Group Blog
 
All blogs
 
Ashtanga Yoga ฝึกยังไง เป็นยังไง ต่างจากแบบอื่นยังไง มาๆ จะเล่าให้ฟังจ้า



สวัสดีค่ะ วันนี้โบว์อยากจะมาขอเล่าถึงประสบการณ์ในการฝึกโยคะในแบบ Ashtanga yoga ที่โบว์ได้ฝึกมาซักระยะหนึ่งแล้วให้ฟังตามความเข้าใจและความรู้สึกของตัวเองในระดับผู้ฝึกนะคะ (ผิดถูกยังไง ขออภัยนะคะ เพราะประสบการณ์ยังน้อยค่ะ แต่อยากลองอธิบายตามความเข้าใจของตัวเองดู)

ต่างจากโยคะแบบอื่นยังไง ทำไมโบว์ถึงได้ชอบการฝึกแบบนี้จัง ไปๆ ไปค้นหาด้วยกันเลยคะ่

guruji2

อัชทางก้าโยคะ (หรือตามตำราไทยชอบเรียกว่า อัษฎางค์โยคะนั่นแหละ) เป็นโยคะดั้งเดิมมาจากอินเดีย ก่อตั้งโดยท่านกูรูจี Sri K Pattabhi Jois (โดยปัจจุบันนี้ท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว) ปัจจุบันผู้ที่ทำหน้าที่เป็น director หัวเรือใหญ่คือ หลานของท่าน ชื่อ Sharath Jois ท่านนี้ค่ะ

9389564

การฝึกอัชทางก้านี้มีมาจากเมือง Mysore ประเทศอินเดีย การฝึกอัชทางก้าจะแบ่งเป็นสองแบบ คือแบบ LED นั่นคือการฝึกแบบมีครูนำฝึก กับแบบ Mysore ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของการฝึกแบบนี้ ดังจะเห็นได้ว่าตั้งชื่อการฝึกแบบนี้ตามชื่อเมืองเลยทีเดียว

มาพูดถึงเรื่องการฝึกก่อน การฝึกอัชทางก้าจะเป็นการฝึกแบบ fixed series นั่นคือ ท่าต่อจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไปตามซีรี่ยส์จนจบ เริ่มจากซีรี่ยส์แรก คือ ไพรมารี่ ซีรี่ยส์ (Primary series) ต่อมาเป็น Intermediate Series หรือ second series แล้วจึงเป็น third, fourth series (advance A, B) แล้วก็เป็น ซีรี่ยส์ fifth, sixth สุดท้าย ที่มีคนฝึกจนจบเพียงแค่ไม่กี่คนเท่านั้นเอง สรุปว่ามีทั้งหมด 6 ซีรี่ยส์

แล้วจะเริ่มยังไง ? ก็เริ่มที่นี่ก่อนเลยค่ะ primary series

pm1

pm2

การฝึกในระบบของอัชทางก้า ถ้าดูตามแผ่นซีรี่ยส์จะเห็นว่า จะเริ่มต้นด้วยการสวด opening mantra ก่อนทุกครั้ง ในการฝึกแขนงนี้ขอบอกว่า เราจะต้องให้ความเคารพนับถือครูบาอาจารย์ของเรามากๆเลยค่ะ ตามในบทสวดนี้ก็คือการ ขอบคุณ ยกย่อง ครูบาอาจารย์ของเราและท่านปตัญชลี

kpjayi-from-outside-mysore

(รูป KPJAYI หรือ K. Pattabhi Jois Ashtanga Yoga Institute ที่เมืองมัยซอร์ ประเทศอินเดียค่า ต้นตำรับอยู่ที่นี่)

เมื่อสวดเสร็จ ก็จะเข้าสู่การไหว้พระอาทิตย์แบบ A ห้าร้อบ B ห้ารอบ แล้วจึงเข้าสู่ชุดท่ายืน  ชุดท่านั่ง ชุดท่าโค้งหลัง แต่ชุดท่าจบ

ก่อนท่านอนพัก Sukhasana เราก็จะปิดท้ายการฝึกด้วย Closing mantra ที่เป็นบทสวดที่อุทิศการฝึกของตัวเองให้กับสันติภาพของโลกใบนี้ จบด้วยคำว่า โอม ชานติ ชานติ ชานติ (ชานติ ในที่นี้ แปลว่า สันติ )

