คนเกิดวันพุธ ความทุกข์โถมทับทวี
ยีนที่เห็นแก่ตัวและอาณาจักรมด

ไม่นานมานี้ อ่านหนังสือ The selfish gene มาถึงบทที่ 10 ซึ่งอธิบายพฤติกรรมการอยู่ร่วมเป็นกลุ่มหรือสังคมของสิ่งมีชีวิตด้วยทฤษฎียีนที่เห็นแก่ตัว มีการยกตัวอย่างที่สำคัญคืออาณาจักรมดแล้ว รู้สึกว่ามันน่าสนใจมากๆ จึงอยากเรียบเรียงเอาไว้ให้เป็นความทรงจำระยะยาวสำหรับตนเองและแบ่งให้คนอื่นๆลองอ่านดู

ก่อนที่จะพูดถึงอาณาจักรมด คงต้องกล่าวถึงทฤษฎียีนที่เห็นแก่ตัวเสียก่อน Richard Dawkins ผู้แต่งหนังสือ The selfish gene ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับยีนที่เห็นแก่ตัวอันมีชื่อเสียงอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็ถูกต่อต้านเช่นเดียวกัน ยีน(ในความหมายรวมทั้งเอกพจน์และพหูพจน์)ในมุมมองของดอว์กิ้นคือสิ่งที่ดำรงอยู่โดยเพิ่มจำนวนสำเนาของตนเอง และมีวัตถุประสงค์ในการดำรงอยู่เพื่อการณ์นั้น เพื่อเป้าหมายดังกล่าว ยีนจะกระทำทุกสิ่งอย่างให้ได้มาโดยมีคู่แข่งเป็นจำนวนมาก(ซึ่งก็คือยีนอื่นๆที่ไม่เหมือนกัน) โดยยีนอาศัยร่างกายของสิ่งมีชีวิตเป็นเครื่องมือในการเพิ่มสำเนาของตนเอง ยีนเปรียบเสมือนผู้ออกคำสั่งให้ร่างกายมีชีวิต หาอาหาร สืบพันธุ์ เพื่อตนเอง ดังนั้นจึงอาจกล่าวว่ายีนนั้นเห็นแก่ตัว (แน่นอนว่าคำว่า เห็นแก่ตัว อาจฟังดู anthropomorphic แต่ดอว์กิ้นก็ย้ำหลายรอบในหนังสือของเขาว่า การใช้คำว่าเห็นแก่ตัวไม่ได้หมายความว่ายีนนั้นมีสำนึก ความรู้สึก แต่เป็นการใช้คำเพื่อสื่อความหมายให้เข้าใจง่ายที่สุดสำหรับการสื่อสารระหว่างมนุษย์)

ด้วยเหตุที่ยีนเห็นแก่ตัว ความรักของพ่อแม่ พี่น้อง เครือญาติจึงถูกตีความหมายเป็นความเห็นแก่ตัวของยีน ที่ต้องการปกป้อง รักษาสำเนาที่คล้ายกับตนเองมากที่สุดให้ดำรงอยู่ต่อไปและเพิ่มจำนวนถัดไปจากรุ่นสู่รุ่น แม่ห่วงใยลูก เพราะลูกมีพันธุกรรมที่เหมือนกับแม่ 50% แต่ห่วงมากกว่าที่ห่วงใยหลาน ที่มีพันธุกรรมเหมือนกับตนเอง 25% เป็นต้น

ในบทที่ 10 ผู้เขียนได้พยายามอธิบายโครงสร้างสังคมมดด้วยทฤษฎียีนที่เห็นแก่ตัว สังคมมดอันซับซ้อนดำรงอยู่ด้วยกันได้โดยไม่ต้องอาศัยสำนึกระดับสูงเพราะอะไร ก็เพราะว่ามดทุกตัวในสังคมมีความเกี่ยวข้องพันธุกรรมกันอย่างมาก มดทุกตัวเกิดมาจากนางพญาตัวเดียวกัน แต่ระดับความสัมพันธ์ของมดนั้นไม่ได้เรียบง่ายอย่างที่คิด

มดมีระบบเพศและรูปแบบพันธุกรรมที่ไม่เหมือนกับสิ่งมีชีวิตชั้นสูง นางพญาหนึ่งตัวเกิดจากมดเพศเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์จากเพศผู้หนึ่งตัว เมื่อมันกลายสภาพเป็นนางพญา มันเก็บอสุจิของมดเพศผู้ไว้ในร่างกายเพื่อปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ไว้ได้นานถึงสิบปี แต่กระนั้น นางพญาจะออกไข่สองชนิด ชนิดที่ได้รับการปฏิสนธิและชนิดที่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะเจริญเป็นมดเพศเมีย มดเพศเมียส่วนใหญ่จะเป็นหมันและเป็นมดงาน มดเพศเมียที่ไม่เป็นหมันไม่ได้ถูกกำหนดโดยพันธุกรรมแต่โดยการเลี้ยงดูโดยเฉพาะอาหารที่ได้รับ ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการปฏิสนธิจะเจริญเป็นมดเพศผู้

