Group Blog
 
All blogs
 
คำแนะนำและการเตรียมตัวสำหรับบัณฑิตสำหรับการจ้างช่างภาพรับปริญญา

 ในส่วนนี้จะเป็นการรวบรวม คำแนะนำต่างๆ รวมทั้งการเตรียมตัวสำหรับบัณฑิตที่จะเข้ารับปริญญา หรือจะจ้างช่างภาพครับ โดยผมจะหารายละเอียดมาลงเพิ่มเติมให้เรื่อยๆ เท่าที่จะนึกได้ ส่วนใหญ่การเตรียมตัวหลักๆ ก็จะเหมือนกัน แต่อาจจะมีแตกต่างกันในรายละเอียดของแต่ละมหาวิทยาลัย
พวกรายละเอียดตรงนี้ ผมอาจไม่ได้จัดเรียงให้เป็นหมวดหมู่นะครับ นึกอะไรได้ก็พิมพ์
-----------------------------------------------------------------------------------
- ว่ากันเรื่องการรีทัชภาพ บางคนอาจจะกลัวว่าภาพมันจะไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่งอธิบายได้แบบนี้ครับ ในการทำงานของผมจะแบ่งการรีทัชภาพเป็นสองแบบ คือ 1.แต่งภาพให้ดูแปลก เช่น แต่งสีสันพิเศษหรือการใส่เอฟเฟคต่างๆ ลงในภาพ ซึ่งตอนส่งงาน ผมก็จะให้ภาพต้นฉบับที่สีสันเป็นธรรมชาติไปด้วย 2.รีทัชภาพให้ดูเป็นธรรมชาติ ตรงนี้ทำเพื่อแก้ข้อบกพร่องบางอย่างหรือทำให้ภาพที่ดีอยู่แล้วสวยยิ่งขึ้น เช่น การลบสิว ริ้วรอยต่างๆ หรือเหงื่อบนหน้าบัณฑิต เพราะบางคนอาจแต่งหน้ามาไม่เนียน ยังมีริ้วรอยอยู่ หรือตอนเช้าแต่งหน้ามาดีแล้ว แต่ในงานรับปริญญามีทั้งร้อนและแดด ทำให้พวกเครื่องสำอางที่แต่งมาหลุดร่อนออกมาเห็นเป็นรอย ซึ่งการรีทัชจะช่วยให้บัณฑิตดูดีขึ้นโดยที่ภาพยังดูเป็นธรรมชาติดูเหมือนไม่ได้แต่ง ซึ่งตรงนี้จะเกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวของบัณฑิตด้วย เพราะถ้าบัณฑิตแต่งหน้าทำผมมาดี ช่างภาพก็จะทำงานง่าย ไม่ต้องรีทัชเยอะ การทำงานก็จะเร็วขึ้น ส่งงานได้เร็วขึ้นครับ
 photo Re-Ann-KMUTT03-PB060124-3_zps36cgzhht.jpg
ภาพงานรับปริญญา พระจอมเกล้าธนบุรี บัณฑิตแต่งหน้าทำผมมาสวยแล้ว ที่จริงภาพที่ยังไม่แต่งก็สามารถใช้งานได้เลย แต่ในภาพยังเห็นสิวเม็ดเล็กๆ และริ้วรอยต่างๆ บนหน้าบัณฑิตอยู่ เพื่อความสวยงามยิ่งขึ้น ภาพนี้ผมรีทัชโดยการลบสิวและริ้วรอยต่างๆ และปรับผิวให้เนียนขึ้นครับ
------------------------------------------------------------------------------------
 photo Re-Ann-KMUTT03-PB060123-3_zpsk5a7hdod.jpg
ปัญหาที่พบบ่อยๆ อีกย่างคือบัณฑิตที่ติดขนตาปลอม ซึ่งอาจจะหลุดได้ เพราะต้องเดินเยอะตากแดด พอขนตาโดนเหงื่อก็มักจะหลุด ถ้าบัณฑิตติดขนตาปลอมก็เผื่อกาวติดขนตาไปด้วย