เมื่อสวดเสร็จแล้วเราก็จะลงไปพักที่ท่า Sukhasana คือท่านอนพักหายใจช้าที่สุดจนกระทั่งหัวใจเต้นช้าลงๆ นอนนิ่งๆ สบายๆ จนกระทั่งหัวใจเต้นเป็นปกติแล้วค่อยลุกขึ้นมาม้วนเสื่อกลับบ้านได้

** เรียกว่า Sukhasana เหรอ? ไม่ใช่ Savasana เหรอ? ใน Ashtanga เราจะเรียกการนอนพักหลับตาว่า Sukhasana ค่ะ ส่วน Savasana จะเป็นขั้นสูงกว่า กล่าวคือ ต้องหยุดการเต้นของหัวใจได้เลย ซึ่งจะฝึกในผู้ฝึกระดับสูงที่ไปถึงซีรี่ยส์ห้าแล้วค่ะ ดังนั้นถ้านอนพักปกติจะเรียกว่า sukhasana (ต่างจากใน hatha/vinyasa ที่จะเรียก sukhasana คือท่านั่งขัดสมาธิสบายๆ แล้วเรียกท่าพักว่า Savasana ค่ะ)

ถ้าดูจากชุดท่าแล้วจะเห็นว่าท่าที่ท้าทายจะมาเริ่มเอาช่วงกลางๆท่านั่ง หลังจากท่าเรือหรือ นาวาซานะ เราจะขอเรียกส่วนนี้ว่า ท่าพีค ของ primary series แล้วกันค่ะ (คิโนเรียกว่าขึ้นจุดสูงสุดของภูเขา) มีสามท่า นั่นคือ bhujapidasana,suptakurmasana,garbha pindasana หลังจากสามท่านี้ไปก็จะเรียกได้ว่า ค่อยๆ ไต่ระดับลงจากภูเขาแล้ว (ก่อนที่จะไปพีคจัดอีกทีในท่า Backbends)

2

(รูป Mysore Class ของ Sharath Jois)

อันที่จริง ถ้าคนที่ไม่เคยฝึก ดูจากซีรี่ยส์ชาร์ต จะงงๆ ว่าต่อท่ายังไง ทำท่านี้ แล้วก็ต่อเข้าท่านี้เลยเหรอ อันนี้คนที่พึ่งฝึกต้องมาเรียนรู้ในสิ่งที่เราเรียกว่า Vinyasa ก่อนค่ะ

ในอัชทางก้าเราจะเรียก Vinyasa ว่าเป็นการหายใจพร้อมการเคลื่อนไหว ( movement which lead by breathe or movement with breathing)

เนื่องจากเป็น fixed series เค้าจะบ่งบอกชัดเจนว่า ตรงนี้ ลมหายใจเข้า ให้ทำอะไร ลมหายใจออกให้ทำอะไร ครูจะเรียกว่า vinyasa count ถ้าเราหายใจเข้าแล้ว action ผิด เค้าจะบอกว่า วินยาสะผิด หรือให้เช็ควินยาสะอีกทีนึง ซึ่งจะแตกต่างจากการฝึกแบบ Hatha หรือ Vinyasa flow ที่จะเรียกวินยาสะคือการทำ Chaturanga อะไรแบบนี้

13335713_1242453529113282_4732994367136294736_n

เอาละ ทีนี้ ถ้าเราจำซีเควนส์อะไรไม่ได้เลย ไม่รู้เรื่องเลยทำไง

มาดูซิว่าเรามีคลาสอะไรบ้างนะ ? มี Mysore กับ LED งั้นจำไม่ได้เข้า LED ละกัน ?

อยากจะแนะนำผู้ฝึกใหม่ๆ ว่า ถ้ายังทำไม่ได้ ไม่แนะนำให้เข้า LED นะคะ ถ้าจะเข้าให้เข้า half LED เพราะถ้า Full LED คือ มันจะเหนื่อยมาก มันจะสับสน งงๆ เพราะครูเค้าจะไม่รอ เนื่องจากเค้าต้องนับให้ทัน Vinyasa เข้าออก ค่ะ ดังนั้นบีกินเนอร์ส่วนมากที่ไปเข้า Full LED จะเกิดอาการ ท้อแท้ สับสน รู้สึกว่ามันเหนื่อย ยาก ทำไม่ได้แล้วก็เลิกทำไปเลย พร้อมกับบอกว่า อัชทางก้าน่ะ โหดเกินไป

มาดูวีดีโอความแตกต่างของ LED Class และ Mysore Class ค่ะ

อันนี้ LED Class ของ Kino Macgregor

[youtube https://www.youtube.com/watch?v=7W8g81J0i2M]

ส่วนอันนี้เป็นวีดีโอ Mysore Class ตอนที่ AYBKK จัดทริปไปที่เสม็ด

[youtube https://www.youtube.com/watch?v=wYH4Ads2CJg]

[youtube https://www.youtube.com/watch?v=EFfwI6cKJF8]

เห็นความแตกต่างมั๊ยคะ ?

