A ........ Z
Group Blog
 
All blogs
 

Psychometrer Eiji ไอ้หนูหัตถ์จิตพิศวง


ปีใหม่..........ว่าจะเขียนอะไรที่เป็นเรื่องใหม่ๆ
แต่ทว่า มักจะจบลงที่ซีรีย์ค้างกรุเรื่องเดิมๆ เสียทุกที เหมือนอย่างปีใหม่ปีนี้
ก็ไม่ต่างจากปีใหม่ในปีที่แล้ว ที่มานั่งจับเจ่าอยู่กับซีรีย์ญี่ปุ่นเก่าๆ
ตามประสาคนที่ไม่มีที่ไป และอยากไปไหนต่อไหนแต่คนรู้จักไม่ริจะชวน
คงมีแต่ซีรีย์จากแดนไกล เป็นสิ่งรู้ใจ ที่พอรู้จักตามประสาคนชอบหมักดองเรือ่งเก่าๆ
แล้วหาเวลา มาเจียดเพื่อความหรรษาเป็นการส่วนตัวไม่ค่อยได้
ก็จะมีวันหยุดยาวในช่วงนักขัตฤกษ์นี้แหละ ที่พอแก้ขัดในการระบายสมบัติเก่าเก็บ
ให้หมดทยอยเป็นเรื่องๆไป วันนี้ก็เลยขอเลือกเอาซีรีย์เก่าในปี ค.ศ. ๑๙๙๗
กับเรือ่งในแนวฆาตกรโรคจิตกับพลังเหนือธรรมชาติ ที่ชื่อว่า

" Psychometrer Eiji "



ถ้านับในเวลานั้น ผู้เขียนรับรู้ได้ถึงความละอ่อนของตัวเอง
แต่นั้นก็ยังไม่เท่ากับความละอ่อนพระเอกของเรือ่ง ที่ชื่อ อาสึมะ เอย์จิ
ที่รับบทโดย มัตสึโอกะ มาซาฮิโระ เป็นเจ้าคนตัวใหญ่ นิสัยเบื้อก
ที่ผู้เขียนล่าสุดเพิ่งได้ชมกับซีรีย์เรืองล่า ที่เจ้าหมอนี้นำแสดง
ในบทอดีตหนุ่มสิงห์แก็งค์มอเตอร์ไซด์ ที่หันเหมาวาดการ์ตูนตาใสโชจู ในเรือ่ง
Yasuko to Kenji แล้วรู้สึกคุ้นๆหน้า ว่าเหมือนเราจะมีงานเก่าที่หมอนี้เคยเล่น
เลยไปค้นๆคุ้ยๆมา จนได้มาเจอกับซีรีย์เรือ่งที่จะเล่าอย่าง Psychometrer Eiji
เเละเพราะซีรีย์ดังกล่าว จึงพอให้รู้ว่าไอ้หมอนี้ มันก็คือหนึ่งในสมาชิกวง TOKIO
ของค่าย Johnny's Entertainment เหตุที่รู้ ก็เพราะตอนจบของซีรีย์เรือ่งนี้
จะจบด้วยเพลง Furarete Genki ซึ่งครั้งหนึ่ง เพลงนี้เคยถูกกรอกหูอย่างไม่เจตนา
ด้วยความที่สหายท่านหนึ่ง คลั่งไคล้วงนี้เอามากๆ
ประมาณว่าก๋ากั๋นกันสุดๆ ในช่วงปี ๙๐ โดยนายมาซาฮิโระ
จะทำหน้าที่ตีกลองชุดโปะชึ่งโปะ อยู่ด้านหลัง
ก็ออกไปแนวสกา-วาไรตี้ ที่มีจังหวะโจ๊ะๆ ฟังแล้วก็สนุกสนานครื้นเครงตาม



แต่ก็เป็นเรือ่งแปลก ที่งานของหมอนี้ แทบจะไม่เคยผ่านตาผู้เขียนสักเท่าไร
ตามประสาคนที่ไม่ถูกโฉลก แต่ยอมรับว่าการได้จับงานซีรีย์เรื่อง Psychometrer Eiji
ก็เป็นการปูทางชิ้นแรกๅ ในวงการบันเทิงเมืองยุ่นได้ไม่น้อย เพราะมีงานไม่กี่ชิ้น
ที่ทางค่าย NTV จะมีโครงการสร้างภาคสอง จากซีรีย์เรือ่งเดียวกัน
และเจ้ามาซาฮิโร่ ก็คล้ายๆ จะเป็นนักแสดงคู่บุญกับค่าย NTV ที่ทางสถานี
เรียกใช้บริการเจ้าหมอนี้อยู่หลายต่อหลายเรือ่ง ขณะที่ Psychometrer Eiji
แม้จะเป็นงานที่ผ่านกาลเวลามากกว่าสิบปี ก็ยังเป็นพล็อกเรือ่งที่แลดูสนุก
เผลอๆ หนุกกว่าซีรีย์สืบสวนสอบสวนยุคปัจจุบัน ในบางเรือ่งสักอีก
ส่วนเรืองไหนคงไม่ขอพาดพิง แต่ถ้าอยากแอบอิง ก็รบกวนไปอ่านหมวด
ซีรีย์สุดทนแห่งปี ที่ไม่สุโค้ยย์เลยในช่วงหนึ่งปี จากการจัดอันดับในปีที่แล้วละกัน

width='600' height='230' border=0>

ระยะหลัง ถ้าได้รู้ว่าซีรีย์เรือ่งไหน เป็นงานที่ถูกสร้างมาจากการ์ตูน
ผู้เขียนมักต้องยืนระยะ แล้วตั้งการ์ดเอาไว้สูง แม้จะพอรู้บ้างว่า
ผู้ดัดแปลงบท อยากที่จะสร้างความสมบูรณ์สมจริงเพียงไร
ก็ไม่อาจที่จะหลุดกรอบของวัฒนธรรมความเป็นการ์ตูนของเจ้าของลิขสิทธิ์ไปได้
สิ่งที่ทำได้มากที่สุด คือ การใส่มิติของตัวละคร ให้มีความเป็นมนุษย์ปุถุชนมากขึ้น
ดังนั้น ความอรรถรสที่ดูเหนือจริงในฉบับการ์ตูน ที่คนดูอย่างผู้เขียนเคยสัมผัส
มักไม่ออกลูกปะแล่มๆ เพราะรู้ว่า แม้ในความเป็นการ์ตูน ตัวตนของตัวละครที่ได้อ่าน
ก็เป็นสิ่งสมมติของลายเส้นในตัวของผู้วาด เป็นการยอมรับในชั้นแรก
จึงไม่น่าเเปลกใจ ถ้าส่วนที่เหลืออื่นๆ จะไม่เป็นเรือ่งยากที่จะยอมรับ
แต่เมื่อถูกสร้างมาเป็นซีรีย์ ที่คนจริงๆต้องเล่นเข้าด้วยแล้ว อันนี้เป็นคนละเรือ่งเลย
อย่างน้อยๆ อคติหนึ่งที่เกิดขึ้นในใจข้อแรก คือ
เอย์จิในการ์ตูน กับ เอย์จิในฉบับซีรีย์ แทบไม่มีความใกล้เคียงกันอยู่เลย
ถ้าใครได้เคยอ่านงานในฉบับการ์ตูน
อันเป็นงานร่วมเขียนร่วมสร้างของ ยูมะ เอนโด้ กับ มาสาชิ อาซากิ
มีลิขสิทธิ์แปลจำหน่ายตั้ง ๒๕ เล่มจบ เป็นของค่ายวิบูลย์กิจเข้าด้วยแล้ว
จะรู้เลยว่า เป็นคนละอารมณ์กันเลย แม้จะอยู่ในกรอบของพลังวิเศษ
ที่คลี่คลายคดีฆาตกรรมต่อเนือ่งเป็นแกนหลัก แต่เมื่อความเป็นตัวละครมันไม่ได้
ทีเหลืออื่น ก็ควรลืมๆไปสัก แล้วเสพอรรถรสไปตามเรื่องตามราว ตามแต่พี่จะเล่า
ถ้าทนได้ก็ดูต่อ แต่ถ้าทนไม่ไว้ ปีหน้าถัดไปก็เตรียมใจจัดหมวดซีรีย์สุดทนแห่งปีไว้ละกัน



แต่ปรากฎว่า เพียงได้ดูตอนที่หนึ่ง ก้นก็ติดหนึบ
หนึบชนิดที่เรียกว่า ลืมสมมติสัจจะของการเคาท์ดาวน์ ที่มนุษย์ในสังคมส่วนใหญ่
ยอมรับในกฎเกณฑ์เหล่านี้สิ้นไป มาเพ่งตามองในสมมติสัจจะจากซีรีย์บรมกรุสมบัติ
แบบที่ครั้งหนึ่ง เคยติดหนึบกับซีรีย์ Galileo ที่มารู้ตัวอีกที ก็ดูข้ามวัน
ไหลยาวเป็นมาราธอน ตั้งแต่ตอนแรกยันไปจนจบ อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนือ่ย
(แต่ปวดตาฉิบเลย) ซีรีย์เรื่อง Psychometrer Eiji
จึงเป็นความหนุกที่มีอุปสรรคของกาลเวลา ในครั้งที่เคยสร้างมาตั้งนานนม
เทคนิคพิเศษแสนเชย ในระดับที่เทียบเท่ากับว่า ครั้งหนึ่งอุตร้าแมนเคยเป็นเพื่อนกับหนุมาน
เทคโนโลยีการสืบสวนยุคนั้น ที่เทียบเท่ากับในระดับประเทศโลกที่สามในปัจจุบัน
แฟชั่นการแต่งตัว สำบัดสำนวนในพวกวัยรุ่นตกยุค
ก็มิได้เป็นอุปสรรคต่อความหนุกจนต้องละทิ้งหน้าที่ ของความเป็นผู้ชม
แม้แต่เหตุจูงใจในฆาตกร จะดูสุดขั้วเสียจนนรกเรียกพี่ แต่ก็ยังมีส่วนดีๆที่จะชดเชย
มิให้กลายเป็นซีรีย์อนาถา ที่ต้องรอความเมตตาจากผู้ชม ให้ต้องอดทนในฐานะผู้ดูแต่ประการใด

width='600' height='230' border=0>

ถ้าในยุคปัจจุบัน ซีรีย์การสืบสวนสอบสวนจะมุ่งเน้นไปในหลักวิชาการ
ว่าด้วยศาสตร์แห่งการศึกษามูลฐานของการกระทำผิด อย่างที่เห็นในวิชาฟิสิกส์จาก
Galileo ประสาทวิทยาใน Mr.Brain หรือนิติวิทยาศาสตร์ อย่างใน Boss
แต่เชื่อไหมว่า ครั้งหนึ่งในญี่ปุ่นก็เคยมีซีรีย์ที่ใช้ความสามารถทางการสืบสวน
อีกวิธีหนึ่งที่ดูสุดขั้วเช่นกัน แต่ครั้งนั้น เขาใช้เด็กหนุ่มมัธยมปลาย
ที่มีพลังเหนือธรรมชาติจากหัตถ์ข้างซ้าย เป็นข้างซ้ายที่มากกว่าทำกิจธุระส่วนตัวในห้องน้ำ
เพราะหัตถ์ข้างซ้ายนั้น หากได้จับต้องต่อวัตถุหรือบุคคลใด
จะสามารถเชือ่มโยงให้เห็นภาพทั้งในอดีตและอนาคตของสิ่งนั้น
ซึ่งทางภาษาทางนักจิตวิทยาเขาเรียกว่า Psychometrer
เป็น Psychometrer ที่แม้แต่ wikipedia และ Dictionary ที่บ้าน ก็ยังไม่มีนิยามในศัพท์คำนี้
จะมีคำที่ใกล้เคียงสุด ก็คือ Psychrometers ที่เป็นเครือ่งมือวัดอุณหภูมิและความชื้น
(ซึ่งก็ไม่เกี่ยวเนือ่งอะไรกับซีรีย์เรือ่งนี้ จึงต้องปล่อยให้ศัพท์คำนี้เป็นปริศนาอีกต่อไป)
อาสึมะ เอย์จิ คือ ชื่อของเด็กหนุ่มคนที่มีพลังหัตถ์ในญาณแห่งการรับรู้
เป็นเด็กหนุ่มมัธยมปลาย ที่ถ้าดูภายนอกแล้วก็ไม่ต่างจากเด็กมัธยมปลายทั่วไป
สนุกสนานไปวันๆ ชอบกินชอบเที่ยว ร้องคาราโอเกะ และทำหน้าหื่นๆ
เวลาได้ไปยืนอ่านนิตยสารในหมวดผู้ใหญ่ แต่เหตุที่ได้มาร่วมงานกับกรมตำรวจได้นั้น
เป็นเรือ่งที่บังเอิญ เนือ่งด้วยครั้งหนึ่งได้เผลอเดินไปชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสาวมือใหม่
ที่เพิ่งเรียนจบหมาดๆจากสายจิตวิทยา อย่าง ชิมะ เรียวโกะ
(เล่นโดย อัตสึกะ เนเน่ คนที่เป็นอัยการสาวใน Hero และหมอผ่าตัดใน IRYU)
เหตุที่เจ้าหล่อนสงสัยว่า เด็กที่เพิ่งเป็นนายอย่าง เจ้าเอย์จิ ว่าน่าจะมีพลังวิเศษ
เนือ่งด้วย พระเอกของเราดันเผลอเอ่ยเจ้าคำว่า "โมเบียส" (Mobius)
ซึ่งเป็นฉายาฆาตกรต่อเนือ่ง ที่มีเฉพาะเพียงแต่ในกองสืบสวนเท่านั้น
ที่พอจะทราบเรื่อง แล้วเจ้าเด็กหัวทองเมื่อวานซืน มันจะไปรู้เรือ่งได้อย่างไร
(อันนี้นางเอกของเรือ่งเขาคิดเองนะ แต่ผู้เขียนช่วยถอดความให้)
แล้วยิ่งเจ๊ยังเห่อกับแนวคิดเรื่องพลังเหนือธรรมชาติอยู่ เจอเม็ดนี้ ก็เข้าแก๊ปเจ๊เลยเด่
อีกอย่าง ผู้ต้องสงสัยในเรื่องนี้ มีเพื่อนพระเอกเข้าไปพัวพันอยู่ด้วยคนนึง
ความรักเพื่อน ประกอบกับเจ๊แกเลี้ยงอาหารมื้อค่ำแบบให้เป็นหนี้บุญคุณ
งานนี้พระเอกเอย์จิ ก็เลยแสดงพลังวิเศษ ขอเพียงเจ๊แค่เอาหลักฐานในที่เกิดเหตุสักชิ้น
มาสัมผัสจับต้องนิดหน่อย จากนั้นเรือ่งราวทั้งหมดก็จะปะติดปะต่อในหัวสมองของ
เจ้าเอย์จิ แล้วก็นำมาสเก็ดซ์ภาพ เพื่อให้เจ๊เรียวโกะแกไปเรียงร้อยกับ
ประจักษ์พยานในสำนวนคดี เท่านี้ก็เป็นการปิดฉากในคดีฆาตกรรมปริศนา
ที่ทำเอากรมตำรวจหัวหมุนติ้วก่อนหน้า เพราะฆาตกรแต่ละคนเขาจัดการเก็บผลงานสักเรียบ
ชนิดที่เจ้าหน้าที่แต่ละคน จับมือใครดมไม่ได้สักราย (แต่ก็ไม่จับแพะเหมือนบ้านเรานะ)



แต่เรือ่งราวของแต่ละตอน ก็ไม่ง่ายเช่นนั้น
เพราะมีความยึดโยงเกี่ยวเนือ่ง กับเหตุการณ์ประกอบแวดล้อม อีกตั้งมากมาย
อีกทั้งพลังวิเศษของเจ้าเอย์จิ ก็ใช่ว่าชัดเจนในระดับไฮเดฟฟีเนชั่น
แต่จะเป็นช๊อตของเหตุการณ์ ที่มีทั้งในอดีตและปัจจุบันที่ไม่ปะติดปะต่อกัน
และภาพส่วนใหญ่ ก็จะเป็นเพียงองค์ประกอบปลีกย่อย หาใช่เมนต์หลัก
ชนิดได้เห็นหน้าคาดตาของคนร้ายไม่ ดังนั้น ในทุกๆคดี
พระเอกเอย์จิของเรา จำต้องเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในสถานที่เกิดเหตุ
ร่วมกับเจ๊เรียวโกะ ผู้ที่เป็นทั้งเจ้าของคดีและไม่ใช่เจ้าของคดี
ประกอบกับความที่เป็นหญิงเก่ง ไฟแรง มีความบ้าบิ่นและมุทะลุ
จึงทำให้ไม่เป็นที่ปลื้ม ทั้งเจ้าหัวหน้าและเพือ่นร่วมอาชีพสักเท่าไรนัก เป็นเหตุให้
มีการขัดแข้ง-ขัดขาและมีปากมีเสียงกันอยู่เป็นประจำ อีกทั้งไปเล่าเรือ่ง
ความสามารถพิเศษของเจ้าเอย์จิ ก็ดันกลายเป็นเรืองขบขันและสร้างช่องระยะห่างให้
ในการขอความร่วมมือ สุดท้ายสิ่งที่ทำได้ คือ การยืมมือของพระเอกเอย์จิของเรา
ให้การคลี่คลายคดีโหดๆ ที่ไม่เหลือเค้าลางหลักฐาน พอจะให้มัดตัวคนร้ายได้
นอกไปจากหลักฐานในที่เกิดเหตุชิ้นสองชิ้น ที่มักไม่เหลือคราบลายนิ้วมือสักด้วยสิ
เพราะกำลังเป็นเทรนด์นิยมของผู้ก่อการ ในยุค ๙๐ ที่หนังเรือ่งไหนๆ เขาก็ทำกัน



สิ่งที่ทำให้ผู้เขียน สามารถสร้างสถิติส่วนตัวในการชมซีรีย์เรือ่งนี้อย่างมาราธอน
ชนิดข้ามปีแบบไม่มีโฆษณาคั่น ส่วนหนึ่งต้องยกให้ในความแปลก
เป็นความแปลกที่ฉีกแนว ปัจเจกนิยมฮีโร่ (Individual Hero) แบบที่มักเห็นในซีรีย์
แนวสืบสวนของยุคนี้ เพราะใน Psychometrer Eiji ถึงแม้ว่าจะมีเพียงเจ้าเอย์จิ
คนเดียวเท่านั้นที่มีหัตถ์วิเศษ ที่จะต้องเชื่อมโยงหลักฐานอันนำไปสู่การจับกุมคนร้ายได้
แต่ด้วยความที่เป็นซีรีย์วัยรุ่นมัธยมปลาย ก็ไม่อาจละเลยที่จะแหนบปีกเพื่อนรักอีกสองคน
ในฐานะตัวละครสำคัญ ที่มีบทเข้าฉากในทุกๆตอน อย่างเจ้าทามิยะ และเจ้ายุซุเกะ
อาจด้วยวัตถุประสงค์ของซีรีย์ ที่ต้องการเชิดชูในเรือ่งมิตรภาพและความไว้เนื้อเชื้อใจกัน
ซึ่งจะไปเฉลยในตอนสุดท้ายว่า ทำไมเพื่อนสองคนนี้ถึงมีความสำคัญกับพระเอกนัก
อีกอย่าง ถ้าการขาดสองคนนี้ไป หรือลดความสำคัญของสองตัวละครนี้ลง
ก็ไม่แน่ว่า ซีรีย์เรือ่งนี้จะเป็นที่จดจำของคนดูต่อไปอีกนานแสนนาน อีกรึเปล่า?
แต่อย่างไรก็ตาม สองคนนั้น ก็ยังไม่เป็นที่จดจำเท่ากับน้องคนสวยของพระเอก
ที่ชื่อว่า "เอย์ริ" เป็นอารมณ์ถวิลแบบที่เคยรู้สึกกับนักแสดงสาวน้อยอูมิกะ
น้องสาวพระเอกในเรือ่ง Bloody Monday คนที่เกิดเป็นน้องสาวพระเอกนี้ก็น่าเห็นใจเสมอ
เพราะต้องถูกชิงตัวไปปู้ยี้ปู้ยำ เป็นหลักประกันให้พระเอกต้องมั่นเป็นคนที่มาตามนัด
และรักษาคำมั่นสัญญา ซึ่งคนร้ายเรือ่งไหนๆ เขาก็ไม่เคยไว้ใจพระเอกของเรื่องกัน
แต่ขอบอก เอย์ริ น้องสาวพระเอกคนนี้ ไม่ธรรมดา มีบทบาทสำคัญแบบคาดไม่ถึง
แบบชนิดที่คนเขียนบทเรื่องไหนๆ ก็คิดไม่ถึงว่ากระดาษเปล่าไม่กี่แผ่น จะทำให้น้อง
เปลี่ยนเป็นคนละคนได้ถึงเพียงนี้ ชนิดที่ผู้เขียนก็ยลซีรีย์มาไม่น้อย ยังต้องตาค้าง
ว่ามันเล่นกันถึงเพียงนี้เลยเหรอ? (น้องสาวคนนี้เล่นโดย มัตซึโมโตะ ริโอะ
ทุกวันนี้ น้องก็ยังเจิดจรัสงานชุกอยู่ในวงการ อย่าง Tokyo Friend และ Love Operation)



