ยินดีต้อนรับสู่ club.bloggang.com
...magazine online โดยหนุ่มสาวชาว =Neo=
คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น

換筋功 อี้จินจิง
คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น มรดกคัมภีร์แห่งพระโพธิธรรม (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ)

พระ โพธิธรรม หรือที่ชาวจีนแต้จิ๋วมักเรียกว่า ตั๊กม้อ โจ้วซือ คือ ปรมาจารย์องค์แรก ที่เดินทางจารึกจากประเทศอินเดีย เพื่อนำ พระพุทธศาสนิกายเซ็น (ณาน) สู่แผ่นดินจีน เมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 1067

พระองค์เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 1 หากนับจากอินเดีย พระองค์เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 28 ผู้ซึ่งได้รับ การถ่ายทอดธรรมะ ด้วยวิธีแห่ง ?จิตสู่จิต? พร้อมด้วย บาตร จีวร และสังฆาฏิของบรมศาสนาดสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการสืบต่อ กันลงมา โดยลำดับในแต่ละสมัย

พระประวัติเดิม พระองค์เป็นราชโอรสองค์ที่ 3 ของกษัตริย์ แห่งแคว้นคันธารราษฎร์ ประเทศอินเดีย ตั้งแต่ พระชนม์มายุยังเยาว์ ก็ทรงแตกฉานในคัมภีร์ของทุกศาสนา วรรณคดีรวมทั้งอักษรศาสตร์โบราณ และการแพทย์ นับได้ว่าพระองค์ทรงเป็นนักปราชญ์เอกแห่งยุคเลยทีเดียว
ในคราวที่พระบิดาสิ้นพระชนม์ ท่าได้นั่งเข้าฌานสมาบัติ ชั้นสูงอยู่เฝ้า ณ เบื้องหน้าและพระบรมศพนานถึง 7 วัน หลังจากนั้น พระองค์ได้ไปศึกษาธรรมะอยู่กับ พระปรัชญาตาระเถระ ผู้ซญึ่งเป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 27 พระปรัชญาตาระเถระ ได้หยับลูกแก้วชูขึ้นให้พระโพธิธรรมดูเป็นปริศนา ในทันใดนั้น พระองค์ก็เกิดความสว่างไสว ได้บรรลุธรรมที่ยังสงสัยอยู่ทั้งหมด สามารถไขปัญหา แยกแยะข้อธรรมะได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

ครั้นได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว พระปรัชญาตาระเถระพิจารณาเห็นปัญญาบารมีอันสูงยิ่งขอวพระโพธิธรรม จึงได้เรียกประชุมสงฆ์สาวกทั้งปวงประกาศให้พระองค์เป็นพระสังฆปรินายกองค์ ที่ 28 เพื่อสืบทอด พระพุทธศาสนา โดยรับมอบ บาตร จีวร และสังฆาฏิ ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป
หลังจากนั้นไม่นาน ท่านได้ออกเดินทางจากอินเดียมุ่งสู่แผ่นดินจีน ตามคำบัญชาของพระอาจารย์ โดยใช้เวลาถึง 3 ปีจึงได้มาถึงเมืองกวางตุ้ง ในสมัยของพระเจ้าเหลียง บู้ตี้ (ประมาณ พ.ศ. 1070) ได้มีบันทึกไว้ว่า ขณะที่พระโพธิธรรม เดินทางมาถึงฝั่งแม่น้ำแยงซี ทรงตั้งใจจะข้ามแม่น้ำแต่หาเรือไม่ได้ จึงได้ถอนต้นอ้อต้นหนึ่ง โยนลงไปในลำน้ำ ที่กำลังไหลเชี่ยว แล้วกระโดดลงไปยืนบนต้นหญ้าเล็ก ๆ นั้นลอยข้ามไป (ผู้ที่เข้าไปไหว้พระในวัดจีนบ่อย ๆ มักพบเห็น ภาพพระภิกษุมีหนวดเคราดก นัยน์ตาโต ใช้จีวรคลุมศีรษะยืนอยู่บนต้นอ้อลอยข้ามน้ำ ก็คือ พระโพธิธรรมนั่นเอง)
ต่อมาพระโพธิธรรมพร้อมด้วยลูกศิษย์นามว่า เสิน กวง ได้เดินทางไปยังภูเขา ซงซัว และพำนักอยู่ที่วัด เส้าหลิน (เซี้ยวลิ้มยี่) ณ สถานที่แห่งนี้พระปรมาจารย์โพธิธรรมได้นั่งหันหน้าเข้าผนังถ้ำ ปฏิบัติสมาธิเข้าฌานอยู่ถึง 9 ปี เพื่อค้นหาวิธีที่จะนำพาเวไนยสัตว์ออกไปพบกับแสงสว่าง หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
ครั้นเมื่อพระโพธิธรรม ถ่ายทอดวิถีธรรมด้วย จิต สู่ จิต ให้แก่ ?พระเสินกวง? เพื่อสืบทอด ตำแหน่ง เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ 2 แล้ว ก็ได้เดินทางต่อไปกับรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายและพำนักอยู่ ณ วัด ไซ เซี่ย ยี่ เมือง อู๋มึ้ง จนกระทั้งถึงวันมรณภาพ
พระปรมาจารย์โพธิธรรมได้ดับขันธ์เข้าสู่นิพพาน ณ วัดแห่งนี้ โดยประทับนั่งอยู่ในสมาธิฌานสมาบัติ รวมมี พระชนม์มายุได้ 150 พรรษา


ครั้งหนึ่งในระหว่าง การเทศนา และการทำสมาธิ ท่านพบพระสงฆ์หลายรูมีสุขภาพอ่อนแอ และบางรูปถึงกับนอนหลับไปด้วยความเมื่อยล้าอ่อนเพลีย พระปรมาจารย์ ต๋าโม๋ จึงได้ชี้ให้เห็นว่า ?ร่างกายที่แข็งแรงเท่านั้นจึงจะยืนหยัดฝึกจิตบำเพ็ญธรรมได้สำเร็จ?

