ยินดีต้อนรับสู่ club.bloggang.com
...magazine online โดยหนุ่มสาวชาว =Neo=

คุณเป็นใคร?

บางคนอาจเคยถามตัวเองว่า
เรากำลังทำอะไรอยู่?
ตัวเราเป็นใครกันแน่?








เรากำลังทำอะไรอยู่?



มนุษย์เราตลอดชีวิต พยายามดิ้นรน ปีนบันได 5 ขั้น

ขั้นที่ 1 ต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ได้แก่ทรัพย์สิน เพื่อให้มาซึ่ง อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค
ขั้นที่ 2 ต้องการความปลอดภัย ได้แก่การออมสะสมทรัพย์สิน เพื่อที่มั่นใจว่าในอนาคตจะไม่ต้องย้อนไปปีนบันไดขั้นแรกอีก
ขั้นที่ 3 ต้องการความรัก และการยอมรับ ได้แก่การมีครอบครัว มีญาติ มิตร และสังคม
ขั้นที่ 4 ต้องการการยกย่องจากผู้อื่น ได้แก่การเป็นผู้นำในครอบครัว ในกลุ่ม
ขึ้นที่ 5 ต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง น้อยคนนักที่จะมาถึงขั้นนี้ส่วนใหญ่จะสิ้นอายุขัยเสียก่อน ที่จะพบว่าตนเองคือใคร? และจากโลกนี้ไปอย่างไร้ตัวตน





ตัวเราเป็นใครกันแน่?



ความเป็นมนุษย์มันผูกพันยึดโยงกัน เราไม่สามารถเป็นคนดีได้ถ้าเราอยู่คนเดียว บนโลกใบนี้ เราไม่สามารถเป็นคนสวย ได้ถ้าเราเป็นมนุษย์คนเดียว

เราจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างดีงาม เราจะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้ไม่รู้จักจบจักสิ้น เพียงแค่เราจับจุดเล็กๆได้ว่า ความหมายในการมีชีวิตของเราคือการทำให้ผู้อื่นมีความสุข ทำให้ผู้อื่นมีความเบิกบาน ถ้าหากเราจับจุดตรงนี้ได้โลกใบนี้น่าอยู่ขึ้นเยอะ ถ้าหากเรารู้ว่าความสุขที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่ตัวเราเอง

ลองคิดดู
แม้เราจะมีที่พักอาศัยหลังใหญ่โต แต่ถ้าทุกคนในที่แห่งนั้นต่างอยู่กันอย่างไม่ผูกพัน ไม่เบิกบาน เราก็ไม่มีความสุข แต่ถ้าทุกคนผูกพันกัน เราก็จะมีความสุข เพราะที่แห่งนั้นจะเรียกว่า "บ้าน" ได้เมื่อที่แห่งนั้นมีคนรอให้เรากลับไปหา เมื่อที่แห่งนั้นมีคนคิดถึงเรา เมื่อที่แห่งนั้นมีความผูกพัน เมื่อทุกคนในที่บ้านมีความสุข เราก็จะมีความสุขตามไปด้วย




ดังนั้นความหมายของตัวเรา จึงถูกกำหนดโดยผู้อื่นที่มีความผูกพันกับเรา และรับรู้ถึงการมีตัวตนของเรา ความผูกพันเกิดจากการให้ และการรับ ถ้าเราเป็นเพียงผู้รับ สักวันผู้ให้นั้นก็จะไม่มีให้และจากไปในที่สุด ถ้าเราเป็นแต่เพียงผู้ให้ สักวันผู้รับนั้นก็จะจากไปเมื่อเราไม่มีจะให้ หรือจากไปเพราะเกรงว่าเราจะมาขอรับบ้าง เมื่อมีการให้อย่างเต็มใจ และการับรู้ถึงการให้อย่างจริงจัง ความผูกพันก็จะเกิดขึ้น และคนเหล่านี้เองที่รับรู้ได้ถึงการมีตัวตนของเรา

อุทาหรณ์1
นายพัฒน์เป็นฝ่ายเลี้ยงดู นางทิพย์ภรรยาที่ทำหน้าที่่เป็นแม่บ้าน โดยนายพัฒน์ให้ค่าใช้จ่ายภรรยาเป็นครั้งๆที่ไปจ่ายตลาด วันใดกลับบ้านดึกก็ลืมให้ เงินที่เหลือ นายพัฒน์ก็ทำไปใช้จ่ายส่วนตัวโดยการเลี้ยงดูเพื่อนฝูงและภรรยาอื่นๆจนหมด ฝ่ายนางทิพย์ก็มิเคยบ่นประหยัดอดออม ใส่เสื้อผ้าขาดๆ หัดเย็บเสื้อ ปะชุน เพราะสามีมิเคยให้ค่าใช้จ่ายในการซื้อของใช้ส่วนตัวเลย ค่าอาหารก็อาศัยปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง จึงสามารถทำอาหารเลี้ยงนายพัฒน์ได้ในวันที่สามีลืมให้ค่าใช้จ่าย ยามใดที่นายพัฒน์ต้องออกไปทำงานต่างจังหวัดหลายวัน นางทิพย์และบุตรอีกสองคน ก็จะใช้วิธี ซื้อก๋วยเตี๋ยว 1 ถุง มาแบ่งทานกันสามชีวิต โดยนางทิพย์ผูกพันกับนายพัฒน์ในฐานะสามีที่รัก แม้จะยากจนค่นแค้นอย่างไร นางทิพย์ก็ฝ่าฟันไปได้

