ขอโม้ ขอเม้า ขอฝอยเรื่อง เซ็กส์ เพศวิถี สังคม การเมือง วัฒนธรรม การศึกษา วิวาทะ ว่าด้วยเรื่องมโนสาเร่
 
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกสู่มหาวิทยาลัยไทย ความสำเร็จบนความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทย


ชลเทพ ปั้นบุญชู นักวิชาการอิสระด้านสังคม


จากนิตยาสารชื่อดังของอเมริกาได้มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในโลกขึ้น ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอันใดเพราะการจัดลำดับแบบนี้เกิดขึ้นบ่อย นัยยะดังกล่าวอาจมีผลต่อธุรกิจการศึกษาซึ่งนับวันจะมีเม็ดเงินสะพัดมากมาย เพราะการใช้โลโก้แบรนและชื่อเสียงมหาวิทยาลัยขายได้ซึ่งออกมาในลักษณะเฟรนชายมหาวิทยาลัยถึงแม้ว่าการจัดอันดับครั้งนี้มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดอย่างอ๊อกฟอร์ตที่มีอายุมากว่า 910 จะมิได้เป็นอันดับ 1 อย่างที่ใครหลายคนคาดคะเน แต่เมืองผู้ดีอังกฤษก็มียูทอปถึงสองแห่งนั่นก็คือเครมบริดและอ๊อกฟอร์ต แต่อเมริกากวาดลำดับไปอย่างถล่มทลาย ไม่แน่ว่าเพราะเป็นผู้จัดทำrang ครั้งนี้เองหรือเปล่า หรือด้วยประการอื่นแต่อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าการจัดลำกับน่าจะมีผลต่อความนิยมในการสมัครเข้ายังมหาวิทยาลัยในอเมริกาซึ่งน่าจะดูดเงินจากทั่วโลกได้จำนวนมหาศาล รวมไปถึงการขยายวิทยาเขตมายังภูมิภาคต่างๆทั่วโลก การจัดลำดับครั้งนี้ มหาวิทยาลัยเก่าแก่แห่งหนี่งขอองอเมริกาซึ่งมีประธานาธิปดีที่มีชื่อเสียงหลายท่านสำเร็จการศึกษาจากที่นี่อย่าง ฮาร์วาทมาเป็นอันดับหนึ่งซึ่งมีอายุ 370 ปี ตามมาด้วยสแตนฟอร์ตมหาวิทยาลัยน้องใหม่ที่มีอายุมากกว่า100 ปี และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในแต่ละวิทยาเขต ซึ่งเมืองนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการศึกษาของสหรัฐเลยที่เดียว และมหาวิทยาลัยดังกล่าวกำลังจะขยายวิทยาเขตมายังภูมิภาคต่างๆโลก

กระแสการจัดลำดับมหาวิทยาลัยได้ขยายตัวมาถึงมาถึงประเทศไทย สงใสเราเองอยากตามตามเทรนเมืองนอกหรือน้อยใจที่มหาวิทยาลัยไทยไม่ติดหนึ่งในร้อยของโลก เลยมาสร้างความตื่นตัวให้เป็นที่ฮือฮาในระดับแวดวงวิชาการบ้านเราที่ซบเซามานาน การจัดอันดับในครั้งนี้ สกอ.เป็นหน่วยงานที่ได้จัดทำในโครงการประเมินผลศักยภาพมหาวิทยาลัย และก็มีโพลจากสิงคโปร์ออกมาในลักษณะคล้ายกัน อาจแตกต่างกันตรงที่โพลดังกล่าวมีมหาวิทยาลัยเอกชนติดลำดับครั้งนี้ด้วย แต่มีหลายฝ่ายออกมาวิจารณ์ว่า สกอ.เองมิได้มีหน้าที่โดยตรงที่จัดลำดับเพราะมีหน่วยงานอื่นที่ทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว จึงถือเป็นงานที่ซ้ำซ้อนและใช้เกณฑ์การประเมินที่แคบเกินไป จึงมิได้สะท้อนภาพที่แท้จริงออกมาได้อย่างครบถ้วน จึงมีหลายฝ่ายออกมาคัดค้านกับผลดังกล่าวแต่ในความคิดของผู้เขียนเห็นว่าการจัดลำดับครั้งนี้สะท้อนความเป็นจริงทางสังคมบางอย่างออกมาในหลากหลายมิติ ในส่วนของนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและสกอ.เองที่มีหน้าที่หลักจึงควรที่จะต้องมาพิจรณาแนวคิดการปฏิรูปสถาบันอุดมศึกษาอย่างจริงจังและผลกระทบด้านสังคมที่กำลังจะตามมา


