Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ปัญหาเรื่องการให้แพทย์ ต้องออกไปชันสูตรพลิกศพการตายผิดธรรมชาติในที่เกิดเหตุ



ปัญหาเรื่องการให้แพทย์ ต้องออกไปชันสูตรพลิกศพการตายผิดธรรมชาติในที่เกิดเหตุ มีมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ ( ๑๖ ปีที่แล้ว) มีการวิจัยมีการศึกษาถึงปัญหา ความไม่พร้อม ฯลฯ แต่ดูเหมือนว่า ๑๖ ปี ผ่านไป ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ?

โครงการที่มีแนวคิดดี แต่ เวลานำมาทำจริง ๆ มันไม่ดีเหมือนที่คิด

ในอดีต อาจมีคนรู้ไม่กี่คน แต่ในปัจจุบัน ทุกคนสามารถเป็น "ผู้สื่อสาร" ส่งและกระจายสาร ได้ง่าย รวดเร็วและกว้างไกล ผลกระทบก็รุนแรงกว่า

ยิ่งกระแสดร่าม่าหมอ เรียกเรตติ้งได้ท่วมท้น ก็จะมีเรื่องแบบนี้มาเรื่อย ๆ มากขึ้น บ่อยขึ้น ..

ปล. การตายโดยผิดธรรมชาตินั้น คือ
(1) ฆ่าตัวตาย
(2) ถูกผู้อื่นทำให้ตาย
(3) ถูกสัตว์ทำร้ายตาย
(4) ตายโดยอุบัติเหตุ
(5) ตายโดยยังมิปรากฏเหตุ

................................

ผมไม่แน่ใจว่า ปัญหาเกี่ยวกับ " การออกชันสูตรพลิกศพโดยแพทย์" มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างหรือยัง Huh Huh Huh

เพราะ เท่าที่ผมลองค้นในเนต พบบทความใหม่สุด เป็นของ อ.วิสูตร ซึ่งก็สรุปว่า “แพทย์ไม่สามารถปฏิเสธการออกไปร่วมชันสูตร พลิกศพกับเจ้าพนักงานอื่น”  

แถม ..
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์  
ภาควิชานิติเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
แพทย์ออกชันสูตรพลิกศพ   ณ ที่ที่พบศพ: หน้าที่หรือดุลพินิจ  2552
https://www.tci-thaijo.org/index.php/simedbull/article/viewFile/81963/65 173

มีชัย ฤชุพันธุ์  4 พฤศจิกายน 2548
//www.meechaithailand.com/ver1/?module=4&cateid=02&action=v iew&id=015314

ปัญหาและแนวทางแก้ไขการชันสูตรพลิกศพในสถานที่เกิดเหตุของแพทย์ในภาคตะวันออ กเฉียงเหนือ
วิรุจน์ คุณกิตติ ,ธิติชัย เวียงสัมมนาและนิภา นุศรีอัน ดุลพาห เล่ม 2  
ปีที่ 48 พ.ค.-ส.ค. 2544 หน้า 116-129
//elib.coj.go.th/Article/articlecrimconsider1.htm

แนวทางปฏิบัติงานชันสูตรพลิกศพ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2551
https://dep.kpo.go.th/exec/law/raberb/other/moph%20chunasut%202551.pdf

....................................



หมอหนุ่ม
https://www.facebook.com/youngsurgeon35/posts/491142341240689

…สื่อ
คุณต้องการอะไรจากการนำเสนอข่าวนี้ครับ
.
ต้องการความขัดแย้ง
ระหว่างคนไข้กับญาติ ที่ตอนนี้มีมากมายอยู่แล้วให้มากยิ่งขึ้น
หรือต้องการ “ความจริง"
ซึ่งความจริงก็หาได้ไม่ยากเพียงแค่สอบถามกลับไปทางโรงพยาบาล ก็จะรู้ความจริงแล้วนำเสนอ “ความจริง” เสีย
.
หรือเพียงแค่ต้องการเกาะกระแส
เสนอข่าว และขายข่าว
.
๑. สื่อ... ในความเห็นของผมแล้ว
คือหน่วยงานที่ต้องนำสังคมนะครับ
คือกลุ่มคนที่ต้องพยายามช่วยเหลือเกื้อกูลสังคม
นำเสนอ “ความจริง” และชี้นำสังคมให้ไปในทางที่ถูกต้อง
ไม่ใช่สร้างความขัดแย้งให้มันมีมากขึ้น
.
ในกรณีนี้สำนักข่าวนี้
เขียนไว้ในตอนท้ายของหัวข้อข่าวว่า
"ส่วนที่สำนักข่าว... จำต้องนำเสนอข่าวนี้
เพราะทางญาติผู้ตายนั้นติดใจในการทำงานของแพทย์เวรโรงพยาบาลลานสักนั่นเอง"
.
บอกว่าทางญาติติดใจการทำงานของแพทย์
แต่คุณไม่ยอมที่จะถามทางแพทย์ว่าตกลงแล้วความจริงเป็นเช่นไร
เหมือนกับเสนอข่าวญาติโกรธแบบนี้ ไม่พอใจแบบนี้
ถ้าอยากแก้ข่าว ก็แก้เอาเอง... แบบนั้นหรือ
.
เพียงแค่คุณถามไปที่โรงพยาบาล
ก็จะได้รู้ว่าตอนนี้เขากำลังดูแลคนไข้กันอยู่
เพราะเขามีแพทย์เวรเพียงคนเดียวทั้งโรงพยาบาล
ดูแล “คนเป็น” ให้มีชีวิตรอด ก่อนที่จะมาชันสูตร “คนตาย” แล้ว
.
เมื่อคุณได้รู้ความจริงเช่นนี้
คุณก็จะสามารถรายงานข่าวเพิ่มเติมว่า
“ได้สอบถามไปทางโรงพยาบาลแล้ว
พบว่าขณะนั้นแพทย์ได้ทำการตรวจผู้ป่วยอยู่
และได้พยายามรีบตรวจรักษาและรีบมาที่เกิดเหตุแล้ว”
.
เพียงเท่านี้ คุณจะเป็นสื่อที่เสนอ “ความจริง”
สร้างความปรองดองและสงบสุขให้กับสังคมครับ
.
แต่สิ่งที่คุณเสนออกไป
ผมก็คิดไม่ออกว่า “คุณต้องการอะไร”
ต้องการหากินในความขัดแย้งนี้อย่างนั้นหรือ
ซึ่งผมว่าด้วยจรรยาบรรณของสื่อที่มีมากแบบพวกคุณแล้ว
ไม่น่าจะคิดอะไรที่ “ต่ำ” แบบนี้ได้นะครับ
.
และผมเชื่อว่า เมื่อคุณเสนอข่าวแบบนี้ออกมาแล้ว
คุณกำลังจะทำให้อำเภอนี้อาจจะต้องขาดแพทย์ไปอีกหนึ่งคน
หรือทั้งระบบอาจจะขาดแพทย์เพิ่มขึ้นอีกหลายคน
.
๒. การออกชันสูตรโดยแพทย์เวรนั้นผมว่าเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขครับ
ผมเคยอยู่โรงพยาบาลเป็นหมอเพียงคนเดียว
แต่ต้องออกชันสูตรเพราะกฏหมายกำหนดให้ต้องออก
แพทย์ต้องออกชันสูตรหากมีการตายผิดธรรมชาติ
ผมออกเดินทางเข้าไปในป่า ไกลโรงพยาบาลออกไปหลายกิโลเมตร
ถามว่าถ้าตอนนั้นมีคนไข้มาที่โรงพยาบาล ใครจะรักษา
ยิ่งถ้าเป็นคนไข้อาการหนัก จะเกิดอะไรขึ้น
.
นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นครับ
ความจริงที่ผู้ออก “กฏ” ไม่ได้มอง “ความจริง” ที่เป็นอยู่ของบ้านเรา
.
ดังนั้นในหลาย case ผมก็ต้องคุยกับคุณตำรวจและผู้เกี่ยวข้อง
ว่าให้นำศพมาที่โรงพยาบาล
เพราะผมไม่สามารถไปได้จริงๆ
.
๓. ผู้ใหญ่ของกระทรวงนี้ควรจะทำอะไรที่จริงจัง
กับการนำเสนอข่าวแบบนี้ของสื่อเหล่านี้แล้วนะครับ
ไม่ใช่ให้สื่อเสนอข่าวทางเดียวแบบนี้ออกมา
แล้วให้น้องๆผู้ปฏิบัติงานต้องมาตะโกนป่าวประกาศแก้ข่าว
ซึ่งมันดังไม่สู้ลำโพงของสื่ออยู่แล้วครับ
.
ท่านต้องออกมา “ประณาม” การกระทำแบบนี้ของสื่อครับ
การกระทำที่เสนอข่าวด้านเดียว
และไม่เกิดประโยชน์ใดๆกับสังคมเลย
มีแต่จะสร้างความขัดแย้งให้มีมากขึ้นเท่านั้น
.
.
๔. สุดท้าย
ผมขอ “ประณาม” การกระทำของสื่อในครั้งนี้นะครับ
ที่ท่านเสนอข่าวในลักษณะนี้ออกมา
.
.
ปล. รูปด้านขวาคือหัวข้อที่ข่าวนำเสนอ ตามไปหาอ่านฉบับเต็มได้
ส่วนรูปขวาคือน้องแพทย์ที่เป็นรุ่นพี่ของแพทย์เวร เขียนอธิบายใน facebook ส่วนตัวครับ






 

Create Date : 04 สิงหาคม 2560   
Last Update : 6 สิงหาคม 2560 22:27:32 น.   
Counter : 1456 Pageviews.  

ทางรอดโรงพยาบาลรัฐอยู่ในมือของท่าน ... เรื่องโดย Somsak Tiamkao





ทางรอดโรงพยาบาลรัฐอยู่ในมือของท่าน !!


Somsak Tiamkao
28 กรกฎาคม 2560

ผมเห็นข่าวแต่ละวันเกี่ยวกับแพทย์ ระบบบริการที่ไม่ดี ล่าช้า รักษาไม่หาย ยาไม่ดี หมอไม่เก่ง โรงพยาบาลไม่สะอาด รอตรวจนาน ไม่มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มีแต่ข่าวคนตำหนิการบริการโรงพยาบาลรัฐตลอดเวลา แล้วสังคมได้อะไรมากขึ้นจากการตำหนิบ้างครับ เจ้าหน้าที่ทุกคนไม่มีใครอยากโดนตำหนิ ทุกคนพยายามทำเต็มที่ เต็มความสามารถ แต่เราก็ทำอะไรไม่ได้มากเลย เพราะโรงพยาบาลของรัฐมีข้อจำกัดมากมาย งบประมาณที่ไม่พอ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงมากขึ้น เจ้าหน้าที่ลาออก ไม่พอต่อการทำงาน อุปกรณ์ทางการแพทย์ก็ไม่พอต่อความต้องการ แพทย์ก็ไม่พอ พยาบาลก็ไม่พอ ตอนนี้ทุกคนทำงานหนักเกินกว่าชั่วโมงการทำงานของกรรมกรเสียอีก แล้วจะให้มีคุณภาพที่ดีได้อย่างไร ผมอยากให้สังคมร่วมกันมาช่วยเหลือ หรือหาทางออกให้กับพวกเราด้วยครับ เช่น

1. การดูแลสุขภาพเบื้องต้นให้ดี เจ็บป่วยเล็กน้อยที่พอดูแลตนเองได้ก็ดูแลตนเองครับ ทำแผลเองที่บ้าน ทานยาลดไข้หวัดเอง ไม่ต้องพบแพทย์ทุกครั้งหรอกครับ

2. การรักษาเมื่อได้รับยาก็ควรทานให้ครบตามที่แพทย์ เภสัชกรแนะนำ ไม่ใช่เหลือทิ้ง ต้องนำมาแลกไข่เหมือนที่ผ่านมา

3. เมื่อมารักษาควรรับยาเฉพาะตนเอง ไม่ใช่ขอให้หมอสั่งยากระเพาะอาหาร ยาฆ่าเชื้อ ยาหม่อง ยานวดไปเก็บไว้ หรือขอไปให้ญาติ ให้พระ หมอไม่สั่งให้ก็ไม่พอใจ

4. การตรวจเพิ่มเติม การเจาะเลือด เอกซเรย์ ควรอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์ ไม่ใช่ปวดหัวก็อยากตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง เอ็มอาร์ไอสมอง ต้องการตรวจให้มากที่สุด เพราะเห็นว่าเป็นสิทธิ์ที่ตนเองต้องได้ฟรี ไม่ต้องกลัวครับถ้าจำเป็นต้องตรวจแพทย์ส่งตรวจแน่นอนครับ เพราะแพทย์ก็อยากส่งตรวจเพื่อให้ความแม่นยำในการวินิจฉัยและให้การรักษาที่ถูกต้อง

5. การรักษาถ้าไม่รุนแรง หมอโรงพยาบาลใกล้บ้านรักษาได้ก็ควรรักษาใกล้บ้าน ไม่จำเป็นต้องให้หมอส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ หมอไม่ส่งตัวก็ไม่พอใจ ร้องเรียนครับ ความจริงแล้วมากกว่าครึ่งของผู้ป่วยที่มารักษาในโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์สามารถรักษษได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน

6. ถ้าพอที่มีทุนทรัพย์ก็ร่วมบริจาคให้โรงพยาบาลด้วยครับ ผมลองคิดดูเล่นๆ นะครับถ้าทุกคนที่มาตรวจร่วมบริจาคคนละ 10 บาท ถ้ามีผู้ป่วย 300 คน ก็ 3000 บาทต่อวัน เดือนละ 66000 บาท (22 วันทำการ) ก็พอจะจ้างเจ้าหน้าที่เพิ่มได้ 2-3 คน เพื่อทำให้ระบบบริการดีขึ้น อำนวยความสะดวกได้มากขึ้น หรือถ้าคนในชุมชนนั้นๆ ร่วมบริจาควันละ 1 บาท ผมว่าปีหนึ่งๆ ได้หลายหลานเลยนะครับ เช่น มีประชากร 30000 คน ๆละ 350 บาทต่อปี ได้เกือบ 10 ล้านบาทต่อปี น่าจะมีประโยชน์ไม่น้อยเลยครับ สามารถร่วมพัฒนาโรงพยาบาลได้เลย หรือมีการร่วมทอดผ้าป่า ทอดกฐินทำบุญให้โรงพยาบาลในชุมชน เหมือนทำบุญให้วัด ได้บุญเหมือนกันครับ

7. ถ้าพอมีเวลาก็มาเป็นจิตอาสาในโรงพยาบาลครับ จะได้ช่วยกันดูแลผู้มารับบริการ และเข้าใจการให้บริการของแพทย์ พยาบาล บุคลากรในโรงพยาบาล เข้าใจปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ผมเชื่อว่าจะทำให้การบริการและความเข้าใจระหว่างผู้รับบริการกับผู้ให้บริการดีขึ้นแน่นอน

