ขอโม้ ขอเม้า ขอฝอยเรื่อง เซ็กส์ เพศวิถี สังคม การเมือง วัฒนธรรม การศึกษา วิวาทะ ว่าด้วยเรื่องมโนสาเร่
 
คำอัตวินิจฉัย การเลือกตั้งปี 50 “ประชาชน” “ประชาธิปไตย” “การเมืองไทย” หลังอำนาจรัฐประหาร

คำอัตวินิจฉัย การเลือกตั้งปี 50 “ประชาชน” “ประชาธิปไตย” “การเมืองไทย” หลังอำนาจรัฐประหาร บทวิพากษ์ฉบับมานุษยวิทยามองการเมือง

ชลเทพ ปั้นบุญชู

ภาคปฐมบท ว่าด้วยการเมืองก่อนรัฐประหาร

ท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการยุบสภาในปี2549 ในสมัยการปกครองของ คุณทักษิณ ชินวัตร โดยอดีตที่ผู้นำฝ่ายค้านและภาคีไม่ส่งผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งด้วยเหตุที่การจัดการเลือกตั้งดังกล่าวใช้คำสั่งโดยขาดความเป็นธรรม คำสั่งดังกล่าวมุ่งเน้นถึงผลทางการเมือง จนนำมาสู่การเลือกตั้งแบบไร้คู่แข่ง พรรคเดียว ปกครองประเทศซึ่งถือเป็นวิกฤติที่เผชิญ ทำให้ศาลมีคำสั่งให้การเลือกตั้งในปี 49 เป็นโมฆะ และเกิดการรัฐประหารขึ้นในวันที่ 19 กันยายน 2550 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพื่อยุติความขัดแย้งของฝ่ายการเมือง และลดการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มที่สนับสนุนและต่อต้านรัฐบาล

แม้ว่าการเข้ามาของคณะปฏิรูปจะมีแนวคิดที่จะลดความขัดแย้งของสังคมลง แต่ต้องเข้าใจว่าวิถีทางดังกล่าวมิได้เป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติแบบประชาธิปไตย หรือทีเรียกกันว่า เอาเผด็จการล้างประชาธิปไตย เพื่อกลับคืนประชาธิปไตยภายใต้เผด็จการ และที่สำคัญยับังเกิดสิ่งมหัศจรรย์ของประเทศไทยอย่าง รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ไว้เป็นมรดกตกทอดอีกด้วย