ก่อนหน้านี้ท่านจะได้เน้นถึงความสำคัญของ่างกายอันได้แก่พลังและท่าทางของ ร่างกายที่เหมาะสมในการฝึกสมาธินั้น พุทธศาสนิกชน ต่างเน้นแต่การฝึกจิตโดยละเอยร่างกายดังนั้นท่านปรมาจารย์ ต๋าโม๋ จึงได้คิดค้นท่าบริหารร่างกาย สำหรับพระสงฆ์ในตอนเช้า เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และบันทึกขึ้นไว้เป็นคัมภีร์ 3 เล่มได้แก่

1. 換筋功 คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
2. 洗髄功 คัมภีร์ฟอกไขกระดูก
3. 十八羅漢禦 ฝ่ามือสิบแปดอรหันต์

และ คัมภีร์ อี้ จิน จง ซึ่งเป็นหนึ่งในคัมภีร์อันล้ำค่า ของพระโพธิธรรม (ต๋า โม๋ อี้ จิน จิง) ซึ่งคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น นี้หมายถึง การบริหารแกว่งแขน

คำว่า ?เปลี่ยนเส้นเอ็น? มิใช่หมายถึง ผ่าตัดเปลี่ยนเอาเส้นเอ็นออกมาตามความเข้าใจชองการแทพย์แผนปัจจุบัน แต่เป็นการปรับเปลี่ยนแก้ไขสภาพของเส้นเอ็นด้วยการออกกำลังกาย โดยวิธีแกว่งแขนซึ่งจะส่งผลให้เลือดลมภายในโคจรไหลเวียนได้สะดวก เป็นปกติไม่ติดขัด

ต่อมา ?คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น? นี้ได้ถูกเรียกชื่อเสียใหม่ว่า ?กายบริหารแกว่งแขนบำบัดโรค? เพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ตำราโบราณนึ้เป็นหนังสือวิชาที่เก่าแก่มีอายุถึง 1400 ปี ซึ่งนับได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชนชาติจีน อันมิอาจประมาณค่าได้ชิ้นหนึ่ง




คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นมีประโยชน์อย่างไร

คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น คือ กายบริหารแกว่งแขน เป็นวิธีออกกำลังเพื่อบริหารร่างกายที่มีประโยชน์มากวิธีหนึ่ง หลังจากได้มีการค้นพบ และเผยแพร่ตำรานี้ออกมาที่ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณะรัฐประชาชนจีน ก็มีประชาชนนิยมทำกายบริหารแบบนี้ทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายได้ โดยการแพทย์ปัจจุบัน ก็สามารถใช้การบริหารแบบง่าย ๆ นี้รักษาให้ให้หายขาดได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ จนแทนไม่น่าเชื่อเลยจริง ๆ กายบริหารแกว่างแขนนี้ ทำง่าย หัดง่ายและเป็นเร็ว นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพในการบำบัดโรคได้รวดเร็วอีกด้วย โรคเรื้อรังมากมายหลายชนิด ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยวิธีทำการบริหารแบบนี้

เหตุใดการบริหารแกว่งแขนจึงสามารถบำบัดโรคต่าง ๆ ได้

สิ่งที่เป็นปัญหาเกิดขัดแย้งกันภายในร่างกายของคนเรา จนก่อให้เกิดความไม่สบายแก่ร่างกายนั้น แพทย์จีนแผนโบราณกล่าวว่า เกิดจาก ?เลือดลม? เป็นต้นเหตุ หากเลือดลมภายในร่างกายของเราผิดปกติโรคต่าง ๆ มากมายก็จะเกิดขึ้นกับเราทันที เริ่มแรก จะทำให้เรา รับประทานอาหาร ได้น้อยลง นอนหลับน้อยลง ต่อไปก็จะกระทบกระเทือนถึงสภาพของร่างกาย คือทำให้ซูบผอมอ่อนแอเป็นต้น เมื่อเราทำให้เลือดลมเดินสะดวกไม่ติดขัดแล้วโรคร้ายทั้งหลายก็จะหายไปเอง โดยอาศัยหลักดังกล่าวนี้ การทำกายบริหารแกว่งแขน จึงสามารถแก้ไขเลือลมและเปลี่ยนแปลงสภาพของร่างกาย หากแก้ให้ถูกจุดสำคัญที่ขัดแย้งกันเสียก่อนได้ เมื่อนั้นปัญหาอื่น ๆ ก็จะแก้ได้ง่ายดายขึ้น

ถ้าเราสังเกตให้ดีจะพบว่า ขณะที่คนเราเกิดความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า อันเนื่องจากการคร่ำเคร่งปฏิบัติงานไม่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงอริยาบถ จนกระทั่งทนต่อไปไม่ไหวแล้ว เราก็จะชูแขน เหยียดขา ยืดตัวจนสุด อย่างที่คนทั่วไปเรียกว่า ?บิดขี้เกียจ? ทันทีหลังจากนั้นเราจะรู้สึกสบายตัว กระชุมกระชวยขึ้นอย่างบอกไม่ถูก ซึ่งอาการเหล่านี้แท้จริงแล้วก็คือ ?การยืดเส้นเอ็น? ตามความหมายในคัมภีร์โบราณนั่นเอง การที่เส้นเอ็น ซึ่งมีหน้าที่ควบคุม การเคลื่อนไหวของร่างกาย มีโอกาสยืดขยายหรือถูนวดเฟ้น จะทำให้เลือดลมภายในสามารถกระจายไหลเวียนได้สะดวก อันเป็นเหตุให้เกิดความผ่อนคลาย หายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเกิดความกระปี้กระเปร่าสดใสขึ้น และที่สำคัญ เลือดลมที่ไหลเวียน หล่อเลี้ยง ไปทั่วร่างกาย ได้อย่างสะดวกจะช่วยเปลี่ยนสภาพอวัยวะทีแข็งกระด้างซึ่งเป็นความผิดปกติให้ กลับกลายเป็นอ่อนนิ่ม และจากสภาพที่อ่อนแอ ไม่มีประสิทธิภาพ ให้กลับคืนมาเป็นแข็งแรงและมีสมรรถภาพดีขึ้น

