space
space
space
space

ผึ้ง (นมผึ้ง-รอยัลเยลลี่) (ตอนที่ 6)




อาหารสมุนไพรที่ใช้รักษาอาการหรือโรคที่นำมาเสนอนี้ เป็นการศึกษาของประเทศจีน ซึ่งทางจีนได้มีการค้นคว้าอย่างเป็นระบบ หากท่านผู้อ่านท่านใดได้เคยใช้ในการรักษาอาการ หรือโรคใดและได้ผล กรุณาแจ้งมายัง “หมอชาวบ้าน” เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลศึกษา และเผยแพร่เพื่อให้เป็นประโยชน์ส่วนร่วมต่อไป







ตอนที่แล้วได้กล่าวถึงผลการทดสอบนมผึ้งที่มีผลต่อร่างกาย เช่น ทำให้อายุยืนยาว, ผลต่อระบบไร้ท่อ, ฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรีย และความเป็นพิษของนมผึ้ง ในตอนนี้จะได้กล่าวถึงสรรพคุณและการใช้นมผึ้งทางคลินิก

สรรพคุณและการใช้นมผึ้งทางคลินิก

1. โรคประสาทที่มีอาการอ่อนเพลียอย่างเรื้อรัง อ่อนแรง อ่อนใจ อาการจิตซึมเศร้า เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ฯลฯ ในการรักษาผู้ป่วย 90 ราย (ชาย 35 ราย หญิง 55 ราย) หลังจากรักษานาน 2-3 เดือน อาการโรคดีขึ้นทั้งหมด หายเป็นปกติ 77 ราย คิดเป็นร้อยละ 86 ดีขึ้น 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 14
อาการที่ผิดปกติคือ อาการนอนไม่หลับหายไป สามารถใช้แรงงานสมองได้มากขึ้น กินอาหารได้ มากขึ้น อารมณ์แจ่มใสขึ้น อาการปวดหัวขึ้นมึนหัวเป็นน้อยลง
ในการสำรวจน้ำหนักของผู้ป่วย 17 ราย พบว่ามี 16 รายที่มีน้ำหนัก เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.4 กิโลกรัม (ในจำนวนนี้มี 2 รายที่น้ำหนักเพิ่ม 4.8 กิโลกรัม)


2. โรคตับ (มีอาการอ่อนเพลีย กินไม่ได้ ปวดตับ ท้องมาน นอนไม่หลับ เป็นต้น) ในผู้ป่วย 35 ราย ได้ผลดี 14 ราย ได้ผล 15 ราย รวมร้อยละ 83.9 ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังร้อยละ 71.4 สำหรับอาการของโรคนั้น อาการกินไม่ได้ได้ผลร้อยละ 84.6 อาการอ่อนเพลียได้ผลร้อยละ 68.7 โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยกินได้มากขึ้น ร่างกายแข็งแรง อารมณ์เบิกบานขึ้น
สำหรับโรคตับอักเสบชนิดเฉียบพลัน ในผู้ป่วย 22 ราย หลังจากใช้นมผึ้ง 3 – 14 วัน อาการจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตับที่โตจะเล็กลงใน 3 วัน เอนไซม์ทรานส์อะมีเนส ซึ่งสูงกว่า 40 หน่วยจะลดลงเป็นปกติในเวลาประมาณ 10 วัน

ผลการทดลองในเด็กที่เป็นตับอักเสบชนิดติดต่อจำนวน 20 ราย ในแผนกกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์เซี่ยงไฮ้ ผลการรักษาโดยเฉลี่ยเด็กจะกินอาหารได้เป็นปกติใน 5 วัน อาการดีซ่านดีขึ้นในเวลาเฉลี่ย 4.5 วัน และอาการดีซ่านหายไปในเวลาเฉลี่ย 6.8 วัน อาการตับบวมจะลดลงในเวลา 4.3 วัน และเป็นปกติในเวลาเฉลี่ย 11 วัน การทำงานของตับเป็นปกติในเวลาเฉลี่ย 11.4 วัน


