ชีวิตคือความไม่แน่นอนแต่ในความไม่แน่นอนของชีวิตเรากลับพบความสวยงามของชีวิต
Group Blog
 
All Blogs
 

ประเพณีตักบาตรเทโวที่เขาดาวดึงส์ วัดคีรีวงศ์ จ.นครสวรรค์

ผมแวะกลับมาบ้านที่นครสวรรค์เมื่อช่วงต้นเดือนเห็นป้ายหน้าวัดคีรีวงศ์เขียนเชิญชวนให้มาร่วมประเพณีตักบาตรเทโว ที่เขาดาวดึงส์ ในวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

มีความตั้งใจที่จะตักบาตรเทโวที่นครสวรรค์ในช่วงเทศกาลออกพรรษาปีนี้ ที่ผ่านมาไม่มีโอกาสได้ตักบาตรเทโวที่บ้านเกิดนานมากแล้ว

ตอนขับรถในยามค่ำคืนเวลาเดินทางจากพิษณุโลกเข้ามาในเขตตัวเมืองนครสวรรค์ พอใกล้เขตเทศบาลจะเห็นองค์พระเจดีย์จุฬามณีที่เขาประดับไฟยามค่ำคืนเห็นสวยเด่นเป็นสง่าเหมือนวิมานที่ลอยอยู่ เนื่องจากเขาดาวดึงส์ในยามค่ำคืนมันมืดเลยตัดกับภาพของเจดีย์จุฬามณีที่ประดับไฟและอยู่บนยอดเขาดาวดึงส์ดูเด่นงดงามมาก






ผมขับรถมาจอดลานวัดตอนเช้าแล้วทางวัดคีรีวงศ์จัดรถสองแถวมารับส่งอุบาสก-อุบาสิกาที่ตั้งใจมาทำบุญตักบาตรเช้าวันนี้ไปส่งถึงบริเวณทางขึ้นไปยังพิธีตักบาตรเทโวบนยอดเขาดาวดึงส์


บริเวณฐานองค์พระเจดีย์จุฬามณีมีรูปปั้นของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วย เท่าที่อ่านจากข้อความที่เขียนไว้ใต้พระรูปไม่มีข้อความว่าสมเด็จพระนเรศวรเกี่ยวข้องกับจังหวัดนครสวรรค์อย่างไร แต่ตอนไปที่อำเภอชุมแสง เขามีการบันทึกเอาไว้และเขียนใต้รูปปั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชว่าบริเวณริมแม่น้ำน่านสมเด็จพระเจ้าตากสินเคยตั้งที่ประทับตอนยกทัพขึ้นไปรบกับพม่า





ถ้าจะมีคนนครสวรรค์ที่สนใจ ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในอดีตเกี่ยวกับนครสวรรค์คงเป็นเรื่องที่ดี เท่าที่ได้ยินได้ฟังมาก็เป็นเรื่องเล่าต่อๆกันมา ไม่มีใครบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ตอนมีสารคดี "เสด็จประพาสต้น" ทางสถานีทีวีไทย ได้ดูรายการนี้แล้วมีเรื่องราวของนครสวรรค์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์สำคัญๆมากมาย หรืออย่างตอนนี้รายการสารคดี "ธิราชเจ้าจอมสยาม" ที่ออกอากาศทางสถานีทีวีไทยตอนนี้ เขากล่าวถึงว่าสมัยก่อนทางรถไฟไปเมืองเหนือสิ้นสุดที่สถานีปากน้ำโพ ตอนที่ส่งพระชายาเจ้าดารารัศมีกลับไปเชียงใหม่ รถไฟจากสามเสนที่รัชกาลที่ ๕ ทรงส่งพระชายาเจ้าดารารัศมีมาสิ้นสุดที่ปากน้ำโพและเจ้าดารารัศมีทรงลงเรือหางป่องเดินทางต่อไปยังเชียงใหม่.....


นครสวรรค์วันนี้มีน้ำมาก เห็นน้ำในแม่น้ำปิงล้นขึ้นมาท่วมพื้นที่ริมฝั่ง น้ำจากบึงบอระเพ็ดล้นขึ้นมาท่วมพื้นที่ใกล้เคียง






พิธีตักบาตรเทโวเริ่มจริงๆตอนราวๆ ๗ โมงครึ่ง เริ่มจากขบวนแห่ มีรำกลองยาวของวิทยาลัยวิชาชีพนครสวรรค์ เห็นลีลารำวงกลองยาวและจังหวะร่ายรำกลองยาว....ชวนให้นึกถึงเหตุการณ์สมัยไปร่วมโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ ตอนนั้นเยาวชนไทยแต่ละคนได้รับการมอบหมายให้แสดงศิลปะวัฒนธรรมของไทยเมื่อเรือนิปปอนมารูแวะเดินทางถึงท่าเรือแต่ละประเทศ ลีลาร่ายรำประกอบจังหวะตีกลองยาวที่คึกคักสนุกสนาน...ยังจำภาพเหล่านั้นได้ดี จะมีโอกาสได้ร่ายรำในจังหวะรำวงกลองยาวกับน้องหมูอีกไหม? ไม่ทราบเหมือนกัน แต่เวลาเจอน้องหมูในโลกออนไลน์ยังนึกถึงบรรยากาศรำวงกลองยาวด้วยกันตอนไปโครงการเรือเยาวชน ถ้ามีโอกาสได้ร่ายรำกลองยาวกับน้องหมูอีก...บรรดาลูกๆของน้องหมูคงตบมือให้จังหวะเชียร์คุณแม่อย่างสนุกสนาน






มีขบวนนางฟ้าและเทพบุตรเดินโปรยกลีบดอกไม้ให้แก่คนที่มาทำบุญตักบาตรเทโววันนี้





ถามแล้วได้ความว่าบรรดานางฟ้าและเทพบุตรเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยภาคกลาง







โฆษกของงานป่าวประกาศเชิญชวนให้ผู้คนร่วมกันทำบุญ เพราะสิ่งของและเงินบริจาคจะถูกแบ่งปันไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากน้ำท่วมในเขตอำเภอท่าตะโก อำเภอตาคลี ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยน้ำท่วมในขณะนี้






ตอนที่ผมไปจาริกที่อินเดีย ได้ไปยังบริเวณสาราวัตตีที่คนไทยคุ้นเคยกับภาษาไทยที่เพี้ยนเสียงจนเป็น "เมืองสาวัตถี" เป็นดินแดนที่หนาวเย็นเพราะอยู่ใกล้กับเทือกเขาหิมาลัย ได้มีโอกาสอ่านหนังสือ "ประพาสอินเดีย" ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงประพันธ์ สมเด็จพระเทพฯท่านตั้งข้อสังเกตว่าเป็นไปได้ไหมที่เรากล่าวกันว่า

...ครั้งพระพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปโปรดธรรมแก่พระมารดาที่สวรรค์ ๑ พรรษาก่อนจะเสด็จกลับมาสู่โลกมนุษย์ สมัยนั้นคนอินเดียนับถือว่าเทือกเขาหิมาลัยเป็นสรวงสวรรค์ การที่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปจำพรรษาบริเวณใกล้เทือกเขาหิมาลัย ในความเข้าใจของคนอินเดียสมัยพุทธกาลจึงเชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปโปรดพระมารดาในสวรรค์...


ผมหยิบเอาประเด็นนี้ไปตั้งปุจฉาและวิสัชนากับท่านเจ้าคุณปยุตต์ ปยุตโต วัดญาณเวสกวัน ท่านเจ้าคุณปยุตต์ทรงเมตตาตอบคำถามที่ผมถามว่า

"เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ในอดีตและไม่สามารถตามไปตรวจสอบได้จริง สิ่งที่คุณโยมสงสัยอาจจะเป็นไปได้ก็เป็นได้"


ในความเข้าใจของผม

พุทธจริงๆควรเป็นเรื่องของเหตุผลมากกว่าอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ และไม่มีเรื่องความงมงายมาเกี่ยวข้อง ทุกสิ่งควรอธิบายด้วยหลักของเหตุและผล มากกว่าเชื่อตามๆกันมา

การได้อ่านหนังสือพุทธประวัติสมัยผมบวช เลยเข้าใจว่าพิธีกรวดน้ำที่ทำๆกันมาแท้จริงเป็นประเพณีพราหมณ์ที่นางวิสาขาขอพรจากพระพุทธเจ้า ขอทำพิธีกรวดน้ำตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้นางวิสาขาทำพิธีกรวดน้ำ เลยกลายเป็นประเพณีที่ทำต่อๆกันมา










การจัดงานประเพณีการตักบาตรเทโวของวัดคีรีวงศ์ปีนี้เป็นครั้งที่ ๗ ซึ่งจะจัดในวันข้างแรม ๒ ค่ำเดือน ๑๑ เนื่องจากจะจัดหลังพิธีตักบาตรเทโวที่เขาสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานีหนึ่งวัน เพื่อเปิดโอกาสให้คนที่สนใจอยากไปร่วมพิธีตักบาตรเทโวที่อุทัยธานีได้ไปร่วมพิธีที่นั่นก่อนจะมาร่วมพิธีตักบาตรเทโวที่เขาดาวดึงส์ จังหวัดนครสวรรค์


ขนมหวานที่มาคู่กับประเพณีตักบาตรเทโวคือ ข้าวต้มมัดของภาคกลาง และลูกโยนทางภาคใต้ ไม่แน่ใจว่าทำไมต้องใช้ลูกโยนด้วย แต่มีคนบอกว่าสมัยก่อนคนมาทำบุญกันมากในวันออกพรรษา ดังนั้นบางครั้งการใส่บาตรพระเลยไม่ถนัดนัก โยมเขาเลยทำขนมหวานลักษณะเหมือนของที่สามารถโยนเข้าไปในบาตรพระง่ายๆ จริงเท็จประการใดไม่มีหลักฐานยืนยัน





ใส่บาตรทำบุญเสร็จ อิ่มอกอิ่มใจ แบ่งปันความสุขจากการทำบุญให้กับทุกคน ขอให้มีความสุข ร่มเย็น มีชีวิตที่สงบ เจริญงอกงามในพุทธศาสนาทั่วกัน

ธรรมะสวัสดีครับ




 

Create Date : 25 ตุลาคม 2553    
Last Update : 26 ตุลาคม 2553 8:27:37 น.
Counter : 2861 Pageviews.  