แต่โดยทั่วไปคนเราได้ละเลย และมองข้ามความสำคัญของกายบริหารกายเพื่อยืดขยายเส้นเอ็นในร่างกาย จึงทำให้เลือดลมเดินไม่สะดวก และติดขัด เปรียบเทียบกับเครื่องยนต์ที่มีน้ำมันถูกส่งมาหล่อเลี้ยงไม่สม่ำเสมอ ย่อมเป็นเหตุให้รถที่วิ่งไปมีการกระตุก ๆ ไม่ราบรื่น ร่างกาย ของคนเรา ก็เช่นกัน หาก เลือดลมติดขัด ก็จะส่งผลให้ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ สุขภาพจะทรุดโทรมย่ำแย่ลงไปเรื่อย ๆ

อันที่จริงการเจ็บป่วย ไม่วาจะป่วยเป็นโรคชนิดใด ใช่ว่าจะเป็นเรื้อรังอยู่เช่นนั้นโดยไม่มีทางแก้ไขเยียวยาก็หาไม่ ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า เราจะต่อสู้กับโรคชนิดนั้นหรือไม่ หากเราตั้งใจแน่วแน่ว่าจะต้องต่อสู้กับโรคร้ายที่เกาะกินเราจนถึงที่สุดแล้ว แน่นอนเหลือเกิน เราจะต้อง ประสบชัยชนะ การบริหารร่างกายโดยวิธีแกว่งแขนนี้มีเหตุผลและหลักวิชาที่ลึกซึ้งแยบยล มิใช่เป็นสิ่งที่ปฏิบัติไป โดยหลงงมงาย ขาดเหตุผลแต่อย่างใด


ฉะนั้น ขอให้ผู้ที่ปรารถนาในความมีสุขภาพแข็งแรงและพลานามัยที่สมบูรณ์เพรียบพร้อม ควรศึกษาและทำความเข้าใจ วิธีปฏิบัติ ไปตามลำดับโดยเริ่มตั้งแต่

1. เรียนรู้หลักสำคัญพื้นฐานของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
2. เคล็ดวิชา 16 ประการ ของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
3. เคล็ดลับพิเศษของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น

หลักสำคัญพื้นฐานของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น


1. ยืนตรง เท้าทั้งสองข้างแยกออกจากกันให้มีระยะห่างเท่ากับช่วงไหล
2. ปล่อยมือทั้ง 2 ข้างลงตามธรรมชาติ อย่างเกร็งให้นิ้วมือชิดกัน หันอุ้งมือไปข้างหน้า
3. ท้องน้อยหดเข้า เอวตั้งตรง เหยียดหลัง ผ่อนคลายกระดูกลำคอ ศีรษะและปากควรปล่อยไปตามสภาพธรรมชาติ
4. จิกปลายนิ้วเท้ายึดเกาะพื้น ส่วนส้นเท้าก็ให้ออกแรกเหยียบลงพื้นให้แน่น ให้แรงจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อที่โคนเท้าและท้องตึง ๆ เป็นใช้ได้
5. สายตาทั้ง 2 ข้าง ควรมองตรงไปยังจุดใดจุดหนึ่งแล้วมองอยู่ที่เป้าหมายนั้นจุดเดียว สลัดความกังวลหรือความนึกคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ ออกให้หมด ให้จุดสนใจความรู้สึกมารวมอยู่ที่เท้าเท่านั้น
6. การแกว่งแขน ยกมือแกว่งแขนไปข้างหน้าอย่างเบา ๆ ซึ่งตรงกับคำว่า ?ว่างและเบา? แกว่งแขนไปข้างหน้าไม่ต้องออกแรง ความสูงของแขนที่แกว่งไปพยายามให้อยู่ระดับที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ต้องฝืนให้สูงเกินไป คือ ให้ทำมุมกับลำตัวประมาณ 30 องศา แล้วตั้งสมาธินับ หนึ่ง? สอง? สาม? ไปเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังอย่าลืมออกแรงส้นเท้าและลำแขนด้วย เมื่อมือห้อยตรงแล้ว แกว่งขึ้นไปข้างหลังต้องออกแรงหน่อย ตรงกับคำว่า ?แน่นหรือหนัก? แกว่งจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อไม่ยอมให้มือสูงไปกว่านั้นอีก เวลาแกว่งแขนกลับให้มีความสูงของแขนถึงลำตัวประมาณ 60 องศา
สรุป แล้วก็คือ ขณะที่แกว่งแขนไปข้างหลังให้ออกแรงมากหน่อย ส่วนแกว่งไปข้างหน้าไม่ต้องออกแรง คือใช้แรงเหวี่ยงให้กลับไปเอง ก่อนการทำกายบริหารแกว่งแขน ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ไม่คับหรือรัดแน่นเกินไป สะบัดแขน มือ เท้าสักครู่ให้กล้ามเนื้อและร่างกายผ่อนคลาย หมุนศีรษะไปมาแล้วจัดลักษณะท่าทางให้ถูกต้อง

คำอธิบายเคล็ดวิชา 16 ประการ คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น


