ฝรั่งศักดินา: ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้ประพันธ์หนังสือเรื่อง "ฝรั่งศักดินา" นับได้ว่าเป็นปราชญ์ ทางด้านปรัชญา การเมือง และอักษรศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคนหนึ่งในสังคมไทย

ตลอดทั้งเล่ม คุณชายคึกฤทธิ์ได้อธิบายแจกแจง ความเหมือนและความต่าง ของศักดินาอย่างฝรั่ง กับศักดินา แบบไทย ๆ ที่ท่านกล่าวไว้ว่า ไทยกับฝรั่งนั้นต่างกันค่อนข้างมากในรายละเอียด
ด้วยผู้ประพันธ์ เป็นบุคคลที่อยู่ในราชสกุล ของราชวงศ์ไทย ทำให้ สิ่งที่ได้เสนอแนะในหนังสือ นั้นฟังดูมีน้ำหนัก ไม่ใช่สักแต่ว่าเป็นการคาดเดา เอาอย่างเลื่อนลอย



ในหลักสูตรอักษรศาสตร์บัณฑิตของไทยนั้น นั้นมีวิชาบังคับ ที่นิสิตอักษรทุกคนต้องเรียน จากภาควิชาประวัติศาสตร์ เท่าที่อ่านเจอะเจอ ในหนังสือวิชา "อารยธรรมตะวันตก" หรือที่นิสิตเรียกกันติดปาก ว่า "เวสต์ ซิฟ" (ย่อมาจาก western civilization) นั้นมีการกล่าวถึง ประเพณีการปกครองของยุโรป คือ Feudalism ที่ท่านอาจารย์แปลให้ฟังว่า "ศักดินาสวามิภักดิ์" ซึ่งเป็นสายสัมพันธ์ระหว่าง "ข้า" กับ "เจ้า" คือผู้น้อย จะยอมรับใช้ผู้ใหญ่ และผู้ใหญ่จะให้ความปกป้องผู้น้อย ด้วยความสมัครใจโดย ใช้หลักที่ดินเป็นเกณฑ์

ทำให้เรื่องที่ดินนั้นมีความสำคัญอย่างมากในการแสดงถึงอำนาจ ของขุนนางแต่ละคนในยุโรป

ซึ่งตรงนี้ผิดจากศักดินาแบบไทย ๆ นับตั้งแต่สมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นต้นมา ที่ ส่วนใหญ่ แล้วจะให้ความสำคัญ กับ อำนาจลำดับทางสังคม และจำนวน "ไพร่" ที่รับใช้ มากกว่าที่ดิน

นิยามคำว่า "ศักดินา" ในปทานุกรมไทย ที่บอกว่า ศักดิ์อันขึ้นอยู่กับจำนวนที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์" นั้นใช้ กับสังคมไทยไมได้เสียทีเดียว หากแต่ต้องขยาย ความต่อไปอีกว่า มันหมายรวมถึงอำนาจ ด้วยเพราะ "นา" ไม่ได้มีความหมายถึง แต่ "พื้นที่ดินในการปลูกข้าว" หากแต่ในสมัยโบราณ ยังหมายรวมถึง หน่วยวัด บุญญาบารมีอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากคำว่า "เนื้อนาบุญ" นี่ก็พอจะเป็นหลักฐานยืนยันได้ถึงความหมายของคำว่านาที่กว้างกว่าที่เราเข้าใจกัน

คุณชายคึกฤทธิ์ กล่าวต่อไปอีกว่า หากใครคิดจะโจมตีศักดินาไทย ก็ควรจะศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่า ธรรมชาติ ของศักดินาในยุโรปที่เน้น กรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน ที่ถูก คาร์ล มาร์กซ์ โจมตีนั้น จะถือเป็นสากล ใช้กับทั่วโลกไม่ได้ เพราะคาร์ล มาร์กซ์ ก็มุ่งโจมตี แต่ชนชั้นอภิสิทธิ์ในยุโรปเป็นสำคัญโดยไม่ได้รู้ว่า ที่อื่น ๆในโลก ก็มีความแตกต่างทางด้าน สังคมวัฒนธรรม

------------------------

สิ่งที่คล้าย ๆ กันที่ผมเห็นว่าน่าสนใจ ระหว่างศักดินาไทย กับฝรั่ง ก็ดูเหมือนจะเป็นว่าในสมัยก่อน วิธีตัดสินคดี ความ มักจะอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และการสบถสาบาน ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

กล่าวคือ ของไทยเรามีการบุกน้ำลุยไฟ ใครไม่เป็นอะไรแสดงว่าผีเข้าข้างคนนั้นและจะชนะคดี (มั้ง)