ลูกศิษย์ระดับปริญญาตรีรุ่นแรกในมหาวิทยาลัยนเรศวรที่เรียนกับผม ตอนที่ 8 (ตอนจบ)

ข้อความที่ลูกศิษย์เขียนในคีย์เวิร์ดคาบสุดท้ายของวิชากลยุทธ์ทางธุรกิจ ทันทีที่ได้อ่านบังเกิดปีติ เกิดความภาคภูมิใจในวิชาชีพที่ทำอยู่ ไม่คิดมาก่อนว่าลูกศิษย์ที่ผมสอนแม้จะเพียงเทอมเดียวและเป็นเทอมสุดท้ายสำหรับพวกเขา พวกเขาให้คุณค่ามากๆกับสิ่งที่ผมสอนและกับสิ่งที่ผมสอดแทรกแนวคิดหลายๆอย่างในระหว่างชั้นเรียนที่สอน

มันทำให้ผมบอกกับตัวเองว่า

"ผมจะไม่ทำลายศรัทธาและความเชื่อมั่นที่ลูกศิษย์มีต่อตัวผม"


วันสอบปลายภาคของวิชานี้มาถึง...

นิสิตภาคพิเศษสอบเป็นกลุ่มแรกวันพุธที่ ๒๒ กันยายน










สำหรับนิสิตภาคปกติสอบรวมกันที่ห้องสอบ QS3302 วันสอบตรงกับวันอังคารที่ ๒๘ กันยายน (พึ่งมารู้ทีหลังว่าตรงกับวันเกิดของโยทกาพอดี)





ก่อนที่จะเริ่มต้นสอบ ผมขอกล่าวอะไรกับลูกศิษย์

"ขอบคุณสำหรับข้อความคีย์เวิร์ดที่พวกคุณเขียนในคาบสุดท้าย ผมอ่านแล้วน้ำตาไหลออกมาเลย"

ลูกศิษย์หลายคนยิ้ม หลายคนหัวเราะที่ได้ยินผมพูดแบบนั้น


"ข้อความเหล่านั้นเป็นกำลังใจให้ผมทำหน้าที่ของครูที่ดีต่อไป ผลของกำลังใจจากลูกศิษย์ทำให้ตอนนี้อาการจอประสาทตาผมดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ผมสัญญาว่ารุ่นน้องของพวกคุณจะได้เรียนกับผมคุณภาพไม่ด้อยกว่าที่พวกคุณเรียนกับผม"



ผมพูดต่อไปว่า


"มีสิ่งหนึ่งที่ผมขอพูดในวันนี้ก็คือ

คาบสุดท้ายมีคนพูด มีคนเขียน พาดพิงถึงเพื่อนผม เพื่อนที่หยิบยื่นสิ่งดีๆให้กับชีวิตผมอยู่ตลอดเวลา เพื่อนที่หวังดีและห่วงใยผมมาตลอด

ถ้าไม่มีอาจารย์โย เพื่อนที่ดีที่สุดคนหนึ่งของผม

ที่แนะนำให้ผมมาเป็นอาจารย์ที่นี่

ผมก็คงไม่ได้มาเป็นอาจารย์ของพวกคุณ

อยากให้ทุกคนขอบคุณอาจารย์โยด้วยการปรบมือให้กับอาจารย์โยด้วยครับ"



นิสิตที่เข้าสอบวิชานี้ในห้องสอบวันนั้นปรบมือให้อาจารย์โยพร้อมสีหน้าและแววตาที่สดใส แทนคำขอบคุณที่อาจารย์โยชักนำให้ผมมาเป็นอาจารย์ของลูกศิษย์วิชา "กลยุทธ์ทางธุรกิจ"





บรรยากาศแบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในห้องสอบวิชาใดมาก่อนสำหรับนิสิตปริญญาตรีที่เรียนกับผม เช่นเดียวกับบรรยากาศคาบสุดท้ายที่จบลงด้วยน้ำตาแห่งความปลื้มใจที่ได้มาเป็นครูและศิษย์กัน


คนที่งงไปเลยคืออาจารย์โย เพราะเจ้าตัวไม่คิดมาก่อนว่านิสิตจะให้เกียรติและขอบคุณที่ชักนำประสบการณ์ดีๆน่าประทับใจในชีวิตของการเป็นนิสิตที่มหาวิทยาลัยนเรศวร

เจ้าตัวยังบ่นเล็กๆในวันศุกร์ที่ผ่านมาว่าได้ยินแต่นิสิตสาปแช่งที่ตัดเกรดโหดๆกับนิสิต แต่วันนี้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องสอบวิชากลยุทธ์ทางธุรกิจมันเปลี่ยนความคิดไปเลย นิสิตรู้สึกขอบคุณอาจารย์โยจากใจจริง









ผมชี้แจงเรื่องข้อสอบที่พวกนิสิตต้องทำ ให้พวกเขาตอบทุกข้อและอ่านโจทย์ให้รอบคอบว่าโจทย์ถามกี่อย่าง ให้ตอบให้ครบถ้วน วันนั้นตรงกับวันอังคาร...ผมเลือกที่จะสวมเสื้อสีชมพูมาคุมสอบ






ผมจำชื่อนิสิตส่วนใหญ่ที่ผมสอนได้ แม้ว่าจำนวนนิสิตที่ผมสอนจะมากถึง ๒๓๑ คนก็ตาม ตอนเดินให้นิสิตเข้าสอบเซ็นชื่อเข้าสอบจึงเป็นเรื่องไม่ยากนัก







ลูกศิษย์ตั้งใจทำสอบกันมาก...












หลังจากทำสอบผ่านไป ๑ ชั่วโมงก็เลยชวนนิสิตให้รีแล็กซ์ด้วยกายบริหารซักแป๊บก่อนจะทำสอบต่อ





ถึงข้อสอบปลายภาคจะเก็บเพียง ๑๕ คะแนนแต่ใช้เวลาทำสอบถึง ๓ ชั่วโมง นิสิตทุกคนตั้งใจทำสอบมากกับข้อสอบ ๕ ข้อ หลายคนทำจนหมดเวลาสอบ หลายคนจะภูมิใจมากที่ได้เกรดเอ วิชานี้


ผมตรวจข้อสอบเห็นพัฒนาการในการตอบข้อสอบของลูกศิษย์หลายคน หลายคนทำคะแนนได้ดีกว่าตอนสอบกลางภาคมาก ตรวจข้อสอบไปแล้วก็ภูมิใจที่นิสิตใส่ใจและตั้งใจในการทำสอบ


คะแนนเชือดเฉือนกันมาก บางคนขาดเพียง 0.10 ก็จะได้เกรดเอ แต่ช่วยไม่ได้เพราะต้องใช้มาตรฐานเดียวกันในการตัดเกรดกับทุกกลุ่ม


ผมคิดว่าถ้าจะให้ลูกศิษย์ที่ผมเคยสอนวิชากลยุทธ์ทางธุรกิจรวมกลุ่มกันไว้ โดยเอาผมเป็นศูนย์กลางในการติดต่อกับลูกศิษย์เหล่านั้น เปิดพื้นที่ให้ลูกศิษย์สามารถติดต่อระหว่างกันและลูกศิษย์สามารถติดต่อกับอาจารย์ได้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊คมันน่าจะเวิร์ค เลยตัดสินใจเปิดเฟซบุ๊คสำหรับนิสิตที่เคยเรียนกับผมขึ้นมา

ลูกศิษย์พอทราบว่าผมเปิดเฟซบุ๊คสำหรับนิสิตที่ผมเคยสอนวิชากลยุทธ์ทางธุรกิจ หลายคนดีใจมากเข้ามาเป็นสมาชิกเฟซบุ๊ค ตอนนี้สมาชิกล่าสุดของเฟซบุ๊คที่เปิดขึ้นมาสำหรับลูกศิษย์และอาจารย์มีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนกับผม ถือว่าเป็นจำนวนที่น่าพึงพอใจในการสร้างเครือข่ายศิษย์ของมหาวิทยาลัยนเรศวรในอนาคต


มีโอกาสได้ไปเจอลูกศิษย์เอกการจัดการตอนที่ปฐมนิเทศพวกเขาเพื่อเตรียมตัวไปฝึกงานเทอมหน้า ลูกศิษย์หลายคนผมต้องไปเยี่ยมพวกเขายังสถานที่ฝึกงานในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล

พอจบการประชุม ลูกศิษย์หลายคนขออนุญาตถ่ายรูปกับผมเก็บไว้เป็นทีระลึก ผมยินดีไม่รังเกียจอะไร










เมล็ดพันธุความคิดที่ผมหว่านออกไปกำลังจะเริ่มงอกเบ่งบานยังที่ต่างๆ เมล็ดพันธุ์เหล่านั้นจะไปมีส่วนพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้น่าอยู่ วัฒนาต่อไป

ผมในฐานะคนที่หว่านเมล็ดพันธุ์ความคิดเหล่านั้น...จะภูมิใจเมื่อเห็นเหล่าลูกศิษย์ของผมประสบความสำเร็จ มีชีวิตที่สดใส งดงาม เป็นแบบอย่างที่ดีต่อรุ่นน้องต่อไป




 

Create Date : 23 ตุลาคม 2553    
Last Update : 24 ตุลาคม 2553 8:25:32 น.
Counter : 1330 Pageviews.  

ลูกศิษย์ระดับปริญญาตรีรุ่นแรกในมหาวิทยาลัยนเรศวรที่เรียนกับผม ตอนที่ 7 (第7課、ナレスアン大学で私の教えた大学生第一期)

ชั้นเรียนครั้งสุดท้ายสอนเรื่องกลยุทธ์เฉพาะเรื่องเป็นบทที่รู้สึกว่าสนุกและใกล้ตัวนิสิตที่สุด ผมยกกรณีธุรกิจแบบครอบครัวมาอธิบายนิสิตในชั้นเรียนเพื่อให้พวกเขาเห็นภาพชัดเจนว่ามีปัญหาอะไรบ้าง และทำไมธุรกิจแบบครอบครัวถึงไม่เติบโตเท่าที่ควรจะเป็น

 (最後のクラスの内容はとても面白かった。この内容は生徒さんたちに感心する何故なら彼女たちの実家の企業に似てる。何故Family Businessをなかなか拡大していません。この理由を明らかにしました。


ชั้นเรียนที่ปิดคอร์สชั้นเรียนแรกเป็นกลุ่มนิสิตภาคพิเศษ วันนั้นตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓ วันนั้นจะแปลกกว่าทุกครั้งที่สอน แทนที่จะให้นิสิตเขาเขียนคีย์เวิร์ดทันที บอกให้เขาเขียนสรุปว่าวันนี้เขาเรียนเนื้อหาสำคัญอะไรบ้างและเขียนความรู้สึกที่พวกเขามีต่อชั้นเรียนที่ผมสอน เป็น Feedback ที่ผู้สอนควรได้รับจากผู้เรียนเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น

 (第5版クラスを終わったら、私は一言をお伝えました。)


ก่อนที่นิสิตจะเขียนคีย์เวิร์ด ผมขอกล่าวอะไรแก่นิสิตกลุ่มนี้ สะท้อนความรู้สึกของอาจารย์เจ้าของรายวิชานี้

"พวกคุณเป็นนิสิตปริญญาตรีรุ่นแรกที่ผมมีโอกาสได้สอน
บรรยากาศชั้นเรียนที่ผมสร้างขึ้นมาแบบนี้
เพื่อให้พวกคุณมีโอกาสได้ฝึกตนเอง กล้าคิด กล้าแสดงความคิดเห็น
เพราะผมไม่ต้องการให้ลูกศิษย์ที่ผมสอนเป็นพนักงานชั้นต้นตลอดไป
แต่พวกคุณจะต้องพัฒนาตนเองต่อไป
ก้าวขึ้นไปเป็นผู้บริหารระดับสูง
เป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยนเรศวร

วิชากลยุทธ์ที่ผมสอนพวกคุณไป
จะเห็นได้ว่าสามารถนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
คุณสามารถเอาไปใช้ได้เรื่องของกีฬา การสมัครงาน การไปสัมภาษณ์
การเจรจาต่อรองเรื่องเงินเดือน
หรือแม้แต่เรื่องของความรัก

ถ้าตอนที่คุณโดนแย่งแฟนไป...จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม
คุณใช้กลยุทธ์ในการแย่งแฟนกลับคืนมาได้
ถ้าคุณมีสิ่งที่เรียกว่า Core Competencies
แต่ถ้าแฟนคุณมันเลว ก็ปล่อยมันไป
เพราะว่าคนเลวสมควรจะอยู่กับคนเลว
ไม่ต้องเสียใจ เสียดายอะไร

สิ่งที่สอนพวกคุณไปหลายบท ถ้าเพียงแต่พวกคุณหยิบเอาสิ่งที่ผมสอน
แม้แต่เพียงส่วนเล็กๆในเนื้อหานั้นมาใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
ผมในฐานะคนสอนคุณ...จะมีความภูมิใจมาก"



"สุดท้ายนี้ผมขออวยพรให้ลูกศิษย์ที่ผมสอนทุกคน
มีความก้าวหน้าในชีวิต หน้าที่การงาน
ประสบความสำเร็จ
เป็นตัวอย่างที่ดีแก่รุ่นน้อง
และเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยนเรศวร"



 (君たちは私にとって第一期教えた大学生になっていた。君たちは将来普通な会社員ではなく立派な役員になるためにこの授業環境を作ってきた。君たちはこの大学の誇るです、このことを持って下さい。

 私は君たちにいっぱい教えたけれども、その授業内容の中で君たちは一つ部分だけを取って実践してできれば、私にとって嬉しいです。

 戦略ということは一日生活にも実践してできます。スポース、就職活動給料交渉、あるいは愛情。Core Competenciesという事は君たちにとって、大事なこと是非自分のCore Competenciesを探してください。そしてこのCore Competenciesを守ってください。

 最後に君たちに立派な人間になるよう、心からお祈りして上げます。)




แล้วผมก็เปิดโอกาสให้ลูกศิษย์ในชั้นเรียนนี้ได้แสดงความรู้สึกที่มีต่อวิชานี้

สุวิชญาเป็นคนกล่าวคนแรก เธอได้ยินคนอื่นพูดเกี่ยวกับผมว่าเป็นคนพูดเร็ว วิชานี้ดูเหมือนเป็นวิชาที่ยาก เธอจะเข้าใจไหม? แต่พอได้เรียนวิชานี้เธอรู้สึกสนุกกับชั้นเรียนนี้ ขอบคุณอาจารย์ที่สอนสิ่งดีๆที่มีคุณค่าแก่เธอ

ชาตรี สุวรรณชื่นได้แสดงความเห็นในฐานะเด็กบัญชีที่ปกติจะนั่งเงียบในชั้นเรียน แต่สำหรับวิชานี้ไม่ว่าจะเป็นเด็กเอกการจัดการธุรกิจหรือเด็กเอกการบัญชี ทุกคนเท่าเทียมกัน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน ไม่อายที่จะยกมือแสดงความคิดเห็น

 (生徒さん一言をお伝えました、その後私と生徒さんたちと一緒に記念撮影した)


ผมถือโอกาสถ่ายภาพที่ระลึกร่วมกับนิสิตกลุ่มภาคพิเศษ





นิสิตตั้งใจเขียนคีย์เวิร์ดในชั้นเรียนครั้งสุดท้าย






ต่อไปนี้คือข้อความที่สะท้อนออกมาในฐานะของผู้เรียน

 (下記は生徒さんの感謝気持ちを書いた)





(この大学で4年間勉強したけれども、先生のような教師に見えなかった、先生は一番良い先生と思っていた。私は先生に逢って、良かった。とても喜んだ。ありがとうございました。)




 (長い間お世話になっていました、ありがとうございました。いろいろなことを教えていただいて、大切なことです。忘れないようにします。)



ชั้นเรียนกลุ่ม ๓ เป็นชั้นเรียนที่สองที่ปิดคอร์ส คำพูดที่พูดกับนิสิตกลุ่มนี้ใกล้เคียงกับกลุ่มนิสิตภาคพิเศษ ผมเปิดโอกาสให้นิสิตเขาได้พูดความรู้สึกที่มีต่อชั้นเรียนนี้ มีหลายๆคนแสดงความรู้สึกที่มีต่อชั้นเรียนวิชากลยุทธ์

 (第3版は翌週クラスを終わった)


บิวซึ่งผมมักจะเรียกเธอว่า "หนูน้อยเสื้อแดง" เพราะชอบใส่เสื้อแจ๊คเก็ตสีแดงทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดมาเรียน กล่าวว่า

"หนูเสียดายที่มาเรียนกับอาจารย์ตอนหนูอยู่ปี ๔ หนูน่าจะเรียนกับอาจารย์ตั้งแต่ปี ๑ ไม่อย่างนั้นหนูคงเก่งกว่านี้แล้ว ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่ให้ความรู้และแนวคิดดีๆแก่หนู"

พฤฒิพูดว่า

"อาจารย์ให้ความสำคัญกับพวกผมมากครับ อย่างงานปัจฉิมนิเทศ ความจริงอาจารย์ไม่ต้องไปร่วมก็ได้ครับ แต่อาจารย์ก็ไปร่วมงาน"





