space
space
space
space

ความสุขที่รับประทานได้

การ รับประทานอาจใช้เป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งสามารถช่วยลดความเครียดและทำให้เกิด ความสุขได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจหรอกว่าทำไม คนที่กำลังหงุดหงิด เครียดหรือไปโกรธใครมา หากไดกินข้าวปลาอาหารหรือของหวานๆสักหน่อย เขาจะรู้สึกอารมณ์ดีขึ้น และจากการ ศึกษาก็พบว่าเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะอาหารที่รับประทานเข้าไปสามารถทำให้ เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นสารแห่งความสุข

อาหารอะไรบ้างที่ช่วยให้เรามีความสุข
ใคร ที่เคยรู้สึกอารมณ์ดี มีความสุขหลังจากที่ได้รับประทานอาหารย่อมรู้ดีว่าเป็นอย่างไร แล้วคุณรู้ไหมว่านั่นน่ะเป็นผลมาจากอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทคาร์โฮเดรต อันได้แก่ ข้าว ข้าวเหนียว ข้าวโพด มันฝรั่ง อาหารประเภทโปรตีนอย่าง ไข่ นม อาหารทะเล รวมถึง เมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วและงาต่างๆ และผลไม้ อย่างเช่น กล้วย ลูกพลับ ลูกพรุน ฟักทอง แคนตาลูป หากได้รับประทานก็ช่วยให้รู้สึกอารมณ์ดีขึ้นได้เช่นกัน เพราะในอาหารเหล่านั้นจะมีสารแอลทริปโตแฟน ที่ร่างกายนำไปใช้สร้าง เซโรโทนิน หรือฮอร์โมนอารมณ์ดีได้ ทำนองเดียวกับขนมหวานๆและช็อคโกแลต แต่ของกินสองอย่างหลังนี้ไม่แนะนำให้รับประทานมาก

และถ้าหากคุณต้อง การนอนหลับให้เป็นสุขล่ะก็ ให้ดื่มนมผสมด้วยน้ำผึ้ง โยเกิร์ต และกล้วยหอม ปั่นทั้งหมดเข้าด้วยกัน ดื่มก่อนนอนสักหนึ่งแก้วจะช่วยให้คุณนอนหลับฝันดี แถมยังระบายถ่ายคล่องในตอนเช้าอีกต่างหาก

ข้อมูลจาก horapa.com




 

Create Date : 26 มิถุนายน 2551   
Last Update : 8 ตุลาคม 2551 4:25:51 น.   
Counter : 913 Pageviews.  
space
space
เตยหอม (Pandanus)
ชื่อพื้นเมือง เตยหอม หวานข้าวไหม้ ปาแนะออจิง

เตยหอมเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับคนไทย โดยเฉพาะคนไทยสมัยก่อน เพราะเตยหอมนำมาปรุงอาหารได้ทั้งคาวและหวาน มีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ

ลักษณะของเตยหอม
ใบ จะยาวเป็นกาบขึ้นมาจากลำต้น ความยาว 1 ฟุตเศษๆ สีเขียวสดใส เตยหอมเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวชอบขึ้นในที่แฉะๆ ขึ้นเป็นกอๆ ลำต้นเป็นข้อ มีรากช่วยค้ำช่วยยึดลำต้น ต้นแก่มีรากอากาศออกจากข้อ ใบเป็นใบเดี่ยว ปลายใบแหลมคล้ายใบหอก ตรงกลางใบเป็นร่อง มีกลิ่นหอมเย็น

การปลูก
เตย หอมจะขึ้นตามชายคลอง ชายน้ำ ขยายพันธุ์โดยการใช้หน่อที่เจริญเติบโตจากตัวแม่ เวลาปลูกควรรดน้ำทุกวัน เมื่อปลูกใหม่ๆควรให้รับแสงรำไร

