม.ให้ตรงด้วยเลื่อยลันดา วิธีใช้งานก็คือกำหนดจุดหรือตำแหน่งที่เริ่มต้นและจุดปลาย ขึงเส้นด้ายที่มีผงฝุ่นสีติดอยู่ที่เส้นด้ายให้ตึง ดีดด้ายแรงๆให้ผงฝุ่นติดลงบนตำแหน่งที่เราต้องการ ก็จะได้แนวเส้นตรงตามต้องการ

เครื่องมือกล Power tools

หรือเรียกกันว่า power tools เป็นเครื่องมือที่พัฒนามาให้การทำงานได้เร็ว สะดวก และมีคุณภาพกว่า โดยการนำไฟฟ้ามาประยุกต์ใช้ ซึ่งปัจจุบันแพร่หลายมาก แต่สำหรับผู้กำลังจะเริ่มใช้เครื่องมือเหล่านี้ควรระมัดระวังและได้ศึกษาการใช้งานให้ดีเสียก่อน เพราะใบคัทเตอร์มีคมและความเร็วรอบของเครื่องจักรจะค่อนข้างสูง

- เครื่องเลื่อยวงเดือน

 มีหลายขนาด ที่นิยมใช้อยู่ระหว่าง  8-10 นิ้ว สำหรับเลื่อยวงเดือน เป็นเครื่องที่ทำงานค่อนข้างเอนกประสงค์  ถ้าต้องการงานที่มีความละเอียดของผิวตัดที่ได้ ก็เลือกจำนวนฟันถี่หน่อย แต่ถ้าเป็นงานตัด-ซอย ก็ใช้ฟันที่ห่าง(จำนวนฟันน้อย)เพราะจะไม่กินแรงและเพิ่มงานได้ด้วย

การนำไปใช้งาน 

   -งานตัดไม้ ตัดขนาด ตัดความยาวไม้ งานตัดจะหยาบหรือละเอียดขึ้นอยู่กับจำนวนฟันหากถี่ก็จะได้งานที่ละเอียดแต่ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน

   - งานซอยไม้(ช่างไม้บางคนเรียกโกรก)คือการผ่าไม้ตามแนวเกรนโดยมีรั้วเป็นตัวประคอง เช่นซอยไม้อัด กว้าง40cm. ยาวสุดแผ่นไม้อัด หากมีแท่นก็ตั้งรั้วให้ห่างจากใบเลื่อย 40cm หากไม่มีรั้วติดมากันตัวเครื่องก็ใช้วิธีบีบแคลมป์แล้วซอยไม้หรือบางทีเราก็เรียกโกรกไม้ได้เช่นกัน

   - งานเซาะร่อง(ปกติใบเลื่อยกว้างประมาณ3-3.5มม.)หากต้องการเซาะร่องกว้างมากน้อยก็ปรับจำนวนครั้งตามความกว้างของใบเลื่อย (บางครั้งก็ใช้เร้าเตอร์เซาะร่องได้เช่นกัน)

   - งานบังใบ คือการทำให้ไม้ที่ข้างใดข้างหนึ่งเป็นรูปตัว L เช่นการบังไบเพื่อใส่กระจก บังใบเป็นบ่ารับชั้นฯ การทำเดือยเหลี่ยมก็ใช้หลักการเดียวกับการบังใบ คือการตั้งกิน2ครั้ง ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน (บางครั้งก็ใช้เร้าเตอร์บังใบได้เช่นกัน)

เครื่องRouter             

เป็นเครื่องใช้งานได้หลากหลายเช่นกัน ความเร็วรอบสูงกว่า20000รอบ/นาทีจึงมีอันตรายมาก และการกินของคัทเตอร์นั้นรอบตัว 360องศา ก่อนป้อนงานให้สังเกตทิศทางการหมุนของคัทเตอร์ต้องสวนทางกับการป้อนชิ้นงานเสมอ ไม่เช่นนั้นจะดูดไม้เข้าไปหากจับไม่แน่นก็จะเกิดอันตรายได้ ภาษาที่โรงงานใช้อย่างเป็นทางการคือเครื่องลอกลาย แต่เร้าเตอร์จะเป็นแบบคอม้ามีแท่นเป็นมาตรฐาน