3. โรคหลอดเลือด
สำหรับผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูงหรือต่ำ หลังจากกินนมผึ้งแล้ว จะทำให้ความดันเลือดเป็นปกติ ผลการทดลองของสถาบันการแพทย์รัสเซียพบว่า ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแข็งตัว 12 ราย ซึ่งมีอายุระหว่าง 58-70 ปี ให้นมผึ้งใต้ลิ้น ทำให้ความดันเลือดของผู้ป่วยมีแนวโน้มลดลง มีการทดลองกับกระต่ายเลี้ยง พบว่า นมผึ้งสามารถลดไขมันและโคเลสเตอรอล ทำให้ลดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงไปได้
ผลการทดลองของสถาบันการแพทย์แห่งหนึ่งในรัสเซีย ในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแข็งตัวระยะต้นจำนวน 16 ราย โดยทำการรักษา 3 ช่วง (ช่วงละ 10 วัน) ในช่วงแรกให้ผู้ป่วยกินนมผึ้งวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 10 มิลลิลิตร ช่วงที่สองและสามให้เพิ่มลดนมผึ้งตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย
ผลการทดลองพบว่า หลังจาก เสร็จสิ้นการรักษาช่วงแรก ผู้ป่วยกินอาหารได้ดีขึ้น ความดันเลือดมีแนวโน้มลดลงเป็นปกติ อาการปวดหัวใจหายไป ผลการรักษาในช่วงที่สองและสาม ผู้ป่วยเป็นปกติ
ผลการใช้นมผึ้งรักษาผู้ป่วย 51 ราย ของโรงพยาบาลปักกิ่ง โดยใช้นมผึ้งใส่ในแคปซูล หลังจากรักษานาน 2 เดือน โคเลสเตอรอลของผู้ป่วยลดจาก 287 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร เหลือ 238 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ไตรกลีเซอไรด์ลดจาก 252 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร เหลือ 134 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร

ในระหว่างการใช้นมผึ้งรักษาโรค พบว่า นมผึ้งสามารถเพิ่มฮีโมโกลบิน (สารสีแดงในเม็ดเลือดแดง) ในผู้ป่วย แต่ละรายจะเพิ่มดังนี้ จาก 12.4 กรัมเพิ่มเป็น 13.7 กรัม จาก 8.5 กรัมเพิ่มเป็น 9.8 กรัม จาก 8.9 กรัมเพิ่มเป็น 11.6 กรัม และจาก 12.4 กรัมเพิ่มเป็น 15.8 กรัม


( อ่านต่อตอนหน้า )

ขอบคุณ หมอชาวบ้าน




 

Create Date : 01 พฤษภาคม 2552   
Last Update : 1 พฤษภาคม 2552 7:09:58 น.   
Counter : 2136 Pageviews.  
space
space
ผึ้ง (นมผึ้ง-รอยังเยลลี่) (ตอนที่ 5)



อาหารสมุนไพรที่ใช้รักษาอาการหรือโรคที่นำมาเสนอนี้ เป็นการศึกษาของประเทศจีน ซึ่งทางจีนได้มีการค้นคว้าอย่างเป็นระบบ หากท่านผู้อ่านท่านใดได้เคยใช้ในการรักษาอาการ หรือโรคใดและได้ผล กรุณาแจ้งมายัง “หมอชาวบ้าน” เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลศึกษา และเผยแพร่เพื่อให้เป็นประโยชน์ส่วนรวมต่อไป







ตอนที่แล้ว เราได้เสนอผลการทดสอบนมผึ้งในเชิงเภสัชวิทยาได้แล้วว่าสามารถเพิ่มภูมิต้านทางโรคให้กับร่างกาย และกระตุ้นเนื้อเยื่อให้เจริญเติบโตได้ แต่นมผึ้งยังมีผลต่อร่างกายในด้านอื่นอีก ดังจะได้เสนอต่อไปในฉบับนี้

3. ยืดอายุให้ยืนยาว
มีผู้เชื่อว่าในนมผึ้งมีโกลบูลินอยู่ 2 ชนิด โกลบูลินทั้งสองชนิดนี้ สามารถชะลอความชราและสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย แต่ก็มีนักวิชาการบางท่านเชื่อว่า เหตุที่นมผึ้งสามารถทำให้อายุยืนได้เพราะกรดแพนโทเทนิก (Pantothenic acid) (วิตามินชนิดหนึ่งของกลุ่มวิตามินบีรวม) และวิตามินบี 6 เคยมีการทดลองโดยให้นมผึ้งกับหนอนในผลไม้ ผลการทดลองพบว่า หนอนที่เลี้ยงด้วยนมผึ้งจะมีอายุเฉลี่ย 15.5 วัน ส่วนหนอนที่ไม่ได้กินนมผึ้งจะมีอายุเฉลี่ย 13.3 วันเท่านั้น

4. ผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ
ร่างกายมนุษย์มีระบบทำงานที่สลับซับซ้อน การที่ร่างกายมนุษย์สามารถทำงานได้อย่างกลมกลืน และเป็นระบบได้รั้นเพราะระบบต่อมไร้ท่อ ถ้าหากต่อมไร้ท่อผิดปกติขาดการควบคุม หรือขาดความสมดุล ก็จะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ หรือตายได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จงจำเป็นต้องมีการปรับสมดุลของร่างกาย สำหรับการปรับสมดุลของร่างกายนั้นมีอยู่ 2 วิธี คือ

วิธีแรก คือ การปรับสมดุลของร่างกายเอง (ปัจจัยภายใน) ทำให้ร่างกายฟื้นคืนสมรรถนะและสา มารถทำงานได้อย่างปกติ
วิธีที่สอง คือ การกินอาหาร หรือยา (ปัจจัยภายนอก) ที่มีสารเช่นเดียวกับที่หลั่งออกมาจากต่อมไร้ท่อ นมผึ้งนั้นมีผลทั้งสองประการดังที่กล่าวมาแล้ว