มีคุณค่าทางสมุนไพร
แก้ อ่อนเพลีย ละเหี่ยใจ บำรุงหัวใจ เวลาได้ดื่มน้ำสมุนไพรชนิดนี้ จะมีความรู้สึกชุ่มชื้นขึ้นมา ส่วนที่ใช้เป็นยาได้แก่ ใบ รสหวานเย็นหอม บำรุงหัวใจ ดับพิษไข้ ชูกำลัง โดยใช้ใบเตยสดล้างให้สะอาด นำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อยคั้นเอาแต่น้ำดื่ม อาจเติมน้ำตาลเล้กน้อยก็ได้ ใบเตยหอมกลั่นด้วยไอน้ำจะมีสารหอมประกอบหลายชนิด ในทางการแพทย์ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วน ใหญ่จะใช้ใบ ในสมัยก่อนคนไทยหุงข้าวด้วยหม้อดิน นิยมเอาใบเตยใส่ลงไปด้วย โดยนำมาล้างให้สะอาด ตัดเป็นท่อนๆ เพื่อความหอมของข้าวที่หุง รับประทานข้าวสวยร้อนๆ กลิ่นใบเตยทำให้มีความอร่อยมากขึ้น เตยหอมยังเอาไปปรุงรส กลิ่น อาหารประเภทอื่นได้ เช่น ผสมวุ้น ตะโก้ ขนมหวานต่างๆ ข้าวเหนียว น้ำเชื่อม สำหรับห่อเนื้อไก่เพื่ออบ หรือนำมาล้างให้สะอาด หั่นแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง เอาไปคั่วแล้วเก็บใส่ขวดหรือกระป๋องทำเป็นชาใบเตยหอมก็ได้ จะเก็บไว้ได้นานหลายเดือน

ปัจจุบันเตยหอมยังคงเป็นที่รู้จักกันใน ทุกระดับชนชั้น สามารถนำมาเป็นเครื่องดื่มน้ำใบเตยแทนน้ำเปล่าได้ หรือนำน้ำแข็งใส่ลงไปเวลาดื่มก็อร่อยดี แต่ไม่ใส่น้ำตาลจนหวานมาก ส่วนใหญ่จะนำใบเตยสดมาคั้นน้ำตกแต่งสีและกลิ่นในอาหาร และใช้แทนสีเขียวได้ดี หรือใช้รองก้นหม้อเวลานึ่งข้าวเหนี่ยวก็จะมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ใบสดของใบเตยนอกจากนำมาเป็นยาและอาหารแล้วยังเป็นส่วนประกอบในการจัดดอกไม้ จัดแจกัน ตกแต่งโต๊ะอาหาร ใช้ดับกลิ่นเหม็นอับในบ้าน ในครัว ในรถ ในโรงรถด้วย โดยการใช้ใบเตยสดและใบเตยตากแห้ง

คุณค่าทางโภชนาการ
ใบเตยหอม 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 35 กิโลแคลอรี
ประกอบด้วย
น้ำ 85.3 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 4.6 กรัม
โปรตีน 1.9 กรัม
ไขมัน 0.8 กรัม
กาก 5.2 กรัม
แคลเซียม 124 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.1 มิลลิกรัม
เบต้า-แคโรทีน 2.987 ไมโครกรัม
วิตามินบี 2 0.20 มิลลิกรัม
ไนอะซีน 1.2 มิลลิกรัม
วิตามินซี 8 มิลลิกรัม


ส่วนผสมของน้ำเตยหอม
ใบเตยหอมสด 200 กรัม
น้ำตาลทรายแดง 1 ถ้วยตวง
น้ำเปล่า 7 ถ้วยตวง
เกลือป่น 1 ช้อนชา
น้ำแข็งก้อนทุบ 1 แก้ว

วิธีทำ
1. ล้างใบเตยให้สะอาด หั่นเป็นท่อนๆใส่ลงในหม้อน้ำเปล่าต้มจนเดือด ลดไฟลงเคี่ยวไฟอ่อนๆ จนสีของใบเตยออกสีเขียวอ่อนๆ
2. นำเอาใบเตยออกกรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่เกลือป่น น้ำตาลทรายแดง คนให้ละลาย ตั้งไฟอีก 1-2 นาที ก็เป็นอันใช้ได้

หมายเหตุ
น้ำตาลทรายแดงมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าน้ำตาลทรายขาว เวลาดื่มใส่น้ำแข็งทุบลงไปหรือดื่มร้อนๆก็อร่อยดี



ข้อมูลจาก horapa.com




 

