ขอโม้ ขอเม้า ขอฝอยเรื่อง เซ็กส์ เพศวิถี สังคม การเมือง วัฒนธรรม การศึกษา วิวาทะ ว่าด้วยเรื่องมโนสาเร่
 
ถอดระหัส "รัฐธรรมนูญฉบับร่าง ปี 2550 " กับอนาคตการเมืองไทย

ชลเทพ ปั้นบุญชู นักวิชาการอิสระด้านสังคม (ยุวโฆษก)
ภาคเกริ่น(บ่นไปตัดพ้อไป)

ผมเองได้มีโอกาสอ่าน "รัฐธรรมนูญฉบับร่าง(ปกเหลือง) ปี 2550 ซึ่งบรรดานักกฎหมายมหาชนในแต่ละสำนักออกมาชื่มชมกับผลงานว่าเป็นมาสเตอร์ พีช ที่ตนเองได้มีส่วนในการยกร่างครั้งนี้ รวมถึงอมาตย์ฝ่ายเก่าสายราชการและองค์กรอิสระ ผมเองยังอ่านไม่หมด เพราะอ่านไปแปลไป ตีความหมายไป เลยใช้เวลานาน(อย่างนี้แหละครับไม่ใช่นักกฏหมายมหาชน) เพราะต้องดูถึงเนื้อหา เจตนารมณ์ ของกลุ่มผู้ร่างด้วยจึงจะถือว่าครบถ้วน จะได้เข้าใจโลกทัศน์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้อย่างลึกซึ้งและถ่องแท้

ภาคสารัตถะ(วิพากษ์วิจารณ์แกมเหน็บ)
สิ่งที่ผมได้รับจากการอ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ รวมไปถึงข้อวิพากษ์จากสำนักอื่นที่นักวิชาการสายรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ออกมาสนับสนุนและโต้แย้ง ทำให้คิออะไรได้หลายอย่างจนเกิดมุมมองที่อยากจะนำเสนอดังต่อไปนี้

ประการแรก
รัฐธรรมนูญฉบับนี้จริงๆเนื้อหาสาระอาจมิได้แตกต่างอะไรกับปี 2550 มากนัก สิ่งที่ต่างกันก็คือ การเพิ่มเติมอำนาจการตรวจสอบจากภาคส่วนต่างๆ รวมไปถึงสัดส่วนและที่มาของสส สว และการเพิ่มสิทธิ เสรีภาพให้ชัดเจนครอบคลุมขึ้น (ของชนบางกลุ่มซึ่งมิอาจรวมเพศที่3)เข้าไปผนวกด้วย เพราะบางประโยคบางวรรคตอนก็คัดลอกมาเสมือนหนึ่งว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี2540 ฟื้นคืนชีพ แต่สิ่งที่ต่างก็ตรงที่มาของร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ค่อยสง่างาม นั่นก็คือกำเนิดขึ้นมาจากอำนาตเผด็จการทหาร แล้วคัดกรองคนกลุ่มหนึ่งขึ้นมาร่าง(ซึ่งเป็นที่ยอมรับ?)และมัดมือชก ซึ่งในส่วนนี้จึงแตกต่างกับรัฐธรรมนูญฉบับปี2540ที่คลอดกมาจากภาคส่วนประชาชนทั่วทั้งประเทศอย่างแท้จริง ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็หมายความว่า "ร่างดีไม่จำเป็นต้องมาจากประชาธิปไตย หรือร่างที่มาจากประชาธิปไตยก็ไม่จำเป็นต้องดี(เพราะได้ฉีกทิ้งไปแล้ว) สิ่งเหล่านี้จึงอาจเรียกได้ว่า "ประชาธิปไตยแบบชี้นำ"(คือมีคนกำกับดูแลให้ เหมือนกับผู้ใหญ่ดูแลเด็ก)นั่นเอง

ประการต่อมา
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ลดอำนาจของฝ่ายบริหารแบบรัฐสภาลงซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วอาจมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีก็คือทำให้รัฐบาลรอบคอบและรับผิดชอบต่อนโยบายมากขึ้น แต่ข้อเสียก็อาจมีผลทำให้การทำงานล่าช้าเช่นเดียวกับในอดีตซึ่งไม่อาจตอบสนองได้ทันท่วงที อดีตจากการใช้รัฐธรรมนูญปี2540อาจทำให้มองเห็นภาพได้สองด้านคือในส่วนที่ทำงานเร็วแต่ในขณะเดียวกันก็๋ทำให้ฝ่ายบริหารและ(นิติบัญญัติ)มีอำนาจในสภามากแบบชนิดที่ว่าไม่เคยมีมาก่อนจนทำให้กฏหมายที่คลอดออกมาผ่านฉลุยทุกวาระ (ซึ่งงอาจมีผลเสียต่อส่วนรวมในภายหลัง)