จะเห็นว่า Mysore เหมือนต่างคนต่างฝึก เราควรต้องจำซีรียส์ได้ก่อนใช่แมะ ความจริงคือไม่ใช่นะ เอาใหม่ๆ คิดใหม่ๆ

มันเป็นแบบนี้

สมมติว่าเราเดินเข้าคลาส Mysore เราควรจะแจ้งครูเค้าก่อนว่าเราเป็น newbie ก่อนที่เราจะเข้าคลาส โทรบอกหรืออีเมลล์บอกอะไรแบบนี้

พอเราเข้าคลาสไป เค้าจะถามเราเลยว่า มาใหม่ใช่มั๊ย อ่ะ ให้ทำแบบนี้ๆๆ เค้าก็อาจจะให้ทำ Sun A ก่อน ห้ารอบ ถ้าเราดูแล้วพอไปได้ ก็จะให้ทำ Sun B ห้ารอบ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของครู ถ้าครูเค้าดูแล้วเราพอได้ เค้าก็จะให้เราทำท่า Standing ถ้าเรายังจำไม่ได้ บางที่ก็จะให้ทำซ้ำท่าไหนๆ ก็แล้วแต่ดุลพินิจของครุค่ะ ถ้าดูแล้วร่างกายเราพอได้แค่นี้ เค้าก็มักจะให้ทำท่า finishing สามท่าสุดท้าย แล้วนอนพักเลย หรือถ้าดูแล้วร่างกายเราไปได้ต่อ ก็อาจจะได้ทำต่อจนถึงท่านั่ง คือท่า Marichyasana C หรือ D ซึ่งส่วนมากจะติดกันอยู่ตรงนี้ เพราะถือเป็นท่ายากด่านแรกที่มักจะติดกันค่ะ (ท่าในรูปนี้เลยค่ะ)

13346498_1242453402446628_7208081876518835839_n

จะเห็นว่ามันเป็นการฝึกตามร่างกายจริงๆ โดยที่ครูจะดูว่าร่างกายเราถึงได้แค่ไหน เมื่อร่างกายเราดูแล้วไปต่อได้ ครูก็ถึงจะอณุญาติให้ทำท่าต่อไปได้ค่ะ เห็นมั๊ยคะ ว่าเป็นการฝึกที่เราต้องมีความเคารพให้กับครูของเรามากจริงๆ และเรียกได้ว่าเป็นการฝึกตามร่างกายของผู้ฝึกอย่างแท้จริง แม้แต่การปรับ แอดจัส ต่างๆ ก็แอดจัสตามร่างกายของแต่ละคนที่มาไม่เหมือนกันด้วยนะ

เมื่อทำได้จนจบท่านั่งแล้วก็จะเข้าท่า Backbends โดยจะเป็นท่า Wheel หรือ สะพานโค้ง แบบวางหัวแล้วเดินมือเข้าสามครั้ง ถ้าทำได้ก็จะให้ลุกขึ้นมายืนจาก backbend ในครั้งที่สาม แล้วดร้อปแบ๊คสามครั้ง แล้วจึงเข้าสู่ฟินิชชิ่ง แบบชุดเต็ม

ถ้าทำดร้อปแบ๊คได้จนคล่องแล้ว ครูก็จะพิจารณาให้ท่าเพิ่มในส่วนของซีรี่ยส์สอง โดยจะให้เพิ่มทีละท่าค่ะ ระบบของ Ashtanga จะเป็นแบบนี้
[youtube https://www.youtube.com/watch?v=diPJ0r-QTGU]
ดังนั้น ถ้าเราพึ่งเริ่มเลยแล้วเราไปเข้า Led Full Primary เราจะพบกับความหนักหน่วง เพราะจะเป็นการฝึกตามลมหายใจของครูที่นับ ถ้าเราจำซีรี่ยส์ไม่ได้ เราจะรู้สึกว่ามันเร็ว เข้าท่าไม่ทัน ช่วงค้างก็ค้างน๊านนาน อะไรแบบนี้ ดังนั้นแนะนำให้เข้า Mysore ค่ะ

