นกละเมอ
Group Blog
 
All blogs
 

๔๕ พรรษา ของ พระพุทธเจ้า - เรื่องพระพุทธศาสนา (ต่อ3)

คำว่า พระพุทธะ แปลว่า พระผู้รู้ ในภาษาไทยเราเติมคำว่า เจ้า เรียกว่า พระพุทธเจ้า คือ เอาความรู้ของท่านมาเป็นชื่อ ตามพุทธประวัติที่ทราบขากหนังสือทางพระพุทธศาสนา ดังกล่าวนั้นพระพุทธเจ้าก็เป็นบุคคลคือเป็นมนุษย์เรานี่เอง ซึ่งมีประวัติดั่งที่แสดงไว้ในพระพุทธประวัติแล้ว แต่ว่าท่านได้ค้นคว้าหาความรู้ จนประสบความรู้ที่เป็นโลกุตตระ คือคงามรู้ที่เป็นโลกุตตระ คือความรู้ที่เป็นส่วนเหนือโลก หมายความง่ายๆ ว่า ความรู้ที่เห็นส่วนโลกิยะ หรือเป็นส่วนโลกนั้น เมื่อประมาลเข้าแล้วก็เป้นความรู้ในด้านสร้างบ้น ในด้านธำรงรักษาบ้าง ในด้านทำลายล้างบ้าง ผู้รู้เองและความรู้นั้นเองก็เป็นไปในทางคดีโลก ซึ่งต้องเป็นไปต่ามคติธรรมดาของโลก ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เพราะต้องเกี่ยวข้องอยู่กับโลก นอกจากนี้ ยังต้องเป้นทาสของตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยากของใจ ถึงจะเป็นเจ้าโลกแต่ไม่เป็นเจ้าตันหา จ้องเป็นทาสของตัณหาในใจของตัวเอง เพราะฉะนั้น ความรู้ที่ยังต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย และยังต้องเป็นทาสของตัณหาดั่งกล่าวนี้ จึงเรียกว่ายังเป็นโลกียะ ยังไม่เป็นโลกกุตตระคืออยู่เหนือโลก แต่ความรู้ที่จะเป็นโลกุตตระ คืออยู้เหนือโลกได้นั้น จะต้องเป็นความรู้ที่ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ดั่งกล่าวได้ พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์คนแรกที่ได้ปฏิญญาพระองค์ว่าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรม ซึ่งทำให้เป็นโลกกุตตระคืออยู่เหนือโลก คือทำให้ท่านผู้รู้นั้นเป็นผู้พ้นจากกิเลส และกองทุข์ดั่งกล่าวนั้น ท่านผู้ประกอบด้วยความรู้ดี่งกล่าวมานั้ และประกาศความรู้ นั้นสี่งสอน ได้ขื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นต้นเดิมของพระพุทธศาสนา.
พระธรรม ทีแรกก็เป็นเสียงที่ออกมาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า เป็นเสียงที่ประกาศความจริงให้บุคคลทราบธรรมะที่ดระองค์ได้ตรัสรู้ เพราะฉะนั้น เสียงที่ประกาศความจริงแก่โลกนี้ก็เรียกกันว่าพระฑรรมส่วนหนึ่ง หรือเรียกว่าพระพุทธศาสนาคือเป็คำที่ออกมาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า เป้นคำสั่ง เป็นคำสอน ข้อปฏิบัติที่คำสั่งสอนนั้นแสดงชี้ ก็เป็นพระฑรรมส่วนหนึ่งผลของการปฏิบัติก้เป็นพระฑรรมส่วนหนึ่ง เหล่านี้เรียกว่าพระธรรม.
หมู่ชนที่ได้ฟังเสียงซึ่งออกจกพพระโอษ,ของพระพุทธเจ้า ได้ความรู้พระฑรรมคือความจริงที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอน จนถึงได้บรรลุโลกุตตรธรรม ธรรมะที่อยู่เหนยือโลกตามพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระสงฆ์ คือหมู่ของชนที่เป็นสาวกคือผู้ฟังของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้รู้พระฑรรมตามพระพุทธเจ้าได้ พระสงฆ์ดั่งกล่าวนี้เรียกว่าพระอริยสงฆ์ มุ่งเอาความรู้เป็นสำคัญเหมือนกัน ไม่ได้มุ่งว่าจะต้องเป็นคฤหัสถ์หรือจะต้องเป็นบรรพชิต และเมื่อรู้พระธรรมของพระพุทธเจ้าก็ประกาศตนนับถือพระพุทธเจ้าที่มีศัทธาแก่กล้าก็ขอบวชตาม ที่ไม่ถึงกับขอบวชตามก็ประกาศตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา จึงได้เกิดเป็น บริษัท ๔ ขึ้น คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในบริษัท ๔ นี้ หมุ่ของภิกษุก็เรียกว่าพระสงฆ์ เหมือนกัน แต่เรียกว่าสมมติสงฆ์ สงฆ์โดยสมมติ เพราะว่าเป็นตามพระธรรมวินัยด้วยวิธีอุปสมบทรับรองกันว่าเป้นอุปสัมบันหรือเป็นภิกษุขึ้น เมื่อภิกษุหลายรูปมาประชุมกันกระทำกิจของสงฆ์ ก็เรียว่าสงฆ์.
พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ที่เป็นอริยสงฆ์ทั้ง ๓ นั้ รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย ซึ่งเป็นสรณะคือที่พึ่งอย่างสูงสุดในพระพุทธศาสนา.
ความเป็นพระอริยสงฆ์นั้นเป็นจำเพาะตน ส่วนหมู่แห่งบุคคลที่ดำรงพระพุทธศาสนาสืบต่อมาก็คือพุทธบริษัทหรือพุทธศาสนิกดั่งกล่าวมาข้างต้น ในพุทธบริษัทเหล่านี้ ก็มีภิกษุสงฆ์นี่แหละเป็นบุคคลสำคัญ ซึ่งเป็ยผู้พลีชีวิตมาเพื่อปฏิบัติกำรงากษาพระพุทธศาสนา นำพระพุทธศาสนาสือๆ ต่อกันมาจนถึงในบัดนี้.