ผมตอบไปว่า

"ทุกคนคือลูกศิษย์ผม ดังนั้นทุกคนจึงมีความสำคัญ"




งานปัจฉิมนิเทศที่จัดขึ้นวันที่ ๒๘ สิงหาคมที่ผ่านมา มีอาจารย์ไปร่วมงานไม่กี่คน ปกติผมจะมีสอนวันเสาร์หรืออาทิตย์ แต่วันนั้นผมไม่ติดธุระอะไร และคิดว่าสำหรับนิสิตเราควรให้เกียรติไปร่วมงานด้วย เพราะในไม่ช้าพวกเขาก็จะสำเร็จการศึกษากันแล้ว ทางผู้จัดงานให้ผมเป็นตัวแทนอาจารย์สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเป็นคนรับมอบพวงมาลัยจากตัวแทนนิสิตและให้ผมกล่าวอะไรแก่นิสิตที่มาร่วมงานคืนนั้น




ผมขอถ่ายภาพกับลูกศิษย์กลุ่ม ๓ เป็นที่ระลึก วันนั้นมีนิสิตกลุ่ม ๔ บางคนมาขอเรียนด้วย พอรู้ว่าจะมีการบันทึกภาพเป็นที่ระลึก ปรากฏว่าหลายคนกลัวไม่หล่อ ไม่สวย ทาแป้ง ผัดหน้ากันใหญ่





พอสอนเสร็จ ลูกศิษย์กลุ่มอรอนงค์ขออนุญาตถ่ายภาพด้วย วันนั้นตรงกับวันอังคารที่ ๒๑ กันยายน ผมพึ่งตัดผมมาไม่นาน....ดูแล้วหัวหลิมไปเลย







คีย์เวิร์ดวันนี้ที่ลูกศิษย์เขียนส่งผมมีความหมายและความสำคัญอย่างมากสำหรับอาจารย์เจ้าของรายวิชากลยุทธ์ทางธุรกิจ

 (下記は生徒さんの感謝気持ちを書いた)





 (先生は一番です!)






 
(先生に会った時、私は4年生になった、残念ですね!若しかして1年生になった時、先生は私に教えたら、今私にもっともっと凄い大学生になるかもしれない。先生のことをずっと忘れないです。ありがとうございます。)





 (先生は私たちの意見を一回ども見下さない。感謝しています。)






(先生のクラスはとても面白いです。ありがとうございました。)

 






 (いつも先生に会って、優しさを頂いた、暖かい気持ちを持っていた。先生は私のお父さんのようになる。先生、ありがとうございます)



คำพูดที่ลูกศิษย์ผมเขียนในคีย์เวิร์ดในคาบสุดท้ายของวิชากลยุทธ์คือรางวัลตอบแทนสำหรับความพยายามที่ผมทุ่มเทให้กับชั้นเรียนที่ผมสอน

(これらの言葉を読んで喜んだ。私にとって教師の役割のプレゼントみたいです。)



สำหรับนิสิตกลุ่ม ๔ การปิดคอร์สสำหรับชั้นเรียนครั้งสุดท้าย ผมกล่าวอะไรไม่ต่างจากสองกลุ่มก่อนหน้า แต่ผมพูดเพิ่มเข้าไปว่า


"หลายคนอาจจะรู้สึกน้อยใจที่มาเรียนมหาวิทยาลัยนเรศวร
แต่ถ้าคุณไม่ได้มาเรียนที่นี่ เราก็คงไม่ได้เป็นลูกศิษย์เป็นอาจารย์กัน"



ผมให้โอกาสลูกศิษย์ของผมพูดความรู้สึกที่มีต่อชั้นเรียนนี้ ปกติกลุ่มนี้จะเงียบ แสดงความคิดเห็นน้อยกว่ากลุ่มอื่น อาจจะเป็นเพราะจำนวนนิสิตในกลุ่มนี้เพียง ๒๔ คนเท่านั้นซึ่งผมจำหน้าและจำชื่อได้ทุกคน


วันนั้นกุสุมาพูดเป็นคนแรก พอพูดๆไปกุสุมาก็จะเริ่มร้องไห้ ผมบอกเพื่อนในชั้นว่าอย่าหัวเราะ ปล่อยให้เพื่อนพูดและถ้าเขาอยากจะร้องไห้ก็ปล่อยให้เขาร้องไปเถอะ กุสุมามีอาการสะอื้นตอนที่จะบอกกับผมว่า...


"อาจารย์เหมือนคุณพ่อของหนูค่ะ..."


ผมไม่ทันสังเกตว่ามีเพื่อนในชั้นเรียนบางคนแอบร้องไห้โดยการนั่งก้มหน้า นิสิตมาเฉลยให้ฟังทีหลังว่าพวกเขาร้องไห้กันตอนที่ได้ยินกุสุมาพูดประโยคดังกล่าว


นันทนัชและศุภากานต์ซึ่งเป็นเพื่อนกลุ่มเดียวกับกุสุมา กลุ่มห้าสาวสวยที่มักจะมาสายและคุยกันในระหว่างที่เรียน เขากล่าวอะไรออกมา ผมฟังแล้วประหลาดใจเพราะเหมือนกลุ่มนี้มักจะคุยกันในระหว่างที่ผมสอนจนบางครั้งผมต้องเตือน แต่สิ่งที่เขาพูด...มันบ่งบอกถึงคุณค่าที่เขาได้รับจากชั้นเรียนและความสำคัญของชั้นเรียนนี้


ศศินภาปกติจะพูดตรงๆ โผงผาง เขาบอกว่าตอนแรกเขาเข้าใจว่าอาจารย์โยจะมาสอนวิชานี้ แต่พอมารู้ว่าอาจารย์คนที่สอนเป็นดร. เขามีภาพลักษณ์ว่าอาจารย์พวกดร.จะพูดรู้เรื่องไหม? แต่พอเขามาเรียนความรู้สึกมันแตกต่างไปเลย ชั้นเรียนนี้เขารู้สึกสนุก ไม่อยากขาดเรียน เรียนแล้วได้อะไรที่มีค่าหลายๆอย่างติดตัวไป


หลายคนไม่แสดงความคิดเห็นแต่ใช้วิธีเขียนถ่ายทอดผ่านคีย์เวิร์ดที่เขาส่งในชั้นเรียน คีย์เวิร์ดที่อมรรัตน์เขียนให้ผม...ผมตื้นตันใจจนบอกไม่ถูก ไม่คิดว่าลูกศิษย์เขาให้คุณค่ากับชั้นเรียนและสิ่งที่ผมสอนมากขนาดนี้




 (先生は私たちの未来のため、この大学で教えて頂いた。感謝ことばを出ないです。)




ผมถ่ายภาพกับนิสิตกลุ่มที่ ๔ เก็บไว้เป็นที่ระลึก

 (私と第4版の生徒さんです)





ปิยธิดา(จิ๊บ) แอบเขียนในคีย์เวิร์ดว่า อาจารย์ทำซึ้งด้วยการถ่ายภาพพวกเราเก็บไว้เป็นที่ระลึก จิ๊บไม่เข้าใจว่าทำไมผมถ่ายภาพบรรยากาศในชั้นเรียนตลอดเวลาที่ทำกิจกรรมกัน ตอนนี้ถ้าเธอมาอ่านเนื้อหาในบล็อกเธอคงเข้าใจแล้ว จิ๊บชื่นชมที่ผมจำได้ว่าลูกศิษย์เป็นคนบ้านเกิดจังหวัดอะไรบ้าง

บางทีผมเป็น "คุณชายละเอียด" ที่ช่างจดจำรายละเอียดของเรื่องต่างๆในชีวิต ดังนั้นเรื่องเล็กน้อยของลูกศิษย์ผมจึงใส่ใจแม้ว่าคนอื่นอาจจะคิดว่าไม่สำคัญ


วันศุกร์ที่ ๒๕ กันยายนเป็นวันสุดท้ายและคาบสุดท้ายของการเรียนสำหรับนิสิตเอกการบัญชีทั้งกลุ่ม ๑ และกลุ่ม ๒ มันช่างบังเอิญที่คาบสุดท้ายของการเรียนสำหรับนิสิตกลุ่มนี้เป็นวิชา "กลยุทธ์ทางธุรกิจ" ที่ผมสอน พวกเขาอยู่ปี ๔ เทอมหน้าก็จะไปฝึกงานกัน ดังนั้นวิชาที่ผมสอนจึงเป็นวิชาสุดท้ายที่พวกเขาเรียน


ภายหลังจากผมสอนกลุ่ม ๒ และกลุ่ม ๑ เสร็จ ผมขอให้นิสิตตั้งใจฟังอะไรหน่อย อย่าพึ่งรีบเขียนคีย์เวิร์ด ผมบอกกับพวกเขาว่า ต่อไปนี้ผมจะพูดกับพวกเขาในฐานะอาจารย์เจ้าของรายวิชานี้


"บางทีอาจจะเป็นเรื่องของกรรมที่เราเคยทำร่วมกันในอดีต
เลยทำให้ผมทิ้งอาชีพนายธนาคาร ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย
ธนาคารกสิกรไทย
มาเป็นอาจารย์ของพวกคุณ