Create Date : 25 มิถุนายน 2551   
Last Update : 8 ตุลาคม 2551 4:25:04 น.   
Counter : 1053 Pageviews.  
space
space
ทำอย่างไรคุณค่าอาหารถึงอยู่ได้นานขึ้น
ทำอย่างไรคุณค่าอาหารถึงอยู่ได้นานขึ้น

ใน ยุคสมัยที่อะไร ๆ ต่างก็เร่งรีบ เร็วเป็นจรวดนี้ ทำให้คนเราไม่ค่อยมีเวลาในการทำอาหารมากนัก นิยมทานอาหารนอกบ้านมากกว่า หรือไม่ก็ซื้อจากนอกบ้านมารับประทาน ซึ่งอาจเป็นวิธีที่สะดวกรวดเร็วก็จริง

แต่ก็ใช่ว่าทุก ๆ ร้านจะทำอาหารถูกหลักอนามัยเสมอไป ทางที่ดีควรหัดทำอาหารทานเองเสียบ้างจะดีกว่า


หลาย ๆ คนที่เดี๋ยวนี้หันมาทำอาหารทานเอง บ้างก็เพื่อสุขภาพ บ้างก็เพื่อประหยัดค่าอาหาร (อารมณ์ทำทีเดียวกินได้หลายมื้อ)

สำหรับ มือใหม่หัดทำอาจจะยังไม่ทราบว่าการประกอบอาหารบางขั้นตอนอาจจะทำให้คุณค่าใน อาหารเสียไปได้ง่าย ๆ คุณรู้หรือไม่ว่ามีอะไรบ้าง ...

- บางคนอาจจะชอบหั่นผักเป็นชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งการทำเช่นนี้เมื่อเวลาที่คุณนำไปปรุงอาหาร จะทำให้สูญเสียคุณค่าอาหารเร็วกว่าการหั่นผักชิ้นใหญ่ ๆ ค่ะ ดังนั้นคราวหน้าก็หั่นผักชิ้นใหญ่ ๆ แทนนะคะ

- ขณะที่นำผักไปล้างบางคนอาจจะชอบหั่นก่อนแล้วค่อยล้างผัก ซึ่งเราไม่แนะนำค่ะ เพราะว่า วิธีนี้จะทำให้คุณค่าอาหารหายไปได้รวดเร็วเช่นกัน ทางที่ดี ควรล้างผักโดยให้น้ำไหลผ่านจะดีกว่าค่ะ ไม่แนะนำให้แช่ผักในน้ำนะคะ

- ผักบางชนิดคุณค่าอาหารจะมีที่เปลือกมาก เพราะฉะนั้นถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องปอกเปลือกออกเยอะมาก เพื่อให้คุณค่าของอาหารคงอยู่นั่นเอง

- เวลาที่อุ่นอาหารให้อุ่นพอร้อน ไม่จำเป็นต้องอุ่นจนมันเปื่อยเพราะนอกจากคุณค่าอาหารที่เสียไปยังทำให้เปลืองค่าไฟ ค่าแก๊สด้วยค่ะ


เห็น มั้ยค่ะ บางครั้งเราก็อาจจะเผลอทำให้คุณค่าอาหารสูญไปได้โดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นเมื่อทราบวิธีที่ถูกต้องแล้วก็อย่าลืมนำไปใช้ให้ถูกวิธีนะคะ จะได้ได้รับคุณค่าทางอาหารที่เต็มที่ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก horapa.com




 

Create Date : 24 มิถุนายน 2551   
Last Update : 8 ตุลาคม 2551 4:24:10 น.   
Counter : 940 Pageviews.  
space
space
“ยี่หร่า” ของดีถูกลืม
ยี่หร่า เป็นพืชครัวชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารหลายอย่าง ทั้งอาหารไทยและอาหารต่างประเทศทั่วโลก โดยกลิ่นหอมของ “ยี่หร่า” จะช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ที่เป็นหลักใช้ทำอาหาร เช่น เนื้อและปลา ได้เป็นอย่างดี ทำให้มีกลิ่นหอมรับประทานอร่อยขึ้น ซึ่งสมัยเป็นเด็กจำได้ว่า เวลาคุณแม่ทำแกงเผ็ด หรือผัดเผ็ด จะใส่ใบและเมล็ด “ยี่หร่า” ลงไปทุกครั้ง ทำให้มีกลิ่นหอมฟุ้งกระจายทั่ว เรียกเสียงร้องของน้ำเลี้ยงในกระเพาะอาหารดังจ๊อกๆ อยากกินข้าวขึ้นมาทันที



