คนสำราญงานสำเร็จ
เมื่อสองสามปีก่อนผมเคยอ่านงานของท่านพุทธทาสเรื่อง "การทำงานคือการปฏิบัติธรรม" ก่อนอ่าน ก็งง ว่าการทำงาน มันจะปฏิบัติธรรมได้ยังไง พออ่านจบแล้วก็เหมือนว่าจะได้คำตอบบ้าง แต่ภาพคำตอบ ก็ยังไม่ชัดเจน กระจ่าง อย่างที่อยากจะเข้าใจอยู่ดี

ผมเฝ้าต้งคำถามนะ ก็คนเราหลายต่อหลายคน ต้องหลีกหนีจากการทำงาน เพื่อไป "ปฏิบัติธรรม" แล้วไหงคำที่ท่านพุทธทาสเทศนาไว้มันฟังดูแล้วเหมือนลูกศรย้อนกลับ ว่า การทำงานเป็นการปฏิบัติธรรมไปเสียนี่

ทำไปทำมา แต่พอเวลาผ่านไป เมื่ออ่านมากขึ้น ฟังมากขึ้น ผมก็พบว่า ท่านหลวงพ่อพระยอม ก็คิดสงสัยคล้าย ๆ กันกับผมนี่แหละ

ผมเลยได้แต่หมั่นคิดขบทบทวนทำความบ่อยขึ้น หลังจากนั้นภาพแห่งการ "ปฏิบัติธรรม" ที่มาจาก "การทำงาน" ก็ค่อย ๆ เป็นรูปเป็นร่าง

จนยิ่งมาได้อ่านหนังสือธรรมเรื่อง "คนสำราญงานสำเร็จ" ของหลวงพี่ ว.วชิรเมธี ก็ยิ่งเข้าใจชัดขึ้นมาอีก

ว.วชิรเมธี ท่านบอกว่า การปฏิบัติธรรม มีหลายระดับ
และการทำงานสุจริตในแต่ละประเภทจนประสบความสำเร็จได้ เราก็ต้องพัฒนากาย วาจา ใจ ของเรา ให้มีประสิทธิภาพ ในระดับหนึ่ง

เอาง่าย ๆ อย่างน้อย ๆ เอาเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด
หากจะทำงานให้ลุล่วงได้ด้วยความสุข เราก็ต้องมีความเพียร และขันติ และ เจ้าความเพียร และขันติ นี้น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสามารถใช้ขัดเกลา กิเลส คือความเห็นแก่ตัว ไปได้ระดับหนึ่งเช่นกัน

ประเด็นเรื่องความเพียรนี่ ผมสงสัยมาตั้งแต่อ่านงานเรื่อง The Seven Laws of Spiritual Success ของ Depak Chopra แล้ว

คือผู้เขียนบอกว่า หนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จ ก็คือ "การพยายามให้น้อยที่สุด" (The Law of the Least Attempt)

ไอ้ผมก็งง ว่าถ้าจะให้พยายามให้น้อย แล้วเราจะประสบความสำเร็จในเรื่องที่เราต้องการ ได้อย่างไร

ก็เข้าอีหรอบเดิม ที่ผมต้องนั่งใคร่ครวญครุ่นคิดอยู่หลายอาทิตย์ คิดอย่างไร ก็ขบไม่แตก

แล้วพอมาอ่านงาน The Top Secret ของ ทพ. สม สุจิรา ที่บอกว่า ถ้าคนเราจะประสบความสำเร็จ เขาจะต้อง "เชื่อ" ว่าสำเร็จและ ห้าม "อยาก" สำเร็จ อันมีพื้นฐานมาจากตัณหาอย่างเด็ดขาด

ผมก็เลยเริ่มจะพอ วาดเค้าร่างได้ ราง ๆ ได้หลังจากอ่านหนังสือเรื่องคนสำราญงานสำเร็จเล่มนี้
ว่า ไอ้กฎแห่งความพยายามให้น้อยที่สุด นี่มันน่าจะหมายถึงว่า ให้ตั้งจิตอธิษฐานได้ด้วยความเพียร แต่อย่า พยายาม ด้วยความ "อยาก" ในกิริยาลักษณะที่ท่านนายกใช้คำว่า "กระเหี้ยนกระหือรือ" นั่นแหละ

เพราะฉะนั้น ผม จึงเดาว่า ไอ้คำว่า The Law of the Least Attempt น่าจะแปลว่า "กฎแห่งการกระเหี้ยนกระหือรือให้น้อยที่สุด" น่าจะชัดเจน และตรงประเด็นกว่า

คือพยายามได้ แต่ อย่ามีพื้นฐานมาจากตัณหา แต่ต้องเป็น มาจาก เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา

แล้วความพยายามในความทำงานนั้นก็จะไม่เป็นของ "ร้อน"

หากแต่จะเต็มเปี่ยวมไปด้วยฉันทาคติ และความเป็นสมาธิ ที่สงบเย็น เมื่อได้ทำงานที่ตนมีใจรักนั่นเอง

จากความเข้าใจของผมนั้น การทำงาน สามารถเป็นการปฏิบัติธรรมได้ก็ต่อเมื่อ เราทำงาน จน จิตเป็นสมาธิ ไม่พะวงถึงอดีต หรืออนาคต หากแต่ อยู่แต่กับปัจจุบัน
ที่ท่านว.วชิรเมธี เรียกว่า "ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับงาน"

เมื่อนั้นแหละ คือสภาวะ แห่งความสุขก็จะเกิดขึ้น ความปีติ ก็จะตามมา
อย่างนี้กระมัง ทีเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เคยกล่าวไว้ว่า มันคือ อาการ "อิ่มทิพย์" ใน หนังสือ เรื่อง "อาวุธกวี"

เพราะฉะนั้นแล้ว สมาธิ จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะช่วยขัดเกลาความพะวงหน้าพะวงหลัง ฟุ้งซ่าน

ความทุกข์ก็ลดน้อยลง และก็เท่ากับว่าความสุขนั้นเกิดจากสมาธิ ที่เราได้จากการทำงาน

เมื่อนั้น ก็สามารถโยง การทำงานเข้ากับการปฏิบัติธรรมได้ไม่ยาก




Create Date : 16 มิถุนายน 2551
Last Update : 16 มิถุนายน 2551 0:06:23 น.
Counter : 274 Pageviews.

1 comments
  

แวะมาทักทายด้วยอาการครบ 32 วันนี้ขอให้ถูกหวยร่ำรวยกันถ้วนหน้า จะได้แวะมาแจมรับทาน ในฐานะตลกบริโภคดีเด่น 3 ปีซ้อน ซ้อนมอไซด์ทานฟรีมา 3 ปี จากอุ้ม

แวะมาเจิมบอกว่า
อ่านที่คุณเขียนแล้วได้แง่คิดดีดีมากๆ ค่ะ
โดย: อุ้มสี วันที่: 16 มิถุนายน 2551 เวลา:10:11:07 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เชษฐภัทร
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



New Comments
All Blog
MY VIP Friend