พวกคุณหลายคนอาจจะน้อยใจที่มาเรียนที่มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผมอยากจะให้พวกคุณภูมิใจที่ได้มาเรียนที่นี่
การที่ผมจบจากสถาบันที่ดีที่สุดในไทยและสถาบันที่ดีที่สุดในญี่ปุ่น
ผมก็เชื่อมั่นว่าผมสามารถสร้างลูกศิษย์ที่ผมสอนให้มีคุณภาพได้ไม่ด้อยกว่ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอื่นในเมืองไทย
ถ้าพวกคุณไปเรียนที่มหาวิทยาลัยอื่น...เราคงไม่ได้มาเป็นศิษย์และอาจารย์กัน


การที่ผมให้พวกคุณกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
ผมสร้างบรรยากาศชั้นเรียนแบบนี้
เพราะผมไม่ต้องการให้ลูกศิษย์ผมเป็นพนักงานชั้นต้นตลอดชีวิต
ผมต้องการให้ลูกศิษย์ของผม
มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
พัฒนาตัวเองก้าวขึ้นไปเป็นผู้บริหารระดับสูง
เป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยต่อไป


ตอนที่ผมเรียนหลักสูตรปริญญาเอกในญี่ปุ่น
มันมีความยากลำบาก ปัญหามากมาย
แต่ผมไม่เคยท้อ
เพราะผมรู้ว่าปริญญาเอกที่ผมจะได้รับ
มันไม่ใช่ปริญญาเอกแค่ตัวผมอีกต่อไป
แต่มันหมายถึงความภาคภูมิใจสำหรับครอบครัวผมในอนาคต
และลูกศิษย์ที่ผมจะสอนในอนาคต

ถ้า ชาตรี แปลว่า "นักสู้"
ผมจะเป็นตัวอย่างให้ลูกศิษย์ผมเห็นว่า
คำพูดที่ผมบอกกับตัวเองเสมอว่า

"ความพยายามของผู้คน ไม่เคยจบลงด้วยความสูญเปล่า"

มันเป็นจริงเสมอ

ถ้าอาจารย์ของพวกคุณทำได้ พวกคุณก็ทำได้เหมือนกัน

ผมเหนื่อยมากๆกับการเตรียมการสอน ผมเครียดจนอาการมันแสดงออกมาที่สุขภาพเริ่มมีปัญหา แต่ตอนที่ผมเห็นพวกคุณสนุกกับชั้นเรียนที่ผมสอน พวกคุณไม่รู้หรอกว่าผมได้รับพลังจากพวกคุณ

กลยุทธ์ที่ผมสอนพวกคุณไป ๑๓ บทนั้น ถ้าเพียงแต่พวกคุณหยิบเอาสิ่งที่ผมสอนแม้จะเพียงส่วนเล็กๆในบางบทที่ผมสอนไป แล้วมันใช้ได้ในชีวิตจริง ผมในฐานะผู้สอน..ผมจะภูมิใจมาก

ถึงแม้ว่าผมจะไม่ได้สอนพวกคุณอีกในชั้นเรียนปริญญาตรี เพราะทุกคนกำลังจะสำเร็จการศึกษาในไม่ช้า ความเป็นครู-ศิษย์เรายังคงมีอยู่ระหว่างกันตลอดไป

ขออวยพรให้ลูกศิษย์ของผมทุกคนประสบความสำเร็จในชีวิต หน้าที่การงาน และเป็นความภูมิใจของคณะฯ และมหาวิทยาลัยนเรศวรต่อไป"



 (第1版と第2版の生徒さんたちに一言をお伝えた。


  この大学で勉強したのに残念な気持ちを思っていないでください。私はタイと日本で優秀な大学で卒業した、だから君たちはバンコクで優秀な大学生に負けずに育ってきた。もしかして、君たちはこの大学で勉強しなかったら、私と君たちに先生と生徒さん関係にならないでしょう。

  日本で留学した時、大変だけれど私は一回度も諦めなかった。チャテイーという意味では「Fighter」です。その博士資は自分ためだけではなく、将来の家族の誇るのためにそして私の生徒さんの誇るためにも、大切な意味がある、だから動力していました。 

  私のMOTTOは

  「人の努力は最後に勿体無いではない」

  もしかして、君たちはこのMOTTOも信じていたら、是非諦めないでください。

  これから、君たちに教える機会がないけれども、先生と生徒さん関係することをずっと持っています。

 
  この大学の誇るために、君たちは是非大活躍になるよう、心からお祈りして上げます。)




ผมเปิดโอกาสให้นิสิตเขาพูดถึงความรู้สึกที่มีต่อวิชานี้

จันทร์เพ็ญยกมือแสดงความรู้สึกคนแรก เธอพูดว่า

"สำหรับวิชาอื่นที่หนูเคยเรียนมา หนูเข้าเรียนแล้วอยากให้มันหมดเวลาไปไวๆ แต่สำหรับวิชานี้หนูรู้สึกสนุกที่เรียนทุกครั้ง หนูมีความสุขเวลาเรียนวิชานี้ ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่สอนสิ่งต่างๆที่มีคุณค่าให้แก่หนู"

ชไมพรแสดงความคิดเห็นว่า

"อยากให้อาจารย์สอนดีๆแบบนี้ต่อไปค่ะ หนูดีใจแทนรุ่นน้องที่จะได้เรียนวิชานี้กับอาจารย์ค่ะ"


มีนิสิตคนอื่นพูดแสดงความคิดเห็นไปเรื่อยๆ ผมให้โอกาส จนกระทั่งผมถามว่ามีใครอยากจะพูดความรู้สึกอีกไหม ปรากฏว่าจุลนพยกมือ แต่พอเขาพูด เขาพูดไปได้แป๊บนึงเขาอึ้งไป ผมรู้ว่าเขาคงสะเทือนใจแล้วอาจจะร้องไห้ออกมาถ้าพูดต่อ ผมบอกกับเขาว่า

"ถ้าอยากจะร้องไห้ก็ร้องไป เพราะนี่เป็นชั้นเรียนสุดท้ายแล้วที่คุณเรียนที่นี่ เรื่องแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ เพื่อนๆอย่าไปหัวเราะเขา แม้ว่าจะเป็นผู้ชายก็ไม่ใช่เรื่องน่าอายถ้าคุณอยากจะร้องไห้"


 「男子は一言を伝えた時、涙があふれた。)


จุลนพเริ่มพูดต่อพร้อมสะอื้นว่า


"ถึงพวกเราจะไม่ใช่ลูกพระเกี้ยว
พวกเราไม่ใช่ลูกแม่โดม
แต่เราไม่อายใครที่จบจากมหาวิทยาลัยนเรศวร
เราภูมิใจที่ได้เรียนกับอาจารย์ครับ

พวกเราสัญญาว่า
จะไม่ให้ความพยายามของอาจารย์สูญเปล่าครับ
พวกเราจะไม่เป็นพนักงานชั้นต้นตลอดไป
พวกเราจะพัฒนาตัวเองก้าวไปสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงในอนาคต"




 (彼の言葉は

  私たちはChulalongkorn大学生ではない、Thammasart大学生ではない、このナレスアン大学で卒業したら、恥ずかしくないです。先生を教えて頂いた、このことをずっと誇っています。

  私たちは先生と約束します。

  “先生の努力を勿体無いしないように、私たちは将来一般会社員にならないように、自分で改善して将来立派な役員になるようになります。”)





คำพูดที่จุลนพกล่าวทำให้เพื่อนๆในชั้นเรียนพากันร้องไห้ ผมไม่คิดว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นในชั้นเรียนที่ผมสอน และคำพูดของจุลนพทำให้อาจารย์เจ้าของรายวิชาร้องไห้ต่อหน้าลูกศิษย์ไปด้วย


 (彼の言葉は友達そして私の涙をだました。とても感度しました)




หลังจากที่ลูกศิษย์ร้องไห้พอสมควรเพราะภูมิใจที่ได้เป็นศิษย์วิชานี้กับผม ผมก็บอกกับลูกศิษย์ว่า

"เอาละ เช็ดน้ำตาให้แห้ง เดี๋ยวถ่ายภาพออกมาไม่สวยนะ ผมขอถ่ายภาพกับลูกศิษย์ที่ผมสอนไว้เป็นที่ระลึก"


ภาพข้างล่างเป็นภาพที่ผมถ่ายกับลูกศิษย์เอกการบัญชีกลุ่ม ๒ กลุ่มนี้มีเด็กเรียนเก่งหลายคน หลายคนยกมือเก่งและยกมือไวมากในการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนที่ผมสอน


 (私と第2版の生徒さんたち)





นิสิตเขาตั้งใจเขียนคีย์เวิร์ดกันมากๆสำหรับคาบสุดท้ายที่พวกเขาเรียน






ข้อความในคีย์เวิร์ดที่ลูกศิษย์กลุ่ม ๒ เขียน สะท้อนความรู้สึกของผู้เรียนที่มีต่อวิชานี้




 














เนื่องจากสอนกลุ่ม ๒ เสร็จก็ตอนเที่ยง แล้วต้องสอนกลุ่มที่ ๑ เป็นกลุ่มสุดท้ายตอนบ่ายโมงต่อ ดังนั้นจึงไม่มีเวลาจะมาถ่ายภาพกับนิสิตที่อยากถ่ายรูปด้วยบางคน บางกลุ่ม