การนำไปใช้งาน 

    -งานตีบัว ทำลวดลาย เช่นตีบัวหน้าโต๊ะ ตีบัวคิ้วไม้ ฯ โดยรูปร่างของลวดลายขึ้นอยู่กับดอกคัทเตอร์ที่เราเลือกใช้ หรือต้องการจะกัดให้เป็นรูปวงกลม หรือเป็นวงรี ก็ทำได้เช่นกัน

   - งานบังไบ ก็ทำได้เช่นกัน เพียงแต่จะกินเพียงครั้งเดียว แต่มีข้อเสียคือเครื่องจะต้องทำงานหนักกว่าเครื่องเลื่อย เพราะต้องกินเนื้อไม้ส่วนที่ต้องตีออกมาทั้งหมด

   - งานเซาะร่อง โดยเฉพาะกรณีที่การเริ่มและจบไม่สุดไม้(เซาะร่องไม่ตลอดไม้) จะสะดวกกว่าเครื่องเลื่อย แต่เครื่องจะต้องทำงานหนักกว่าเช่นกัน

  - เครื่องทริมเมอร์ (Trimmer) 

การทำงานและคุณสมบัติคล้ายคลึงกับเครื่องเร้าเตอร์มาก แต่ขนาดเล็กกว่ามาก สามารถจับได้ด้วยมือเดียว ความเร็วรอบสูง ไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้กับงานหนัก เหมาะกับงานเก็บรายละเอียด

การนำไปใช้งาน

    - งานที่เก็บเข้ามุม เจียนขอบ เก็บขอบแผ่นลามิเนตที่ติดแล้ว โดยใช้ร่วมกับดอกเราเตอร์ตัวเล็ก แกน 2หุน ปลายติดลูกปืน

   - งานอื่นๆ เช่นเซาะร่องเล็กๆ แกะสลัก แบบฟรีแฮนด์

- สว่านมือ

 หรือสว่านไฟฟ้า  เดี๋ยวนี้ช่างชอบเอามาดัดแปลงใช้สำหรับไขควงไฟฟ้า เพราะจะหมุน ซ้าย ขวาได้และยังมีสว่านแบบโรตารี่ ที่มี3ระบบ เจาะเข้าปูนได้ง่ายและไม่กินแรง และใช้แย๊ก(สกัดปูน)แบบงานไม่หนักมากได้ แต่หัวจับสว่านจะเป็นแบบสวมเร็ว ใช้ไม้ได้กับดอกสว่านทั่วไป หากจะใช้ต้องมีหัวสว่านมาต่ออีกที

การนำไปใช้งาน 

   -งานเจาะไม้ เหล็ก ปูน

   - งานไขควง แทนสว่านไร้สายได้ดี เพราะรุ่นใหม่ๆทำมาหมุนซ้าย-ขวาได้ ปรับความเร็วรอบได้

   - งานขัด นำมาดัดแปลงติดตัวหัวขัดที่ปลายสว่านก็มีนำไปใช้กัน แต่มักใช้กับสว่านแท่นมากกว่า

- จิ๊กซอว์   

เหมาะสำหรับงานตัดที่มีรูปทรงโค้ง แต่ผิวที่ได้จะไม่เรียบ ต้องขัดแต่งอีกครั้ง ถึงอย่างไรก็จำเป็นสำหรับงานประเภทที่ขึ้นรูปด้วยมือ ความละเอียดขึ้นอยู่กับใบด้วยเช่นกัน จิ๊กซอว์เปรียบได้กับแบนซอว์(Band Saw)หรือเครื่องซอยโค้งในงานอุตสาหกรรมนั่นเอง

การนำไปใช้งาน 

   -งานเลื่อยโค้ง(หรืองานซอยโค้ง) และงานตัดตรงที่ไม่เน้นความละเอียดมากนัก

-เครื่องขัดสายพาน

  ช่างเรียกว่า "รถถัง" ใช้ขัดพื้นเรียบได้ดี กระดาษทรายสายพาน มีให้เลือก แบบหยาบจนถึงเบอร์ละเอียดตามความต้องการ การใส่กระดาษทรายก็ต้องใส่ให้ถูกทิศทางด้วยมิฉนั้นกระดาษทรายจะขาดก่อนเวลาอันควร ส่วนใหญ่มีขนาดหน้ากว้างที่นิยมใช้ที่4นิ้ว