1. ส่วนบนปล่อยให้ว่าง หมายถึง ส่วนบนของร่างกาย คือ ศีรษะ ควรปล่อยให้ว่างเปล่า อย่าคิดฟุ้งซ่าน มีสมาธิแน่วแน่ ควรทำอย่างตั้งอกตั้งใจมีสติ
2. ส่วนล่างควรให้แน่น หมายถึง ส่วนล่างของร่างกายใต้บั้นเอวลงไป ต้องให้ลมปราณสามารถเดินได้สะดวก เพื่อให้เกิดพลังสมบูรณ์ ฉะนั้นคำว่า ?ส่วนบนว่าง ส่วนล่างแน่น? จึงเป็นหลักสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารแกว่งแขน ขณะทำกายบริหารหากไม่สามารถข้าถึงจุดนี้ได้แล้ว ก็จะทำให้ได้ผลน้อยลงไปมากทีเดียว
3. ศีรษะให้แขวนลอย หมายถึง ศีรษะของท่าต้องปล่อยสบาย ๆ ประหนึ่งว่ากำลังแขวนลอยไว้ในอากาศ กล้ามเนื้อบริเวณลำคอ จะต้องปล่อยให้ผ่อนคลายไม่เร็ง ไม่ควรโน้มศีรษะไปข้างหน้า หรือหงายไปข้างหลัง หรือเอียงไปข้าง ๆ ต้องมองตรงไม่ก้มไม่เงยหน้า
4. ปากปล่อยให้เงียบสงบตามปกติ หมายถึง ไม่ควรหุบปากแน่น หรืออ้าปากไปตามจังหวะที่ออกแรงแกว่งแขนไม่ควรให้ปากอ้าตามใจชอบ ให้หุบปากเพียงเล็กน้อยโดยผ่อนคลายกล้ามเนื้อคือ ไม่เม้มริมฝีปากจนแน่น
5. ทรวงอกเหมือนปุยฝ้าย คือกล้ามเนื้อทุกส่วนบนทรวงอกต้องให้ผ่อนคลายเป็นธรรมชาติ เมื่อกล้ามเนื้อไม่เกร็งก็จะอ่อนนุ่มเหมือนปุยฝ้าย
6. หลังยืดตรงให้ตระหง่าน หมายความว่าไม่แอ่นหน้าแอ่นหลัง หรือก้มตัวจนหลังโก่ง ต้องปล่อยแผนหลังให้ยืดตรงตามธรรมชาติ
7. บั้นเอวตั้งตรงเป็นแกนเพลา หมายถึง บั้นเอวต้องให้เหมือนเพลารถ ต้องให้อยู่ในลักษณะตรง
8. ลำแขนแกว่งไกว หมายถึง แกว่งแขนทั้งสองข้างไปมา ได้จังหวะอย่างสม่ำเสมอ
9. ข้อศอกปล่อยให้ลดต่ำตามธรรมชาติ หมายถึง ขณะที่แกว่งแขนทั้ง 2 ข้าง ไปข้างหน้าและข้างหลังนั้น อย่าให้แขนแข็งทื่อ ควรให้ข้อศอกงอเล็กน้อยตามธรรมชาติ
10. ข้อมือปล่อยให้หนักหน่วง หมายถึง ขณะที่แกว่งแขนทั้ง 2 ข้างนั้น ควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ข้อมือ เมื่อไม่เกร็งแล้วจะรู้สึกคล้ายมือหนักเหมือนเป็นลูกตุ้มถ่วงอยู่ปลายแขน
11. สองมือพายไปตามจังหวะแกว่งแขน หมายถึง ขณะที่แกว่งแขนนั้นฝ่ามือด้านในหันไปด้านหลัง ทำท่าคล้ายกำลังพายเรือ
12. ช่วงท้องปล่อยตามสบาย หมายถึง เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณช่องท้องถูกปล่อยให้ผ่อนคลายแล้วจะรู้สึกว่าแข็งแกร่งขึ้น
13. ช่วงขาผ่อนคลาย หมายถึง ขณะที่ยืนให้เท้าทั้งสองแยกห่างกันนั้นควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ช่วงขา
14. บั้นท้าย ควรให้งอนขึ้นเล็กน้อย หมายถึง ระหว่างทำกายบริหารนั้น ต้องหดกันคือ ขมิบทวารหนัก คล้ายยกสูงให้หดหายเข้าไปในลำไส้
15. ส้นเท้ายืนถ่วงน้ำหนักเสมือนก้อนหิน หมายถึง การยืนด้วยส้นเท้าที่มั่นคงยึดแน่นเหมือนก้อนหินไม่มีการสั่นคลอน
16. ปลายนิ้วเท้าทั้ง 2 ข้างต้องงอจิกแน่นกับพื้น หมายถึง ขณะที่ยืนนั้นปลายนิ้วเท้าทั้ง 2 ข้างต้องงอจิกแน่นกับพื้นเพื่อยึดให้มั่นคง



เคล็ดลับพิเศษของคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
ข้อพิเศษของ คัมภีร์คือ ?บนสาม ล่างเจ็ด? ส่วนบน ?ว่างและเบา? เรียกว่า ?บนสาม? แต่ส่วนล่างแน่นและหนัก เรียกว่า ?ล่างเจ็ด? การเคลื่อนไหวอ่อนโยนละมุนละไม ตั้งจิตให้เป็นสมาธิ แล้วจึงแกว่งแขนทั้งสองข้าง

ด้วยเคล็ดลับพิเศษนี้แหละ ที่จะช่วยให้ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอเพราะส่วนบนแข้งแรงแต่ส่วนล่างอ่อนแอ ให้สามารถปรับเปลี่ยนไปเป็นผู้ที่มีส่วนล่างแข็งแรงและส่วนบนกระชุมกระชวย อันเป็นลักษณะที่ถูกต้องซึ่งจะทำให้โรคพัยทั้งหายในร่างกายถูกขจัดออกไปเอง จนหมด

อธิบายเคล็ดลับพิเศษ ?บนสาม ล่างเจ็ด?
คำว่า ?บนสาม ล่างเจ็ด? หมายถึง อัตราส่วนเปรียบเทียบการออกแรงมากและน้อย
?บน? คือส่วนบนของร่างกาย หมายถึง มือ
?ล่าง? คือ ส่วนบ่างของร่างกาย หมายถึง เท้า
?สาม? หมายถึง ใช้แรงสามส่วน
?เจ็ด? หมายถึง ใช้แรงจ็ดส่วน
เคล็ดวิชาคำว่า ?บนสาม ล่างเจ็ด? มีความหมาย 2 ประการ คือ