------------------------------------------------------------------------------------
- จะเลือกจ้างช่างภาพรับปริญญาวันใหน
ในพิธิรับปริญญา ก็จะมีวัน ซ้อมย่อย ซ้อมใหญ่ รับจริง บาง ม.ก็จะมีวันถ่ายภาพหมู่ หรือ Photo day ซึ่งก็ง่ายๆ ครับ ก็เลือกจ้างในวันที่แต่งชุดครุยเต็มยศ ซึ่งในตารางเวลาจะระบุว่า วันใหนแต่งตัวยังไง
ส่วนอีกวันที่นิยมถ่ายกันคือ ถ่ายนอกรอบ คือบัณฑิตนัดกับช่างภาพในวันอื่นๆ ที่ไม่ใช่วันที่มีงาน อาจจะก่อนหรือหลังรับปริญญา มาถ่ายภาพในชุดครุย เหตุผลหลักคือหลีกเลี่ยงคนเยอะ
-จะเลือกจ้างช่างภาพวันซ้อมกับรับจริงที่คนเยอะๆ หรือจ้างถ่ายนอกรอบที่คนน้อยๆ
ถ้าบัณฑิตไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ก็จ้างทุกวันเลย แต่ถ้างบจำกัด โดยส่วนตัวผมแนะนำให้เลือกจ้างวันรับจริง วันซ้อม หรือวันถ่ายภาพหมู่ก่อนเป็นหลัก ถ้างบเหลืออยากได้ภาพเดี่ยวสวยๆ ค่อยจ้างนอกรอบ เพราะ
1.การถ่ายภาพรับปริญญา ไม่ใช่ถ่ายภาพแฟชั่น ในชีวิตคุณกว่าจะเรียนจบคุณต้องมีพ่อแม่ พี่น้อง ญาติ เพื่อน ซึ่งคนเหล่านี้มักจะมาแสดงความยินดีในวันรับจริง วันซ้อม หรือวันถ่ายภาพหมู่ บางทีก็เป็นงานรวมญาติ เราอาจเจอเพื่อนหรือญาติบางคนเป็นครั้งสุดท้ายในงานนี้ ก่อนที่จะแยกย้ายกันไป ส่วนเรื่องคนเยอะ ช่างภาพที่คุ้นกับงานรับปริญญาสามารถจัดการให้ภาพออกมาดูดีได้ แม้มันจะไม่สมบูรณ์แบบเหมือนถ่ายนอกรอบ
2.ในชีวิตเรา มีโอกาสรับปริญญาไม่กี่ครั้ง ซึ่งวันสำคัญของงานรับปริญญาก็จะเป็น วันรับจริง วันซ้อม หรือวันถ่ายภาพหมู่ ถ้าคุณรับปริญญาใบเดียวก็เท่ากับในชีวิตคุณมีโอกาสพิเศษแบบนี้แค่ 1-3 วัน ถ้าจะบัณทึกความทรงจำที่พิเศษ ก็ควรให้ความสำคัญกับสามวันนี้เป็นหลัก ส่วนการถ่ายภาพสวยๆ นอกรอบ คุณสามารถจ้างช่างภาพมาถ่ายเมื่อไรก็ได้ ทั้งก่อนรับ หรือถ่ายวันงานแล้วไม่พอใจ ก็ถ่ายแก้ตัวอีกก็ได้ หรือแม้แต่คืนชุดครุยไปแล้ว ถ้าอยากถ่ายนอกรอบ คุณก็สามารถไปเช่าชุดครุยมาถ่ายใหม่ก็ได้
3.อารมณ์ และบรรยากาศต่างๆ ในงานรับปริญญา เช่นการแต่งหน้าทำผมแบบจัดเต็มของบัณฑิตหญิง การบูมของน้องๆ พิธีการที่เป็นเอกลักษณ์ของ ม.ต่างๆ ที่มีเฉพาะในวันเหล่านี้เท่านั้น เราไม่สามารถจัดฉากขึ้นมาภายหลังได้