แต่ ในยุคนี้ “ยี่หร่า” กลับเป็นผักถูกลืม สังเกตได้จากร้านขายอาหารจานด่วน หรือร้านข้าวราดแกงทั่วๆไป เวลาทำแกงเผ็ด ผัดเผ็ด จะไม่มี “ยี่หร่า” เป็นส่วน ประกอบเลย จึงทำให้ขาดกลิ่นหอม รับประทานไม่ อร่อยครบเครื่อง ส่วนใหญ่คนรุ่นใหม่ยุคปัจจุบันรู้จักเฉพาะ กะเพรา,โหระพาและสะระแหน่เท่านั้น

ยี่หร่า หรือ CARUM CARVI LINN. อยู่ในวงศ์ UMBELLIFERAE เป็นไม้พุ่มเตี้ย สูง 50-80 ซม. ลำต้นสีน้ำตาลแก่ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ใบรูปกลมรี ปลายแหลม โคนสอบ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ผิวใบสากมือ สีเขียวสด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสร้อน ดับกลิ่นคาวอาหารจำพวกปลาและเนื้อได้ดีมาก

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็ก 50-100 ดอก “ผล” รูปกลมรี ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ผลมีขนาดประมาณ 1 มม. สีน้ำตาลอ่อน ซึ่งผลนิยมนำไปตากแห้ง หรืออบแห้ง ทำเป็นเครื่องเทศ ใช้ประกอบอาหารเพิ่มกลิ่นหอมน่ารับประทานและดับกลิ่นคาวได้เช่นเดียวกับใบ ในต่างประเทศนิยมมาก โดยเฉพาะมัสมั่น อาหารที่ทำจากปลา เนื้อ และส่วนประกอบที่มีกลิ่นคาว จะเป็นอบ หรือนึ่ง เอาเมล็ดของ “ยี่หร่า” ป่นละเอียดโรยลงไปทำให้มีกลิ่นหอมสุดยอดจริงๆ ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด และปักชำกิ่ง มีต้นขายทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ราคาต้นละ 20 บาท ประโยชน์ทางยา ทั้งต้นตากแห้งต้มน้ำดื่มขณะอุ่น เป็นยาช่วยย่อย ขับลม แก้ปวดท้อง ท้องอืด แน่นเฟ้อ เด็ดขาดนัก




ยี่หร่า หรืออีกชื่อหนึ่งคือหอมป้อม เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปยุโรปและเอเชียตะวันตก ต่อมาได้มีผู้นำไปปลูกในประเทศต่างๆจนแพร่หลาย จัดเป็นพืชล้มลุกอายุประมาณ 2 ปี ลักษณะของลำต้นตรง ลักษณะใบประกอบกันคล้ายขนนก ออกดอกเป็นช่อ มีก้านยาว ดอกย่อยสีขาว ผลแห้งไม่แตกยาว 3-7 มิลลิเมตร กว้าง 1.5-2 มิลลิเมตร รูปขอบขนานแบนโค้งเล็กน้อย มีสีออกน้ำตาล มีสันตามยาว 5 เส้น มักเข้าใจผิดว่าเป็นเมล็ด นำมาทุบให้แตกจะมีกลิ่นหอมเฉพาะ

สาระสำคัญและประโยชน์
ยี่หร่าจัดอยู่ในหมวดเครื่องเทศที่มีสรรพคุณที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารและมีสรรพคุณทางยารักษาโรค