ส่วนพล็อตในการฆาตกรรมในแต่ละตอน
ก็ต้องขอบอกว่า เข็นทรัพยากรของกลวิธีการฆาตกรรมทั่วทิศทุกมุมโลก
ตามแต่กระแสของเทรนด์ภาพยนตร์ไซโคทริลเลอร์ที่โลกจะคิดมาได้ มันจึงมีทั้ง
แบบ Jack The Rippers ก่อวินาศกรรมเพื่อปล้นเงินแบบ Die Hard 3
ลัทธิกลุ่มก๊วนแบบโอมชินริเคียว ผีเข้าในแบบหมอผี exsocist
ผู้ให้คำปรึกษาอย่าง Silent of the Lamb หวีดผวาอย่าง Scream เป็นต้น
เป็นแต่ละตอน ที่มักมีกลุ่มพระเอกเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างไม่ตั้งใจ
ประมาณว่า ไปเที่ยวแล้วดันเจอะเจอกันแบบบังเอิญเข้ากับเหตุฆาตกรรม
เป็นการบรรจบที่ดูจะเหมือนกับเส้นขนานกันคนละทาง แต่จูนกันติดในทุกคดี
อาจจะมีเพื่อนคนนั้น น้องคนนี้ พี่ป้าท่านนั้น ประสบอุบัติทวเหตุจนยากที่จะถอนตัว
ซึ่งบางทีก็ดูจริงจัง บางครั้งก็ทำเป็นเล่น และหลายทีก็ดูจะหลุดโลกกันไปเลย
(อย่างตอนเด็กแฝด และตอนสุดท้าย เป็นต้น) แถมการคาดเดาตัวคนร้าย
ก็มีทั้งแบบที่ถูกมั้งก็มี ผิดแบบมองข้ามตัวละครตัวนี้ไปได้ไง ก็มีไม่น้อย
แต่ลูกล่อลูกชน จะคล้ายๆกับ Mr.Brain คือ คนจริงใจยังแพ้คนใกล้ตัวนี้แหละ
แต่อย่างว่า คนใกล้ตัวมันมีเยอะ แต่ผู้ดัดแปลงบทก็ถือว่าฉลาดในการใช้ทรัพยากร
ในพลังเหนือธรรมชาติ โดยปล่อยให้ความสามารถที่ตายตัว ไปใช้วิธีการในหลายกรณี
แบบไม่ใช่มาจับสัมผัสกันโต้งๆ แต่ก็กลเม็ดเด็ดพรายให้หลอกล่อคนดู
และในหลายๆ เงือ่นไขที่พอจะสรรหา เพื่อมิให้พลังวิเศษกลายเป็นสิ่งพร่ำเพรือ
โดยใช้อย่างไม่ถูกที่ควร และคงนี้กระมัง ที่ทำให้ตอนจบกลายเป็นซีรีย์ปรัชญา
ในแนวนิยัติภาวะนิยม (Determinist) ที่มาวิพากย์วิจารณ์การตระหนักรู้
ถึงการแบกรับภาระของผู้มีญาณวิเศษ ที่ไม่เหมือนชาวบ้านชาวช่องเขา
เป็นญาณวิเศษประจำตระกูล ที่ผู้มีระอาต่อการอยู่ร่วมในสังคมมนุษย์
แม้จะเป็นในสิ่งที่พระเจ้าอาจจะประทานมาให้ เป็นจิตแบบเจโตปริยาญาณ ที่หยั่งรู้
ความรู้สึกนึกคิดจิตใจของคนๆนั้น ซึ่งอาจทำดีอย่าง แต่ในใจคิดเห็นไปอีกอย่าง
ที่แม้เจ้าตัวไม่ประสงค์ที่จะรู้ แต่ถ้าเผลอสัมผัสจับต้องให้เข้าแล้ว ถึงปิดหูที่จะได้ยิน
แต่สมองก็รับรู้ในความหมายนั้นไป ไม่อยากเชือ่เลยว่า จากหัวค่ำที่เป็นซีรีย์ตลกโปกฮา
พอมาตีห้ากว่าๆ กลายเป็นซีรีย์ดราม่าหนักอึ้ง ที่ต้องระวังมือของตัวเองไม่ให้ไปจับต้องกับอะไร



ซีรีย์เรือ่งนี้ ถือว่าใช้ทรัพยากรของตัวละครได้ทุกคุ้มค่าเรือ่งหนึ่ง
เท่าที่พึ่งจะมีได้ โดยเฉพาะการให้บทคนร้ายแก่ตัวละครที่เป็นหัวหน้าตำรวจของริโกะ
(เล่นโดยนากาชิวา โทชิยะ ดาราเก๋าร่างใหญ่ที่เล่นหนังสายซามูไร ใน Azumi2และShinobi)
หัวหน้าตำรวจจอมกระแดะเหน็บแหนม พูดญี่ปุ่นคำอังกฤษคำ มาแต่ละคราวหมาดสุนัขเรียกพี่
เป็นคู่กัดในทุกกรณีกับนางเอกตลอดศก เป็นคนตัวใหญ่ที่ขี้ขลาด ตอนมีวางระเบิด
ยังถีบให้ลูกน้องลุยตายเอาดาบหน้าไปก่อนเลย
ถือว่าช่างกล้าในสายตาของผู้เขียน เพราะโดยส่วนใหญ่ บทตัวละครที่มีอำนาจนิยม
ในฐานะตัวแทนของสถาบันที่ยึดติดในหลักการเดิมๆ มากกว่าที่จะเน้นในเป้าหมาย
มีความสามารถที่จะควบคุมชะตากรรมความเป็นความตายของตัวละครเอก
ก็มักจะลงเอยด้วยการยอมรับเจตจำนงตั้งต้นอันแนวแน่ของตัวละครเอก
ไม่ก็สลายไปร่วมกับแนวคิดดั้งเดิม ที่ไม่สอดรับกับยุคสมัยที่เปลี่ยนผ่าน แต่อย่างน้อยๆ
ก็ไม่เคยมี ที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพกลางคัน ให้มีตัวตนไปคนละแบบ
แบบที่พรีเซนต์ทนโทนมาในทุกๆตอน เจออึ้งลูกนี้ไม่ทันหาย
มาเจอตัวละครแบบสร้างมากลางเรือง แล้วเข็นมาตลอดให้จบในตอนท้าย
อย่าง "ซาวะกิ" (เล่นโดย ไซอิชิ ทานาเบะ ) ที่มาแนวจิตเวช เป็นศิษย์อาจารย์เดียวกันกับนางเอก
เป็นบทสำคัญไม่ใช่น้อย ก็มาทั้งในแนวให้คำปรึกษาและเหมือนจะเป็นดาร์ลิ่งนัยๆกับนางเอกริโกะ
แต่ทว่าก็เข็นไม่ขึ้น ก็นิสัยของคุณพี่ท่าน นางร้ายคนไหนๆ ก็คงคบหาดูใจกันยาก
ดูตอนที่พี่ท่านเล่น Kimi wa Petto พี่ท่านก็ยังไม่ทุ่มถึงปานนี้ สงสัยกินยาไม่ได้เขย่าขวด
เลยแสดงบทลูกบ้า ค่อนข้างมาก เพราะเอาเขาจริงใครที่ถูกรับเชิญให้ร่วมเล่นในเรื่องนี้
ก็ต้องฝากสติกับสัมปะชัญญะ เอาไว้ที่บ้าน
แต่อย่างว่า มาเจอเด็กหนุ่มอย่างเอย์จิ ที่นอกจากจะสัมผัสถึงสิ่งที่รับรู้
ทั้งใน อตีตังสญาณ และ อนาคตังสญาณ แล้ว พลังวิเศษของหมอนี้ ยังไปรับรู้ถึง
จิตใต้สำนึกที่ฝังลึกในวัยเยาว์ของตัวคนร้าย ชนิดที่ถ้าให้แฉเป็นน้ำจิ้มนิดหน่อย
ก็จี๊ดขึ้นสมองคนร้าย ให้ต้องปล่อยดาบทิ้งปืนในช่วงหน้าสิ่วหน้าขวาน ไปในบัดดล



และด้วยความนิยมในภาคแรก ทำให้ทาง NTV มีโครงการที่จะสร้างภาคสอง
ในสองปีต่อมา ซึ่งก็ยังประคองเรตติ้งมาด้วยดี ถึงแม้ว่าทีมงานจากหลายส่วนในภาคแรก
จะไม่ได้มามีส่วนร่วมในภาคสอง ทั้งอย่าง หัวหน้าโปรดิวเซอร์ ทีมโปรดิวเซอร์ และผู้กำกับ
และยิ่งโดยเฉพาะนางเอกสาว เนเน่ กับน้องสาวพระเอก อย่าง ริโอะ ที่ไม่ได้ร่วมเล่นด้วยแล้ว
ผู้เขียนเลยไร้กระจิตกระใจ ที่จะไล่ตามต่อในฐานะผู้ดู ในหลักสูตรเร่งรัดข้ามปี
(แต่ใช้เวลาไปสิบชั่วโมง) แม้กลุ่มก๊วนพระเอกจะยังครบทีม แต่นั้นก็ไม่ใช่สาระสำคัญอะไร
โดยเฉพาะเจ๊เนเน่ ใครจะเชื่อว่าอีกสิบกว่าปีต่อมา หน้าเจ๊ยังผ่องใสไม่เปลี่ยน
ซึ่งบรรดาเหล่าเครือ่งสำอางถนอมผิวแบบเบบี้เฟรช ควรวิ่งเข้าหาให้แกเป็นพรีเซนเตอร์โดยด่วน
(และเรือ่งนี้ ทำให้เจ๊กับเจ้าทานาเบะ เป็นคู่รักฉันท์สามีภรรยากันนั้นเอง)
ถึงว่าแม้ จะเป็นซีรีย์ที่มุ่งขมวดปมของปริศนาทางคดี ที่เจียดเวลาให้กับสิ่งอื่นค่อนข้างน้อย
เพราะมุ่งในประเด็นหลัก คือ การคลี่คลายปมคดี ในขณะที่ซีรีย์สืบสวนในปัจจุบัน
ต้องแบ่งปันเวลาในแต่ละตอน ให้กับบทที่สัมพันธ์ในเชิงมนุษย์
การอธิบายตรรกะในหลักการทางวิทยาศาสตร์ และการโต้คารมเพื่อค้นหาวัตถุประสงค์หลัก
แต่กับ Psychometrer Eiji นี้ไม่ ไม่มีถอยหลัง มีแต่เดินหน้า และก็หน้า.........หน้า
ไปจนบรรลุเป้าหมายเพื่อจับกุมคนร้าย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่จับเป็น ก็จับตาย
ตามแต่ความละมุ่นละม่อนในคนร้าย มาไม่กี่คนก็ยากหน่อย แต่ถ้ามาทั้งโรงพัก
อันนี้คงต้องยอมจำนนแต่โดยดี



ผู้เขียนไม่ค่อยแน่ใจนักว่า ซีรีย์เรือ่งนี้เคยเข้ามาฉายในทีวีไทยแล้วรึยัง?
แต่เท่าที่สังเกตทีเซอร์ก่อนพักเข้าโฆษณา คอ่นข้างคุ้นหูคุ้นตาเหมือนว่าเคยเห็นที่ไหน
เป็นซีรีย์ที่บูชาครู ในฐานะต้นแบบของฆาตกรต่อเนือ่งจากเรือ่งต่างๆ นำมาย้ำเปเข้ากัน
เป็นซีรีย์เชิดชูความเป็นเพื่อนโดยไม่เกี่ยวข้องกับกีฬา ในฐานะสิ่งสำคัญระหว่างวัย
ในฐานะคนรู้ใจ ที่ร่วมเคียงบ่าเคียงไหล เผชิญชะตากรรมอับโชคมาด้วยกัน
เป็นบุคคลที่พระเอกขอปฏิญาณว่า ไม่ว่าเขาจะทำกับเราอย่างไร
ก็จะขออยู่และเชื่อใจพวกเขา อย่างไม่เปลี่ยนแปลง แม้พวกมันจะเจ็บมาเย๊อะก็ตาม
ส่วนคนที่จะเกรงว่า จะมีความรักข้ามวัย ระหว่างพระเอกกับนางเอกด้วยแล้วนั้น
ต้องขอบอกว่า เรื่องนี้ใครไม่ทำให้คิดเป็นอื่นไกล แม้จะมีการปฏิสัมพันธ์ในการ
ขอความช่วยเหลือกันอยู่ทุกตอน แต่ทว่านั่นเป็นเรือ่งในทางคดี
ในขณะที่นอกเวลางาน จะหนักไปทางพระเอกหาเรืองหลอกรับประทานนางเอก
ประทังชีพไปวันๆ จึงมีสถานะไม่ต่างจาก แม่ที่อุปถัมภ์ลูกแต่อย่างใด
เป็นซีรีย์ที่แม้จะไม่ถอดรื้อความเป็นมนุษย์ขึ้นมาตีแผ่ แต่ก็ไถ่ถามว่าความเป็นมนุษย์
ที่เชื่อใจในเผ่าพันธ์เดียวกัน และสังคมกระทำย้ำยี่ต่อบุคคลมามากน้อยเพียงไร
มือข้างเดียวไม่อาจให้คำตอบที่แน่ชัดจุดนี้ได้ มากไปกว่าสำนึกที่เปิดกว้างให้เคารพ
ต่อความเป็นบุคคลระหว่างกัน ว่าแล้วก็แฮปปี้นิวเยียร์กับตัวเองดีกว่า ........



ข้อมูล
//www.asianrice.tv/media/Psychometrer-Eiji
//wiki.d-addicts.com
wikipedia










 

Create Date : 02 มกราคม 2553    
Last Update : 2 มกราคม 2553 21:10:28 น.
Counter : 3457 Pageviews.  

Goemon ยอดคนมหากาฬ


ตอนที่ได้ยินว่า มีโครงการนำต้นฉบับของโกเอมอนเพื่อกลับมาสร้างใหม่
ต้องขอบอกความในใจบนความทดท้อว่า ญี่ปุ่นนี้เขาไม่มีอะไรจะเอามาเล่นกันเหรอ
อันนี้ ผู้เขียนไม่ได้กระแทกกระทั้น อะไรที่เกี่ยวกับละครไทยหลังข่าว
ที่มักจะไปขุดกรุเอาของเล่นเก่าๆ อย่าง ดาวพระศุกร์ บ้านทรายทอง ลูกสาวกำนัน
มารีเมกใหม่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอันอะไร แต่เพียงแค่เปลี่ยนแปลงทีมนักแสดง
แล้วไม่ปรับเปลี่ยนบางสิ่งบางอย่างให้เข้ายุคเข้าสมัย ขณะที่โฆษณาคั่นเวลา
เขาพัฒนาเทคโนโลยีรุดหน้าไปไกลแสนไกล



โกเอมอน อาจเหมือนกับราโชมอน (แต่ไม่เกี่ยวอะไรกับโดเรมอน)
เพราะเป็นบทตำนานมุขปาฐะพื้นบ้าน ที่วงการบันเทิงและศิลปะของเมืองปลาดิบ
(ถ้านับในประวัติศาสตร์ไทย ก็คงในช่วงคาบเกี่ยวการเสียกรุงครั้งแรกในสมัยอยุธยา)
มีการกลับนำมาสร้างใหม่ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนผู้เขียนเองก็ไม่แน่ใจว่า
เคยได้ดูในฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นหนังมาแล้ว กี่ยุคกี่สมัย จำได้ว่า
ได้ดูในฉบับขาวดำ ในภาควิชาหนึ่งของเอกวิชาภาษาญีปุ่น ไม่แน่ใจว่า
เป็นของปี ค.ศ. ๑๙๖๓ หรือ ปี ค.ศ. ๑๙๕๑ เพราะจำได้เหลาๆว่า
เป็นหนังที่สร้างขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงน่าจะไม่ใช่ฉบับปี ค.ศ. ๑๙๑๒
เป็นแน่แท้ ( ทั้งหมดนี้เทียบจากเว็บ imdb เขา)
ได้ฟังอาจารย์สมัยนั้นเล่าว่าเป็นการสร้าง หลังจากทิ้งช่วงไปนาน
เพราะต้องฟื้นฟูประเทศหลังแพ้สงคราม พล็อตเรือ่งเดิมของโกเอมอน
ก็เป็นโจรที่ต่อต้านระบอบการปกครองแบบเผด็จการอำนาจนิยม
เป็นโจรที่ไม่ต่างจากโรบินฮู้ดของฟากตะวันตก ปล้นคนรวยเพื่อช่วยคนจน
ไม่ใช่ประชานิยม แต่คนจนต่างก็นิยม ด้วยเม็ดเงินเข้าถึงปวงประชา



แต่โกเอมอนของผู้เขียนที่ชิดเชื้อยิ่ง เป็นความผูกพันในแง่ของตลับเกมส์เสียมากกว่า
จำได้ว่าเป็นของค่ายเกมส์โคนามิ ที่ผู้เขียนเล่นเสียขอบตาดำไม่ต่างจากหลานหลินปิง
จึงเป็นโกเอมอนในแบบฉบับ เดินหน้าฆ่าไม่ตาย เพราะมีการโกงโดยใช้สูตรอมตะ
เป็นฉบับโกเอมอนที่ไม่ได้เป็นโจรเสือผู้โดดเดียว เพราะมีนินจาคู่หูเอบิสึมารุ
ร่วมทิปในการเดินทาง แต่อมตะใช้ว่าจะครอบคลุมไปเสียทุกที่
สุดท้ายก็มักตกเหวโอเวอร์เกมส์ ให้ต้องวกวนกลับมาเล่นใหม่ ตั้งหลายครั้ง



แต่ฉบับหนังปี ๒๐๐๙ ต้องขอบอกว่า เป็นอะไรที่ยิ่งกว่า
เพราะอยู่ในมือของผู้กำกับ คาซูอากิ คิริยะ ที่เมื่อห้าปีก่อนได้สร้างหนัง
ซีจีไซไฟแฟนตาซี อย่าง Casshern ที่ได้ลิขสิทธิ์จำหน่ายในประเทศไทย
ว่ากันด้วยเรื่องของโลกในอีก ๕๐ ปีข้างหน้า จากสงครามโลกระหว่าง
พันธมิตรตะวันออกกับพันธมิตรตะวันตก จนเกิดสารกัมตภาพรังสีฟุ้งกระจาย
ยิ่งช่วงตอนนั้น ยังปรามาสเอาว่า เป็นซีจีที่สร้างได้ไม่เนียน
แต่ก็ดูสนุกกว่าพวกซีจีเนียนๆฉบับฮอลีวู้ดบางเรื่อง แต่ก็ไม่ใช่หนังที่ติดตรึง
ชนิดที่ต้องติดตามงานชิ้นต่อไปของผู้กำกับท่านนี้ ด้วยโลกทัศน์แคบๆที่ว่า
คนตะวันออก เหมาะที่จะสร้างหนังด้วยวิธีดั้งเดิม มากกว่าการพี่งพา
เจ้าคอมพิวเตอร์กราฟฟิคที่ฉาบเคลือบ จนเข้าหาจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ไม่เจอ