คาบสุดท้ายสอนที่ห้องเรียนอาคาร QS ห้องหมายเลข QS3211

(最後の教えた教室はQS3211号室です)







ทุกคนลุ้นกับคะแนนการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนเพราะเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะทำแต้มแล้ว ผมเหลือบไปเห็นรายชื่อนิสิตหญิงที่ชื่อ พัชรา หลักฐาน เธอเป็นคนเดียวในกลุ่มนี้ที่ยังไม่เคยยกมือแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนเลย ผมเลยถามเธอตรงๆว่าตกลงเธอจะไม่ยกมือเลยใช่ไหม? ถ้าเธอไม่ยกมือ เธอจะได้คะแนนแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนเป็น "0" เพื่อนๆต่างลุ้น ต่างเชียร์ให้เธอยกมือ ผมให้โอกาสเธอแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน คำตอบที่เธอแสดงออกมานั้นถูกต้องแต่เธอไม่กล้าแสดงความคิดเห็นออกมาเพราะเธออาย

พอสอนเสร็จแล้วผมก็เฉลยให้เธอรู้ว่าการที่เธอยกมือแค่เพียงครั้งเดียว และเป็นคาบสุดท้าย คะแนนแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนอยู่ที่เท่าไหร่? เพื่อนๆในชั้นส่งเสียงอุทานที่ผมใจดีให้คะแนนยกมือแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนสูงกว่าที่ทุกคนคิดเอาไว้


สิ่งที่ต้องการชี้ให้นิสิตในชั้นเรียนเห็นก็คือ ผลของความพยายามของผู้คนไม่สูญเปล่า


บรรยากาศของชั้นเรียนภายหลังผมสอนเสร็จแล้วกล่าวอะไรกับลูกศิษย์ทุกคน จบลงแบบเดียวกับกลุ่ม ๒

ณัฐพลยกมือแสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก เขาพูดว่าผมไม่เคยรังเกียจเขา แต่ให้เกียรติเขาแม้ว่าเขาจะเป็นเพศที่สามก็ตาม อาจารย์ฟังความเห็นของนิสิตทุกคน อาจารย์ชี้นำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อลูกศิษย์ ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

แล้วก็มีคนอื่นพูดแสดงความคิดเห็น แล้วอยู่ๆก็เริ่มมีคนร้องไห้ พอพรทิพาพูดเขาพูดด้วยภาษาอีสานแบบไม่อายใคร เขาพูดไปร้องไห้ไป เธอชื่นชมและดีใจทีได้เรียนวิชานี้

พอพันธิวาพูดบ้างเธอก็พูดไปร้องไห้ไป เป็นครั้งแรกที่เธอขอพูดภาษาอีสาน การที่เธอพูดไปร้องไห้ไปทำให้เพื่อนคนอื่นๆร้องไห้ตาม

วรวรรณก็พูดภาษาอีสานบ้าง เขาตื้นตันใจพูดไปร้องไห้ไป บอกว่าผมเหมือนญาติผู้ใหญ่ที่คอยห่วงใยลูกศิษย์


 (彼女たちは一言をお伝えた時、東北弁で言いながら涙を出た、感謝気持ちを込めて伝えた。)



ผมมองไปที่นิสิตในชั้นเรียน ไม่รู้ว่าใครเริ่มต้นร้องไห้ก่อน แต่บรรยากาศนิสิตในชั้นร้องไห้กันเป็นส่วนใหญ่ แถวหน้ามีการแจกทิชชูรายบุคคลเลยเพราะดูเหมือนร้องไห้กันเกือบทั้งหมด หลายคนกลัวว่าคนอื่นจะเห็นว่าร้องไห้ เอาแต่ก้มหน้าอย่างเดียว


 (生徒さんたちはこの大学で4年間勉強したのに、最後の授業の涙を出た経験がなかった。私の最後の授業は最初そして最後涙を出ちゃった!!!)



ผมขอถ่ายภาพกับลูกศิษย์กลุ่ม ๑ เก็บไว้เป็นที่ระลึก

 (私と第1版の生徒さん)






ลูกศิษย์หลายๆคนขออนุญาตถ่ายภาพด้วยเป็นที่ระลึก





วันนั้นไม่คิดว่าลูกศิษย์หลายคนอยากจะขอถ่ายภาพด้วยหลายคนขนาดนั้น พวกเขาเข้าคิวขอถ่ายภาพด้วยราวกับว่าเราเป็นคนสำคัญ


คีย์เวิร์ดของนิสิตกลุ่ม ๑ ที่มีต่อวิชานี้สะท้อนออกมาดังนี้





(私はこの大学で勉強して良かったと思います。この先生を出会って、いろいろなことを教えて頂いてとても幸せになった。ナレスアン大学、この良い先生を持ってきて、ありがとうございます。この大学を卒業したら、ずっと誇るを持ってきます。)














ข้อความที่ลูกศิษย์เขียนเป็นเหมือนกำลังใจให้ผมพยายามต่อไปกับอาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัย รักษามาตรฐานในการสอนให้สมกับศรัทธาที่ลูกศิษย์มีต่อผม



 (生徒さんたちの言葉を読んだら、大変勇気をもらった。生徒さんの信頼を守るために、この教える水準をきっと守っています。)




 

Create Date : 23 ตุลาคม 2553    
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2553 11:10:59 น.
Counter : 2295 Pageviews.  

ลูกศิษย์ระดับปริญญาตรีรุ่นแรกในมหาวิทยาลัยนเรศวรที่เรียนกับผม ตอนที่ 6 「第6課、ナレスアン大学で私の教えた大学生第1期)

ต้นเดือนสิงหาคมมีสอบกลางภาควิชากลยุทธ์ทางธุรกิจ ผมคุมสอบกลุ่มที่ ๑ จำได้ว่าเดินทักทายลูกศิษย์ทุกกลุ่ม เตือนให้นิสิตอ่านคำถามในข้อสอบดีๆว่าคำถามถามว่าอะไรพยายามตอบให้ตรงประเด็น

ตอนออกข้อสอบวิชานี้ผมอารมณ์ดี...คาดว่าลูกศิษย์จะอารมณ์ดีตอนทำสอบ แต่ตอนที่ไปเดินทักทายลูกศิษย์...ปรากฏว่าส่วนมากหน้าหงิกกัน

พอเวลาสอบผ่านไป ๑ ชั่วโมงรู้ว่านิสิตเครียด เลยเชิญชวนให้ลูกศิษย์รีแล็กซ์แป๊บนึงก่อนจะทำสอบต่อ บางคนถึงกับนั่งสมาธิ ลูกศิษย์หลายคนทำสอบจนครบเวลา ๓ ชั่วโมง แม้ว่าคะแนนสอบปลายภาคเพียง ๑๕ คะแนนเท่านั้น มีนิสิตบางคนเขียนมาในคีย์เวิร์ดว่าสำหรับวิชานี้เพื่อนๆตั้งใจสอบเตรียมตัวสอบเป็นอย่างดีแม้ว่าคะแนนสอบกลางภาคจะเก็บเพียง ๑๕ คะแนนเท่านั้น ผิดกับบางวิชาที่เก็บมากกว่านี้แต่นิสิตไม่สนใจเตรียมตัวเท่าไหร่


ตอนตรวจข้อสอบ....ผมอารมณ์ดีเพราะนิสิตหลายๆคนพยายามเขียนอธิบายในกระดาษคำตอบแบบมั่วนิ่ม โยงอะไรที่ไหนที่ผมไม่เคยสอนในชั้นเรียนมาตอบคำถามนั้น


ตอนสอนในชั้นเรียนหลังสอบกลางภาคผ่านไป ก็เฉลยคำตอบที่ถูกให้ลูกศิษย์ทราบ แล้วชี้ให้เห็นว่า...ควรตอบให้ตรงประเด็นแล้วตอบให้ครบถ้วน ถามอะไรตอบให้ครบ หลายคนพลาดไปเพราะอ่านโจทย์ไม่ดี ถาม ๕ อย่างใน ๑ ข้อ นิสิตตอบเพียง ๓ ข้อเลยเสียคะแนนฟรีๆ ๘ แต้ม


การที่ผมต้องสอน ๕ กลุ่มสำหรับนิสิตปริญญาตรี ต้องสอนนิสิตปริญญาโทวันอาทิตย์ทั้งวัน ภายหลังสอนนิสิตปริญญาโทเสร็จวันอาทิตย์ตอน ๕ โมงเย็น หลังตรวจงานเสร็จก็เตรียมการสอนสำหรับนิสิตปริญญาตรีต่อ บ่อยครั้งที่ผมต้องอยู่เพื่อเตรียมเนื้อหาที่จะใช้สอนนิสิตอยู่ที่ห้องทำงานของคณะฯจนถึงตี ๑ บางครั้งร่างกายล้ามาก..ผมต้องยอมแพ้แล้วมาเร่งเตรียมการสอนวันจันทร์เช้าให้ทันก่อนที่จะสอนคาบแรกวันจันทร์ตอนบ่ายสองโมง ซึ่งกลุ่มที่ ๓ เป็นกลุ่มแรกที่ผมสอน

