ประสบการณ์ไป 4 สังเวชนียสถาน ที่อินเดียและเนปาล (ตอนจบ)



วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม 2561

เช้าวันนี้เราเดินทางกลับจาก Uttar Pradesh ไปที่พุทธคยาค่ะ โดยระหว่างเดินทางในครั้งนี้เราได้แวะไปที่บ้านนางสุชาดา และสถานที่พระพุทธเจ้าได้ลอยถาด ก่อนตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราได้มีโอกาสเข้ามาไหว้ พระพุทธเมตตาอีกครั้ง และได้กลับมาที่ สังเวชนียสถานแห่งแรกสำหรับการเดินทางในครั้งนี้ นั่นก็คือ สถานที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค่ะ มีผู้คนมากมายมานั่งสมาธิทำความดีกันบริเวณสถานที่แห่งนี้ นอกจากนั้น ยังเห็นผู้คนจากหลายเชื่้อชาติ ที่มีความเชื่อในพระพุทธศาสนา แต่อาจจะมาจากหลายลัทธิ เพราะวิธีการทำความเคารพ สักการะก็ต่างกัน ช่วงบ่ายเรามีเวลาไปเที่ยวซื้อของฝากค่ะ

หลังจากเราเข้ามาที่เมืองพุทธคยาอีกครั้งเราก็เข้าพักที่วัดลาวพุทธคยาอีกครั้งค่ะ ผู้คนที่วัดต้อนรับเราดีมาก อาหารดี ขอบคุณมากมากค่ะ

วันอังคารที่ 13 มีนาคม 2561 เราออกเดินทางจากคยาเข้ากัลกัตตา อีกครั้งเพื่อไปขึ้นเครื่องบินกลับไทยค่ะ 

วันพุธที่ 14 มีนาคม 2561 มาถึงไทยตอนเช้าเวลาตี 4 สนุกมากมาย

จาก Wikipedia

พุทธคยา (บาลี: พุทฺธคยา, อังกฤษ: Bodh Gaya, Mahabodhi Temple, ฮินดี: बोधगया) คือคำเรียกกลุ่มพุทธสถานสำคัญใน อำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นพุทธสถานที่มีความสำคัญที่สุด 1 ใน 4 แห่ง ของชาวพุทธ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธสังเวชนียสถานที่มีความสำคัญที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก ปัจจุบันบริเวณพุทธศาสนสถานอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดมหาโพธิ อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วม พุทธ-ฮินดู

พุทธคยา ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ไกลจากฝั่งแม่น้ำประมาณ 350 เมตร (นับจากพระแท่นวัชรอาสน์) พุทธคยามีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดยสูงถึง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ 121.29 เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุ โบราณสถานสำคัญ เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระแท่นวัชรอาสน์ ที่ประทับตรัสรู้ และอนิมิสสเจดีย์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากพุทธสถานโบราณแล้ว บริเวณโดยรอบพุทธคยายังเป็นที่ตั้งของวัดพุทธนานาชาติ รวมทั้งวัดไทยคือ วัดไทยพุทธคยา

สำหรับชาวพุทธ พุทธคยา นับเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลกที่ต้องการมาสักการะสังเวชนียสถานสำคัญ 1 ใน 4 แห่งของพระพุทธศาสนา โดยในปี พ.ศ. 2545 วัดมหาโพธิ (พุทธคยา) สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ขององค์การยูเนสโก

พุทธคยา เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญที่สุด 1 ใน 4 สังเวชนียสถาน และถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา เป็นสถานที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเวลากว่าสองพันห้าร้อยปีที่สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์รวมของจุดหมายแสวงบุญของชาวพุทธผู้มีศรัทธาทั่วโลก ปัจจุบันพุทธคยามีชื่อเรียกอีกชื่อว่า วัดมหาโพธิ์ (อังกฤษ: Mahabodhi Temple) ตั้งอยู่ที่จังหวัดคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา 350 เมตร อดีตตำบลที่ตั้งพุทธคยาชื่อว่า อุรุเวลาเสนานิคม ปัจจุบันเพี้ยนมาเป็น อุเรล ในปัจจุบันพุทธคยาอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วม พุทธ-ฮินดู2 และพุทธคยาได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก UNESCO ให้เป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2545




 

Create Date : 24 มีนาคม 2561   
Last Update : 25 มีนาคม 2561 0:32:12 น.   
Counter : 589 Pageviews.  