แต่พอได้ชมโกเอมอน ฉบับเจ้าพ่อซีจีเมืองปลาดิบเข้าให้
แม้จะเสียดายต่อรูปแบบดั้งเดิมที่มีมนต์เสน่ห์อยู่ในตัว แต่ก็ยากที่จะส่ายหัวปฏิเสธ
ถึงอรรถรสของฉากแอ็คชั่น เนื้อเรื่องที่กระชับ และซีจีที่แม้ยังไม่เนียนตา
หากเผลอไปเทียบกับฝั่งฮอลีวู้ดเขา แต่ก็ถือว่าเป็นลักษณะเฉพาะของผู้กำกับท่านนี้
เพราะมาครั้งนี้ ระดมสรรพกำลังทั้งในแง่โปรดักชั่นสุดอลังการ
ทีมนักแสดงรุ่นเดอะขึ้นหิ้งอย่างคับคั้ง ทีมงานและตัวแสดงร่วมกว่า ๑,๓๐๐ ชีวิต
เป็นผลงานชิ้นที่สองของผู้กำกับ ที่ถือว่าเติบโตเร็วเกินคาด
ได้ยินจากอ.สุวินัยว่า ไอ้หมอนี้เคยทำงานเบื้องหลังให้กับงานมิวสิกวิดีโอ
และวงการโฆษณา จนผลงานเป็นที่กล่าวขาน ก่อนยกระดับตัวเองมากำกับหนังใหญ่
ถือเป็นผู้กำกับที่ทุ่มสุด กว่างานชิ้นก่อนอย่าง Casshern
ที่ตอนนั้น อาจรับเพียงแค่การเขียนบท ตากล้อง ผู้ตัดต่อ แต่ในโกเอมอนหนนี้
เขาหาเรือ่งใส่ตัว ด้วยการเป็นทั้ง โปรดิวเซอร์ ตลอดจนร่วมแสดงในบทของ
มิซึฮิเด อาเกชิ ใช้เวลาเตรียมงานถึงหนึ่งปี ใส่เทคนิคคอมพิวเตอร์เพิ่มอีกหนึ่งปี
(ถ้าเพลงประกอบเองได้ พี่ท่านคงจะทำไปแล้วละ)
อีกทั้งยังบินตรงมาเมืองไทย เพื่อให้สัมภาษณ์พิเศษตัวเป็นๆ
แม้หนังเรือ่งนี้จะเข้าฉายอย่างจำกัดโรง ในเฉพาะกรุงเทพมหานคร ก็ตามที



โครงเรื่องโกเอมอนฉบับคิริยะ ได้มีการดัดแปลงบทประพันธ์เดิม
ให้มีนัยยะทางการเมืองบางประการ เพื่อเอื้อให้ไปในทางจบอีกทาง
ซึ่งไม่ตรงกับบทนิยายพื้นบ้านที่ผู้คนรับรู้ แต่ยังคงให้ตัวละครเอก อย่าง
"อิชิกาว่า โกเอมอน" นินจาจอมโจรชื่อดังในยุคเซงโงกุ
ถือเป็นการขายตัวพระเอก ยุสุเกะ อิกูชิ (ไม่เชื่อ ก็ดูใบปิดของหนังสิ)
ไม่น่าเชือ่ว่า การน้องชายเจ้าผมยาวจุนเป้ ใน ๑๐๑ ตื้อรักนายกระจอก
เมือ่สิบกว่าปีก่อน ปัจจุบันจะเป็นนักแสดงที่เป็นแม่เหล็กของวงการมากเพียงนี้
มาครั้งนี้ ได้รับบทหนังใหญ่เป็นโจรระดับตำนานอย่าง โกเอมอน
ที่มีสถานะเป็นโรนินเต็มตัว เพราะขาดไดเมียวคอยคุ้มหัว และไดเมียวที่ว่า
ก็คือ โอดะ โนะบุนะงะ แถมยังมีหลานสาวแสนสวยที่ชื่อว่า "ชาช่า"
ในสมัยที่โกเอมอนยังวัยรุ่นหนุ่มเฟี้ยว รับหน้าที่เป็นองครักษ์ จนเป็นป๊อปปี้เลิฟเล็กๆ
(เล่นโดย น้องเรียวโกะ ฮิโระสุเอะของผม เจ้าหญิงที่งามสอดรับชนิดที่ซีจี
สีสดๆ ยังเทียมได้ยาก มาโคจรเล่นพระนางกับยุซุเกะกันอีกครั้ง ทั้งๆที่เพิ่ง
เล่นซีรีย์เรื่อง Triangle ในปีนี้เอง ) แต่ประทานโทษในหน้าประวัติศาสตร์
องค์หญิงชาช่า หามีจริงไม่แต่อ่ย่างใด และโนบุนะงะก็ไมใช่ไดเมียวที่ดีพร้อม
(คนนี้เล่นโดย ฮาชิโนสุเกะ นากามุระ)
พอที่จะให้เป็นแบบฉบับ ให้กับพระเอกโกเอมอนเขา
โนบุนะงะก็เป็นไดเมียวคนหนึ่งในหลายๆคน ในช่วงสมัยเซงโงกุ
ที่เป็นยุคมืดทางการปกครอง ที่ตั้งตนเป็นอิสระ บีบบังคับอีกทั้ง
ไม่เชือ่ฟังในคำสั่งของโชกุนสายตระกูลอาชิคางา ในสมัยนั้นไดเมียวคนไหน
เขาก็กระด้างกระเดื่องด้วยกันทั้งน่านแหละ



จากนั้นที่เหลือ ก็ดูจะเป็นการต่อเติมเสริมแต่งโดยพอประมาณ
ตามแต่ใจของผู้กำกับ ทั้งในส่วนของการสร้างตัวละครใหม่
และการผูกโยงให้เข้ากับบุคคลร่วมสมัยในหน้าประวัติศาสตร์
ทั้ง ฮิเดโยชิ โตโยโตมิ , มิสุนาริ อิชิดะ และ ซาสุเกะ วารุโตบิ
ซึ่งวิธีการแบบนี้ ก็มิใช่เรือ่งแปลกอะไรในปัจจุบัน เพราะแม้แต่ในซีรีย์ทางทีวี
ก็มีการดัดแปลงโครงเรื่องให้มีความหมายใหม่ ตามแบบฉบับถอดรื้อ
แล้วตีความหมาย ตามประสาอาร์ทๆว่า Post Modern ก็จะเห็นได้จากซีรีย์
อย่างไซอิ้ว หรือ Saiyuuki จากค่ายฟูจิทีวี ที่ในตอนจบก็ให้พระพุทธเจ้าเป็น
เพียงแค่ชาวนาคนหนึ่ง ที่อาศัยร่วมกับชาวบ้าน
หรือ อย่างใน Yume wo Kanaeru Zo จากค่าย YTV และ NTV
ที่ให้เทพพิฆเนศ เป็นเพื่อนร่วมห้องกับสาวเจ้าที่เพิ่งถูกอกหักและหอ้งถูกไฟไหม้
อีกทั้งความที่โกเอมอน เป็นเพียงตำนานพื้นบ้านปรำปรา ที่มีเรื่องเล่าสืบต่อ
กันคนละทิศทาง หลายสำนวนหลายโวหาร บางก็ว่าด้วยความแค้นที่ฮิเดโยชิ
ได้สังหารลูกและเมียของตน โกอิมอนจึงมีแผนลอบสังหารเจ้าฮิเดโยชิในกลางดึก
แต่ไปเตะเอากระดิ่งไม้จนถูกจับได้ บ้างก็ว่าต้องการลอบสังหารเพราะ
ความเป็นเผด็จการของฮิเดโยชิที่มีต่อชาวบ้าน แต่ถูกกำยานลึกลับ
เลยถูกจับมาล้างโคตรในบัดดล
บ้างก็ว่าเพราะโกเอมอนไปขโมยนกตัวโปรดของเจ้าฮิเดโยชิ เลยถูกล้างโคตร
แล้วก็ยังมีบ้างก็ว่า บ้างก็ว่า กันมาอีกเพียบ
ดังนั้น ผู้กำกับคิริยะ จะบ้างก็ว่าอีกคน ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร
กบว.บ้านเขา ไม่เหมือนบ้านเรา เพราะเขาดูออกว่าอันไหนเรือ่งจริง
อันไหนเป็นภาพยนตร์ เขาแยกแยะกันออกได้ ด้วยเคารพความมีวิจารณญาณส่วนบุคคล



แน่นอนว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโกเอมอนกับไดเมียวฮิเดโยชิ (เล่นโดย เออิจิ โอคุดะ)
ยังคงปรปักษ์กันอย่างสิ้นเชิง ตามความรับรู้ของคนทั่วไป ซึ่งในหนังก็ยัง
เคารพในจุดนี้ แต่กระนั้นรูปแบบการตายตามความเชื่อหนึ่ง ในแบบดั้งเดิม
ที่เคยเชื่อว่าโกเอมอนถูกลงโทษ ด้วยการถูกโยนลงในหม้อต้มที่กำลังเดือด
ตรงจุดนี้ ผู้กำกับเลือกให้สหายสนิทร่วมสำนักเดียวกันกับโกเอมอน อย่าง "โซไซ คิริกากุ"
ที่เคยไปร่วมข้างกับไดเมียวฮิเดโยชิ แต่ตอนหลังกลับใจ มาเป็นผู้รับเคราะห์เสียเอง
(ซึ่งคนที่เล่นบทนี้ ก็คือ ทากาโอะ โอซาวา อยากเห็นหน้ามากกว่านี้ ก็ลองหาดู
ซีรีย์เรือ่ง Jin หมอย้อนเวลาไปในสมัยโชกุน ว่าเวลาหัวล้าน หมอนี้ก็หล่อไปอีกแบบ)
แล้วที่สนุกกว่านั้น คือ ผู้กำกับก็ยำใหญ่ใส่สารพัด ด้วยให้ โซไซกับโกเอมอน
มีอาจารย์คนเดียวกัน ซึ่งชื่อก็คุ้นหู เขาคือ "ฮาโตริ ฮันโซ"
(เคยดูการ์ตูนกันใช่ไหมเอ่ย? ใน Kill Bill เจ๊อูลแมนก็ถามหาดาบของแก!)
แต่หน้าไม่เหมือนกับ ฮาโตริในฉบับการ์ตูนหรอกนะ เพราะผู้กำกับเขาเลือกเอา
ลุง "ซุซุมุ เทราจิมา" (แฟนซีรีย์อาจคุ้นจากแกใน Flowershop without Rose และ Unfair)
หนังยังทำให้เนื้อหาเข้มข้นกว่านั้น โดยให้อาจารย์แกเลือกข้าง "โทกุงาวา อิเอยาสุ"
ซึ่งจะเป็นผู้สร้างความเป็นปึกแผ่นและผนึกเป็นหนึ่งเดียวกันของญี่ปุ่น
ซึ่งในความรับรู้ในหน้าประวัติศาสตร์ อิเอยาสุก็เป็นขุนพลอาวุโสรับใช้เคียงบ่าเคียงไหล่
ร่วมกับฮิเดโยชิ เพื่อร่วมสู่รบกับตระกูลโฮโจ อีกทั้งโกเอมอนเป็นเพียงเสี้ยวประวัติศาสตร์
เสี้ยวเล็กๆ และตายไปในช่วงสมัยที่ฮิเดโยชิ กำลังไต่เต้าทางอำนาจ
จากการสะสมกำลังทางหัวเมืองต่างๆ หลังจากได้สิ้นสมัยของโนบุนะงะไปแล้ว
อีกทั้งโนบุนะงะ ก็ไม่ได้เสียชีวิตจากการลอบสังหารของฮิเดโยชิแต่อย่างใด
กลับเป็นทหารคนสนิทของโนบุนะงะอีกคน ที่ชื่อ "อาเคจิ มิตสึฮิเดะ" ต่างหาก



ความที่เป็นหนังดัดแปลง ทั้งในเรื่องเนื้อหาและจินตนาการ
สิ่งที่คนดูจะทำได้ คือ การเสพอรรถรสของหนัง ตามแต่ใจที่ผู้กำกับอยากจะให้เป็น
คิริยะผู้กำกับ ก็ทำให้การดำเนินเรื่องทุกอย่าง ดูเป็นจริงเป็นจัง สมเหตุสมผล
แม้คนดูอาจไม่รู้สึกแปลกใจ ถ้าหลายพล็อตที่ได้ชม จะเป็นสูตรสำเร็จตามแบบการ์ตูนนิยมศึกษา
การ์ตูนนิยมอย่างไร ก็ให้ไปดูองค์บากสองเอาเองละกัน เหมือนคลอดตามๆกันมา
มีการเริ่มเรื่องที่แทบจะเป็นสูตรบังคับ ไม่ว่าจะเป็นหนังหรือซีรีย์ก็ตาม
คือ ปล่อยให้เรื่องเดินไปโดยไม่บอกรายละเอียดอื่นใด เพื่อให้คนดูตั้งคำถาม
จากนั้น ก็ค่อยๆเฉลยปมไปทีละฉาก แล้วให้คนดูปะติดปะต่อกันเอาเอง
การไม่อธิบายเรื่องราว ในส่วนที่เป็นเนื้อหาใจความ ก็เท่ากับว่า
ผู้กำกับจะสามารถโชว์ฉากอลังการของความเป็นคอมพิวเตอร์กราฟฟิคได้อย่างเต็มที
เพื่อให้คนดูได้เอิบอิ่มก่อนในช่วงต้น จากนั้นก็ค่อยๆใส่รายละเอียดหนักๆในกลางเรือ่ง
ส่วนฉากแอคชั่น ก็ต้องขอบอกว่า ประเคนให้ชมอย่างเหลือล้น
คอสทูมประเภทเครือ่งแต่งกาย ก็ออกแบบเสียยิ่งกว่าการประกวดมิสยูนิสเวอรส์
ชนิดใส่แล้ว ชนิดวินมอเตอร์ไซด์ไม่กล้าให้ซ้อนท้าย
ซึ่งสูตรนี้ใน Casshern พี่ท่านก็เล่นกันมาเนินนานแล้ว



แต่อย่างที่บอก ความที่โกเอมอน มิได้สัมมาอาชีพแบบที่ควรจะเป็น
ในพระเอกฮีโร่ ผู้เขียนบท (ซึ่งก็คือ ผู้กำกับ) ฉลาดที่จะใช้คุณสมบัติทางวิชาชีพ
ซึ่งก็ หัวขโมยดีๆนี้แหละ เข้าไปขโมยสมบัติในเซฟลับของห้องนิรภัยของท่านคหบดี
เพียงแค่เห็นเทคโนโลยีของระบบนิรภัย ก็รู้แล้วว่า มันไฮเทคเกินยุคสมัย
เกินชนิดที่ว่า แม้แต่เทคโนโลยีปัจจุบัน ก็คิดค้นให้เป็นจริงไม่ได้
ความที่ขโมยอะไรไม่ขโมย ไปเผลอหยิบกล่องดีไซด์แปลก ที่ภายในปกปิดความลับ
ที่มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงทางหน้าประวัติศาสตร์ทางอำนาจของประเทศ
ซึ่งก็เข้าใจตั้งชื่อสักเก๋ ว่าเป็นกล่อง "แพนโดร่า" เป็นกล่องความลับที่ไม่เกี่ยวข้อง
กับดาวสักดวงของเรื่องอวตาร แต่พอได้ใช้ชื่อนี้ทีไร ก็เป็นที่น่าสนใจให้ต้องแง้มเปิดทุกราย
และนั้น ก็เท่ากับเป็นการเปิดศึกตามล่า ฮีโร่หัวขโมยอย่างโกเอมอน
ชนิดอย่างเอาเป็นเอาตาย เพราะมันพัวพันไปถึงความลับของการโค่นล้มอำนาจปัจจุบัน
ที่ล้นฟ้าของไดเมียวฮิเดโยชินั้นเอง

width='600' height='230' border=0>

เป็นหนังที่เลือกข้าง ระหว่าง "ธรรมะ" กับ "อธรรมะ" ที่แสนจะชัดเจน
โดยความชั่วร้ายทั้งหมดให้กับ "โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ" แต่เพียงผู้เดียว
ทั้งลอบสังหารโนบุนะงะ ที่เป็นเจ้านายเก่าอย่างอกตัญญู และกักขังเจ้าหญิงชาช่า
ที่เป็นหลานสาวของโนบุนะงะ ให้ยอมรับที่จะเป็นชายาของตน และพร้อมจะสังหาร
อย่างโหดร้ายแบบเชือดไก่ให้ลิงดู หากใครคิดจะลองดีกับตน เป็นร้ายชนิดดำเห็นๆ
ส่วนโนบุนะงะ กับ โตกุกาวา อิเอะยาสุ (เล่นโดย มาซาโตะ อิบุ)
ฝ่ายนี้เป็นฝ่ายคุณธรรมกับความดีเห็นๆ
เรียกได้ว่า ใช้หลักคุณธรรมในการปกครอง มีความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะผนึก
ประเทศญี่ปุ่นให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ให้ผ่านพ้นยุคเซงไกกุ ที่ไดเมียวต่างก็แข่งขัน
แย่งชิงอำนาจ ขณะที่โชกุนก็ขาดบารมี ในฐานะศูนย์รวมในการปกครองหลัก
ทั้งๆที่ ในหน้าประวัติศาสตร์ ไม่ว่าใครต่างก็ใช้กำลังกองทัพของตัว
เข้าห้ำหั่นแย่งชิงบารมี ตั้งโชกุนให้เเป็นหุ่นเชิด ทำสิ่งที่ระคายเคื้องเบื้องพระยุคลฯ
แก่องค์จักรพรรดิ์ ขณะที่บทสรุปของเรื่อง ถือว่าเป็นบทจบที่สวย
แม้จะไม่สร้างสรรค์ความแปลกใจสำหรับผู้ชม เพราะได้เคยเห็นบทจบนี้
จากหนังอีกเรื่องทางฝั่งโลกตะวันออก ในเฉกเช่นเดียวกัน



แต่เมื่อไม่นานมานี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านหนังสือให้เร่งรักษ์โลกอย่าง
Collapse ของ จาเร็ด ไดมอนต์ ก็ขอบอกว่า คุณูปาการของฮิเดโยชิมีส่วนสำคัญ
ที่ไม่ทำให้สังคมญี่ปุ่นไม่ล่มสลายไปก่อนกาล เหมือนกับเผ่ามายา เกาะอีสเตอร์
หรือพวกนอร์สในกรียนแลนด์ ถือเป็นผู้ปกครองคนแรกที่ออกคำสั่ง
ในการควบคุมการใช้พื้นที่ป่า สร้างมาตราการเชิงลบ กำหนดห่วงโซ่อุปทานไม้
ซึ่งเท่ากับเป็นการกำหนดแม่แบบนโยบาย ในการบริหารพื้นที่ป่าในปัจจุบัน
ที่แม้ไม่อาจชดเชยกับในอดีต ที่นิยมนำไม้มาสร้างตัวปราสาท
เพื่อแสดงออกถึงอำนาจและบารมีในสมัยของตน แต่ก็ช่วยชะลอในปัญหา
การถลุงพื้นที่ป่าไม้ และสร้างประโยชน์สูงสุดจากการใช้ไม้หนึ่งต้น
เป็นมาตราการจากบนลงสู่พื้นที่ล่าง ที่ผู้ปกครองที่มีอำนาจสูงสุดพึ่งจะกระทำได้
และในฉากก่อนฮิเดโยชิจะถูกสังหาร หนังก็ไม่ได้สร้างตัวละครให้ฮิเดโยชิ
เป็นคนบ้าอำนาจอย่างไร้สติ แต่ก็ยังมีคำพูดคมๆ แฝงแง่คิดเกี่ยวกับอำนาจ
ไว้ก่อนตาย ซึ่งถ้าไม่ถึงที่ตาย คงจะคิดอะไรที่เป็นปรัชญาเช่นนี้ไม่ได้แน่นอน



ไม่อยากให้ใครเผลอเอาเทียบกับงานซีจีต้นทุนสูงอย่างอวตาร ของเจมส์ คาเมรอน
เพราะเนื้อหาและเจตนา ดูจะแตกต่างกันพอสมควร
ถึงแม้จะมีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ ต่อต้านสงครามและความปรองดองสมานฉันท์
ด้วยงานของผู้กำกับคิริยะ เขาเล่นกับอดีตที่เป็นประวัติศาสตร์ชาติแบบคู่ขนาน
ขณะที่งานของผู้กำกับคาเมรอน เขาเล่นกับจินตนาการในอนาคตของมนุษยชาติ
ที่ถึงแม้จะเกินจริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า กิเลสที่มีอยู่ในอนุสัยของมนุษย์จะไม่เป็น
เหมือนอย่างที่ในหนังมันปรากฎนิ ถ้าใครเคยชอบสไตล์การเล่าเรือ่งใน
มังกรคู่สู้สิบทิศ ที่เป็นงานเขียนของฮวงอี้ รับรองว่าหนังเรื่องตอบสนองกิเลสได้ดีทีเดียว ........