ผลการวิจัยครั้งนี้จะมีผลต่อการสมัครงานของบัณฑิตที่จบใหม่ในปีนี้หรือไม่อย่างไรคงต้องติดตาม แต่ผลสำรวจของเอแบคโพลได้ชี้ชัดว่านักศึกษาเป็นกังวลกับเรื่องนี้ เพราะเกรงว่านายจ้างจะนำมาเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานอย่างหลายองค์กรได้ทำกัน ชื่อเสียงที่อยู่ในลำดับดีคงมิได้วิตกอันใด แต่ถ้าอยู่ในลำดับรั้งท้ายคงต้องเสียวสันหลังเพราะถูกตราหน้าว่า “แย่”ในพื้นที่สาธารณะ การประจานดังกล่าวคงดูจะไม่เป็นธรรมสำหรับบางมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณต่ำกว่าบางที่มาก และยังต่อสู้ในเวทีการเมืองเพื่อที่จะยกพรบ.เป็นมหาวิทยาลัยหมาดๆ จะเอาแรงที่ไหนไปแข่งขันในเชิงคุณภาพ เพราะการแข่งขันที่มิอาจเท่าเทียมกันได้ทั้งในด้านทรัพยากร ทุน ทำให้หลายๆที่ถูกจัดลำดับให้อยู่ในกลุ่มรั้งท้าย มหาวิทยาลัยเอกชนจึงขอบายในการจัดลำดับที่ไม่ยุติธรรมครั้งนี้เพราะพวกเขาแบกรับภาระดูแลตนเองจึง ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีว่าการลงทุนด้านการศึกษาใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาล ผลตอบแทนน้อยนิด จึงมีเพียงเอกชนไม่กี่รายกัดฟันลงทุนทางด้านนี้ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการแข่งขันอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในส่วนตำแหน่งทางวิชาการ จำนวนคณาจารย์ที่สำเร็จปริญญาเอก และผลงานวิจัย นี่คือผลสะท้อนที่ออกมาจากการวิจัยที่แสดงผลทางด้านทรัพยากร ทุน และผลงาน ออกมาอย่างชัดเจน
แอดมิดชั่นปีนี้คงจะเกิดปรากฏการณ์ครั้งสำคัญ คณะที่อยู่ในลำดับดีปีนี้คงจะคะแนนสูงริบเพราะถูกจัดให้มีคุณภาพดีทั้งด้านงานสอนและงานวิจัย หลายคนคงนำไปเป็นเกณฑ์การตัดสินใจ ผู้เขียนแน่ใจว่ายอดผู้สมัครแอดมิชชั่นส์และการสอบในรายวิชาต่างๆจะเพิ่มสูงขึ้น และแนวโน้มที่เด็กและผู้ปกครองจะเลือกมหาวิทยาลัยดังๆตามโผมีสูงขึ้นแน่นอน หากบางที่ยังคงต้องถูกจับจ้องในด้านคุณภาพ และยังมีนักเรียนหลายคนลำบากใจไม่กล้าที่จะเลือกสถาบันที่ถูกจัดอันดับรั้งท้ายเพราะเกรงว่าจะไม่ได้คุณภาพกตามที่คาดหวังไว้ งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีหลายคนคิดว่าจัดทำขึ้นเพื่อดึงจุดสนใจลบตราบาปจากกแอดมิดชั่นในปีที่ผ่านมาหรือเปล่า เพราะการจัดอันดับได้สร้างกระแสที่ฮือฮาดพื่อกลบเกลื่อนความผิดพลาดที่ได้เกิดขึ้นหลายเรื่องในแวดวงการศึกษาไทยกลายและเป็นทอคออฟเดอะทาวน์ ในขณะปัญหาการศึกษาอื่นๆยังรุมเร้ามากมาย ทั้งในเรื่อง ความตกต่ำของสพฐ กับคุณภาพการศึกษาของเด็กไทย ใบปริญญาที่แทบจะเหมือนกระดาษเปล่าเข้าไปทุกขณะ เพราะบัณฑิตที่จบไปมีคุณภาพต่ำกว่าที่สังคมในตลาดแรงงานคาดหวังไว้ ใบเบิกทางที่ไร้ประสิทธิภาพคงจะไม่มีประโยชน์หากเรามิได้ใส่ความเป็นวิชาชีพชั้นสูงเอาไว้ให้สมกับวิทยฐานะ หรือคุณธรรมจริยธรรมที่ตกต่ำลง จนทำให้บ้านเมืองปัจจุบันเข้าขั้นกลียุค เพราะเป็นยุคที่คนเก่งกำลังเอาเปรียบสังคม แผ่นดินมาตุภูมิที่คนเหล่านี้มิได้ตระถึหนักรู้ถึงคำว่า “กตัญญู” แต่หาหนทางอันแยบยลในการทุจริตแบบบูรณาการ จากผู้ที่ได้ขึ้นชื่อว่ามาจากอัครสถานชั้นดีแห่งสถาบันอันทรงเกียรติ ความรู้จึงจะแบ่งภาคส่วนออกไปจากคุณธรรมและสำนึกต่อสังคม ทำให้การพัฒนาชาติยังไม่เติบโตเท่าที่ควร