ภาคเนื้อหาว่าด้วยการเลือกตั้ง ปี2550 กับอนาคตประเทศไทย

บรรยากาศการเมืองที่คึกคักแม้ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะถูกจำกัดวิธีการหาเสียงแบบเดิมๆในอดีต และมีข้อห้ามจิปาถะมากมายหรือที่เรียกว่ากฏเหล็กแห่งกกต และยังพบว่าพัฒนาการการซื้อเสียงในประเทศไทยถูกปรับเปลี่ยนให้มีลักษณะที่ซับซ้อนขึ้น จนเกิดรูปแบบการกระทำผิดที่แปลกประหลาดกว่าในอดีตผมนี่นับถือเลยจริงๆสุดยอดครับวัฒนธรรมการซื้อเสียงที่ดัดแปลงเพื่อใช้ได้กับสภาวะที่แปรเปลี่ยนไปจากอดีตเพื่อสอดรับกับปัจจุบันสมกับเป็นนักซื้อเสียงมืออาชีพ แยบยล กลโกงแนบเนียน
ว่าด้วยการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ ศึกแห่งประชาธิปไตย ศึกแห่งสองนครา
การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ลงชิงชัยภายใต้พรรคมากมาย ทั้งพรรคเฉพาะกิจหรือพรรคร่างทรงไทยรักไทยเดิมอย่างพลังประชาชน(คนเหนือและอีสาน)สานต่ออุดมการณ์ประชานิยม พรรคที่แยกวงจากไทยรักไทยเดิมเพื่อลดกระแสความขัดแย้งและพยายามวางตัวเป็นกลางสร้างสมานฉันท์ พรรคเก่าแก่ผู้บุกเบิกระบอบประชาธิปไตยคู่บุญกับประเทศไทยมายาวนานกว่าหกสิบปี อย่างประชาธิปปัตย์ รวมถึงพรรคชาติไทยที่มีเก๋าและน่าจับตามอง ศึกสังเวียนนี้จึงมีนัยยะสำคัญทางการเมืองมากมายที่น่าสนใจซึ่งผมตั้งข้อสังเกตไว้ดังนี้
ประการที่แรก ผลการเลือกตั้งดังกล่าวเผยให้เห็นถึงประเทศไทยถูกแบ่งเป็นสองนคราซึ่งหมายถึงประชากรซีกบนส่วนใหญ่เทคะแนนให้กับพรรคพลังประชาชน ที่เรียกได้ว่าถล่มทลายส่วนประชากรด้านล่างเทคะแนนให้กับประชาธิปัตย์อย่างถล่มทลายเช่นเดียวกัน ส่วนพรรคอื่นๆเบียดมาได้นิดหน่อยแบ่งที่นั่งกันไปประปรายจนเกิดปรากฏการณ์สองนครากับการเลือกขั้วอำนาจทางการเมือง ซึ่งแนวคิดนี้ได้มีผู้ได้พยาการณ์ไว้ตั้งแต่การลงประชามติรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา สส หลายท่านสอบตก หรือช้าง(ขนาดใหญ่)ล้ม จากผลการเลือกตั้งดังกล่าว จึงตีความได้ว่าฝ่ายหนึ่งไม่เอาทักษิณ กับอีกฝ่ายหนึ่งไม่เอา(คมช)และ(ปชป) แน่นอนว่าหากพลังประชาชนได้มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลย่อมหมายถึงการเผชิญหน้ากับผู้ล้มล้างระบอบทักษิณอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะผมเห็นว่าเสียงดังกล่าวที่ได้มามีส่วนเกี่ยวข้องกับบารมีคุณทักษิณ ผมเลยย้อนกับไปตั้งคำถามว่า แล้วตกลงที่ตั้งคำถามกับรัฐบาลชุดที่แล้วโดยชี้ประเด็นการคอรัปชั่นอย่างรุนแรงของฝ่ายบริหารจนเป็นเหตุให้การรัฐประหาร ประสบความล้มเหลวเพราะเรื่องคุณธรรมตกไปยู่ในประเด็นรองๆหรือแทบไม่มีผลอะไรเลยเพราะพรรคไทยรักไทยยังกลับมาได้อย่างท่วมท้น แต่ประเด็นหลักๆคือคนที่เลือก พปช เชื่อมโยงกับเรื่องปากท้องมาก่อนคุณงามความดีนั่นเอง นี่คือสิ่งที่ผมมองว่าประชาชนได้แสดงเจตารมณ์ชัดเจนต่างมุมมองระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบทซึ่งมีสภาพบริบทและวิกฤติที่ต่างกัน ในขณะเดียวกันเป็นที่น่าสังเกตว่ากรุงเทพมหานครกลับเทคะแนนให้กับปชปอย่างพลิกความคาดหมายเกือบทุกที่นั่งแทบไม่เจียดเก้าอี้ให้พปช