Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

สพฉ.ออกคู่มือปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ให้ประชาชนใช้ศึกษา เพิ่มโอกาสรอดชีวิตจากเจ็บป่วยฉุกเฉิน

สพฉ.ออกคู่มือปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ให้ประชาชนใช้ศึกษา เพิ่มโอกาสรอดชีวิตจากเจ็บป่วยฉุกเฉิน

"หมอไพโรจน์" แจงรายละเอียดคู่มือ เปิดข้อมูลอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินพร้อมสอนขั้นตอนการใช้งานสายฉุกเฉิน 1669 และวิธีปฐมพยาบาลตนเองเบื้องต้นหลายอาการ อาทิโรคหอบหืด อวัยวะถูกตัดขาด การปฐมพยาบาลภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดในสมองแตก/ตีบ/ตัน ย้ำรู้และช่วยเร็วผู้ป่วยรอด

นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้จัดทำคู่มือปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินมาให้ประชาชนได้ใช้ศึกษาและนำไปปฏิบัติเพื่อการรอดชีวิตหากเกิดภาวะฉุกเฉินกับตนเองหรือคนใกล้ชิด โดยในคู่มือได้ระบุถึงความหมายของอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินคือการได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการเจ็บป่วยกะทันหันที่มีผลต่อชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจและรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรืออาการเจ็บป่วยบาดเจ็บรุนแรงขึ้น

โดยลักษณะอาการฉุกเฉินที่ควรแจ้งโทร 1669 คือ

1. หมดสติช๊อคสะลึมสะลือเรียกไม่รู้สึกตัว

2. เจ็บหน้าอกหายใจเหนื่อย

3. สิ่งแปลกปลอดอุดกั้นทางเดินหายใจ

4. ปากเบี้ยวแขนขาอ่อนแรง

5. ชักเกร็งกระตุก

6. ปวดท้องรุนแรง

7. ตกเลือดเลือดออกทางช่องคลอด

8.เจ็บท้องคลอด คลอดฉุกเฉิน

9. บาดเจ็บจากอุบัติเหตุเช่นรถชน จมน้ำ ไฟฟ้าช็อต ไฟไหม้ สัตว์มีพิษกัดต่อย

รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวต่อว่า ในคู่มือยังได้ระบุถึงข้นตอนการแจ้งเหตุสายด่วน 1669เพื่อให้ประชาชนศึกษาไว้เตรียมตัวหากต้องใช้งานสายด่วนโดยในคู่มือระบุขั้นตอนการใช้งานสายฉุกเฉิน 1669 ดังนี้

1. เมื่อพบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินให้ตั้งสติและโทรแจ้งสายด่วน 1669

2. ให้ข้อมูลว่าเกิดเหตุอะไรมีผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บในลักษณะใด

3. บอกสถานที่เกิดเหตุเส้นทางจุดเกิดเหตุให้ชัดเจน

4. บอกเพศ ช่วงอายุ อาการจำนวนผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ

5. บอกระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย

6. บอกความเสี่ยงที่ อาจเกิดซ้ำ เช่นอยู่กลางถนนหรือรถติดแก็ส

7. บอกชื่อผู้แจ้งเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้

8. ช่วยเหลือเบื้องต้นตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่

9. รอทีมกู้ชีพมารับผู้ป่วยเพื่อนำส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสม

นพ.ไพโรจน์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ในคู่มือเล่มนี้ยังได้สอนวิธีในการทำ CPRหรือการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน โดยระบุขั้นตอนของการทำ CPR ว่าเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนของห่วงโซ่การรอดชีวิต โดยหลักการทำ CPR ผู้เข้าช่วยเหลือจะต้องประเมินผู้ป่วยด้วยการปลุกเรียกโดยใช้มือตบบริเวณไหล่ และรีบโทรขอความช่วยเหลือจากสายฉุกเฉิน 1669 หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน ระหว่างรอรถพยาบาลให้ทำการกดหน้าอกสลับการช่วยหายใจ โดยกดหน้าอกจำนวน 30 ครั้งด้วยอัตราความเร็วอย่างน้อย 100-120ครั้งต่อนาที และเป่าลมเข้าปอดผู้ป่วยให้เห็นผนังทรวงอกขยับขึ้น 2 ครั้ง และหากบริเวณนั้นมีเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ(AED) ให้ใช้เครื่อง AED ทันทีสลับกับการทำ CPR

รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในคู่มือเล่มนี้ยังได้บอกวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในหลากหลายกรณีให้ประชาชนใช้ศึกษาเช่น การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด โดยในคู่มือระบุการปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดให้ผู้ป่วยนั่งในท่าสบายคลายเสื้อผ้าให้หลวม พาไปยังที่อากาศถ่ายเทสะดวก ถ้าผู้ป่วยมียาให้พ่นยาที่มีอยู่ และหากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบโทรแจ้งสายฉุกเฉิน 1669 ให้นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

ส่วนการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกรณีมีบาดแผลฉีกขาดที่ผู้เข้าช่วยเหลือต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดของผู้ป่วยโดยตรงเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ทำการห้ามเลือดโดยใช้ผ้าสะอาดหรือผ้าก๊อซมาปิดปากแผลไว้ สังเกตการเสียเลือดเพิ่ม ถ้าเลือดออกไม่หยุดให้ใช้ผ้ายืดพันทับอีกรอบ กรณีที่เป็นแผลที่แขนขาและไม่มีกระดูกหักให้ยกส่วนนั้นให้สูง และในกรณีการปฐมพยาบาลแผลอวัยวะถูกตัดขาด ให้เก็บอวัยวะที่ขาดใส่ถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น แช่ในภาชนะที่มีน้ำผสมน้ำแข็ง ห้ามเลือดบริเวณปลายอวัยวะส่วนที่ถูกตัดขาดและห้ามแช่อวัยะที่ขาดลงไปในน้ำแข็งโดยตรง สำหรับการปฐมพยาบาลกรณีไฟไหม้น้ำร้อนลวก ให้ถอดเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่ถูกเผาไหม้ออก ถ้าไหม้ติดกับผิวหนังเมื่อถอดอาจมีการดึงรั้งควรตัดเสื้อผ้าในส่วนนั้นออก ใช้น้ำสะอาดล้างแผลเพื่อทำความสะอาดลดอาการแสบร้อน ห้ามใช้โลชั่น ยาสีฟัน หรือยาปฏิชีวนะทาบนแผลเพราะปิดกั้นการระบายและห้ามเจาะตุ่มพอง

นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่าในส่วนของการปฐมพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันอยากให้ประชาชนทุกคนศึกษาไว้เพราะโรคนี้เป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นโดยผู้ป่วยไม่รู้ตัว และหากเรามีอาการหรือพบคนใกล้ชิดมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรทับหรือบีบรัดนานกว่า 20 นาทีอาจร้าวไปที่ใบหน้า ปวดกรามร้าวมาถึงสะดือ ปวดจุกแน่นลิ้นปี่ลามไปที่แขนไหล่จนถึงปลายนิ้ว อาจมีอาการของระบบประสาทเช่น หายใจเหนื่อย นอนราบไม่ได้ เหงื่อออกใจสั่น คลื่นไส้อาเจียนหน้ามืด หมดสติ เบื้องต้นให้นอนพักลดการเคลื่อนไหวโดยไม่จำเป็นและโทรแจ้ง 1669 สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดถ้าพบว่าหมดสติหยุดหายใจให้กดนวดหัวใจตามวิธีการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและโทรแจ้ง 1669 ซ้ำอีกครั้ง

นอกจากนี้ในส่วนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมองแตก/ตีบ/ตัน ก็เป็นอีกโรคที่น่าห่วงไม่แพ้กันเพราะหากนำผู้ป่วยส่งเข้ารับการรักษาไม่ทันท่วงทีก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหรือมีอาการอัมพฤกษ์อัมพาตได้ ดังนั้นจึงอยากให้ประชาชนหมั่นสังเกตตนเองและคนใกล้ชิดหากมีอาการอ่อนแรง ชาบริเวณใบหน้าแขนขาอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีกของร่างกาย การพูดผิดปกติ เช่น ลิ้นคับปาก พูดไม่ชัด อาการมักเกิดขึ้นทันทีทันใด รีบโทรแจ้งสายฉุกเฉิน 1669 โดยด่วน เรียกดูว่ารู้สึกตัวหรือมีการตอบสนองหรือไม่ หากระดับความรู้สึกตัวลดลงหรือไม่รู้สึกตัว ให้จับผู้ป่วยนอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลัก นำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดภายใน 4 ชั่วโมง ข้อมูลต่างๆ ที่มีในคู่มือปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินนี้

“เราหวังอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนในการศึกษาไว้เตรียมตัวรับมือกับการเจ็บป่วยฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที”

ทั้งนี้ประชาชนที่สนใจสามารถดาวน์โหลดคู่มือได้ที่เว็บไซต์สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ




Create Date : 14 กรกฎาคม 2562
Last Update : 14 กรกฎาคม 2562 14:17:06 น. 0 comments
Counter : 4299 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณhaiku, คุณnewyorknurse


ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]