ประสบการณ์ไป 4 สังเวชนียสถาน ที่อินเดียและเนปาล (ตอนที่ 12)



คืนวันที่ 10 นอนพักที่วัดไทยสารนาทและได้เดินชมบริเวณวัดในช่วงเช้าวันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม 2561

หลังจากนั้นก็เดินทางไปที่สังเวชนียสถานแห่งสุดท้ายในการเดินทางครั้งนี้คือ สถานที่แสดงธรรมครั้งแรกที่ทุกคนรู้จักกันว่า สารนาถ โดยส่วนตัวชอบสถานที่แห่งนี้มากเข้ามาครั้งแรกรู้สึกดี มีความสุขมาก หลังจากเข้าประตูมาในที่แห่งนี้จะมี คล้ายๆ พิพิธภัณฑ์เล็กๆ พระอาจารย์วิทยากรช่วยอธิบายประวัติศาสตร์ในขั้นต้นให้พวกเราฟังค่ะ ท่านน่ารักและเก่งมากค่ะ พระอาจารย์ได้เล่าให้ฟังถึงการแสดงธรรมครั้งแรก และทั้ง 3 กัณฑ์ ที่พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมไว้ ณ ที่แห่งนี้ ท่านเล่าว่า

กัณฑ์ที่หนึ่ง คือ ธัมมจักร ซึ่งได้แสดงครั้งแรกและส่งผลให้บรรลุเป็นพระโสดาบัน

กัณฑ์ที่สอง คือ อนัตตลักขณสูตร ซึ่งแสดงและส่งผลให้บรรลุเป็น พระอรหัน

กัณฑ์ที่สาม คือ อนุปุพพิกถา ซึ่งแสดงแก่ฆราวาส เกี่ยวกับการให้ ทาน รักษาศีล 

หลังจากวันนี้ไปเราจะเดินทางกลับพุทธคยาค่ะ กลับไปที่ไหว้ พุทธเมตตาอีกครั้ง

จาก Wikipedia

สารนาถ เป็นพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 (1 ใน 4 แห่งของชาวพุทธ) ตั้งห่างจากเมืองพาราณสี เมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาฮินดู ไปทางเหนือราวเก้ากิโลเมตร อยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล

เหตุที่ได้ชื่อว่าสารนาถ เนื่องมาจากสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา เริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่พึ่งแก่มหาชนทั้งหลาย และบ้างก็ว่ามาจากศัพท์ว่า สารงฺค + นารถ = ที่อยู่ของสัตว์จำพวกกวาง[1] สารนาถยังรู้จักกันดีในชื่อ "อิสิปตนมฤคทายวัน" หรือ "ฤๅษีปัตนมฤคทายวัน" (บาลี: อิสิปตนมิคทายวน) แปลว่า ป่าอันยกให้แก่หมู่กวาง และเป็นที่ชุมนุมฤๅษี

สารนาถในสมัยพุทธกาล เรียกกันว่า ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แปลว่า ป่าอันยกให้แก่หมู่กวาง และเป็นที่ชุมนุมฤๅษี เป็นสถานที่สงบและเป็นที่ชุมนุมของเหล่าฤๅษีและนักพรตต่าง ๆ ที่มาบำเพ็ญตบะและโยคะเพื่อเข้าถึงพรหมัน (ตามความเชื่อในคัมภีร์อุปนิษัทของพราหมณ์) ทำให้เหล่าปัญจวัคคีย์ที่ปลีกตัวมาจากเจ้าชายสิทธัตถะ (ที่พระองค์หันมาเสวยอาหารและถูกปัญจวัคคีย์ดูถูกว่าไม่มีทางตรัสรู้) มาบำเพ็ญตบะที่นี่

สถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา เกิดในบริเวณที่ตั้งของ กลุ่มพุทธสถานสารนาถ ภายในอาณาบริเวณของป่าอิสิปตนมฤคทายวัน 9 กิโลเมตรเศษ ทางเหนือของเมืองพาราณสี (เมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาฮินดู) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ แคว้นกาสี ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล) สารนาถ จัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 (1 ใน 4 แห่งของชาวพุทธ) เหตุที่ได้ชื่อว่าสารนาถเนื่องมาจากสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่พึ่งแก่มหาชนทั้งหลาย (บ้างก็ว่ามาจากศัพท์ว่า สารงฺค+นารถ = ที่อยู่ของสัตว์จำพวกกวาง) [3] ภายในอาณาบริเวณสารนาถมี ธรรมเมกขสถูป เป็นพุทธสถานขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด เนื่องจากสันนิษฐานว่าบริเวณที่ตั้งของธรรมเมกขสถูป เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศพระสัจจธรรมเป็นครั้งแรกที่นี่




 

Create Date : 24 มีนาคม 2561   
Last Update : 24 มีนาคม 2561 14:37:05 น.   
Counter : 181 Pageviews.  