 

Create Date : 17 กันยายน 2551    
Last Update : 17 กันยายน 2551 9:37:35 น.
Counter : 428 Pageviews.  

๔๕ พรรษา ของ พระพุทธเจ้า - เรื่องพระพุทธศาสนา (ต่อ2)

หนังสือคือ ตำราพระพุทธศาสนา นั้น ได้กล่าวแล้วว่าก็ออกมาจากบุคคล คือบุคคลผู้นับถือพระพุทธศาสนาในสมัยนั้นๆ ได้ทำไว้ และเมื่อเราได้ศึกษาในหนังสือตำราพระพุทธศาสนาแล้วเราจึงได้ทราบประวัติของพระพุทธศาสนาตั้งแต่ต้นมา เพราะฉะนั้น การทราบเรื่องพระพุทธศาสนาในบัดนี้ จึงทราบได้จากหนังสือซื่อเป็นตำรา บุคคลซึ่งเป็นผู้รู้พระพุทฑศาสนาในบัดนี้ ก็รู้จากหนังสือหรือตำราและก็บอกอธิบายกันต่อๆมา เพราะฉะนั้น ก็ควรจะทราบหนั้งสือที่เป็นตำราในพระพุทธศาสนานั้ว่ามีขึ้นอย่างไร.
หนังสือที่เป็นตำราพระพุทธศาสนานี้ มีเล่าว่า ได้มีขึ้นเป็นครั้งแรกอย่างสมบูรณ์ เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปแล้วสี่ร้อยปีเศษ คือหลังจากพุทธปรินิพพานแล้วได้สี่ร้อยปีเศษ ภิกษุซึ่งเป็นพหูสูตรในประเทศลังกา ได้ปรารภความทรงจำของบุคคลว่าเสื่อมทรามลง ต่อไปก็คงไม่มีใครสามารถจะจำทรงพระพุทธวจนะไว้ได้ทั้งหมด จึงได้ประชุมกันทำสังคายนา คือสอบสวนร้อยกรองพระพุทธวจนะตามที่ต่างคนได้จำกันไว้ได้ รับรองต้องกันแล้วก็เขียนลงเป็นตัวหนังสือ ตำราที่เขียนขึ้นเป็นครั้งแรก ที่เล่าถึงว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงคำสี่งสอนไว้อย่างไร เรียกว่าเป็นปกรณ์คือเป็นหนังสือชั้น บาลี เป็นหลักฐานชั้นที่หนึ่ง และต่อมาก็มีอาจารย์ได้แต่งคำอธิบายบาลีนั้น คำอธิบายบาลีของพระอาจารย์นั้น เรียว่า อรรถกถา แปลว่ากล่าวเนื้อความ เป็นตำราชั้นที่สอง ต่อมาก็มีอาจาราย์แต่งอธิบายอรรถกถานั้นอีก เรียกว่า ฎีกา เป็นตำราชั้นที่ สาม ต่อมาก็มีพระอาจารย์แต่งอธิบายฎีกาออกไปอีก เรียกว่า อนุฎีกา เป็นตำราชั้นที่สี่ และก็ยังมีพระอาจารย์แต่อธิบายเบ็ดเตล็ด เป็นเรื่องสำคัญบ้างเป็นเรื่องย่อยๆ บ้างอีกมากมาย ก็เรียกวาเป็นปกรณ์พิเศษ คือเป็นหนังสือพิเศษต่างๆ แต่ว่าตำราที่เป็นหลักก็คือ บาลี อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ดั่งกล่างมานั้น หนังสือเหล่านี้ได้มีในประเทศลังกา และตามประวัติก็เล่าว่า เดิมก็เขียนเป็นภาษาลังกาหรือภาษาสีหฬอยู่เป็นอันมาก และต่อมาก็ได้มีพระเถระ เช่น พระพุทธโฆษาจารย์ มาแปลเป็นภาษาบาลี ที่ในบัดนี้ได้นับถือว่าเป็นภาษาพระพุทธศาสนาจนถึงในบัดนี้ หนังสือตำราเหล่านี้ก็ได้แปลเป็นภาษาบาลีในลังกาทั้งหมด ในประเทศไทยเราก็ได้ตำราเหล่านี้มา เช่น ในบัดนี้ที่เป็นชั้นบาลีก็ได้มาบริบูรณ์ ชั้นอรรถกถาก็ได้มาบริบูรณ์ ฎีกา อนุฎีกา ก็มีโดยมาก แต่ที่พิมพ์แล้วด้วยอักษรไทยสำหรับที่เป็นภาษาบาลี เรียกว่าพระไตรปิฎก พิมพ์ทั้งหมดพิมพ์เมื่อรัชกาลที่ ๕ ครั้งหนึ่ง พิมพ์เมื่อรัชกาลที่ ๗ คือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดให้พิมพ์ในกงานถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ ๖ เป็นครั้งที่ ๒ และในเวลาต่อๆมาก้เพียงแต่พิมพ์ซ่อมสำหรับที่เป็นชั้นบาลีอันเรียกว่าพระไตรปิฎกนี้ทางคณะสงฆ์ได้แปลเป้นภาษาไทยและได้พิมพ์เสร็จแล้วเป็นจำนวนมากเล่ม เป็นฉบับแปลของกรมการศาสนา ส่วนที่เป็นชั้นอรรถกถาได้พิมพ์ไว้ด้วยอักษรไทยเป็นส่วนมาก ชั้นฎีกาก้ได้พิมพ์บ้างแต่เป็นส่วนน้อย แต่หนังสือเหล่านั้โดยมากก็เป็นภาษาบาลี เมื่อเป็นเช่นนี้ เมื่อจะรู้จักพระพุทธศาสนาด้วยตนเองจากตำราเดิม จึงต้องศึกษาภาษาบาลี หรือภาษามคธ พระภิกษุที่บวชมีหน้าที่จะต้องศึกษาสือต่อพระพุทธศาสนาก้ต้องเรียนบาลีกัน และก็นำเอาพระฑรรมวินัยจากบาลีนั้นมาแสดงแก่ผู้ที่ไม่ได้เรียนภาษาบาลี.
เมื่อทราบว่า เราในบัดนี้ได้ทราบพระพุทธศาสนาจากหนังสือและตากคณะบุคคลซึ่งเป็นพุทธศาสนิก ดั่งที่กล่าวมาโดยย่อนี้แล้ว ก็ควรจะทราบต่อไปว่า เมื่อศึกษาจากหนังสือและบุคคลที่เป้นพุทธศาสนิกชนที่เป็นครูบาอาจารย์ต่อๆ กันมา จึงได้ทราบว่าต้นเดิมของพระพุทธศาสนานั้น ก็คือพระพุทธเจ้า.




 

Create Date : 17 กันยายน 2551    
Last Update : 17 กันยายน 2551 9:36:14 น.
Counter : 572 Pageviews.  

