The Great Glass Elevator ลิฟต์แก้วมหัศจรรย์
นวนิยายเรื่อง Great Glass Elevator ของ Roald Dahl เป็นงานเขียนสำหรับเด็กที่เล่าเรื่องการผจญภัยของ ยอดอัจฉริยะ คือ Mr. Wonka และ Charlie รวมไปจนถึง คุณพ่อคุณแม่ ตลอดจนปู่ย่าตายายของเขา ในชุดนอน ที่ไม่เคยได้ลุกออกจากเตียงมามากกว่า ยี่สิบปีแล้ว



เรื่องราวการผจญภัยแบ่งเป็นสองช่วง

เริ่มต้นจาก ลิฟต์แก้วที่พุ่งทยานออกจากโรงงานช็อกโกแลต แห่งหนึ่งขึ้นไปบนวงโคจรรอบโลก จนไปถึงโรงแรมบนดวงจันทร์ ที่สหรัฐอเมริกาได้สร้างขึ้น พวกเขาต้องเผชิญกับเรื่องที่ตื้นเต้น ทั้งหลัวว่า รัฐบาลสหรัฐจะระเบิดลิฟต์แก้วทิ้ง เนื่องจากระแวงว่าเป็นคู่แข่งทางด้านอวกาศ จากประเทศมหาอำนาจคู่แข่งในยุคนั้น หรือต้องเผชิญกับการโจมตีของตัวประหลาดจากดาวเวอร์เมส ที่กำลังจะกินทั้งคนในลิฟต์และก็คนของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ส่งมาเพื่อเปิดโรงแรมอวกาศนั้น

แต่สุดท้าย คุณ Wonka และ Charlie ตลอดจน ญาติ ๆ ก็กลับลงมาสู่โรงงานชอกโกแลตบนพื้นโลกได้

การผจญภัยในช่วงที่สอง เป็นการต่อสู้ กับ ปัจจัยภายในใจมนุษญ์ ที่เกิดขึ้นเพราะความไม่รู้จักพอ ของมนุษย์เอง เมื่อญาติผู้ใหญ่ คุณย่า คุณปู่ คุณยาย ที่ไม่เคยลุกจากเตียงมากว่า ยี่สิบปี ไปรับประทานยาอายุวัฒนะ ของ MR. Wonka มากเกินเหตุ จนกลายมาเป็นเด็กทารก สองคน ส่วนอีกคนนึง อายุ ติดลบ หายไปอยุ่ในแดนลึกลับ

---------------------

แม้นวนิยายเรื่องนี้จะเป็นเรื่องเล่าสำหรับเด็ก ๆ แต่ด้วยความที่แต่งไว้ตั้งแต่ปี 1972 หลายครั้งหลายตอน ผู้แต่งได้สอดแทรกถ้อยคำเสียดสี ที่แสดงให้เห็นถึง เทคโนโลยีการสำรวจอวกาศของสหรัฐอเมริกาในยุคนั้น รวมไปจนถึงสภาวะการเมืองร่วมในยุคสงครามเย็นด้วย

หลายต่อหลายตอน มีนัยยะทางการเมืองในทำนองประชดประชัน ทั้งชื่อ หรือบุคคลิกตัวละคร แต่ละคน ไม่ว่าจะเป็น นักกลืนดาบจากอัฟกานิสถาน ซึ่งตรงนี้เป็นการเล่นคำ คือ คำว่า ดาบ ในภาษาอังกฤษแปลว่า Sword

ซึ่งผู้แต่งได้มาเฉลย สิ่งที่เขาจะสื่อไว้ในท้ายเรื่องว่าสุดท้าย นักกลืนดาบ Sword จากอัฟกานิสถาน ก็ย้าย ตัว S กลับไปไว้ข้างหลัง

เมื่อตัว S จากคำว่า Sword ถูกย้ายไปไว้ข้างหลัง เราก็จะได้คำว่า Words

รวมความได้ว่า "นักกลืนดาบ" (Sword) ในที่นี้ก็คือนักกลืนคำพูด "Words" นั่นเอง

ซึ่งหากว่าเราดูในบริบท ในตอนนั้น เราจะเห็นได้ว่า ประเทศ อัฟกานิสถาน ถือเป็น รัฐกันชน (buffer zone) ระหว่าง ประเทศคอมมิวนิสต์ อย่างสหภาพโซเวียต กับ พันธมิตรของสหรัฐอเมริกาอย่าง ปากีสถาน นั่นเอง

ถ้ามองสถานภาพ ของ อัฟกานิสถานในช่วงนั้น เหมือนกับประเทศนี้ตกอยู่ในภาวะ ลำบาก ทั้งจวนจะถูกโซเวียตครอบงำในด้านอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ที่ต้องการลบล้างศาสนาออกไปจากสังคมมุสิลิม อยู่รอมร่อ แต่อีกด้านหนึ่งก็ยังมีกลุ่มนักรบที่ต้องการรักษาอัตลักษณ์นั้นไว้ จึงร่วมมือ กับสหรัฐอเมริกาในการต่อต้านโซเวียต

จนบางที จุดยืนของประเทศนี้ดูค่อนข้างคลุมเครือ


นอกจากนี้ ก็ยังมีบทกลอนเย้ยหยันประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ว่าแม้จะดูเหมือนเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในโลกที่สามารถกำหนดนโยบายชี้เป็นชี้ตาย
สร้างสงครามในโลกได้ทุกที่

แต่ครั้งหนึ่ง ผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้ก็เคยเป็นเด็กตัวเล็ก ๆ คนหนึ่ง ไม่ต่างจากเด็กคนอื่น ๆ ในโลก ที่กำลังอ่านนวนิยายเรื่องนี้นี่แหละ

นิยายเรื่อง Great Glass Elevator ไม่ได้ให้แค่ความบันเทิงกับผู้อ่านโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนเท่านั้น แต่ยังสอดแทรก เนื้อหาสาระ ความรู้ ให้ข้อคิด และมีนัยยะทางการเมืองที่สะท้อนปัญหาของยุคสมัยนั้นได้เป็นอย่างดีอีกด้วย



Create Date : 09 กันยายน 2551
Last Update : 9 กันยายน 2551 11:55:37 น.
Counter : 478 Pageviews.

1 comments
  
อ่านๆแล้วเหมือนเอาตัวละครมาจากเรื่องโรงงานช๊อคโกแลตเลยอ่ะ(Chocolate factory)
โดย: kra_tai (stardift ) วันที่: 9 กันยายน 2551 เวลา:13:07:28 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เชษฐภัทร
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



New Comments
All Blog
MY VIP Friend