ผลการทดลอง

นมผึ้งมีฤทธิ์กระตุ้นฮอร์โมนเพศ ในการทดลองให้นมผึ้งในแม่ไก่ไข่จะเพิ่มขึ้นกว่าปกติ 1 เท่าตัว นอกจากนี้ในแม่ไก่ที่หยุดการให้ไข่แล้ว หลังจากกินนมผึ้งจะสามารถวางไข่ได้อีก
นมผึ้งกับน้ำตาลในเลือด จากการทดลองในสัตว์ที่มีร่างกายปกติ เมื่อได้นมผึ้ง น้ำตาลในเลือดจะลดลง ในการทดลองยังพบว่า นมผึ้งสามารถลดน้ำตาลในสัตว์ที่เป็นเบาหวานเนื่องจากใช้แอลล็อกแซน (Alloxan) ได้ หลังจากได้นมผึ้ง 2-6 ชั่วโมง น้ำตาลในเลือดจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ให้นมผึ้ง ในปัจจุบัน พบว่า เหตุที่นมผึ้งสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ เพราะมีพวกเพ็ปไทด์ (Peptide) ที่ออกฤทธิ์คล้ายกับอินซูลินอยู่
นมผึ้งกับไอโอดีนในร่างกาย ผลจากการเลี้ยงหนูถีบจักรด้วยนมผึ้ง ทำให้ต่อมธัยรอยด์มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ นมผึ้งยังมีฤทธิ์กระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์สามารถรับไอโอดีนได้มากขึ้นหลังจากใช้เมทิล-ไทโอยูราซิล (Methylthiouracil) ยับยั้ง

นมผึ้งกับโคเลสเตอรอล การทดลองโดยให้กระต่ายกินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง อีกกลุ่มหนึ่งนอกจากให้อาหารดังกล่าวแล้วยังให้กิน หรือฉีดนมผึ้ง (10-15 มก./กก.) ผลปรากฏว่ากลุ่มที่ให้นมผึ้งไขมันและโคเลสเตอรอลเลือดต่ำกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง หลังจากการผ่าตัดพบว่านมผึ้งสามารถลดการแข็งตัวของหลอดเลือดจากไขมันและโคเลสเตอรอลได้ และผลจากการถ่ายภาพรังสีหลอดเลือดหัวใจ ปรากฏว่ากลุ่มที่ให้นมผึ้งหลอดเลือดหัวใจจะตีบน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ให้นมผึ้ง


5. ฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรีย
ในปี 2501 ที่ประชุมนักเลี้ยงผึ้งระหว่างประเทศได้รายงานว่า นมผึ้งเข้มข้น 7.5 มก./ลิตร สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของโคลิบาซิลลัส (Colibacillus), สแตฟิโลค็อกคัส (Staphylococcus) ได้ สำหรับ ยีสต์(Saccharomyces) แม้จะใช้นมผึ้งที่มีความเข้มข้น 25 มก./ลิตร ก็ไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์ได้
เคยมีผู้ทำการทดลองเปรียบเทียบนมผึ้งกับเพนิซิลลินในหนูตะเภาที่ติดเชื้อโคลิบาซิลลัส และสแตฟิโลค็อกคัส โดยใช้สารละลายนมผึ้ง 10% เปรียบเทียบกับเพนิซิลลิน 2,000 หน่วย/มล.หรือสารละลาย แกรมมิไซดีน (Gramicidin) ทาบริเวณแผล ผลปรากฏว่าแผลที่ทาด้วยสารละลายนมผึ้งจะหายใน 13-20 วัน สำหรับกลุ่มที่ใช้เพนิซิลลินหรือแกรมมิไซดีนจะหายใน 18-20 วัน ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า นมผึ้งสามารถทำให้แผลหายได้ไม่แพ้การใช้เพนิซิลลิน


6. ความเป็นพิษของนมผึ้ง
นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ทำการทดลองพบว่า ถ้าใช้นมผึ้ง 1 มก./กก. จะมีฤทธิ์ กระตุ้นประสาท และทำให้น้ำหนักของร่างกายเพิ่มขึ้น ถ้าใช้ถึง 100 มก./กก. จะมีฤทธิ์ทำให้การสันดาป (Metabolism) ของร่างกายปั่นป่วน (100 มก./กก. ในที่นี้หมายถึงผู้ที่มีน้ำหนัก 60 กก.) ถ้าใช้จนกระทั่งถึง 6 กรัม/กก. จึงจะเกิดผลข้างเคียง
นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้ใช้นมผึ้งฉีดเข้าช่องท้องหนูตะเภา ในปริมาณ 300, 1,000, 3,000 มก./กก. เป็นเวลาติดต่อกัน 5 สัปดาห์ ไม่ปรากฏผลข้างเคียงใด ๆ เกิดขึ้น มีบางคนได้เพิ่มปริมาณที่ให้ถึง 16 กรัม/กก. ก็ไม่ปรากฏว่าหนูตาย

