นกละเมอ
Group Blog
 
All blogs
 
๔๕ พรรษา ของ พระพุทธเจ้า - บวชทำไม ? (ต่อ)

แต่ว่าการบวชนั้น ก็มิได้มีผู้มุ่งผลอย่างสูงดั่งกล่าวนี้เสมอไป ดังในมิลินทปัญหา พราเจ้ามิลินท์ ได้ถาม พระนาคเสน ว่า ประโยขน์สูงสุดของการบวชคืออะไร ? พระนาคเสนท่านก็ตอบว่าประโยขน์สูงสุดของการบวชนั้น คือพระนิพพาน คือความดับ เพราะไม่ยึดมั่นอะไรทั้งหมด แต่คนก้มิใช่บวชเพื่อประโยชน์นี้ทั้งหมด บางคนบวชเพราะหลีกหนีราชภัยบ้าง หลีกหนีโจรภัยบ้าง ปฏิบัตตามพระราชประสงค์หรือตามประส่งค์ของผู้มีอำนาจบ้าง ต้องการจะพ้นหนี้สินบ้าง ต้องการความเป็นใหญ่บ้าง ต้องการที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างสะดวกสบายบ้าง เพราะกลัวภัยต่างๆบ้าง พระมิลินท์ ก็ถามว่า พระนาคเสนเล่า เมื่อบวชมุ่งประโยชน์อย่างนี้หรือ หรือมุ่งอย่างไร พระนาคเสนก็ตอบว่าเมื่อท่านบวชนั้น ท่านยังเป็นหนุ่ม ก็ไม่ได้คิดจะมุ่งประโยชน์อย่างนี้ แต่ว่าท่านคิดว่า พระสมณศักยบุตรเหล่านี้เป็นบัญฑิตคือเป็นผู้ฉลาด จักสามารถยังเราให้ศึกษาได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้บวชเพื่อศึกษา ครั้นท่านได้ศีกษาแล้ว ท่านจึงได้เห็นประโยชน์ของการบวช เพราะฉะนั้น ก็เป็นอันว่าท่านบวชก็ด้วยมุ่งประโยชน์เช่นนั้นเหมือนกัน พระนาคเสนท่านตอบพระเจ้ามิลินท์ดั่งนี้
แม้ในบัดนี้ การบวชจำม่ได้มุ่งทำที่สุดแห่งกองทุขก์ทั้งสิ้น แต่ก็อาจกล่าวได้ว่า บวชด้วยมุ่งจะศึกษาพระพุทธศาสนาและปฏิบัติพระพุทธศาสนาอย่างละเอียดประณีต เท่าที่เมื่อเข้ามาบวชแล้วจึงจะปฏบัติได้ เพราะฉะนั้น แม้มีความมุ่งจะบวชศึษาและปฏิบัติดังกล่าวนี้ ก็ชื่อว่าเป็นความมุ่งที่ถูกต้องเหมือนกัน ในพระสูตรหนึ่ง ท่านได้แสดงถึงคนที่มุ่งดีเข้ามาบวช แต่ว่าเมื่อบวชแล้วก็ยังมีการได้ต่างๆกัน.
อย่างที่ ๑ เรียกว่า บวชได้กิ่งใบของพรหมจรรณ์ คือบวชแล้วก็มุ่งแต่จะได้ลาภ ได้สักการะ ได้สรรเสริญ เมื่อได้ก็พอใจเพียงเท่านั้น.
อย่างที่ ๒ เรียกว่า บวชได้กะเทาะเปลือกของพรหมจรรย์ คือก็ไม่ได้มุ่งจะได้ลาภสักการะ และสรรเสริญที่เดียว แต่ก็ปฏิบัติในศิลให้บริสุทธิ์บริบรูณ์ด้วย และก็พอใจเพียงว่าจะปฏิบัติในศิลให้บริสุทธิ์บริบรูณ์เท่านั้น.
อย่างที่ ๓ เรียกว่า บวชได้เปลือกของพรหมจรรย์ คือเมื่อปฏิบัติในศีลให้บริสุทธิ์บริบรูณ์ได้แล้ว ก็ปฏิบัติในสมาธิให้บริบรูณ์ด้วย และก็พอใจเพียงสมาธิเท่านั้น.
อย่างที่ ๔ เรียกว่า บวชได้กระพี้ของพรหมจรรย์ คือเมื่อปฏิบัติในศีล ในสมาธิ ให้บริบรูณ์แล้ว ก็ปฏิบัติต่อไปจนเกิดเกิดญาณทัสนสนะ คือความรู้ความเห็นธรรมะขึ้นด้วย และก็พอใจเพียงที่รู้ที่เห็นเท่านั้น.
อย่างที่ ๕ เรียกว่า บวชได้แก่นของพรหมจรรย์ คือว่าได้ปฏิบัติสืบขึ้นไปจนได้วิมุตติ คือความหลุดพ้นจากิเลสและกองทุขก์บางส่วนหรือสิ้นเชิง ตามสามารถของการปฏิบัติ.
อย่างที่ ๕ นั้นจึงจะชื่อว่าได้บรรลุแก่นของการบวช หรือบวชได้แก่นของพรหมจรรย์.
การบวชได้อะไรบ้างตามชั้นๆนี้ อันที่จริงเมื่อได้บวชตั้งใจปฏิบัติในศีลให้บริสุทธิ์บริบรูณ์ขืนมา ก็ชื่อว่าเปนการบวชดีได้ แต่ยังมีกิจที่จะต้องทำให้สูงขึ้นไปหว่านั้นอีกก็ต้องทำต่อไป ไม่หยุดอยู่เพียงเท่านั้น.
การบวช จะได้ประโยชน์ของการบวชตั้งแต่ขั้นต้นขั้นต่ำดั่งกล่าวมานี้ ก็ต้องอาศัยการบวชใจประกอบอีกส่วนหนึ่ง เมื่อบวชพร้อมทั้งกายทั้งใจแล้ว ก็จะเป็นการบุญเป็นการกุศลอย่างสูง เป็นบุญก็คือเป็นเครื่องชำระความชั่ว เป็นกุศลก็คือเป็นกิจของคนฉลาดชำระความชั่วของเราเอง และเราเองก็เป็นผู้ฉลาดขึ้นเอง เป็นความฉลาดบริสุทธิ์.
เรื่องการบวชตามที่กล่าวนี้ เป็นการแสดงประกอลความรู้และความเข้าใจ ควรจะสนใจและตั้งใจทำการบวชแม้ชั่วคราวให้เป็นกุศลอย่างสูง เท่าที่สามารถจะทำได้.



Create Date : 29 สิงหาคม 2551
Last Update : 17 กันยายน 2551 9:33:23 น. 0 comments
Counter : 392 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นกละเมอหลงเวลา
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add นกละเมอหลงเวลา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.