สรรพคุณทางยา
ส่วนของใบยี่หร่าอุดมไปด้วยวิตามินซีและแคลเซียม มีสรรพคุณช่วยในการขับเหงื่อ ซึ่งเป็นของเสียออกจากร่างกาย ช่วยในการบำรุงธาตุ ขับลม แก้โรคเบื่ออาหาร แก้ปวดท้องเนื่องจากอาหารไม่ย่อย แก้ท้องอืด คลื่นไส้ โดยนำมาชงดื่มจนกว่าจะหาย นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ระงับอาการเกร็งของลำไส้ ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ โดยใช้ผลแห้ง 3-5 กรัม ชงกับน้ำเดือดปริมาณ 1 ลิตร ทิ้งไว้สักระยะหนึ่งจึงนำมาดื่มวันละ 3-4 ถ้วยตวง

สรรพคุณทางอาหาร
ใช้เป็นเครื่องปรุง เป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารบางชนิด เช่น แกง ต้มยำ ซุป มักเป็นที่นิยมกันในแถบยุโรปหรือตะวันออกกลาง ช่วยให้มีกลิ่นหอม ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ต้องการกลิ่นเฉพาะในการทำขนมปังและพิซซ่าบางประเภท ให้แตกต่างจากกลิ่นที่คุ้นเคย นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบของการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ โดยนำมาป่นหรือตำผสมในเนื้อสัตว์เวลาหมัก เพราะน้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการบูดเน่าเร็วขึ้น ป้องกันกลิ่นเหม็นอับของเนื้อสัตว์เวลาหมักก่อนนำไปตากแห้ง ส่วนประกอบของเครื่องแกง เช่น แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น แกงเผ็ดเห็ด แกงฮังเล บาเยีย การทำเนื้อสวรรค์


ขอบคุณข้อมูลจาก horapa.com & blogth.com






 

Create Date : 09 มิถุนายน 2551   
Last Update : 8 ตุลาคม 2551 4:23:36 น.   
Counter : 1946 Pageviews.  
space
space
กระเทียม
ชื่อท้องถิ่น กระเทียม (ภาคกลาง) หอมเทียม (ภาคเหนือ) หอมขาว (ภาคอีสาน) หอม หอมเทียม (ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤษศาสตร์
เป็นพืชล้มลุกที่มีหัวอยู่ใต้ดิน แต่ละหัวประกอบด้วยกลีบเรียงซ้อนกันประมาณ 4-15 กลีบ บางพันธุ์จะมีเพียงกลีบเดียว เรียกว่า “กระเทียมโทน” แต่ละกลีบมีกาบเป็นเยื่อบางๆสีขาวอมชมพูหุ้มอยู่โดยรอบ กระเทียมมีรากไม่ยาวนัก ใบมีลักษณะยาวแบน ปลายใบแหลมแคบ โคนมีใบหุ้มซ้อนกัน ดอกออกเป็นช่อ มีสีขาวติดเป็นกระจุกที่ปลายก้านช่อ กระเทียมมีกลิ่นหอมฉุน รสชาติเผ็ดร้อน

สารสำคัญที่พบ
สารสำคัญที่ทำให้กระเทียมมีกลิ่นหอมฉุนเผ็ดร้อนคือเอนไซม์อัลลิเนส (Allinase) ที่เปลี่ยนสารอินทรีย์กำมะถันอัลลิอิน (Alliin) ให้เป็นน้ำมันหอมระเหยอัลลิซิน (Allicin) และเมื่อนำหัวกระเทียมสดมากลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันกระเทียม (Garlic oil) นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหาร น้ำ กรดไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต น้ำตาล กรดอะมิโน เหล็ก แคลเซียม วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินซี ฯลฯ

