A ........ Z
Group Blog
 
All blogs
 
เมื่อนักการเงินติดกรอบ เพราะรสอร่อย

เห็นข่าวของการล้มละลายของบริษัทวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่ของอเมริกา
(และมักจะมีสถานยักษ์ใหญ่ตามในเวทีตลาดการเงินโลก ในฐานะที่เป็นประเทศ
ตราสารการเงินภาคบริการที่ประเทศจีนเองยังต้องจำกัดการลงทุนส่วนนี้ ภายใต้น้ำมือ
นักเก็งกำไรฝีมือฉกาจ) ครับ เลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจขนาดใหญ่สุด อันดับ 4
ของสหรัฐ จำต้องปิดฉากตำนานธุรกิจลง หลังจากต้องยื่นพิทักษ์ทรัพย์ภายใต้กฎหมาย
ล้มละลาย มาตรา 11ของสหรัฐ อย่างที่พอมีสัญญาณของอาการทุละทุเล ตั้งแต่ปลาย
เดือนสิงหาคมของปีที่แล้ว โดยได้ประกาศแผนปิดธุรกิจสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยประเภทซับไพรม
(สินเชื่อที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย) ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์อย่างโจเซฟ สติกลิกซ์ กล่าวอย่าง
ชัดแจ้งแทงใจธนาคารกลางสหรัฐนานสองนานว่า วิกฤตด้านนี้มาแน่ ช้าแต่จะมาเมื่อไร
อย่างไร จะด้วยยาตัวไหนก็มิอาจคาดแคล้วเวรกรรมเศรษฐกิจแนวอัดฉีดที่ฐานสินทรัพย์
ของผู้ขอกู้ไม่สมดุลกับสภาพการไตร่ระดับของราคาที่อยู่อาศัยที่มีความละโมบเป็นแรงผลักดัน
ออกไปได้ (เวรกรรมนี้พี่ไทยถนัดเพราะรสต้มยำกุ้งผิดสูตรที่ยาขมที่ช่วยชะลอโรคคลั่งดัชนีได้
ชะงัดนัก)

แต่ที่อาจสร้างความสับสนแก่ผู้บริโภคข้อมูลข่าวสาร ก็คือ การที่มีนักที่ปรึกษาการลงทุนท่านหนึ่ง
ภายใต้สกัดงานของบริษัทที่ยื่นพิทักษ์ทรัพย์นี้ ที่บอกว่า"ตัวเลขความเสียหายของเลห์แมนฯ
ที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย คาดว่าจะไม่มีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศไทยมากนัก
เนื่องจากการลงทุนส่วนใหญ่ที่มีมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท จะอยู่ในรูปของอสังหาริมทรัพย์
ประเภทบริการ คือสำนักงาน หรือออฟฟิต ให้เช่า " พอได้ยินมาเช่นนี้
มีหลายคนไม่น้อยที่ตั้งคำถามในใจตนเองแบบง่ายๆว่า
"ในเมื่อสำนักงานใหญ่ของพ่อลื้อขยายการลงทุนในดินแดนสยาม
นี้ ใยช่างแสนดีที่เงินก้อนใหญ่ไปลงตึกรามบ้านช่องแทนที่จะฟันกำไรตามสไตล์คาบอยตะวันตก
ที่ฟาดฟันกันด้วยรถตัวถึงจากจีอีและใช้บัตรอเมริกันเอ็กเพรสที่ทำลายสถานะของอีกฝ่ายว่าเป็น
ผู้ไร้เครดิตชั้นเลิศโดยปริยาย" เพราะการลงทุนอสังหาริมทรัพย์นั้นมีความเสี่ยงในแง่การทำสัญญา
นิติกรรมและมีความลำบากตามมาในแง่การโยงย้ายเงินทุนที่สามารถมีอิสระโบยบินไปได้ข้าม
ทวีปเพียงคลิกปุ่มเพียงปุ่มเดียว.....ว่าแล้วก็Enterทันที

ในฐานะที่เขียนบล็อกเพื่อฆ่าเวลาอย่างผม ที่ชอบติดตามผลฟุตบอลพรีเมียร์ลีกมากกว่าผลรายได้สุทธิ
แต่ละไตรมาสจากตลาดดาวน์โจน ผมไม่อาจตั้งคำถามแบบนักวิเคราะห์หุ้นหรือที่ปรึกษาทางการเงิน
ที่มุ่งให้มองแต่หุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและราคาสมเหตุสมผลนัก
(ถือเป็นประโยคยืนตัวที่ลอยตัวความเสี่ยงเชิงวิเคราะห์จากเซียนหุ้นหลายๆเจ้าที่ผมได้ยิน-ย้ำ_ที่ผมได้ยิน)
ดังนั้นการล้มของบริษัทเลแมน บราเดอร์ส สำหรับจึงไม่ค่อยเป็นเรื่องน่าแปลกใจเมื่อได้ทราบข่าว (แม้จะสามารถ
แทรกกลางหน้าหนึ่ง แทรกพื้นที่ข่าวการขัดแย้งทางการเมืองร้อนๆบ้านเราได้) อย่างมากก็
อาจมีเสียงพึมพำในลำคอแบบกระอ้อมกระแอ้มว่า"บริษัทพวกมะกันเจ๊งกะบ๊ออีกแล้วเหรอ?"