ดังนั้นมดเพศผู้จึงมีโครโมโซมครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับเพศเมีย แถมโครโมโซมดังกล่าวยังมาจากนางพญาหรือแม่ของมันล้วนๆ หากมดเพศผู้มียีน A แน่นอนว่ายีน A นั้นมาจากแม่ของมัน 100% จึงอาจกล่าวได้ว่ามดเพศผู้มีความสัมพันธ์กับนางพญา 100% ขณะที่นางพญาสัมพันธ์กับลูกเพศผู้ 50% (เพราะเกิดจากเซลล์ไข่ที่แบ่งตัวแบบ meiosis) และมดเพศผู้สัมพันธ์กันระหว่างพี่น้อง 50%

ความประหลาดดังกล่าวส่งผลให้ทุกเซลล์อสุจิของมดเพศผู้หนึ่งตัวมียีนเหมือนกันทุกประการ กลับมาที่มดเพศเมียซึ่งเกิดจากไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ มดเพศเมียจึงมียีนครึ่งหนึ่งได้จากแม่และอีกครึ่งได้จากพ่อ ดังนั้นมดเพศแม่จึงสัมพันธ์กับนางพญาเช่นเดียวกับนางพญาสัมพันธ์กับลูกเพศเมียคือ 50% แต่เมื่อเราพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องเพศเมีย...สมมติว่ามดเพศเมียตัวหนึ่งมียีน B หากยีนดังกล่าวมาจากแม่ พี่น้องเพศเมียของมันมีโอกาสที่จะมียีน B อยู่ 50% แต่หากยีนดังกล่าวมาจากพ่อ พี่น้องของมันมีโอกาสครอบครองยีนดังกล่าว 100% เมื่อเฉลี่ยแล้ว มดเพศเมียจึงสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องเพศเดียวกันถึง 75% มากกว่าที่สัมพันธ์กับนางพญาหรือพี่น้องเพศผู้ด้วยกัน!!



ดังนั้น ในมุมมองของมดงาน ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของอาณาจักร ย่อม"อยาก"ให้มีพี่น้องเพศเดียวกันมากที่สุด (เนื่องจากมีสำเนายีนเหมือนกัน 75%) มดงานเสมือนว่าไม่ได้มีชีวิตเพื่อตนเองแต่เพื่อราชินี เป็นเพราะว่าตัวมันนั้นเป็นหมัน ไม่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มจำนวนสำเนายีนที่ครอบครองโดยตรง แต่นางพญาต่างหากสำคัญเพราะเป็นเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสำเนาที่เหมือนกับตัวมัน และสำเนาดังกล่าวมีโอกาสเป็นราชินีตัวต่อไป ส่วนมุมมองของนางพญา เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นลูกเพศผู้หรือเพศเมียก็ต่างสัมพันธ์กับมัน 50% เท่ากัน ดังนั้นมันจึง"อยาก"ได้ลูกทั้งสองเพศในอัตราส่วนเท่าๆกัน

ดังนั้นจึงเกิด conflict of interest ระหว่างมดนางพญาและมดงาน (เราละเลยมดเพศผู้และมดเพศเมียที่ไม่เป็นหมันเนื่องจากมีบทบาทควบคุมอาณาจักรน้อยกว่า) จากคำนวณ มดนางพญาควรจะต้องการลูกเพศผู้และเพศเมียในสัดส่วน 1:1 ในขณะที่มดงานจะต้องการพี่น้องเพศผู้และเพศเมียในอัตราส่วน 1:3 และเนื่องจากมดงานมีบทบาทเหนือกว่าในแง่ที่ว่ามันทำหน้าที่เลี้ยงดู คัดเลือกตัวอ่อนตั้งแต่นางพญาออกไข่ มันจึงสามารถกำหนดเพศประชากรในอาณาจักรได้ ถึงแม้ว่ามดนางพญาจะพยายามออกไข่ในสัดส่วนที่เท่ากัน มดงานเป็นฝ่ายชนะ และสัดส่วนเพศในอาณาจักรมดจึงเป็น 1:3 และจากการสำรวจมดมากกว่า 20 สปีชี่ส์พบว่าสัดส่วนเพศใกล้เคียงกับตามทฤษฎีอย่างมาก