ร่างกายที่ใช้งานหนัก...ขาดการพักผ่อน บวกกับความเครียด ผลลัพธ์จึงสะท้อนออกมาที่อาการจอประสาทตาเริ่มมีปัญหาเห็นภาพไม่ชัด ผมรีบไปพบจักษุแพทย์ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรเพื่อเช็กสภาพตาที่ผิดปกติ

มีโอกาสได้ปรึกษาอาจารย์หมอจีราวัฒน์ซึ่งคุยไปคุยมาเป็นรุ่นน้องที่จุฬาฯหลายปี อาจารย์หมอจีราวัฒน์วินิจฉัยแล้วลงความเห็นว่ากล้ามเนื้อจอประสาทตาเกิดอาการเกร็งตัวเนื่องจากความเครียดทำให้น้ำมาขังบริเวณจอประสาทตาทำให้เห็นภาพไม่ชัด อาการนี้เป็นเองและจะหายเองแต่ใช้เวลาประมาณ ๓ เดือน อาจารย์หมอให้ยาหยอดตามาหยอดตาและนัดเจอเช็กอาการอีกที ๑ เดือนข้างหน้า

อาจารย์หมอถามผมเรื่องสอนนิสิตว่าเป็นอย่างไร

ผมตอบอาจารย์หมอจีราวัฒน์ว่า

"ผมอาจจะตั้งใจสอนสำหรับชั้นเรียน พยายามทำชั้นเรียนให้สนุก ตอนที่นิสิตเขาสนุกกับชั้นเรียนเรา...เราได้รับพลังจากนิสิตมาด้วย"


อาจารย์หมอจีราวัฒน์มองหน้าผมด้วยความประหลาดใจกับคำตอบที่ผมตอบ อาจารย์หมอจีราวัฒน์บอกว่าลูกศิษย์คณะแพทย์ศาสตร์ยังทำตัวเป็นเด็กๆ ยังสนุกสนานกับการถ่ายภาพแม้ว่าจะอยู่ระหว่างที่เรียนในห้องผู้ป่วยก็ตาม


ช่วงกลางเดือนสิงหาคมผมต้องเดินทางไปดูงานพร้อมกับนิสิตปริญญาเอกที่เซี่ยงไฮ้ เลยต้องจัดสอนชดเชยหลังวันแม่ ๑๒ สิงหาคม เนื้อหาเป็นเรื่องที่ผมถนัดคือ "การจัดการกับวิกฤตการณ์" เพราะเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของผม ถือว่าลูกศิษย์ปริญญาตรีรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกของมหาวิทยาลัยนเรศวรที่ผมมีโอกาสได้ถ่ายทอดแนวคิดเรื่อง "การจัดการกับวิกฤตการณ์"

ภูมิใจที่แนวคิดและการค้นคว้าเรื่องนี้ตลอดหลายปีมีโอกาสได้ถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์ อย่างน้อยถ้าพวกเขาเข้าใจกับแนวคิดเรื่อง "การจัดการกับวิกฤตการณ์" อย่างถูกต้อง พวกเขาสามารถลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินได้มหาศาล


กลับจากไปดูงานที่เซี่ยงไฮ้ผมมาถึงคณะฯตอนตี ๔ ผมสอนคาบแรกตอน ๑๑ โมงเช้า ต่อเนื่องไปจนถึง ๓ ทุ่ม วันรุ่งขึ้นผมสอนชดเชยให้กับกลุ่มนิสิตเอกการบัญชีตอนเย็น และวันศุกร์ผมสอนตั้งแต่ ๑๐ โมงเช้าถึง ๖ โมงเย็น
มีพักเพียงช่วงเที่ยงเท่านั้น


สภาพตาที่คิดว่าจะดีขึ้นภายหลังจากไปพักผ่อนดูงานในเซี่ยงไฮ้และหางโจว กลายเป็นว่าอาการตาแย่ลง บางครั้งผมสอนไปผมรู้สึกว่าผมมองภาพไม่ชัดเจนต้องหลับตา ผมขอนิสิตเปิดไฟด้านหน้าได้ไหมถ้าพวกเขาพอจะมองเห็นจอสกรีนที่ฉายสไลด์ เพราะถ้าบริเวณโต๊ะที่อาจารย์นั่งมืดผมจะมองภาพลำบาก ลูกศิษย์เข้าใจและเป็นห่วง ยอมให้ผมเปิดไฟด้านหน้าในขณะที่สอน

พอเห็นอาการตาที่ไม่ดีขึ้น ผมตัดสินใจบินไปตรวจตาอีกทีกับหมอเฉพาะทางด้านจอประสาทตาที่โรงพยาบาลรัตนิน หมอที่โรงพยาบาลรัตนินลงความเห็นเหมือนอาจารย์หมอจีราวัฒน์ว่าอาการนี้เป็นเองหายเอง อาการเครียดเป็นสาเหตุ วิธีการรักษาอาจจะใช้การยิงเลเซอรเพื่อสลายน้ำที่ขังบริเวณจอประสาทตา แต่คิดว่านั่นไม่ใช่ทางเลือกที่จำเป็นตอนนี้ เพราะอาการแบบนี้ผมเคยเป็นสมัยเป็นนิสิตปริญญาเอก อาการนี้เป็นเองหายเอง หมอให้ยาระงับอาการกังวลมา แต่ผมเลือกที่จะไม่กินเพราะว่าตราบเท่าที่เราไม่ได้แก้ที่สาเหตุคือความเครียด อาการจะไม่ดีขึ้น และถ้าต้องกินยาระงับอาการกังวลตลอดจะเป็นผลเสียต่อตัวเรามากกว่า


ผมบินกลับมาที่พิษณุโลกในวันรุ่งขึ้นเพื่อจะสอนชั้นเรียนกลุ่ม ๒ ตอน ๑๐ โมงเช้า และชั้นเรียนกลุ่ม ๑ ตอนบ่ายโมง

ชั้นเรียนการทำกรณีศึกษาของนิสิตในช่วงท้ายของวิชานี้ ผมฝึกให้นิสิตทำงานเป็นทีมร่วมกับเพื่อนคนอื่น ฝึกคิดวิเคราะห์และประยุกต์สิ่งที่สอนในชั้นเรียนมาใช้กับกรณีศึกษา







































































































ตอนให้มาพรีเซ็นต์หน้าชั้นเรียน หลายๆคนประหม่าเสียงสั่นบ้าง มือไม้สั่นบ้าง




















น่าเสียดายตรงที่บางกลุ่มออกมาอ่านหน้าชั้นเรียนแทนที่จะพรีเซ็นต์ เลยทำให้คะแนนรายงานหน้าชั้นได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น






อนุสราก่อนจะออกมาพรีเซ็นต์มีช่างแต่งผมช่วยจัดทรงผมให้ดูดีก่อนจะออกมาพรีเซ็นต์>













ผมก็ไม่ได้ให้คะแนนการรายงานหน้าชั้นโหดมากนัก ใครเกินเวลาก็โดนตัดแต้ม กลุ่มที่รายงานเกินเวลาแม้จะโดนตัดแต้มแต่คะแนนก็ยังสูงกว่ากลุ่มอื่น แต่โดยรวมคะแนนทุกกลุ่มเกาะกลุ่มกันไปแบบไม่น่าเกลียดนัก แตกต่างกันไม่มากจนเกินไป





อภิญญากับนิชานารถเป็นตัวแทนกลุ่มออกมารายงานหน้าชั้น นิชานารถเสนอแนะวิธีในการเพิ่มพันธมิตรทางธุรกิจให้กับบริษัทสงกรานต์เรียกเสียงหัวเราะจากเพื่อนๆ อภิญญาเป็นคนขี้เล่น...พอรู้ว่ากำลังจะถูกถ่ายภาพเลยยิ้มอารมณ์ดีสู้กล้อง




 

Create Date : 23 ตุลาคม 2553    
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2553 11:17:36 น.
Counter : 2121 Pageviews.  

ลูกศิษย์ระดับปริญญาตรีรุ่นแรกในมหาวิทยาลัยนเรศวรที่เรียนกับผม ตอนที่ ๕ (第5 課、ナレスアン大学で私の第一期学部生)

ตอนที่สอนให้นิสิตเขาเข้าใจความหมายของคำว่า ซินเนอร์จี้ (Synergy) ที่ภาษาไทยใช้คำว่า "พลังทบทวี" ผมยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวเขาเพื่อให้พวกเขาเข้าใจง่ายขึ้น

"ปรากฏการณ์ซินเนอร์จี้คือ 1+1 > 2 หมายความว่า ผลรวมของของสองสิ่งที่แยกกันอยู่มีค่าน้อยกว่าค่าของผลรวมของของสองสิ่งรวมกัน


1 กับ 1 รวมกันอย่างไรก็ได้แค่ 2 แต่ถ้าเอา 1 กับ 1 มารวมเข้าด้วยกัน...ผลลัพธ์ของการเกิดปรากฏการณ์ซินเนอร์จี้ทำให้ค่าที่ได้ออกมามีค่ามากกว่า 2


ตัวอย่างของซินเนอร์จี้เปรียบได้กับ ความสุขของคนสองคนที่แยกกันอยู่ตามลำพังเมื่อนำความสุขของแต่ละคนมารวมกัน มีค่าน้อยกว่าความสุขของการที่คนสองคนมาใช้ชีวิตร่วมกันภายใต้คอนเซ็ปต์ของชีวิตสมรส"