อ้างอิงข้อมูลจาก
wikipedia , imdb , kapook และ รายการชวนคิดชวนคุย




 

Create Date : 27 ธันวาคม 2552    
Last Update : 29 ธันวาคม 2552 21:51:01 น.
Counter : 2315 Pageviews.  

สิ้นปีทีไร ก็มานั่งจัดรางวัลซี่รีย์สุโค้ยย์แห่งปีฉลูศก


แต๊น แตน แต็น.................
เห็นชาวบ้านชาวช่อง เขาจัดอันดับรางวัลโดนใจ ตามสาขาโลกภาพยนตร์ด้วยกันแล้ว
รู้สึกอิจฉาในองค์ความรู้แห่งการสะสมทัศนา จนสามารถลำดับหมวดสาขาตามความชื่นชอบ
เรียงลำดับไล่ขั้นมาเป็นฉากๆ ฟันธงฉับๆ อย่างน้อยๆ ก็เป็นประโยชน์แบบ win-win
ด้วยกันทั้งสองฝ่าย
ทั้งจากฝ่ายรับ ซึ่งก็คือ ผู้แวะเวียนเยี่ยมบล็อกอย่างเราๆ จะได้มีทางเลือกในการเด็ดดม
ภาพยนตร์ขึ้นมาสักเรื่อง โดยอาศัยการไหลออกของกระเป๋าตังค์คนอื่น เพือ่เป็นค่าประสบการณ์
โดยไม่ต้องเสี่ยงวัดใจ เผชิญชะตากรรมไปเสียทุกเรื่อง
และทั้งจากฝ่ายส่ง ซึ่งก็คือ เจ้าของบล็อกอย่างเขาๆ จะได้นำสิ่งที่เคยได้ลงทุนและลงแรง
มาลงเรือ่งลงราวผ่านมายังบล็อก อย่างน้อย ก็เป็นทรัพยากรดีๆให้ได้เขียนอีกหนึ่งเรื่อง
อีกทั้งก็เป็นการลำดับ ประมวลเรื่องราวทั้งหลายแหล่ จากโลกภาพยนตร์ส่วนตัว
ไม่ว่าบัตรเข้าชมจะเกิดจาก เพื่อนชวน เสียตังค์เอง บัตรรอบสื่อ บัตรชิงรางวัล
หรือจากเช่า จากโหลด หรือจากซูม ก็ตามแต่ แต่อย่างไรเสียเมือ่หนังจบหนึ่งเรื่อง
ก็ได้ค่าประสบการณ์จากการชม เป็นมูลค่าสำเร็จด้วยกันทั้งสิ้น
เป็นการสร้างความรู้สึกดีดีตามเงื่อนไขของช่วงเวลา ว่าต้องมีสักปีที่ไม่ปล่อยให้บางสิ่งต้องเลยผ่าน
อย่างน้อยๆ ก็ต้องมีอะไรเป็น "รูปธรรม" ตามแต่ "ฉันทะ" ที่มีมาติดตัว
ถึงแม้จะมีมั่วบ้าง ก็ต้องคนที่คร่ำหวอดในวงการเดียวกันเท่านั้น ถึงจะจับกันติด.............




แต่เนือ่งด้วย ผู้ที่เผอิญได้หลงเข้ามาในบล็อกแห่งนี้
อย่างจะบอกเนินๆว่า ผู้เขียนไม่ได้มีความชำนิชำนาญในโลกภาพยนตร์แบบชาวบ้านเขา
(ถึงแม้ อยากจะจัดหมวดการให้รางวัลแบบชาวบ้านเขา ก็กลัวปล่อยไก่ตัวโตๆ
ให้เป็นที่ครหากัน )
ดังนั้น..............จึงขอหลบมุม ไถลลงซอกมายังหมวดเจ้าประจำอย่างซีรีย์ต่างประเทศ
โดยอาศัยของเก่าเก็บกิน ในเฉพาะสาขา "ซีรีย์แดนอาทิตย์อุทัย" นำมาใช้ประโยชน์
ด้วยการจัดอันดับ "เรื่องโดนๆแห่งปี" โดยที่จะตั้งกรอบและกติการแบบชุ่ยๆ
เพื่อมิให้การจัดอันดับนั้น ต้องลื่นไหลลงทะเลเท้งเต้ง แบบที่เห็นกันอยู่ทุกครั้ง
ยามที่ต้องละเลงอรรถาธิบายซีรีย์หนึ่งเรื่อง แล้วมันจบไม่ลงสักที




ด้วยคณะกรรมการการตัดสิน มีด้วยกันเพียง "หนึ่งท่าน"
และท่านนั้น ก็ยังต้องทั้งคิด ไล่เรียง จัดพิมพ์ ตามเก็บ และทั้งต้องจ่ายค่าไฟตามรอบมิเตอร์
การตัดสินครั้งนี้ จึงอยู่ด้วยกรอบของ "อคติของตัว" และ "มายาคติในใจ"
โดยจะเลือกสรรเฉพาะซีรีย์ญี่ปุ่น ที่ได้ยลในรอบปีนักษัตรศก ปีฉลู (ก็ปีนี้แหละ)
ซึ่งไม่จำเป็นว่า จะต้องเป็นซีรีย์ที่เพิ่งถูกสร้างภายในปีนี้ แต่ยังหมายถึงซีรีย์ค้างเก่า
ที่เอามารีรันชมซ้ำ และไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเรื่องที่เคยรีวิวมาก่อน เพราะเรื่องที่เล่า
ยอ่มน้อยกว่าเรือ่งที่ไม่เล่าเป็นธรรมดา (เพราะต้องให้เวลาเรื่อง "เหล้า" ในวงเพื่อน
มากกว่า) โดยแต่ละสาขา จะแบ่งเป็นความนิยมสามอันดับแรก ถึงแม้อยากจะมี
สี่และห้าใจจะขาด ก็จำต้องหักห้ามใจมิให้กล่าวถึง ส่วนจะมีรางวัลอะไรกันบ้างนั้น
ผู้เขียน ก็ยังไม่สามารถจะบอกกล่าวให้ได้ เพราะเป็นการคิดรางวัลขึ้นมาสดๆ
ไล่ไปเรือ่ยๆ จนกว่าจะจนตรอกไปต่อกันไม่ติด ....................
ส่วนรางวัลที่ให้ อาจจะมีความเห็นต่างคิดแย้ง ก็เป็นเรือ่งธรรมดา
เพราะผู้เขียนเชือ่ว่า ความคิดต่าง เป็นคนละทางกับ ความคิดเห็นที่แตกแยก
การดูซีรีย์จึงมิใช่อาชีพ ที่จะเรียกร้องมาตราฐานทางจรรยาบรรณในวิชาชีพของการตัดสิน
เพียงเพราะ วิกฤตทางเศรษฐกิจจากการจ้างงานที่ลดชั่วโมงโอทีและไม่อาจหารายได้เสริม
อื่นในนอกชั่วโมงการทำงานหลัก ซีรีย์ญี่ปุ่นจึงเป็นเครือ่งประโลมจิตใจในห้วงเวลาที่ไล่ผ่าน
โดยมิให้เปล่าประโยชน์ ซึ่งถ้านำมาคิดค่าชั่วโมงที่ดู มาเป็นค่าโอที
ปานี้.................คงเอามาดาวน์บ้านสักหลัง ได้สบายๆ


เพื่อเสริมความเร้าใจในรางวัล ก็เข้าอินโทรนี้ซ้ำ เพื่อเข้าสู่การประกาศรางวัลนะครับ




ซีรีย์ไหนจะติดตรึงใจผู้ชมได้ อย่างแรกที่ผู้ชมนึกถึง ก็คงต้องเป็นดารานำแสดง
แหะๆ.........แต่ขืนบอกเสียแต่เนิ่นๆ เดี๋ยวก็เกรงว่าจะหมดสนุกกัน ดังนั้น
เราจะมอบรางวัลประเภทติดทองหลังพระ อันเป็นรางวัลที่คนส่วนใหญ่รับรู้
แต่อาจละเลย กล่าวคือ รู้เรือ่งราวแต่ไม่รู้จัดทีมงาน เพราะเอาเข้าจริง
ดาราเป็นเพียงองค์ประกอบของหน้าฉาก แต่ความเป็นซีรีย์แบบครบองค์ประกอบทั้งหลาย
เกิดขึ้นจากทีมงาน โดยเมนต์หลักๆ จะให้น้ำหนักกับ "ผู้เขียนบท" กับ "ผู้กำกับ"
ในเมื่อเราไม่สามารถเชิญเขาเหล่านั้น มาร่วมรับรางวัลในครั้งนี้ได้
จึงขอจุดธูปหนึ่งดอก เป็นการเชิดชูหัวจิต-หัวใจ ดวงวิญญาณในการสร้างสรรค์ผลงาน
(แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะยังมีชีวิตอยู่-หายใจได้เองก็ตาม)
ได้ขอเริ่มจากผู้เขียน ซึ่งมีผู้ทีได้รับการเข้าชิงดังต่อไปนี้

ผู้ชิงในรางวัลผู้เขียนบทอย่างสุโค้ยย์แห่งปีฉลูศก ได้แก่

ก) โนจิมา ชินจิ จากเรื่อง FlowerShop Without Rose
ข) ฮาชิโมโต ฮิโรชิ จากเรื่อง The Grand Family
ค) ฟุกุดะ ยาซุชิ จากเรื่อง Galileo




ผู้เขียนมอบให้กับ "ข้อ ก" ความจริงแล้ว สามเรื่องนี้ถือว่าเป็นเรือ่งคนละแนว และมีการเล่าเรื่อง
ด้วยจังหวะคนละแบบ ผู้เขียนยกรางวัลนี้ ด้วยตัวเลือก ก) เป็นการเขียนบทที่มีเอกภาพ
กลมกล่อมและละมุ่นละไม โครงเรื่องง่ายๆ ที่สามารถอธิบายให้ซับซ้อนและคนดูติดตรึง
แบบที่ใครได้ชม แล้วจะไม่เสียดายเวลาที่เสียไป คนเขียนเขาก็ขั้นเทพมาเนินนานแล้ว
ก็ตั้งแต่ ๑๐๑ ตื้อรักนายกระจอก Pride จนกระทั้ง Love Shuffle
ส่วนตัวเลือก ข. ก็ใส่ความเป็นดราม่าที่เข้มข้นและหนักอึ้งของเรือ่งราวในครอบครัวเจ้าสัว
โดยผูกอิงกับหน้าประวัติศาสตร์การปฏิรูปควบรวมกิจการธนาคาร ชนิดไม่ได้หายใจหายคอ
สไตล์อย่างนี้ ไม่น่าเชือ่เลยว่าครั้งหนึ่งเคยเขียนบทเบาสมองอย่าง Water Boys มาก่อน
ส่วนตัวเลือก ค. ก็เป็นงานเขียนบทแบบวิทยาศาสตร์แนวฟิสิกส์จ้า แบบที่เด็กสายวิทย์หลายคน
ออกอาการอึ้งๆ นึกว่าเป็นการสอบฟิสิกส์โอลิมปิก เป็นบทที่ไม่นึกว่าจะมีในโลก
ที่ครั้งหนึ่งเคยเข้าสู่ยุคมืด เป็นงานเรเนซองค์กลับชาติ ที่ฟิสิกส์จะกลายเป็นสิ่งสนุกสนานไปได้
ซึ่งความจริงเป็นงานเขียนบทร่วมถึงสามคน แต่เลือกเจ้าหมอนี้ เพราะถ้าเปิดเรือ่งได้ไม่ดี
ตอนอื่นๆ ก็กลายสิ่งบันเทิงที่กระแทกสมองได้ไม่ยาก


ผู้เข้าชิง รางวัลผู้กำกับอย่างสุโค้ยย์แห่งปีฉลูศก ได้แก่

ก) ฟุกุซาวา คาซึโอะ จากเรือ่ง The Grand Family
ข) ซาวาดะ เคนซากุ จากเรื่อง Beach Boy
ค) ฮิรากาวา ยูอิชิโระ จากเรื่อง Rookies




ผู้เขียนขอมอบให้กับ "ข้อ ก" ออกจะแบเบรอแบบไร้คู่แข่ง แต่ก็น่าแปลกใจที่ผู้กำกับ
กับไม่ได้รางวัลสักชิ้นติดมือในประเทศบ้านเกิดเขา ความที่ซีรีย์ทรงอนุภาคปานนั้น
ได้นักแสดงระดับโคตะระมากการแสดง ถ้าผู้กำกับไม่เก่งจริง อาจจะคุมไว้ไม่อยู่
เป็นทั้งโปรดิวเซอร์และผู้กำกับไปในตัว ถือว่าเสี่ยงต่อการเจ็บตัวไม่น้อย
กลายเป็นการสร้างชื่อ ว่าเป็นเจมส์ คาเมรอนเมืองยุ่น ที่เล่นงานชิ้นเล็กๆ ไม่เป็นสักแล้ว
แต่ใช่ว่า เรื่องอื่นรองลงมาจะใช่ยอ่ย อย่างข้อ ข. การทำให้ซีรีย์เรือ่งนี้
ติดตรึงใจผู้ชมในทุกๆช่วงหน้าร้อน ชนิดที่ไม่มีช็อตไหนไม่สะกดคนดูได้เลย
ส่วนข้อ ค ก็ต้องถือว่าหมอนี้เจ๋งมาก ในการควบคุมนักแสดงสิบกว่าคน
โดยที่ไม่ให้คนดู เลือกที่รักมักที่ชังคนใดคนหนึ่ง ทำให้เบสบอลกลายเป็นเกมส์
แห่งทีมเวริค สมเจตนาฉบับการ์ตูนได้ไม่ยิ่งหย่อนโดยแท้



จบจากงานเบื้องหลังแล้ว มาสู่เบื้องหน้ากันบ้างดีกว่า
เป็นเบือ้งหน้า ที่สร้างความลำบากใจให้กับผู้ตัดสินหัวเดียวกระเทียมหลิบ
อย่างผู้เขียนเสียเหลือเกิน เพราะกมลสันดารของผู้เขียน เป็นคนชนิดที่
รักพี่เสียดายน้อง รักพวกพ้องแต่เสียดายหนี้ที่มันยืม
แต่เมื่อต้องจำใจตัดสินแบบฝืนหัวจิตหัวใจ (ที่ดันคิดเกมส์รางวัลแบบที่ไม่มีใครบังคับ)
ตอนแรกว่าจะให้รางวัล "ดาวร้ายสุโค้ยย์?" แต่ลืมไปว่า ซีรีย์แดนอาชิโม
เขาไม่นิยมให้นักแสดงคนไหน ร้ายไปตลอดทั้งปีทั้งชาติ ดังนั้น
ผู้เขียนจึงขอกำหนด รางวัลพระรองสุโค้ยย์ กับ รางวัลนางรองสุโค้ยย์
ซึ่งก็เป็นรางวัลที่ไม่ต่างไปจากรางวัลนักแสดงสมทบยอดเยี่ยม เพียงแต่ว่า
ทำให้มันดูเป็นไทยๆ เข้ากับกระแสคลั่งชาตินิดหน่อย แต่เชือ่ไหมว่า?
รางวัลนี้ ตัดสินให้ยากกว่าการให้รางวัล นักแสดงตัวนำยอดเยี่ยมสักอีก
เพราะอย่างว่า มันมีด้วยกันตั้งหลายท่าน จะเป็นทั้งในบทของ
เพื่อนพระเอก ตัวพ่อตัวแม่ของนางเอก ศัตรูตัวร้าย คุณครู ยากูซ่า
หรือภิกษุณี ก็ยังได้ อันนี้ก็จะว่าไปตามบท ที่ให้สัดส่วนมากน้อยแค่ไหน
ว่าแล้วก็เข้าสู่เนือ้หาในรายการกันต่อไปดีกว่า

ผู้เข้าชิงรางวัลนางรองสุโค้ยย์แห่งปีฉลูศก ได้แก่

ก) คันอิจิ ชิโฮริ จากเรือ่ง Buzzer Beat
ข) สุซูกิ เคียวยูกะ จากเรื่อง The Grand Family
ค) ทากาฮาตะ อัตสุโกะ จากเรือ่ง Orthros Dog




ผู้เขียนขอซูฮกให้กับ " ข้อ ข. " แบบชนิดเฉียดฉิ่วกับตัวเลือกข้อ ค.
ที่เคยนอนมา แบบไม่คิดว่าจะมีคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้ออีกแล้ว
เหตุที่มอบให้ข้อ ข. เพราะสัดส่วนของบทที่อวยให้เห็นๆ แบบชนิดส่งเสริม
ยิ่งการที่เจ๊ตีบทแตกกระจาย แบบที่ว่า ถ้ามาเดินตลาดอตก. อาจได้ทุเรียน
พันธ์ไทย กระโจนเข้าใส่อย่างไม่อยากเย็นนัก ใจจริงอยากจะจัดให้เจ๊แก
เป็นรางวัลนักแสดงฝ่ายหญิงเสียด้วยซ้ำ แต่ทว่าเมืองยุ่นเขาจัดหมวดนี้ให้แก
เป็นในส่วนของนักแสดงสมทบ งานจึงเข้า แบบที่ความเห็นเดิมว่าจะยกให้ตัวเลือก ค.
ต้องมลายหายไป อาจเพราะตัวเลือก ค. ยังมีความดีในจิตใจเป็นอนุสัยสติ
ส่วนตัวเลือก ก. ก็เป็นเสน่ห์แบบตัวตนที่แท้จริงของน้องเค้า เพียงแต่
เรือ่งก่อนหน้า อย่าง Love Shuffle และ Hana Yori Dango อาจจะไม่ได้ดัน
ให้น้องได้โผล่ซีนแบบเต็มตัวเท่าไรนัก แต่ยอมรับว่าขาดเธอ ซีรีย์ก็ขาดสีสันไปเยอะ


ผู้เข้าชิงรางวัลพระรองสุโค้ยย์แห่งปีฉลูศก ได้แก่

ก) คิตาโอะจิ คินยะ จากเรือ่ง The Grand Family
ข) ฮามาดะ กาคุ จากเรือ่ง Love Operation
ค) คิชิเบะ อิตโตะกุ จากเรือ่ง Iryu