ประสบการณ์ไป 4 สังเวชนียสถาน ที่อินเดียและเนปาล (ตอนที่ 11)



ต่อมาวันเสาร์ที่ 10 มีนาคม 2561

เราเดินทางไปที่แม่น้ำคงคา ของอินเดีย เป็นแม่น้ำที่กว้างใหญ่มาก มีท่าน้ำหลายท่า แต่ท่าน้ำที่ผู้คนมักใช้งานจริงๆ จะเป็นท่าน้ำที่ใกล้ตลาดซึ่งมีอยู่ไม่กี่ท่าเท่านั้น ตามประเพณี จะมีการเผาศพที่บริเวณแม่น้ำแห่งนี้และศพก็จะจมลงในแม่น้ำแห่งนี้เช่นกัน

แม่น้ำคงคา (เทวนาครี: गंगा คังคา ภาษาอังกฤษ: Ganges แกนจีส, Ganga) เป็นแม่น้ำสายสำคัญของอินเดีย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดูคู่กับแม่น้ำยมุนาที่ไหลขนานกัน มีต้นกำเนิดทางภาคเหนือของอินเดีย บริเวณเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียไปทางตะวันออก และรวมกับแม่น้ำพรหมบุตรที่ประเทศบังกลาเทศ เกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ชื่อว่าสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา นับเป็นแหล่งชลประทานและการคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่ง ก่อนจะไหลออกที่อ่าวเบงกอล แม่น้ำคงคามีความยาวประมาณ 2,510 กิโลเมตร (Source from Wikipedia)

คงคาเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เรียกชื่อตามนามของพระแม่คงคา พระชายาของพระศิวะ ชาวฮินดูอาบน้ำในแม่น้ำแห่งนี้[1] เพราะความเชื่อว่าจะทำให้จิตวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ ทุกวันชาวอินเดียนับล้านคนจะมาที่ริมฝังแม่น้ำคงคาเพื่อทำการอาบน้ำ และดื่มกินน้่ำจากในแม่น้ำคงคา รวมถึงการเผาศพที่ริมฝังน้ำด้วยและโปรยขี้เถ้าลงในน้ำ นั่นจึงทำให้แม่น้ำคงคาได้ชื่อว่าเป็นแม่น้ำที่มีความสกปรกและมลพิษมากที่สุดในโลก แต่ทว่าในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า น้ำในแม่น้ำคงคามีลักษณะพิเศษกว่าแม่น้ำอื่นใด คือ มีปริมาณของออกซิเจนละลายในน้ำสูง และยังมีจุลินทรีย์ที่สามารถกินไวรัสรวมถึงเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย ยิ่งมีปริมาณของเสียปล่อยลงน้ำเท่าใด ก็ยิ่งเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์เท่านั้น และทำให้น้ำในแม่น้ำคงคามีความสามารถที่จะปรับตัวไปสู่สภาพปกติมากกว่าแม่น้ำทั่วไปถึง 25 เท่า (Source from Wikipedia)




 

Create Date : 24 มีนาคม 2561   
Last Update : 24 มีนาคม 2561 14:09:56 น.   
Counter : 168 Pageviews.  

ประสบการณ์ไป 4 สังเวชนียสถาน ที่อินเดียและเนปาล (ตอนที่ 10)



ต่อมาวันศุกร์ที่ 9 มีนาคม 2561

เรากลับมาที่วัดไทย 960 ซึ่งเป็นวัดที่ร่มรื่นมากค่ะสองข้างทางประดับไปด้วย ต้นไม้ ดอกไม้ น่าลื่นรมณ์มาก ห้องน้ำสะอาดมากค่ะ  เมื่อเราเจอพนักงานทำความสะอาดห้องน้ำเราก็จะให้ Tip เขาค่ะให้เขามีกำลังใจทำงานให้ดีขึ้นค่ะ วัดแห่งนี้มีพระพุทธรูป ของ Black Buddha ตั้งอยู่ตั้งแต่งทางเข้าวัดค่ะ พระพุทธรูปถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเมตตาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค่ะ 