ประการที่ 1 ในการออกแรงแกว่งแขน หมายถึง เวลาแกว่งแขนขึ้นข้างบน ใช้แรงเพียงสามส่วน เวลาแกว่งแขนลงต่ำมาล่าง ใช้แรงเจ็ดส่วน

ประการที่ 2 ในการออกแรงทั้งตัว หมายถึง ถ้านับกันทั้งตัวการออกแรงก็มีอัตราส่วนเปรียบเทียบ คือ บน : ล่าง เท่ากับ 3 : 7 (บนต่อล่าง เท่ากับสามต่อเจ็ด) คือแกว่งแขนไปข้างหน้านั้น จะเบาหรือแรงก็ตาม แต่มือจะต้องให้ได้ส่วนกับเท้า ในอัตราความแรง 3 ต่อ 7 อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหากแกว่งมือแรง เท้าก็ต้องอกแรงยิ่งกว่านั้น นี่คือความหมายที่กล่าวไว้ว่า ?ส่วนบนว่าง ส่วนล่างเบา? หรือ ?บนสามบ่างเจ็ด? ถ้าแขนออกแรงแต่เท้าไม่ออกแรงเป็นการบริหารที่ไม่สมบูรณ์แบบ คือรู้จักใช้แต่แขนลืมใช้เท้า กรณีนี้จะทำให้ยืนได้ไม่มั่นคง ทำให้รู้สึกคล้าย จะหงายหลังล้ม การที่ไม่ต้องการให้ออกแรง มิใช่ว่าจะปล่อยเลยทีเดียว การที่ให้ออกแรงก็มิใช่ว่าให้ออกแรงจนสุดแรงเกิด การปล่อยให้ผ่อนคลายทั้งร่างกายโดยไม่ออกแรงเลยจนนิดเดียวก็จะไม่ได้ผล เพราะผิดหลัก ผิดอยู่ที่อัตราส่วนเนื่องจากแรงที่เท้าน้อยไป คือ ออกแรงเท้าเท่ากับส่วนบนนั่นเอง หรือหากแขนจะออกแรงมากไปสักหน่อยก็จะกลับตาละปัตร กลายเป็นว่าส่วนล่างว่างส่วนบนแน่น

การแกว่างแขน ข้อสำคัญต้องระวังที่แขนให้มาก เมื่อต้องการให้ออกแรงก็มักจะคิดแต่การออกแรงที่แขน ลืมไปว่ายังมีเท้า ยังมีเอวที่จะต้องมีส่วนช่วยการเคลื่อนไหวเหมือนกัน

การเคลื่อนไหวออกแรงของเท้าและเอวนี้สำคัญมากกว่าแขนเสียอีก การที่กล่าวเช่นนี้บางท่านอาจไม่เข้าใจ หากเคยฝึกมวยจีน ไทเก็กหรือศึกษาหลักการแพทย์จีนสมัยโบราณเกี่ยวกับเส้นเอ็นและชีพจนแล้วก้จ ะเข้าใจได้ไม่ยากนัก แขนที่แกว่งนั้นจะแกว่งไปจากเอวของเรา แต่รากฐานของเอวอยู่ที่เท้าเมื่อเป็นเช่นนี้หากส่วนบน (แขน) ออกแรงแกว่งสะบัด แต่ส่วนล่าง (เท้า) ไม่ออกแรงยึดเกาะพื้นไว้ ให้มั่นคงเราก็จะเสียการทรงตัว ขาดความสมดุลย์กัน ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จำนวนไม่น้อย ก็เพราะเลือดลมขาดความสมดุลย์ เป็นอัมพาตก็เพราะเลือดลมขาดความสมดุลย์เช่นกัน ความดีเด่นของการแกว่งแขนที่ปรากฏออกมาให้เห็นชัดก็คือ สามารถช่วยแก้ไขและปรับความไม่สมดุลย์ต่าง ๆ ของร่างกายนั่นเอง

เมื่อเราจะแก้ไขและปรับความสมดุลย์ของร่างกายแล้ว ทำไมจะต้องออกกำลังเท้าด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่าที่ฝ่าเท้าของคนเรามีจุด ซึ่งทางแพทย์จีนเรียกว่า ?จุดน้ำพุ? จุดนี้ติดต่อไปถึงไต หากหัวใจเต้นแรงหรือนอนไม่หลับ ถ้าทีการบีบนวด ตรงจุดน้ำพุน ี้ก็สามารถ ทำให้ประสาทสงบ ช่วยรักษาโรคนอนไม่หลับได้ ตามตำรายังกล่าวไว้ว่า ?ที่ฝ่าเท้ามีจุดอีกหลายจุด เกี่ยวโยงไปถึง อวัยวะภายในของคนเรา? เมื่อเราทราบตำแหน่งของจุดนั้น ๆ แล้วก็จะสามารถรักษาโรคซึ่งเกิดกับอวัยวะเหล่านั้นได้เช่นกัน

ดังนั้นการออกกำลังโดยวิธีแกว่งแขนก็คือการปรับร่างกายให้สมดุลย์ ซึ่งเป็น ?การบำบัดรักษาโรคนั่นเอง?

