ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 
สิ่งปลูกสร้างจากตู้คอนเทนเนอร์

ภาพ : //www.flickr.com/ by Javier Carcamo
รูปภาพ : ภาพที่เห็นนี้ เป็นหนึ่งในไอเดียสุดเก๋ไก๋จากการดัดแปลง 'ตู้คอนเทนเนอร์' ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ให้กลายเป็นสิ่งปลูกที่ใช้งานได้จริงและคุ้มค่า ทั้งที่พักอาศัยและอาคารสำนักงาน ซึ่งหลายประเทศกำลังนิยมและมีการสั่งจองกันทั่วโลก ชม 'สิ่งปลูกสร้างจากตู้คอนเทนเนอร์' หลากไอเดียได้ใน <a href=//shows.voicetv.co.th/world-update/92851.html#อาคารสำนักงาน #ตู้คอนเทนเนอร์ #ที่พักอาศัย #ดัดแปลงตู้คอนเทนเนอร์ #สิ่งปลูกสร้างสุดเก๋ ภาพ : //www.flickr.com by Javier Carcamo" width="651" height="504" />
ตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว กำลังกลายเป็นสินค้ายอดนิยมที่มีการสั่งจองจากทั่วโลก เนื่องจากมีการนำคอนเทนเนอร์เหล่านี้ ไปดัดแปลงเป็นที่พักอาศัย รวมถึงอาคารสำนักงานอื่นๆ  เราไปชมหลากหลายไอเดียของการดัดแปลงตู้คอนเทนเนอร์ เป็นสิ่งปลูกสร้างสุดเก๋ไก๋ ที่ใช้งานได้จริงและคุ้มค่าเป็นอย่างมาก
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีคอนเทนเนอร์นับล้านๆ ตู้ ที่ถูกปลดระวาง และเลิกใช้งานหลังจากอายุครบ 5 ปี ซึ่งคอนเทนเนอร์เหล่านี้ อาจถูกทิ้งอย่างไร้ค่า กลายเป็นขยะชิ้นโตที่ไม่มีคนสนใจ แต่ตอนนี้ กลับมีการส่งออก และนำเข้าคอนเทนเนอร์เปล่าเหล่านี้กว่า 18 ล้านตู้ทั่วโลก เพื่อนำไปดัดแปลงเป็นที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน ห้องสมุด ห้องน้ำ ร้านค้า สระน้ำ ไปจนถึงศูนย์วิจัยของนักวิทยาศาสตร์บนทวีปแอนตาร์กติกา 
ซึ่งเรียกได้ว่ากระแสตู้คอนเทนเนอร์ กำลังได้รับความนิยมสุดๆ เนื่องจากการดัดแปลงคอนเทนเนอร์ในลักษณะดังกล่าว สามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะต้นทุนต่ำ ใช้งานง่าย ดูทันสมัย และทนทาน คอนเทนเนอร์ยังมีข้อได้เปรียบเรื่องการประหยัดพื้นที่ และสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างง่ายดายอีกด้วย
วันนี้ เราจึงรวบรวมการนำคอนเทนเนอร์มาดัดแปลงเป็นพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ เพื่อให้เห็นเป็นไอเดียของสิ่งปลูกสร้างในปัจจุบัน เริ่มที่เมืองเดนเวอร์ มลรัฐโคโลราโดของสหรัฐฯ สถานที่แห่งนี้มีชื่อว่า TAXI ซึ่งเป็นสถานที่ส่วนกลางที่เปิดให้คนทั่วไปได้เข้ามาใช้สอยร่วมกัน ทั้งอาคารสำนักงาน และชุมชนสำหรับนักปั่นจักรยาน ที่นี่ได้นำตู้คอนเทนเนอร์ 2 ตู้ มาต่อรวมกัน และดัดแปลงเป็นสระน้ำเพื่อให้พนักงานเอาไว้เป็นที่พักผ่อน คลายเครียดจากการทำงาน
แห่งต่อมาอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านของเรา อย่างประเทศอินโดนีเซีย คอนเทนเนอร์ที่นี่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นห้องสมุด ที่สามารถจุหนังสือได้มากกว่า 6,000 เล่ม โดยคอนเทนเนอร์แต่ละสี ก็จะแยกหมวดหมู่ของประเภทหนังสือ เช่น สีน้ำเงิน เป็นหนังสือบันเทิง และหนังสือทั่วไป สีแดง เป็นหนังสือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น
สถานที่แห่งต่อมา มีชื่อว่า PUMA City ซึ่งเป็นของแบรนด์กีฬาดังอย่าง PUMA นั่นเอง  PUMA City นั้นก่อสร้างขึ้นมาจากตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุตจำนวน 6 ตู้ แต่ละตู้มีการเชื่อมต่อกันภายใน ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถถอด และประกอบกันได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากต้องมีการเคลื่อนย้ายไปทั่วโลกตามการแข่งขันเรือยอทช์ Volvo Ocean Race ที่เวียนไปจัดตามประเทศต่างๆตลอด 9 เดือน PUMA City จึงเป็นทั้งสถานที่จำหน่ายของที่ระลึกของพูม่า ตลอดจนเป็นห้องพักผ่อนของทีมงาน และห้องชมการถ่ายทอดสดการแข่งขันเรือยอทช์อีกด้วย
แห่งต่อมาคือ Bharathi Research Station ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยในทวีปแอนตาร์กติกา สถานที่แห่งนี้ใช้คอนเทนเนอร์กว่า 134 ตู้ในการก่อสร้าง และที่สำคัญที่สุด ก็คือจุดเด่นเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และทานทนต่อสภาพอากาศอันเลวร้าย เนื่องจากผู้ออกแบบได้ใช้วัสดุพิเศษห่อหุ้มคอนเทนเนอร์ทั้งหมด ดังนั้น จึงมุ่นใจได้ว่า ไม่ว่าอากาศจะหนาวเย็นแค่ไหน ก็ไม่ทำให้คนที่อาศัยในคอนเทนเนอร์แห่งนี้ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด
ปิดท้ายกันที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ตู้คอนเทนเนอร์สีสันสดใสเหล่านี้ ถูกนำมาดัดแปลงให้เป็นหอพักสำหรับนักศึกษาต่างชาติ เนื่องจากเนเธอร์แลนด์มีนักศึกษาต่างชาติเดินทางมาเยือนกว่า 100,000 คนต่อปี การขาดแคลนเรื่องที่พักอาศัยจึงเป็นปัญหาสำคัญ ดังนั้น ตู้คอนเทนเนอร์จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ในการติดตั้งในพื้นที่จำกัด เช่น ในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
ภาพ : //www.flickr.com by David Jennings



Create Date : 02 มกราคม 2557
Last Update : 2 มกราคม 2557 22:14:29 น. 0 comments
Counter : 2450 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.