8. ระดมความคิดช่วยกันแก้ไขปัญหา ร่วมพัฒนาโรงพยาบาล ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งนะครับ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำเพื่อส่วนรวม บางครั้งหมอเอง พยาบาลเอง หรือผู้บริหารก็ต้องการคำแนะนำอย่างรอบด้านจากคนในชุมชนครับ อย่าเพียงแต่ตำหนิอย่างเดียวครับ

9. ช่วยกัน post เรื่องราวดีๆ ของโรงพยาบาลบ้างครับ เช่นรักษาผู้ป่วยวันนี้กี่คน หายดีหมดเลย หมอคนนี้ดูแลรักษาอย่างดี พยาบาลช่วยอาบน้ำ สระผม ตัดผมให้ผู้ป่วยอย่างดี ไม่ใช่รักษาผู้ป่วยไป 1 หมื่นคน ไม่หายเพียง 1 คน ก็ post ต่อว่ากันใหญ่เลยว่ารักษาไม่ดี แบบนี้ใครจะทนไหวครับ

10. ควรเข้าใจความเป็นจริงของข้อจำกัดต่างๆ ในการบริการของโรงพยาบาลของรัฐ เจ้าหน้าที่ก็มาทำงานแต่เช้าเพื่อมาเตรียมการบริการให้ผู้ป่วย มาก่อนและกลับหลังจากเวลาราชการ พูดง่ายๆ คือมาก่อน และกลับหลังผู้ป่วย แต่ก็ไม่ได้เบิกค่าทำงานล่วงเวลาครับ กลางวันก็ไม่เคยได้ทานข้าวตรงเวลา หิวน้ำก็ไม่มีเวลาดื่มน้ำ ปวดปัสสาวะเข้าห้องน้ำ ก็ไม่ได้ไป พ่อแม่ป่วยก็ไม่ได้ลาไปดูแล ได้แต่โทรศัพท์สอบถามอาการ เจ็บป่วยเนโรคต่างๆ มากกว่าคนทั่วไป หมอก็เกิดอุบัติเหตุ รถชนกันบ่อย เพราะไม่ได้นอนตอนอยู่เวร ง่วงนอนแล้วไปขับรถ นี้คือเรื่องจริงๆ ที่เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่ในองค์กรครับ

ที่ผมพูดมายาวมากนี้ ก็เพียงอยากบอกว่าเราทุกคนที่ทำงานในโรงพยาบาลของรัฐนั้น ทำด้วยใจรัก ทำเพราะอยากทำงานให้ราชการ ยอมรับในงานที่หนัก อยากทำให้ดีที่สุดเหมือนกันครับ ไม่ได้บ่น ไม่ได้ต้องการให้ใครมาเห็นใจว่าเราทำงานหนัก แต่อยากให้ทุกคนเข้าใจว่า การทำงานของโรงพยาบาลรัฐนั้นมีข้อจำกัดมากมาย ผมเชื่อมั่นว่าไม่มีใครชาติไหนในโลกนี้ที่จะทำงานหนักเท่ากับบุคลากรในโรงพยาบาลของรัฐเท่ากับประเทศไทย

ที่มา  https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1415118358609709&set=a.228176750637215.51283.100003346742860&type=3&theater



*******************************************

“นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า” งบประมาณไม่พอ ทางออกไม่ใช่ร่วมจ่ายเสมอไป
วันที่ 15 กันยายน 2560 - 16:00 น.
https://www.matichon.co.th/news/665020


“สารพัดปัญหาสาธารณสุขที่เกิดขึ้นรายวัน แม้จะมีการบ่มเพาะ และถูกหมักหมมมาเป็นเวลานาน แต่ไม่ใช่ว่าจะแก้ไม่ได้ซะทีเดียว”Ž นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า แพทย์ประสาทวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าว

คุณหมอสมศักดิ์อธิบายเพิ่มเติมว่า ในความเป็นจริงแล้ว ระบบการให้บริการการดูแลสุขภาพคนไทยในภาพรวมทั้งประเทศนั้น หากเปรียบเทียบกับที่อื่นๆ ยังถือว่าประเทศไทยมีการดูแล และสามารถให้คนทุกชนชั้นสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ทุกระดับ ตั้งแต่ประกันสังคม สิทธิสวัสดิการรักษาข้าราชการ รวมไปถึงบัตรทอง คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิใดสิทธิหนึ่งได้ทั้งหมด หลายๆ ประเทศยังไม่สามารถทำได้อย่างประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ทุกสิทธิก็ยังมีปัญหาไม่แตกต่างกัน

เรื่องของการให้บริการ เป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก ผมมองว่าสาเหตุหลักของปัญหานี้มาจากไม่กี่เรื่องหลักๆ ก็คือ คนไข้ และญาติคนไข้มีความคาดหวังสูงจากการรับการรักษา เมื่อเทียบกับในอดีต แต่หลายๆ ครั้งก็ไม่เพียงพอกับการคาดหวังของคนไข้ และญาติคนไข้ จะเห็นว่ากรณีที่มีปัญหาส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่มีคนไข้มารับบริการ จำนวนมาก และการให้บริการในช่วงเวลานั้นมักจะไม่เอื้ออำนวยให้เกิดการสื่อสารที่จะ สร้างความเข้าใจต่อกัน

ปัญหาหลักๆ คือ การคาดหวังกับการบริการ

ถามว่าจะแก้อย่างไร ผมมองว่า ถ้าสามารถทำให้ประชาชนไว้วางใจในสถานพยาบาลใกล้บ้าน ซึ่งเวลานี้มีการทำโครงการต่างๆ ออกมาหลายโครงการ เช่น หมอครอบครัว ใกล้บ้าน-ใกล้ใจ เป็นต้น การไปใช้บริการในสถานพยาบาลใกล้บ้านนั้นจะช่วงแบ่งเบาภาระโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ได้ไม่ให้เกิดความแออัดจนเกินไป

โดยปัจจุบันนี้ โรงพยาบาลชุมชน หรือสถานพยาบาลใกล้บ้านมีศักยภาพพอที่จะดูแลคนไข้ได้ดีมากขึ้น คนไข้ไม่จำเป็นต้องเสียเวลามารอคิว หรือนั่งรถมาไกลๆ ที่โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์เพียงเพื่อเหตุผลว่าอยากได้หมอเก่งๆ หรือหมอเฉพาะทางในโรคนั้นๆ ทั้งนี้ โรงพยาบาลชุมชนก็จะมีมาตรฐานเวชปฏิบัติอยู่แล้วว่าเจ็บป่วยขนาดไหนดูแลได้ หรือเจ็บป่วยขนาดไหนต้องส่งต่อไปยังโรงพยาบาลใหญ่ ไม่จำเป็นว่าต้องไปโรงพยาบาลใหญ่ทุกกรณีŽ นพ.สมศักดิ์กล่าว

นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า ตามประสบการณ์ที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์แล้ว พบว่าคนไข้ร้อยละ 70-80 สามารถรักษาตัวในโรงพยาบาลใกล้บ้านได้ แต่ไม่สบายใจ ไม่ไว้ใจ ที่จะไปใช้บริการยอมเสียเงิน เสียเวลารอ เพื่อให้ได้ตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งหากแก้ไขวิธีคิดดังกล่าวได้ จะทำให้หลายๆ ปัญหาได้รับการคลี่คลายไปในตัวเอง

*แล้วเราต้องทำอย่างไรให้ประชาชนมีความไว้วางใจสถานพยาบาลใกล้บ้าน*

นพ.สมศักดิ์บอกว่า เรื่องนี้เป็นนโยบายระดับชาติที่ต้องทำอย่างจริงจัง ต้องประชาสัมพันธ์ให้เกิดความเข้าใจ ที่สำคัญคือ ในส่วนของโรงพยาบาลชุมชนเองก็ต้องหมั่นทำความเข้าใจกับชาวบ้านในพื้นที่ที่ ตัวเองดูแลรับผิดชอบด้วย มั่นใจว่าหากสามารถลดปริมาณคนไข้ให้เบาบางลงได้ ปัญหาความขัดแย้ง กระทบกระทั่งระหว่างหมอ พยาบาล และคนไข้ก็จะเบาบางลง

หลายๆ ครั้งความขัดแย้งอาจจะเกิดขึ้นนอกเวลาราชการ ตัวอย่างเช่น คนไข้ที่มาใช้บริการห้องฉุกเฉินนั้น เกินกว่าครึ่งไม่ได้ฉุกเฉินจริง แต่เมื่อมาใช้กันจำนวนมากก็จะคิดว่าตัวเองได้รับการดูแลไม่เหมาะสม เนื่องจากทุกคนมักจะคิดว่าเรื่องของตัวเองฉุกเฉินที่สุด แม้ว่าในทางการแพทย์จะมีข้อกำหนดการรออยู่แล้วว่าอาการอย่างไร สามารถรอได้นานแค่ไหน ปัญหาคือ ทนรอไม่ได้ เพราะไม่มีความไว้วางใจหมอ ซึ่งปัญหาก็จะวนกลับไปที่เดิม คือ ความไม่เข้าใจ ไม่ไว้วางใจกันŽ นพ.สมศักดิ์กล่าว

*ทั้งหมดนี้ เป็นเพราะหมอไม่ค่อยชอบสื่อสารกับคนไข้หรือเปล่า*

การที่หมอไม่ค่อยสื่อสารกับคนไข้ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่เรื่องของจำนวนคนไข้ที่มีมาก ทำงานแข่งกับเวลา และการรอคอย การสื่อสารอาจจะทำได้ไม่ดีพอ เกิดเป็นความเข้าใจผิดกันได้ และในยุคสมัยนี้ เมื่อไม่มีใครอธิบาย ก็จะเกิดการฟ้องร้องต่อสังคมโซเชียลขึ้น หลายคนที่ไม่เข้าใจ รับรู้ข้อมูลเพียงข้างเดียวก็จะตำหนิหมอเอาไว้ก่อน หมอก็อยู่ในสภาวะน้ำท่วมปาก จะอธิบายอะไรก็ถูกมองว่าเป็นการแก้ตัว

*การเรียน การสอนวิชาแพทย์ ให้ความสำคัญกับเรื่องการสื่อสารระหว่างหมอกับคนไข้มากน้อยแค่ไหน*

นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า โรงเรียนแพทย์ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาตลอด ทั้งเรื่องการสื่อสารระหว่างหมอกับคนไข้ การวางตัวที่เหมาะสม ย้ำแม้กระทั่งเรื่องของสำเนียงที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคหลังๆ ที่มีเรื่องของการใช้โซเชียลเป็นเครื่องมือสื่อสารกันมากขึ้น ย้ำทั้งนักเรียนแพทย์ และแพทย์ฝึกหัดอยู่เสมอในเรื่องของการใช้สติ คือ การทำอะไรก็แล้วแต่ต้องตั้งสติให้มั่น สติจะเป็นตัวลด และหลีกจากความขัดแย้งที่ดีที่สุด

นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า ความจริงแล้ว ระบบหลักประกันสุขภาพที่คนไทยใช้อยู่คือ บัตรทองนี้เป็นระบบการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุมค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับประเทศ อื่นๆ แต่ปัญหาที่มักจะพบในระบบนี้ก็คือความไม่เข้าใจของผู้ที่มาใช้บริการเอง โดยมักจะคิดว่าอะไรก็ตามที่ได้มาฟรีๆ แล้วมักจะไม่ค่อยดีนัก เพราะคนส่วนใหญ่จะค่อนข้างตั้งความหวังไว้กับหมอสูงมาก

ยกตัวอย่าง กรณีมารักษาโดยใช้สิทธิบัตรทองนั้นก็มีทั้งรักษาแล้วหายจากโรค นั้นๆ และรักษาไม่สำเร็จ หรือตายไปก็มี ขึ้นอยู่กับลักษณะของโรค ไม่ใช่รูปแบบบริการที่เข้ามาใช้ แต่คนส่วนใหญ่มักจะคิดไปเองว่า บัตรทองที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานเป็นของฟรี มันจะไม่ค่อยดีนัก ถ้ามารักษากับบัตรทองแล้วตาย เป็นเพราะรักษาบัตรทองไม่ดี ความเข้าใจแบบนี้แหละคือปัญหา ที่โดยภาพรวมแล้วเราต้องแก้ไขให้ได้Ž นพ.สมศักดิ์กล่าว

‘เรื่องการจัดงบประมาณ จากรัฐบาลที่ไม่เคยเพียงพอเลย แม้จะไม่เกินอัตราที่องค์การอนามัยโลกกำหนด แต่รัฐบาลก็ยังยืนยันว่าจะให้ได้เพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 2 ซึ่งน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ คิดว่าทางแก้ปัญหาเรื่องนี้จะต้องทำอย่างไร และการร่วมจ่ายจะเป็นทางออกได้หรือไม่

นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวคิดการร่วมจ่ายมาตลอด แต่ไม่ใช่การร่วมจ่ายในจุดบริการเพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนอย่างมาก แต่การร่วมจ่ายในที่นี้หมายถึง การหาเงินจากหน่วยงาน อื่นๆ มาสนับสนุนมากขึ้น เช่น เงินจากภาษีสรรพสามิต หรือคนที่ใช้บริการบัตรทองถ้ามีรายได้สูง ต้องดูจากฐานภาษีว่าจะช่วยตรงจุดไหนได้บ้าง ต้องพิจารณาตามความเหมาะสม

เราต้องยอมรับว่า บ้านเราจะไปพึ่งแต่ตัวงบประมาณ เพื่อให้ได้ทุกอย่างมาแบบสมบูรณ์แบบนั้นไม่ได้แน่นอน เราต้องปรับตัวตามสถานการณ์และความเหมาะสมถึงจะอยู่ได้ คอร์สการรักษาโรคหลายๆ โรคนั้นสูงมาก ลำพังเงินจากรัฐบาลอย่างเดียวไม่พอแน่นอน แต่ก็น่าดีใจว่า เวลานี้โรงพยาบาลหลายๆ แห่ง มีการคิดโครงการต่างๆ ขึ้นมา เช่น ที่โรงพยาบาลน้ำพอง จ.ขอนแก่น เขาพยายามให้ชาวบ้านในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม มาบริจาคเงินตามกำลังของตัวเองให้โรงพยาบาล เพื่อเอาเงินจำนวนนั้นไปใช้ยามที่ตัวเองเจ็บป่วย เช่น ได้ใช้ห้องพิเศษ ได้ใช้ยานอกบัญชี เป็นต้น คือ ผมจะบอกว่า ลักษณะแบบนี้ก็คือการร่วมจ่ายรูปแบบหนึ่ง ที่ไม่ใช่การจ่ายหน้าจุดให้บริการŽ นพ.สมศักดิ์กล่าว

*สำหรับปัญหางบประมาณไม่เพียงพอนั้น นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า ทางออกของการแก้ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การหางบประมาณมาเพิ่ม หรือการร่วมจ่ายเสมอไป อยู่ที่การบริหารจัดการภายในพื้นที่โรงพยาบาลนั้นๆ ซึ่งปัจจุบันมีหลายโรงพยาบาลที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างน่าชื่นชม โดยมีคนในชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วม*
*ยกตัวอย่าง การเลือกใช้ยาที่เป็นชื่อสามัญซึ่งราคาถูกกว่ายาต้นแบบ แต่การรักษาเหมือนกัน ลดการตรวจเพิ่มแบบไม่จำเป็น หรือการที่คนในชุมชนเข้ามาร่วมเป็นจิตอาสาในโรงพยาบาล เช่น ช่วยสื่อสารลดความขัดแย้งระหว่างหมอกับคนไข้ เป็นต้น*





 

Create Date : 30 กรกฎาคม 2560   
Last Update : 26 มกราคม 2561 1:56:13 น.   
Counter : 2882 Pageviews.  