ระบบวรรณะจากการจัดอันดับการศึกษาจึงได้เกิดขึ้นเพื่อแบ่งกลุ่มทางสังคมให้แตกต่างกัน ในขณะที่รัฐเองยังมิได้จริงจังที่จะหาทางแก้ไขปัญหาการอุดมศึกษา ผู้เขียนมองว่ามหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพน่าจะมีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างสูงสุด และรัฐควรจะปูทางในด้านงบประมาณและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้เกิดความเสมอภาคสร้างความเข้มแข็งทั้งมหาวิทยาลัยเอกชน และมหาวิทยาลัยราชภัฏให้เติบโตไปพร้อมๆกับมหาวิทยาลัยอื่นๆให้มีระดับที่ใกล้เคียงกัน เพราะตอนนี้ค่านิยมที่ผิดทางด้านการศีกษายังคงมีอยู่อย่างเหนียวแน่น ทั้งในเรื่องความเชื่อและยึดมั่นถือมั่นในสถาบัน การตีตราจากการนำเอาตัววัดในด้านการสอบเข้ามาเป็นเครื่องกำหนดคุณภาพ ซึ่งทำให้เกิดอคติมากมาย เกรงว่าหากยังไม่ได้รับการแก้ไขจะทำให้เกิดนักศึกษาสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นคือ นักศึกษาแบบอึ่งอ่างพองลม มีขนาดใหญ่และชอบเบ่งให้มีขนาดตัวขยาย เพราะนักศึกษาเหล่านี้มักคิดว่าตนเองมาจากที่ที่ดีมีชื่อเสียงเข็มแสดงสถาบันจึงดูเปล่งรังสีบดบังที่อื่น และชอบทำตัวเป็นมนุษย์ตัวใหญ่ที่มองไม่เห็นหัวคนธรรมดาแต่แลดูผู้คนด้วยสายตาที่เหยียดหยามผู้อื่นว่าด้อยกว่าในรอบด้าน ในขณะที่นักศึกษาตัวเล็กจึงตกขอบกลายเป็นชนชายขอบที่ขาดการเหลียวแล ไปที่ไหนต้องเอาปี๊ปคลุมศรีษะเพราะถูกประจานว่ามาจากที่ที่ด้อยคุณภาพ พื้นที่ทางสังคมจึงมีอยู่น้อยนิดทำอะไรก็ต้องหลบๆซ่อนๆ ปิดบังตนเองในขณะที่คนกลุ่มนี้กลับเป็นคนกลุ่มใหญ่ในสังคม แม้แต่สถานภาพของคำว่ามหาวิทยาลัยรัฐ(ที่สอบเข้าในระบบการสอบ) มหาวิทยาลัยเอกชน มหาวิทยาลัยราชภัฎ มหาวิทยาลัยเปิดยังมีสภาพที่แตกต่างกันแล้วอย่างนี้จะไม่ให้เรียกว่าระบบวรรณะทางการศึกษาได้อย่างไร




Create Date : 09 สิงหาคม 2550
Last Update : 9 สิงหาคม 2550 15:52:49 น. 0 comments
Counter : 394 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

ส่องสร้างสังคม
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ขอโม้ ขอเม้าท์ ขอฝอย เรื่อง เซ็กส์ เพศวิถี การเมือง การศึกษา สังคม วัฒนธรรม วิวาทะภาคนโนสาเร่
[Add ส่องสร้างสังคม's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com