หรือพรรคอื่นๆเลย ทำให้อดีตสว ผู้มีชื่อเสียงตกเก้าอี้กันเป็นแถว โพลที่ออกมาจึงไม่ตรงกับผลการเลือกตั้งจริงอย่างที่หลายฝ่ายได้คาดการณ์ไว้ ในประเด็นนี้ทางภูมิรัฐศาสตร์แล้วการรุกคืบไม่ถึงเมืองหลวงถึงแม้ว่าจะจะได้ชัยชนะเกือบทุกสนามแสดงว่ายังไม่สามารถมีชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จ ที่จะปกครองประเทศอย่างราบรื่นได้ เพราะเมืองหลวงเป็นศูนย์กลางการปกครองและมีความเกี่ยวเนื่องกับเสถียรภาพอย่างมากของการปกครองดังนั้นจึงเป็นตัวแปรสำคัญที่คู่แข่งต้องการชิงชัยที่จะมีชัยชนะในพื้นที่แห่งนี้
ประการต่อมาการเลือกตั้งครั้งนี้ได้สร้างวัฒนธรรมทางการเมืองใหม่มีทิศทางไปในลักษณะสองขั้วอำนาจใหญ่ ผมเชื่อว่าในอนาคตพรรรคเฉพาะกิจจะหายไปพร้อมกับสถาบันทางการเมืองที่ต้องสร้างความเข้มแข็งแบบขั้วอำนาจต่างให้เป็นการแข่งขันแบบระบบพรรคการเมือง มากกว่าตัวบุคคล และที่สำคัญนโยบายพรรคจะเป็นสิ่งที่สำคัญคัญที่สุดในการแข่งขันรวมไปถึงระบบการเมืองจะต้องรับผิดชอบต่อประชาชนมากขึ้น ซึ่งแตกต่างกับในอดีตที่นโยบายหาเสียงเป็นเพียงลมปากของนักการเมืองที่หวังผลการเลือกตั้งแต่มิได้สานเจตนาที่ได้ให้ไว้กับประชาชนอย่างแท้จริง ภาคการมืองและประชาชนถูกแบ่งแยกออกจากกัน และผมยังเชื่อว่าการแข่งขันที่จะให้อะไรกับประชาชนจะยิ่งทวีความดุเดือดมากกว่านี้ ให้มากย่อมได้เปรียบมาก ให้น้อยย่อมเสียเปรียบมาก จนเกิดระบอบประชาธิปไตยประชานิยม ขึ้นในสังคมไทย
ประการสุดท้ายการเลือกตั้งดังกล่าวยังสร้างระบอบประชาธิปไตยฐานพีระมิดขึ้น คือคนจนที่มีฐานประชากรมากที่สุด กับชนชั้นกลางที่มีฐานอยู่ในช่วงกลางๆ และผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีอยู่ในระบบบนสุด หากจะสร้างระบอบประชานิยมขึ้นจะต้องใช้ฐานนี้คำนวญอันจะสามารถจัดลำดับเก้าอี้ที่นั่งได้อย่างแม่นยำ คำนิยามของประชาธิปไตยของสามฐานนี้มีคำนิยามที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าพรรคไหนจะตีโจทย์แตกที่จะเจาะกลุ่มไหนได้มากกว่ากัน และพรรคการเมืองต้องตีความหมายของคำนิยามประชาธิปไตยของแต่ละกลุ่มเพื่อสามารถเจาะฐานดังกล่าวได้สำเร็จ
ว่าด้วยเรื่องพรรคการเมือง คะแนนเสียง หน้าตาสภาในอนาคต
หากจะให้คะแนนในการทำการบ้านหรือเตรียมการผมยกให้ ปชป พี่มาร์คงานนี้ตั้งใจครับลงตั้งแต่เหนือกลางอีสาน ส่วนใต้ให้คุณชวนลง ความตั้งใจกับการเลือกตั้งผมให้เกือบเต็มเลย ถึงแม้ว่าจะดีอย่างไรแต่ก็ยังไม่พอที่จะได้รับการเลือกตั้ง อาจเป็นเพราะผลงานพี่มาร์คยังไม่เคยเป็นที่ประจักษ์เลยจึงยังมิอาจทราบได้ว่าพี่มาร์คจะบริหารงานได้ดีจริงอย่างที่ได้พูดเอาไว้หรือไม่ (ซึ่งจริงๆแล้วอาจจะดีมากๆก็ได้นะครับ) ส่วนพลังประชาชนนี่โชคดีครับกินบุญเก่า และยังได้รังสีอินฟาเรทจากอดีตนายกทักษิณจึงทำไห้ได้รับอานิสงฆ์จากการเลือกตั้งครั้งนี้แบบที่เรียกว่าชนะขาด และไม่ต้องทำการบ้านมากนักเพียงแค่พูดถึงนโยบายเก่าๆที่เคยได้ทำไว้ในอดีต ส่วนพรรคอื่นๆก็อาศัยฐานเสียงเดิมที่พอมีอยู่บ้าง แต่ก็ยังมิอาจเจาะถึงใจประชาชนอย่างสองพรรคใหญ่ที่ได้รับคะแนนเสียงในระบบสัดส่วนอย่างล้มหลาม

