ชีวิตนี้ ขออยู่อย่างพอเพียง ไม่คิดมากเกินไป
Group Blog
 
All Blogs
 
สาระสำคัญกฎหมายสัญชาติ

พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2535

เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการได้มา การเสียไป และการกลับคืนซึ่งสัญชาติไทยของบุคคล โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวได้มีการปรับปรุงแก้ไขสองครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2535 ดังนี้

การได้มาซึ่งสัญชาติไทย มีด้วยกัน 3 วิธี คือ
1. โดยการเกิด หมายความว่า ผู้ที่เกิดมาย่อมได้รับสัญชาติไทยภายใต้หลักการพิจารณา 2 หลักการ ได้แก่
1.1. หลักสืบสายโลหิต เช่น ผู้ที่เกิดโดยบิดา หรือมารดาเป็นคนไทยย่อมได้สัญชาติไทย ทั้งนี้ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักร
1.2. หลักดินแดน เช่น ผู้ที่เกิดในประเทศไทยย่อมได้รับสัญชาติไทย เว้นแต่ผู้ที่เกิดในประเทศไทยโดยบิดา หรือมารดาเป็นคนต่างด้าวและในขณะที่เกิดบิดา หรือมาดาของผู้นั้นเป็น
1.2.1. ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยกรณีพิเศษเฉพาะราย
1.2.2. ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว
1.2.3. ผู้ที่ได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
1.2.4. หัวหน้าคณะผู้แทนทางทูตหรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางทูต
1.2.5. หัวหน้าคณะผู้แทนทางกงสุลหรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางกงสุล
1.2.6. พนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ
1.2.7. คนในครอบครัวซึ่งเป็นญาติอยู่ในความอุปการะหรือคนใช้ซึ่งเดินทางมาจากต่างประเทศมาอยู่กับบุคคลใน 1.2.4 ถึง 1.2.7
2. โดยการขอมีสัญชาติไทยตามผู้เป็นสามี คือ หญิงซึ่งมิใช่คนไทยที่สมรสกับชายไทย ถ้าประสงค์จะได้สัญชาติไทยก็สามารถยื่นคำขอต่อรัฐมนตรีมหาดไทยเพื่อขอมีสัญชาติไทย การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ได้สัญชาติไทยนั้นอยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรีมหาดไทย
3. โดยการแปลงสัญชาติ หมายความว่า บุคคลที่มิใช่ผู้มีสัญชาติไทยขอมีสัญชาติไทยโดยการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ถ้าหากมีคุณสมบัติครบถ้วนดังนี้
3.1. บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทยและกฎหมายที่บุคคลนั้นมีสัญชาติ
3.2. มีความประพฤติดี
3.3. มีอาชีพเป็นหลักฐาน
3.4. มีภูมิลำเนาในประเทศไทยต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี
3.5. มีความรู้ภาษาไทยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทย อยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรีมหาดไทย เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรก็ให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้วผู้ขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ปฎิญาณตนว่าจะมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อประเทศไทย