แต่ก็ถามนิสิตในชั้นว่าเข้าใจอย่างไรกับคำพูดที่ว่า

"ชีวิตแต่งงานเหมือนการซื้อล็อตเตอร์รี่"


ดูเหมือนส่วนมากจะคิดคล้ายๆกันว่า....เป็นการเสี่ยงดวงกับการเลือกใครมาใช้ชีวิตด้วย ถ้าได้คนดีก็ถือว่าถูกล็อตเตอร์รี่ ถ้าได้คนเฮงซวยก็ถือว่าถูกกิน


ผมขมวดปมให้นิสิตเขามองต่างออกไปว่า


ชีวิตแต่งงานเหมือนกับการซื้อล็อตเตอร์รี่....ก็ตรงที่โอกาสจะถูกล็อตเตอร์รี่รางวัลที่ ๑ น้อยมากๆ เหมือนแต่งงานแล้วมีความสุขได้ดังใจจากการใช้ชีวิตกับคู่สมรส คงไม่มีใครซื้อหวยแล้วขอแค่เลขท้ายสามตัวหรือเลขท้ายสองตัว จริงไหม? ทุกคนหวังจะถูกรางวัลใหญ่และโดยมากหมายถึงรางวัลที่ ๑ ซึ่งโอกาสถูกน้อยมาก

แต่ถ้าถามว่าในเมื่อรู้ว่าโอกาสถูกรางวัลใหญ่น้อยมากๆแต่ทำไมคนซื้อกัน? คำตอบก็คือคนหวังว่าจะถูก


ถามนิสิตในชั้นว่า...รู้ว่าโอกาสถูกรางวัลใหญ่น้อยมีใครยังอยากแต่งงานบ้าง? ช่วยยกมือขึ้นหน่อย

ทั้งที่รู้ว่าโอกาสถูกรางวัลใหญ่มีน้อยแต่ดูเหมือนนิสิตหญิงหลายคนก็ยังเชื่อมั่นว่าเธอจะถูกรางวัลใหญ่


ข้อเท็จจริงที่มีการรายงาน...ปีที่แล้วมีคนไปจดทะเบียนสมรสในไทย ๓ แสนคู่ แต่ปีเดียวกันมีคนไปจดทะเบียนหย่าร้างสูงถึง ๑ แสนคู่ หมายความว่า ในจำนวนคู่สมรสที่แต่งงาน ๓ คู่มีโอกาสหย่าร้าง ๑ คู่ เห็นตัวเลขแล้วน่าตกใจมาก


ทิ้งท้ายเอาไว้ในชั้นเรียนวันนั้นว่า ถ้าสมรสแล้วเหมือนซินเนอร์จี้ก็ไม่ต้องลังเลแต่งงานไปเลย เพราะว่าความสุขที่เกิดขึ้นมันมากกว่าอยู่เป็นโสดตามลำพัง แต่ว่าถ้าคิดว่าแต่งงานเหมือนซื้อล็อตเตอร์รี่ไม่ต้องแต่งดีกว่าเพราะโอกาสจะสมหวังและมีความสุขน้อยมาก


ชั้นเรียนกลุ่ม ๑ มักจะเป็นชั้นเรียนที่ผมสอนเป็นกลุ่มสุดท้ายในแต่ละสัปดาห์ การที่เป็นกลุ่มสุดท้าย...ทำให้การสอนชั้นเรียนนี้มักจะลงตัวในการสอนและหลายครั้งความคิดดีๆก็เกิดขึ้นมาในหัวขณะที่สอน















วันที่สอนเรื่องการควบคุมกลยุทธ์ ผมถามนิสิตในชั้นว่า

"พวกคุณเอาการควบคุมกลยุทธ์ไปใช้กับชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง?"


หลายๆคนพูดถึงการคุมตัวเอง การคุมค่าใช้จ่าย แต่ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น (Happening) เมื่อมีนิสิตหญิงรายหนึ่ง(ซึ่งผมจำชื่อและนามสกุลได้แต่ไม่ขอเปิดเผยในบล็อก) เขาพูดถึงการควบคุมความรัก

ผมเปิดโอกาสให้นิสิตหญิงรายนั้นเขาพูด....จนตอนท้ายพอฟังเขาพูดพอจับประเด็นได้ว่าน่าจะพึ่งเสียใจจากความรักมาใหม่ๆ


ภายหลังจากนิสิตหญิงรายนั้นพูดจบ....ผมก็เลยขมวดปม แล้วรู้ว่าเธอยังอยู่ในอารมณ์เสียใจอยู่ ผมบอกกับเธอว่า

"ถ้าอยากจะร้องไห้ ก็ร้องไห้ไปเถอะ ไม่ต้องอายใคร เพื่อนในชั้นก็ไม่ต้องไปหัวเราะเพื่อนถ้าเขาอยากจะร้องไห้ ตอนที่รู้สึกอัดอั้นตันใจมาก การร้องไห้เป็นกลไกทางธรรมชาติของมนุษย์ที่ช่วยลดอาการกดดัน ลดความคับข้องใจ แต่เมื่อหยุดร้องไห้แล้ว...ต้องได้สติแล้วเดินหน้าต่อไป"


ผมถามนิสิตในชั้นว่าไหนพวกคุณลองนิยามความหมายของคำว่า "ความรัก" ให้ฟังหน่อยว่า ความรักคืออะไร?

หลายๆคนยกมือตอบซึ่งนอกจากจะได้แต้มแล้วยังได้ความสะใจ นิสิตบางคนอธิบายความหมายไปก็เขินไปหัวเราะอายๆไป


หลังจากฟังนิสิตในชั้นเรียนแสดงความคิดเห็นต่อความหมายของคำว่า "ความรัก" แล้ว ผมก็ขมวดปมแล้วสรุปให้นิสิตฟัง

สิ่งที่นิสิตเขาแสดงความคิดเห็นไม่มีใครผิด แต่สิ่งที่ผมจะสรุปให้เขาฟังเป็นนิยามที่ผมคิดว่ามันตอบโจทย์ได้มากที่สุด


"ครั้งหนึ่งผมอ่านหนังสือชื่อ "แด่คนหนุ่มสาว" เขียนโดยท่านกฤษณะ มูรติ อ่านแล้วชอบในนิยามความหมายของคำว่า "ความรัก" ซึ่งมันใช้ได้กับทุกกรณี

"ความรักคือ

การที่เราไม่โกรธ

การที่เราให้อภัยได้เสมอ

ยินดีและพร้อมที่จะช่วยเหลือ

มีความสุขที่ได้ช่วยเหลือ"



ถ้าพ่อแม่รักลูก พ่อแม่ไม่เคยคิดยื้อแย่งลูกมาจากแฟน แต่เวลาลูกมีความสุขพ่อแม่ก็มีความสุขด้วย เวลาลูกทำให้พ่อแม่เสียใจ พ่อแม่ให้อภัยลูกได้เสมอ พ่อแม่มีความสุขที่ได้ช่วยเหลือลูก

พวกคุณรักสุนัขมาก มันทำข้าวของฉีกขาด คุณโกรธมันไหม? คุณให้อภัยมันได้ใช่ไหม?

ถ้าพวกคุณรักใครก็ตามด้วยความรักแบบเมตตา คุณจะไม่เป็นทุกข์ แต่ถ้ารักใครโดยมีความคาดหวังเป็นตัวล่อ คุณจะเป็นทุกข์ทุกครั้งที่รักผู้คน เพราะรักแล้วคาดหวังว่าเขาต้องรักตอบกลับมา เมื่อเขาไม่รักตอบก็เสียใจ เป็นทุกข์

แต่ถ้ารักแบบเมตตา คุณยินดีกับคนที่คุณรัก ไม่ว่าเขาจะรักคุณหรือไม่ก็ตาม เมื่อคุณเห็นเขามีความสุขคุณก็มีความสุขตามไปด้วย ถ้าเขาไม่รักเราก็วางอุเบกขา รักแบบนี้จะไม่เป็นทุกข์ไม่ว่าจะมีความรักกับใคร จะเกิดขึ้นกี่ครั้งก็ตาม"


สิ่งหนึ่งที่อาจจะไม่ได้สอนในชั้นเรียนก็คือ...


"คนเราไม่ได้เกิดมาเพื่อใคร...
อย่าให้ใครมาทำลายคุณค่าในตัวเรา
คนทุกคนมีคุณค่าในตัวเอง
จงภูมิใจในคุณค่าของตนเอง
คนเราถ้าไม่ภูมิใจในคุณค่าของตนเองแล้ว
จะให้คนอื่นมาภูมิใจในตัวเราได้อย่างไร
เก็บคุณค่าในตัวเราเอาไว้
เพื่อมอบให้กับคนที่สมควรมอบให้"



จะเห็นว่ากลยุทธ์สามารถใช้ได้ในชีวิตจริง ไม่ใช่เอาไปใช้แค่ในห้องเรียน เอาไว้ตอบคำถามในข้อสอบ




 

Create Date : 12 ตุลาคม 2553    
Last Update : 13 ตุลาคม 2553 7:51:26 น.
Counter : 730 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  

ชีวประภา
Location :
พิษณุโลก Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add ชีวประภา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.