krateam1.jpgสรรพคุณ
การกินกระเทียมทั้งสดหรือแห้งเป็นประจำสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันและกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ความดันโลหิตสูง และปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันโรคหวัด วัณโรค คอตีบ ปอดบวม ไทฟอยล์ มาลาเรีย คออักเสบและอหิวาตกโรคได้อีกด้วย วิธีการใช้กระเทียมเพื่อรักษาโรคต่างๆคือ
1. ใช้ขับเหงือ ขับปัสสาวะ และขับเสมหะ โดยใช้กระเทียมสดครึ่งกิโลกรัม ทุบพอแตก แช่ในน้ำหวานหรือน้ำผึ้ง 1 ถ้วย ประมาณ 1 สัปดาห์ รับประทานครั้งละครึ่งช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง
2. ใช้ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โดยใช้กระเทียมสด 5-7 กลีบ บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำตาลและเกลือเล็กน้อย กรองเอาแต่น้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง หลังรับประทานอาหาร
3. ใช้รักษาแผลสด แผลเป็นหนอง โดยใช้กระเทียมสดปอกเปลือก นำมาทุบหรือฝานทาในบริเวณที่เป็นแผล
4. ใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกี่ยวกับเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า เชื้อราในช่องคลอด โดยใช้น้ำที่คั้นจากกระเทียมสดทาบริเวณที่เป็น
5. ลดอาการปวดฟันจากฟันผุ โดยใช้กระเทียมสดสับละเอียดทุกฟันที่ผุ
6. ใช้รักษาอาการปวดหู หูอื้อ หูตึง โดยใช้น้ำกระเทียมหยอดหูประมาณ 1-2 หยด วันละ 3-4 ครั้ง

วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
กระเทียมเป็นเครื่องเทศประจำครัวของคนไทยมาช้านาน อาหารแทบทุกชินดมักมีกระเทียมรวมอยู่ด้วยเสมอ อย่างน้อยก็เป็นส่วนผสมของน้ำพริกทุกชนิด เป็นเครื่องเทศปรุงแต่งกลิ่นรสอาหารประเภท ต้ม แกง และผัดทุกชนิด เป็นกระเทียมเจียวโรยหน้าก๋วยเตี๋ยวหรือข้าวต้ม ผสมกับหมูยอ แหนม ไส้กรอก เพื่อดับกลิ่นและปรุงรส นอกจากนี้ยังนำไปดอก (ส่วนมากใช้กระเทียมโทน) ใบกระเทียมสดใช้ผัดเป็นอาหาร น้ำมันกระเทียมใช้แต่งกลิ่นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ แต่งกลิ่นซอส น้ำมัน น้ำจิ้ม ฯลฯ

ข้อสังเกต/ข้อควรระวัง
1. ถ้าเก็บกระเทียมไว้นานเกินไป สารสำคัญในกระเทียมจะลดน้อยลง และหากจะใช้กระเทียมให้ได้ผลดีก็ไม่ควรกินหรือกลืนกระเทียมทั้งกลีบ ควรจะทุบหรือสับให้ละเอียดเสียก่อน เพื่อให้น้ำมันในกระเทียมมีฤทธิ์ในการรักษามากยิ่งขึ้น
2. หากจะเก็บกระเทียมไว้เพื่อรับประทานได้นานๆให้นำไปดองในน้ำส้มสายชูหรือน้ำซีอิ๊ว เพราะจะช่วยรักษาคุณค่าทางอาหารของกระเทียมได้เป็นอย่างดี
3. การปรุงกระเทียมโดยใช้ความร้อน เช่น การเจียว การต้ม จะทำให้คุณค่าในการเป็นยารักษาโรคน้อยลง ดังนั้น ควรรับประทานกระเทียมในปริมาณที่มากขึ้นกว่าเดิม
4. คนที่เป็นโรคกระเพาะหรือท้องว่าง ไม่ควรรับประทานกระเทียม เพราะจะทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร และเมื่อเกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ ควรรับประทานกระเทียมให้น้อยลง

วิธีปลูก
การปลูกกระเทียมสามารถปลูกได้ 2 วิธี คือ การหว่านและการวางกลีบ วิธีปลูกโดยการหว่าน ให้แกะหัวกระเทียมออกเป็นกลีบและหว่านลงในดินที่ย่อยละเอียดผสมกับปุ๋ยคอก ใช้ฟางข้าวหรือหญ้าแห้งคลุมดินแล้วจึงรดน้ำ ส่วนการปลูกด้วยการวางกลีบนั้นควรนำกลีบกระเทียมแช่น้ำไว้ประมาณ 1 คืนก่อน แล้วจึงฝังส่วนโคนกลีบลงดิน คลุมดินด้วยฟางข้าวเช่นเดียวกัน


ขอบคุณข้อมูลจาก horapa.com




 

Create Date : 08 มิถุนายน 2551   
Last Update : 8 ตุลาคม 2551 4:23:11 น.   
Counter : 985 Pageviews.  
space
space
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  

tanas251235
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space