Group Blog
All Blog
นักล่าเมล็ดพันธุ์
Seed Hunter
เมื่อวานนี้ได้มีโอกาสชมสารคดีของทางเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิค หัวเรื่องเกี่ยวกับการตามหาเมล็ดพันธุ์พืชโบราณ ทีแรก ๆ ดูไปก็ไม่คิดว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจนัก แต่พอดูไปสักระยะกับพบว่ามันน่าติดตามเอามาก ๆ ผมคิดแค่เรื่องเมล็ดพันธุ์พืชมันไม่น่าจะมีอะไรน่าสนใจเท่าไร แต่ในข้อเท็จจริง สารคดีชุดนี้บอกให้ผมทราบว่า ชีวิตของมนุษย์นับแต่นี้ต่อไปในเรื่องของห่วงโซ่อาหารนี่ มันขึ้นอยูกับไอ้เจ้าเมล็ดพันธุ์พืชโบราณนี่เอามาก ๆ ถึงขนาดต้องลงทุนดันด้นขึ้นไปบนภูเขาในสถานที่ที่แห้งแล้งและกันดานสุด ๆ เพื่อตามหาเจ้าเมล็ดพันธุ์ที่ว่านี่ สาเหตุที่ต้องทำให้ตามหาเมล็ดพันธุ์(ผมจำชื่อมันไม่ได้แต่ประมาณว่ามันเป็นพืชในตระกูลเดียวกับข้าวสาลีในทุกวันนี้ครับ)

ก็คือเมล็ดพันธุ์สมัยใหม่ในทุกวันนี้ยีนและพันธุ์กรรมมันด้อยลง(ผมยังสงสัยอยู่ว่าในเมื่อมีเทคโนพันธุ์กรรมหรือจีเอ็มโอแล้วทำไมยังต้องหาไอ้เจ้าเมล็ดพันธุ์โบราณที่ว่านี่) ทำให้ไม่สามารถทนทานต่อความแห้งแล้งและหนาวเย็นได้มันจึงแห้งตายโดยง่ายเมื่อเจอภาวะแห้งแล้งและหนาวเย็นอันสืบเนื่องมาจากวิกฤตการณ์โลกร้อน ซึ่งออสเตเลียกำลังเผชิญกับปัญหานี้อย่างหนัก ผลผลิตตกต่ำลงอย่างมาก ทำให้บรรดานักวิทยาศาสตร์ต้องพากันออกมาทำการค้นคว้าวิจัยกันเป็นการใหญ่ และตรงนี้เองที่ทำให้ผมทราบว่านักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงพันธุ์กรรมได้ ถ้าหากไม่มีเซลหรือยีนส์ต้นแบบ พวกเขาจึงได้ส่งทีมสำรวจลงไปที่ประเทศทาจีกีสสถานในตอนแรกที่ดูก็เห็นว่ามันกันดานขนาดนี้เดียวก็คงจะเจอเมล็ดพันธุ์ทีว่าแล้ว แต่ปรากฏว่าในข้อเท็จจริง ทีมสำรวจไม่สามารถจะหาเจ้าเมล็ดพันธุ์ที่ว่านี่พบเลย เพราะความเจริญและเทคโนโลยีได้เข้าไปถึงสถานที่เหล่านี้หมดแล้ว ทำให้เมล็ดพันธุ์ได้สุญหายไปหมดจากจากหมู่บ้านเหล่านี้แล้ว เรื่องเริ่มสนุกตรงที่ทีมสำรวจต้องพยายามหาเบาะแสของแหล่งที่ยังคงเหลือเจ้าเมล็ดพันธุ์ที่ว่านี้อยู่ จนในท้ายสุดของสารคดี ทีมสำรวจก็ได้พบเมล็ดพันธุ์ที่ว่านี้จนได้ แต่กว่าจะพบก็แทบแย่เหมือนหนังเรื่องเนชั่นแนลเทเชอร์เลย เจ้าเมล็ดพันธุ์นี้มันยังคงเติบโตอยู่บนภูเขาที่ซึ่งมีหม่บ้านเล็กที่ตัดขาดออกจากโลกภายนอก ต้องใช้เอลิคอปเตอร์ในการเดินทางเท่านั้นจึงจะเข้าไปถึงได้ นี่ถ้ามีถนนเข้าถึงทีมสำรวจอาจจะไม่เจอเมล็ดพันธุ์ที่ว่านี้เลย เทคโนโลยีมันมีสองด้านเสมอเลยจริง ๆ น่ะครับ ชาวบ้านบอกว่าพวกเขาใช้เมล็ดพันธุ์นี้ปลูกสืบทอดกันมาเป็นเวลากว่า400ปีแล้ว เรื่องนี้ก็จบลงด้วยดี เมล็ดพันธุ์ที่ว่านี่ก็ถูกส่งไปที่แลปและบางส่วนก็ถูกนำเข้าไปเก็บไว้ที่ธนาคารเมล็ดพันธุ์ ซึ่งอยู่ที่ห้องใต้ดินแทบขั้วโลก