ประการสุดท้าย
รัฐธรรมนูญฉบับร่างได้เขียนมาตรา 309 ในบทเฉพาะกาล ความว่า" บรรรดาการใดใด ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช2549(เรียกฉบับ คมช. )ว่าเป็นการชอบด้วยกฏหมายรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้"
ข้อนี้ผมสงสัยเช่นเดียวกับฝ่ายที่คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่ามีไว้เพื่ออะไร? หรือเพื่อยอมรับการทำรัฐประหารว่าเป็นประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย(แบบไทยๆ) หรือให้คมช.ได้รับคำยกย่องว่าเป็นฮีโร่ และเป็นสิ่งที่สมควรทำอย่างยิ่ง ผมเองก็มิอาจก้าวล่วงคมช.ได้มากนักเพราะระบบการปกครองแบบบ้านเราใช้ผู้น้อยเข้าหาผู้ใหญ่ (ระบบผู้หลักผู้ใหญ่)เพื่อให้อำนาจบารมีแห่งท่านคุ้มครองเรา(ประชาชนตัวเล็กๆ) อำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จและเด็ดขาดยิ่งนัก

แต่สิ่งที่ลึกไปกว่านั้น เราไม่อาจแน่ใจได้ว่าประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยแบบเต็มใบ เพราะการทำรัฐประหารก็มีขึ้นเรื่อยมาในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่มีรัฐธรรมนูญใช้มากว่า 75 ปี เพราะการทำรัฐประหารก็คือการยึดครองอำนาจของประชาชน(ที่เลือกตั้งมาถือว่าใช้ไม่ได้ เพราะไม่มีคุณภาพ) มาครอบครองไว้ชั่วระยะหนึ่ง(ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ)จึงค่อยปล่อยกลับไปสู้ภาคประชาชนใหม่อีกครั้ง การเมืองการปกครองบ้านเราจึงมีวงจรแบบ"วัฏสงสาร" เวียน ว่าย ตาย เกิด ไม่จบไม่สิ้น นี่แหละครับ "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร เป็นเอกลักษณ์ของชาติ
ไม่รู้คนอื่นคิออย่างไรกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่ผมกลับอยากให้ร่างนี้ผ่านมากๆ(ตัวสั่นเลย) ถ้าหากร่างนี้ผ่านจะทำให้ประเทศไทยดีขึ้นเยอะ(ถ้าเป็นไปได้จริงตามที่กล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ) เพราะมีหลายมาตราในร่างดังกล่าวเขียนไว้น่าประทับใจยิ่งราวกับจะทำให้สิ่งที่คิดเชิงอุดมคติกลายเป็นความจริง(ไม่ใช่ฝันลมลมแล้งๆ)ของไพร่ฟ้าหน้าใส เช่น
" มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาไม่น้อยกว่า12ปี ที่รัฐจะต้องจัดการให้อย่างทั่วถึงและมัคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐบาลเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลออื่น"
ผมจึงได้จับจ้องเฝ้าดูว่า รัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามา จะนำมาตรานี้และมาตราอื่นๆมาปฏิบัติได้มากน้อยเพียงไร เพราะการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่าที่ผ่านมาเน้นแต่เพียง"ปริมาณ" หากแต่ยังขาด "คุณภาพ" แล้วจะมีวีธีวางนโยบายอย่างไรมาจัดระบบการศึกษาอย่างเท่าเทียม(ในเชิงคุณภาพ) เพราะการจัดการศึกษาบ้านเราทุกวันนนี้ยังเหลื่อมลำกันมากทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท (ในเรื่องคุณภาพในเรื่อง ปัญหาครูขาดแคลน สื่อการศึกษาและอื่นๆ) หรือเยาวชนที่อยู่ในกลุ่มอายุ12-18ปี ถูกเบียดขับออกจากระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน(คือไม่สามารถได้รับการศึกษาหรือเข้าไม่ถึงระบบนั่นเอง)วซึ่งมีอยู่จำนวนมาก(อ้างในงานวิจัยนครภิวัฒน์และวิถีชีวิตเมือง สถาบันวิจัยประชากรศาสตร์ ม.มหิดล)
ภาคปัจฉิม(เหนื่อยและรอความหวัง)
สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะฝากเอาไว้ก็คือ บ้านเมืองเราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการปลูกฝังประชาธิปไตย ซึ่งมันน่าจะเริ่มจากเด็กในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา เพราะในระบบโครงสร้างการศึกษาไทย สอนให้เรายอมรับอำนาจ จากคำสั่งที่ถูกชี้นำมาโดยตลอด ครูชี้นำนักเรียน(ซึ่งบางอย่างอาจปราศจากเหตุและผล) ไม่เคยได้กำหนดทิศทางเองได้ ดูได้จากระบบแอชมัชชั่นส์ หรือระบบการสอนที่เน้น ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง(แบบชี้นำ) มิใช่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางซึ่งเป็นแนวคิดที่ยังเป็นไปได้น้อยมาก ทำให้เด็กไทยขาดกระบวนการเรียนรู้สร้างสรรค์ หรือนิสัยแบบประชาธิปไตย (กำหนดทิศทางเองได้และไม่ถูกยัดเยียด) จึงอยากที่จะให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านได้รับรู้และแก้ไขในดอกาสต่อไปเพื่อสร้างรากฐานประชาธิปไตยให้กับภาคเยาวชน
ปล.
บทความชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ การเมืองของไพร่ เขียนโดยอาจารย์พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ การปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้นำเสนอระบบการเมืองไทยและระบบโครงสร้างซึ่งทำให้ผู้เขียนมีความเข้าใจในวัฒนธรรมไทยมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้
บทความนี้แม้ว่าจะเกี่ยวข้องกับการเมือง การปกครอง แต่ผู้เขียนพยายามจะใช้มุมมองทาง มานุษยวิทยา เข้ามาศึกษาปรากฏการณ์ดังกล่าว จึงอาจมีความบกพร่องไม่มากก็น้อย สิ่งหนึ่งซึ่งเกิดจาก ความรู้อันน้อยนิดของผู้เขียนเอง และความอ่อนด้อยทางปัญญา ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมานี้จึงขอน้อมรับความผิดพลาดทุกประการ