ผู้เขียนขอซูฮกรางวัลนี้ให้กับ "ตัวเลือก ค." แบบที่ต้องวัดปลายจมูกกับตัวเลือก ก.
ในวินาทีสุดท้าย เหตุที่เลือกตัว ค. เพราะได้ทำลายมายาคติ ที่หลงเชื่อไปว่า
ไม่มีมนุษย์ใดสมร้ายจริงในซีรีย์ญี่ปุ่น แต่กระนั้นซีรีย์เรือ่งนี้ก็สร้างตัวละครร้าย
ที่ร้ายกันถึงสองภาค จนสุดท้ายต้องได้รับโทษทัณฑ์อย่างสาสม
ทำให้ซีรีย์หมอเทวดา ที่ดูจะน่าเบื่อเพราะพรหมเทพมาอวตารในร่างหมออาซาดะ
ที่ผ่าตัดได้เคสนรกสั่งตายให้รอดได้อย่างไม่น่าเชื่อ ก็ยังมีตัวละครอย่างหมอเนงูจินี้แหละ
ที่รักษาสมดุลของเรื่องไว้ เป็นบทร้ายอย่างไม่รู้สึกเข็ดหลาบ แต่กระนั้น
ตัวเลือก ก. ก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เป็นความร้ายในศึกสายเลือด
เพราะมีหญิงเสี้ยนกับวิญญาณปู่ตามมาหลอกหล่อน ในมาดของบุตรชาย
ถ้าสองนักแสดงพระรอง (ที่จะเป็นมารแท้ๆ) มาจุติรวมกัน ก็เตรียมย้ายไปหาโลกใหม่
จะสบายอุทัยเสียกว่า ส่วนตัวเลือก ข. ก็มีเหตุผลทางอารมณ์คล้ายน้องชิโอริ
จากเรื่อง Buzzer Beat เป็นเหตุผลที่ต้องอุทานว่า "ขาดเขา เราก็ตาย"
ถ้าอีกสิบปี มีการสร้างซีรีย์เรือ่งนี้ใหม่ ก็ไม่แน่ว่าใครจะมารับบทได้ดีเท่าหมอนี้
ความจริงเอาหมอนี้ไปเป็นพระเอก แล้วเอายามะพีมาเป็นพระรอง
เรตติ้งก็อาจจะสูงกว่านี้อีกก็เป็นได้ (สำหรับโลกของคนโอตากุนะ)
เป็นบทของคนด้อยโอกาส ที่ยังมีโอกาสได้เสมอ เป็นความรันทดที่แลดูจริงใจ
ถึงบทจะน้อย แต่ก็สูสีดู๋ดีไม่แพ้พระเอกในเรื่อง ที่ทุกภาษีดูจะเหนือกว่า
แต่จะแพ้ในภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ไอ้หมอนี้ดูจะสร้างมูลค่าจากทรัพยากรอันจำกัด
ได้ดีกว่า



โอะโอ.............ใกล้เข้ารางวัลใหญ่เข้าไปทุกขณะแล้ว
มาพักเบรคเพื่อความผ่อนคลายกันหน่อยดีกว่า อีกสิ่งหนึ่ง
ที่สร้างให้ซีรีย์ญีปุ่นติดตรึงใจผู้ชม นอกจากเรือ่งราวกับหน้าตาของนักแสดงแล้ว
เรื่องของเพลงประกอบซีรีย์ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่น่าพลาด เพราะประสิทธิภาพของมัน
เกินการรับรู้ได้ด้วยประสาททางสายตา แต่ส่งผ่านโสตประสาททางหู
แล้วทะลุเข้าไปในหัวใจ ซีรีย์บางเรือ่งก็งั้นๆ แต่พอเจอกระหน่ำทางบทเพลง
เป็นบทเพลงที่ไม่เข้าใจในเนื้อหาของเนือ้เพลง ก็ยังสามารถทำให้ซีรีย์เรื่องนั้นๆ
เป็นที่น่าจดจำอย่างไม่ยากเย็นนัก ดังนั้นๆ ทางผู้เขียนก็ได้เอาหูแนบกับลำโพง
จนได้บทเพลง เข้าชิงในรอบสุดท้ายถึงสามเพลง ก็ต้องเรียกว่า
เสียดายน้อง ไปหลายเพลงยุทธ แต่ทำไงได้ ดันสร้างเงือ่นไขมัดตัวไปแล้วนิ

เพลงที่เข้าชิง เพลงประกอบซีรีย์สุโค้ยย์แห่งปีฉลูศก ได้แก่

ก) Say Yes ขับร้องโดย Aska & Chage จากเรื่อง 101 ตื้อรักนายกระจอก
ข) Ashita Hareru kana ขับร้องโดย คูวาตะ ไคสุเกะ จากเรือ่ง Love Operation
ค) Niji ขับร้องโดย ฟูคูยามา มาสาฮารุ จากเรื่อง Water Boys




ผู้เขียนซูฮกรางวัลนี้ให้กับ "ตัวเลือก ข." แบบชนิดที่เสียดายอีกหลายร้อยเพลงที่ไม่ได้เลือก
ถ้าถามความยากที่สุดในรางวัลที่กล่าวมา และจะกล่าวอีกต่อไป
การคัดเพลง ช่างเป็นอะไรที่ยากมุซึคาชิเหลือกำลัง ตามประสาคนที่เข้าสู่ยุคแวร์ไพร์เวอร์ชั่น
มิใช่ยุคหนึ่งที่คัดเพลงลงบันทึกเสียงได้ไม่เกินสิบกว่าแทร็ค ตัวเลือก ก. ก็เป็นอมตะเพลงค้างฟ้า
ส่วนตัวเลือก ค, แค่อินโทรแรก ก็ต้องร้องอ้อ! กันยกใหญ่ ความจริงทั้งสามเพลงที่ยกมา
ก็เก่าเก็บพอใกล้จะกินบำนาญได้ เพียงทว่าผู้เขียนมีโอกาสได้ย้อนกลับไปดูรำลึกความหลัง
พอความหลังทีไร เพลงเก่าๆ ที่เคยถูกกรอกหู ที่ครั้งหนึ่งได้ฟังแบบแหม่งๆ
ก็กลายเป็นเพลงจี๊ดใจในบัดดล ได้เลยทันที
มาลูกนี้ ก็เลยมีเพลงมากำนัลแบบไม่ต้องใช้ผู้ใหญ่บ้านมาเปิดพิธี
ในอันดับหนึ่งที่ได้คัดเลือกให้ได้ฟังกัน เชิญลุงคูวาตะเชิญ! สโลว์
(คลิกฟังด้วยนะครับ เดี๋ยวไม่เข้าเพลง)




เข้าสู่สามรางวัลสุดท้าย ซึ่งเป็นรางวัลใหญ่ด้วยกันทั้งสิ้น
โดยเป็นรางวัลพระเอกตัวพ่อ กับนางเอกตัวแม่สุโค้ยย์แห่งปีฉลูศก
เป็นรางวัลนี้ตัดสินไม่คอ่ยยาก เพราะเกิดการทับซ้อนของนักแสดงคนเดียวกัน
แต่ไปพัวพันกับอีกรายการ ต่างสถานี ง่านนี้จึงต้องคัดสิ่งที่คิดว่าดีที่สุด
ของท่านนั้นๆ แล้วมาประชันบทที่ถึงพริกถึงขิง อาจจะมีการอ้างอิงจากกระแสบ้างนิดหน่อย
ตามประสาคนถามว่ากันมาเยอะ จนได้รางวัลโดนใจ เลยขอกำหนดเพิ่มขึ้นเป็น
ผู้เสนอเข้าชิงสี่รายการ
แต่ขอบอกนิดนะว่า งานนี้มีการเข้าข้างกันเห็นๆ ไม่มีอะไรในกอไผ่
แต่เข้าข้างอย่างไร ฝีมือนั่นไซร้ ต้องเป็นที่ประจักษ์ไปในตัวด้วยนะเออ
มิใช่เสลอ! โชคหน้าโพสต์เข้ากล้อง แบบสวยๆหล่อๆ ตีกินไปเป็นเรื่องๆ
เดี๋ยวปีหน้าฟ้าใหม่ จัดรางวัลครั้งใด กลัวจะไม่มีใครมาอ่านนะพี่น้องงง!!


ผู้เข้าชิงรางวัลนางเอกหญิงตัวแม่สุโค้ยย์ประจำปีฉลูศก ได้แก่

ก) อาโออิ ยู จากเรือ่ง Osen
ข) อุอีโน จุริ จากเรื่อง Last Friend
ค) โอฮาช ิ โนโซมิ จากเรื่อง White Sping (Shiroi Haru)
ง) อาซาโนะ อะทซึโกะ จากเรื่อง ๑๐๑ ตื้อรักนายกระจอก




ผู้เขียนขอซูฮกให้กับ "ตัวเลือก ข้อ ค" แบบมีการลำเอียงนิดๆ
นิดๆ เพราะถือว่าเด็กวัยขนาดนี้ แล้วเล่นได้ขนาดนั้น ช่างเป็นนักแสดงที่มี
ความสามารถชั้นเลิศตั้งแต่วัยเยาว์ ทำให้เผลอนึกถึงน้องเรียวโกะ ฮิโระสุเอะ
ที่คุณผู้เขียนติดตามผลงานตั้งแต่ขวบไม่ถึงสิบ ว่าจะเป็นอนาคตของวงการบันเทิงบ้านเค้า
พลังการแสดงของน้องหนูที่สะกดให้นักแสดงชั้นบรม อย่าง อาเบะ ฮิโรชิ กับ
เอนโด้ เคนอิชิ กลายเป็นลุงแก่ๆ ที่หมดน้ำยาไปในทันที ดึงดูดใจผู้ชม
ในทุกฉาก ไม่แก่แดดแต่ก็ไม่อ่อนพรรษาจนเกินไป อีกทั้งบทยังให้น้องหนูเป็นตัวเชื่อม
ระหว่างกลางในทุกๆตัวละคร น้องหนูก็เอาอยู่ทุกกระบวนการ ส่วนตัวเลือก ก.
ทำให้น้องยูกลายเป็นแม่นางโอเซนติดตัวโดยปริยาย ใครรักใครชอบน้อง
ก็ได้ดูกันจนอิ่มเลยละ ส่วนตัวเลือก ข. ถือเป็นการพลิกแบบ ๑๘๐ องศา
จากน้องโนดาเมะแบบใสซื่อ กลายเป็นทอมเก็บกด ชนิดไม่รักษาลุกซ์สภาพ
เป็นการยกระดับความสามารถในการแสดง ส่วนข้อ ง. เคยเป็นอันดับหนึ่งในใจเสมอมา
ด้วยรูปลักษณ์ในเจ้าสาวอุดมคติของชายหมายปอง กับบทซึ้งๆที่เจือน้ำเน่าตามยุคสมัย
ใครจะไม่หลงรักเธอบ้างละ


ส่วนรางวัลพระเอกตัวพ่อ จะขอกล่าวไม่เยิ่นเย้อตามประสา
คนดูผู้เขียน ที่ไม่นิยมคัดสรรนักแสดงชายมากไปกว่านักแสดงฝ่ายหญิง
ส่วนมีใครบ้างนั้น ก็ดูกันเอาเอง.............(แห้งแล้งไปป่าว!)


ผู้เข้าชิงรางวัลพระเอกตัวพ่อสโค้ยย์แห่งปีฉลูศก ได้แก่

ก) คิมูระ ทาคุยะ จากเรื่อง The Grand Family
ข) ฟูจิซาวา มาซาฮารุ จากเรื่อง Galileo
ค) ซาโตะ ยุตะ จากเรื่อง Rookie
ง) คาโตริ ชินโงะ จากเรื่อง Saiyuuki (ไซอิ้ว)




ผู้เขียนขอซูฮกให้กับ "ตัวเลือก ก." เรียกว่า สยบทุกบทบาทที่เคยเล่น
เป็นทาคุยะที่นอกกรอบความเป็นทาคุยะ อย่างที่เคยได้ชม
ทั้ง ทนง องอาจ หยิ่งยโสและชิงชังต่อบุพการี อย่างที่นักแสดงคนหนึ่งพึ่งจะทำให้ได้
บทก็ทรงพลัง ต้องประชันกับนักแสดงมากความสามารถท่านอื่น
ถ้าเอากันไม่อยู่ ก็จะถูกข่มกันเห็นๆ แต่ทาคุยะก็เอาตัวรอดมาได้
แม้จะหืดขึ้นคอ ใครที่เคยเห็นภาพทาคุยะที่ติดตาในบทเดิมๆ
ก็ต้องทำใจหนักๆ หากจะชมเรือ่งนี้ ส่วนที่เหลือก็ใช่ย่อย
ระดับการแสดงที่จะเป็นตำนานเล่าขานสืบไปชั่วลูกชั่วหลาย ส่วนตัวเลือก ข.
สมัยที่ผู้เขียนยังไม่รู้จักประวัติเจ้าหมอนี้ ยังนึกว่าเป็นนักฟิสิกส์มาเล่นจริงๆ
แต่พอได้เห็นบทบาทที่เป็นนักกีต้าร์และการแสดงในเรือ่งอื่น ก็ต้องบอกว่าทึ่ง!
เกือบทุกเพลง ล้วนไต่อันดับให้พอหากินไปจนตายได้ไม่ยาก
ส่วนตัวเลือก ค. ต้องเรียกว่าพลิกบทบาท อีกเช่นกัน
จากไอ้หนุ่มรุ่นน้องที่ให้ทาคุยะตบหัวใน pride มาเป็นครูบาอาจารย์สยบกุ๊ยนักเรียน
แถมยังเป็นกุ๊ยแสบ ที่เชื่อว่าซีรีย์เรือ่งนี้ไม่ผ่านกบว.ของเมืองไทยเป็นแน่
ต้องบอกว่าหมอนี้ เป็นดาวรุ่งที่เล่นได้ทุกบทและตีบทแตก
ส่วนข้อ ง. ไอ้ยักษ์ร่วมก๊วนวงเดียวกับทาคุยะ ก็เล่นได้ไม่ธรรมดา
เป็นคนที่ทำให้หงอคง ดูติดในเยื่อบุสมองผู้เขียน
จนนึกไม่ออกว่าเวอร์ชั่นเฮงเจียคนไหน จะดีเท่ากับหมอนี้อีกต่อไปแล้ว


และรางวัลใหญ่สุด คือ ซีรีย์สุโค้ยย์แห่งปี
ที่ต้องบอกว่า ใช้ตรรกะแบบงานวิจารณ์ภาพยนตร์ คงไม่ได้แล้ว
จำเป็นต้องใช้ลูกอารมณ์ เป็นตัวชี้วัดจากจำนวนที่ผู้เขียนไล่ลำดับอย่างคราวๆ
ไม่น่าจะต่ำกว่าครึ่งร้อย ซึ่งก็ต้องขอเพิ่มเป็นห้าตัวเลือก และต้องอาศัยจับผิดเล็กๆน้อยๆ
เพื่อสกัดเอาซีรีย์ที่คิดว่าดีที่สุดในใจ มาเป็นเครือ่งกำหนัดแต่มิตรรักผู้อ่าน
ว่าเอาไปดู น่าจะไม่ผิดหวังประการใด แต่ถ้าไม่! ก็ไปโทษผู้สร้างกันเอาเอง

เรื่องที่เข้าชิง รางวัลซีรีย์สุโค้ยย์แห่งปีฉลูศก ได้แก่

ก) The Grand Family จากค่าย TBS
ข) Flower Shop Without Roses จากค่าย ฟูจิทีวี
ค) Haken no Hinkaku จากค่าย NTV
ง) Love Operation จากค่าย ฟูจิทีวี
จ) Orthros Dog จากค่าย TBS




ไม่พลิกโผครับ! เพราะผู้เขียนเคยเกริ่นก่อนหน้านี้ ว่าซีรีย์ในใจแห่งปี
พร้อมพลีให้กับ "ตัวเลือก จ" เรียบรอ้ยโรงเรียนยุ่นปี้เป็นก่อนหน้าหลายสัปดาห์แล้ว
อีกทั้งก็ยังไม่มีเรือ่งใดมาโค่นในใจลงไปได้ เป็นเรือ่งที่ไปถามเก้าในสิบคน
มีความเห็นตรงกันว่า ไม่น่าจะเป็นเรือ่งประทับใจตรงไหน เก้าคนนั้นไมใช่ผู้เขียน
แล้วผู้เขียนก็ดันเป็นเสียงข้างน้อย (มาก) แต่ก็ยังติดตรึงใจกับซีรีย์เรื่องนี้ไม่หาย
คงไม่มีอะไรอธิบายได้ดีไปกว่า "ใช่เลย" อคติกันเห็นๆ เลยใช่ไหมพี่น้อง
ทั้งๆที่ แทบไม่มีลุ้นอะไรให้เข้าชิงในสาขาข้างต้น ในใจของผู้เขียนเอาเลย
แล้วอยู่ๆ ก็ยกให้หน้าตาเฉย อันนี้ผู้เขียนก็ไม่รู้เหตุผล เพียงแต่มันได้ใจ
ก็แค่นั้นจริงๆ ส่วนข้อ ง โอเคเลย องค์ประกอบสมบุรณ์ เนือ้เรือ่งแปลกใหม่
ว่าถึงการย้อนเวลาเพื่อเปลี่ยนแปลงภาพถ่ายวันแต่งงาน ซึ้งสะกดทุกตอน
อ.สุวินัย ยังบอกเลยว่า นี้เป็นเรือ่งที่ดีที่สุดของยามะพีในตอนนี้ อืม! ก็เข้าใจอยู่
ข้อ ค. เรือ่งนี้เป็นการเล่นกับระบบโครงสร้างสังคมญี่ปุ่น ที่ลูกจ้างชั่วคราว
บานเปรอะไปทั่วบริษัท สิ่งที่จะพิสูจน์มิใช่เพียงประกาศนียบัตรหรือวุฒิการศึกษา
แต่เป็นคุณค่าของพละกำลังทั้งหมด หรือเรียกว่าทำงานถวายหัวก็ว่าได้
เป็นซีรีย์ที่ทำให้ค่าย NTV เชิดหน้าพอสู้กับ Fuji และ TBS ได้
ส่วนข้อ ข. ที่ถ้าใครดูแล้วไม่ชอบ ต้องมีความผิดปกติอะไรสักอย่าง
เกี่ยวกับทรรศนะต่อการใช้ชีวิต เพราะซีรีย์เรือ่งนี้ เขาเชิดชูคนดีให้ปกครองบ้านเมือง
ส่วนข้อ ก. คงไม่ต้องบอกอะไรกันมาก เข้าชิงเกือบทุกสาขาในการจัดอันดับครั้งนี้
จะเสียก็ตรง มันไม่สุนทรียเฮฮา ก็เท่านั้น



ไหนๆ ก็จะจบแล้ว ทิ้งท้ายรางวัล ซีรีย์สุโค้ยย์ อะริมาเซน
หรือแปลเอาว่า รางวัลซีรีย์สุดทนแห่งปีฉลูศก เป็นรางวัลที่ผู้เขียน
แม้จะมีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา แค่ไหน ก็ไม่อาจจะทนกล้ำกลืนบริโภค
ซีรีย์เหล่านี้ให้จบตอนลงไปได้ ซึ่งความจริงก็มีอยู่ไม่น้อย แต่จะคัดเอาในส่วนที่
มีดารานักแสดง ที่เป็นแม่เหล็กที่ถ่ายพลังงานขั้วบวก มาเชื่อมดูดหัวใจขั้วลบของผู้เขียน
ก็ยังไม่มีอนุภาค พอสะกดให้ผู้เขียนจดจ่อ อยู่กับหน้าจออีกต่อไปได้
เพื่อผู้เขียนจะได้บอกออกไปว่า ผู้เขียนพยายามอย่างถึงที่สุด
แต่ก็ต้องตะโกนออกไปอย่างสุดทน ว่า "ตรูไม่ไหวแล้วโว้ย"