ทำให้รับประกันได้เลยว่าอีกหลายร้อยปีจากนี้มันจะยังคงอยู่ ในระหว่างทางทีมสำรวจต้องพบกับปัญหาต่างๆ มากมาย อีกทั้งยังขาดทุนในการเดินทางเพราะพวกเขาเป็นองค์อิสระที่ขาดทุนอุดหนุน ทำด้วยใจ ทุ่มเท เพื่อชาวโลกจริง ซึ้งมาก ๆ ครับ แต่ลองกลับมามองย้อนกันที่ฝั่งประเทศไทยของเรากัน

เรื่องเหล่านี้ในหลวงทรงเล็งเห็น และได้หาทางป้องกันไว้นานแล้ว จากการที่เราจะเห็นได้จากเรื่องข้าวหอมมะลิที่ได้ผ่านการคัดเลือกพันธุ์ ระหว่างพันธุ์พื้นเมืองกับพันธุ์สมัยใหม่ นำมาผสมกันและผ่านการคัดเลือกพันธุ์ตามกลของเมนเดล ทำให้ทนทานต่อโลกและความแห้งแล้งได้ดีให้ผลผลิตดี ในหลวงท่านทรงมองการณ์ไกลกว่าพวกฝรั่งจริง ๆ พวกฝรั่งกว่าจะมาคิดแก้ไขก็เกิดปัญหาจนแทบจะหาทางออกไม่ได้แล้ว เรื่องทำให้ผมต้องกลับคิดว่า พันธุ์พืชที่เป็นของดังเดิมประจำถิ่นเราไม่ควรจะทำลายมันแม้ว่ามันจะดูไม่มีประโยชน์ในปัจจุบัน มันอาจจะมีโยชน์แฝงที่เราคาดไม่ถึงเลยก็ได้ พันธุ์พืชประจำถิ่นมักจะมีภูมิต้านดีทนต่อโลกแต่ผลผลิตอาจจะไม่มากเท่าสายพันธุ์ต่างถิ่น แต่เราก็ควรอนุรักษ์ไว้ครับ บางครั้งเทคโนสมัยใหม่ก็ต้องอะไรที่ชิ้นส่วนมาจากอดีต เพื่อเชื่อมต่อกันเหมือนกัน



Create Date : 23 เมษายน 2552
Last Update : 23 เมษายน 2552 18:04:43 น.
Counter : 558 Pageviews.

3 comments
  
น่าสนใจยิ่ง ครับ
โดย: c (chaiwatmsu ) วันที่: 23 เมษายน 2552 เวลา:16:01:43 น.
  
น่าสนใจจริงๆค่ะ
เราเองก็อยากเก็บเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆไว้เหมือนกันเนาะ
โดย: จันทร์ไพลิน วันที่: 23 เมษายน 2552 เวลา:22:52:28 น.
  
ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ มะเหมี่ยวก็อยากเก็บเมล็ดพันธุ์พืชแต่เป็นเมล็ดพันธุ์พืชแห่งความรักนะ
โดย: mamajung2310 วันที่: 24 เมษายน 2552 เวลา:10:04:17 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tomcat007
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]