หลงใหลในความรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด


Jap@Pro
Location :
Tokyo Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




อยากนำเสนอความรู้ในแนวทางใหม่ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกคน
Business Development
Enterprise Currency Marketing
Psychological Marketing
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Jap@Pro's blog to your web]
Links
 

 

[จิตวิทยาการขาย] Gesture

สวัสดีทุกท่านครับ ไม่ทราบว่ามีใครติดตามอ่านอยู่บ้าง บทความนี้จะเป็นบทความสุดท้าย ผมอาจจะมาเขียนต่ออย่างเร็วสุดคืออีก 2 อาทิตย์หรืออาจจะเลื่อนไปเรื่อยๆไม่มีกำหนด เนื่องจากว่าผมติดภารกิจกู้ชาติ เอ้ย กำลังเสนอโปรเจ็คให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาอยู่ เป็นกำลังใจให้ด้วยนะก๊าบ

***********************************************
Gesture หมายถึง การใช้มือขยับไปมา เพื่อช่วยในการอธิบายสิ่งที่กำลังนำเสนออยู่
การใช้ Gesture อย่างเหมาะสมจะช่วยสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นได้ ในขณะเดียวกัน การใช้ Gesture ที่ไม่ถูกต้องก็ก่อให้เกิดความรำคาญได้เช่นเดียวกัน
ตัวอย่างการใช้ Gesture ที่ดี
1.วาดมือจากบนลงล่าง
“ถ้าใช้สินค้าชนิดนี้ ต้นทุนจะลดลงทันที 20%” ในขณะกำลังพูดประโยคนี้ ให้วาดมือจากบนลงล่าง จะทำให้เกิด Impact ได้
2.วาดมือจากล่างขึ้นบน
“ถ้าใช้สินค้าชนิดนี้ ยอดขายจะเพิ่มสูงขึ้น 25%” ในขณะกำลังพูดประโยคนี้ ให้วาดมือจากล่างขึ้นบน จะมีประสิทธิภาพอย่างมาก
3.วาดมือไปด้านข้าง
“ธุรกิจจะขยายตัวอย่างมาก” ให้วาดมือไปด้านข้างกว้างๆ จะทำให้ลูกค้าประทับใจและรู้สึกว่าธุรกิจจะขยายจริงๆนะ




 

Create Date : 13 มิถุนายน 2551    
Last Update : 13 มิถุนายน 2551 9:15:31 น.
Counter : 1915 Pageviews.  

[จิตวิทยาการขาย] ตำแหน่งการนั่งทั้ง 4 แบบ

ตำแหน่งในการนั่งของเซลล์แมนกับลูกค้านั้น มีผลอย่างยิ่งต่อการสร้างบรรยากาศเจรจาธุรกิจ

1.นั่งเผชิญหน้ากัน
หลายๆองค์กรใช้วิธีการนั่งแบบนี้ ซึ่งการนั่งแบบนี้เหมาะสำหรับการเจรจาต่อรอง (Negotiation) มากกว่า คุณคงเคยดูทีวีจะเห็นว่าเวลาไปเยือนต่างประเทศของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศนั้น ทั้งสองฝ่ายจะนั่งเผชิญหน้ากัน ประเทศนึงก็นั่งด้านนึง ตามหลักจิตวิทยาเรียกการนั่งแบบนี้ว่า การนั่งเพื่อโต้แย้ง
แต่ว่าเซลล์แมนกับลูกค้านั้น ไม่ได้ต้องการมาโต้แย้งอะไรกัน เซลล์แมนไม่สามารถหลบสายตาลูกค้าได้ จิตใจหวั่นไหว ดังนั้น การนั่งแบบนี้จึงไม่แนะนำ

2.นั่งเฉียง
ลดการเผชิญหน้าลงได้ สามารถหลบสายตาของลูกค้าได้ในบางครั้ง แต่ว่าต้องระวังอย่างหนึ่งว่าการนั่งแบบนี้ดูไม่เป็นธรรมชาติ

3.นั่งทำมุม 90 องศา
สามารถรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าได้ และไม่ถูกกดดันจากสายตาของลูกค้า ระยะห่างระหว่างเซลล์แมนและลูกค้าใกล้ชิดกันก่อให้เกิดความสนิทสนม เป็นการนั่งที่เหมาะสมที่สุด

4.นั่งข้างๆ
การนั่งแบบนี้ เรียกว่า การนั่งของคู่รัก ระยะห่างระหว่างลูกค้ากับเซลล์แมนจะใกล้มาก จะสร้างความสนิทสนมให้เกิดขึ้น อาจจะมองสายตาของลูกค้าได้ยากหน่อย แต่ว่าเวลาอธิบายแคตตาล๊อกต่างๆ สามารถอธิบายได้โดยง่าย การจะไปนั่งตรงนั้น อาจจะใช้เทคนิคทำเป็น ขออธิบายแคตตาล๊อกใกล้ๆ เป็นต้น

การจะนั่งตำแหน่งไหนก็ตาม ให้คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับลูกค้าเป็นหลัก






 

Create Date : 12 มิถุนายน 2551    
Last Update : 12 มิถุนายน 2551 14:31:30 น.
Counter : 1342 Pageviews.  