ถ้าใครยังพอจำได้ต้นปี48 ศาลอเมริกันได้พิพากษาว่า CEO ของ World Com มีความผิดในการ
ฉ้อฉลบริษัทของตนเอง จนมีโทษติดคุกได้ถึง 85 ปี แต่กว่าสื่อมวลชนจะอธิบายเท้าความหรือ
ศาลจะนัดสืบบัลลังค์กันได้ ต้องมานั่งเล่าถึงความซับซ้อนของการจัดเรียงฉ้อโกงบัญชี จึงจะพอ
สามารถระบุโทษความผิดของCEOท่านนี้ได้ เรากำลังอยู่ภายใต้การเล่นเล่ห์ต่อช่องว่างที่กฎหมาย
หมิ่นเหม่ในอำนาจนิติบัญญัติของตนว่าจะสามารถนำคนผิดมาลงโทษ หรือรอให้หมอนั่นข้าม
ผ่านเส้นความผิดพอมัดตัวให้พยานไม่กี่ปาก ก็สรุปสำนวนบ่งชี้ความผิดได้ แต่ทุกอย่างไม่ง่ายเช่นนั้น
ทุกวันการจะกำหนดคุณค่าของอเมริกันนิยม ไม่ต้องเอามันทุกเรื่องเหรอครับ เพียงแค่ทัศนคติ
ต่อเรื่องการเงินเพียงอย่าง บางทีเราอาจต้องลงไปช่วยแยกโจทย์คำถามปลีกย่อย อย่าง
คุณใช้เงินอย่างไรที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมที่คุณอยู่ มีเงินร้อยดอลลาร์จะสร้างมูลค่าทบทวีคุณอย่างไร
เงินบำนาญจะเอาไปลงทุนกองทุนที่มีเป็นหมื่นกว่ากองที่เรียงร่ายตามเอกสารชี้ชวนถึงหน้าบ้าน
เป็นต้น ลองคิดดูประชากรที่มากกว่าไทยหลายสิบเท่า ความหลากหลายเชื้อชาติก็มากกว่า
แต่เอาเข้าจริงๆ มีกรอบคิดที่ล้อมวิถีชีวิตเขาเพียงไม่กี่สิบแนวเท่านั้น เหตุที่เป็นอย่างนั้น
เพราะมาตราฐานทางสังคมที่ทำให้เขาไม่สามารถออกจะกรอบทางสังคม ที่จะนำพาให้เขากลาย
เป็นคนรู้สึกแปลกแยกต่างออกไป ยกตัวอย่าง เรื่องการส่งออกประชาธิปไตยไปสู่ประเทศต่างๆ
ลึกๆแล้ว คนมะกันก็ยังเชื่อว่าประชาธิปไตยของตนแม้ไม่สมบูรณ์แต่ก็ไม่แย่กว่าประเทศใดใน
โลกหรอก ไม่เชื่อก็ลองเอาของไอไปใช้สิ ไม่งั้นไอจะวีโต้ค้านผลประโยชน์ของประเทศยูด้วย
เสียงความเห็นใหญ่ของไอเพียงเสียงเดียว...................