การนำไปใช้งาน 

   -งานขัดแนวราบ ปรับผิวหน้า บนพื้นที่กว้างๆ ก่อนการทำสี หรือปรับแต่งการขึ้นรูปโค้ง

-เครื่องขัดแบบสั่น   

เป็นเครื่องที่ช่วนผ่อนแรงขัด เพราะตัวเครื่องเองจะมีลักษณะการสั่นไปบนหน้าผิวงาน มีทั้งทิศทางแนวตรงและแบบหมุนวนเหมาะกับงานเตรียมผิวงานสี

การนำไปใช้งาน 

   -งานขัดที่ต้องการความละเอียด ลักษณะการขัดจะเป็นแบบสั่น ขัดออกแรงกดช่วยนิดหน่อย ขัดได้ทั้งงานขัดก่อนทำสีหรือใช้กับงานสีได้ดี

-ไขควงไร้สาย

มีให้เลือกหลายรูปแบบ ถ้าแบบ มีแรงขับสูง(โวลล์สูง)ก็แทนสว่านได้ใช้กับแบตเตอร์รี่ จะมีถ่านสำรองให้เพื่อชาร์ทเตรียมไว้ อาจไม่สะดวกเท่าไฟฟ้าหรือลม   แต่กรณีที่ทำงานในจุดที่ไฟฟ้าไม่มีหรือต้องการความสะดวก คล่องตัวนั้น สว่านไร้สายก็เหมาะเช่นกัน

การนำไปใช้งาน 

   -งานไขตะปูเกลียวปล่อย

   - งานเจาะงานเล็กๆ

  -เครื่องเจียรเล็ก     

มีหลายขนาด แต่ช่างไม้นิยมตัวเล็กๆมากกว่ายังไม่ถึงกับจำเป็นนัก ในงานไม้เราใช้กับงานลับคมเสียส่วนใหญ่ แต่ไม่แนะนำให้ลับใบกบ เพราะความร้อนจะทำให้โครงสร้างความแข็งเสียไป

การนำไปใช้งาน 

   -งานลับดอกสว่าน งานเจียรทั่วไป

-  เครื่องไส    

 หรือนิยมเรียกกันติดปากว่ากบไฟฟ้า  มีหลายขนาดที่นิยมกันจะเป็น 4นิ้ว เหมาะกับการปรับผิวให้เรียบหรือเปิดผิวไม้  ปรับกินมากน้อยได้ตามต้องการ

การนำไปใช้งาน 

   -งานไสปรับผิวหน้า งานเปิดผิวหน้า

   -  เครื่องตัดองศา  

 เครื่องตัดองศา มีแบบสไลด์ได้และสไลด์ไม่ได้ หากเป็นอินดัคชั่นมอเตอร์ ก็ทำให้เสียงไม่ดังจะเงียบกว่าแบบทั่วไป การตัดบางรุ่นสามารถเอียงได้2ทิศทางในการตัด1ครั้ง (แนวนอน และแนวตั้ง)การตัดสไลด์ทำให้ตัดไม้ได้มากกว่า10นิ้ว ใช้งานง่ายและสะดวก

การนำไปใช้งาน 

   -งานตัด เช่นตัดตรง ตัดองศา ตัดองศา2แนว

เกร็ดเล็กๆน้อย สำหรับ Shop งานไม้

  ท่อลมเดินมาตามผนัง ปล่อยลงเป็นจุดๆ ตามต้องการ เพราะก่อนหน้านี้ ต่อจากถังลม2สายก็เดินไม่สะดวกแล้ว (แม็ก เดี่ยว-คู่ ไขควงลม กาพ่นสี ฯ)ใช้ท่อ2หุน ต๊าปเกลียวแล้วใช้ข้อต่อตามต้องการ(มีเทปพันเกลียวกับคอม้าด้วยครับ ตอนต่อท่อเข้าด้วยกัน)

   กล่องเก็บดอกเจาะ ที่ช่างเขาทำขึ้นมาเก็บใข้กันเองครับ

  ถังลม ต่อใว้ข้างนอกแล้วเดินท่อเข้ามาในห้องก็สะดวกดีครับ

   นี่เป็นถังดูดฝุ่นที่เราทำกันขึ้นมาใช้เอง ใช้ผ้าดิบเป็นตัวกรองฝุ่น มอเตอร์1แรงม้า ก็ ok อยู่ครับ