ส่วนในยุโรปหากมีเรื่องฟ้องร้อง วิธีการสืบหาว่าฝ่ายใด เป็นฝ่ายผิด ก็มักจะใช่ วิธีการต่อสู้กัน ซึ่งแบบนี้ ปัญหาก็คือว่าใครที่เป็นทหารสมีการฝึกต่อสู้อยู่ทุกวัน มันก็สุ้ชนะชาวบ้านทั่วไปตลอดนะสิ

หรือไม่ก็ ถ้าต้องการพิสูจน์ว่าตัวเองไม่ผิด ก้ต้องสาบาน ว่าไม่ผิด แล้วก็ต้องหา ผู้รับรอง มารับรองว่าตัวเองไม่ได้โกหก ให้ได้ สิบสองคน ซึ่งแบบนี้ก็มีปัญหาต่อไปอีกว่า ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง มันก็ จะ "หลับหูหลับตา" มารับรองให้ นะสิ เพราะธรรมดา แล้ว คนเราชอบคิดว่า ถ้าใครเป็นเพื่อนเรา มันจะ ไม่ทำผิด หรือต่อให้มันทำผิด เราก็มักจะมองข้ามความผิดนั้นไป

-----------------------

อีกประเด็นหนึ่งที่ ผมมองว่าศักดินาฝรั่ง น่าจะมีส่วนคล้าย กับศักดินาไทย ก็คือ การใช้ ตราสัญลักษณ์ ประจำตระกูล หรือประจำหน่วยงานราชการ

อย่างของอังกฤษ ก็จะมี ตราแร้ง ตราสิงห์ หรือตรานกนางนวล ตามแต่นามสกุลของขุนนางแต่ละท่าน

ส่วนไทย นั้น คุณชายคึกฤทธิ์ ยกตัวอย่าง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เอาไก่ มาเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวเอง เพราะตัวเกิดปีไก่ ก็ตามแต่จะว่ากันไป

ส่วนหน่วยงานราชการ ก็มี ตราคชสีห์ ตราราชสีห์ บัวแก้ว หรือตราครุฑ

ซึ่งตราครุฑ นี่ ถือว่าห้ามสามัญชนเอาไปใช้ซี้ซั้ว เด็ดขาด เพราะ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถุกไม่ควร ผิดกาลเทศะ

แต่กระนั้น ผมก็เคยเห็น คน ๆ หนึ่งเอาตราครุฑ ของทางราชการมาทำเป้น แบ๊คกราวน์ด เว็บไซต์ไดอารี่ออนไลน์ ของตัวเอง พอมีคนมาทักท้วง ว่ามันไม่ควร คุณเจ้าของได แก ก็ขนพวก มาด่า ไอ้คนที่ไปทักท้วงว่าเอาตราครุฑมาเล่นน้นไม่เหมาะควร เป็นการใหญ่ ชนิดที่เรียกว่า ถ้าต้องขึ้นศาลตระลาการสมัยอังกฤษ ที่ให้หาคนสิบสองคน มาสาบานรับรองนั้น ก็คงจะพ้นผิด ได้เลยกระมัง

ก็เป้นธรรมดา ล่ะ เพื่อนใคร ใครก็รัก ไอ้ที่ทำผิด ก็มองเป็นไม่ผิดไปซะงั้น

แบบนี้เขาเรียกวา "ศักดินาไซเบอร์" รึเปล่านะ



Create Date : 05 พฤษภาคม 2552
Last Update : 27 กรกฎาคม 2552 19:52:21 น.
Counter : 606 Pageviews.

2 comments
  
เรื่องนี้เพิ่งอ่านจบไปค่ะ ได้ความรู้เยอะเลย แต่หวานเย็นอ่านฉบับที่ตีพิมพ์ครั้งหลังกับนานมีบุ๊คส์นะคะ เสียดายมาก ๆ เพราะเคยเห็นฉบับที่ตีพิมพ์กับทางดอกหญ้ามีภาพประกอบด้วย แต่ฉบับที่หวานเย็นอ่านไม่มีน่ะค่ะ เสียดายจัง
โดย: หวานเย็นผสมโซดา วันที่: 6 พฤษภาคม 2552 เวลา:12:28:58 น.
  
อยากอ่านจัง ไปหาอ่านบ้างดีกว่า

ขอบคุณที่มาวิวให้อ่านค่ะ
โดย: อนุมานน้อย วันที่: 7 พฤษภาคม 2552 เวลา:21:34:28 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เชษฐภัทร
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



New Comments
All Blog
MY VIP Friend