สำหรับมุมมองของมดงานนั้นมีหลักฐานเชิงประจักษ์ แล้วเราจะพิสูจน์มุมมองของนางพญาได้อย่างไร? ดอว์กิ้นขยายการอธิบายต่อด้วยอาณาจักรแบบใช้งานทาส ในกรณีดังกล่าว มดเพศเมียที่เป็นหมันส่วนใหญ่จะเป็นมดทหาร ทำหน้าที่บุกเข้าไปยังอาณาจักรอื่นแล้วขโมยตัวอ่อนกลับมาที่รังเพื่อเป็นทาสมดงาน ตัวอ่อนที่ถูกลักพาจะเป็นทาสด้วยความยินยอมเนื่องจากมันถูกเลี้ยงดูในอาณาจักรใหม่ตั้งแต่เกิด เสมือนหนึ่งว่ามันเกิดจากอาณาจักรนั้นๆ มันดำรงสัญชาตญาณเดียวกับมดงานทั่วไปคือต้องการเพิ่มประชากรเพศเมียให้มากที่สุด ทั้งที่มันไม่รู้(และไม่มีโอกาสรู้)ว่าประชากรที่มันเลี้ยงดูนั้นแทบไม่มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมต่อกัน



สำหรับนางพญา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการเพิ่มประชากรเพศผู้และเพศเมียในอัตราส่วนเท่ากัน นางพญาจะมีการใช้กลยุทธต่างๆเพื่อหลอกลวงมดงานเช่น ออกไข่มดเพศผู้ให้มีกลิ่นคล้ายมดเพศเมีย ในกรณีของอาณาจักรที่มีมดงานของตนเอง มดงานก็จะหากลยุทธในการจับผิดนางพญาและเอาชนะได้ในที่สุด ยีนของการแข่งขันระหว่างนางพญาและมดงานจะดำเนินไปจากรุ่นสู่รุ่น ในกรณีของอาณาจักรที่ใช้มดทาส เนื่องจากมดทาสทำงานฟรี ไม่สามารถถ่ายทอดยีนของตนจากรุ่นสู่รุ่นได้ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ดังนั้นมดทาสจึงไม่สามารถแข่งขันกลยุทธกับนางพญาได้ นางพญาเป็นฝ่ายชนะ และสัดส่วนเพศผู้:เพศเมียในอาณาจักรดังกล่าวจะเป็น 1:1 ซึ่งจากการสำรวจมดที่มีการใช้แรงงานทาสอย่างน้อย 2 สปีชี่ส์ พบว่าสัดส่วนใกล้เคียงกับ 1:1 จริงๆ

ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างหนึ่งในการพยายามอธิบายระบบสิ่งมีชีวิตด้วยทฤษฎียีนที่เห็นแก่ตัว ซึ่งยังคงมีข้อโต้แย้งอย่างมาก และต้องการหลักฐานสนับสนุนครับ

เรียบเรียงจากบท You scratch my back, I'll ride on yours, Richard Dawkins, The selfish gene, 2009.



Create Date : 13 ตุลาคม 2553
Last Update : 13 ตุลาคม 2553 18:32:38 น. 2 comments
Counter : 7014 Pageviews.

 
แปะ ******

แวะมาพ่นสีกำแพงบล๊อกจ้า


โดย: โอ้ละหนอ วันที่: 13 ตุลาคม 2553 เวลา:21:53:53 น.  

 
น่าสนใจมาก ต้องไปหามาอ่านบ้าง ขอบคุณครับ


โดย: navalsamurai (navalsamurai ) วันที่: 14 ตุลาคม 2553 เวลา:1:55:37 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

มีชีวิตบนดาวอังคารหรือเปล่านะ
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]






....โลกมนุษย์นี้ไม่มีที่แน่นอน
ประเดี๋ยวเย็นประเดี๋ยวร้อนช่างแปรผัน
โชคหมุนเวียนเปลี่ยนไปได้ทุกวัน
สารพันหาอะไรไม่แน่นอน
ชีวิตเหมือนเรือน้อยล่องลอยอยู่
ต้องต่อสู้แรงลมประสมคลื่น
ต้องทนทานหวานสู้อมขมสู้กลืน
ต้องจำฝืนสู้ภัยไปทุกวัน
เป็นการง่ายยิ้มได้ไม่ต้องฝืน
เมื่อชีพชื่นเหมือนบรรเลงเพลงสวรรค์
แต่คนที่ควรชมนิยมกัน
ต้องใจมั่นยิ้มได้เมื่อภัยมา


พันตรีหลวงวิจิตรวาทการ





เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา
จงเลือกเอาสิ่งที่ดีเขามีอยู่
เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู
เรื่องที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย
จะหาคนที่มีดีเพียงส่วนเดียว
อย่าเที่ยวเสาะหาสหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหาหนวดเต่าตายเล่าเอย
ฝึกให้เคยมองแต่ดีมีคุณจริง

หลวงพุทธทาส





ชีวิตใกล้ปัจฉิมวัย ไม่เป็นไปตามแผนการเมื่อปฐมวัย อะไรที่ยิ่งใหญ่เมื่อเช้า เป็นของเล็กน้อยเมื่อเย็น อะไรที่เป็นสัจจะเมื่อแดดจ้า กลายเป็นมายาเมื่อยามพลบ

We cannot live the afternoon if life
according to the program on life’s morning; for what was great in the morning will be little at evening, and what in the morning was true will at evening have become a lie.



C.G. Jung.




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add มีชีวิตบนดาวอังคารหรือเปล่านะ's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.