ผลจากการเลือกตั้งพลังประชาชนได้รับคะแนนเสียง233 ที่นั่ง(ยังไม่นับเหลืองแดงที่กำลังตามมาอีกอื้อ) ส่วน ปชป ได้รับคะแนนเสียง165 ที่นั่ง ชท ได้รับคะแนนเสียง 37 ที่นั่ง พผด ได้รับคะแนนเสียง26 ที่นั่ง รชพ ได้รับคะแนน 9 ที่นั่ง มชป 7 ที่นั่ง ปชร 5 ที่นั่ง ทำให้ผมเห็นถึงความอัจฉริยะภาพของนักการเมืองไทยที่มีความพยายามจัดสมการการเมืองใหม่หรือทฤษฎีรัฐคณิตศาสตร์ ออกมากันหลายสูตร จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองรายวันรวมไปถึงการเล่นจิตวิทยาการเมืองเพื่อชิงไหวชิงพริบกันระหว่าพรรคการเมืองใหญ่ที่ได้เปรียบและพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กที่สงวนท่าทีเพื่อต่อรองทางการเมือง เพราะทุกเสียงมีค่าสำหรับรัฐบาลผสม ซึ่งทางพลังประชาชนหรือประชาธิปัตย์เองก็เล็งเห็นความสำคัญเช่นเดียวกัน ทุกอย่างเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและโอกาสที่จะ เปลี่ยนแปลงได้เสมอ ผมคิดว่านี่คือปรากฏการณ์ทางการเมืองใหม่ มีเกมส์การเมืองที่นำเอาความได้เปรียบเสียเปรียบและข่าวลือมาใช้อย่างมากมาย
แต่ในขณะเดียวกันหากปล่อยให้มีความยืดเยื้อและความไม่แน่นอนผมย้อนกลับไปมองว่าจะทำให้ประชาชนรู้สึกเบื่อกับการเมือง ซึ่งพวกเขารอคอยความหวังและพยายามที่จะแสวงหาทางเลือกในการแก้ไขปัญหา แต่กลับกลายเป็นว่าประชาชนเห็นความไม่แน่นอนจนนาสู่ความเบื่อหน่ายกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะในขณะนี้ปัญหาที่รุมเร้ารัฐบาลต่อไปที่รอการแก้ไขอยู่ซึ่งมีรอบด้าน และต้องการความชัดเจน