การ ที่มีคำกล่าวว่า ?โรคร้อยแปดอาจรักษาให้หายได้ด้วยเข็มเพียงเล่มเดียว? หลายคนคิดว่าออกจะเป็นการอวดอ้างเกินความจริง แต่สำหรับผู้ที่มีความรู้แตกฉานในวิธีฝังเข็มรักษาโรคย่อมได้ประจักษ์แจ้ง ความจริงด้วยตนเองแล้ว ฉะนั้นการที่จะกล่าวว่า การแกว่งแขน สามารถรักษาโรคได้ร้อยแปดนั้น จึงพูดได้ว่าไม่ใช่เป็นการอวดอ้างเกินความจริงแน่ เพราะวิชากายบริหารแกว่งแขนนี้ ถือได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ ในตัวเองอยู่แล้ว

การจับชีพจร


การจับ ชีพจรเพื่อวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ซึ่งชาวจีนเรียกว่า ?แมะ? นั้นเป็นการค้นพบ ที่สำคัญอย่างยิ่ง ของแพทย์จีนแผนโบราณ แพทย์จีน ในสมัยโบราณ ได้ศึกษาเกี่ยวกับ หลักการเต้นของชีพจร ไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วน และมีผลงาน เป็นเกียรติประวัติ เป็นที่แพร่หลายกว้างขวาง จากการเฝ้าสังเกต การเปลี่ยนแปลง ของชีพจร ทำให้สามารถ รู้ถึงสภาพของร่างกาย ว่าแข็งแรง หรืออ่อนแอประการใด เหตุที่การแกว่งแขน สามารถรักษาโรคได ้ก็เพราะการแกว่งแขน สามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไข สภาพของร่างกาย เมื่อแก้ไขสภาพของร่างกายได้ ผลสะท้อน ก็จะแสดงออกไปยังชีพจรด้วย



ตัวอย่างเกี่ยวกับการจับชีพจรเพื่อวินิจฉัยโรค
1. โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โดยทั่วไปชีพจรจะลอยสูงเน้นเร็วเกินไป ความดันโลหิตยิ่งสูง ชีพจรก็จะยิ่งเต้นเร็วเป็นเงาตามตัว ดังนั้นโรคหัวใจกับความดันโลหิตสูง จึงเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด ชีพจรของคนปกติจะเต้นอยู่ระหว่าง 60 ? 80 ครั้งต่อนาที มีการเต้นเป็นจังหวะสม่ำเสมอเต้นอย่างลึก ๆ และอย่างมีแรง ส่วนผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจผู้สูงอายุ และผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ การเต้นของชีพจรจะอยู่ในระหว่าง 60 ครั้งต่อนาที แต่เต้นอ่อน และผู้ป่วยที่เป็นโรความดันโลหิตต่ำการเต้นของชีพจรก็จะมีกำลังอ่อนเช่นกัน

2. โรคประสาท โรคจิต โรคไต ชีพจรจะเต้นเร็วบ้างช้าบ้างไม่สม่ำเสมอ

3. โรคเกี่ยวกับโลหิต เกี่ยวกับน้ำเหลือง ชีพจรเต้นช้ามีแรงอ่อนมาก จนกระทั่งบางรายคลำดูไม่รู้สึกว่าเต้น บางราย ชีพจรทางซ้ายกับขวาเต้นไม่เหมือนกัน เมื่อชีพจรทางซ้ายและขวาขัดกันเช่นนี้ การหมุนเวียนของโลหิตก็จึงติดขัด

4. โรคอัมพาต คนที่เป็นลม มักมีชีพจรทั้ง 2 ข้างต่างกัน บางรายการเต้นของชีพจรแต่ละข้างต่างกันถึง 20 ครั้งต่อนาที ซึ่งเกี่ยวโยง กับโรคไขข้ออักเสบเหมือนกัน เมื่อข้างหนึ่งทางเดินของเลือดติดขัดไม่สะดวก อีกข้างหนึ่งก็จะมีกำลังกดดันมากขึ้น

โรคดังกล่าว เหล่านี้ล้วนสามารถรักษาให้หายได้โดยการฝึกคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น



กายฝึกคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นสามารถควบคุมการเต้นของชีพจรให้เป็นปกติได้อย่างไร

โรคชีพจรเต้นเร็ว การที่ชีพจรเต้นเร็วก็เพราะ โลหิตในร่างกายของเรา ไม่สามารถบังคับการไหลของโลหิตให้เป็นปกติ เมื่อบังคับและควบคุมไม่ได้ ลมก็เสีย สาเหตุเนื่องจากปริมาณโลหิตไม่เพียงพอ เมื่อทำกายบริหารแกว่งแขน จะทำให้ สามารถเสริมสร้างบำรุงโลหิต และยังบังเกิดผลในการบังคับควบคุมได้ด้วย

การออกกำลังด้วยการบริหารแบบนี้ สามารถบำรุงและเสริมสร้างโลหิตได้ก็เพราะ เมื่อกระเพาะและลำไส้ ได้รับการออกกำลัง จึงเสมือนกับได้รับการนวดเฟ้น ก็จะเริ่มเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ทำให้กระเพราะอาหาร และลำไส้ สามารถรับเอาอาหารไปบำรุงร่างกาย ได้อย่างเต็มที่ สำหรับผู้ที่มีชีพจรเต้นช้ากว่าปกติ ก็เพราะการหมุนเวียน ของโลหิตติดขัด และปริมาณของโลหิตไม่เพียงพอ การบริหารแกว่งแขนจะทำให้มือและเท้าได้รับการบริหาร และหลังของเรา จะพลอยได้รับการเคลื่อนไหวด้วย สิ่งกีดขวางทางเดิน ของเลือดลมในทรวงอก และช่องท้องจะถูกขจัดไป โลหิตที่คั่งก็จะกระจายหายคั่ง เมื่อนั้นชีพจรจึงจะเต้นเป็นปกติ

การแก้ไขชีพจรให้ดีได้ ก็โดยถือหลักของแพทย์จีนแผนโบราณที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่า ?ชีพจรขึ้นมาจากส้นเท้า? เวลาทำกายบริหารแกว่งแขน น้ำหนักการทรงตัวทั้งหมดอยู่ที่เท้า เมื่อเท้าได้รับการออกแรงก็เปรียบเหมือนต้นไม่ที่ใช้รากยึดเกาะถึงพื้นดิน และคล้ายกับการตอกเสาเข็มซึ่งตอกลึกลงไป ๆ ทำให้เกิดมีอาการบีบนวดเลือดลมที่บริเวณเท้า แล้วส่งกระจายออกไปทั่วร่างกาย เมื่อเป็นเช่นนี้ กล้ามเนื้อ ผิวหนัง กระดูก ไขข้อ ก็จึงไม่ยากที่จะแก้ไขได้
ดังนั้นกายบริหารแกว่งแขน จึงมีประสิทธิภาพในการบำบัดโรคภัยเรื้อรังและร้ายแรงต่าง ๆ ได้อย่งเกินความคาดฝันทีเดียว