ข้อระวัง : มีบางท่านที่แพ้นมผึ้ง อาการที่เกิดจากการแพ้มักมีอาการหืด หอบ หรือเป็นผื่นแดง ถ้าเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ไม่ต้องทำอะไร เพียงแต่หยุดกินนมผึ้ง อาการดังกล่าวก็จะหายไปเอง


ขอบคุณ หมอชาวบ้าน




 

Create Date : 30 เมษายน 2552   
Last Update : 30 เมษายน 2552 7:13:34 น.   
Counter : 12484 Pageviews.  
space
space
ผึ้ง (นมผึ้ง-รอยัลเยลลี่) (ตอนที่ 4)




อาหารสมุนไพรที่ใช้รักษาหรือโรคที่นำมาเสนอนี้ เป็นการศึกษาของประเทศจีน ซึ่งทางจีนได้มีการค้นคว้าอย่างเป็นระบบ หากท่านผู้อ่านท่านใดได้เคยใช้ในการรักษาอาการ หรือโรคใดและได้ผล กรุณาแจ้งมายัง “หมอชาวบ้าน” เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลศึกษา และเผยแพร่เพื่อให้เป็นประโยชน์ส่วนร่วมต่อไป








ในตอนก่อน ๆ ได้กล่าวถึงคุณภาพของนมผึ้ง การเก็บนมผึ้งและสารที่พบในนมผึ้งแล้ว ในตอนนี้จะกล่าวถึงผลทางเภสัชวิทยา

ผลทางเภสัชวิทยา

1. เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

การทดลองโดยแบ่งหนูตะเภาออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้นมผึ้งเป็นอาหาร กลุ่มที่สองให้อาหาร
ธรรมดา หลังจากนั้นก็จับหนูทั้งสอง (ทำเครื่องหมายแบ่งกลุ่มให้ชัดเจน) ใส่ลงในอ่างน้ำ หนูทั้งหมดต่างก็ว่ายน้ำ จนกระทั่งเวลาผ่านไประยะหนึ่ง จะสังเกตได้ชัดว่า หนูที่เลี้ยงด้วยอาหารธรรมดา จะเริ่มเหนื่อย แล้วค่อย ๆ จมลงในน้ำ แล้วลอยขึ้นมาใหม่จนกระทั่งหมดแรงและจมลงไปในน้ำ ส่วนหนูกลุ่มที่เลี้ยงด้วยนมผึ้งจ่ายได้นานกว่าหลายสิบนาทีจึงค่อยหมดแรงแล้วจมลงไปในน้ำ

เป็นที่ทราบกันแล้วว่า สิ่งมีชีวิตถ้าขาดออกซิเจนก็จะตาย แต่นมผึ้งสามารถทำให้มีชีวิตยาวนานขึ้นในภาวะที่ขาดออกซิเจนชั่วคราว จากการทดลองโดยนำเอาขวดมาใบหนึ่ง จับหนูทั้ง 2 กลุ่มที่แบ่งเหมือนข้างต้น ทำเครื่องหมายแบ่งกลุ่มให้เห็นได้ชัดจนใส่ลงในขวด ใส่สารดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงไป หลังจากนั้นก็สูบอากาศในขวดออก ปรากฏว่าหนูกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารธรรมดา จะค่อย ๆ ตายไปทีละตัวสองตัว หลังจากนั้นหนูกลุ่มที่เลี้ยงด้วยนมผึ้งจึงค่อย ๆ ตายตาม

นมผึ้งทำให้สัตว์ทดลองเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
นักวิทยาศาสตร์ได้นำหนูทดลองที่ตายแล้วทั้งสองกลุ่มมาผ่าดู พบว่านมผึ้งสามารถทำให้เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า แมกโครเฟก (macrophage) กลืนและทำลายแบคทีเรีย หรือสารปลอมแปลงอื่น ๆ ได้เพิ่มขึ้น ประมาณเท่าตัว การทดดลองแสดงให้เห็นว่า นมผึ้งสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้ เคยมีการทดลองโดยฉายรังสีหนูถีบจักร โดยใช้รังสีโคบอลต์ (Cobalt60) ในปริมาณ 60.4 เรินแกนเป็นเวลาติดต่อกัน 12 วัน และหลังจากฉายรังสีไปแล้ว 12 วัน ปรากฏว่าหนูกลุ่มที่กินนมผึ้งสามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีก 19 วัน ในขณะที่หนูอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งให้อาหารธรรมดาจะตายไป หลังจากฉายรังสีได้เพียง 11 วัน การทดลองแสดงให้เห็นว่า นมผึ้งสามารถทำให้หนูมีความคงทนต่อรังสีได้สูงกว่าปกติ