* ตรงนี้เป็นแนวคิดให้ตัดสินใจเองนะครับ สุดท้ายบัณฑิตเป็นคนตัดสินใจเอง ซึ่งผมก็ยินดีถ่ายให้ทั้งนอกรอบ วันซ้อมและวันจริงครับ ถ้าสงสัยในรายละเอียดหรือยังตัดสินใจไม่ได้ สามารถสอบถามหรือปรึกษาผมได้ครับ
------------------------------------------------------------------------------------
การวางแผนจ้างช่างภาพ สำหรับบัณฑิต ม.รามคำแหง
 photo Kumg Ram13-IMG_7715-3_zpsbo03saew.jpg
สำหรับ ม.รามคำแหง จะแบ่งการรับปริญญาเป็นช่วงเช้า กับช่วงบ่าย
ถ้ารับปริญญาช่วงเช้า จะรายงานตัวเช้ามืด ประมาณ ตีห้า-หกโมง ก็จะเสร็จประมาณ 11.00-12.00 ก็จ้างช่างภาพครึ่งวันบ่ายได้เลย
ถ้ารับบ่าย ในตารางจะระบุให้รายงานตัวประมาณ 8.00 น. แต่จริงๆจะเลท (เผื่อพวกที่มาสาย เพราะรามรถติด) คือ จะเริ่มเรียกบัณฑิตจริงๆ ประมาณ 8.30 และจะปิดประตูประมาณ 9.30  เราก็มีเวลาถ่ายตั้งแต่เช้าจนถึงประมาณ 9.00 ก่อนเข้ารายงานตัว แล้วก็จะเสร็จประมาณ 15.00 น. อันนี้แนะนำให้จ้างเต็มวัน ก็แบ่งเป็น ช่วงเช้าถ่ายเดี่ยวเยอะๆ หน่อย ส่วนช่วงบ่ายก็เน้นถ่ายกับเพื่อนๆ ครับ
------------------------------------------------------------------------------------

 photo 141102-Boong-340-3_zpsq2kpmq6z.jpg
สำหรับบัณฑิต ABAC หรือ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
งานรับปริญญาของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ บัณฑิตจะนิยมจ้างช่างภาพในวัน Photo Day และวันรับจริง ซึ่งทั้งสองวันคนจะเยอะและวุ่นวายหน่อย สำหรับบัณฑิตที่อยากเก็บภาพบรรยากาศสวยๆ ใน ม.แบบสบายๆ มีอีกวันที่ผมแนะนำคือ วันซ้อม ซึ่งวันนั้นคนจะไม่เยอะ บัณฑิตสามารถเก็บภาพเดี่ยว ภาพกับเพื่อนบัณฑิต รวมทั้งอาจนัดครอบครัวไปถ่ายด้วยก็ได้ครับ
------------------------------------------------------------------------------------

 photo May3-IMG_2486_-2_fused-2_zps6k17j9ul.jpg
งานรับปริญญา ม.เกษตรศาสตร์
วันรับจริง ในหมายกำหนดการของ ม.เกษตร ปกติก็รายงานตัว 10-11.00 น. เป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว บัณฑิตไม่ต้องกังวลมาก ถ้าเริ่มถ่ายรูปประมาณ 7.00 น. ผมรับรองว่าได้รูปเยอะและถ่ายจนเหนื่อยแน่นอน และของ ม.เกษตรจะมีช่วงเดินแถวเข้าสู่อาคารจักรพันธ์ฯ โดยจะเริ่มเดินแถวประมาณ 12.00 น. ซึ่งผมจะรอถ่ายให้ด้วย

 photo Noon KU-P7290884-6_zpsmwg6evga.jpg
งานรับปริญญา ม.เกษตรศาสตร์
สำหรับ ม.ที่ชุดครุยต้องสวมหมวกด้วย เช่น ม.เกษตรศาสตร์ ABAC RBAC ม.หอการค้าไทย อย่าลืมเช็คด้วยว่าใส่หมวกหรือถอดหมวกจะดูดีกว่ากัน เพราะจากประสบการณ์ มีบัณฑิตที่ผมถ่ายให้ไม่กี่คนที่ใส่หมวกแล้วยังดูดี (ส่วนใหญ่เวลาใส่หมวกแล้วกรามจะดูใหญ่ขึ้น) ถ้าถอดหมวกแล้วดูดีกว่าตอนใส่หมวก ก็เลือกใส่เฉพาะช็อตที่ต้องการดูเต็มยศก็พอครับ