ถึงเวลารณรงค์ปฏิรูประบบสุขภาพในการดูแลประชาชนทั่วประเทศ ... นพ.ธีระ วรธนารัตน์



ถึงเวลารณรงค์ปฏิรูประบบสุขภาพในการดูแลประชาชนทั่วประเทศ

หากเรื่องใดเป็นภัยคุกคามสวัสดิภาพคนทำงาน จำเป็นต้องมีมาตรการจัดการเด็ดขาด อันไหนเกินศักยภาพ โปรดส่งต่อ ก่อนส่งทำให้เต็มที่เท่าที่ทำได้ เขียนเวชระเบียนให้ละเอียด หากญาติหรือใครคุกคามเหมือนตาลุงวิศวะที่สกลนคร โปรดแจ้งตำรวจดำเนินคดีตามกฎหมายเด็ดขาด

เลิกได้แล้วครับกับความกร่าง ความบ้าคลั่งสิทธิที่ไม่ควรมีไม่ควรได้

เลิกได้แล้วกับความคาดหวังบ้องตื้นที่เป็นไปไม่ได้

ถึงเวลาแล้วครับ ที่รัฐต้องจัดสวัสดิการแบบขั้นต่ำที่คนควรได้ หากเกินนั้น ต้องรับผิดชอบเอง หากไม่มีก็ต้องเข้าสู่ระบบช่วยเหลือตามมนุษยธรรม
หากทรัพยากรในระบบยังมีจำกัดแบบปัจจุบัน ถึงเวลาแล้วที่ รพ.รัฐต้องจำกัดชั่วโมงการทำงานของบุคลากร เอาเท่าที่มี ถ้าไม่พอต้องไม่ฝืนปฏิบัติการเกินกำลังจนทำให้เสี่ยงต่อทั้งผู้ป่วยและคนทำงาน

ถึงเวลาที่ประชาชนต้องรู้ ต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่กระทำ เคารพกฎ รอคิว หากแสดงความรุนแรงก้าวร้าวหรือทำร้ายบุคลากร ทั้งทางวาจาหรือร่างกาย ต้องโดนดำเนินคดี และตัดสิทธิที่เคยมีเคยได้

ไม่ชอบให้สงเคราะห์ ก็ต้องทำงาน หางานทำ จ่ายภาษีให้มากขึ้น รู้จัก "ให้" มากกว่าเอาแต่ตะโกนขอ รับผิดชอบต่อพฤติกรรมโหลยโท่ยที่ทำร้ายตนเองและสร้างผลกระทบต่อสังคม เมาแล้วขับหากบาดเจ็บล้มตาย ต้องรับผิดชอบทั้งแพ่งและอาญา ฝ่าฝืนกฎจราจรก็เช่นกัน

หากมา รพ.แล้วไม่ให้เกียรติและเคารพคนดีที่เค้าทำงานทุ่มเทด้วยกายและใจ ก็ไม่ควรได้รับการให้เกียรติเช่นกัน

ไทยต้องยอมรับเสียทีว่าเงินและทรัพยากรที่มีในระบบนั้นไม่สามารถดูแลทุกคนทุกโรคตามความคาดหวังบ้าๆ มาตรฐานระดับโลกได้

เลิกสร้างภาพ กับระบบประกันคุณภาพ รับรองมาตรฐาน ที่สร้างความเชื่อผิดๆ ให้คนทั่วไปเข้าใจว่าได้รับรองแล้วจะทำได้ทุกอย่างไม่มีผิดพลาด ทั้งๆ ที่เป็นไปไม่ได้ไม่ว่าจะชาตินี้หรือชาติไหน

ถึงจุดวิกฤติแล้ว ที่รัฐต้องเลือกระหว่าง... หนึ่ง หาเงิน คน เครื่องมือ เทคโนโลยี มาให้เพียบพร้อมทุกที่ทุกเวลา หรือ สอง ยอมรับความจริง และปกป้องคนในระบบสุขภาพ อย่าให้คนดีที่ทำงานด้วยใจ ต้องเจ็บช้ำทั้งกายและใจอย่างที่เป็นมา

ทุกคนในประเทศควรมีหลักประกันสุขภาพเผื่อยามจำเป็น แต่ต้องลงแรง ลงทุน ร่วมพัฒนา ไม่เอาแต่ร้องขอแบบไม่เคยพอ บ่นก่นด่า และหลงผิดคิดว่าต้องมีต้องได้ในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เลิกสร้างระบบที่ปลุกปั่นให้คนคลั่ง "สิทธิ" เสียที!!!

ผู้เขียน : ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

https://www.hfocus.org/content/2017/07/14279

.................................................

แถม... ความเห็น จาก พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนาChurdchoo Ariyasriwatana

สาเหตุที่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ลาออกจากการทำงานในรพ.กระทรวงสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ถ้าดูตาม Maslow's Hierarchy of Need ของปุถุชนโดยทั่วไปจะเห็นได้ว่าบุคลากรทางการแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุข ไม่สามารถได้รับการตอบสนอง “ความต้องการของมนุษย์ปุถุชน”คนธรรมดาได้ ตั้งแต่

1. ความต้องการขั้นพื้นฐานคือทำงานมากจนไม่มีเวลาพักผ่อนนอนหลับที่พอเพียง

--ไม่มีเวลากินอาหาร กลางวันตรวจผู้ป่วยยังไม่หมด ก็ไม่รู้จะได้กินข้าวไหม ตอนเย็นอยู่เวร ไม่มีเวลาไปกินข้าว เพราะผู้ป่วยเยอะมาก

--กลางคืนอยู่เวรต้องตื่นทั้งคืน หรือหลับๆตื่นๆเพราะถูกปลุก

-- เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ต้องอยู่เวรห้องฉุกเฉิน(หมอเฝ้าห้องฉุกเฉิน งานหนักกว่าเดิม ยิ่งเป็นเทศกาล นับศพคนตาย งานยิ่งเยอะ) ถ้าโชคดีไม่มีเวร (ยังมีกรรมอยู่)ก่อนจะไปพักผ่อนกับครอบครัวได้ ต้องไปตรวจรักษาผู้ป่วยที่นอนในโรงพยาบาลอีก ฯลฯ

2. ไม่มีความปลอดภัยในการทำงาน (ถูกเตะก้านคอ ถูกแทง ถููกประณามหยามเหยียด ถูกร้องเรียน ถูกฟ้องร้อง)

-- ไม่มีความมั่นคงในการทำงาน (ในกรณีที่ไม่ได้บรรจุและเป็นลูกจ้างชั่วคราว แบบที่พยาบาลวิชาชีพเผชิญอยู่ในปัจจุบัน)

--ไม่มีความมั่นคงทางการเงินสำหรับตนเองและครอบครัว เพราะค่าตอบแทนต่ำแม้ต้องทำงานมาก

3. ผู้ที่มารับการรักษาพยาบาลก็ไม่ให้ความเข้าใจว่างานยุ่ง ด่าว่า เร่งรัด ให้ต้องเร่งรีบทำงาน

-- ผู้บังคับบัญชาก็ไม่สนใจแก้ปัญหา(ไม่รักลูกน้อง) พอผู้ป่วยมีปัญหาแล้วผู้บังคับบัญชาก็ไม่ลงมาช่วยสอบถามรายละเอียดและเหตุผลว่าปัญหาเกิดจากอะไร เพื่อออกข่าวให้สังคมเข้าใจมีแต่ บอกว่าจะตั้งกรรมการสอบสวนอย่างเดียว

4. อยากไปทำงานที่ไหนก็เลือกไม่ได้ อยากเรียนอะไรก็ไม่ได้เรียน

-- ถ้าไปเรียนในสาขาที่ไม่อยากเรียน ไม่มีความถนัด ก็คงไม่สามารถใช้ศักยภาพของตนในการรสร้างสรรค์ผลงานได้เต็มที่ และก็คงไม่มี “ความพึงพอใจ อิ่มอกอิ่มใจ” (Self-fulfillment) ได้เลย

5. และยังมีสถานที่ทำงานอื่นให้เลือกได้ มีอาชีพอื่นให้ทำได้

--จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ทำไมหรือเพราะอะไร หมอจึงลาออกจากราชการกระทรวงสาธารณสุข

ถ้าผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขมี "กึ๋น" ก็ต้องแก้ไขปัญหานี้ได้ แต่เท่าที่สังเกตมาหลายสิบปี ยังไม่เห็นใครลงมือแก้ปัญหาอย่างจริงจังได้เลย

ส่วนคนที่ลาออกแล้วก็ขอให้โชคดีกับชีวิตที่เราเลือกเองได้

--ส่วนคนที่อดทนและเสียสละทำงานอยู่ในกระทรวง เพราะเมตตาธรรม คุณธรรม จริยธรรม หรือเหตุผลอื่นใด ก็ขอเอาใจช่วย ให้อยู่รอดปลอดภัย มีความั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน และให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายดลใจให้ผู้บริหารประเทศมีความสามารถที่จะแก้ปัญหาได้ในไม่ช้า

https://www.facebook.com/churdchoo.ariyasriwatana/posts/10154888663745208

..............................



อยากเรียนหมอชีวิตแพทย์ รพ.รัฐ และ แพทย์เพิ่มพูนทักษะ ... รู้ว่าเป็นหมอเหนื่อยแล้วมาเป็นหมอทำไม ??? //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=16-07-2017&group=27&gblog=25

ดราม่าหมอมากมายกับกำลังใจที่หดหาย สังคมกำลังลงโทษแพทย์? แน่ใจเหรอว่าแพทย์เลวทุกคน? //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-05-2015&group=27&gblog=5

มุมมองต่อหมอของคนไทยสมัยนี้เปลี่ยนไปแล้วล่ะมั้งโดย ปวัน ประสิทธิ์วุฒิ //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=19-06-2011&group=27&gblog=6

เปิดกับดัก'งานหนักฆ่าหมอ' คนในรู้จนชิน'เรื้อรังมานาน'... เดลินิวส์ //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-07-2017&group=27&gblog=21

ผมท้าครับมาลองปฏิบัติงานร่วมกับพวกเราดู เผื่อความดราม่าของคุณจะลดลงได้บ้าง //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-07-2017&group=27&gblog=1

การแพทย์คือวิทยาศาสตร์ของความน่าจะเป็นและศิลปะของความไม่แน่นอน //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=21-04-2016&group=27&gblog=16

ข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์ //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=11-06-2013&group=27&gblog=12

ผลของ การรักษาโรค //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=05-01-2008&group=27&gblog=22

ทำไมผมถึงลาออกจากราชการ .... เรื่องเก่าเขียนไว้ตั้งแต่ปี 2551 เอามาเล่าสู่กันฟัง //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-01-2011&group=27&gblog=20

สาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ... เคยมีการวิจัยมาเพียบ เมื่อไหร่จะเริ่มแก้ไข ??? //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2010&group=27&gblog=18




 

Create Date : 29 กรกฎาคม 2560   
Last Update : 29 กรกฎาคม 2560 14:37:37 น.   
Counter : 1331 Pageviews.  

อยากเรียนหมอ ชีวิตแพทย์ รพ.รัฐ และ แพทย์เพิ่มพูนทักษะ ... รู้ว่าเป็นหมอเหนื่อย แล้วมาเป็นหมอทำไม ???



กว่าจะมาเป็นแพทย์กระทู้จาก เวบพันทิบ ห้องลุมพินี

สมาชิกหมายเลข3854298

https://pantip.com/topic/36670272

ใครอยากเป็นแพทย์มาทราบขั้นตอนกว่าจะมาเป็นแพทย์ นะครับ ว่ายากง่ายอย่างไร

ขั้นตอนการเป็นแพทย์

ขั้นที่1 เรียนม.ปลายแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์

ขั้นที่2 สอบเข้าหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ขั้นที่3 เรียนปริญญาตรีแพทย์

ขั้นที่4 สอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมกับแพทยสภา

ขั้นที่5 ทำงานชดใช้ให้กับรัฐบาลในสถานพยาบาลรัฐบาล

ขั้นที่6 สมัครเข้าเรียนแพทย์เฉพาะทาง

................................................

ขั้นที่1 เรียนม.ปลายแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์

ใช้เวลาเรียนตามหลักสูตร3 ปี เรียนเน้นวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ วิชาหลักที่เรียนคือ ฟิสิกส์ เคมีชีววิทยา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ถึงแม้จะมีบางช่องทางที่รับผู้สมัครทางแผนศิลป์จาก ปวช. จาก กศน. ก็ตาม แต่หากท่านใดประสงค์จะเรียนแพทย์ ผมก็แนะนำให้เรียนม.ปลาย แผนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ครับ

................................................

ขั้นที่2 สอบเข้าหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ในระบบTCAS การสอบเข้าหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตมี 5ช่องทาง ดังนี้

1.สอบตรงภูมิภาค

ผู้สมัครในเขตพื้นที่บริการไม่กำหนด GPAX ในการสมัครใช้คะแนนสอบข้อเขียนในการคัดเลือก บางแห่งก็ใช้คะแนน GAT PAT เข้ามารวมด้วย เช่น

-สอบตรง 14 จังหวัดภาคใต้ ม.สงขลานครินทร์

-สอบตรงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ม.ขอนแก่น

-สอบตรง 8 จังหวัดภาคเหนือ ม.เชียงใหม่

2.สอบตรงแพทย์ชนบท

โครงการCPIRD และ ODOD

ผู้สมัครในเขตพื้นที่บริการกำหนด GPAX ในการสมัครใช้คะแนนสอบข้อเขียน ร่วมกับคะแนน GAT PAT หรือคะแนนวิชาเฉพาะซึ่งจะแตกต่างกันไปแล้วแต่สถาบัน เช่น

-หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ม.เทคโนโลยีสุรนารี

-หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ม.วลัยลักษณ์

3.สอบตรง

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตที่รับโดยไม่กำหนดพื้นที่บริการเช่น

-สอบตรงโครงการ MDX ความสามารถพิเศษทางวิชาการและภาษาอังกฤษคณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น

-สอบตรงโครงการร่วมระหว่าง University of Nottingham กับคณะแพทยศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ

-สอบตรงโครงการผลิตแพทย์ร่วม กรมแพทย์ทหารอากาศ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

4.สอบ กสพท.