Create Date : 12 สิงหาคม 2550
Last Update : 16 กันยายน 2550 21:49:55 น. 3 comments
Counter : 364 Pageviews.  
 
 
 
 
แปลกไหมครับ ที่กลุ่มไทยรักไทย เพียงกลุ่มเดียวที่ตั้งหน้าตั้งตาคัดค้าน รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ขณะที่พรรคอื่นๆ ไม่มีการเคลื่อนไหว และขณะเดียวกับไทยรักไทยก็ยังยืนยันที่จะใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ที่ตนเองถนัด

รัฐนูญฉบับ 2540 ทำไม ไทยรักไทย ชอบนัก เพราะการปรับเปลี่ยนกฎหมายเพื่อพวกพ้องทำได้ง่าย จนประชาชนที่ไม่ได้รับรู้ข่าวสาร ไม่สามารถตามทันเกมส์โกงบ้านโกงเมืองของนักการเมืองชั่วๆ ได้เลย ครับ
 
 

โดย: Tahno วันที่: 13 สิงหาคม 2550 เวลา:21:04:58 น.  

 
 
 
ไทยรักไทยน่าจะพอได้แล้วนะคะ พอเหอะ กินพอแระหนูว่า วันๆนึงจะใช้ตังค์ขนาดไหนเชียว มีมากแค่ไหนก็กินได้แค่อิ่มนะคะ บ้านใหญ่โต ทรัพย์สินมากมายก่ายกองขนาดไหน แต่ก็นอนแค่บนเตียง 8 ศอกเท่านั้นเอง อย่าหาว่าเด็กสอนเรยนะคะ
จากใจ...เด็กไม่ถึง 18
 
 

โดย: เด็กขาดโอกาส IP: 125.27.6.184 วันที่: 14 สิงหาคม 2550 เวลา:11:09:14 น.  

 
 
 
พอเหอะ ค้านอยู่ฝ่ายเดียวอะ ค้านเพื่อผลประโยชน์อะ อายเค้ามั้ยเนี่ย .... อายแทนจัง
 
 

โดย: เรารักในหลวง เป็นห่วงชาวใต้ IP: 125.27.6.184 วันที่: 14 สิงหาคม 2550 เวลา:11:15:00 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

ส่องสร้างสังคม
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ขอโม้ ขอเม้าท์ ขอฝอย เรื่อง เซ็กส์ เพศวิถี การเมือง การศึกษา สังคม วัฒนธรรม วิวาทะภาคนโนสาเร่
[Add ส่องสร้างสังคม's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com