[จิตวิทยาการขาย] ใช้ระยะห่างให้เป็นประโยชน์

ความสัมพันธ์ของคนเรานั้น ระยะห่างมีอิทธิพลอย่างมาก ระยะห่างในที่นี้คือ ตำแหน่งในการยืน นั่ง ระหว่างเซลล์แมนกับลูกค้า
ระยะห่างระหว่างเซลล์แมนกับลูกค้ายิ่งใกล้ ระยะห่างด้านจิตวิทยาก็จะรู้สึกใกล้ตาม

ระยะห่างด้านจิตวิทยาที่ใกล้ จะก่อให้เกิดความรู้สึกสนิทสนม

ผลการศึกษาของ Hall พบว่า ระยะห่างไม่เกิน 120 ซม สามารถสร้าง communication ที่ก่อให้เกิดความสนิทสนมได้

แต่ว่า การที่เซลล์แมนพยายามจะใกล้ชิดลูกค้าจนเกินไป จะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าโดนคุกคามอาณาเขตของตนเอง ดังนั้น เซลล์แมนจึงควรระวังจุดนี้ด้วย




 

Create Date : 11 มิถุนายน 2551    
Last Update : 11 มิถุนายน 2551 13:40:15 น.
Counter : 464 Pageviews.  

[จิตวิทยาการขาย] ยอมรับข้อดีของสินค้าของคู่แข่งขัน

หัวข้อนี้ผมว่าดีนะ ใครที่ทำงานขายลองศึกษาดูนะครับ
***********************************************
เซลล์แมนหลายๆคน พยายามขายสินค้าของตนเอง โดยยกข้อบกพร่องของสินค้าของคู่แข่งขันที่ลูกค้ากำลังใช้อยู่
เพื่อแสดงให้เห็นว่าสินค้าของตนเองดีกว่า และให้ลูกค้าเปลียนมาใช้สินค้าของตน แต่ว่า ยิ่งเซลล์แมนโจมตีสินค้าของคู่แข่งขันมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งถูกเกลียดมากเท่านั้น
เพราะว่า ลูกค้าจะรู้สึกว่า “มันสมอง” ของเค้าถูกโจมตีอยู่นั่นเอง
คนเรานั้น ย่อมคิดว่าตนเองคิดถูกต้อง ดังนั้น ยิ่งโดนโจมตีสิ่งที่ตนเองตัดสินใจไป ก็จะรู้สึกเหมือนตนเองโดนโจมตีว่าไม่มีความสามารถไม่สามารถแยกแยะสิ่งที่ดีและถูกต้องได้
ยิ่งเซลล์แมนพูดมากเท่าไหร่ ลูกค้าจะยิ่งโต้แย้งมากขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่เพราะต้องการปกป้องสินค้าของคู่แข่งขัน แต่เป็นการปกป้องความคิดความสามารถของตนเองนั่นเอง เพราะว่าถ้ายอมรับในสิ่งที่เซลล์แมนพูด ก็หมายความว่า ยอมรับว่าตนเองไม่มีความคิดนั่นเอง
การโต้แย้งที่รุนแรงก็เกิดขึ้น

อย่าพยายามโจมตีสินค้าของคู่แข่งขัน แต่ให้ยอมรับในข้อดีของสินค้าของคู่แข่งขัน (ลูกค้านี่ตาถึงจริงๆ)

หลังจากที่ลูกค้าได้รับการยอมรับในความตาถึงแล้ว จิตใต้สำนึกก็จะสร้างความวางใจและเริ่มที่จะฟังสิ่งดีๆที่เซลล์แมนจะนำเสนอต่อไป

การยอมรับในข้อดีของสินค้าของคู่แข่งขันนั้น จะได้ประโยชน์สองอย่างคือ
1.ไม่ต้องเผชิญหน้ากับการโต้แย้งของลูกค้า
2.ได้รับการยอมรับว่าเซลล์แมนคนนี้ ไม่ได้สักแต่จะขายสินค้าของตนเอง แต่ว่าเข้าใจในความต้องการของลูกค้าและจะนำเสนอสิ่งที่ดีจริงๆ




 

Create Date : 09 มิถุนายน 2551    
Last Update : 9 มิถุนายน 2551 13:36:00 น.
Counter : 587 Pageviews.  

[จิตวิทยาการขาย] ประสิทธิภาพของการเรียกชื่อ

หนังสือหลายๆเล่มได้เขียนไว้ว่า สำหรับเซลล์แมนนั้น สร้างความสนิทสนมกับลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญ ในช่วงระหว่างการเจรจาธุรกิจจึงควรเรียกชื่อลูกค้า เพื่อที่จะจำชื่อลูกค้าให้ได้
แน่นอนว่า คนเรานั้น ถ้ามีคนจำชื่อของเราได้ย่อมจะรู้สึกดีเป็นธรรมดา การเรียกชื่อลูกค้าเป็นการสร้างความสนิทสนมให้เกิดขึ้น

ตัวอย่าง
“เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับ proposal” -> “คุณสมศักดิ์ คิดเห็นอย่างไรกับ proposal ครับ”
แต่การเรียกชื่อลูกค้าบ่อยๆ ก่อให้เกิดผลตรงกันข้าม
เช่น “คุณสมศักดิ์ Proposal เป็นอย่างไรบ้างครับ คุณสมศักดิ์ขอความคิดเห็นหน่อยครับ คุณสมศักดิ์”
ลูกค้าจะรู้สึกว่าการเรียกชื่อของตนเองบ่อยๆ เป็นเทคนิคของพวกเซลล์แมน และจะคิดว่า

1.เซลล์แมนคนนี้ พยายามจะจำชื่อของตนโดยการพูดชื่อของตนบ่อยๆ
2.เซลล์แมนคนนี้ ต้องการจะสร้างความสนิทสนมโดยการเรียกชื่อบ่อยๆ
3.เซลล์แมนคนนี้ ไม่เป็นธรรมชาติ

ดังนั้น การเรียกชื่อลูกค้า จึงควรคำนึงถึงความพอเหมาะพอดี ถ้ามากเกินไปจะก่อให้เกิดผลด้านลบ





 

Create Date : 06 มิถุนายน 2551    
Last Update : 6 มิถุนายน 2551 9:16:32 น.
Counter : 971 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.