สี่สิบปีต่อมา นางทิพย์และบุตรทั้งสอง มีเงินเก็บบ้างตามสมควร จึงสามารถซื้อบ้านหลังเล็กๆ ให้นายพัฒน์อยู่อาศัยด้วยกัน ส่วนนายพัฒน์ที่เลี้ยงดูภรรยาอื่นๆ และญาติมิตรจนหมด ก็ยังยากจนอยู่เช่นเดิม แม้รายได้จะสูงขึ้นเป็นหลายสิบเท่าแล้วก็ตาม ส่วนภรรยาอื่นๆที่นายพัฒน์ส่งให้เต็มที่ต่างก็มีบ้านเช่าหลายหลัง มีธุรกิจเป็นของตนเองกลายเป็นผู้มีอันจะกิน และนายพัฒน์ก็ยังคงวนเวียนไปเยี่ยมเยียนอยู่เสมอ เพราะการกระทำของนายพัฒน์เป็นการทำตามหน้าที่เลี้ยงดูนางทิพย์อย่างลูกแมวตัวนึงก็เท่านั้น ในขณะที่นางทิพย์ปฏิบัติตัวเป็นศรีภรรยามาสี่สิบปี ดังนี้เมื่อนางทิพย์ทราบเรื่องทั้งหมด การรับรู้การมีตัวตนของนายพัฒน์ในฐานะสามีที่รักจะหมดไปทันที นายพัฒน์เองก็จะรับรู้ได้เช่นกันว่าตนเองไม่มีตัวตนอีกต่อไป




 

Create Date : 25 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2553 17:43:44 น.
Counter : 2341 Pageviews.  

แบบไหนจึงเรียกว่าทางสายกลาง?

เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้วได้แสดงปฐมเทศนาโปรดแก่ ปัญจวัคคีย์ทั้ง
๕ (ผู้ที่เคยอุปัฏฐากปรนนิบัติพระองค์มาได้แก่ โกณทัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ
และอัสสชิ) เป็นครั้งแรก มรรคอันมีองค์ ๘ นี้เป็นข้อปฏิบัติแบบสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา)
ที่ทรงโปรดแก่เหล่าปัญจวัคคีย์มีดังนี้

มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่


๑.สัมมาทิฏฐิ คือมีปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่การเห็นในอริยสัจ ๔ คือ



  • ทุกข์



  • เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ (สมุทัย)



  • ความดับทุกข์ (นิโรธ)



  • ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (มรรค)



๒.สัมมาสังกัปปะ คือดำริชอบ ได้แก่



  • ดำริที่จะออกจากกาม (เนกขัมมะ)



  • ดำริในการไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น



  • ดำริในการไม่เบียดเบียนผู้อื่น



  • ๓.สัมมาวาจา คือเจรจาชอบ ได้แก่การเว้นจากวจีทุจริต ๔ คือไม่ประพฤติชั่วทางวาจาอันได้แก่



    •  ไม่พูดเท็จ (มุสาวาทา)



    •  ไม่พูดส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ปิสุณาย วาจาย)



    •  ไม่พูดคำหยาบคาย (ผรุสาย วาจาย)



    •  ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ (สัมผัปปลาปา)



    ๔.สัมมากัมมันตะ คือทำการงานชอบโดยประกอบการงานที่ไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดกฏหมาย
    ไม่ผิดศีลธรรม และเว้นจากการทุจริต ๓ อย่างได้แก่



    • การเบียดเบียนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต (ปาณาติบาต)



    • การลักขโมย และฉ้อฉลคดโกง แกล้งทำลายผู้อื่น (อทินนาทาน)



    • การประพฤติผิดในกาม (กาเมสุมิจฉาจาร)



    ๕.สัมมาอาชีวะ คือเลี้ยงชีวิตชอบได้แก่ การเว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด
    การประกอบสัมมาอาชีพคือ



    • เว้นจากการค้าขายเครื่องประหารมนุษย์และสัตว์



    • เว้นจากการค้าขายมนุษย์ไปเป็นทาส



    • เว้นจากการค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร



    • เว้นจากการค้าขายน้ำเมา



    • เว้นจากการค้าขายยาพิษ




    ๖.สัมมาวายามะ คือมีความเพียรชอบ ๔ ประการได้แก่



    • เพียรระวังมิให้บาปหรือความชั่วเกิดขึ้น



    • เพียรละบาปหรือความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว



    • เพียรทำกุศลหรือความดีให้เกิดขึ้น



    • เพียรรักษากุศลหรือความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่



    ๗.สัมมาสติ คือระลึกชอบได้แก่ การระลึกวิปัฏฐานได้แก่ การระลึกในกาย
    เวทนา จิต และธรรม ๔ ประการคือ