รัฐบาลผสมจึงเป็นปัญหารองเมื่อเทียบกับจะทำอย่างไรที่จะเข้ามาสานฝันกับนโยบายที่ป่าวประกาศกันมามื่อตอนหาเสียง จนกลายเป็นว่ามองเห็นแต่เรื่องของตนเองจนลืมนึกถึงประชาชน หากแต่ว่าทุกคนพร้อมที่จะทำหน้าที่ของตนในฐานะนักการเมืองที่รับผิดชอบต่อประชาชนและทำหน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์อย่างแท้จริงให้กับประชาชน

นอกจากนี้ยังมีตัวเลขทางสถิติที่น่าสนใจอีกหลายประการ ผมสนใจเรื่องคะแนนเสียงผู้สมัครในเขตเมือง และเขตชนบท ซึ่งสะท้อนปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยได้เป็นอย่างดีรวมไปถึงตัวเลขบัตรเสียซึ่งผมเชื่อว่ายังมีหลายคนสับสนกับการเลือกตั้งระบบแบ่งเขตและสัดส่วนอยู่ ไม่ใช่เพราะประชาสัมพันธ์ไม่ดีหรอกครับ(เพราะใช้งบประมาณประชาสัมพันธ์มากมาย) แต่ผมคิดว่าระบบการเลือกตั้งครั้งนี้มันซับซ้อนกว่าระบบเดิมมาก จนไปสร้างภาระให้กับประชาชน(ในการจำเบอร์ผู้สมัครที่ชอบ)กับพรรคการเมืองที่ชื่มชม ในหลากหลายแบบจน อาจสับสน ส่วนบัตรเสียก็เป็นที่น่าสังเกตว่ามีมากมายจนชวนให้คิดได้หลายทางว่า คนเริ่มเบื่อการเมืองแต่ยังรักสาสิทธิหรือไม่มีนักการเมืองคนใดที่พวกเขาพึงพอใจเลย(ทั้งสองประเด็นนี้สำคัญและน่าเป็นห่วงทั้งคู่) และผมกลัวว่าเสียงของประชาชนจะถูกใช้เพียงเพราะหาความสะใจจนลืมประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากการเลือกตั้งครั้งนี้

ผลที่ได้รับจากการเลือกตั้งครั้งนี้น่าจะเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในสังคมไทย ผมคิดว่าเราต้องกลับมาทบทวนกับปรากฏการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น ทั้งในเรื่องการทำรัฐประหาร รัฐธรรมนูญ ที่อาจจะมิใช่คำตอบที่ดีที่สุดของประเทศ เพราะทุกระบบมันย่อมมีจุดสูงสุดและและจุดต่ำสุดดับสูญสลายไปตามกาลเวลาตามวิถีทางของมัน(ถึงแม้จะใช้เวลานานก็ตาม)แต่ผมเชื่อว่ามันจะยั่งยืนกว่าการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันแต่ไร้รากฐานที่มั่นคง เช่นเดียวกับวัฒนธรรมที่ดำรงอยู่หากไม่เหมาะสมกับสังคมมันก็จะเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะไปเพื่อให้เหมาะสมกับสังคมนั่นเอง มันเป็นไปตามวัฏจักร จะต้องเรียนรู้จากบทเรียนที่ผิดพลาดและมองถึงอนาคตเพื่อสามารถพัฒนาสถาบันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ผมมองโลกในแง่ดีว่าการเมืองไทยเริ่มที่จะมีทิศทางที่สดใสขึ้นดูได้จากการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ไปใช้สิทธิมากเป็นประวัติการณ์ ผู้คนตื่นตัวที่จะไปแสดงเจตนารมณ์ของตนเอง ผมเชื่อว่าประชาธิปไตยในประเทศกำลังจะสดใสและมีพัฒนาการที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามหากการเลือกตั้งครั้งนี้ต้องยกความดีให้กกต ซึ่งผมเชื่อว่ามีความบริสุทธ์มากเลยทีเดียว หากให้อดีตรัฐบาลชุดที่แล้วจัดการเลือกตั้งอาจมีความได้เปรียบเสียเปรียบเกิดกับพรรคการเมืองอื่นๆและอาจดูไม่ชอบธรรมขึ้นมาเป็นที่กังขาได้ในสังคมได้




Create Date : 28 ธันวาคม 2550
Last Update : 28 ธันวาคม 2550 18:44:12 น. 1 comments
Counter : 342 Pageviews.  
 
 
 
 
เข้ามาอ่านครับ ...
 
 

โดย: POL_US วันที่: 18 มกราคม 2551 เวลา:3:10:46 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

ส่องสร้างสังคม
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ขอโม้ ขอเม้าท์ ขอฝอย เรื่อง เซ็กส์ เพศวิถี การเมือง การศึกษา สังคม วัฒนธรรม วิวาทะภาคนโนสาเร่
[Add ส่องสร้างสังคม's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com