รับจำนวนมากที่สุดมีหลายสถาบันที่รับแบบนี้คุณสมบัติผู้สมัครก็เปิดกว้างมากกก ไม่ว่าจะสามัญ(วิทย์คณิต ศิลป์ภาษา ศิลป์คำนวณ) สายอาชีพ การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) เด็กซิ่วเด็กอินเตอร์ เด็กเมืองนอก มีสิทธิสมัครทั้งหมดแต่จะสอบติดมั้ยต้องขึ้นกับความสามารถของตนเอง

สำหรับผู้สมัครปกตินี้ใช้คะแนน3 ส่วน คือ

-วิชาสามัญ (ร้อยละ 70)

-วิชาความถนัดแพทย์ (ร้อยละ 30)

-O-NET (ขั้นต่ำร้อยละ 60)

สำหรับกลุ่มพิเศษ(เช่น เด็กซิ่ว เด็กจบป.ตรี เด็กจบเมืองนอก เป็นต้น) ใช้คะแนน 2 ส่วน คือวิชาสามัญ 7 วิชา และวิชาความถนัดแพทย์

5.โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแนวใหม่ (หลักสูตรแพทย์สำหรับผู้เรียนจบปริญญาตรี)

รับสมัครผู้ที่เรียนจบปริญญาตรีสายวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ทำงานด้านสาธารณสุขอย่างน้อย2 ปี กำหนดอายุผู้สมัครไม่เกิน 30 ปี ในวันสมัคร เข้าเรียนชั้นปีที่ 2ใช้เวลาเรียน 5 ปี เปิดรับสมัคร 2 สถาบัน คือ ม.นเรศวร กับ ม.พะเยา

ตอนนี้ระบบTCAS ยังไม่นิ่ง อาจจะมีการเลี่ยนแปลงอ่านข้อความนี้แล้วโปรดพิจารณาด้วย

................................................

ขั้นที่3 เรียนปริญญาตรีแพทย์

ปริญญาตรีแพทย์เรียกอย่างเป้นทางการว่า หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาเรียนตามหลักสูตร 6 ปีโดยแบ่งเป็น

ชั้นปีที่1 เรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทั่วไป เรียกได้ว่าเอาเนื้อหาวิชา ม.ปลาย 3 ปีมาเรียนรวมกันใน 1 ปี เพื่อปรับพื้นฐานแก่นิสิต/นักศึกษาทุกคน

ชั้นปีที่2 - 3 เป็นการเรียนวิชาพรีคลินิก เป็นวิชาที่ปูพื้นฐานด้านการแพทย์ เช่นกายวิภาคศาสตร์ สรีระวิทยา เภสัชวิทยา จุลชีววิทยา

ชั้นปีที่4 - 6 เป็นการเรียนวิชาทางคลินิก เป็นวิชาทางการแพทย์พร้อมกับลงมือรักษาผู้ป่วยจริง

................................................

ขั้นที่4 สอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม

สอบกับทางแพทยสภาการสอบเรียกว่า (National Lisense: NL) เป็นการสอบเพื่อออกใบอนุญาตแก่แพทย์ใบประกอบของแพทย์ ใช้ชื่อว่า "ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม"แบ่งการสอบออกเป็น 3 ครั้ง

ครั้งที่1 เป็นการสอบเพื่อประเมินความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน (BasicMedical Sciences) สอบตอนจบปี 3 ความรู้ pre-clinic ถ้าสอบไม่ผ่านก็สอบใหม่ มีสอบปีละ 2 รอบ

ครั้งที่2 เป็นการสอบเพื่อประเมินความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (ClinicalSciences) สอบตอนจบปี 5

ครั้งที่3 เป็นการสอบเพื่อประเมินทักษะและหัตถการทางคลินิก (ObjectiveStructured Clinical Examination : OSCE) สอบตอนจบปี 6

................................................

ขั้นที่5 ทำงานชดใช้ให้กับรัฐบาลในสถานพยาบาลรัฐบาล

โดยจะแบ่งแพทย์ออกเป็น2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีสังกัด กับ กลุ่มอิสระ โดยกลุ่มที่มีสังกัดก็จะกลับไปทำงานชดใช้ทุนกับต้นสังกัดของตนเอง เช่นแพทย์ที่เข้ามาด้วยระบบแพทย์ชนบทของจังหวัดอุบลราชธานีก็กลับไปทำงานที่โรงพยาบาลในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้นส่วนกลุ่มอิสระก็เลือกจังหวัดที่จะไปทำงานได้อิสระตามอยากไป และจำนวนที่รับ

................................................

ขั้นที่6 สมัครเข้าเรียนแพทย์เฉพาะทาง

หลังจากที่ทำงานชดใช้ทุนครบแล้วแพทย์ผู้สนใจเรียนต่อเฉพาะทางก็จะต้องไปสมัครเรียนต่อสาขาที่ตนเองสนใจ(ไม่ต่อเฉพาะทางเขาก็ไม่ว่า แล้วแต่คน) ซึ่งสาขาที่จะเลือกก็มีหลากหลายมาก เช่นสาขาหลัก อายุรกรรม ศัลยกรรม สูติกรรรม กุมารเวชกรรม สาขาอื่น หูคอจมูก รังสีวิทยาวิสัญญี จิตเวช

ขอบคุณทุกท่านที่ตามอ่านนะครับ

สมาชิกหมายเลข3854298

https://pantip.com/topic/36670272

................................................

ช่วงการทำงาน เป็นแพทย์ รพ.รัฐ  โดยเฉพาะ โรงพยาบาลชุมชน (โรงพยาบาลอำเภอ) ในช่วงทำงานใช้ทุน ๓ ปี .. ตัวอย่างเหตุการณ์แบบนี้ ยังเกิดขึ้นอยู่ในบ้านเรา และน่าจะยังเป็นแบบนี้ไปอีกนาน บันทึกไว้ เป็นข้อมูล

Infectious ง่ายนิดเดียว

https://www.facebook.com/Infectious1234/posts/350160655414634


แด่..พี่ๆน้องๆบุคลากรสาธารณสุขของรัฐและคนไข้ที่เคารพ😢

😓สัปดาห์ที่ผ่านมามีดราม่าที่บั่นทอนกำลังใจพวกเรา แต่อย่างไรชีวิตก็ต้องดำเนินต่อ ตรวจคนไข้ต่อ ราวน์วอร์ดต่อ ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ทำงานHA คุณภาพ ออกเยี่ยมบ้าน ประชุมอีกเพียบ_พวกเค้าที่ด่าเราจะรู้ไหมน๊าาาว่า เวลาพวกเราอยู่เวร ทำงานในเวลาและนอกเวลาเป็นอย่างไร เป็นบุคลากรของ รพ.รัฐ มาดูชีวิตพวกเราสิ😔

-ตัวอย่างในเวลาเราเรื่ม เช่นจันทร์8.30-16.00น.และเวรนอกเวลาเริ่ม 16.00-8.30 เช้าอังคาร_เราทำงานยาวนะ เราก็ต้องทำงานต่อนะ อังคาร 8.30-16.00พวกเราทำงาน 36 ชม.!!นะ ใน1เดือนเรามีเวรแบบนี้ 10-15เวรนะ!! ยิ่งกว่า 7-11 นะ!!! 36 ชม.นะ 😖

-ในเวลาราชการ 8.30-16.30น. ก็จริง!!แต่พวกเราต้องตื่น 6.00นะ ถึงวอร์ด7.00น.เพื่อไปดูคนไข้ในที่นอน รพ.ก่อน เกือบ 30-40เตียง!! ถ้าคนไข้ในวอร์ดอาการไม่ดี บางทีหอบ เราต้องใส่ท่อช่วยหายใจ เขียนใบส่งตัว ถ้ามีคนไข้หัวใจหยุดเต้นเราต้อง CPR นะ กว่าจะเสร็จราวน์วอร์ดเราต้องคุยกับญาติเขียนเอกสาร พอเสร็จคนไข้ใน เราต้องรีบวิ่งไปออก OPD ซึ่งอาจมาช้า 9.00น. ข้าวเช้าหรือลืมไปเลย กินนมสักกล่องก็อยู่ได้แล้ว โปรดรับรู้ว่าเราไม่ได้ตื่นสายมาออก OPD ช้าให้คนไข้รอนะ เราต้องตรวจคนไข้ในเสร็จก่อน รพ.ชุมชนมีหลายขนาดจำนวนหมอ1-5คน บางรพ.มี1คน ถ้ามีเกิน1คนก็โชคดี

-OPD 8.30-16.00 เราต้องตรวจคนไข้เป็น100คนนะครับ 100 คน!! ข้าวกลางวันแทบไม่ได้กิน ถ้ามีคนไข้จะคลอด เราต้องวิ่งไปทำคลอดก่อนนะ (คนไข้ Opd รอก่อนนะพวก้ราขอโทษที่ต้องให้รอ) เกิดคลอดไม่ได้ งานใหญ่เลย เราต้องใช้เครื่องช่วยดูดสุญญากาศ คลอดไม่ได้อีกหรือคลอดออกมาเด็กแย่ เราต้องช่วยเด็กอีกใส่ท่อช่วยหายใจ ปั๊มหัวใจและต้องเขียน+โทรสัพท์ส่งตัวไป รพ. ใหญ่อีก เครียดไหมเราต้องรับผิดชอบชีวิตแม่กับลูก เสร็จก็รีบวิ่งมาออกOPD _ถ้าระหว่างตรวจOPDรับแจ้งมีคนไข้ตายนอก รพ.เช่น ผูกคอตาย ฆาตกรรม หรือ ศพ.ที่เน่ามาหลายวัน พวกเราต้องละจาก OPD ไปกับคุณตำรวจเพื่อออกไปชันสูตรศพนะ คุณไปกับพวกเราไหมไปชันสูตรพลิกศพ บางทีเป็นน้องหมอผู้หญิงตัวเล็กๆเคย ศพบางทีมีหนอนเต็มศพ!กลิ่นไม่ต้องพูดถึง สภาพศพ!!! เราต้องจับชันสูตรพลิกศพด้วยนะหรือระหว่างตรวจ OPD มีคนไข้อุบัติเหตุหมู่ เราต้องละคนไข้ OPD ไปช่วยคนไข้อุบัติเหตุหมู่ก่อนนะ ค่อยมาตรวจต่อเวลากินข้าวกลางวัน 5 นาทีก็เยอะสำหรับพวกเราแล้ว ธรรมดามากกินหมดใน5นาที

-ตกเย็นหลัง 16.00น. เวลาเวรนอกเวลาเราเป็นหมอคนเดียวในรพ.นะ ดูคนไข้นอกเวลา+คนไข้นอน รพ.ที่มีปัญหา มีคนไข้ทุกประเภท เมามา เอะอะโวยวาย ตีรันฟันแทงเลือดอาบมา คนไข้จะคลอดลูก อุบัติเหตุอผลแหวะหวะ พวกเค้าบางคนเป็นหวัดมาเอายสรอนานแถมใส่อารมณ์กับพวกเราอีก อัดคลิปด่าเรา รอนาน เตะก้านคอหมออีก ข่มขู่เราอีก ยิ่งถ้ามีคนไข้อุบัติเหตุมา ปอดแตก ไม่รู้สึกตัวเราต้องใส่ท่อช่วยหายใจอีก ปั๊มหัวใจอีกหรือมีคนคลอดลูกก็ต้องไปทำคลอดอีก!! หรือคนไข้ในวอร์ดไม่ดีเราก็ต้องวิ่งไปดู
เดินวนวิ่งวนไปทั้งเวร

😔เราอยู่เวรหมอ1คนทั้ง รพ.นะ ทำทุกอย่างนะ!!! คนไข้มา รพ.นอกเวลาราชการ ต้อง รอๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ นะเราขอโทษ!!! ถ้าไม่ด่วนมากต้องเข้าใจพวกเรานะ เราอยากรักษาให้ไวๆทุกคนแหละ เราก็ไม่อยากให้คนไข้รอนะ ทำไงได้เราอยู่เวรคนเดียว
-ข้าวเย็นหรอ 5 นาทีก็หรูแล้ว
-โทรสัพท์หาพ่อแม่หรือแฟนหรอ ลืมไปเลย หรือแม้แต่ เค้าโทรมาหาเรา !!เรายังอาจไม่ได้รับเลย นี่ยังไม่นับถ้าพ่อแม่หรือแฟนเราป่วย ไม่มีโอกาสได้ดูแลหรอก ฉะนั้นที่เห็นพวกเราคุยโทรสัพท์หรือส่งไลน์ อาจจะแค่ส่งติ๊กเกอร์ หรือ แค่บอกว่าเดี้ยวโทรกลับนะ เอาเข้าจริงกว่าจะโทรกลับ อาจอีกสัก2-3วัน เพราะลงเวร วันไหนไม่มีเวร เราสลบนะนอนยาวเพื่อเอาแรงไว้อยู่เวรต่อ อีก10-15เวรต่อเดือน_อย่าจับผิดพวกเราเลยว่าเอาแต่เล่นโทรสัพท์ พวกเราไม่ได้มีเวลาขนาดนั้น ที่จ้องจับผิดคนอื่น อัดคลิปด่าคนอื่นๆ ทีวีข่าวสารบ้านเมืองหรอ ลืมไปเลย

เงิยเดือนพวกเราหรอ จบป.ตรี 18,000+ค่าเวร10,000-15,000 +ค่าไม่ทำเอกชนไม่เปิดคลินิก10,000=ประมาณ 3-4หมื่น พอกินพอใช้นะ ส่งรถ ให้พ่อแม่ ทำงานบางเดือนเงินก็ไม่ได้ออกนะ อาจรอ3-6เดือนกว่าจะตกเบิก!!

😖ที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ได้ขอความเห็นใจ
ไม่ได้ให้ใครมาสงสาร เพราะพวกเราทำจนเป็นกิจวัตรแล้ว และยินดีทำเพราะเราเลือกเรียนและเลือกที่จะทำงานสายนี้ เห็นคนไข้มีรอยยิ้ม แค่นี้ชีวิตหมอๆพวกเราก็หายเหนื่อยแล้ว

😢ส่วนที่บอกว่าพวกเราชอบดุด่าคนไข้ ไม่อธิบาย ก็คงมีบ้าง ยอมรับทุกวิชาชีพมีคนดีย่อมมีคนไม่ดี พวกเราขออภัย

😔แต่อยากจะบอกว่า!! ก่อนจะกล่าวหา พวกเรา ก่อนจะด่าพวกเรา แบบเหมารวมยกเข่ง

ลองมาอยู่เวรกับพวกเรามากินมานอนมาอยู่เวรกับพวกเราสัก 1 อาทิตย์ไหมแล้วจะรู้ว่าพวกเราทำงานเป็นอย่างไร

พวกเรา จนท. รพ.รัฐ ก็มีชีวิตจิตใจนะ เหนื่อยกายไม่ว่า แต่เหนื่อยใจนิสิ...😖

แด่คนไข้ที่เคารพ

.................................................
Infectious ง่ายนิดเดียว
https://www.facebook.com/Infectious1234/posts/423427684754597


“หมอ” 👩🏼‍⚕️ ชีวิตหมอๆที่หมอด้วยกันรู้หรืออาจไม่รู้  แต่คนทั่วไปอาจไม่รู้....ตีแผ่👨‍⚕️

(1) พวกหมอเรา_จบ 6 ปีมาก็จริง ไม่ได้รู้ทุกโรคโดยละเอียดและก็รักษาไม่ได้ทุกโรค_มีเกณฑ์ขั้นต่ำที่แพทยสภากำหนด_จะรู้กัน ว่าหมอท่านไหนเก่งด้านไหน ไม่รู้ก็ถามหมอด้วยกัน ฉะนั้นเวลาพ่อแม่ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงป่วย ห้ามคาดหวังว่าเราจะรักษาได้ทุกโรค แต่เราแนะนำได้ว่าจะไปที่ไหน ไปรพ.ไหน ไปพบหมอคนไหนดี..

