โพลหนุนตัดสิทธิ์คนโกงห้ามลงเลือกตั้งตลอดชีวิต

“นิด้าโพล”เผยประชาชนเอาด้วยให้ใช้ยาแรงจัดการพวกโกงไม่ให้ผุดไม่ให้เกิด กรธ.จ่อเคาะแยกบริหาร-นิติบัญญัติ เผยกรรมการหนุน ส.ส.เป็น รมต.ต้องลาออกจาก ส.ส. ถกคืบสัปดาห์นี้ ทุจริตเลือกตั้ง-ประพฤติมิชอบ ตัดสิทธิ์ตลอดชีวิต แต่ยังไม่ชัดให้ย้อนหลังหรือไม่"วิษณุ" หนุนเลิกตัดสิทธิ์เหมาเข่ง ให้เอาผิดรายบุคคล

 

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “การตัดสิทธิผู้สมัครรับเลือกตั้ง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3-4 พ.ย.2558 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประเด็นการตัดสิทธิผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกตัดสินว่ากระทำการ ทุจริตต่อหน้าที่และทุจริตการเลือกตั้ง ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการเขียนร่างรัฐธรรมนูญโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อนักการเมืองที่ถูกตัดสินว่ากระทำการ ทุจริตต่อหน้าที่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 54.88 ระบุว่าห้ามสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต รองลงมาร้อยละ 35.12 ระบุว่าห้ามสมัครรับเลือกตั้ง ปีร้อยละ 5.68 ระบุว่าไม่ห้ามเลยร้อยละ 1.92 ระบุว่าอื่นๆ ได้แก่ ห้ามสมัครเป็นระยะเวลา เดือน ปี ปี 10 ปี 15 ปี หรือ สมัย และควรมีการลงโทษตามกฎหมายด้วย และร้อยละ 2.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ต้องดูเป็นรายกรณีไป

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการตัดสิทธิทางการเมืองของนักการเมืองที่ถูก ตัดสินว่ากระทำการทุจริตต่อหน้าที่ควรเริ่มเมื่อใด (เฉพาะผู้ที่ตอบข้อ ว่า ห้ามสมัครรับเลือกตั้ง ปี และห้ามสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.82 ระบุว่า ควรเริ่มที่ผู้ที่เคยถูกตัดสินว่าทุจริตต่อหน้าที่ จะถูกห้ามลงสมัครอีก ขณะที่ร้อยละ 45.42 ระบุว่าเฉพาะผู้ที่ถูกตัดสินหลังจากรัฐธรรมนูญใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว จึงจะถูกห้ามลงสมัครอีก และร้อยละ 2.76 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อนักการเมืองที่ถูกตัดสินว่ากระทำการทุจริต การเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.68 ระบุว่าห้ามสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต รองลงมาร้อยละ 31.28 ระบุว่าห้ามสมัครรับเลือกตั้ง ปีร้อยละ 4.40 ระบุว่าไม่ห้ามเลยร้อยละ 1.84 ระบุว่าอื่นๆ ได้แก่ ห้ามสมัครเป็นระยะเวลา เดือน ปี ปี 10 ปี และควรมีการลงโทษตามกฎหมายด้วย และร้อยละ 0.80 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ต้องดูเป็นรายกรณีไป

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการตัดสิทธิทางการเมืองกับนักการเมืองที่ถูก ตัดสินว่ากระทำการทุจริตการเลือกตั้งควรเริ่มเมื่อใด (เฉพาะผู้ที่ตอบข้อ ว่า ห้ามสมัครรับเลือกตั้ง ปี และห้ามสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 54.48 ระบุว่า ควรเริ่มที่ผู้ที่เคยถูกตัดสินว่าทุจริตการเลือกตั้ง จะถูกห้ามลงสมัครอีก ขณะที่ร้อยละ 42.77 ระบุว่าควรเริ่มเฉพาะผู้ที่ถูกตัดสินหลังจากรัฐธรรมนูญใหม่มีผลใช้บังคับ แล้ว จึงจะถูกห้ามลงสมัครอีก และร้อยละ 2.75 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้คะแนนน้อย กว่าคะแนนที่ไม่ประสงค์จะเลือกใคร (โหวตโน) ในเขตการเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.12 ระบุว่าควรยอมให้ผู้สมัครคนนั้นได้ลงสมัครใหม่อีกครั้ง ขณะที่ร้อยละ 31.44 ระบุว่าผู้สมัครคนนั้นไม่ควรลงสมัครในการเลือกตั้งครั้งนั้นอีก และให้พรรคการเมืองส่งคนใหม่แทน และร้อยละ 7.44 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
หนุนกาบัตรเลือกตั้งใบเดียว