หลังจากนั้นพวกเราก็เดินทางมาที่ Kapilavastu (Piprahawa) จำชื่อภาษาไทยไม่ได้นะคะ ขอโทษทีค่ะ จากแผ่นหินที่อธิบายสถานที่แห่งนี้ แสดงไว้ว่า Atfter the death of Loard Buddha, Sakyas also received 1/8th part of Buddha's relics over which they constructed a stupa. The stupa constructed by the Sakyas have been identified with this stupa at Piprahwa which was first indicated by an inscription found over a soft-stone casket recovered by W.C. Peppe in 1898.

ต่อจากนั้นเราก็ไปเยียมชมจุดที่เคยเป็นบ้านขออนาถบิณฑิกเศรษฐีและจุดที่เคยเป็นที่อยู่ท่านองคุลีมาล

ที่สุดท้ายที่สำคัญในวันนี้คือ วัดเชตวันซึ่งเป็นวัดที่พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษามากที่สุด ดิฉันตั้งใจเก็บรายละเอียดของวัดแห่งนี้อย่างมาก ในวันนี้เราได้เข้าพักที่วัดไทยสารนาท

วัดเชตวันมหาวิหาร หรือ วัดพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี[1] เป็นอาราม (วัด) ที่สร้างโดยท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี บนที่ตั้งของเชตวัน หรือสวนเจ้าเชต นอกเมืองสาวัตถี ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีซื้อมาด้วยเงินมากถึง 18 โกฏิ (ตามการนับค่าเงินในสมัยนั้น) วัดแห่งนี้นับว่าเป็นวัดและที่มั่นสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล และเป็นวัดที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุดถึง 19 พรรษา[2] วัดเชตวันมหาวิหารเป็นสถานที่เกิดเรื่องราวต่าง ๆ ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามากมาย

ปัจจุบันวัดเชตวันมหาวิหารเหลือเพียงซากโบราณสถาน ได้รับการบูรณะจากทางราชการอินเดียเป็นอย่างดี ตั้งอยู่ทางใต้ของแม่น้ำราปติ (Rapti) หรือแม่น้ำอจิรวดีในสมัยพุทธกาล นอกกำแพงเมืองสาวัตถีไปทางทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร ที่ ตำบลสะเหต (Saheth) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย




 

Create Date : 24 มีนาคม 2561   
Last Update : 24 มีนาคม 2561 13:57:55 น.   
Counter : 283 Pageviews.  

ประสบการณ์ไป 4 สังเวชนียสถาน ที่อินเดียและเนปาล (ตอนที่ 9)



วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม เราได้เดินทางไปสังเวชนียสถานที่ 2 ของการเดินทางในครั้งนี้ซึ่งก็คือสถานที่ปรินิพพานและสถานที่ถวายพระเพลิงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

กุสินารา หรือ กุศินคร (ฮินดี: कुशीनगर, อูรดู: کُشی نگر‎, อังกฤษ: Kusinaga, Kushinagar) เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานแห่งที่ 4 ในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองเอกหนึ่งในสองของแคว้นมัลละ อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำคู่กับเมือง ปาวา เป็นที่ตั้งของ สาลวโนทยาน หรือป่าไม้สาละที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานและเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า

กุสินาราจัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 4 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร หรือกาเซีย หรือกาสยา (Kushinaga; Kasia; Kasaya) ในเขตจังหวัดเทวริยา (Devria; Devriya) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย สาลวโนทยาน สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า มาถากุนวะระกาโกฎ (Matha-Kunwar-Ka-Kot) ซึ่งแปลว่า ตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ ปรากฏตามคัมภีร์ว่า เมืองนี้เคยเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ เป็นที่เกิดบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์หลายครั้ง เคยเป็นราชธานีนามว่ากุสาวดี ของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ์[1]

ปัจจุบันกุสินารา มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญคือสถูปใหญ่ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วิหารปรินิพพานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปรินิพพานอยู่ภายในและมีซากศาสนสถานโบราณโดยรอบมากมาย