๔๕ พรรษา ของ พระพุทธเจ้า - เรื่องพระพุทธศาสนา

เรื่องพระพุทธศาสนา
คำว่า พระพุทธศาสนา ประกอบด้วยคำว่า พุทธะ ซึ่งแปลว่า ผู้รู้ กับคำว่า ศาสนา ที่แปลว่า คำสั่งสอน รวมกันเข้าเป็น พุทธศาสนา แปลว่า คำสั่งสอนของผู้รู้ เมื่อพูดว่าพุทธศาสนา ความเข้าใจก็ต้องแล่นเข้าไปถึงลัทธิปฏิบัติ และคณะบุคคลซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติในลัทธิปฏิบัตินั้น ไม่ใช่มีคววามหมายแต่เพียงคำสั่งสอน ซึ่งเป็นเสียงหรือเป็นหนังสือ หรือเป็นเพียงตำรับตำราเท่านั้น พระพุทธศาสนาที่เราทั้งหลายในบัดนี้ได้รับนับถือและปฏิบัติเนื่องมาจากอะไร คือเราได้อะไรจากสิ่งที่เรียกว่า พระพุทธศาสนา นั้นมานับถือปฏิบัติในบัดนี้ เมื่อพิจารณาดูแล้วก็เห็นว่า เราได้หนังสือ อย่างหนึ่ง บุคคลอย่างหนึ่ง หนังสือนั้นก็คือตำราที่แสดงพระพุทธศาสนา บุคคลนั้นก็คือพุทธศาสนิกที่แปลว่าผู้นับถือพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกนี้มิใช่หมายความแต่เพียงคฤหัสถ์ หมายความถึงทั้งบรรพชิตคือนักบวชและคฤหัสถ์ซึ่งเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา พูดอีกอย่างหนึ่งก็ได้แก่ พุทธบริษัทคือหมู่ของผู้นับถือพระพุทธเจ้า ดังที่เรียกว่า ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา แต่ในบัดนี้ ภิกษุณีไม่มีแล้ว ก็มีภิกษุกับสามเณรและอุบาสกอุบาสิกา หรือบุคคลที่เรีบกว่า พุทธมามกะ พุทธมามิกะ ก็รวมเรียกว่าพุทธบริษัทหรือพุทธศาสนิกทั้งหมด คือในบัดนี้มีหนังสือซึ่งเป็นตำราพระพุทธศาสนา และมีบุคคลซึ่งเป็นพุทธศาสนิกหรือเป็นพุทธบริษัท ทั้ง ๒ อย่างนี้ หนังสือก็มาจากบุคคลนั่นเอง คือบุคคลที่เป็นพุทธศาสนิกหรือเป็นพุทธบริษัทได้เป็นผู้ทำหนังสือขึ้น และบุคคลดังกล่าวนั้ก็ได้มีสืบต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล และสือต่อมาตั้งแต่จากที่เกิดของพระพุทธศาสนา มาจนถึงในต่างประเทศของประเทศนั้น ดังเช่นในประเทศไทยในบัดนี้ คือ ว่าได้มีพุทธษาสนิกหรือพุทธบริษัทสือต่อกันเรื่ยมา จึงมาถึงเราทั้งหลายในบัดนี้ และเราทั้งหลายในบัดนี้ก็ได้เป็นพุทธศาสนิกหรือพุทธบริษัทในปัจจุบัน และคนรุ่นต่อๆ ไปก็จะสือต่อไปอีก.




 

Create Date : 17 กันยายน 2551    
Last Update : 17 กันยายน 2551 9:35:06 น.
Counter : 318 Pageviews.  

๔๕ พรรษา ของ พระพุทธเจ้า - บวชทำไม ? (ต่อ)