ในวันเดียวกัน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,156 คน ระหว่างวันที่ 2-7 พฤศจิกายน 2558ผลสำรวจประชาชนคิดอย่างไรเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ 72.61% เห็นว่าเป็นการร่างรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและประเทศชาติ ได้รับการพูดถึงและถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ขณะที่ 69.80% เห็นว่าควรเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย สร้างการมีส่วนร่วม คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ 66.17% ควรดำเนินงานตามกระบวนการขั้นตอนที่ถูกต้อง เปิดเผย ยุติธรรม เนื่องจากเป็นเรื่องที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ

ส่วนประเด็นใด ที่ประชาชนมีความสนใจมากที่สุดเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ อันดับ 1 การเลือกตั้ง ระบบเลือกตั้ง ที่มาของ ส.ส. นายกรัฐมนตรี การลงโทษ ตัดสิทธิ์นักการเมือง77.29%, อันดับ การแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน 75.04 % และอันดับ สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคของประชาชน ความเป็นประชาธิปไตย 71.12%

เมื่อถามว่า ประชาชนอยากให้มีการเลือกตั้งทั้ง ส.ส.เขตและ ส.ส.บัญชีรายชื่อโดยใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวหรือควรแยกเป็น ใบ 60.98% เห็นว่าควรเป็นใบเดียว เพราะประชาชนสะดวกในการกาบัตรเลือกตั้ง เข้าใจง่าย นับคะแนนง่าย ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ เป็นการกระตุ้นให้คนออกมาใช้สิทธิเพื่อรักษาสิทธิของตนเอง ฯลฯ, 39.02% คิดว่าควรเป็น ใบ เพราะไม่สับสนในการกาบัตรเลือกตั้ง ความชื่นชอบในตัว ส.ส.กับพรรคการเมืองอาจไม่เหมือนกัน คุ้นเคยกับการเลือกตั้งวิธีนี้ น่าจะเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ฯลฯ

ขณะที่ นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และอนุกรรมการศึกษาโครงสร้างฝ่ายนิติบัญญัติ เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการฯ จะมีการประชุมในสัปดาห์นี้ เพื่อพิจารณาในเรื่องเกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร นอกเหนือไปจากเรื่องระบบการเลือกตั้ง ส.ส. โดยอาจจะเป็นการพิจารณาเรื่องคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส.

“ในเบื้องต้นมีหลักการที่เห็นตรงกันว่าหากเป็นบุคคลที่มีความผิดทุจริตเลือก ตั้งและทุจริตประพฤติมิชอบ จะไม่มีสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ได้อีก แต่จะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ ต้องให้ที่ประชุม กรธ.เป็นผู้ตัดสิน ขณะเดียวกันยังพิจารณาไปถึงความเหมาะสมของ ส.ส.ในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ว่าหาก ส.ส.ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีแล้วจะต้องลาออกจาก ส.ส.หรือไม่ด้วย เนื่องจากมีการแสดงความคิดเห็นกันว่าถ้าใครจะเป็น ส.ส. ก็ควรให้ความสำคัญกับการทำงานในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ แต่หากจะไปทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร ก็ควรลาออกจากตำแหน่งฝ่ายนิติบัญญัติก่อน”

