เดอะท็อปซีเครต II: ทพ. สม สุจิรา
เนื่องจากพักหลัง ๆ มีคนวิพากษ์วิจารณ์งานเขียน ของ ทพ. สม สุจิรา ในแง่ลบเป็นจำนวนมาก ผมเลยอยากจะขอแยก เนื้อหาสาระ ที่นักเขียนท่านนี้ เขียนออกเป็นสองหัวข้อ คือ

1. ธรรมะ

2. วิทยาศาสตร์

ในทางวิทยาศาสตรื ผมก้เห็นคนวิพากษ์วิจารณ์ ท.พ. สม มากมาย โดยเฉพาะเรื่อง ควอนตัม ฟิสิกส์ ซึ่งตรงนี้ ผมยอมรับว่าไม่มีความรู้ แต่ ก็พยายามทำความเข้าใจจากหลาย ๆ ด้าน หลาย ๆ ข้อมูล แต่ขาดความเชี่ยวชาญ จึงยังไม่ปักใจเชื่อฝ่ายใด เลยขอละไว้ ไม่กล่าวถึงนะครับ

ส่วนในด้านธรรมะ
โดยส่วนตัว แล้วผมมอง่ว่าท.พ. สม สุจิรา เขียนหนังสือธรรมะ อ่านเข้าใจง่ายดี ไม่ว่าจะเล่มไหน แต่เนื้อหาสาระบางประเด้น อาจจะมีเสียงแย้งบ้าง แต่ผมก็มองว่าเป็นเรื่องธรรมดา ที่อาจมีการตีความต่างกัน แล้วเถียงกัน

โดยรวม แล้วผมชอบภาษาที่ใช้ มันถูกจริต กับความเข้าใจ กับคนที่มองโลกแบบผมได้ดีในหลายๆ เรื่อง

อย่างในหนังสือเรื่อง "เดอะ ท็อปซิเคร็ต 2" ที่ผู้เขียนอธิบายคำว่า "ทาน" ในสังคหวัตถุสี่ ตั้งแต่เรียนมา เราแปลคำว่า "ทาน" ว่า แปลว่า "การให้"

แต่ในหนังสือเรื่อง เดอะ ท็อป ซีเคร็ต เล่มสองนี้ ผู้เขียนแปลคำว่า "ทาน" ว่า "ไม่เห้นแก่ได้"

ซึ่งผมมองว่า ถ้าแปลแบบนี้ มันน่าจะใกล้เคียงกับเจตนารมณ์ของ สังคหวัตถุสี่มากกว่า

หลายครั้งหลายหน เราก้เห็นอยุ่ว่า การตีความคำว่า "ทาน" ว่าแปลว่า "การให้" ของหลาย ๆ คน อาจไม่สอดคล้องกับ หลักการเสียสละ เท่าใดนัก เพราะ ให้แล้วมักคิดหวังผลตอบแทน แทนที่จะได้บุญ กลับกลายเป้นไปเพิ่มตัณหา ซึ่งอาจจะนำพาทุกขืเข้ามาอีก ผมจึงชอบคำแปลคำว่า "ทาน"ว่า "การไม่เห้นแก่ได้" ของ ทพ. สม สุจิราครับ

โดยสรุปแล้วผมมองว่านักเขียนผู้นี้สามารถสรุป ภาษาในพระไตรปิฏกยาก ๆ ให้เป็นภาษา คนอย่างเรา ๆ ให้เข้าใจกันได้ง่าย ใช้ภาษาที่แตกต่างจากนักเขียนธรรมะร่วมสมัยคนอื่น ๆ

แต่เรื่องสาระความผิดถูก เป็นเรื่องที่นักอ่าน จะต้องทำความเข้าใจ และทำการบ้าน ใช้สติพิจารณาเอาเอง ซึ่งตรงนี้ ผมมองว่า เนื้อหาสาระที่ ทพ. สม สุจิรา มีความเป็นสัมพันธบท (intertextuality) กับ นักเขียนท่านอื่น อยุ่ อย่างเรื่องอิทธิบาทสี่ หรือทางแห่งความสำเร้จ ที่ ทพ. สม เขียนไว้ว่า หากเราพยายามมากเกินไป จนเกิดความอยาก จะมี ตัณหาเกิดขึ้น นั่น อาจเป้นอุปสรรค เพราะความอยาก มีส่วนทำให้จิต ร้อนรน ไม่สงบ

ตรงนี้เอง น่าจะมีความคล้ายคลึง กับเนื้อหาสาระ ของ เรื่อง "การทำงานคือการปฏิบัติธรรม" ของท่านพุทธทาสภิกขุ หรือ "คนสำราญงานสำเร็จ" ของ ว.วชิรเมธี หรือ แนวคิดธรรมะของหลวงปู่ชา เมื่อครั้งที่ไปจำวัดที่วัดหลวงปู่กินรี

แม้แต่ นักคิดนักเขียนพุทธศาสนาในต่างประเทสอย่าง Deepak Chopra หรือแนวความคิดทางฝั่งนิกายเซ็น ก็ กล่าวถึง การทำงานที่เต็มไปด้วยความอยาก หรือตัณหานั่นเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน

ซึ่งคนอ่าน ก่อนจะปักใจเชื่อ หรือไม่เชื่อสิ่งใด จะต้องทำการศึกษาในประเด้นนั้นพอสมควร ว่าควรจะเลือกเชื่อหรือไม่เชื่อ อย่างไหนสิ่งใด

อย่างในอดีต งานเขียนทางด้านการเมือง หรือปรัชญา ของท่านพุทธทาสภิกขุ ปูชนียุบคคลระดับที่องค์การยูเนสโก้ยกย่อง ก้ถูกโดนโจมตีเช่นกันว่า ท่านอาจจะตีความไม่ถูกใจ หรือไม่ตรงใจ กับคนที่มาโจมตี เท่าใดนัก

ซึ่งการโจมตีนี้ มันก็มีข้อดี คือทำให้คนอ่าน คนศึกษา ก็ต้องเลือกทำการบ้านเพิ่มขึ้นในทาง literature review และพิจารณาให้ดีว่า จะเก้บเกี่ยวสิ่งใด นำกลับไปคิด และไปใช้ในชีวิตประจำวัน

การที่นักเขียนคนใด มีข้อตำหนิในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งอาจจะจริงหรือไม่จริง มันก็ไม่ได้หมายความว่า เขาคนนั้น จะ ต้องมีข้อบกพร่องในทุกเรื่อง เสมอไป เรื่องบางเรื่องอาจจะใช้ไม่ได้ ไม่เหมาะกับจริตของใครสักคน แต่มันก็ไม่ใช่ทุกเรื่อง ถ้าฉลาดที่จะเลือกมอง

ผลส้มที่ตกลงมาเปื้อนฝุ่น มันก้ไม่ได้หมายความว่าเนื้อส้มภายในเปลือก มันจะเหม็นเน่ากินไมได้ เสียเมื่อไหร่กัน



Create Date : 06 พฤษภาคม 2552
Last Update : 27 กรกฎาคม 2552 19:54:21 น.
Counter : 458 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เชษฐภัทร
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



New Comments
All Blog
MY VIP Friend