กายบริหารแกว่งแขน เพื่อรักษาโรคอัมพาต

โรคอัมพาตหรืออาการที่ตายไปครึ่งตัว เป็นลม ความดันโลหิตสูง ไขข้ออักเสบ ส่วนมากโรคเหล่านี้ มักจะเกี่ยวเนื่องกัน เกิดขึ้นเพราะ เลือดลมภายในร่างกาย ขาดความสมดุลย์ ซึ่งกระทบกระเทือนการไหลเวียนแจกจ่ายของเลือดลม และทำให้ชีพจร กล้ามเนื้อ และกระดูกไขข้อ เกิดการแปรปรวนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปรากฏว่าชีพจรทั้งสองข้างเต้นไม่เท่ากัน คือข้างหนึ่งเต้นเร็วอีกข้างหนึ่งเต้นช้า การเต้นของชีพจรบางครั้งต่างกัน 10 ? 20 ครั้ง เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะเกิดปฏิกิริยาโดยมือเท้าข้างใดข้างหนึ่ง มีอาการรู้สึกปวดเมื่อย หรือชา ขาดความรู้สึก ที่จริงส่วนบนกับส่วนล่างก็มักมีปัญหาเช่นกัน ได้แก่ ส่วนบนเลือดคั่ง แต่ส่วนล่างเลือดกลับเดินไม่ถึงเช่นนี้


เหตุใดการออกกำลังโดยการแกว่งแขนจึงสามารถรักษาโรคเหล่านี้ได้อย่างชะงัด

การออกกำลังแบบนี้ มิเพียงสามารถรักษาโรคเหล่านี้ได้ แต่ยังสามารถป้องกันการเป็นลมอีกด้วย การที่คนเราเกิดเป็นลมขึ้นมา ก็เพราะการไหลเวียนของโลหิต ทั้งสองด้านของร่างกายขัดแย้งกัน ดังนั้นชีพจรจึงแสดงการไม่สมดุลย์กันออกมาให้ปรากฏ
แพทย์จีนแผนโบราณให้คำอธิบายไว้ว่า ?ชีพจรนั้นได้เริ่มจากส้นเท้า? การทำกายบริหารแกว่งแขนมีประโยชน์ก็เพราะหลังจากแกว่งแขนแล้ว ชีพจรจะเกิดการเปลี่ยนแปลงกลับคืนสู่สภาพปกติ ชีพจรเป็นเสมือนตัวแทนของอวัยวะภายในร่างกายของคนเรา สาเหตุของโรคอัมพาตก็คือ ศีรษะหนักเท้าเบา ซึ่งเท่ากับส่วนบนหนัก ส่วนล่างว่าง กรณีเช่นนี้จึงเป็นความผิดปกติอย่างยิ่งเพราะที่ถูกต้องร่างกายของคนเราส่วน บนต้องเบา และส่วนล่างต้องหนัก

กายบริหารแกว่งแขนเพื่อพิชิตโรคมะเร็ง

สมุตติฐานของโรคมะเร็งคืออะไร

ตามหลักการแพทย์จีนโบราณ มะเร็งและเนื้องอกเป็นผลจากการรวมตัวเกาะกันเป็นก้อนของเลือดลม และเส้นชีพจรติดขัด ระบบ การขับถ่ายของเสีย ไม่ทำงาน การหมุนเวียนของโลหิตไม่สะดวก และโลหิตไหลช้าลง นำเหลือง น้ำดี น้ำเมือก เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ เมื่อการหมุนเวียนของโลหิตขาดประสิทธิภาพ และทำงานไม่เต็มที่ พลังงานหรือความร้อนก็ไม่เพียงพอ จึงทำให้ระบบขับถ่าย และระบบ ย่อยอาหารไม่ทำงาน แต่เมื่อทำกายบริหารแกว่งแขนแล้วจะช่วยให้เจริญอาหาร เม็ดเลือดจะเพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อที่ไหล่ทั้ง 2 ข้างได้รับการออกกำลัง อาการเกร็งซึ่งแบกรับน้ำหนักอยู่ตลอดเวลาก็จะหายไป เยื่อบุช่องท้องจะได้รับการบริหารขึ้น ๆ ลง ๆ ตื่นตัวอยู่เสมอ ซึ่งจะทำปฏิกิริยากระตุ้นและบีบบังคับลม เคลื่อนไหวระหว่างไต เมื่อโลหิตสามารถผลิตความร้อน ก็จะเกิดพลังในการรับของใหม่ แล้วถ่าย ของเก่าออก เช่นนี้แล้ว จึงมีประโยชน์ทางบำรุงเลือดลมด้วย

อนึ่ง จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่งดบริโภคเนื้อสัตว์ หันมารับประทานอาหารพืชผัก อาหารมังสวิรัต อาหารเจ ซึ่งมีปริมาณใยมาก จะช่วยให้เลือดในกายสะอาด สามารถขับพิษออกจากร่างกายได้เร็ว และส่งผลให้การแกว่งแขนบำบัดโรคประสบผลเร็วยิ่งขึ้น