เรื่องของการระดมผ่านตลาดหลักทรัพย์ก็เช่นกัน ตราบใดที่บริษัทพยายามผันตัวเองให้กลาย
ชื่อเป็น"บรรษัท"เข้าด้วยแล้ว การที่จะให้คนถือหันมาถือหุ้นในบริษัทของตนเองได้นั้น
ปัจจัยที่จะล่อตาล่อใจ นอกจากราคาจองเริ่มต้นเมื่อเปิดตลาด หนังสือชี้ชวนที่คล้ายจะชี้นิ้ว
ให้เห็นแต่ข้อดีเกินสิบข้อ หรือจะชื่อของคณะกรรมการที่น่าเชื่อว่าให้ผลตอบแทนดี มีบารมีนอก
ตลาดหลักทรัพย์หรือแบ็กอับดีก็ตาม เมื่อผู้ถือหุ้นที่มีสมมติตั้งต้นไว้เลยว่า "เขาไม่โง่"
จึงทำให้การสร้างงบดุลบัญชีที่สวยงาม จะด้วยการปรับตกแต่ง โยกย้าย หรือสร้างบริษัทลูกรับ
ความเสี่ยงไปก็ตาม เอาเข้าจริงสุดท้าย ก็ไม่ได้หนีกรอบวิธีคิดที่มักจะต้องทำให้ผู้บริหารต้อง
จัดการทำอะไรสักอย่าง แม้จะรู้สึกหิริโอตัปปะขึ้นในใจ แต่ภาระนี้มิได้มีเพียงแต่ตนผู้เดียว
เพราะมันรวมไปถึงพนักงาน ผู้ถือหุ้น ชื่อเสียงบริษัท ระยะเวลา ประสบการณ์ เครือข่าย
และอีกนานัปจิปาถะ การจะไปต่อว่าเพียงเรื่องความละโมบโดยฐานเดียวจึงดูไม่น่าจะเพียงพอ
เพราะจริงๆแล้ว รายได้ผู้บริหารเดิมทีก็ห่างจากภารโรงบริษัทนับร้อยพันเท่าอยู่แล้ว ดังนั้น
คาถา"ธรรมภิบาล"จึงเป็นข้อปฏิบัติโหล่ๆที่ตอกย้ำการสร้างมูลค่าแก่ตัวบริษัทตามประสา
โหนรถธรรมภิบาลเพราะบริษัทคู่แข่งเขาก็เข้าโดยสารบนเส้นทางเดียวกัน แล้วสิ่งที่นอก
ธรรมภิบาลละในเมื่อที่ไหนเขาก็มีกัน ถ้าสิ่งนอกนั่นคือโอกาสที่จะทำให้เขาได้เปรียบกว่า
คู่แข่งอยู่หนึ่งก้าว ทำไมมันจะไม่ยั่วยวนกันละ ฮึ่ม!

ในสายตาของการแข่งขัน ถือเป็นเรื่องดาบสองคม ผมเชื่อ(เอาเอง) แน่ว่า
ธุรกิจสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยประเภทซับไพรม ทุกบริษัทยักษ์ต่างก็มีนักเศรษฐศาสตร์ที่จบมหาวิทยาลัยเลื่องสำนัก
ที่รับรู้ถึงข้อเสียของตลาดส่วนนี้กันเป็นอย่างดี เพียงแต่ว่าแม้เครดิตของตลาดกลุ่มนี้จะไม่ดีนัก
แต่ด้วยฐานตลาดที่ใหญ่โตมหาศาลมากกว่าครึ่งของกลุ่มผู้กู้สินเชื่อทั้งหมดของประเทศเช่นนี้
คงไม่มีใครอยากจะละเลยของความเสี่ยงที่จะช่วยสร้างกำไร โดยเชื่อว่าจะสามารถประคองปัญหา
นี้ไม่ให้ลุกลามต่อสภาพคล่องของบริษัทลง แล้ววันนี้คนรายได้น้อยไม่มีปัญญาจะจ่ายค่างวด
เนื่องด้วยบ้านล้นความต้องการของผู้ซื้อตัวจริง (ส่วนใหญ่ผู้กู้ก่อนหน้าเป็นตัวปลอมที่หวัง
เก็งกำไรที่ดิน) เมื่อเกิดการช๊อกกันทั้งระบบ การทะยอยกันเจ๊งจึงเป็นสิ่งที่ไม่เหนือการคาด
หมาย แต่ที่เดาผิด คือ มันน่าจะมีบรรษัทธุรกิจการเงินอื่นล้มตามมากกว่านี้ (ซึ่งแม้รอดตอนนี้
ไปได้ก็ล่อแหลเต็มที) อาจจะจริงอย่างที่หนังสือพิมพ์ Financial Time ได้เสนอบทความที่ชื่อว่า
The Big Freeze ว่าทำไมจอมขมังการเงินอย่างมะกันจึงต้องม้าตาย ข้อเท็จจริงมีว่าผู้กำหนดนโยบาย
และนายแบงค์ของประเทศตะวันตกมิได้รู้ตัวว่ามีปัญหา ซ้ำยังมีหน้ามาหัวเราะเยาะชาวบ้านที่ว่า
ไม่เกินปี สหรัฐจะเผชิญวิกฤตสถาบันการเงิน

แล้วตอนนี้ใครหัวเราะเยาะใครกันแน่?


ป.ล. รูปกราฟแบบการ์ตูนอาร์ทๆ จากwww.itulip.com




Create Date : 20 กันยายน 2551
Last Update : 20 กันยายน 2551 5:32:21 น. 1 comments
Counter : 571 Pageviews.

 
รสอร่อยเป็นกิเลสอย่างนึง
เขียนเรื่องได้หลากหลายดีจัง


โดย: จันทร์ไพลิน วันที่: 23 กันยายน 2551 เวลา:5:12:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr.Chanpanakrit
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Chanpanakrit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.