------------------------------------------------------------------------------------
งานรับปริญญา ม.มหิดล
งานรับปริญญาของ ม.มหิดล จะแบ่งออกเป็น ซ้อมย่อย ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ซ้อมใหญ่ และรับจริง ซึ่งทุกวันจะมีเวลามากพอสำหรับการถ่ายภาพ สำหรับบัณฑิตที่ไม่ได้เรียนที่ศาลายา เช่น คณะทัตแพทยศาสตร์ ถ้าต้องการเก็บภาพในที่ที่เราเรียนก็เลือกจ้างช่างภาพในวันซ้อมย่อยครับ

 photo Re-Jan MU-IMG_4257-3_zpsfheyifuh.jpg
------------------------------------------------------------------------------------

ตัวอย่าง การวางแผนจ้างช่างภาพ สำหรับบัณฑิต จุฬาฯ
สำหรับบัณฑิต จุฬาฯ ที่ต้องการจ้าง ช่างภาพ สำหรับงานรับปริญญา แต่ยังงงๆ ว่าจะจ้างวันใหน เต็มวัน หรือครึ่งวันดี ลองไล่อ่านดูนะครับ แล้วจะเข้าใจ

        
  • หมายเหตุ เนื่องจากผมเขียนไว้นานแล้ว ตารางเวลาจะไม่ใช่ปีปัจจุบันนะครับ แต่ก็สามารถนำมาเทียบเคียงได้ แต่ถ้าบัณฑิตคนใหนยังไม่เข้าใจ ก็สอบถามได้ ยินดีให้คำแนะนำครับ


Re-140608-PAT-162-2

สำหรับบัณฑิตจุฬา ถ้าต้องการจ้าง ช่างภาพรับปริญญา นอกจากวันรับจริงที่รู้กันอยู่แล้วว่าต้องใส่ชุดครุย ส่วนอีกวันที่ใส่ชุดครุยเต็มยศ แต่งหน้าทำผมแบบจัดเต็ม ก็คือวัน "ถ่ายภาพหมู่" นะครับ ซึ่งปกติจะเป็นวันเสาร์ หรืออาทิตย์ (ตรงนี้เฉพาะของจุฬานะครับ ม.อื่นๆ ก็มักจะใสครุยวันซ้อมกับวันจริง)

130630-Ploy-0043-4

เมื่อรู้วันแล้ว ก็มาเช็คเวลา ว่าจะจ้างช่างภาพ เต็มวัน หรือครึ่งวัน เช้าหรือบ่าย ก็ให้ดูว่าในวันถ่ายภาพหมู่ จะต้องซ้อมหรือเปล่า ให้ดูที่

https://www.reg.chula.ac.th/prac56.pdf

CU_2353899421001983608_o

จะเห็นว่าของคณะเศรษฐศาสตร์ มีซ้อมครั้งที่ 1 วันที่ 12 มิ.ย. และซ้อมครั้งที่ 2 วันที่ 19 มิ.ย. ซึ่งไม่ตรงกับวันถ่ายภาพหมู่ แสดงว่าในวันถ่ายภาพหมู่ บัณฑิตคณะเศรษฐศาสตร์มาถ่ายภาพอย่างเดียว ไม่ต้องเข้าซ้อม สามารถเลือกจ้างตามเวลาที่สะดวกได้เลยครับ

CU_5204589907657023027_o

ต่อไปก็เป็นวันรับจริง ยกตัวอย่าง คณะเศรษฐศาสตร์ เช่นกัน

900-130630-Ploy-0817-5

จากตาราง

https://www.reg.chula.ac.th/fac56.pdf

บัณฑิตคณะเศรษฐศาสตร์ จะรับในวันที่ 4 ก.ค. รอบบ่าย ซึ่งจะเริ่มรายงานตัวประมาณ 11.00 น. เสร็จพิธีประมาณ 16.00 น. ซึ่งบ้ณฑิตสามารถเลือกได้ว่า จะจ้าง ช่างภาพ เฉพาะครึ่งวันเช้า หรือ เต็มวันก็ได้ครับ