2. กระตุ้นเนื้อเยื่อให้เจริญเติบโต
ในชีวิตประจำวัน ปรากฏการณ์ที่เรามักพบบ่อย ๆ คือ บาดแผลอย่างเดียวกันในสภาพเหมือนกัน
บาดแผลของคนหนุ่มมักหายได้เร็วกว่าของคนแก่ ที่กล่าวมานี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพลังชีวิต ความแข็งแรงของพลังชีวิตมีผลต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อเป็นอย่างมาก
การทดลองพบว่า นมผึ้งสามารถทำให้เซลล์ที่หมดสภาพถูกแทนที่โดยเซลล์ใหม่ เซลล์เม็ดเลือดแดงมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เคยมีผู้นำเอาหมูและไก่ไปทดลองโดยให้กินนมผึ้ง ผลปรากฏหลังจากให้กินนมผึ้ง น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 การทดลองแสดงให้เห็นว่า นมผึ้งมีผลต่อการเพิ่มน้ำหนักอย่างเห็นได้ชัด การทดลองโดยใช้วิธีตัดหรือทำให้เส้นประสาทขา (sciatic nerve) บอบช้ำ ผลการทดลองพบว่า นมผึ้งสามารถทำให้เส้นประสาทนี้งอกและฟื้นตัวได้เร็วขึ้น (ขาหลังของเส้นประสาทที่ถูกตัดหรือบอบช้ำมีการสะท้อนกลับได้เร็วขึ้น)เมื่อเทียบกับอีกกลุ่มหนึ่ง มีการทดลองตัดไตข้างหนึ่งของหนูตะเภา ที่เหลืออีกข้างหนึ่งตัดเฉพาะบางส่วน การทดลองพบว่า หนูที่กินนมผึ้งจะมีเนื้อเยื่องอกใหม่ บริเวณไตที่ถูกตัด เคยมีนักวิทยาศาสตร์นำนมผึ้งที่มีความเข้มข้น 500 มิลลิกรัมต่อลิตร ไปรดเห็ดหอม หลังจากนั้น 10 วันจะได้เห็ดหอมหนัก 1,800 มิลลิกรัม ส่วนเห็ดหอมที่ให้อาหารธรรมดาจะมีน้ำหนักเพียง 1,400 มิลลิกรัม ต่างกัน 400 มิลลิกรัม การทดลองพบว่า นมผึ้งไม่เพียงแต่สามารถเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ได้ แต่ยังสามารถเร่งการเจริญเติบโตของพืชได้อีกด้วย


ขอบคุณ หมอชาวบ้าน





 

Create Date : 29 เมษายน 2552   
Last Update : 29 เมษายน 2552 7:14:35 น.   
Counter : 1230 Pageviews.  
space
space
ผึ้ง (ตอนที่3)





อาหารสมุนไพรที่ใช้รักษาอาการหรือโรคที่นำมาเสนอนี้ เป็นการศึกษาของประเทศจีน ซึ่งทางจีนได้มีการค้นคว้าอย่างเป็นระบบ หากท่านผู้อ่านท่านใดได้ เคยใช้ในการรักษาอาการ หรือโรคใดและได้ผล กรุณาแจ้งมายัง “หมอชาวบ้าน” เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลศึกษา และเผยแพร่เพื่อให้เป็นประโยชน์ส่วนรวมต่อไป







กล่าวถึงคุณภาพของนมผึ้งแล้ว ฉบับนี้จะกล่าวถึงการเก็บนมผึ้ง
การเก็บนมผึ้งที่ดีและถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง การเก็บจะต้องระวังเกี่ยวกับอากาศ ความร้อนภาชนะ (ไม่ควรใช้โลหะ) แสง ความสะอาด กรดและด่าง ขวดที่ใส่ควรใส่ให้เต็ม (ให้มีช่องว่างของอากาศน้อยที่สุด) แล้วปิดฝาให้สนิท จะต้องเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ
โดยทั่วไปการเก็บนมผึ้งจะอยู่ระหว่าง -5 ถึง -7 องศาเซลเซียส จะเหมาะที่สุด จากประสบการณ์พบว่า นมผึ้งถ้าเก็บที่อุณหภูมิ -2 องศาเซลเซียสจะเก็บได้นาน 1 ปี ที่อุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียสจะเก็บได้นานหลายปี

การใช้นมผึ้งในการรักษาโรคนั้น มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน มีบันทึกไว้ในหนังสือต่าง ๆ มากมาย จนกระทั่งปี ค.ศ. 1921 (พ.ศ. 2464) ความลับของนมผึ้งได้ถูกเปิดเผยโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ ดี.เจ. เลนจ์ (D.J.Lange) เขาพบว่านมผึ้งจะถูกหลั่งออกมาจากต่อมบริเวณหัวของผึ้งงานที่มีอายุ 5-15 วัน สำหรับการวิจัยทางชีววิทยาเคมี เภสัชวิทยา และผลการทดลองทางคลินิกนั้น เพิ่งจะมีการศึกษา วิจัยเมื่อไม่นานนี้เอง