ผู้เข้าชิง รางวัลซีรีย์สุดทนแห่งปีฉลูศก ได้แก่

ฬ) Bloody MonDay จากค่าย TBS
อ) Boss จากค่าย ฟูจิทีวี
ฮ) Liar Game ค่ายฟูจิทีวี




ผู้เขียนไม่อยากขอเลือกทั้งสามเรื่อง แต่ถ้าให้เขี่ยทิ้งโดยพลัน
ขอเลือก "ข้อ อ." เป็นอันดับต้นๆ เป็นความเเปลกใจอยู่ไม่น้อย ที่เลือกชม
ก็เนื่องด้วยค่าเฉลี่ยเรตติ้งชั้นสูง แถมได้รางงี่รางวัลถึงสามสถาบันหลัก
มีเจ๊ยูกิ ซึ่งเป็นดารารุ่นเก๋าและน้อง เอริกา ซึ่งเป็นดารารุ่นใหม่
ก็ยังไม่อาจสะกดอารมณ์ได้อยู่ นี้ยังไม่พอ ได้ลุงทัตซึยะจาก ๑๐๑ ตื้อรักนายกระจอก
และยูกาตะ พระเอกมากด้วยบารมี ไอ้เราก็อุตสาห์กลั้นใจว่า เดี๋ยวตอนที่สอง
ทนอีกนิด จะค่อยๆสัมผัสกับความเข้มข้น แต่ไอ้ตอนสองมันยิ่งกว่าตอนหนึ่งสักอีก
ไม่สมเหตุสมผลทุกกรณี เลือ่นลอย และผิดธรรมชาติอยู่ไม่น้อย
ชนิดที่ดูแบบไม่อยากจับผิดเลยนะเนี่ย เลยตายไปตั้งแต่ยังไม่จบตอนที่สอง
ทำให้รู้ว่าซีรีย์บางที ก็มิใช่สิ่งบันเทิงเสมอไป
ข้อ ฮ. อาจไม่หนักเท่า แต่ก็หนักมากในความคิดเอาเองของผู้เขียน
เห็นความประกาศเชิดชูของท่านสมาชิกหลายท่าน ทำให้ผู้เขียนอย่างลิ้มลอง
เพราะมีน้องเอริกา (อีกแล้ว พี่ขอโต้ด) กับการใช้ทฤษฎีเกมส์ มาประยุกต์ใช้
แต่เมื่อพอได้ดู บางทีเราอาจมีความผิดปกติอะไรในใจ จึงทำให้ liar game
เป็นอะไรที่ liar Me เอามากมาก
ข้อ ฬ) เป็นอะไรที่ ต้องลงบันทึกของผู้เขียนว่า บางเรื่องที่รู้สึกแย่
เราก็สามารถคัดเอาส่วนดี มาเขียนลงในบล็อกได้ โดยละเลยมองข้าม
สิ่งที่ไม่ชอบ ไม่ให้เอามารกสมองได้ ถ้านับเอาความแปลกใหม่ในฉบับ
ซีรีย์แฮงเกอร์เทอรอลิสต์ ก็ถือเป็นความกล้าลอง ไอ้ตอนแรกๆ ก็ตื่นเต้นดีอยู่
แต่พอหนักเข้าหลายตอน ชักเริ่มมีเป๋แฮะ พอใกล้จบมีตกคูเล็กน้อย
ไอ้ตอนหักมุมนี้ก็เดาออก แต่เดาไม่ออกอย่างเดียว คือ ภาคสองนี้
เราจะตามดูต่อ มันจะคุ้มกับค่าไฟฟ้าในมิเตอร์อะป่าวหว่า!
แล้วซีรีย์เรื่องนี้ ก็เอาไปบริจาคเพื่อนบ้าน กะว่าเป็นการทำร้ายกันทางออ้ม
ตามประสาไม่ถูกขี้หน้า แต่กลับกลายเป็นว่า มันกลับชอบแฮะ
(แล้วดันให้เรา ช่วยโหลดต่อภาคสอง ยามที่มันใกล้จะมาถึง)


ป ล. การให้คะแนนเป็นสิทธิ์ส่วนตัว ที่ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณให้หนัก........






 

Create Date : 25 ธันวาคม 2552    
Last Update : 25 ธันวาคม 2552 23:11:45 น.
Counter : 2370 Pageviews.  

สนทนาภาษาอวตาร


เห็นว่าไม่ได้อัพบล็อก ไปหลายวัน ก็เลยเอาการสนทนาในวงเพื่อน
ผ่านทางเอ็มเอสเอ็น มาให้บล็อกดูไม่เหงาเล่นๆ โดยได้มีการแก้ไขทางสำนวน
ให้ดูสุภาพชนมาขึ้น ตัดทิ้งไอคอนกระดุกกระดิ้ก และปกปิดชื่อเล่นของเพื่อนท่านนั้น
เพราะเนื่องด้วยรู้ว่า แฟนเป็นคนชอบอ่านเรือ่งราวในบล็อกแก๊งค์
เกรงจะเกิดการพาดพิง เดี๋ยวจะเดือดร้อนผู้เขียนไปในตัว
เนือ่งจากผผู้นำมาเผยแพร่ ไม่ได้เป็นนอมินีของนายใหญ่จากนอกประเทศที่ไหนนั้นเอง......




(สนทนาขึ้นในวันที่ x เดือน x ปี พ.ศ. ๒๕xx)


คนที่๑# ว่าไงหว่าเพื่อน! แลหนังใหญ่อวตารยังหว่า?
คนที่๒# ไรหว่า! แหลงอย่างงี้ กะจะเลี้ยงชวนไปดูเหรอ?
คนที่๑# เปล่าถามดูเล่นๆ เห็นไปปากซอยไหนๆ ก็มีคนถามถึง
คนที่๒# เออ! ดูแล้ว แล้วไงฟะ!
คนที่๑# เออแล้วตกลง หนังมันน่าดูไหมฟะเพื่อน
คนที่๒# อืม! ก็พอดูได้ ดูคนเดียวก็ว่าแพง ดูหลายคนคงแพงกว่าอีก
คนที่๑# พูดอย่างงี้ แสดงว่าแลแล้วเด่
คนที่๒# เออ รอเอ็งเลี้ยง อวตารคงจุติภพชาติ เสวยพระนิพพานไปแล้วมั้ง
คนที่๑# ป้าด! ว่าไป ตกลงหนังดีไหมหว่า
คนที่๒# อืม! คงดีมั้ง ตอนแรกเห็นคนต่อแถว นึกว่าแจกดูฟรี ห่า!พอเข้าไปถึงรู้ว่ามันไม่ฟรี
ยังแพงเหมือนเดิม แต่ยังพอรับได้
คนที่๑# แสดงว่าหนังเขาดีสมอ้างสิ
คนที่๒# ก็โอเคนะ เนื้อเรื่องก็ประมาณหนังเรื่องนึง แต่เรื่องภาพนี้สิ หลุดโลกไปเลย
คนที่๑# หลุดโลก! ก็แน่สิ หนังเขาจินตนาการว่าชาวโลกไปหาอาณานิคมบนดาวดวงอื่น
คนที่๒# ไม่ใช่หลุดโลกอย่างงั้น หมายถึง สร้างกราฟฟิคที่หาดูไม่ได้จากของจริงในโลก
มันก็เลยชวนตื่นตาตื่นใจเป็นพิเศษ
คนที่๑# แสดงว่าดูตั้งแต่ต้นจนจบเลยสิ ไม่ผอยหลับไปเหมือนที่ดูหนังดราก้อนบอลกับอั๊วะอะสิ
คนที่๒# โห! มันเทียบกับไม่ได้อยู่แล้ว ดรากอนบอลนั้นลื้อเลี้ยงนิ ตังค์ก็ไม่เสีย
ได้นอนตากแอร์ ใครละไม่อยากไป
คนที่๑# โห! ไอ้แอนนิมอล อ๊วะก็คิดว่าจะสนุกเหมือนกับในการ์ตูน เล่นทำสักไม่สงวนเผ่าพันธ์เดิม
ใครมันจะไปรู้ฟะ
คนที่๒# ไม่อยากบอก อั๊วะรู้ แต่อย่างว่าฟรี ก็ลื้อบอกเองนิเพื่อนกินหาง่าย ก็อั๊วะไง




คนที่๑# โห! ไอ้อังคารไร เอาเถอะ แล้วอวตารละตกลงน่าดูไหม
คนที่๒# ถ้าไม่นับเอาช่วงต้นที่น่าเบื่อ ก็เรียกว่าคุ้มละกัน
คนที่๑# ทำไมฟะ ช่วงแรกหนังอืดเหรอ เห็นใครก็บอกว่าสนุกกันทั้งเรื่อง
คนที่๒# เออ! ไม่เกี่ยวกับหนังหรอก ของแสลงเดิมๆ พวกโฆษณามัดมือชกสามสิบนาทีนั่นนะ
ทุกวันนี้ก็ยังงงๆ ตังค์ก็เสียเพิ่มขึ้น ไงปริมาณการอุปถัมภ์ช่างไม่สอดคล้องกันเลย
คนที่๑# อ้าว! ไม่เกี่ยวกับหนังนิ ป้าด!เห็นหนังตั้งสองชั่วโมงครึ่งนิ
คนที่๒# ไรหว่า! ที่หนังยาวลื้อก็บ่น หนังสั้นลื้อก็บ่น ดูหนังเพื่อให้ได้บ่นเรอะ
คนที่๑# ปล่าว! อยากรู้เนื้อหาสาระ เห็นแฟนมันอยากดู อั๊วก็ไม่อยากขัดใจ
อยากให้อวตารอยู่บนจอหนัง ไม่อยากให้อวตารสถิตย์อยู่ร่างแฟน
คนที่๒# เออไงดีละ เอางี้แฟนลื้อเป็นแฟนหนังเจมส์ คาเมรอนไหมอะ?
คนที่๑# ไม่รู้ดิ! ถ้าเรื่องไททานิค ดูมันปลื้มๆอยู่
คนที่๒# บอกแฟนลื้อได้เลย เรื่องนี้ไม่มีเรือล่ม พระเอกไม่ตาย ไม่ขายเพลง
ไม่ไปทำอะไรเสี่ยงๆ ทีเสากระโดงเรือ แฟนลื้อจะทนดูได้อะป่าว?
คนที่๑# เฮ้ย!ไอ้นั่น อั๊วรู้ แต่อยากรู้พล็อตเรื่อง ไม่ก็ซีจีเนียนไหมอะ?
คนที่๒# ซีจี อั๊วเนียนไหมไม่รู้ แต่ที่อั๊วแยกแยะไม่ออก คือ ไอ้พวกคนที่เล่นมันจะใช้ซีจีรึเปล่า
หรือว่าเอาคนจริงมาเล่นร่วมก็ไม่รู้
คนที่๑# เนียนถึงขั้นนั้นเลยเหรออะ? ดูตัวอย่างก็เนียนดี กลัวจะตายด้วยท้องเรื่อง
คนที่๒# เอางี้ละกัน ประเทศไทยมีอินเดียนแดงไหม
คนที่๑# ก็ไม่มี
คนที่๒# เคยเห็นมนุษย์ต่างดาวไหม
คนที่๑# คิดว่าไม่นะ
คนที่๒# เคยเห็นหุ่นยนต์ในโลกอนาคตไหมอะ?
คนที่๑# อนาคต! จะไปเคยได้อย่างไร
คนที่๒# งั้นพาแฟนไปดูให้เป็นบุญตา จะได้คุ้นเคยกันไว้
คนที่๑# กลัวจะเป็นหนังหลอกเด็กอะเด่
คนที่๒# ไม่ต้องห่วง ผู้ใหญ่อย่างอั๊วยังโดนหลอกเลย
คนที่๑# เออ!ได้ข่าวว่าเรื่องนี้ ปู่เจมส์แกทิ้งช่วงทำหนังเป็นทศวรรษเลยเหรอ
คนที่๒# ไม่รู้เด่ สงสัยกินบุญเก่าจากไททานิคใกล้หมดแล้วมั้ง
คนที่๑# แต่อั๊วชอบสมัยที่แกยังทำพวก truelie alien คนเหล็กสอง
คนที่๒# โห!เอเลี่ยนแกยังเป็นพี่ ทรูไลแกยังเป็นน้า คนเหล็กแกก็เป็นลุง
ตอนนี้แกเป็นปู่ จะกลับไปทำสิ่งที่เคยเอาะๆ ไม่ได้แล้วมั้ง




คนที่๑# นึกถึงสมัยเด็กๆจังอะ
คนที่๒# เฮ้ย! จะพาแฟนไปดูหนัง หรือจะพาอั๊วมารำลึกอดีตกันอะ
แต่ขอบอก หนังก็ไม่ไปอย่างที่อั๊วตั้งใจเท่าไรอะ
คนที่๑# อย่างไงอะ
คนที่๒# ก็พอฟังชื่อว่า อวตาร ก็หลงนึกไปว่าคงมีอะไรเกี่ยวข้องกับมหากาพย์ที่
อั๊วกำลังบ้าอ่านอยู่ อาจจะมีอะไรพัวพันกับพี่น้องเการพกับปาณฐกอยู่บ้าง
คนที่๑# แล้วเรื่องที่ลื้ออ่านมันเกี่ยวกับอะไรอะ
คนที่๒# ก็เป็นศึกการสู้รบของวงศาคณาญาติ สองตระกูลที่ทุ่งกุรุเกษตร
ที่อรชุนต้องฆ่าลุงโดยมีพระกฤษณะอวตารมาเป็นสารฑี
คนที่๑# แล้วตกลงมันเกี่ยวกับหนังไหมละ?
คนที่๒# ไปกันคนละเรื่องแบบไม่มีเค้าเลย กลายเป็นโครงการสายลับจับบ้านใหญ่
ผ่านการเชื่อมสมองกับชนเผ่านาวีที่ไม่ชอบราวีตัวหนึ่ง หน้ามันก็ประมาณ
กิ้งก่า ปลาดุก ตะกวด ตุ๊กแก แถมตัวสูงกว่าสามเมตร สูงอย่างงี้
เอ็นบีเอคงชอบ
คนที่๑# ฝรั่งมันก็ทำเก่งน้อ! เห็นเขาว่าพล็อตเรื่องคล้าย Dance with Wolves
ประมาณว่าชนเผ่าโดนบุกรุกจากพวกฝรั่งหัวทอง
คนที่๒# เออ! ก็มีส่วนคล้ายน้อ อย่างว่ามนุษย์ไปดาวดวงไหน นิสัยก็ตามไปกับดาวดวงนั้น
ด้วย
คนที่๑# แต่ว่า เรื่องนี้นางเอกไม่สวยอะ เลยไม่ค่อยอยากไปดู
คนที่๒# เอาเถอะ เอาแฟนเข้าโรงหนัง มืดตั้งสองชั่วโมงไม่ต้องเห็นหน้ามัน
จะได้ไมต้องบ่น ว่าไม่อยากเห็นหน้าแฟน
คนที่๑# เฮ้ย! ไอ้นั้นก็ไม่เกี่ยว ก็แฟนอั๊วเขาอยากเห็นหน้าคนหล่อ ยิ่งรู้ว่ามีดาราที่
เล่นคนเหล็ก๔ ยิ่งทำให้มันอยากจะดูนี้เด่
คนที่๒# เออ! เจ้าแซม แวทิงตันนะเหรอ จะรับไหวเหรอ? มาเล่นเรื่องนี้
ขาขาดสองข้างด้วย แถมยังสิงสมองร่างตะกวดสามเมตรเกือบทั้งเรื่อง
แต่ไอ้หมอนี้ เวลาผมมันยาวก็รู้หล่อเหมือนกันอะ
คนที่๑# อ้าว! เพื่อนอั๊วเป็นตุ๊ดไปสักแล้ว
คนที่๒# ผู้หญิงเผ่าปาวีก็เซ็กซี่นะเว้ย นุ่งน้อยห่มน้อยตามสไตล์ที่ลื้อชอบเลย
คนที่๑# หน้าอย่างนั้น ไม่ไหวมั้ง แถมมีลายยังกะม้าลาย ดูไปจะมีอารมณ์ตรงไหนหว่า?
คนที่๒# เฮ้ย! อย่าประมาณไป แรกๆอั๊วะก็ขยะแขยงเหมือนกัน ประมาณว่า
จะรับสภาพมนุษย์ต่างดาวบนดาวแพนทอร่าได้ไหม ดูๆไป ก็มีเสน่ห์ไปอีกแบบ
คนที่๑# เออว่าจะไปดูที่ไอแม๊กซ์ดีไหมหว่า? ไหนๆก็เป็นหนังสามมิติด้วยแล้ว
คนที่๒# เฮ้ย! ดูได้เหรอ แว่นสามมิติเขาไม่มีสำหรับคนสายตาสั้นนะเฟ้ย
คนที่๑# เออ! ลืมไป อั๊วขี้เกียจดูใส่คอนเทคเลนส์ดว้ย แฟนก็ขี้บ่นด้วยเวลาไปซื้ออะไร
แพงๆ คราวก่อนพาไปดูหนังผีอะไรๆ พาโนรามา ที่ถ่ายทำแบบเรียลลีตี้
โวยวายเกือบตาย หาว่าอั๊วกะจะฆ่ามันเพื่อเอาเงินประกัน คงตายอยู่หรอก
คนที่๒# แต่อ๊วะชอบ คนที่เล่นเป็นท่านนายพลในเรื่องอะ ที่เล่น Public Enemies
แต่ไม่รู้ชื่ออะ (รู้แล้วชื่อ สตีเฟน แลง) ดูแล้วนึกถึงครูฝึกรด.
สมัยที่เราเรียนอะ คนที่บอกว่าจะทำตุ๊ดให้เป็นแมนภายในสามวัน
หัวขาวเหมือนกันเลย
คนที่๑# ยังจำได้อีกเหรอ เล่นอั๊วยังกะว่าอั๊วะเป็นตุ๊ด อั๊วะก็บอกแล้วว่าแมนว่าแมน
พูดแล้วไม่ฟัง โดนทำโทษทั้งแถวเลย โคตรเซ็งเลย แล้วเรือ่งนี้มีใครเล่นบ้างอะ
คนที่๒# นอกจากเจ้าแพตทิงตันแล้ว ก็มีซิกกอเนีย บีเวอร์ โคตรแม่เอเลี่ยนสี่สมัย
จิโอวานี ริบีซี ที่เล่น Public Enemies มีเจ๊มิเชล โรดดิเวซ สาวแอ็บแมน
ที่เล่นซีรีย์ Lost แต่งานนี้เขาไม่ขายดารา เขาขายซีจีกันเห็นๆ
ไม่งั้นทุนสร้างจะแพงกว่าไททานิคเหรอ ดูไปเถอะ ยังไม่ตายจะได้รู้ว่า
ป่าหิมพานต์ในภพชาติหน้ามันเป็นอย่างไร
คนที่๑# เออ! จะหาเวลาไปดูละกัน เห็นเข้าวันละหลายรอบ
คนที่๒# ดูไปเถอะ! แต่ถ้าเทียบกันแล้ว ชอบความรู้ของตอนจบในดราก้อนบอลรีเวอร์ลูชั่น
มากกว่าในหนังเรื่องอวตารเสียอีกอะ
คนที่๑# ทำไมอะ! อวตารมันจบไม่สวยเหรอ อั๊วว่าแล้ว...........
คนที่๒# เปล่า! ในอวตารยังพอลุ้นไม่ไหัมันจบ แต่ในดราก้อนบอล แหม่ง! แช่งให้มันจบไวๆ
ดันสะเออะไม่ยอมจบสักที เห็นว่าไม่เสียตังค์ก็กะว่าไม่บ่นสักแล้วเชียว ........



href="//www.bloggang.com/data/c/chanpanakrit/picture/1261502727.jpg" target=_blank>




 

Create Date : 23 ธันวาคม 2552    
Last Update : 23 ธันวาคม 2552 0:26:46 น.
Counter : 1671 Pageviews.  