แต่ว่าการบวชนั้น ก็มิได้มีผู้มุ่งผลอย่างสูงดั่งกล่าวนี้เสมอไป ดังในมิลินทปัญหา พราเจ้ามิลินท์ ได้ถาม พระนาคเสน ว่า ประโยขน์สูงสุดของการบวชคืออะไร ? พระนาคเสนท่านก็ตอบว่าประโยขน์สูงสุดของการบวชนั้น คือพระนิพพาน คือความดับ เพราะไม่ยึดมั่นอะไรทั้งหมด แต่คนก้มิใช่บวชเพื่อประโยชน์นี้ทั้งหมด บางคนบวชเพราะหลีกหนีราชภัยบ้าง หลีกหนีโจรภัยบ้าง ปฏิบัตตามพระราชประสงค์หรือตามประส่งค์ของผู้มีอำนาจบ้าง ต้องการจะพ้นหนี้สินบ้าง ต้องการความเป็นใหญ่บ้าง ต้องการที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างสะดวกสบายบ้าง เพราะกลัวภัยต่างๆบ้าง พระมิลินท์ ก็ถามว่า พระนาคเสนเล่า เมื่อบวชมุ่งประโยชน์อย่างนี้หรือ หรือมุ่งอย่างไร พระนาคเสนก็ตอบว่าเมื่อท่านบวชนั้น ท่านยังเป็นหนุ่ม ก็ไม่ได้คิดจะมุ่งประโยชน์อย่างนี้ แต่ว่าท่านคิดว่า พระสมณศักยบุตรเหล่านี้เป็นบัญฑิตคือเป็นผู้ฉลาด จักสามารถยังเราให้ศึกษาได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้บวชเพื่อศึกษา ครั้นท่านได้ศีกษาแล้ว ท่านจึงได้เห็นประโยชน์ของการบวช เพราะฉะนั้น ก็เป็นอันว่าท่านบวชก็ด้วยมุ่งประโยชน์เช่นนั้นเหมือนกัน พระนาคเสนท่านตอบพระเจ้ามิลินท์ดั่งนี้
แม้ในบัดนี้ การบวชจำม่ได้มุ่งทำที่สุดแห่งกองทุขก์ทั้งสิ้น แต่ก็อาจกล่าวได้ว่า บวชด้วยมุ่งจะศึกษาพระพุทธศาสนาและปฏิบัติพระพุทธศาสนาอย่างละเอียดประณีต เท่าที่เมื่อเข้ามาบวชแล้วจึงจะปฏบัติได้ เพราะฉะนั้น แม้มีความมุ่งจะบวชศึษาและปฏิบัติดังกล่าวนี้ ก็ชื่อว่าเป็นความมุ่งที่ถูกต้องเหมือนกัน ในพระสูตรหนึ่ง ท่านได้แสดงถึงคนที่มุ่งดีเข้ามาบวช แต่ว่าเมื่อบวชแล้วก็ยังมีการได้ต่างๆกัน.
อย่างที่ ๑ เรียกว่า บวชได้กิ่งใบของพรหมจรรณ์ คือบวชแล้วก็มุ่งแต่จะได้ลาภ ได้สักการะ ได้สรรเสริญ เมื่อได้ก็พอใจเพียงเท่านั้น.
อย่างที่ ๒ เรียกว่า บวชได้กะเทาะเปลือกของพรหมจรรย์ คือก็ไม่ได้มุ่งจะได้ลาภสักการะ และสรรเสริญที่เดียว แต่ก็ปฏิบัติในศิลให้บริสุทธิ์บริบรูณ์ด้วย และก็พอใจเพียงว่าจะปฏิบัติในศิลให้บริสุทธิ์บริบรูณ์เท่านั้น.
อย่างที่ ๓ เรียกว่า บวชได้เปลือกของพรหมจรรย์ คือเมื่อปฏิบัติในศีลให้บริสุทธิ์บริบรูณ์ได้แล้ว ก็ปฏิบัติในสมาธิให้บริบรูณ์ด้วย และก็พอใจเพียงสมาธิเท่านั้น.
อย่างที่ ๔ เรียกว่า บวชได้กระพี้ของพรหมจรรย์ คือเมื่อปฏิบัติในศีล ในสมาธิ ให้บริบรูณ์แล้ว ก็ปฏิบัติต่อไปจนเกิดเกิดญาณทัสนสนะ คือความรู้ความเห็นธรรมะขึ้นด้วย และก็พอใจเพียงที่รู้ที่เห็นเท่านั้น.
อย่างที่ ๕ เรียกว่า บวชได้แก่นของพรหมจรรย์ คือว่าได้ปฏิบัติสืบขึ้นไปจนได้วิมุตติ คือความหลุดพ้นจากิเลสและกองทุขก์บางส่วนหรือสิ้นเชิง ตามสามารถของการปฏิบัติ.
อย่างที่ ๕ นั้นจึงจะชื่อว่าได้บรรลุแก่นของการบวช หรือบวชได้แก่นของพรหมจรรย์.
การบวชได้อะไรบ้างตามชั้นๆนี้ อันที่จริงเมื่อได้บวชตั้งใจปฏิบัติในศีลให้บริสุทธิ์บริบรูณ์ขืนมา ก็ชื่อว่าเปนการบวชดีได้ แต่ยังมีกิจที่จะต้องทำให้สูงขึ้นไปหว่านั้นอีกก็ต้องทำต่อไป ไม่หยุดอยู่เพียงเท่านั้น.
การบวช จะได้ประโยชน์ของการบวชตั้งแต่ขั้นต้นขั้นต่ำดั่งกล่าวมานี้ ก็ต้องอาศัยการบวชใจประกอบอีกส่วนหนึ่ง เมื่อบวชพร้อมทั้งกายทั้งใจแล้ว ก็จะเป็นการบุญเป็นการกุศลอย่างสูง เป็นบุญก็คือเป็นเครื่องชำระความชั่ว เป็นกุศลก็คือเป็นกิจของคนฉลาดชำระความชั่วของเราเอง และเราเองก็เป็นผู้ฉลาดขึ้นเอง เป็นความฉลาดบริสุทธิ์.
เรื่องการบวชตามที่กล่าวนี้ เป็นการแสดงประกอลความรู้และความเข้าใจ ควรจะสนใจและตั้งใจทำการบวชแม้ชั่วคราวให้เป็นกุศลอย่างสูง เท่าที่สามารถจะทำได้.