ในวันเดียวกันนี้เราได้เดินทางข้ามอินเดียไปเนปาล เพื่อไปสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 ของการเดินทางในครั้งนี้นั่นก็คือสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ โคตมะ เป็นสถานที่ที่พระองค์ทรงประสูตร หลังจากประสูตรท่านเดิน 7 ก้าวทันที พร้อมกับเปล่งวาจาเป็นภาษาบาลีโดยมีใจความสำคัญว่าเราเป็นผู้เลิศที่สุดในโลก เพื่อนๆ สามารถตามหาเนื้อความทั้งบทบาลีและคำแปลได้ไม่ยากใน Internet

ลุมพินีวัน (อักษรโรมัน: Lumbini Vana) เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล เป็นพุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบลเพียงแห่งเดียวที่อยู่นอกประเทศอินเดีย ลุมพินีวัน เดิมเป็นสวนป่าสาธารณะหรือวโนทยานที่ร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน ในสมัยพุทธกาลลุมพินีวันตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะ ในแคว้นสักกะ บนฝั่งแม่น้ำโรหิณี หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้โปรดให้สร้างเสาหินขนาดใหญ่มาปักไว้ตรงบริเวณที่ประสูติ เรียกว่า เสาอโศก ที่จารึกข้อความเป็นอักษรพราหมีว่าพระพุทธเจ้าประสูติที่ตรงนี้[1]

ปัจจุบันลุมพินีวันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนประเทศอินเดียทางเหนือเมืองโคราฆปุระ ห่างจากเมืองติเลาราโกต (หรือ นครกบิลพัสดุ์) ทางทิศตะวันออก 11 กิโลเมตร และห่างจากสิทธารถนคร[2] (หรือ นครเทวทหะ) ทางทิศตะวันตก 11 กิโลเมตร ซึ่งถูกต้องตามตำราพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่าลุมพินีวันสถานที่ประสูติ ตั้งอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ ปัจจุบัน ลุมพินีวันมีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ ทางการเรียกสถานที่นี้ว่า รุมมินเด มีสภาพเป็นชนบท มีผู้อาศัยอยู่ไม่มาก มีสิ่งปลูกสร้างเป็นพุทธสถานเพียงเล็กน้อย แต่มีวัดพุทธอยู่ในบริเวณนี้หลายวัด รวมทั้งวัดไทยลุมพินี ลุมพินีวันได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540

ในสมัยพุทธกาล ลุมพินีวันอยู่ในเขตแห่งดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีป ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของพระเจ้าสุทโธทนะ และกรุงเทวทหะ เมืองหลวงของพระเจ้าชนาธิป เป็นพระราชอุทยานลาดลุ่มร่มรื่นกึ่งกลางระหว่างทางสำหรับพักผ่อนหย่อนใจของกษัตริย์และประชาชน สภาพของลุมพินีวันในสมัยนั้นอาจจะพิจารณาได้จากคัมภีร์วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย อปทาน ได้พรรณนาเป็นภาษาบาลีไว้ว่า

"ทวินฺนํ ปน นครานํ อนฺตเร อุภยนครวาสีนมฺปิ ลุมพินีวนํ นาม มงฺคลสาลวนํ อตฺถิ, ตสฺมึ สมเย มูลโต ปฏฺฐาย ยาว อคฺคสาขา สพฺพํ เอกปาลิผุลฺลํ อโหสิ สาขนฺตเรหิ เจว ปุปฺผนฺตเรหิ จ ปญฺจวณฺณา ภมรคณา นานปฺปการา จ สกุณสงฺฆา มธุรสฺสเรน วิกูชนฺตา สกลํ ลุมฺพินีวนํ จิตฺตลตาวนสทิสํ ฯเปฯ"

แปลว่า: "ในระหว่างเมืองทั้งสอง มีป่าสาละชื่อลุมพินีวันอันเป็นมงคล สมัยนั้นสาละทั้งหมดล้วนมีดอกออกสะพรั่งเป็นแนวเดียวกัน แต่รากจนสุดปลายกิ่ง ตามกิ่งก้านสาขาและดอกนั้นล้วนมีหมู่ภมรนานาชนิด และหมู่นกหลากหลายชนิดส่งเสียงกู่ร้องประสานสำเนียง ดังทั่วทั้งป่า ลุมพินีวันนั้นจึงประดุจเช่นเดียวกับสวนจิตรลดา (อันมีในดาวดึงสเทวโลก) ฉะนั้น ฯลฯ"




 

Create Date : 21 มีนาคม 2561   
Last Update : 15 เมษายน 2561 19:22:53 น.   
Counter : 233 Pageviews.  

1  2  3  4  

ElizabethI
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




New Comments
[Add ElizabethI's blog to your web]