130630-Ploy-0035-3

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อีกตัวอย่าง ก็เป็นของจุฬา เหมือนกัน แต่เป็นของคณะรัฐศาสตร์ ซึ่งบัณฑิตเตรียมตัวมาอย่างดี งานก็ราบรื่นครับ

งานรับปริญญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

วันถ่ายภาพหมู่

              120701-Pam1-320-10

               เป็นงานของบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ ปริญญา ตรี ซึ่งบัณฑิตจะต้องเข้าซ้อมด้วย โดยจะเข้าซ้อม รับปริญญา

               ประมาณ 08.30-11.30 ดังนั้น จะมีเวลาถ่ายภาพจริงๆ ช่วงบ่าย

120701-Pam1-508-7

            สำหรับบัณฑิตที่ต้องซ้อม รับปริญญา ช่วงเช้า ในวันถ่ายภาพหมู่ สามารถจ้างช่างภาพได้ ในช่วงครึ่งวันบ่าย

               จะสะดวกที่สุด และหลังจากออกจากหอประชุมแล้ว ควรรีบหาช่างภาพให้เจอก่อน เพื่อที่จะได้ตามเก็บภาพ

               ตอนขึ้นสแตนด์ครับ

Pam2-3-P7196247-5

               สำหรับงานรับปริญญา วันรับจริง ของจุฬาฯ ปกติจะแบ่งวันรับจริงเป็น 2 วัน และแบ่งเป็น รับภาคเช้า และ บ่าย

               ปีนั้น คณะรัฐศาสตร์ เข้า รับปริญญาช่วงบ่าย ดังนั้น จะมีเวลาถ่ายภาพเยอะๆ ในช่วงเช้า

               วันนั้นฝนตกช่วงเช้า อากาศไม่ดี แต่ยังพอถ่ายภาพได้ ซึ่งช่วงเช้าบัณฑิตมีเวลา ถ่ายภาพถึงประมาณ 11.00 น.

               ก่อนเข้าหอประชุม

120719-Pam-427-4

               บัณฑิตจุฬาฯ ที่รับปริญญาภาคบ่าย จะออกจากหอประชุมประมาณ 16.00 น.

               สำหรับบัณฑิตที่ รับปริญญา ช่วงบ่าย สามารถเลือกจ้างช่างภาพได้ทั้ง ครึ่งวันเช้า หรือ ทั้งวันก็ได้

               ซึ่งถ้าจ้างแบบเต็มวัน จะดีตรงที่ได้เก็บภาพในช่วงสำคัญ เช่น ตอนถวายบังคมลา เก็บภาพพร้อมปริญญาบัตร

               รวมทั้งได้ถ่ายภาพแก้ตัวเผื่อวันนั้นมีฝนตก ซึ่งช่วงเย็นๆ คนก็ยังคึกคักอยู่ สามารถ ถ่ายภาพได้จนแสงหมด

               ก็ประมาณ 18.30 น. ครับ

120719-Pam-562-5

สำหรับบัณฑิตจุฬา ที่จะรับปริญญาปีนี้ ก็ลองเทียบตารางเวลาดูนะครับ บัณฑิตที่รับบ่าย เวลาจะใกล้เคียงกัน
ส่วนคนที่รับเช้า วันรับจริงจะออกมาประมาณ 11-12 น.

Pam2-3-P7196246-6

ส่วนการเตรียมตัวอื่นๆ ก็พวกเครื่องสำอางสำหรับบัณฑิตหญิง เพราะพอออกจากหอประชุมก็หน้าซีดแล้ว อีกอย่างก็คือร่ม เอาไว้ทั้งกันแดด เพื่อไม่ให้หน้าเยิ้ม หรือกันฝน
ปัญหาอีกอย่างก็คือ รองเท้ากัด ซึ่งเจอบ่อยมาก ควรเตรียมรองเท้าสำรองไว้ด้วย อาจไม่ต้องถึงกับรองเท้าแตะ เพราะเวลาถ่ายรูปออกมาจะดูแปลกๆ อาจเป็นรองเท้าทรงสุภาพแบบในรูปตัวอย่างก็ได้ครั


Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2559 16:21:25 น. 0 comments
Counter : 5947 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

too-CH
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add too-CH's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.