 

Create Date : 29 สิงหาคม 2551    
Last Update : 17 กันยายน 2551 9:33:23 น.
Counter : 391 Pageviews.  

๔๕ พรรษา ของ พระพุทธเจ้า - บวชทำไม ?

อนึ่ง บวชทำไม ? ปัญหานี้ ตอบตามทางพิจารณาดูตามประวัติของพระพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้านั้น เมื่อทรงเป็นพระโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระราชกุมาร ก็ทรงมีความสมบรูณ์พูนสุขทุกประการแต่ได้ทรงปรารภถึง ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ที่มีครอบงำสัตวโลกทุกถ้วนหน้า จึงทรงประสงค์จะพบโมกขธรรมคือธรรมะเป็นเครืองพ้นจากความแก่ ความเจ็บ ความตาย เมื่อได้ทรงประสบพบเห็นสมณะคือนักบวช ก็ทรงเลื่อมใสในการบวช ทรงเห็นว่าจะเป็นทางแสวงหาโมกธรรมคือธรรมะเป็นเครื่องพ้นจากความทุกข์ดั่งกล่าวนั้นได้ จึงได้เสด็จออกบวช เพราะฉะนั้น จุดมุ่งหมายแห่งการบวชของพระพุทธเจ้า จึงได้มุ่งโมกขธรรม ธรรมะเป็นเครื่องพ้นจากความทุกข์ของโลก คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย พร้อมทั้งความเกิด ผู้ที่บวชตามพระพุทธเจ้าในชั้นแรก ก้มีความมุ่งเช่นนี้ ดังเช่นพระสาวกในครั้งพุทธกาลรูปหนึ่ง ชื่อว่า พระรัฏฐปาละ ท่านเป็นลูกเศรษฐี แต่ก็ได้สละทรัพย์สมบัติออกบวชปฏิบัติจนเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง วันหนึ่ง พระเจ้าแผ่นกินของแคว้นนั้น พระนามว่าพระเจ้าโกรัพยะ ได้ถามท่านว่า ท่านบวชทำไม ? เพราะคนโดยมากนั้น บวชกันเพราะเหตุว่ามีความเสื่อมเพราะชราบ้าง มีความเสื่อมเพราะความป่วยไข้บ้าง มีความเสื่อมทรัพย์สมบัติบ้าง มีความเสื่อมญาติบ้าง แต่ว่าท่านรัฏฐปาละเป็นผู้ที่ยังไม่มีความเสื่อมใดๆ ดั่งกล่าวนั้น ไฉนท่านจึงออกบวช ท่านก็ตอบว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัส ธัมมุทเทส ไว้ ๔ ข้อ คือ
๑. โลกอันชราย่อมนำเข้าไป ไม่ยั่งยืน
๒. โลกไม่มีอะไรต้านทานจากความเจ็บป่วย ไม่เป้นใหญ่
๓. โลกไม่ใช่ของๆตน เพราะทุกๆคนจำต้องละสิ่งทั้งปวงไป ด้วยอำนาจของความตาย และ
๔. โลกพร่องอยู่ ไม่มีอิ่ม เป็นทาสของตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยาก
ท่านได้ปรารภธัมมุทเทส คือการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ ประการนี้ จังได้ออกบวช.




 

Create Date : 29 สิงหาคม 2551    
Last Update : 29 สิงหาคม 2551 11:46:56 น.
Counter : 800 Pageviews.  

1  2  

นกละเมอหลงเวลา
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add นกละเมอหลงเวลา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.