สารที่พบในนมผึ้ง
น้ำ 65%
โปรตีน 12%
ไขมัน 6%
คาร์โบไฮเดรต 13%
เถ้า 1%
สารอื่น ๆ 3%


โปรตีนและกรดอะมิโน
โปรตีนและกรดอะมิโนเป็นสาระสำคัญในนมผึ้ง ในโปรตีนมีอัลบูมิน (Albumin) 2 ส่วน 3 โกลบูลิน (Globulin) 1 ใน 3 ซึ่งเหมือนกับอัตราส่วนของอัลบูมินและโกลบูลินในร่างกายมนุษย์
โปรตีนเป็นแหล่งกำเนิดของชีวิต และกรดอะมิโนก็เป็นสารพื้นฐานของโปรตีน ดังนั้นถ้าขาดกรดอะมิโน ก็จะไม่มีชีวิต และทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ กรดอะมิโนในนมผึ้งล้วนเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย บางชนิดร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นได้ จะต้องพึ่งพาอาศัยจากภายนอก


วิตามิน
ในนมผึ้งมีวิตามิน บีหนึ่ง, บีสอง และบีหกเป็นจำนวนมาก แต่จะเป็นวิตามินบีหนึ่งมากที่สุด


ฟอสเฟต
ในนมผึ้ง 1 กรัมมีฟอสเฟต 2-7 มิลลิกรัม เป็นอะดีโนซีน ไตรฟอสเฟส (adenosine troposphere) 302 ไมโครกรัม ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานในร่างกาย การที่นักยกน้ำหนักสามารถยกน้ำหนักได้มาก ๆ ก็เป็นเพราะสารตัวนี้นี่เอง


กรดอินทรีย์
ในนมผึ้งมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวชนิดหนึ่ง เรียกว่า กรดดีไซลีน (Decylene acid) ซึ่งมีประมาณร้อยละ 4 เนื่องจากกรดชนิดนี้มีในธรรมชาติ โดยเฉพาะในนมผึ้ง จึงเรียกว่ากรดนมผึ้ง กรดชนิดนี้นอกจากมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อโรคได้ดีแล้ว จากผลการวิจัยในจีนพบว่าสามารถยับยั้งมะเร็งได้ระดับหนึ่ง
กรดชนิดนี้จะมีอยู่ในนมผึ้งในปริมาณและสภาพที่แน่นอน ถ้านมผึ้งมีคุณภาพเปลี่ยนไปหรือเป็นนมผึ้งปลอม กรดนี้ก็จะลดน้อยลงด้วย ดังนั้นจึงถือเป็นมาตรฐานอย่างหนึ่งในการกำหนดคุณภาพของนมผึ้ง ในทางสากลกำหนดไว้ว่า ควรมากกว่า 1.4%


ธาตุอื่น ๆ
ธาตุอื่น ๆ ในนมผึ้ง แม้จะมีจำนวนน้อย แต่ก็เป็นธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ธาตุที่พบในนมผึ้งได้แก่ เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โคบอลต์ เป็นต้น


ฮอร์โมน
ที่สำคัญ ได้แก่ นอร์อะดรีนาลิน, ไฮไดรคอร์ติโซน เป็นต้น เนื่องจากนมผึ้งเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ดังนั้นปริมาณของฮอร์โมนเหล่านี้จึงมีจำนวนน้อย ไม่มากพอที่จะเกิดผลข้างเคียงกับร่างกาย แต่จะมีผลที่สำคัญต่อร่างกาย


ขอบคุณ หมอชาวบ้าน




 

Create Date : 28 เมษายน 2552   
Last Update : 28 เมษายน 2552 7:02:31 น.   
Counter : 1107 Pageviews.  
space
space
ผึ้ง(ตอนที่ 2)



อาหารสมุนไพรที่ใช้รักษาอาการหรือโรคที่นำมาเสนอนี้ เป็นการศึกษาของประเทศจีน ซึ่งทางจีนได้มีการค้นคว้าอย่างเป็นระบบ หากท่านผู้อ่านท่าใดได้เคยใช้ในการรักษาอาการ หรือโรคใดและได้ผล กรุณาแจ้งมายัง “หมอชาวบ้าน” เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลศึกษา และเผยแพร่เพื่อให้เป็นประโยชน์ส่วนรวมต่อไป