การเสียสัญชาติไทย มีด้วยกัน 2 วิธี คือ
1. สละสัญชาติไทย คือ การที่ผู้มีสัญชาติไทยคนใดคนหนึ่งมีความประสงค์จะขอสละสัญชาติไทยในกรณีดังต่อไปนี้
1.1. หญิงซึ่งมีสัญชาติไทยและได้สมรสกับคนต่างด้าวและอาจถือสัญชาติของสามีได้จามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของสามี ถ้าประสงค์จะสละสัญชาติไทยก็สามารถยื่นความจำนงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
1.2. ผู้เกิดมามีสองสัญชาติเมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หากประสงค์จะสละสัญชาติไทยก็สามารถแสดงความจำนงสละสัญชาติไทยต่อรัฐมนตรีมหาดไทยได้ ในกรณีนี้รัฐมนตรีอาจสั่งระงับการสละสัญชาติไทยไว้ก่อนก็ได้หากว่าประเทศไทยอยู่ในระหว่างการรบหรืออยู่ในสถานะสงคราม
1.3. ผู้ที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลง หากประสงค์จะสละสัญชาติไทยก็สามารถยื่นคำขอต่อรัฐมนตรีมหาดไทย การอนุญาตหรือไม่อนุญาตอยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรี
2. ถูกถอนสัญชาติไทย คือ ผู้มีสัญชาติไทยถูกถอนสัญชาติไทยในกรณีดังต่อไปนี้
2.1. หญิงที่ได้สัญชาติไทยโดยการสมรสอาจถูกถอนสัญชาติไทยถ้าหากว่า
2.1.1. การสมรสนั้นเป็นไปโดยปกปิดข้อเท็จจริงหรือแสดงความเท็จอันเป็นสาระสำคัญ
2.1.2. กระทำการใดๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือขัดต่อประโยชน์ของรัฐ หรือเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติ
2.1.3. กระทำการใดๆ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศิลธรรมอันดีของประชาชน
2.2. ผู้มีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าวอาจถูกถอนสัญชาติไทยถ้าหากว่า
2.2.1. ไปอยู่ต่างประเทศที่บิดาเคยมีหรือเคยมีสัญชาติเป็นเวลาติดต่อกันเกิน 5 ปี นับแต่วันที่บรรลุนิติภาวะ
2.2.2. มีหลักฐานแสดงว่าใช้สัญชาติของบิดาหรือสัญชาติอื่น หรือฝักใฝ่อยู่ในสัญชาติของบิดาหรือสัญชาติอื่น
2.2.3. กระทำการใดๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือขัดต่อประโยชน์ของรัฐ หรือเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติ
2.2.4. กระทำการใดๆ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศิลธรรมอันดีของประชาชน
2.3. ผู้ที่มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติถ้าหากว่า
2.3.1. การแปลงสัญชาตินั้นเป็นไปโดยปกปิดข้อเท็จจริงหรือแสดงข้อความเป็นเท็จอันเป็นสาระสำคัญ
2.3.2. มีหลักฐานแสดงว่าผู้แปลงสัญชาตินั้นยังใช้สัญชาติเดิม
2.3.3. กระทำการใดๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือขัดต่อประโยชน์ของรัฐ หรือเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติ
2.3.4. กระทำการใดๆ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน
2.3.5. ไปอยู่ต่างประเทศโดยไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทยเป็นเวลาเกิน 5 ปี
2.3.6. ยังคงมีสัญชาติของประเทศที่ทำสงครามกับประเทศไทย

การกลับคืนสัญชาติไทย มีด้วยกัน 2 กรณี คือ
1. หญิงซึ่งมีสัญชาติไทยและได้สละสัญชาติไทยในกรณีสมรสกับคนต่างด้าว ถ้าขาดจากการสมรสแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ย่อมมีสิทธิขอกลับคืนสัญชาติไทยได้
2. ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยและได้เสียสัญชาติไทยตามบิดาหรือมารดาในขณะที่ตนยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็สามารถยื่นคำขอกลับคืนสัญชาติไทยได้ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่บรรลุนิติภาวะ การอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามกรณีนี้อยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรีมหาดไทย



Create Date : 06 ธันวาคม 2550
Last Update : 6 ธันวาคม 2550 15:39:39 น. 4 comments
Counter : 2550 Pageviews.

 


โดย: ดพะพะ IP: 58.64.41.131 วันที่: 6 มกราคม 2551 เวลา:19:38:49 น.  

 
เป็นข้าราชการบำนาญไทย แต่งงานกับคนอังกฤษและต้องการจะขอสัญชาติอังกฤษโยไม่ต้องการสละสัญชาติไทย จะสามารถถือพลาสปอร์ตสองสัญชาติได้หรือไม่ โดยไม่กระทบกระเทือนหรือขัดต่อสิทธิที่มีในประเทศไทย มีบ้าน, ท่ีดินและทรัพย์สินต่างๆในประเทศไทย


โดย: จุล IP: 87.81.5.1 วันที่: 23 มิถุนายน 2551 เวลา:3:59:43 น.  

 
หวัดดีครับ ผมมีเรื่องที่อยากให้มหาดไทยช้วยในเรื่องสัญชาติ คือว่าผมเกิดในไทยแต่พ่อกับแม่ไม่ใช้คนไทยผมพอจะมีวิธีไหนบ้างที่ผมจะได้รับสัญชาติครับและตอนนี้ผมก็ใกล้จะจบ ม5 แล้วผมอยากให้ช้วยในเรื่องนี้ครับ ผมเป็นคนปางมะผ้า


โดย: เด็กปางมะผ้า (นาย หม่อง ) IP: 101.51.42.142 วันที่: 11 สิงหาคม 2554 เวลา:13:47:16 น.  

 
ตอนนี้อายุเท่าไหร่ขอได้ปี2557
ตอนนี้อายุเท่าไหร่ขอได้ปี2557


โดย: ตอนนี้อายุเท่าไหร่ขอได้ปี2557 IP: 110.78.173.64 วันที่: 24 มิถุนายน 2557 เวลา:9:59:05 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

buagyees
Location :
เพชรบูรณ์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




พระอาทิตย์กำลังขึ้นที่ดอยตงลู บ้านเข็กน้อย เพชรบูรณ์ สวยงามมากท่ามกลางธรรมชาติที่เย็นจับใจ
Friends' blogs
[Add buagyees's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.