(2) พวกหมอเรา มีหลายสาขา ชำนาญ_คนละด้าน และแต่ละด้านก็ลึกมากๆ เช่นหมอตา ยังแยกเป็น กระจกตา จอประสาทตา หนังตา ดีนะยังไม่แยกตาซ้ายตาขวา หรือกระดูกก็ยังแยกเป็น มือ เท้า กระดูกสันหลัง ชำนาญกันละอวัยวะ เมื่อหมอเราดูแล้วว่าเกินศักยภาพของเราเอง เครื่องมือ หรือทีม อาจจำเป็นต้องส่งรักษาต่อในสถานที่ที่คน เครื่องมือและเจ้าหน้าที่พร้อมกว่า

(3)หมอ!!! อายุน้อยหน้าใสๆ ไม่ใช่ว่าไม่เก่ง และบางทีอาจจะเก่งมากกว่าหมออายุมากเสียอีก เพราะอ่านมาเยอะ+มีพรสวรรค์ในการดูคนไข้ และอัพเดตความรู้ตัวเองตลอดเวลา

(4)ประสบการณ์ดูคนไข้+ค้นคว้า+อ่าน+ฟังอบรมจากผู้รู้จะช่วยให้หมอเราเก่งขึ้น ไม่แปลกที่หมออายุมากจะรู้เยอะ เห็นปุ๊บ ตรวจแปปเดียวก็รักษาได้แล้ว แต่ถ้าไม่update ตัวเองตลอดเวลาก็จะรักษาสู้หมออายุน้อยไม่ได้

(5)หมอเรา!!ไม่มีการเลี้ยงไข้แน่นอน!!.. คนทั่วไปเวลาไปหาหมอแล้วอาการไม่ดีขึ้น บางคนบอกหมอเลี้ยงไข้??? ลองไปหาหมอคนนี้สิ ฉีดยาเข็มเดียวแล้วหาย ซึ่งผิดถนัด มีโรคติดเชื้อที่ฉีดยาเข็มเดียวแล้วหายอยู่ไม่กี่โรค เช่น ซิฟิลิสหนองใน คออักเสบจากแบคทีเรีย gr.A (Benzathine Penicillin)

(6) บางครั้งหมอเราก็ทำผิดทั้งๆที่รู้ว่าผิด!! แต่ก็ยังต้องทำ_เพราะโดนกดดัน จากญาติ ผู้บริหาร หรือความเชื่อของสังคม หรือทำต่อๆกันมาเป็นทอดๆจนคิดว่าสิ่งนี้ถูก อันนี้น่ากลัวมาก ยังเห็นในสังคมปัจจุบัน

(7) หมอที่เก่ง/คนไข้อาจไม่ติด คลินิกไม่ค่อยมีคนเข้า
กลับกัน หมอบางคนรักษาไม่ได้ตามหลักวิชาการมาก แต่คนไข้กลับมีเยอะ!! คนไข้ติดงอมแงม_ดังนั้นปริมาณคนไข้ขึ้นกับ ความน่าเชื่อถือ การสื่อสาร การพูดคุย บุคลิกภาพ และความจริงใจให้คนไข้

(8) หมอเราสมัยเรียนถูกสอนไม่ว่ากล่าวกันเอง ให้เกียรติกันและกัน ไม่ว่ากล่าวหรือคอมเม้นท์หมอคนรักษาก่อนหน้าแบบเสียๆหายๆต่อหน้าญาติ เพราะ อาการคนไข้ก่อนมาพบเราอาจยังไม่ชัด จึงควรให้เกียรติหมอคนรักษาก่อนหน้า แต่ถ้าพบว่ารักษาพลาดหรืออาจรักษาไม่ได้มาตราฐาน พวกหมอเราอาจโทรหากันคุยกันเพื่อเรียนรู้เคส ประชุมเคสเพื่อเรียนรู้กันแบบพี่สอนน้อง แต่ปัจจุบันหมอบางคนยังมีเบลมหมอกันเอง ไม่น่ารักเลย_ไม่ควรทำ_บางเรื่องจนนำไปสู่การฟ้องร้อง น่าเศร้าใจมาก

(9) หมอมีหลายสังคม
-ในรพ.ศูนย์ รร.แพทย์ ที่เป็นครูแพทย์ ทำตัวเหมือนอาชีพครูเลย มีสอน มีออกข้อสอบ มีตรวจข้อสอบ นอกจากสอนน้องๆหมอแล้ว ยังต้องมีงานบริการตรวจคนไข้ด้วย ภาระงานเยอะมาก ท่านเหล่านี้เสียสละมากๆ เงินเดือนอาจไม่เยอะมาก แถมต้องทำวิชาการส่งเพื่อเลื่อนขั้นอีก นับถือน้ำจิตน้ำใจ
-หมอเอกชน:อาจไม่ชอบระบบรัฐ ไม่ชอบสอนหรือมีความจำเป็นบางประการส่วนตัว ก็เป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ของสังคมไทย เอื้อหนุนเกื้อกูลกัน ช่วยคนไข้ได้เหมือนกัน กลุ่มเป้าหมายคือคนไข้ที่มีกำลังจ่าย อยากไว ไม่รอนาน _ บางส่วนของหมอรัฐบาล_รายได้ไม่มากก็ต้องมาอยู่ parttime นอกเวลาราชการเพราะยังคงต้องมีเงินส่งรถ ส่งบ้าน เลี้ยงลูกเลี้ยงเมีย
-หมออาชีพอื่นๆ นักบิน ธุรกิจความงาม อาชีพส่วนตัว นักร้องนักแสดง

เชื่อเถอะไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของสังคม ศักดิ์ศรีเท่ากัน ทุกคนรักคนไข้และเพื่อนมนุษย์ 6 ปีที่ถูกหล่อหลอมกว่าจะเป็นหมอ_เห็นมาทั้งการเกิด การป่วย การตาย การสูญเสีย การพลัดพราก เศร้า ดีใจ เสียใจ ร้องไห้มานักต่อนัก หมอทุกคนจิตใจงามพร้อมที่จะช่วยคนตกทุกข์ได้ยาก

(10) ตอนเราสอบเข้าหมอตอน ม.6 มีการจัดอันดับคะแนนสูงต่ำ...ว่าที่ไหนคะแนนสูง/ต่ำ เอาเข้าจริงพอจบมาเป็นหมอมีคำนำหน้า นพ, พญ, ทุกคนศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน เป็นพี่ๆน้องๆเพื่อนๆร่วมวิชาชีพด้วยกัน ไม่ว่าจะจบสถาบันไหนก็ตาม!! ไม่อยากให้พวกเรา ดูถูกเพื่อนต่างสถาบัน อย่าลืมว่าถ้าเราดูถูกคนอื่น สักวันเราก็ต้องโดนคนอื่นดูถูก

👨‍⚕️หมอที่ดี ต้องดีทั้ง กายและใจ👩🏼‍⚕️👨‍⚕️
โดย....หมอเกือบแก่ขี้บ่น ว. 32xxx


่.................................................


ชีวิตแพทย์เพิ่มพูนทักษะ กับ 10 เรื่องจริงที่คนไม่ค่อยรู้

นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า :

Fri,2017-07-14 09:43 -- hfocus

https://www.hfocus.org/content/2017/07/14227

ในโอกาสที่กระแสแพทย์ลาออกจากระบบราชการโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากความอึดอัดกับระบบราชการ Hfocus.org ขอนำข้อเขียนของ รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเคยเขียนเรื่องนี้เผยแพร่ทาง"ในระหว่างปฏิบัติงาน 3 ปีนี้และระหว่างการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางผมว่ามีหลายอย่างที่คนทั่วไปไม่เคยรู้ และอาจมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องต่อแพทย์เพิ่มพูนทักษะและแพทย์ประจำบ้าน"ส่วนตัวเมื่อวันที่ 25 พ.ค.ที่ผ่านมาซึ่งช่วงนั้นก็เป็นช่วงที่มีกระแสแพทย์ลาออกจากระบบราชการและอีกไม่กี่เดือนปัญหาเรื่องนี้ก็กลับมาอยู่ในความสนใจของสังคมอีกครั้ง

ความจริงที่คาดไม่ถึงกับแพทย์เพิ่มพูนทักษะและแพทย์ประจำบ้านไทย

“นักศึกษาแพทย์ใช้เวลาเรียนนาน 6 ปีเมื่อจบแล้วทุกคนต้องทำงานเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะและใช้ทุนในโรงพยาบาลของรัฐ 3 ปีซึ่งในปีแรกแพทย์เพิ่มพูนทักษะจะปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย หลังจากนั้นจะไปทำงานในโรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลทั่วไปจนครบ 3 ปี หลังจากนั้นแพทย์ส่วนหนึ่งก็จะมาศึกษาต่อเฉพาะทางที่เรียกว่าแพทย์ประจำบ้าน บางส่วนก็ทำงานต่อในโรงพยาบาลเดิมหรือย้ายโรงพยาบาล

ในระหว่างปฏิบัติงาน3 ปีนี้และระหว่างการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง ผมว่ามีหลายอย่างที่คนทั่วไปไม่เคยรู้และอาจมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องต่อแพทย์เพิ่มพูนทักษะและแพทย์ประจำบ้าน ได้แก่

1.เงินเดือนไม่ได้สูงมากมาย เป็นไปตามหมวดเงินเดือนของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐหรือลูกจ้างโครงการ วุฒิการศึกษาเทียบเท่าระดับปริญญาโทประมาณสองหมื่นต้นๆย้ำไม่ได้เป็นแสนอย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ

2.งานที่ทำก็ต้องทำทุกวันตลอดสัปดาห์ คือจันทร์ถึงอาทิตย์เลยไม่มีวันหยุดราชการเสาร์ อาทิตย์ เพียงแต่ว่าวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ก็ทำงานถึงประมาณ11 โมงเช้าหรือเที่ยงๆ ถ้าไม่ได้อยู่เวร

3.ถ้านับเวลาทำงานในวันราชการตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น ประมาณ 10ชั่วโมงต่อวัน วันหยุดก็ 4 ชั่วโมงต่อวัน รวม 1 เดือนก็ประมาณ 250 ชั่วโมงต่อเดือนก็ตกชั่วโมงละ 100 บาท ย้ำว่า 100 บาทเท่านั้นเท่าๆ กับค่าคาราโอเกะ

4.การอยู่เวรนอกเวลาราชการก็เริ่มตั้งแต่ 16.30-เช้า แต่บางโรงพยาบาลก็แบ่งเป็น 2ผลัด คือ 16.30-24.00 น. และหลังเที่ยงคืนถึงเช้า แต่ส่วนใหญ่อยู่ถึงเช้าเลยบางที่รับผิดชอบเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉิน บางที่รับผิดชอบทั้งผู้ป่วยฉุกเฉินผู้ป่วยหนักในหอผู้ป่วย ถ้าเป็นวันหยุดก็อยู่เวรตั้งแต่ประมาณ 10.00 ถึงเช้าวันใหม่ บางโรงพยาบาลก็แบ่งเป็น 2 หรือ 3 ผลัด แต่ส่วนใหญ่ไม่แบ่งผลัดขึ้นกับระบบหรือจำนวนแพทย์ในแต่ละโรงพยาบาล เดือนหนึ่งก็อยู่เวรประมาณ 10-12 เวรค่าเวรก็แล้วแต่โรงพยาบาล ถ้าเป็นโรงเรียนแพทย์ก็เป็นเวรเหมาจ่าย ประมาณ 5 ถึง 6พันบาท เฉลี่ยค่าเวรก็ประมาณวันละ 500 บาท หรือชั่วโมงละ 30-40 บาทพอทานอาหารจานเดียวที่โรงอาหารได้พอดี ซื้อกาแฟก็ยังไม่พอเลยครับ

5.การทำงานมีความรับผิดชอบต่อชีวิตคนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดถ้างานไม่เสร็จก็ไม่ได้ทานข้าว จึงทำให้แพทย์แทบไม่เคยทานข้าวเช้า ส่วนข้าวกลางวันเย็น ไม่ค่อยตรงเวลา แพทย์ส่วนมากจึงเป็นโรคกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อนมีความเครียดสูง

6.การนอนหลับแทบไม่เคยหลับได้ต่อเนื่องเป็นชั่วโมงเลยซึ่งก็ถือว่าดวงดีมากแล้วที่ได้นอนบ้างเพราะส่วนใหญ่แล้วต้องถูกตามดูคนไข้อาการหนักตลอดเวลา ยิ่งดึกก็ยิ่งยุ่งแทบไม่ได้นอนเลย

7.ความอึด และความอดทนของแพทย์ต้องเป็นเลิศ เพราะต้องสามารถทำงานต่อเนื่องได้ประมาณ36-40 ชั่วโมงได้โดยไม่ต้องนอน จึงถูกขนานนามว่า “อึดเป็นควายสมองเป็นคน”

8.เจ็บป่วยสามารถลาได้ แต่ก็มักไม่ได้ลา เพราะไม่มีแพทย์คนอื่นๆทำงานแทนได้ในหน้าที่เดียวกัน จึงเห็นแพทย์ที่ไม่สบายมาทำงานบางคนสายน้ำเกลือติดตัวมาด้วย ภาพที่เห็นในโซเชียลคือภาพจริงๆ ที่พบเห็นได้ตัวเองป่วยก็ไม่ทุกข์ใจเท่ากับพ่อ แม่ป่วย แต่แพทย์ไม่สามารถลาไปเฝ้าดูแลพ่อแม่ได้ หรือบางครั้งภรรยาคลอดลูกก็ไม่ได้ไปให้กำลังใจ ไม่น่าเชื่อแต่ก็ต้องเชื่อมันคือความจริงที่เศร้าใจ

9.วันลาพักร้อนก็มีเหมือนอาชีพอื่นๆ แต่ก็ไม่เคยได้ลา เพราะไม่มีใครทำงานแทนเราได้จึงมีวันลาสะสมเยอะมาก ไม่รู้ว่าจะดีใจ หรือเสียใจกันแน่

10.งานอะไรอะไรที่ไม่มีใครทำก็เป็นหน้าที่ของแพทย์เพิ่มพูนทักษะ เหตุผลเหรอก็จะได้ประสบการณ์มากๆ ต้องเสียสละ พี่ๆ ก็เคยเจอแบบนี้มาทั้งนั้น น้องๆก็ต้องเรียนรู้ ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร

ดังนั้นใครที่อยากเป็นหมอจริงๆเป็นผู้มีความรับผิดชอบสูง ใจรัก เสียสละ ชอบช่วยเหลือผู้อื่นผมสนับสนุนให้รีบมาเรียนหมอเลยครับ แต่ถ้าใครอยากเรียนเพราะเห็นว่าหมองานสบายเงินดี หรือเพราะเรียนเก่งเพียงอย่างเดียว แต่ใจไม่รัก ร่างกายไม่แข็งแรงพออย่ามาเรียนเลยครับ เพราะจะไม่มีความสุขเลย” รศ.นพ.สมศักดิ์เทียมเก่า


..............................................