กายบริหารแกว่งแขนกับการรักษาโรคตา

การทำกายบริหารแกว่งแขน มีคุณประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคตา มีบางท่านใช้แว่นสายตาหนามาก แต่เมื่อได้ทำกายบริหารแกว่งแขน ระยะหนึ่ง กลับไม่ต้องใช้แว่นอีกเลย มีบางคนอ่านหนังสือพิมพ์รู้สึกลำบาก มองไม่ค่อยจะเห็น อ่านแต่ละตัวต้องเพ่งแล้วเพ่งอีก หนังสือ (เน่ยจัง) คัมภีร์แพทย์เล่มแรกของจีนกล่าวไว้ว่า ?ตาเมื่อได้รับเลือดหล่อเลี้ยงจึงสามารถมองเห็น? แสดงว่าปัจจัยสำคัญอยู่ที่เลือด เมื่อเลือด เดินไปไม่ทั่วถึง ทุกส่วนของร่ายกายก็จะเกิดโรคต่าง ๆ อย่างแน่นอน ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั่วร่างกายมีส่วนสัมพันธ์กันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ชีพจร เส้นเลือด ทางลม หากเลือดหมุนเวียนทั่วทุกส่วน เราก็จะรู้สึกสบาย ไม่เจ็บป่วย ถ้าใครคิดว่า ดวงตานั้นมีระบบอยู่อย่างเอกเทศ ตัดขาด จากกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ของร่างกายนั้น จึงเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้เมื่อเราได้ทำกายบริหารแกว่งแขนทั่ว ๆ ไป จะรู้สึกเจริญอาหาร เดินกระฉบับกระเฉง นอนหลับสบาย ท้องก็ไม่ผูก ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่า ระบบการเผาผลาญอาหารในร่างกาย (METABLISM) นั้นทำงานดี



กายบริหารแกว่งแขนรักษาโรคตับ

กายบริหารแกว่งแขน สามารถรักษาโรคตับแข็ง และโรคท้องมานให้หายขาดได้ ถ้าเป็นตัวบวมหรือตับอักเสบ การแกว่งแขน ก็จะยิ่งรักษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะว่าตัวการที่ทำให้เกิดโรคประเภทนี้ก็คือ เลือดลมเช่นกัน การที่เลือดลมผิดปกติ จะทำให้ตับเกิดปฏิกริยา เกิดมีน้ำขังและไม่สามารถขับถ่ายออกได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านจะรู้สึกจุกแน่น อึดอัดจนกระทบกระเทือนไปถึงกระเพาะ ม้าม และถุงน้ำดีด้วย เมื่อเราทำกายบริหารแกว่งแขน ก็จะขจัดปัญหาเหล่านี้ไปได้ เป็นต้นว่า เมื่อลงมือทำการแกว่งแขนจะมีอาการเรอ สะอึด ผายลม อาการเหล่านี้เป็นสิ่งดีอันเนื่องจากผลทางการรักษาโรค ทั้งนี้ก็เพราะเข้ากฎเกณฑ์ตามตำราจีนแผนโบราณที่ว่า ?เลือดลมผ่านตลอดทั้งสามจุด?

?จุดสามจุด? ตามตำราแพทย์จีนโบราณหมายถึง 1 ทางข้าว 2. ทางน้ำ 3. เนินที่เริ่มต้น และจุดที่สิ้นสุดของลม ได้แก่ จุดบน อยู่ที่ปากกระเพาะด้านบน มีหน้าที่รับเข้าไม่รับออก จุดล่าง คือ ภายในส่วนกลางของกระเพาะ มีระดับไม่สูงไม่ต่ำ มีหน้าที่ย่อยข้าวน้ำ จุดต่ำ อยู่เหนือกระเพาะปัสสาวะ มีหน้าที่แบ่งแยกสิ่งสะอาดและสิ่งสกปรกออกจากัน และมีหน้าที่ขับถ่าย

เมื่อตับเกิดอาการแข็ง ส่วนที่แข็งคือส่วนที่ต้องตายไป อาการแข็งเป็นเรื่องของวัตถุธาตุซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกถึงสมรรถภาพที่เสื่อม ถอย ไม่มีชีวิตชีวา นอกจากนี้ยังมีสิ่งขัดแย้งเป็นปัญหาอีกก็คือ เลือดที่เสียคั่งค้างไม่เดิน เพราะแรงขับดันเคลื่อนไหวไม่พอ เมื่อทำกายบริหารแกว่งแขน ก็จะกระตุ้นให้เลือดลมตื่นตัวหมุนเวียนเร็วขึ้น และจะทำให้เจริญอาหาร ช่วยเพิ่มเม็ดเลือด เปิดทวารทั้งเก้าและรูขน ตับที่อยู่ในสภาพเกาะติด จนแข็ง ก็จะเริ่มฟื้นตัวมีชีวิตใหม่เพิ่มขึ้นตามลำดับ ตับที่แข็งก็จะกลายเป็นอ่อน นั่นเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพอย่างหนึ่ง

เมื่อเรากล่าวถึง สภาพการแข็งตัวก็คือการต่อสู้ระหว่างพลังใหม่กับพลังเก่า จากผลของการต่อสู้ หากพลังเก่าได้ชัยชนะ โรคก็จะกำเริบ หนักขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากพลังใหม่มีอำนาจเหนือพลังเก่า สิ่งที่อยู่ในสภาพแข็งตัวก็จะค่อย ๆ อ่อนลง การแกว่งแขนนั้น ให้คุณประโยชน์ ทางเสริมสร้างพลังใหม่ ให้สามารถต่อสู้กับสภาพแข็งตัวของตับได้ ความรู้ที่ค้นพบนี้นับว่า เป็นอัจฉริยะ ชิ้นโบว์แดง ในวงการแพทย์จีนโบราณทีเดียว



Create Date : 17 ตุลาคม 2551
Last Update : 17 ตุลาคม 2551 3:50:15 น. 1 comments
Counter : 9404 Pageviews.

 


สวัสดีจ๊ะ แวะมาบอกว่าหน่อยอัพบล็อกใหม่แล้ว มีความสุขในการทำงานวันศุกร์นะจ๊ะ



โดย: หน่อยอิง วันที่: 17 ตุลาคม 2551 เวลา:12:34:46 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

=Neo=
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add =Neo='s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.