    • พิจารณากาย ระลึกได้เมื่อรู้สึกสบายหรือไม่สบาย พิจารณาลมหายใจเข้าออก



    • พิจารณาเวทนา ระลึกได้เมื่อรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือเฉยๆ มีราคะ โทสะ โมหะหรือไม่



    • พิจารณาจิต ระลึกได้ว่าจิตกำลังเคร้าหมองหรือผ่องแผ้ว รู้เท่าทันความนึกคิด



    • พิจารณาธรรมให้เกิดปัญญา ระลึกได้ว่าอารมณ์อะไรกำลังผ่านเข้ามาในใจ



    ๘.สัมมาสมาธิ คือตั้งใจชอบ ทำจิตให้สงบระงับจากกิเลส เครื่องเศร้าหมอง
    ให้มีอารมณ์แน่วแน่เป็นอันเดียว เพื่อให้จิตจดจ่อไม่ฟุ้งซ่าน หาอารมณ์อันไม่มีโทษให้จิตยึด
    จะได้ไม่พร่าไปหลายทางได้แก่ การเจริญฌานทั้ง ๔ คือ



    • ปฐมฌาน หรือฌานที่ ๑



    • ทุติยฌาน หรือฌานที่ ๒



    • ตติยฌาน หรือฌานที่ ๓



    • จตุตถฌาน หรือฌานที่ ๔



    •  

      Create Date : 25 พฤศจิกายน 2553    
      Last Update : 25 พฤศจิกายน 2553 15:56:11 น.
      Counter : 495 Pageviews.  

    ทำอย่างไรจึงสำเร็จ?

    อิทธิบาท ๔ หรือธรรมที่ช่วยให้สำเร็จในสิ่งที่ประสงค์ได้แก่


    ๑.ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น (ฉันทะ)
    ๒.ความเพียรเพื่อประกอบสิ่งนั้น (วิริยะ)
    ๓.เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ (จิตตะ)
    ๔.หมั่นตริตรอง พิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น (วิมังสา)




     

    Create Date : 25 พฤศจิกายน 2553    
    Last Update : 25 พฤศจิกายน 2553 15:53:04 น.
    Counter : 563 Pageviews.  

    คนไหนเป็นคนดี?

    คุณสมบัติของคนดีตามพุทธศาสนา


    ๑.มีสัทธรรม ๗ ประการคือ

    ๑.๑ มีศรัทธา
    ๑.๒ มีหิริ
    ๑.๓ มีโอตตัปปะ
    ๑.๔ เป็นพหูสูต
    ๑.๕ มีความเพียรอันปรารภแล้ว
    ๑.๖ มีสติมั่นคง
    ๑.๗ มีปัญญา

    ๒.ภักดีสัตบุรุษ หรือการคบหาสมณพราหมณ์ที่มีคุณธรรมข้างต้นเป็นมิตร (สัปปุริสภัตตี)
    ๓.คิดอย่างสัตบุรุษ คือไม่เบียดเบียนคนอื่น (สัปปุริสจินดี)
    ๔.ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ (สัปปุริสมันตี)
    ๕.พูดอย่างสัตบุรุษ ถูกต้องตามวจีสุจริต (สัปปุริสวาโจ)
    ๖.ทำอย่างสัตบุรุษ ถูกต้องตามกายสุจริต (สัปปุริสกัมมันโต)
    ๗.มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ มีสัมมาทิฏฐิ (สัปปุริสทิฏฐี)
    ๘.ให้ทานอย่างสัตบุรุษ ตามหลักสัปปุริสทาน (สัปปุริสทานัง เทติ)




     

    Create Date : 25 พฤศจิกายน 2553    
    Last Update : 25 พฤศจิกายน 2553 15:51:57 น.
    Counter : 582 Pageviews.  

    หลักการให้ตามพุทธศาสนา

    สัปปุริสทาน ๘ มีดังนี้


    ๑.ให้ของสะอาด
    ๒.ให้ของประณีต
    ๓.ให้เหมาะกาลเวลา
    ๔.ให้ของที่ควรให้
    ๕.พิจารณาเลือกใหด้วยวิจารณญาณ
    ๖.ให้สม่ำเสมอ
    ๗.เมื่อให้ มีจิตใจผ่องใส
    ๘.ให้แล้ว มีความเบิกบานใจ




     

    Create Date : 25 พฤศจิกายน 2553    
    Last Update : 25 พฤศจิกายน 2553 15:50:29 น.
    Counter : 557 Pageviews.  

    1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  

    =Neo=
    Location :


    [Profile ทั้งหมด]

    ฝากข้อความหลังไมค์
    Rss Feed

    ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




    Group Blog
     
    All Blogs
     
    Friends' blogs
    [Add =Neo='s blog to your web]
    Links
     

     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.