รู้ว่าเป็นหมอแล้วเหนื่อย แล้วมาเรียนหมอทำไม???

OR No.9 เรื่องเล่าจากห้องผ่าตัด
16กค60 เวลา 11:43 น.
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=705040683015508&id=495293923990186

ทุกครั้งที่มีข่าวแพทย์ลาออก โดยเฉพาะแพทย์ที่จบใหม่ ก็จะมีคำถามเกิดขึ้นเสมอว่า

"รู้ว่าเป็นหมอแล้วเหนื่อย แล้วมาเรียนทำไม"
"ทำไมแค่นี้ทนไม่ได้ อาชีพอื่นเหนื่อยกว่าตั้งเยอะเขายังทนกันได้"
"ลาออกทำไม"
และคำถามอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งจากคนรอบข้างและจากสังคม

รู้ว่าเป็นหมอแล้วเหนื่อย แล้วมาเรียนหมอทำไม
คำตอบ คือ ไม่รู้ครับ
ไม่มีใครรู้ตั้งแต่แรกหรอกครับว่าการเรียนหมอ จบแล้วจะมีชีวิตอย่างไร

ผมเองก็ยอมรับว่าก่อนมาเรียนก็ไม่รู้หรอก ว่าหลังจากเรียนจบแล้วจะทำงานยังไง ได้เงินเท่าไหร่ มีเวลาหรือไม่มีเวลายังไง ภาวะกดดันยังไง

และผมก็มั่นใจว่า เด็ก ๆ ส่วนมากก็ไม่มีวันรู้หรอกครับ เพราะตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัย ส่วนมากอายุประมาณ 17-18 ปี อย่าว่าแต่อาชีพหมอเลย แม้กระทั่งคณะอื่น ๆ อาชีพอื่น ๆ ที่เลือกเข้าไป ก็รู้แค่ผิวเผินเท่านั้นแหละครับ ไม่มีใครรู้รายละเอียดข้างในลึก ๆ หรอก

ก่อนมาเรียน
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าเป็นหมอต้องทำงานติดกัน เกิน 24 ชั่วโมงอยู่บ่อยๆ ครั้ง
- ไม่มีใครรู้หรอครับ ว่าจะต้องมีวันทำงานรวมทั้งวันที่อยู่เวรมากกว่าวันหยุด ในปีแรกวันหยุดจะน้อยมาก เดือนนึงที่ได้หยุดจริงๆ ไม่ถึง 10 วันเสียด้วยซ้ำ และวันนักขัตฤกษ์หรือหยุดยาวนี่ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลยครับว่าจะได้หยุดหรือไม่ บ้านช่องแทบจะไม่ได้กลับ บางทีไม่เห็นหน้าพ่อแม่เป็นเดือนก็มีบ่อย ไปครับ
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าเวลามาทำงานจริงๆ มันลาแทบจะไม่ได้เลย เพราะเราลาหนึ่งคน ก็ส่งผลกระทบต่องานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นต่อเพื่อนร่วมงาน หรือต่อคนไข้ เช่นอยู่โรงพยาบาลอำเภอมีหมอ 3 คน คนที่ 1 เป็น ผอ คนที่ 2 และ 3 เป็นหมอ คนหนึ่งตรวจคนไข้ประมาณร้อยคน ถ้าเราลาสักวัน เพื่อนก็ต้องทำงานเป็นสองเท่า เป็นต้น
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าต้องทำงานที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งสารคัดหลั่ง หรือโรคติดเชื้อต่าง ๆ
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าต้องทำงานภายใต้สภาวะกดดันมากมาย บางครั้งต้องตัดสินใจให้เร็ว เพื่อแข่งกับเวลา และมีโอกาสผิดพลาดได้ทุกนาที
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าใช้เวลาในการเรียน 6 ปี เรียนรู้โรคเป็นร้อยเป็นพันโรค เรียนรู้ยาเป็นร้อยเป็นพันตัว แต่เวลาเอามาใช้งานจริง ๆ จำมาได้แค่ 20% ของที่เรียนก็เก่งมากแล้ว มิหนำซ้าเวลาตรวจคนไข้เจอโรคที่คาดไม่ถึงอีก ก็เกิดความผิดพลาดได้อีก พอผิดพลาดก็เกิดผลกระทบต่างๆ นา ๆ ตามมา
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าตอนที่เรียนนอก ไม่ใช่แค่นั่งเรียนหนังสืออย่างเดียว ยังมีการทำหัตถการพื้นฐานอีกมากมาย เวลาไปผ่านแต่ละแผนก ก็ได้ทำนิด ๆ หน่อย ๆ บางครั้งแทบไม่ได้เห็น เคยเห็นแต่ในตำรา แต่พอมาทำงานจริง กลับต้องทำโดยที่ไม่มีความถนัด ก็เสี่ยงต่อความผิดพลาด และการถูกฟ้องร้อง
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าการทำงานแต่ละนาที เสี่ยงต่อการถูกร้องเรียน หรือถูกฟ้องร้อง ขาข้างหนึ่งแทบจะก้าวเข้าไปอยู่ในตะรางตลอดเวลา
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าเงินเดือนจริง ๆ ไม่กี่หมื่นบาท เวลาอยู่เวร ถ้าจบใหม่ ๆ บางที่ 8 ชั่วโมงก็ 400 - 800 บาท แต่แทบไม่ได้นั่งเลยก็มีนะครับ บางคนเปรียบเทียบว่าเป็นแรงงานชั้นดีค่าตอบแทนถูกนั่นเอง
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่ารายได้มันไม่ได้มากอย่างที่คิด รายได้รัฐบาลบางทีทำแทบตาย ต่อให้ทำทั้งวันทั้งคืนติดกันทั้งเดือน รายได้ก็หลักหมื่น รายได้จะมากหน่อยก็ตอนใช้ทุนปี 2 -3 พอมาเรียนเฉพาะทางแทบไม่มีรายได้เลยอีก 3 - 5 ปี (รับแต่เงินเดือนกับค่าเวร หมื่นสองหมื่นต่อเดือน) บางสาขาจบมา รายได้กลับน้อยกว่าตอนใช้ทุนเสียอีก
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าจะต้องมาเจออะไรในระบบราชการบ้าง ปัญหาร้อยแปด เช่น เอาหมอไปทำงานเอกสาร งานบริหารบ้าง เป็นต้น หรือปัญหาพื้นฐานเช่นเงินเดือนออกไม่ตรงเวลา 6 เดือนแรกไม่มีเงินเดือนให้ ค่าตอบแทนบางอย่างค้างเป็นปี ๆ ก็ยังไม่ออก
- ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าเวลาเข้ามาเรียนแล้ว จะต้องเรียนต่อยอดไปเรื่อยๆ สามปี ห้าปี และมากกว่านั้นอีก กว่าจะจบและเริ่มเก็บเงินจริงๆ ก็เกือบจะสามสิบห้าแล้ว มีเวลาในการเก็บออมอีกไม่กี่ปี ก็หมดแรงทำงานแล้ว กว่าชีวิตจะสบาย เอาเข้าจริง ๆ ก็วัยห้าสิบกว่า ๆ หรือหลังเกษียณนะครับ

แล้วจะรู้เมื่อไหร่ ว่าการเป็นหมอลำบากขนาดไหน ต้องเจอกับอะไรบ้าง
- สามปีแรกยิ่งไม่ได้แตะตัวคนไข้ นั่งเรียนในห้องสี่เหลี่ยม ๆ กับเรียนแล็บต่าง ๆ
รวมทั้งผ่าอาจารย์ใหญ่ ยิ่งแทบไม่มีโอกาสได้สัมผัสชีวิตจริงของหมอเลยครับ
- ปีสี่ ปีห้า เริ่มเข้ามาสัมผัสกับงานมากขึ้น เริ่มอยู่เวรแต่การอยู่เวรก็แค่เที่ยงคืน และยังมีชั่วโมงเรียนปนกับชั่วโมงฝึกงาน ก็ยังแทบจะไม่รู้อะไร
- ปีสุดท้าย ใกล้ชิดกับความเป็นหมอมากที่สุด แต่ก็ยังไม่ได้ดูคนไข้ทั้งตัวตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการสักเท่าไหร่ การรักษาส่วนมากยังอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์รุ่นพี่อยู่
- กว่าจะรู้จริงๆ ก็ตอนมาเป็นแพทย์ใช้ทุนแล้ว โดยเฉพาะแพทย์ใช้ทุนปีที่ 2 ที่ต้องออกไปทำงานเอง รับผิดชอบเองทุกอย่าง

ดังนั้น ไม่ต้องแปลกใจเลยครับ ว่าทำไมหมอถึงลาออกในช่วงนี้
ถ้าใครชอบชีวิตที่เล่ามา ก็ดีไป ทำงานต่อไปได้
ถ้าใครไม่ชอบ ก็จะพบสภาวะกดดันต่าง ๆ นา ๆ ทั้งจากสังคมและคนรอบข้าง

ดังนั้น ถ้าหมอสักคนจะลาออก ไม่ผิดหรอกครับ
สังคมไม่ควรตั้งคำถาม หรือควรประณามใด ๆ เพราะอย่างน้อยเขาก็รู้ตัวเองว่าไม่เหมาะกับงานนี้ ให้คนที่เหมาะสมทำจะดีกว่า
ถ้ารู้ตัวเร็วว่าไม่ถนัดกับงานสายนี้ ดีกว่าดันทุรังทำไปด้วยใจไม่รักอีกหลายสิบปี

การเป็นหมอนั้นถ้าเป็นด้วยใจรักก็จะอยู่ได้ถึงวัยเกษียณ แต่ถ้าใจไม่รักก็จะรู้สึกเหน็ดเหนือยและท้อในแทบจะทุกวัน
การเป็นหมอนั้นไม่ได้สบายอย่างที่หลายต่อหลายคนคิด ในส่วนของรายได้ จริงอยู่ว่าไม่ได้อดตาย แต่ก็ไม่ได้ร่ำรวยอย่างที่หลายคนคิด

ลูกเพจของผมหลายๆ ท่านที่ถามมา รวมถึงผู้ปกครอง
นี่เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง จากประสบการณ์ตรง
ที่อยากเล่าสู่กันฟัง
ว่าการเป็นหมอ ไม่ได้เดินบนกลีบกุหลาบ และชีวิตไม่ได้สวยงามอย่างที่คิดนะครับ
แต่ถ้าใครคิดว่าใจรักจริง ๆ หากมีญาติพี่น้องทำงานในโรงพยาบาล ก็ไปตามดูชีวิตของหมอก่อนได้ก็จะดีครับ
และที่สำคัญ พ่อ แม่ ที่มีความคาดหวังกับลูกมาก ๆ ว่าลูกเรียนเก่ง อยากให้เรียนหมอ จบหมอแล้วจะสบาย รายได้ดี ความคิดแบบนั้น ผมยืนยันว่า "ผิด" อย่างสิ้นเชิงครับ





 

Create Date : 16 กรกฎาคม 2560   
Last Update : 31 มกราคม 2561 12:52:58 น.   
Counter : 6307 Pageviews.  

ทำไม ห้ามถ่ายภาพในโรงพยาบาล ห้ามถ่ายภาพ ผู้ป่วย แพทย์ .. รวบรวมมาฝาก

 


ทำไมในโรงพยาบาล ห้ามถ่ายภาพ

https://www.psh.go.th/ทำไมในโรงพยาบาล-ห้ามถ่/

Posted On 19 May 2015 By ประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร In เรื่องเล่าจากคนทำงานสุขภาพ Tags: พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์, พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ7,780 views

 

ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและรวดเร็วจนคาดไม่ถึงโดยเฉพาะเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านสุขภาพ ซึ่งถือเป็นความลับของผู้ป่วยแต่ขณะนี้มักพบเห็นการสื่อสารผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก เช่นมีการถ่ายรูปผู้ป่วยระยะสุดท้ายพร้อมเขียนข้อความขอความช่วยเหลือส่งข้อความต้องการขอรับบริจาคเลือดโดยมีการระบุชื่อผู้ป่วย การแสดงผลฟิล์มเอกซเรย์การถ่ายภาพภายในห้องของผู้ป่วย ทั้งที่เป็นเรื่องส่วนบุคคล เป็นต้น

 

ทั้งนี้เชื่อว่าผู้ที่กระทำมีเจตนาที่ดี แต่ปัญหาคือการสื่อสารเช่นนี้แบบไหนถึงจะพอดีเพราะต้องเข้าใจว่าบางโรคผู้ป่วยก็ไม่อยากเปิดเผย เนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตหรือหน้าที่การงานยิ่งไปกว่านั้นท่ามกลางความขัดแย้งในปัจจุบันอาจมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้โจมตีฝ่ายตรงข้ามที่เห็นต่างได้อย่างสื่อมวลชนกระแสหลักก็ต้องมีความระมัดระวัง เช่น กรณีรักษาการนายกรัฐมนตรีหรืออดีตนายกรัฐมนตรีเกิดอุบัติเหตุแค่ไหนจึงพอเหมาะพอควรในฐานะที่เป็นบุคคลสาธารณะ

 

ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพทั้งข้อมูลส่วนตัว สุขภาพ และการรักษา จะมีคนเกี่ยวข้อง 2 ส่วน คือผู้ประกอบวิชาชีพต้องมีคุณธรรมจริยธรรมจรรยาบรรณมากำกับ รักษาความลับของผู้ป่วยส่วนข้อมูลผู้ป่วยที่อยู่ในระบบบริการต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยเพราะหากไม่ใส่ใจข้อมูลอาจหลุดได้และคนทั่วไปที่รู้ข้อมูลโดยการมาเยี่ยมหรือมีคนส่งต่อมาให้ย่อมมีโอกาสเอาข้อมูลไปกระจายทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจกระทบต่อคนไข้สังคม ก่อเกิดความเกลียดชัง ปัญหาขัดแย้งได้ อย่างไรก็ตาม หากต้องการช่วยเหลือผู้ป่วยสามารถทำได้แต่ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วย ไม่ระบุชื่อผู้ป่วย

 

เรื่องข้อมูลสุขภาพต้องคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคล3 เรื่อง คือ

1. หลักสากลซึ่งไม่ใช่กฎหมายแต่เป็นเรื่องที่ทั่วโลกพึงปฏิบัติ

2. รัฐธรรมนูญซึ่งกำหนดเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลไว้ชัดเจนและ

3. หลักกฎหมายซึ่งมีระบุไว้หลายฉบับในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 323พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550