เมื่อถามว่า สำหรับบุคคลที่เคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งทางการเมือง และบุคคลที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเมื่อครั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคการ เมือง จะเข้าข่ายถูกตัดสิทธิ์ในการลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส.หรือไม่ นายอมรกล่าวว่า คณะอนุกรรมการฯ ยังไม่ได้ศึกษาลงไปในรายละเอียด แต่ส่วนตัวมีความเห็นว่าสำหรับกรณีการถูกถอดถอนต้องแยกออกเป็น มุม คือ 1.หากถูกถอดถอนเพราะกระทำการทุจริตประพฤติมิชอบต้องถือว่าไม่มีสิทธิ์ในการ สมัครเลือกตั้ง ส.ส.2.หากถูกถอดถอนหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งด้วยเหตุอื่นที่ไม่ใช่การทุจริต ก็อาจเข้าข่ายที่จะเป็นผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส.ได้
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ซึ่งใช้บัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียวว่า ไม่เกี่ยวว่าใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวหรือสองใบ เพระใช้กี่ใบสามารถสะท้อนความต้องการของประชาชนได้ อย่าไปหลงประเด็นเรื่องใบเดียวหรือสองใบ ประเด็นอยู่ที่การนำคะแนนเสียงที่ได้ไปใช้อย่างไร ถ้านำไปใช้ก็สะท้อนการเคารพเสียงของประชาชน แต่ถ้าไม่นำไปใช้ก็ไม่เคารพหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวอยู่ที่การออกแบบของบัตรเลือกตั้ง ซึ่งเคยมีการถกเถียงกันมาตั้งแต่เมื่อครั้งการกำหนดการเลือกตั้งให้เป็นแบบ แบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ ดังนั้น เรื่องของบัตรเลือกตั้งไม่ได้มีความสำคัญแต่อย่างใด อยู่ที่จะนำข้อมูลไปใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์ ตัวอย่างเช่นการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาประเทศไทยมีบัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 1 ใบ และเลือกแบบบัญชีรายชื่อ ใบ แต่นั่นก็สามารถใช้บัตรใบเดียวได้ โดยมีช่องกาทั้งเขตและพรรค ซึ่งมีผลการเลือกตั้งออกมาเหมือนกัน สิ่งที่ควรจะนำมาเถียงกันคือ ควรจะนับคะแนนที่เขตหรือส่วนกลางมากกว่า

“ ระบบจัดสรรปันส่วนซึ่งนำคะแนนทั้งหมดมารวมกัน จะสามารถสะท้อนความต้องการของประชาชนได้ แต่ก็มีวิธีอื่นที่สามารถสะท้อนได้ดีกว่านี้ แต่ตนคิดไม่ออก อย่างไรก็ตาม หากชั่งน้ำหนักแล้วเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสะท้อนความต้องการของประชาชนถึงขนาด นั้นก็ไม่ต้องทำ เพราะอย่างการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา ก็ไม่ได้มีการสะท้อนทุกคะแนนเสียง มีการทิ้งคะแนนเหมือนกัน ส่วนที่นักการเมืองคัดค้านระบบเลือกตั้งนั้นไม่เป็นไร เพราะต้อนรับทุกความเห็นอยู่แล้ว ขณะนี้ถือว่านี้เป็นบรรยากาศที่ดี ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) บอกว่าไม่ได้ห้ามค้าน แต่หมายถึงเตือนกิริยาอาการ สำนวนในการแสดงความเห็น”นายวิษณุ กล่าวและว่า

จากการดูเนื้อหาในหนังสือพิมพ์พบว่านักการเมืองบางคนค้านได้ดี เช่น นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี แต่ประเภทผรุสวาทด่าทอนั้น ก็เข้าใจว่าเป็นจิตวิทยาในการโจมตี บางทีต่อต้านเนื้อหาไม่ได้ก็หยิบเอาจุดอย่างอื่นเข้ามาทำให้คนเกิดความ รู้สึก ผมก็นักกฎหมาย ในศาลเขาก็สอนกันนะว่า เวลาจะซักพยานอีกฝ่ายหนึ่ง บางทีถามธรรมดาไม่ทำให้ได้คำตอบอะไร แต่หากลองถามให้เขาโกรธก็อาจจะได้

ส่วนกรณีที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จะบัญญัติกรณีตัดสิทธิ์นักการเมืองโดยดูความผิดเป็นรายบุคคลมากกว่าโดยรวม ของพรรคนั้น นายวิษณุกล่าวว่า เห็นด้วย จุดนี้เป็นสิ่งที่มีการค้านเมื่อตอนนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน กมธ.ยกร่างฯ ซึ่งรัฐบาลได้ทำความเห็นไปว่า อย่าพยายามเหมาเข่งในลักษณะของคนที่เขาไม่ได้กระทำความผิดโดยตรง เว้นแต่ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่งให้เห็นได้ แต่ที่แล้วมาไม่มีเลย ตอนที่มีการตัดสิทธิ์นั้น เพราะเป็นกรรมการบริหารพรรค ผิดเพราะไปส้องเสพเสวนาด้วย ซึ่งมันไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น ควรจะผิดเพราะการกระทำ

ที่มา thaitribune




Create Date : 09 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2558 21:06:44 น. 0 comments
Counter : 218 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

p_chusaengsri
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add p_chusaengsri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.