มีผู้กล่าวว่า ผึ้งเป็นสถาปนิกชั้นเลิศนั้น เป็นคำพูดที่เท็จจริงแค่ไหน?รวงรังของผึ้งทุกชนิดประกอบไปด้วยเซลล์ที่เป็นรูปหกเหลี่ยมด้านเท่าจำนวนมากเรียงกันเป็นรวงรัง เซลล์จะมีขนาดที่ต่าง ๆ กัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของผึ้ง เช่น ผึ้งหลวง เซลล์จะใหญ่ ผึ้งมิ้มจะมีขนาดเล็กที่สุด ส่วนจำนวนของเซลล์นั้น อาจมีจำนวนมากเป็นหมื่น ๆ เซลล์เดียวกับผึ้งเลี้ยงได้ รวงผึ้งนั้นเปรียบเสมือนบ้าน เซลล์ก็คือห้องที่อยู่ในบ้านนั่นเอง เซลล์เป็นที่อยู่อาศัยของผึ้งอ่อน ผึ้งนางพญาจะวางไข่ลงที่ฐานเซลล์ หลังจากนั้นตัวอ่อนจะค่อย ๆ เจริญเติบโต กลายเป็นดักแด้ เมื่อลอกคราบแล้วก็จะกลายเป็นผึ้ง

เซลล์จะมีขนาดกว้าง 0.20 นิ้ว (สำหรับผึ้งงาน) 0.25 นิ้ว (สำหรับผึ้งตัวผู้) ส่วนเซลล์ของผึ้งนางพญานั้น มีลักษณะพิเศษคือ เป็นเซลล์ที่ใหญ่ที่สุด เป็นหลอดยาวอยู่ทางด้านล่างของรวงรังในลักษณะที่ห้อยหัวลง ผึ้ง (ยกเว้นนางพญา) เมื่อโตเต็มที่และจะไม่เข้าไปอยู่ในเซลล์อีก แต่จะอาศัยโดยเกาะห้อมล้อมอยู่รอบ ๆ รวงรัง ในฤดูดอกไม้บาน เซลล์สำหรับวางไข่อาจเป็นที่เก็บน้ำผึ้งและเกสรได้อีกด้วย โดยปกติผึ้งจะเก็บน้ำผึ้งไว้ส่วนบนสุดของรวงรัง (ที่เราเรียกว่า หัวรวง) เซลล์ที่อยู่ต่ำลงมา จะเป็นที่เก็บเกสรและตัวผึ้งอ่อนเมื่อรวงรังชำรุดหรือเสียหาย ก็เป็นหน้าที่ของผึ้งงายที่จะต้องเป็นผู้ฝ่ายซ่อมแซม โดยใช่ไขผึ้งซึ่งได้จากต่อมไขผึ้ง 4 คู่ ทางด้านล่างส่วนท้องของผึ้งงาน (อายุ 12-18 วัน) ไขผึ้งที่ได้จะเป็นแผ่น ๆ ผสมกับน้ำลายให้อ่อนตัวลง แล้วจึงนำไปเชื่อมต่อ ๆ กัน เป็นเซลล์จนกลายเป็นรวงรัง


การแยกรังของผึ้ง
การแยกรังเป็นเหตุการณ์ธรรมชาติที่ผึ้งต้องการจะสร้างรังใหม่ ผึ้งนางพญาที่แก่แล้วมีโอกาสในการที่จะแยกรังมากกว่าผึ้งนางพญาที่มีอายุน้อยก่อนการแยกรัง 7-10 วัน ผึ้งงานจะสร้างหลอดนางพญาขึ้นตรงบริเวณด้านล่างของรวงรัง ขณะเดียวกันผึ้งนางพญาก็จะเพิ่มอัตราการวางไข่ เพื่อเพิ่มประชากรผึ้งให้มากข้นในเวลาสั้น ๆ มีการหาอาหารมากขึ้น เกือบทุกเซลล์ในรวงผึ้งจะเต็มไปด้วยน้ำผึ้ง เกสร นมผึ้ง หรือตัวอ่อน เมื่อประชากรผึ้งหนาแน่นขึ้น จนถึงจุดที่ไม่มีเซลล์ว่างให้ผึ้งนางพญาวางไข่ ผึ้งงานก็จะลดอาหารที่ให้กับนางพญา ทำให้ผึ้งนางพญาน้ำหนักลดลง

สัญญาที่แสดงถึงการแยกรัง จะเกิดขึ้นหลังจากผึ้งงานได้ปิดเซลล์ของนางพญาผึ้งตัวใหม่ วันหนึ่งในวันที่อากาศดีมีแสงแดด ขณะที่ผึ้งนางพญาตัวใหม่กำลังจะเกิดขึ้น ผึ้งจำนวนมากก็จะออกจากรวงรัง บ้างก็เกาะอยู่บนรวงรัง บ้างก็บินอยู่รอบ ๆ ผึ้งนางพญาตัวเดิมซึ่งมีน้ำหนักลดลงประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ก็จะบินตามผึ้งงานไป มันไปหาแหล่งใหม่ที่จะสร้างรวงรังใหม่ สำหรับรวงรังเดิมนั้นผึ้งนางพญาตัวใหม่ก็จะปกครองต่อไป