และปัจจุบันกำลังมีการมีการยกร่างกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลด้วยแม้แต่วิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขก็มีการออกประกาศสิทธิผู้ป่วยไว้เช่นกัน

 

อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ควรคำนึงถึงหลักคุณธรรมจริยธรรม หรือจรรยาบรรณของวิชาชีพมากกว่าเพราะหากนึกว่าเราเป็นผู้ป่วยเองเราจะยินยอมหรือไม่ เป็นลักษณะของใจเขาใจเรา

 

สำหรับหลักจริยธรรมด้านสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์จะมี4 เรื่องคือ

1. อิสระของผู้ป่วย คือผู้ป่วยมีสิทธิของเขาผู้ปฏิบัติวิชาชีพต้องระวัง มิใช่ว่ามีข้อมูลของผู้ป่วยแล้วจะเอาไปทำอะไรก็ได้ผู้ป่วยมีสิทธิพิทักษ์รักษา

2. ประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย

3. ไม่ทำอันตรายต่อผู้ป่วยจากการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพและ

4. หลักการยุติธรรม ดูความเท่าเทียมเสมอภาค

 

“หากผู้ป่วยถูกละเมิดผู้ป่วยและญาติสามารถฟ้องได้ตามมาตรา 7 โดยผู้ละเมิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

 

ส่วนกฎหมายใหม่ที่กำลังยกร่างก็ต้องทำการฟ้องเช่นกันทั้งนี้ในยกร่างกฎหมายใหม่คงไม่มีการตั้งหน่วยงานขึ้นมาตรวจสอบการละเมิดสิทธิของผู้ป่วยเพราะสังคมมีความสลับซับซ้อน มีการกระทำเช่นนี้เป็นจำนวนมากจึงมีการเสนอว่าต้องให้ความรู้แก่ประชาชนต้องช่วยกันตรวจสอบในเรื่องนี้

 

สำหรับหน้าที่สื่อมวลชนโดยเฉพาะกรณีการตามบุคคลสำคัญบุคคลสาธาณะเข้าไปเยี่ยมผู้ป่วยก็ต้องคำนึงว่ารูปควรนำไปใช้แค่ไหนเพราะเป็นการมาสื่อสารหน้าที่ของผู้นำ ไม่ใช่สื่อสารความลับของผู้ป่วยซึ่งที่จริงแล้วก็ไม่ควรเข้าไปในห้องผู้ป่วยเรื่องนี้ควรมีการทำความเข้าใจและสร้างระบบให้ชัดเจน ซึ่งจริงๆ แล้วโรงพยาบาลก็มีกฎห้ามถ่ายรูปอยู่แล้วแต่กรณีมากับบุคคลสำคัญอาจจะห้ามไม่ทัน

 

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าในเขตโรงพยาบาลทำไมต้องห้ามถ่ายภาพทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยจึงไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปผู้ป่วยหรืออาคารสถานที่ในโรงพยาบาลยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลนั้นๆก่อนและผู้ป่วยหรือผู้มีอำนาจแทนผู้ป่วยจะยินยอมเท่านั้น

 


https://www.facebook.com/easyeasydoctorp/photos/a.623304444359530.1073741828.622821611074480/842466129110026/?type=3&permPage=1

 

หมอ"รพ.ห้ามถ่ายรูปนะครับ"

มนุษย์ญาติผู้เรียนกฎหมาย"ถึงจะผิดกฎหมาย แต่เค้าดูกันที่เจตนา"

มนุษย์ญาติผู้ไม่ได้เรียนกฎหมาย"มันมีกฎหมายห้ามถ่ายรูปด้วยหรอ ไป รพ.เอกชนยังถ่ายได้"

 

เฮ้อ........อยากจะถอนหายใจให้ไปถึงดาวอังคาร

จริงๆ แล้วทุก รพ.มีป้ายห้ามครับ แทบจะแปะไว้ทั่ว รพ.

เอาเป็นว่าใครไม่เห็น วันนี้เอารูปมาให้ดูครับ แชร์ให้เห็นโดยทั่วกัน

 

อ่านกระทู้เต็มๆเชิญที่นี่ครับ

https://m.pantip.com/topic/32919872

 

บางคนอาจจะโลกสวยแค่ถ่ายรูป กลัวอะไร ถ้าไม่ได้ทำอะไรผิด

-แน่ๆ เลย คุณละเมิดสิทธิผู้ป่วยครับต่อให้เป็นญาติกัน ก็ไม่มีสิทธิ เผยแพร่ความลับของผู้ป่วย

-รบกวนการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ครับ

-การเผยแพร่ ภาพถ่าย ที่ผ่านมาเราก็เห็นกันแล้วว่า มันทำให้บุคคลในภาพ เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกประณามหยามเหยียดขนาดไหน

แม้จะไม่ได้ทำอะไรเลย

แต่เจอแค่รูป 1 รูป + คำบรรยายไปเองของญาติ

และผลเสียอื่นๆมากมาย

 

จริงๆคนไข้ส่วนใหญ่ ที่จะมีปัญหา น้อยมากกก ครับ

 

ส่วนใหญ่จะเป็นมนุษย์ญาติโดยเฉพาะญาติห่างๆ หรือญาติที่ไม่ค่อยได้ดูแล จะเยอะเป็นพิเศษ

 

หมอว่าเอาเวลาหยิบมือถือมาถ่ายรูป ถ่ายคลิป

เปลี่ยนเป็นช่วยดูแลผู้ป่วยช่วยจำประวัติ ผู้ป่วย ดีกว่ามั้ยครับ

 

บางคนผู้ป่วยแพ้ยาอะไรมั้ยครับ

"ไม่รู้ ไม่ได้อยู่ด้วย"

ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวอะไรมั้ยครับ

"ไม่รู้ ไม่ได้ดูแล"

 

(เฉพาะบางคนนะครับ)

ญาติคุณเองคุณไม่เคยดูแล ไม่เคยใส่ใจ

 

แล้วคุณมาถ่ายรูปถ่ายคลิป ด่า ประจาน คนที่ช่วยเหลือ ดูแลญาติคุณ

 

คนแบบนี้...สำนึกอยู่ที่ไหนครับ

 

ถ้าช่วยอะไรไม่ได้อยู่เฉยๆ ดีที่สุดนะครับ

 

ปล.สำหรับผู้ป่วยและญาติที่ที่ให้ความร่วมมือ ดูแล ช่วยเหลือกันอย่างดีก็ขอให้ชื่นชมนะครับ

 

By Dr.P

 


 
.....................................................

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=728291233927516&id=658454437577863

ทุกวันนี้การทำงานของแพทย์เรามีประเด็นเรื่องการถ่ายภาพหรืออัดเสียงแพทย์ระหว่างการตรวจรักษาผู้ป่วยอยู่พอสมควรมีการตั้งคำถามว่าผู้ป่วยทำได้หรือไม่ แพทย์ควรทำอย่างไรโรงพยาบาลควรมีแนวทางเรื่องนี้อย่างไร การถ่ายภาพหรืออัดเสียงมีผลกระทบอย่างไรและก็มีการตีความข้อกฎหมายและแสดงความเห็นไปต่างๆ นานา

 

ผมได้รับโจทย์ให้ช่วยแสดงความเห็นและแชร์แนวทางของทางรามาธิบดีที่ผมทำงานอยู่เพื่อแลกเปลี่ยนในหมู่แพทย์ จากท่านรองเลขาธิการแพทยสภา อ. IttapornKanacharoen

 

ดังนั้นในฐานะแพทย์คนหนึ่ง และในฐานะที่เรียนจบด้านสารสนเทศสุขภาพ (healthinformatics) ซึ่งเป็นสาขาที่เน้นเรื่อง"ข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย" และการนำ ICT มาใช้ในทางการแพทย์และสาธารณสุขรวมทั้งในฐานะที่สนใจและศึกษาข้อกฎหมาย privacy laws และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นพิเศษผมขอแสดงความเห็นส่วนตัวดังนี้ครับ(ต้องขอออกตัวก่อนว่าความเห็นนี้ไม่ผูกพันหน่วยงานใดๆ ที่ผมเอ่ยถึงนะครับ)

 

1. ต้องยอมรับว่ากรณีที่ผู้ป่วยหรือญาติมีการถ่ายภาพหรืออัดเสียงแพทย์ระหว่างการตรวจรักษาย่อมสร้างความอึดอัดให้กับแพทย์ได้ง่ายๆ และทำให้เกิดความรู้สึกไม่ไว้วางใจต่อกันและอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย และการให้บริการได้ไม่ต้องเป็นแพทย์หรอกครับเป็นใครก็ตามที่รู้ว่ามีคนกำลังถ่ายภาพหรืออัดเสียงของตนอยู่ย่อมทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัดหรือรู้สึกไม่ดีได้ง่ายๆ และไม่เป็นผลดีต่อการดูแลผู้ป่วยเลยครับ

 

แต่ในทางกลับกันหากถามว่ามีกรณีใดที่การขอถ่ายภาพหรืออัดเสียงของผู้ป่วยระหว่างการตรวจรักษาจะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยหรือผลการรักษาไหม ก็ต้องเรียนว่า มีครับลองนึกภาพดูว่าคนแก่ที่จำคำแนะนำของหมอไม่ได้ ฟังไม่ทัน หรือญาติที่ต้องช่วยดูแลหรืออยากsave ข้อมูลบางอย่าง (เช่น ผล lab)ไว้เพื่อทำความเข้าใจหรือเรียนรู้เพื่อการดูแลผู้ป่วยการถ่ายภาพหรืออัดเสียงระหว่างที่แพทย์ให้คำแนะนำหรือพูดคุยกับผู้ป่วยก็อาจจะเป็นประโยชน์ก็ได้

 

ผมมีประสบการณ์ตรงในฐานะญาติผู้ป่วยกรณีที่การถ่ายภาพระหว่างการตรวจ เป็นประโยชน์มากครับ คือ กรณีของคุณแม่ของผมเองซึ่งมีอาการปวดหัวไหล่ และผมพามาตรวจกับอาจารย์หมอที่เป็นเพื่อนผมเองคุณหมอแนะนำให้คุณแม่ผมบริหารกล้ามเนื้อหัวไหล่ด้วยท่าบางท่า ซึ่งคุณแม่ก็กังว๊ลกังวล ว่าจะจำท่าบริหารไม่ได้ ผมเองก็ไม่ได้พักอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ จะช่วยจำให้ก็ไม่ได้(และความจำตัวเองในเรื่องนี้ก็ใช่ว่าจะดีด้วย)ก็เลยขออนุญาตคุณหมอเพื่อนผมเพื่อขอถ่ายภาพท่าบริหารในห้องตรวจคุณหมอก็อนุญาตด้วยความเต็มใจ คุณแม่ก็โล่งใจและก็นำไปบริหารที่บ้านได้

 

ดังนั้นการถ่ายภาพหรืออัดเสียงขณะตรวจรักษา มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แล้วแต่สถานการณ์และเจตนาของผู้เกี่ยวข้องครับ

 

2. สำหรับข้อกฎหมายบางคนอ้าง พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550มาตรา 7มาปฏิเสธการถ่ายภาพหรืออัดเสียงด้วยเหตุผลด้านสิทธิส่วนบุคคลในฐานะที่ผมศึกษาเรื่องมาตรา 7นี้มานานพอสมควร เพราะมันมีประเด็นข้อกฎหมายเรื่อง privacy ที่ผมสนใจ ผมต้องขอเรียนว่า มาตรา 7 นี้ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงสิทธิของแพทย์หรือผู้ให้บริการแต่อย่างใดครับ

 

"มาตรา 7 ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคลผู้ใดจะนำไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรงหรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย แต่ไม่ว่าในกรณีใด ๆผู้ใดจะอาศัยอำนาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการหรือกฎหมายอื่นเพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลที่ไม่ใช่ของตนไม่ได้"

 

จะเห็นว่าไม่มีข้อความใดในมาตรา7 ของ พรบ.สุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550 (หรือแม้กระทั่งมาตราอื่นใดในพรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550และที่แก้ไขเพิ่มเติม)กล่าวถึงการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของแพทย์หรือผู้ให้บริการเลยครับ หากจะถามว่าแล้วสิทธิส่วนบุคคลของแพทย์ในห้องตรวจ ในขณะตรวจรักษาผู้ป่วยจะถูกคุ้มครองโดยกฎหมายใด ตรงนี้เท่าที่ผมทราบไม่มีกฎหมายใดที่คุ้มครองแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในเรื่องนี้โดยตรงครับ(และหากเขียนขึ้นมาก็จะประหลาดในทางกฎหมายด้วยเพราะหลักการเรื่องกฎหมายการแพทย์จะมุ่งคุ้มครองผู้ป่วยเป็นหลัก)ตรงนี้สอดคล้องกับ case ตัวอย่างจากสหรัฐอเมริกาที่มีคำพิพากษาของศาลสูงสุดของสหรัฐฯ (U.S. Supreme Court) ในคดี Sorrell v. IMS Health Inc. ว่า ข้อมูลพฤติกรรมการสั่งยาของแพทย์แต่ละรายที่สามารถระบุตัวแพทย์ได้ (แต่ระบุตัวผู้ป่วยไม่ได้)ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลของแพทย์ แต่เป็นข้อมูลทั่วไปบริษัทยาสามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในการวางแผนทางการตลาดหรือเรื่องอื่นๆได้ตามหลัก freedom of speech ซึ่งแม้คดีนี้จะไม่ใช่เรื่องการถ่ายภาพหรืออัดเสียงโดยตรงแต่ก็มีหลักการที่มองว่าข้อมูลในการให้บริการสุขภาพ ที่ระบุตัวแพทย์ได้ไม่ได้เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของแพทย์ครับ

 

ข้อกฎหมายที่พอจะเข้าได้ก็จะมีเพียงประเด็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลทั่วไปที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายซึ่งก็จะต้องดูว่ามีกรณีทีเข้าข่ายหมิ่นประมาทที่เป็นความผิดทางอาญาหรือกรณีที่เป็นการละเมิดสิทธิที่เป็นกรณีทางแพ่งหรือไม่แต่ลำพังเพียงการถ่ายภาพหรืออัดเสียงหากตัวภาพหรือเสียงไม่ได้ทำให้เกิดความเกลียดชังหรือดูหมิ่นแพทย์หรือทำให้เกิดความเสียหายทางแพ่งฐานละเมิดที่อาจฟ้องแพ่งได้ก็อาจจะเอาผิดอะไรไม่ได้ ซึ่งก็เหมือนกับกรณีเราทำอะไรในที่สาธารณะคนอื่นจะถ่ายภาพหรืออัดเสียงเราไว้โดยทั่วไปก็ย่อมทำได้และไม่ถือว่าเป็นความผิดครับ(อาจจะยกเว้นเฉพาะบางกรณีที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทหรือสร้างความเสียหายทางแพ่งให้เราจริงๆ)

 