ถ้าถามว่าไม่แนะนำให้เข้า LED เลยเหรอ ก็ไม่ใช่นะ แนะนำเลยต่างหาก ควรจะเข้า LED บ้าง เค้าแนะนำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งค่ะ แต่ก็แล้วแต่ความสะดวกของเรา เข้า LED Class เพื่อปรับลมหายใจ ดูว่าวินยาสะของเราในการเข้าท่าต่างๆนั้น ถูกต้องหรือยัง แถมยังเหมือนมีโอกาสได้มาฝึก และเคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กับเพื่อนของเราด้วย คลาส LED สำหรับเรานี่ถือว่าท้าทายมากเลยทีเดียว โดยเฉพาะท่านาวาซานะ และท่า Utthita Hasta Padangustasana เป็นต้น

40-pattabhijois0092011a468x312-main

(รูปบรรยากาศ LED Class โดย Sharath Jois)

แล้วการฝึกแบบ Mysore ดียังไงเหรอ เหมือนต่างคนต่างฝึก? หากได้ลองฝึกเองจะ เราจะเร่ิมเข้าใจอะไรๆ ก็ต่อเมื่อ เราเร่ิมจะจำชุดท่าได้ เมื่อเริ่มเคลื่อนไหว โดยที่เราไม่ต้องมานั่งนึกท่าต่อของท่าอีกต่อไป เราจะเร่ิมเคลื่อนไหวตามลมหายใจของตัวเอง จนกระทั่งเรียกได้ว่า มีความสงบ สมาธิ ในการฝึกของตัวเอง ไม่ต้องตามลมหายใจใคร ไม่ต้องคอยเปรียบเทียบตัวเองกับใคร เข้าสู่การฝึกที่เรียกว่า Moving Mediation จริงๆ ต้องลองฝึกเองนะคะ ถึงจะได้เข้าใจถึงจุดๆนี้

*ข้อแนะนำ*

การฝึก Ashtangแนะนำควรฝึก 6 days a week หรือ หกวันต่อสัปดาห์ ให้กำหนดวันหนึ่งในอาทิตย์เป็นวันพัก โดยควรจะเป็นวันเดิมทุกสัปดาห์ เช่นกำหนดวันศุกร์ให้เป็นวันพักของเรา

แนะนำให้ฝึก Mysore 4 วัน Led 2 วัน โดยฝึก Led Primary ก่อนหยุดหนึ่งวัน และเริ่มต้นอาทิตย์ด้วย Led Intermediate สำหรับคนที่ฝึกเกินครึ่งของ second series และ Led primary สำหรับผู้ที่ยังไม่ผ่านท่า Eka Pada Sirsasana

วันหยุดที่ต้องหยุดเพิ่มคือวัน Moonday สามารถเช็คปฏิธิน Moonday ได้จากในเว็บไซต์ หรือดูปฏิธินการสอนของ AYBKK ก็ได้เช่นกันค่ะ

สำหรับผู้หญิง ต้องหยุดเพิ่มในวันที่มีประจำเดือนหรือ Lady's Holiday นะจ๊า

12742372_1291992360814752_8382626322669728376_n

แล้วจะฝึกที่ไหนดี ? สำหรับระบบ Ashtanga มีการเรียนที่เรียกว่า Lineage หรือ parampara เข้าใจง่ายๆ คือ การเรียนรุ่นสู่รุ่น โดยมี source หรือต้นตำรับจากอินเดีย ที่ KPJAYI ที่เดียวเท่านั้น ครูที่ได้รับการอณุญาติให้สอน คือ ครูที่ฝึกโดยตรงกับ Sharath Jois ฝึกหลายๆปี จนได้รับ Authorization จะมีสามระดับ คือ Level 1 (สอนได้เฉพาะไพรมารี่) Level 2 (สอนได้ถึง Intermediate series) และ Certified อันนี้จะสอน Advance series ได้ ซึ่งครูระดับ certified จะต้องฝึกเป็นสิบๆปีขึ้นไปเท่านั้น

เข้าไปดูรายชื่อครูได้ที่เว็บของเค้าโดยตรงที่

//kpjayi.org/teachers-directory/asia/

ในไทย มีเพียงแค่ 12 คนเอง ตามรายชื่อนะคะ ที่กรุงเทพ ปกติโบว์จะฝึกที่ AYBKK ค่ะ

12509107_10153238034492204_8396549203895938919_n

ครูที่นี่น่ารักทุกๆคน อยากให้ลองมาฝึกกัน แล้วจะได้อะไรดีๆกลับไปแน่นอนค่ะ

ส่วนถ้าภาคตะวันออก จะมีที่พัทยา กับครู Steve ค่ะ ถ้าใครอยู่ภาคตะวันออกสามารถมาฝึกกับครูสตีฟได้เช่นกันค่ะ