Buzzer Beat:Love Make Me Strong





ต้องมาสาราภาพบาป ผ่านบล็อกอีกครั้งหนึ่ง
เป็นครั้งหนึ่งที่เคยปรามาสซีรีย์ญี่ปุ่นอีกหนึ่งเรื่อง ด้วยใช้ส่วนของหางตาเป็นเครื่องตัดสินใจ
เพราะเคยให้ความเห็นในช่องคอมเมนต์ของท่าน prysang@bloggang เมื่อวันที่
๑๔ พฤศจิกายน ปีนี้ ในหัวข้อบล็อกที่ชื่อว่า "Buzzer Beat เรื่องรักโรแมนติกแห่งปี" ไว้ว่า

"ด้วยอิทธิพลของ slumdunk รึเปล่า? ทำให้หนังติดโครงสร้างนี้เสียเกือบหมด
แต่ดูทว่า เรื่องนี้คงไม่เสียแล้ว รึกแต่ไม่ลึก ซีรีย์แบบนี้ค่อยหามาดูดีกว่า"



เป็นการวางความคิดเห็นแบบสั่วๆ เนื่องจากไม่เคยได้ยลซีรีย์เรื่องดังกล่าว
ก็เลยคิดเป็นตุเป็นตะ ด้วยเห็นภาพตัวละครชาย-หญิงทีไร แล้วมีลูกบาสมาเคาะอยู่ข้างๆ
ก็จะโปยใส่ว่ารับอิทธิพลกระแสการ์ตูนไปสักหมด
ยิ่งมาเจอมาเมตตาธรรม ด้วยเพื่อนบ้านเจ้าประจำอย่างท่าน ManLHC@bloggang
ช่วยเตือนสติ ในช่องคอมเมนต์ของหัวข้อเรื่อง "Slow Dance ปล่อยชีวิตตามจังหวะสโลว์"
เป็นท่านแรกแบบไก่โห่ ไว้ว่า..............
"ช่วงนี้ยังคงเน้นเรื่องเก่าอยู่เช่นเคย" เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ภายในปีนี้เช่นกัน
จึงบังเกิดอาการร้อนตัวแบบเจ้าเข้า เกรงว่าพี่ๆน้องๆจะคิดเดาว่าบล็อกนี้มาจากกรุพิพิธภัณฑ์
บังเกิดมาเพื่อรณรงค์อนุรักษ์ของซึ่งเก่าเอามาเก็บกิน เลยสำแดงลูกมั่วตามตอบกระทู้เพื่อนบ้าน
อย่างไม่ค่อยตรงประเด็นเนือ้หาสาระนัก เพราะลงติดอยู่กับห้วงเวลาสักสิบถึงสิบห้าปีก่อน
เป็นตาเฒ่าที่ไร้เดียงสา กับเนื้อหาสาระในปัจจุบันของโลกซีรีย์ญี่ปุ่น
ที่อ้างดารามาแต่ละคน คงมีไม่น้อยที่ต้องออกอาการเสียยี้ ประมาณว่า
"หยิบใครมาแต่ละที ช่วยรบกวนให้พวกหนูได้ลิงค์จูนติดกันหน่อยนะเฮ้อ"



ครั้งนี้จึงถอยห่างจากกรอบกาลเวลาส่วนตัว มาร่วมแชร์กับสิ่งที่ได้ยลล่าสุด
รับรองได้ว่า นำเทรนด์แบบโหนกระแส ไม่ให้เป็นที่อับอายประชาชีญี่ปุ่นซีรีย์ก็แล้วกัน
แม้อาจจะช้ากว่าใครหลายคน ก็ถือโอกาสเอาข้อมูลทรรศนะของเขาเหล่านั้นมากล่าวอ้าง
เพื่อเสริมความน่าเชือ่ถือให้กับบล็อกตัวเองเพิ่มขึ้น (และก็ยกบาปให้กับข้อมูลที่กล่าวอ้างไปในตัว)
กับซีรีย์เรือ่งล่าสุดปีนี้ ของค่าย ฟูจิทีวี นามว่า Buzzer Beat
เป็นซีรีย์ที่เริ่มฉายแดนฮอนด้า เมื่อกลางเดือนกราฎาคมมาจบเอาในเดือนกันยายนที่ผ่านมา
ศิริครบสิบเอ็ดตอนแบบเต็มอิ่ม ที่อยากจะแนะนำให้แฟนๆยามะพี ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง



เหตุที่บอกให้ไม่สมควรพลาด เพราะด้วยมากลับมาครั้งนี้
ยามะพีหรือชื่อที่เป็นทางการว่า "ยามาชิตะ โทโมฮิสะ" นอกจากต้องแสดงบทบาทในการแสดงแล้ว
ยังต้องแสดงความสามารถในกีฬาลูกยางป้องเป้งสุดเลิฟของเขา นั่นก็คือ บาสเกตบอล
ถึงแม้ที่จริงแล้ว สัดส่วนความสูงของพ่อหนุ่มคนนี้ ก็ถือว่าตามระดับมาตราฐานวงการบันเทิง
ซึ่งสูง ๑๗๕ เซนติเมตร แต่เมื่อต้องมาเล่นร่วมกับนักกีฬาบาสท่านอื่นๆแล้ว
การรับบทพอร์ยการ์ดตัวเล็ก ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะถ้าพี่อยากร่วมในทีมบาส
ในระดับความสูงที่ต่ำกว่านี้ ก็คงต้องเป็นเด็กเก็บลูกไม่ก็เด็กเสริฟน้ำ
เพื่อให้ได้ชื่อว่า ยังได้เป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในทีม
แต่ทีมครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นทีมกระโหลกกะลา ที่จัดเล่นตามงานกุศล
โดยใช้กระแสความเป็นดารา ที่ต้องนัดผ่านเอเจนซี่ในสังกัด ให้สื่อบันเทิงได้กรี๊ดกร๊าด
หรือมุ่งไปสู่ความฝันของเด็กม.ปลาย ตามฉบับเป้าหมายสูงสุด คือ สนามกีฬาโคชิเอ็ง
เพราะยามที่นั่นก็จะสวนกลับมาว่า "ไอ้หนู นี้มันสนามแข่งเบสบอลนะเฟ้ย"



แต่เป็นเรื่องการเล่นเทริน์โปร เอาจริงเอาจังถึงขั้นเป็นอาชีพเพื่อหาเลี้ยงชีวิต
มีระบบสังกัดทีม ต่อสัญญากันปีต่อปีเสร็จสรรพ เรียกร้องค่าจ้างเพดานเงินเดือน
มีหน่วยงานบริหารจัดการแบบครบวงจร ทั้งการออกแบบเสื้อทีม สัญลักษณ์ ของที่ระลึก
การสร้างแฟนคลับ ออกแบบเว็บไซด์ ติดต่อโฆษณา และอีกร้อยแปดพันประการ
ถึงกระนั้น วงการบาสเกตบอลในบ้านเขา ก็ยังไม่เป็นที่นิยมอยู่ดี
เหมือนที่เพื่อนพระเอกในตอนที่ร่วมมาเลี้ยงสรรค์สรร แม้จะเคยร่วมเล่นบาสกันมาในตอนเรียน
แต่ก็รับรู้ว่า เป็นกีฬาที่ไม่อาจฝากชีวิตด้วยการแข่งขันเหย้าและเยือน ตราบใดที่จำนวนคนเล่น
ประมาณสามแสนคน แต่มีคนเอาจริงเท่ากับช่องว่างระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วโป้ง แล้วยังต้องใช้ระดับ
สายตาหรี่มองลงไป การทำงานบริษัทกินเงินเดือน จึงเป็นทางออกที่ดีสักกว่า
แม้จะไม่มั่นใจที่เลือกในตอนแรก แต่ก็มั่นคงในระยะยาว



ถึงกระนั้นก็มีพระเอกยามะพีของเรา ที่กล้าเลือกหนทางในกีฬาที่รัก
โดยรับบทเป็น "คามิยะ นาโอกิ" นักบาสดาวรุ่งอาชีพสังกัดในทีมที่อ่านออกเสียงยาก
ทีมหนึ่งในโลกว่า JC ARCS เผอิญว่าได้เข้ามาเล่น ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่ทั่วโลก
ทั่วโลกแค่ไหน ก็วัดเอาจากการที่พรรคที่เคยเป็นรัฐบาลเสือนอนกิน ยังต้องกระเด้นหล่น
ไปเป็นพรรคฝ่ายค้านได้เลย ค่าตัวที่น่าจะได้สูงขึ้นในการเซ็นสัญญาปีต่อปี
กลับกลายมาเป็นการลดเพดานเงินเดือนต่ำเตี้ยเรียดิน ถ้าเท่าเดิมพี่แกจะไม่บ่นเลย
และทางต้นสังกัด ก็จะไม่รั้งตัวผู้เล่นไว้ หากคิดจะย้ายทีมเพื่อไปเล่นให้ทีมอื่น
หรือรีไทร์ตัวเองเพื่อไปประกอบสัมมาอาชีพอื่น เจอเม็ดนี้ก็ต้องถือว่า......งานเข้า!
ที่งานเข้าก็เพราะว่า พี่ยามะพีมีแผนที่จะขอแต่งงานกับหัวหน้าเชียร์ลีดเดอร์
นาโอมิ นัตซึกิ ที่เล่นโดย อาอิบุ ซากิ (เคยเล่น Attention Please และ รับเชิญใน MR.Brain)
ความจริงแล้ว จะเรียกว่าเป็นเชียร์ลีดเดอร์ก็ไม่ถูก ต้องเรียกว่า
ทำงานบริษัทกินเงินเดือนเหมือนกันนี้แหละ เพราะต้องดูแลหน้าเว็บไซด์ การติดต่อธุรกิจ
การดูแลผู้เล่นในทีม การจัดรอบให้แฟนคลับของสโมสร ถือเป็นงานจิปาถะที่น่าเห็นใจอยู่ไม่น้อย
จึงไม่แปลก ที่ภายนอกจะดูเป็นสาวเก่ง ฉลาด มีบุคลิกที่มั่นใจ ไปมาลาไหว้
เยี่ยมบ้านพระเอกทีไร มีของฝากติดไม้ติดมือเสมอ แต่พอหลังฉากนี้สิ
ล้วงกระเป๋าเอาบุหรี่ขึ้นมาจุดปุยๆ อีกทั้งไม่มีความพึงพอใจกับความสัมพันธ์ ณ ปัจจุบัน
กับพ่อพระเอกแสนดีอย่างยะมะพีของเรา ที่ยังหลักลอย เรื่อยเปื่อย มีชีวิตที่ไม่วือหวา
ไอ้ตรงนี้ ทำให้ผู้เขียนนึกถึงคำแนะนำของมิตรสหาย ที่ว่า
"ผู้ชายที่จะมัดใจสาวได้ ไม่ควรจะฉายความเป็นพ่อพระเพียงด้านเดียว ควรจะมี
ด้านมืดแบบนายมาร เพื่อจะได้ครบมิติสมชายแบบจรดปลายเท้า"



ซึ่งตรงจุดนี้ ออกจะก้ำกึ้งระหว่างดีสุดขั้วหรือดีผสมเลว เพราะในซีรีย์ชี้นำไปในทิศทาง
ประมาณว่า ดีอย่างพระโพธิสัตว์อย่างไรเสียย่อมไม่หนีห่างจากการนิยมบูชาฉันใด
บุรุษที่ดีไซร้ ย่อมไม่อาจห่างหนีจากอิสตรีที่ประสงค์ความเป็นชายาฉันนั้น
ถือเป็นบทที่ท้าทายน้องอาอิบุไม่น้อย เพราะเคยเห็นเล่นแต่บทคนดี มาครั้งนี้
ต้องมารับบทสองบุคคลิก เป็นคนสองรัก เบือ้งหน้าดูเป็นคู่รักแสนดี
แต่เบื้องหลังแอบไปเผลอใจเป็นชู้กับผู้เล่นที่เข้าใหม่ ที่นิสัยไม่ถูกโฉลกกับพระเอก
และมีนิสัยประมาณว่า ข้ามาฉายเดียวไม่สนทีมเวริค
อย่าง "โยโยกิ เรน" ที่เล่นโดย คาเนโกะ โนบุอากิ (คุ้นสุดก็น่าจะเป็น Crows Zreo ภาคสอง)
รูปร่างหน้าตา ออกไปทางอาร์ทติสอีโก้แรง จึงดูเป็นคนที่น่ารับบทคนไม่ดี
ที่ได้ดีอย่างไม่น่าสงสัย ถึงความสูงไอ้หมอนี้จะตั้ง ๑๗๘ ซม. แต่เมื่อร่วมเล่น
กับนักบาสตัวเป็น ๆ ก็กลายเป็นคนแคระได้ไปในบัดดล



แต่บทที่สร้างให้แจ้งเกิดอย่างสุดๆ สำหรับซีรีย์เรื่องนี้
ฟังมาหลายเสียงแล้ว คงหนีไม่พ้น "คิตะงาวะ เคอิโกะ" ที่รับบทเป็น ชิราวาวะ ริโกะ
ยอมรับว่า ไม่คุ้นชินกับน้องคนนี้มาก่อนเลย แต่ดูตามสายจากเจริญเติบโตแล้ว
เห็นจะมาทางสายภาพยนตร์และโฆษณาเสียมากกว่า งานที่สร้างชื่อสุดๆ คงเป็นหนึ่งในสมาชิกที่
คุณหนูรุ่นผมอาจร้องอ้อใน Pretty Guardian Sailor Moon และงานที่คนไทยอาจคุ้นเพราะ
ได้เข้าฉายในโรงไทยใน The Fast and The Furious 3: Tokyo Drift ที่รับบทเป็น เรอิโกะ
(ทุกวันนี้ก็ยังนึกหน้าไม่ออก เดี๋ยวจะตามซ้ำตามร้านเช่าทั่วไปละกัน)
ในซีรีย์รับบทเป็นนางเอกตัวจริงเลยละ แม้จะต้องมีรักที่หลบๆซ่อนๆ
แต่ก็เป็นการหลบๆซ่อนๆ อย่างถูกครรลองตามศีลธรรม ต่างจากคนรักก่อนหน้าของพี่ยามะพี
ที่อาจจะรักแบบหลบๆซ่อนๆ ก็จริง แต่ผิดหลักกามเมสุมิฉาฯ ข้อสามเต็มๆ
วัดได้จากจิตที่มีเจตนา ที่มีความจำยอมพร้อมใจเป็นหลัก ผิดกับหนูริโกะ
ที่เป็นความรักแบบมุ่งที่จะเอาข้างเดียว จากตัวโค้ชของพระเอกยะมะพีของเรา
เมื่อน้องริโกะจะพยายามสะกดประโยคบอกรักหลายสิบเที่ยว ก็ไม่อาจหลอกตัวเอง
ให้ไปหลงรักโค้ชทีมJC ARCSไปได้ โค้ชแกก็ช่างกล้าน้อ! ตอนไปดูงานที่Bostan
ยังมีหน้าฝากสาวคนรัก (ข้างเดียว) โดยทิ้งประโยคว่า "เราไว้ใจนาย"
พูดอย่างนี้ก็เข้าทางปากตะเข้ เพราะสองคนนั้นเขาเจอกันก่อนหน้า
เป็นบุพเพสันนิวาส ที่ครั้งหนึ่งพ่อยะมะพีแกไปลืมโทรศัพท์บนรถประจำทางสายเดียวกัน
ก็มีน้องริโกะที่เป็นคนเก็บไว้ให้ แต่ตอนที่จะเจอกันเพื่อมอบส่งคืน
กลายเป็นโค้ชนี้แหละที่อาสาเป็นคนกลาง แล้วก็เกิดไปปิ๊งปังกันเมื่อแรกเห็น



อีกบทหนึ่งที่ส่งเสริมให้น้องเคอิโกะแจ้งเกิด ก็ด้วยการรับบทเป็นนักไวโอลินมือสมัครเล่น
ที่ปรารถนาจะเล่นเป็นอาชีพ แต่ทว่าอุปสรรคชีวิตนานาประการ
ตอนเล่นคัดตัว ก็เล่นเมามันเสียจนสายขาด จนไปต่อไม่ได้ มาเจอครูที่เคารพชักชวน
ออกลูกลามกสักงั้น กลายเป็นว่า ไวโอลินในมือต้องมาเป็นเครือ่งมือประคองชีพ
แทนที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการรว่มวง กับเหล่าวงออลเคสต้า
ดันต้องมาเล่นตามห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร และการเปิดงานตามที่ต่างๆ
รวมถึงสถานที่ซ้อมวันละสามชั่วโมงในแต่ละวัน ถ้าไม่เป็นในห้องนอน
ก็จะเป็นสนามบาสข้างอพาร์ตแมนเช่า ซึ่งก็จะไปทับที่ซ้อมบาสวันละพันลูกของยามะพี
เขาอยู่ดี และเป็นโอกาสที่ทำให้น้องเคอิโกะค้นพบว่า ผู้ชายก็สวยได้
จากการชู๊ตบาสให้โค้งลงห่วงดังซวบ! ดังนั้นอย่าได้ประมาณรสโสตแห่งเสียงเป็นอันขาด
เพราะกระดูกรูปฆ้อนในหูคุณน้อง สามารถรับรู้คลื่นเสียงได้ดี ดีชนิดที่แยกแยะ
จังหวะก้าวเดิน เสียงเข็มนาฬิกา หรือแม้แต่เสียงสะอื้นเคล้าน้ำตาของพระเอก
แต่จะแพ้พระเอกอยู่สองอย่าง คือ เรื่องการทำอาหารและการจัดทำความสะอาด
เพราะสายนี้พระเอกของเรา เขาเป็นเต้ยในกิจกรรมที่ไม่น่าจะดูแมน
ได้สมแมนจนผู้เขียนยังรู้สึกละอาย



เหมือนอย่างที่อ.สุวินัย เล่าไว้ทางวิทยุเมื่อวันศุกร์
ว่า Buzzer Beat เป็นซีรีย์ที่ปูเรื่องบาสเกตบอลอาชีพไว้เพียงเบื้องหลัง
แต่เล่นประเด็นเรื่องความรักสาม-สี่-ห้าเส้า (ตามแต่จะนับกันกี่คู่) ซึ่งเป็นจริงอย่างที่
ท่าน Prysang ว่า "นานๆจะมีซีรีย์ที่ยกเอาความรักเป็นประเด็นหลักอย่างจริงๆจังๆกันสักที"
ถึงแม้จะมีเรื่องของการทำความฝันที่เคยวาดหวังไว้ให้เป็นจริง ก็ถูกเร่งความสำคัญไว้
ในตอนท้ายๆ หลังจากที่ให้เวลากับการปรับความเข้าใจในเรือ่งของหัวใจ
ไปสักหลายตอนในช่วงต้น ส่วนภาพของการแข่งขันกีฬา ส่วนใหญ่หมดไปกับการซ้อม
และห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า (ได้เห็นกล้ามอกยามะพีด้วย กรี๊ดๆ)
ส่วนภาพของการแข่งขันกันระหว่างทีมต่อทีม น่าจะมีไม่เกินสามถึงสี่ครั้งเห็นจะได้
(ซึ่งจะต่างจะ Pride ที่ทาคูยะเล่น ที่มีให้เห็นกันเกือบทุกตอน)
ดังนั้น ถ้าจะหวังช่วงเวลาตื่นเต้น แบบที่ต้องลุ้นแบบวินาทีสุดท้ายอย่างที่เคยเห็น
ในซีรีย์แนวกีฬา ต้องบอกว่าผู้ชมคงไม่สาแก่ใจเป็นแน่ อย่างที่ไม่สมกับชื่อเรื่อ่งว่า
Buzzer Beat ที่จะต้องลุ้นกันถึงวินาทีสุดท้าย แม้แต่คู่แข่งที่จะต้องหยิบยก
ไว้เพื่อเป็นแรงกระตุ้นและพัฒนาประสบการณ์ งานนี้ก็เลือกใช้ "คนใน" มากกว่า
ที่จะเลือกใช้ "คนนอก" ที่เป็นทีมคู่แข่งร่วมสาย ซึ่งค่อนข้างผิดหลักนิยมพอสมควร
แต่ท้ายสุดแล้ว ก็ไม่มี "ศัตรู" จริงๆจังๆ ในซีรีย์ญี่ปุ่นอีกเช่นเคย เหมือนอย่างที่
อ.ประเวศ วสี ว่าไว้ "มนุษย์ต่างมีเมล็ดพันธ์แห่งความดี ในจิตใจด้วยกันทั้งสิ้น"
จะมีศัตรู ก็เพียงความอ่อนแอในจิตใจ ชนิดที่พระเอกของเรายังต้องพยายามสะกดเอา
ไว้เกือบทุกตอน ว่า "ฉันจะต้องเข้มแข็งๆ"