  การเก็บแคลมป์ยาวๆ

   นี่ก็การเก็บแคลมป์แบบสั้น

   กล่องใส่เวอร์เนียร์คาร์ลิปเปอร์

   สร้างเคื่องขัดแบบรถถัง มาดัดแปลงเป็นเครื่องขัดตั้ง

  เร้าเตอร์ที่ดัดแปลงมาเป็นโต๊ะได้

   เครื่องตัดองศาที่สามารถดึงตัดสไลด์ได้มากถึง30ซม เลยทีเดียว เราก็สร้างเครื่องมือสำหรับรองรับการตัดไม้ที่ยาวกว่าแท่นเครื่องได้เช่นกัน

  เป็นเครื่องที่ต้องมีใน shop ก่อนเครื่องใดๆ นั่นก็คือเลื่อยวงเดือนครับ มีหลายแบบ หลายขนาด ราคา แล้วแต่กำลังที่แต่ละคนมี หรือเหมาะสมมากน้อยเพียงใด แต่ก็อย่าลืมเรื่องความปลอดภัยด้วยครับ


เครื่องมือที่ใช้ลม Air tools

เครื่องมือที่ใช้ลมสำหรับงานไม้นั้นปัจจุบันได้รับความนิยมสูงโดยเฉพาะกลุ่มปืนลม โดยจะใช้แรงดันลมเป็นตัวขับให้กลไกต่างๆทำงาน มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่ เว็บไซต์thaicarpenter.com อยากแนะนำให้ได้รู้จักและการนำไปใช้งานพอสังเขปดังนี้

กลุ่มเครื่องมือ

- ปั๊มลม

เป็นเครื่องที่ให้กำเนิดแรงลมโดยปั๊มลมเก็บเอาไว้ในถังมีขนาดของตัวมอเตอร์ขับที่แตกต่างกันออกไปรวมทั้งถังเก็บก็มีขนาดแตกต่างกันไปด้วยเดี๋ยวนี้มีแบบโรตารี่ทำให้การปั๊มลมเติมเข้าไปในถังทำได้เร็วขึ้นแต่การดูแลรักษาก็จะยากขึ้นตามด้วย



- ปืนลมขาเดี่ยว (แม็กเดี่ยว)

เป็นเสมือนตัวยิงลวดหรือตะปูลงไปบนชิ้นงานทำให้สะดวกและรวดเร็วมากมีขนาดลวดตั้งแต่10มม.ไปจนถึง50มม.ปืนลมก็มีหลายรุ่นหลายแบบแต่ที่นิยมก็เป็นแบบF30(สามารถใช้กับลูกแม็กเดี่ยวตั้งแต่10-30มม.



- ปืนลมขาคู่ (แม็กคู่)

หลักการใช้งานคล้ายกันแบบขาเดี่ยว แต่การยึดติดจะเป็นแบบต่อชนที่ด้านข้าง ลวดยิงเป็นขาคู่มีความลึกที่แตกต่างกันตั้งแต่4มม.จนถึง22มม.ความกว้างก็มีขนาดต่างกันตั้งแต่4มม.จนถึง10มม.

 - ปืนลม FST50
ยิงได้ทั้งคอนกรีตและไม้ ความลึกสูงสุดได้ 50 มม. ใช้ลูกตะปู รุ่น FST-xx (ยิงคอนกรีต) และ รุ่น T-xx (ยิงไม้)

- ปืนขาเดี่ยว PIN625

เหมาะกับงานละเอียดที่ไม่ให้เห็นหัวตะปู เช่น กรอบรูป หรือยิงบนชิ้นงานเล็กๆ จะไม่ทำให้ไม้ปริ-แตกได้ง่าย


- สว่านลม/ไขควงลม

เครื่องมือชนิดนี้ช่างไม้จะนิยมใช้กับสว่านไฟฟ้าเสียเป็นส่วนใหญ่  แต่ถึงอย่างไรสว่านลมก็ยังทำงานได้สะดวก กรณีไม่มีไฟฟ้า และนอกจากนี้สว่านลมหรือไขควงลมยังให้แรงที่ดีกว่าด้วย แต่ถ้าถังลมมีปริมาตรน้อยก็ไม่ค่อยเหมาะนักเพราะสว่านลมหรือไขควงลมจะกินปริมาณลมมากพอสมควร



-กาพ่นสี

ใช้ได้ดีกับงานที่ต้องการความละเอียดผิวที่ได้จะมีลักษณะเรียบกว่าและทำงานได้เร็วกว่าการใช้แปรงทาสี หากไม่ต้องการความละเอียดมากนักก็เลือกใช้แปรงทาก็ได้เช่นกัน เพราะกาพ่นสีจะเปลืองกว่า บางทีช่างก็เลือกพ่นสีเที่ยวสุดท้ายก่อนจบงาน