13654391_1270476806310954_19910650648240570_n

พูดถึงการฝึกว่า ฝึกสิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ แล้วไม่เบื่อบ้างเหรอ อยากบอกว่า ต้องลองมาฝึกด้วยตัวเองเท่านั้นค่ะ ต้องถามตัวเองว่าชอบแบบไหน แบบไหนถูกจริตกับตัวเองมากที่สุด เราก็เลือกฝึกแบบนั้น แต่หากลองเปิดใจให้กับอัชทางก้าดู อาจจะตกหลุมรักอัชทางก้าโยคะแบบโบว์ก็ได้นะคะ

13109117_131575157249945_1490835882_n

อย่างไรก็ตามนะคะ ที่พูดมาทั้งหมดเป็นเพียงแค่การฝึกอาสนะเท่าน้ัน ตามคำแปลของ อัชทางก้า โยคะ นั้นแปลว่า 8 limbs of yoga  หรือ มรรค 8 แห่งโยคะ หรือ กิ่งก้านทั้ง 8 ของโยคะ ซึ่ง อาสนะ เป็นเพียงแค่หนึ่งกิ่งก้านเท่านั้นค่ะ  ทั้งแปดกิ่งก้าน คือ วิถีแห่งการฝึกตน และฝึกจิต

"Practice asana without spiritual practice is not ashtanga yoga" ~Sharath Jois

ทั้งแปดกิ่งก้าน นี้ ประกอบด้วย

1. Yama (ศีลธรรม 5 ประการ)

-ahimsa ไม่ทำร้ายผู้อื่น

-Satya ไม่พูดปด

-Asetya ไม่ลักขโมย

-Brahmacharya ประพฤติดีงาม

-Aparigraha ไม่ละโมบ

2.Niyama (จริยธรรม 5 ประการ)

-Shaucha กายใจสะอาด

-Santosha สันโดษ พอใจเท่าที่มี

-Tapas (ตบะ)อดทน เพียรพยายาม

-Svadhyaya ศึกษาธรรม

-Ishvarapraniddhana ศรัทธาต่อพระเจ้า

3. Asana การเคลื่อนไหวทางกาย

4.Pranayama ลมหายใจเข้าออก

5.Pratyahara ควบคุมกิเลสทั้งห้า

6.Dharana กายอยู่กับอาสนะ ใจอยู่กับลมหายใจ

7.Dhyana จิตนิ่งแม้กายเคลื่อนไหว

8.Samadhi สมาธิ กายและใจนิ่งสงบแต่ตื่นรู้

หากเราไม่ฝึกจิต ความกลัว ความอยาก ความฮึกเหิมต่างๆ มันทำให้เราทำอาสนะยากๆลึกๆต่างๆไม่ได้ และ Vinyasa ก็จะไม่สบายและเหนื่อยมากๆ

รู้ประโยชน์อย่างนี้แล้ว อย่าลืมฝึกจิตกันด้วยนะคะ

ขอบคุณรูปและข้อมูลจากครูบุญชู แห่ง AYBKK ด้วยค่ะ

ขอบคุณคลิปจาก Kino Yoga

ขอบคุณรูปต่างๆ จาก KPJAYI ที่นำมาใช้ในบล๊อกนี้ด้วยค่ะ

ขอบคุณช่างภาพสุดสวย พี่ปอ และพี่อั้มด้วยนะคะ


Original post at

//beauyogarabbit.com/2016/07/22/ashtanga/




Create Date : 13 ธันวาคม 2559
Last Update : 13 ธันวาคม 2559 20:03:01 น. 0 comments
Counter : 2133 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

BeauCrazyrabbit
Location :
ระยอง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 59 คน [?]




Beauty Blogger & Japanese Fashion Lover

Fanpage: http://www.facebook.com/beaucrazyrabbit
beaupreeya@gmail.com

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน
หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน
Crazyrabbit Blog แห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยเผยแพร่และ
เพื่อการอ้างอิงโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็น
ลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดีตามที่
กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด
Friends' blogs
[Add BeauCrazyrabbit's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.