3. หากถามต่อว่าแล้วถ้าเช่นนั้นเราจะทำอย่างไรดีผมมองว่าทางออกคือการออกนโยบายและแนวทางการบริหารจัดการของสถานพยาบาลเอง ซึ่งในฐานะของผู้ให้บริการย่อมสามารถกำหนดนโยบายและแนวทางการให้บริการ เป็นการภายในได้อยู่แล้วครับ

 

ผมขออนุญาตแชร์ระเบียบปฏิบัติของรามาธิบดีซึ่งมีการออกประกาศอย่างเป็นทางการ และในมุมของผมก็ได้พยายาม balance สมดุลระหว่างประโยชน์ของการถ่ายภาพหรืออัดเสียงในบางกรณีกับข้อกังวลต่างๆ ของผู้ให้บริการ ได้ดีพอสมควรโดยสำหรับการถ่ายภาพหรืออัดเสียงในการตรวจรักษามอบให้เป็นดุลพินิจของอาจารย์แพทย์เจ้าของไข้พิจารณาอนุญาต(เพราะแพทย์จะทราบได้ว่ากรณีดังกล่าวการถ่ายภาพหรืออัดเสียงจะมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยหรือไม่เพียงใด) (รวมทั้งมีการเขียนแนวทางปฏิบัติถึงกรณีที่แพทย์หรือบุคลากรประสงค์จะขอถ่ายภาพผู้ป่วยเพื่อการศึกษาหรือการวิจัยด้วย)และมีแนวทางในการ monitor และdocument การถ่ายภาพหรืออัดเสียงอย่างเป็นระบบ(แม้อาจจะดูซับซ้อนอยู่บ้าง)

 

ทั้งนี้ผมแชร์ระเบียบปฏิบัติของรามาธิบดีมาเป็นตัวอย่างเฉยๆ นะครับหากท่านใดจะนำไปปรับใช้ก็ยินดีครับแต่ต้องขอเน้นย้ำให้ท่านพิจารณานำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทและ dynamic ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยใน setting ของท่านเองด้วยนะครับ อย่า copy& paste โดยไม่ได้วิเคราะห์บริบทของตัวเองนะครับ

 

4. ในมุมมองผมนะครับ หัวใจสำคัญคือการสื่อสารพูดคุยทำความเข้าใจกับผู้ป่วยและญาติ และการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันครับการเอากฎหมายหรือกฎระเบียบมาอ้างกับผู้ป่วยและญาติว่าห้ามทำอย่างนั้นห้ามทำอย่างนี้ อาจจะไม่ใช่ท่าทีที่ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีหรือลดปัญหาความไม่เข้าใจหรือไม่ไว้วางใจกันครับแต่อาจะต้องให้สถานพยาบาลมีแนวทางที่สมดุล (balanced approach) โดย recognize บางกรณีที่การถ่ายภาพหรืออัดเสียงมีประโยชน์ แต่มีระบบ แนวทางและการสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจกับผู้รับบริการกรณีที่มองว่าการถ่ายภาพหรืออัดเสียงดังกล่าวไม่ส่งผลดีต่อการรักษาครับนอกจากนี้แล้ว ก็ต้องพยายามส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี ด้วยการพูดคุยกันดีๆและมีความเป็นมืออาชีพ (professionalism) รวมทั้งมีวุฒิภาวะในการตรวจรักษาผู้ป่วย ตั้งแต่ต้น ซึ่งผมเชื่อว่าจะช่วยลดความระแวงไม่ไว้วางใจของฝั่งผู้ป่วย และถอดสลักระเบิดเวลาของ doctor-patientrelationship ได้ครับ

 

ขอบคุณครับ

 

ป.ล.ผมได้รับอนุญาตจากคุณแม่เพื่อนำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟังแล้วครับ

 

นพ.นวนรรนธีระอัมพรพันธุ์

อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

............................................

ผมชอบความเห็นนี้ เปรียบเทียบ ใจเขาใจเรา


https://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1414768771

"หมอเข้าใจนะครับว่าคุณอยากถ่ายรูปคนไข้ ไม่ได้ตั้งใจจะถ่ายรูปหมอ

สมมุติว่าคุณไปกินข้าวที่ร้านอาหารแล้วมีคนอยากรู้ว่าอาหารที่คุณกินอร่อยมั้ย?

 

เค้าก็มาถ่ายรูปอาหารที่คุณกิน

ถ่ายรูปตอนคุณใช้ช้อนตัก

พอเอาช้อนใส่ปากเค้าก็ถ่ายรูปแชะ

ถ่ายรูปตอนเคี้ยวดูว่าสีหน้าท่าทางคุณอร่อยมั้ย

 

เค้าไม่ได้อยากถ่ายรูปคุณเค้าแค่อยากรู้ว่าอาหารอร่อยมั้ย

ถ่ายรูปแล้วยังเก็บรายละเอียดได้ไม่ครบถ้วนถ่ายวีดีโอเลยดีกว่า

 

เป็นคุณคุณจะยอมให้เค้าถ่ายมั้ยครับ?

 

ถ้าคุณขอร้องเค้าว่ากรุณาอย่าถ่ายหรือ ถ่ายไม่ได้

แล้วเค้าถามว่าทำไมห้ามถ่าย

คุณจะตอบเค้าว่ายังไงครับ?"

 

อันนี้เป็นเท็คนิกการตอบคำถามด้วยคำถาม

ส่งโดย: muji

 

..................................

 

โดยส่วนตัวขณะตรวจผู้ป่วย ผม “ ไม่ชอบ “ ให้มีการถ่ายภาพ ถ่ายคลิปวิดีโอ หรือ บันทึกเสียง เพราะรู้สึก ไม่มีสมาธิ ในการตรวจรักษาผู้ป่วย และ รู้สึกว่า ถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผม ... แต่ ถ้าอยากจริง ๆ ก็ขอให้บอกกันก่อนว่า จะถ่ายภาพ ถ่ายคลิปวิดีโอ หรือบันทึกเสียง ถือว่า “ให้เกียรติกัน” และเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจ เพราะ

การที่ “แอบทำ “ อะไรสักอย่าง ก็แสดงว่ารู้อยู่แก่ใจว่า สิ่งที่ทำอยู่นั้น ผิด จึงต้องแอบ ใช่หรือเปล่า ?  .. ดังนั้น การแอบถ่ายภาพ แอบบันทึกวิดีโอ แอบบันทึกเสียง ก็แสดงถึงเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ แล้วจะให้ผมสบายใจ ได้อย่างไร

หลากความคิด หลายความเห็น แต่ก็คงต้องมี "กติกา" ที่ทุกคน "ต้องยอมรับ " ...

สิทธิ ต้องคู่หน้าที่ และ ความรับผิดชอบ .. สิทธิของตนเองก็ต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นเช่นกัน

ถ้าทำไปแล้วก็ต้องรับผิดชอบผลที่ตามมา ไม่ใช่แค่อ้างว่า รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือ พูดว่า ขออภัยขอโทษ เพราะ บางครั้ง ความเสียหายมากมาย และ แก้ไขไม่ได้แล้ว



 

หมายเหตุ ... ส่วนใหญ่ เป็นเรื่อง ที่ แพทย์ ต้องระมัดระวังในการใช้สื่อออนไลน์

กฏหมายแพทย์ต้องรู้ ( ผู้ป่วยและญาติ ก็ควรรู้ )

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=07-10-2014&group=7&gblog=184

 

Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์.... โดย doctorlawyer"

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-06-2014&group=26&gblog=3

 

การระมัดระวังการใช้SocialMedia สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข... โดย หมอแมว

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=5

 

แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพพ.ศ.2559

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-05-2017&group=26&gblog=1

 

แพทยสภา เตือนแพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง socialmedia

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=26&gblog=4

 

แพทยสภาเตือนแพทย์ระมัดระวังการโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทางโซเชียลมีเดีย

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-01-2016&group=26&gblog=2

 

๓ พ.ค.๖๖
 
 
 
อาจารย์ขา อยากให้อาจารย์แนะนำ เวลาที่เกิดเหตุคนไข้ถ่ายวีดีโอขณะปฏิบัติงาน แบบเหตุการณ์ที่เป็นข่าว
ว่าแพทย์ควรทำอย่างไรค่ะ
 
ขอบคุณที่น้องถามมา
การถ่ายวิดีโอผู้ป่วย แพทย์พยาบาล ในสถานพยาบาลผิดกฎหมาย
พรบ.สุขภาพ และพรบ.คอมพิวเตอร์
ยกเว้นเจ้าตัวยินยอม
 
วิธีรับมือมีดังนี้ค่ะ
1.เป็นนโยบายของสถานพยาบาล ที่เจ้าหน้าที่ทุกคนรับทราบ ผู้บริหารเห็นความสำคัญ แจ้งเตือนทุกฝ่าย
2 สถานพยาบาลนอกจากติดประกาศสิทธิผู้ป่วยแล้ว ควรติดประกาศห้ามถ่ายภาพ วิดิโอ ในสถานพยาบาล หน้าห้องตรวจ ห้องผ่าตัด ตึกผู้ป่วย ฯลฯควบคู่กัน เพราะนี่เป็นสิทธิของผู้ปฏิบัติงาน
3. มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนไข้และญาติ
4.เห็นคนไข้และญาติ บันทึกรูปบันทึกเสียง แจ้งให้หยุดด้วยวาจาสุถาพ เพราะเป็นความผิดทางกฎหมาย
5.มีปัญหาไม่สามารถระงับเหตุได้ รายงานฝ่ายบริหาร หรือผู้ตรวจการในรพ.
6.แจ้งความกล่าวโทษร้องทุกข์หรือลงบันทึกประจำวัน
ชัญวลี ศรีสุโข หมอหวิว

https://www.facebook.com/chanwaleesrisukho/posts/pfbid0rZfVRRTVbeReg1TFzGF2pwwUdEVeF9BzFMkK6YBBoeVfJeAP5XVLnEc82Tf1vDqil

 
ทุกคน มี สิทธิ์ ที่จะปกป้องสิทธิของตนเอง โดยไม่ละเมิด สิทธิ ของผู้อื่น
กฎหมาย ให้โอกาส ผู้ที่ (คิดว่า) ตนเองถูก ละเมิด ฟ้องร้อง เพื่อปกป้องสิทธิของตน ได้ ...ส่วนจะฟ้องชนะหรือแพ้ ก็ต้องลุ้นกันต่อไป
***********************************************
 
การที่ผู้ป่วยแอบอัดเทปเสียงการสนทนาระหว่างผู้ป่วยและญาติกับแพทย์ผู้รักษาแล้วนำมาเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีกับแพทย์ผู้รักษาและฟ้องร้องโรงพยาบาลได้หรือไม่
และบางครั้งผู้ป่วยและญาตินำคลิปเสียงที่แอบอัดเสียงแพทย์ท่านอื่นที่ให้ความเห็นการรักษาของแพทย์คนแรกที่เคยรักษาผู้ป่วยเพื่อนำมาเป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง อย่างนี้ทำได้หรือไม่
ปัจจุบันในยุคไฮเทคโนโลยีนั้นการอัดคลิปเสียงหรือ ทั้งภาพและเสียงเป็นสิ่งที่สามารถได้ไม่ยากด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย ดังนั้นในการรักษาดูแลผู้ป่วยของแพทย์ย่อมต้องระลึกไว้เสมอว่าการสนทนาระหว่างทั้งสองฝ่ายจะมีโอกาสถูกบันทึกไว้ได้โดยไม่รู้ตัว แม้บางโรงพยาบาลจะมีป้ายติดไว้ว่าห้ามอัดเสียงหรือถ่ายรูปในโรงพยาบาลก็ตาม
คลิปเสียงและภาพที่อัดไว้โดยผู้ป่วยและแพทย์โดยไม่ได้มีการขออนุญาตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก่อนนั้นจะนำมาเป็นพยานหลักฐานในการสืบพยานในศาลได้หรือไม่
คำตอบในเรื่องนี้ มีหลากหลาย แอดมินขอนำเสนอความเห็นตามแนวคำพิพากษาฎีกาและประมวลวิธีพิจารณาความอาญาและแพ่งดังนี้
๑.ในคดีอาญา นั้นตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่๒๒๘๑/๒๕๕๕การที่จำเลยแอบบันทึกเทปขณะที่มีการสนทนากันระหว่างโจทก์กับจำเลยโดย โจทก์ไม่ทราบมาก่อน เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา๒๒๖
ดังนั้นการที่ผู้ป่วยแอบอัดเทปเสียงการสนทนาของแพทย์ผู้รักษากับผู้ป่วยโดยไม่มีการขออนุญาตแพทย์ก่อนนั้นสามารถทำได้ตามสิทธิแต่จะนำไปใช้เป็นพยานในการเอาผิดกับแพทย์ไม่ได้
ส่วนญาติเองที่เป็นบุคคลภายนอกแอบอัดเสียงสนทนาแพทย์กับตัวผู้ป่วยอันนี้ใช้ไม่ได้โดยเฉพาะการหลอกถามเพราะคลิปเสียงนี้เป็นพยานหลักฐานที่ได้แสวงหาโดยมิชอบ โจทก์หรือทางผู้ป่วยและญาติเมื่อนำไปใช้อ้างเป็นพยาน ศาลมิควรรับฟัง
แต่กฎหมายก็มียกเว้นไว้ให้ในกรณีที่จำเลย(แพทย์)จะอัดคลิปเสียงเพื่อต่อสู้คดีของตนเองตามมาตรา๒๒๖/๑อันเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรม(ตามฎีกานี้)
๒.คดีแพ่ง ศาลก็จะชั่งน้ำหนักพยานทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยว่าฝ่ายใดมีน้ำหนักมากกว่ากันโดยเฉพาะคดีแพทย์กับผู้ป่วยนั้นก็จะเป็นคดีผู้บริโภคที่ภาระการพิสูจน์ตกแก่ทางโรงพยาบาลและแพทย์ผู้ให้การรักษา การแอบอัดคลิปเสียงของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ได้ขออนุญาตแพทย์ก่อนบันทึกเสียงนั้นและทางผู้ป่วยนำคลิปเสียงนี้มาอ้างเป็นพยานในคดีแพ่งเรียกค่าเสียหาย
ศาลฎีกาได้ให้ความเห็นว่าการบันทึกเสียงในแถบบันทึกเสียงอาจมีการตัดต่อหรือดัดแปลงลอกเลียนเสียงได้ไม่ยากนัก ดังนั้น หากแพทย์ผู้รักษาปฏิเสธว่ามิใช่เสียงสนทนาของตนกับผู้ป่วยจริง น้ำหนักพยานคลิปเสียงก็จะหมดไป
แต่หากแพทย์ผู้รักษายอมรับว่าเป็นเสียงของแพทย์จริง คลิปเสียงนี้ศาลก็จะรับเข้าในสำนวนเป็นพยานหลักฐานของทางผู้ป่วยได้

https://www.facebook.com/thaimedlawyer/posts/1493073524235368




 

Create Date : 16 กรกฎาคม 2560   
Last Update : 4 พฤษภาคม 2566 14:39:14 น.   
Counter : 57457 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]