-ตัวเป่าลม(ปืนลม)

เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกได้เช่นกันช่วยงานประเภทเป่าทำความสะอาดที่อยู่ในซอกมุมเข้าถึงยาก



กลุ่มวัสดุ-อุปกรณ์



-สายลม

เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างถังลมและเครื่องมือโดยทำหน้าที่ผ่านลมไปยังเครื่องมือ มีทั้งจำหน่ายแบบสำเร็จรูป ทั่วไปนิยมแบบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8มม. ความยาวที่ทำมาจำหน่ายมีแบบสำเร็จ 10ม. 15ม. 20ม.หรือจำหน่ายความยาวตามผู้ใช้ต้องการ



-ข้อต่อสวมเร็ว(ค็อปเปอร์)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อระหว่างสายลมเข้ากับเครื่องมือ เป็นลักษณะการสวม สวมตัวผู้-ตัวเมีย และเมื่อสวมแล้วลมต้องไม่รั่วได้ มีการจำหน่ายเป็นชุด และแยกจำหน่ายตามต้องการ



- ลูกแม็ก(ลวด ขาเดี่ยว-ขาคู่)

เป็นวัสดุที่ต้องใช้กับปืนลมทั้งแม็กเดี่ยวและแม็กคู่บรรจุมาเป็นกล่องและการใช้งานก็เพียงบรรจุลงในซองของตัวปืนลมเท่านั้น ขนาดความยามมีให้เลือกหลายขนาดตามต้องการ



- หัวไขควง

เป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ใช้สำหรับไขตะปูเกลียวปล่อย โดยใช้ร่วมกับสว่าน หรือไขควงลม สว่านไร้สาย มีทั้งหัวแฉกและแบน มีแม่เหล็กในตัว สามารถดึงเกลียวปล่อยให้ติมาได้ โดยเฉพาะเมื่อไขกับเกลียวปล่อยตัวเล็กๆจะสะดวกในการหยิบจับ



- น้ำมันหล่อลื่น

สำหรับลดการเสียดสีในระบบปืนลม ช่วยยืดอายุการใช้งานกระบอกสูบ และยางหรือซีล โดยการหยอดเข้าที่ทางเข้าลมท้ายปืน ก่อนการใช้งาน อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

 ขอบคุณบทความและรูปจากเวป //www.thaicarpenter.com ค่ะ




Create Date : 18 ธันวาคม 2555
Last Update : 18 ธันวาคม 2555 11:07:21 น.
Counter : 155467 Pageviews.

30 comment
IDEA-Garage DIY จัดโรงรถของเราให้เรียบร้อยสวยงาม
วันนี้นำภาพการจัดการโรงรถ หรือ Garage ให้ดูดี และเรียบร้อยมาฝากกัน สำหรับบ้านที่มีพื้นที่ใช้สอยจำกัดนั้น การเก็บของให้เป็นระเบียบและใช้เนื้อที่น้อยที่สุดนั้นสำคัญไม่แพ้สิ่งอื่นใด อีกทั้งยังเป็นการตกแต่งบ้านให้ดูดีมีสไตลอีกด้วยค่ะ ลองนำไปใช้กันดูน่ะค่ะ

ขอบคุณภาพจาก //www.facebook.com/PremiumToolOutlet ค่ะ



garage idea

garage idea





garage idea

garage idea



Create Date : 17 ธันวาคม 2555
Last Update : 17 ธันวาคม 2555 16:39:42 น.
Counter : 3999 Pageviews.

0 comment
ไอเดีย วิธีการจัดพื้นที่จอดรถ ภาพจาก sanook.com
วันนี้เอาภาพตัวอย่าง วิธีการจัดพื้นที่จอดรถ หรือโรงรถมาให้ดูเป็นไอเดียกันน่ะค่ะ

ขอบคุณภาพจาก sanook.com ค่ะ


โรงจอดรถ

โรงจอดรถ

โรงจอดรถ

โรงจอดรถ

โรงจอดรถ

โรงจอดรถ

ขอบคุณภาพจาก sanook ค่ะ



Create Date : 13 ตุลาคม 2555
Last Update : 13 ตุลาคม 2555 10:18:45 น.
Counter : 2793 Pageviews.

0 comment
1  2  

donkey55
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 13 คน [?]