เป็นงานที่ผู้เขียนเดาได้ไม่ยากว่า คนเขียนบทจะต้องเป็นสตรีเพศโดยแน่แท้
เพราะสามารถให้รายละเอียดกระจุกกระจิก ชนิดที่นักเขียนแอ๊บแมนก็ยากที่จะทำได้
ไม่ว่าเรื่อง เครื่องสำองค์สำอางค์ อาการเม้าท์พวกผู้ชาย หรือการเลือกว่าที่เจ้าบ่าว
(คิดดูอย่างสำนวนที่ว่า คนในศตวรรษที่ ๒๐ นิยมแต่งงานเมือ่อายุ ๒๔ แต่มาพ.ศ.นี้
การแต่งงานเมื่ออายุ ๒๔ กลับเป็นรองอันดับสอง เพราะมีสิ่งที่น่าทำยิ่งกว่า
คนเขียนบทชายๆอย่างเรา คงคิดไม่ถึงเป็นแน่)
ขณะเดียวกัน มุมมองการแสดงความรู้สึกภายในของผู้ชาย ก็ดูรู้ว่าเป็นการมองด้วยสายตา
ของโลกที่ผู้หญิงอยากจะให้เป็น กระนั้นก็ทำให้ซีรีย์เรือ่งนี้มีความต่างจากซีรีย์เรื่องอื่นๆ
หลุดกรอบจากอิทธิพลแนวเลิฟๆแบบโนจิมา ชินจิ ที่ครอบจักรวาลซีรีย์ไปพักใหญ่
มาดูประวัติ ถึงได้รู้ว่าเป็นนักเขียนบทในสายตลกที่ชื่อ โอโมริ มิกะ (ได้รางวัลปีนี้ด้วย)
เขียนงานก๊ากๆ ที่คนไทยน่ารู้อยู่หลายเรื่อง อาทิ My Boss My Hero หรือ Detroit Metal City
ส่วนผู้กำกับก็เลือกใช้เพียงสองท่าน มี "นางายามะ โคโซะ" ผลงานคนนี้เคยเขียนถึงใน
หัวข้อ Love Generation แล้ว การกำกับใน Buzzer Beat ดูเหมือนเฮียจะรับทำในส่วนของ
ฉากแอ็คชั่นที่ต้องถ่ายในช่วงที่มีการแข่งขัน ส่วนกำกับบทชีวิตจะยกให้กับ นิชิอุระ มาซากิ
คนนี้ยามะพีเขาอาจมักคุ้นหน่อย เพราะได้กำกับ Code Blue ที่ยามะพีแกเป็นพระเอกทั้งเรื่อง
(แน่สิ! ก็เขาจ้างให้เป็นพระเอกนิ) โดยส่วนตัว เป็นการแยกการกำกับที่ดูออก
เพราะไม่ค่อยเป็นเอกภาพเหมือนกับซีรีย์แนวกีฬาเรือ่งอื่นๆ โดยวัดจากการกระชับในเนือ้หา
และองค์ประกอบปลีกย่อย คงด้วยสไตล์ที่แตกต่างกัน พยายามที่จะดูอย่างไม่คิด
แต่อย่างไรเสียผู้เขียนว่า มันก็มีกลิ่นโชยมาแบบแปลกๆกว่าตอนที่แล้วอยู่ดี



เกือบทุกเรื่องในระยะหลังที่พระเอกยามะพีเลือกเล่น มักจะได้ดาราแสดงตัวรอง
ที่มีภาพลักษณ์แสนจะโดดเด่น ชนิดที่ขาดเขา เราก็ตาย อยู่เสมอๆ
ทั้งใน Operation Love และ Code Blue จึงกลายเป็นซีรีย์ที่ชวนน่าจดจำ
แม้แต่คนที่อาจจะไม่ปลื้มการแสดงของยามะพีก็ตาม แต่ก็สนุกสนานกับตัวละครรองได้ไม่ยาก
โดยเฉพาะเพื่อนนางเอกที่เล่นเป็น "เอบีนา ไม" (เล่นโดยคันจิยา ชิโฮริ มักเล่นในแนว
เลิฟคอมเมดี้ อย่าง Love Suffle และ H2) เป็นตัวเสริมที่มีชีวิต-ชีวา อย่างมาก
เป็นขาเมาส์สำหรับนางเอก เป็นคู่ใจสำหรับสมาชิกในทีมบาสอย่างน้อยก็สองคน
เป็นนักเป่าฟลุตสมัครเล่นและพนักงานชั่วคราวในร้านหนังสือ ร้านเดียวกับที่นางเอกริโกะ
ต้องทำเพื่อยังชีพ เพราะการอยู่กับความฝันด้วยการรับงานอีเวนท์เป็นช่วงๆ
มันไม่อาจพอยาไส้ไปได้ในตลอดรอดฝั่ง คงอย่างงี้กระมัง
ถึงเข้าใจหัวอกคนยัตถากรรมเดียวกันกับพระะเอกของเรา ถามยังทนความไม่อยุติธรรม
มักจี๊ดขึ้นหัวสมอง หากเห็นการกระทำอันใดที่ไม่เหมาะไม่ควร เจ๊ก็จะหวีดไม่เลิกรา
ไม่ต่างจากพระเอกของเรา ที่เปิดตัวก็เป็นพ่อคนดีตั้งแต่เริ่ม ที่สุดท้ายก็ขอเลือกพิสูจน์ฝีมือ
เพื่อแย่งตำแหน่งตัวจริงกับโยโยกิ แม้ในตอนแรกจะแข่งแบบวันออลวันแบบแพ้หลุดลุ่ย
แถมหญิงคนรักก็ถูกมันกระชากพรากไปจากมือ แข่งแพ้ยังพอทน
แต่โดนแย่งหญิงที่กำลังมีแผนจะแต่งงานด้วย อันนี้มันเรื่องของศักดิ์ศรี เป็นศักดิ์ศรีรชนิดที
ต่อให้หวนกลับมาเป็นแค่ "เพื่อน" ก็ยากจะยอมรับสถานะเช่นนั้นได้
แม้น้องหนูนัตซึกิ จะมาซึ้งรสพระธรรมในภายหลังที่ว่า
"คบคนพาลๆไปหาผิด คบบัณฑิตๆพาไปหาผล"
สุดท้ายเจ้าโยโยกิคนไม่ดี ก็แอบไปคบกับรุ่นน้องในสำนักงานงานนัตสึกิ
แถมรุ่นน้องคนนั้น ยังตะโกนตอกหน้าใส่กลับว่า "ทีพี่ยังทำได้ ทำไมหนูจะทำมั้งไม่ได้ละ(ยะ)"
แน่นอนว่า การมีกิ๊ก ไม่ใช่มีโทษเท่ากับฆ่าคนตาย แต่จะน่าไม่อาย ถ้าไม่รู้สึกผิดในใจ
ดีที่นัตสึกิคิดได้ แต่ก็สายไปเสียแล้ว เมื่อความห่วงใยที่มีให้ระหว่างนาโอกิกับริโกะ
มันถลำลึก เกินกว่าความสัมพันธ์ในสัญญาเบื้องต้น ที่ริโกะประกาศว่า
จะขอเป็นแฟนคลับคนแรกของนาโอกิ และขอให้ได้เห็นหน้านาโอกิแม้จะต้องยืนห่าง ๕ เมตร ก็ตาม
เป็นคนห่วงหาอาทร ที่ผู้เขียนยื่นหน้าไม่ละสายตาจากน้องเคอิโกะบนหน้าจอ
ไม่ถึงหนึ่งไม้บรรทัด ก็ยังไม่ได้รับโอกาสดีๆเช่นนี้เลย



ถึงแม้เรื่องนี้จะได้ Best Drama จากการประกาศรางวัลของ TDAA ครั้งที่ ๖๒
และจาก Nikkan Sporits Drama Grand Prix ในสาขาเดียวกัน (ซึ่งรางวัลนี้ ผู้เขียนไม่ค่อย
กล่าวถึงสักเท่าไร ประมาณว่าขอเป็นซีรีย์เกี่ยวกับกีฬ่าเถอะ มักติดอันดับอยู่เสมอๆ)
แต่ก็ใช่ว่า จะไม่มีข้อติเอาสักเลย อย่างน้อยๆ ก็ความรวบรัดในตอนท้ายๆ
ตอนที่พระเอกขาเจ็บแบบจำต้องผ่านตัดด่วน เพื่อให้ทันการแข่งขันรอบมหาลัย
ดูจะเป็นการบาดเจ็บที่ไม่แสนทรมานใจกับการรอคอยเท่าไรนัก พอผ่านไปสักแป้บ
ก็เข้ามาสู่รอบชิงชนะเลิศสักแหละ คอบาสที่หวังจะดูเพื่อศึกษาแผนการเล่น
ว่าควรใช้ man to man หรือ press zone ดี ทำไมจังหวะการทำ buzzer beat จึงไม่มีการขอ
เวลานอก เพื่อได้สิทธิ์การครองบอล จะได้วางแผนการสกรีนตำแหน่ง ให้ผู้ชู้ตลูกชี้ขาด
มีพื้นที่วางในการทำแต้ม ซึ่งซีรีย์ก็ละเลยในจุดนี้ไป ปล่อยให้ไหลไปตามเกมส์ไปทำคะแนนเอาดาบหน้า
ซึ่งมืออาชีพ (หรือหรือบาสถ้วย ข ก็เหอะ) เขาไม่ทำกัน ถ้าต้องการในจุดนี้
แนะนำให้หลีกเลี่ยงซีรีย์ไปได้เลย ถ้าไม่หวังรับอรรถรสในเรื่องรักๆใคร่ๆ ไม่แค่พระเอกเท่านั้น
แม้แต่นางเอกของเรื่องอย่างริโกะ บทจะมีโอกาสได้ร่วมเล่นกับวงออเคสต้าแบบเต็มโรง ถือว่าสัมหล่น
เพียงครั้งหนึ่ง ได้มีลูกค้าประจำภัตตาคารที่เป็น Director วงออเคสต้า
ตำหนิการเล่นไวโอลินที่ไม่ได้เรื่อง ประมาณว่าไม่สงสารเครื่องดนตรีและคนฟังรึไง
จนต้องถูกเฒ่าแก่ภัตตาคารไล่ออก เมื่อ Director คนนั้นรับเรื่องและรู้สึกผิด
จนต้องเทียบเชิญให้ลองมาฝึกฝนแบบเร่งรัด ซึ่งก็เร่งรัดจริงๆ แป้บๆเก่งขึ้นมาสักงั้น
เล่นเอาคนดูอย่างผม ที่ถูกให้ดูแบบค่อยๆปูเรื่อง มาตั้งแต่ตอนที่หนึ่งถึงตอนที่เก้า
ต้องวกกลับมาดูตอนที่สิบถึงสองรอบ ประมาณว่าตอนก้มเก็บขนมกินในตอนที่หล่นลงพื้น
บวกกับตอนที่เข้าห้องน้ำห้องท่า อาจจะทำให้เราพลาดจุดเชื่อมโยงอะไรดีๆ
ที่ทำให้ปะติดปะต่อเรื่องราวไม่ถูก ซึ่งพอได้หวนกลับมาดูซ้ำ เออ!มันก็รวบรัดกันจริงๆนั่นแหละ



ส่วนจุดแย่ ในสายตาอย่างมีอคติสำหรับผู้เขียน ก็คือ
การโรมรันพันตู ชนิดเนื้อแนบเนื้อแบบอิงออดกอดกันเห็นๆ ระหว่างเจ้ายามะพีกับ
น้องคิตางาวะ อันนี้พี่ว่าเกินไปนะนอ้ง จะพูดด้วยความหวังดีหรืออิจฉากันก็เหอะ
เพราะดูจะเล่นได้เป็นจริงเป็นจังเหลือเกิน ตามประสาคนดูซีรีย์มา
ก็เห็นคู่รักคนอื่นๆเวลาแสดงฉากรัก ก็แค่เอาจงอยปากยื่นเข้ามาประกบ
แล้วทำเป็นปิดตา ต่อด้วยท่าค้างฝืนธรรมชาติไว้สักสิบวินาทีโดยประมาณ
พี่เข้าใจอยู่นะว่า น้องคิตางาวะคงอยากแจ้งเกิดเร็วๆ แต่ไม่น่าบดไถ่กันสักขนาดนั้น
คุณพี่เห็นแล้วรู้สึกเสียของเป็นอันมาก เพราะโดยปกติแล้วนางเอกที่สามารถเล่นให้
คนดูรักและมีลูกเปิ้นๆแบบตลกหน้าตาย หาได้ไม่บ่อยนักในวงการ
ถามยังงามแบบไม่ต้องแต่งหน้า ก็ยังรักษาสถานะการรับรู้ ว่าฉันนี้แหละ "นางเอก"
ยิ่งคิดไม่ออกเลย ถ้าไม่นับหนูโนโซมิที่ร้องเพลงแย้วๆ ใน Ponyo
บทจะรักแรกพบแบบซีรีย์โรแมนติกให้พระเอกประทับใจ น้องคิตางาวะดันมาแนวโหด
ตะโกนด่าพระเอกบนสนามขณะที่กำลังแข่งขันแบบเป็นทางการอยู่ เพราะการด่านี้มั้ง
ตั้งแต่นั้นมาพระเอกของเราก็ฟอร์มดีผิดหูผิดตา ชู้ตเป็นซวบมาโดยตลอด
เป็น Love make me strong เหมือนกับป้ายบนสนามซ้อม แต่รักใหม่เช่นไรก็มีจุดพลาด
ไม่เหมือนรักเก่าอย่างนัตสึกิ ที่รับรู้พยาธิสภาพพระเอกเป็นอย่างดี
ตามประสาคนเคยเยี่ยวยากันมานาน นานพอที่จะรู้ว่าพระเอกมีอาการบาดเจ็บเรื้อรัง
ขณะที่ริโกะไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลย



Buzzer Beat จึงเป็นซีรีย์ที่วัดใจในเรือ่งความรักระหว่างคนสองคน
เป็นรักที่ต้องหลบๆซ่อนๆในตอนแรก เพราะมีสิ่งพัวพันระหว่างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
จึงเป็นไปเพื่อการเสียสละ รักษาไว้ซึ่งมิตรภาพที่ดีต่อกัน
เป็นซีรีย์ที่ไล่ล่าไปพร้อมกันระหว่างความรักกับความฝัน และในสุดท้ายปลายทางก็จำที่ต้องเลือก
ว่าจะให้ความสำคัญสิ่งไหนมากไปว่ากัน เลือกรักโดยละทิ้งความฝันหรือเลือกฝันเพื่อละทิ้งความรัก
เพราะหากเรื่องเลือกที่จะรักก็จะสมปรารถนากับคนที่ใช่ แต่เลือกในความฝันก็จะทดสอบว่ารักนั้นมั่นคงเพียงใด
ทีมงานเรื่องนี้ต้องถือว่าเก่ง ในด้านการระดมพลให้เต็มสนาม ทั้งในส่วนของ
ฮอลล์ในการแสดงออเคสต้า ไหนจะฮอลล์ในสนามบาสที่ต้องจุเป็นพันคน
(ซึ่งก็ไม่รู้จะเป็นพวกเดียวกันรึเปล่า) ซีรีย์จะฉลาดกว่านี้มาก หากรู้จักใช้ประโยชน์จากโฆษณาแฝง
โดยเฉพาะ จากการขายพวกโทรศัพท์มือถือหรือไม่ก็การบริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบรับส่งอีเมลล์
โดยแทรกโปรโมชั่นสุดคุ้มเพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายโดยตรง เพราะซีรีย์ใช้กันอย่างพร่ำเพรือ
ตามประสาความรักที่ไม่อาจเอ่ยปากโต้งๆ ออกมาจากก้นบึ้งของหัวใจ
จึงเป็นความรักในรอยนิ้ว ที่ต้องใช้การสัมผัสกดจิ้ม แต่รักเช่นนี้ใช่ว่าไม่มีอุปสรรค
เพราะอย่างน้อยในเรื่อง ก็ยังมีประเภทโทรหาพร้อมกันจนไม่มีช่องสัญญาณ
โทรไม่มีคลื่นบ้างละ อีกฝ่ายปิดเครื่องหนี ไม่ก็แบตหมดบ้างละ
ขาดอย่างเดียวคือ โทรศัพท์หายเท่านั้น เพราะถ้าเกิดหายไปคงยุ่งไม่น้อย
ซึ่งไม่ได้ยุ่งจากการไม่มีโทรศัพท์ แต่เพราะอีเมลล์ที่อยู่ในเครื่องโทรศัพท์ต่างหาก
ราคาที่โน่นแสนกระโหลกะลาจะตาย กว่าจะขออีเมลล์ของนางเอกมาได้
ก็แทบจะบินร่อนเหาะลงมาสองสามช่วงตึก อะไรมันจะขนาดนั้น!



เป็น Buzzer Beat ในเกมส์รักมากกว่าเกมส์บนสนาม
เป็นซีรีย์ที่นอกเหนือความหมายของเกมส์กีฬา ที่ให้มุ่งมองความหมายอีกด้าน
แม้มีเรื่องกีฬาเป็นเรื่องปูพื้นแบบกว้างๆ (และลงลึกในบางช่วง)
ไม่จำเจเหมือนอย่างกับที่ได้ดูใน Rookies , Pride หรือ H2
ที่ถือเป็นวิธีการเล่าเรือ่งแบบใหม่ในแนวกีฬาด้วยกัน แม้จะมีอารมณ์หญิงๆปะปนอยู่บ้าง
แต่ก็ไม่รำคาญตะขิดตะข่วนใจแต่อย่างใด กลับถือเป็นลูกสนุก-ลูกฮาที่แทรกมาเสียมากกว่า
เป็นซีรีย์ที่เหมาะแก่การทดสอบระบบเครือ่งเสียงภายในบ้าน เพราะมีเสียงเล็กเสียงน้อย
อย่างเคาะลูกบาส ไปจนถึงเสียงกระหึ่มแบบ Vivadi ในเพลง Four Season ให้กระหน่ำทรวง
บทจะเศร้าก็ไม่โศกาแบบต้องใช้ผ้าเช็ดหน้ามาเซาะขอบ ดาราชาย-หญิงก็อุดมสมบูรณ์พูลเลือก
มากหน้าหลายตา จึงเป็นซีรีย์พาเพลิน ที่คนชอบมากกว่าคนเกลียดหากได้ชม
แม้ดูแล้ว อาจจะไม่อยากรู้สึกถลำลึกที่จะลงเล่นบาสหรือสีไวโอลินโดยทันที
แต่รับรอบว่าได้ชมแล้ว จะเกิดอาการไม่อยากพลาดที่จะชมต่อเนื่องในตอนถัดๆไป
กลายเป็นรักที่เป็นเหมือนดั่งยาใจ เป็น Love make me strong สมอ้างจริงๆ ........



ขอบคุณจาก.................
//wiki.d-addicts.com
Prysang@bloggang ใน Buzzer Beat เรื่องรักโรแมนติกแห่งปี
รายการวิทยุ ชวนคิดชวนคุย ทางคลื่นผู้จัดการ



ป.ล. เพลงเปิดตัวของเรื่อง ก็ได้รับรางวี่รางวัล มีความหมายนัยยะถึง
เศษเสี้ยวหนึ่ง ที่คุณรู้จักตัวตนของผม แม้ช่างตรงใจในความหมายคนไม่รู้จัก
ตัวเองอย่างผู้เขียนเสียเหลือเกิน




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2552    
Last Update : 23 ธันวาคม 2552 1:08:47 น.
Counter : 2401 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  

Mr.Chanpanakrit
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Chanpanakrit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.