ครม.อนุมัติมาตรการภาษีส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของ SMEs ‘มาตรการพี่ช่วยน้อง’พัฒนาชนบท-ลดหย่อนภาษีได้ 2



คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของ SMEs (มาตรการพี่ช่วยน้อง)เปิดทางบริษัทขนาดใหญ่นำค่าใช้จ่ายช่วยเอสเอ็มอีหักภาษีได้ 2 เท่าแต่ไม่เกิน 10% และมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในชนบทนำค่าใช้จ่ายหักภาษีได้ 2 เท่าเช่นกัน

 

การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2559 นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของ SMEs (มาตรการพี่ช่วยน้อง) เพื่อเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการSMEs และมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในชนบท เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจและสังคมในโครงการที่ท้องถิ่นมีความต้องการ โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

สาระสำคัญของมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอี(มาตรการพี่ช่วยน้อง) คือการส่งเสริมให้บริษัทใหญ่ช่วยบริษัทเล็กหรือเอสเอ็มอี โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายที่ช่วยเอสเอ็มอี เช่น 1.ถ่ายทอดความรู้ 2.การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี 3.การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 4.การส่งเสริมการตลาด 5.จ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อแทนผู้ประกอบการที่ได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ทว่าไม่มีอำนาจควบคุมดูแลในกิจการของน้อง สามารถนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาหักภาษีได้ 2 เท่าของรายได้ แต่ไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิ โดยนิยามของบริษัทขนาดใหญ่ต้องมีทรัพย์สินถาวรมากกว่า 200 ล้านบาท มีการจ้างพนักงานเกิน 200 คน(บริษัทพี่) ส่วนนิยามของบริษัทเล็กหรือเอสเอ็มอี เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นเอสเอ็มอีซึ่งเป็นธุรกิจที่มีทรัพย์สินถาวรไม่เกิน 200 ล้านบาท และการจ้างงานไม่เกิน 200 คน (บริษัทน้อง)

สาระสำคัญของมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในชนบท โดยกระทรวงการคลังเสนอให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการจ่ายเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและแหล่งท่องเที่ยวในชนบท การลงทุน เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน ทางพิเศษหรือสัมปทาน โทรคมนาคม ไอซีที พลังงานทางเลือก ระบบบริหารจัดการน้ำหรือชลประทาน ระบบป้องกันภัยธรรมชาติ ระบบจัดการของเสีย การลงทุนดังกล่าวต้องสอดคล้องกับระเบียบมหาดไทยว่าด้วยการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนคำว่าแหล่งท่องเที่ยวรวมถึงอุทยานแห่งชาติ โบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวอื่น องค์การของรัฐ โดยต้องได้รับการรับรองจากราชการและต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้องค์การของรัฐโดยไม่มีค่าตอบแทน ภาคเอกชนที่ช่วยลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน นำค่าใช้จ่ายหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า แต่ไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาและการกีฬา โดยจะสามารถทำได้ 3 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559

ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจะต้องไม่ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมและไม่มีอำนาจในการควบคุมหรือกำกับดูแลการดำเนินงานและบริหารงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้จ่ายไปเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจการและค่าใช้จ่ายในโครงการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจจะต้องได้รับการรับรองจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) หรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

การดำเนิน 2 มาตรการนี้จะทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ประมาณ 5 พันล้านบาทต่อปี แต่รัฐบาลไม่ได้มองว่าเป็นการสูญเสียรายได้ แต่มองว่าเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ก่อให้เกิดการจ้างงานและการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจมากกว่า และการดำเนินการในส่วนนี้ก็ถือเป็นการร่วมมือกันระหว่างรัฐและเอกชนในการให้ความช่วยเหลือพื้นที่ในชนบทด้วย ไปจนถึงการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว นายณัฐพร กล่าว

ทั้งนี้มาตรการทั้ง 2 ให้เริ่มใช้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

ที่มา thaitribune




Create Date : 04 สิงหาคม 2559
Last Update : 4 สิงหาคม 2559 7:49:17 น. 0 comments
Counter : 2781 Pageviews.

p_chusaengsri
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add p_chusaengsri's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.