นมผึ้ง (รอยัลเยลลี่)
นมผึ้งเป็นอาหารของผึ้งนางพญาและตัวอ่อน นมผึ้งจะถูกผลิตโดยผึ้งงานที่มีอายุประมาณ 5-15 วัน จามต่อมผลิตอาหาร ซึ่งเป็นต่อมที่อยู่ติดกับต่อมน้ำลายในบริเวณส่วนหัวของผึ้งงาน ต่อมนี้จะทำหน้าที่ผลิตนมผึ้ง ซึ่งมีสีขาวเหมือนนมหรือขาวครีม มีกลิ่นหอม รสหวานอมเปรี้ยว เผ็ด และฝาดเล็กน้อย

ในเมื่อนมผึ้งเป็นอาหาร สำหรับผึ้งนางพญา และผึ้งตัวอ่อนแล้ว เราจะเอามาได้อย่างไร?
โดยธรรมชาติ ผึ้งงานเมื่อเห็นว่าในเซลล์แต่ละเซลล์มีผึ้งตัวอ่อน มันก็จะหลั่งนมผึ้งออกมา มนุษย์จึงได้ศึกษาเลียนแบบและสร้างเซลล์หกเหลี่ยมขึ้น เมื่อมีเซลล์เกิดขึ้นก็เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทำให้ผึ้งงานเริ่มหลั่งนมผึ้งเพื่อไปเลี้ยงผึ้งอ่อน
ในระยะนี้มนุษย์จะนำเอาตัวอ่อนที่มีอายุ 18-24 ชั่วโมงใส่ลงไปในเซลล์หลังจากใส่ตัวอ่อนลงไปในเซลล์ประมาณ 3 วัน(70 ชั่วโมง) ก็จะได้นมผึ้งที่มีคุณภาพดีและปริมาณมากที่สุด แต่หลังจาก 72 ชั่วโมง ตัวอ่อนก็จะกินอาหารมากขึ้นและเลือกกินเฉพาะส่วนที่มีคุณค่าทางอาหารดี คงเหลือไว้เฉพาะส่วนที่มีคุณภาพด้อยไว้ ซึ่งมีลักษณะคล้ายไอศกรีม แต่เราจะเก็บนมผึ้งก่อนก็ไม่ดี เพราะมีปริมาณน้อย


เคยมีผู้ศึกษาพบว่า หลังจากใส่ตัวอ่อนลงไปในเซลล์ จะมีนมผึ้งในเซลล์ ประมาณ 79 มิลลิกรัม 48 ชั่วโมง มี 244 มิลลิกรัม 72 ชั่วโมง มี 400 มิลลิกรัม สรุปแล้วระยะที่เก็บนมผึ้งควรอยู่ในระยะ 60-70 ชั่วโมงเซลล์แต่ละเซลล์เฉลี่ยแล้วให้นมผึ้ง 200-250 มิลลิกรัม เพราะฉะนั้นนมผึ้ง 1 กิโลกรัม จะต้องใช้เซลล์ 4,000-5,000 เซลล์ โดยปกติแล้วผึ้ง รังหนึ่ง ๆ สามารถใส่เซลล์ตัวอ่อนได้ 200-300 เซลล์และเก็บนมผึ้งได้ 40-50 กรัม นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นมผึ้งหายากและมีราคาแพง

แทบไม่ต้องกล่าวถึงการทำเซลล์แล้วจับตัวอ่อนใส่ลงไปในเซลล์นั้นมีความยากลำบากเพียงไร สำหรับผึ้งงานตัวน้อย ๆ ค่อย ๆ หยดนมผึ้งทีละหยดลงในเซลล์นั้น มีความยากลำบากที่น่าทึ่งทีเดียว แม้แต่การจับตัวอ่อนออกจากเซลล์นั้นก็ยิ่งลำบาก จะต้องค่อย ๆ บรรจงคีบออกมา มิฉะนั้นผึ้งน้อยอาจจะท้องแตกและทำให้นมผึ้งสกปรก หลังจากนั้นก็ใช้พู่กันหรือหลอดแก้วเขี่ยนมผึ้งใส่ลงในขวด แล้วต้องรีบเก็บใส่ลงในตู้เย็นอย่างรวดเร็ว ทั้งหมดนี้คือกระบวนการอันลำบาก และยุ่งยากในการเก็บนมผึ้ง
สำหรับผึ้งนั้นมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก ในตัวอ่อนมีไขมัน 3.71% โปรตีน 15.4% นอกจกนี้ ยังมีวิตามิน เอ และดี วิตามินดี 6130-7430 หน่วยสากล น้ำมันตับปลา 100-600 หน่วยสากล เป็นต้น


ขอบคุณ หมอชาวบ้าน




 

Create Date : 27 เมษายน 2552   
Last Update : 27 เมษายน 2552 7:16:42 น.   
Counter : 1208 Pageviews.  
space
space
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  

tanas251235
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space