ชีวิตที่เกื้อหนุนกันของ...ปูน้ำเค็มกับป่าชายเลน

ชีวิตที่เกื้อหนุนกันของ...ปูน้ำเค็มกับป่าชายเลน







ความรัก อีกรูปแบบหนึ่งที่มีอยู่บนโลกนี้
คือความรักแบบพึ่งพาอาศัยกันของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน ระหว่างสัตว์กับพืช
ที่จะกล่าวถึงในวันนี้ คือการอยู่ร่วมกันของปูน้ำเค็ม กับ ป่าชายเลน...


ปูน้ำเค็ม กับ ป่าชายเลน เป็นการสะท้อนภาพการอยู่อย่างเกื้อหนุนกัน
ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้และไม่เคยสังเกต
ป่าชายเลนซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีพันธุ์ไม้ป่าชายเลนรวมกันอยู่มากมายหลายชนิด
เปรียบเสมือนปราการที่ยิ่งใหญ่
ที่ปกป้องแนวชายฝั่งทะเลไม่ให้ถูกกัดเซาะจากแรงของคลื่น
แหล่งที่อยู่อาศัยและอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน
และยังเป็นแหล่งหากินของชุมชนริมฝั่ง ทะเล ขณะเดียวกันหากสังเกตดี ๆ
จะเห็นว่าป่าชายเลนทุกแห่งต้องมีปูน้อยใหญ่ ที่วิ่งกันขวักไขว่ไปมา
นั่นอาจเป็นเพราะปูกับต้นไม้ในป่าชายเลนมีสัมพันธภาพที่ลึกซึ้ง
เกื้อกูลกันเป็นอย่างดี จนเรียกได้ว่า “มีเธอจึงมีฉัน”


เรืองฤทธิ์ พรหมดำ หนึ่งในทีมนักวิจัยในชุดโครงการขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้
โดยการสนับสนุนของโครงการพัฒนาองค์ความรู้  
และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย และบริษัทโททาล
อีแอนด์พี  ไทยแลนด์
เล่าว่าจากการศึกษาวิจัยเรื่องปูน้ำเค็มในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดขนอม
-หมู่เกาะทะเลใต้
ทำให้ได้เห็นความสัมพันธ์อันน่าประทับใจของปูน้ำเค็มที่อาศัยอยู่ในป่าชาย
เลน


“ต้นไม้ทุกชนิดจำเป็นต้องมีธาตุอาหารสำหรับการเจริญเติบโต
แต่คำถามคือต้นไม้ในป่าชายเลนได้ธาตุอาหารมาจากที่ไหน
คำตอบก็คือจากเจ้าปูตัวน้อย ๆ ที่เดินกันไปมาในป่าชายเลน
ปูจะทำหน้าที่เป็นผู้หมุนเวียนสารอาหาร และ  
เร่งอัตราการย่อยสลายของอินทรียสารให้กับป่า   ชายเลน โดยหลัก ๆ
จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ปูกลุ่มที่กินอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น ปูแสม
(หรือปูเค็ม) ปูกลุ่มนี้จะกินใบไม้ในป่าชายเลนที่ร่วงหล่นลงบนพื้นป่า
โดยการนำมาฉีกตัดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำกลับไปเก็บไว้ในรู
เพื่อให้จุลินทรีย์ได้ช่วยย่อยสลายเศษใบไม้ก่อน
จากนั้นปูจึงค่อยกินเศษซากใบไม้
อาหารเหล่านี้จะผ่านกระเพาะและทางเดินอาหารอย่างรวดเร็ว
แต่จะสามารถดูดซึมสารอาหารได้น้อย ปูจึงต้องกินในปริมาณมาก
เพื่อให้ได้สารอาหารที่เพียงพอ
ซึ่งอินทรียสารที่ได้รับการย่อยสลายจากปูกลุ่มนี้จะถูกส่งต่อไปเป็นอาหาร
ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับสัตว์ชนิดอื่นที่เป็นสัตว์ที่มีคุณค่าทาง
เศรษฐกิจ เช่น ปลากระบอก กุ้งทะเล หอยแมลงภู่ และหอยอีกหลายชนิด


ปูอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ปูที่กินดินกินทราย
ซึ่งได้สารอาหารส่วนหนึ่งจากมูลของปูกลุ่มแรก
เมื่อปูกินอินทรียสารแล้วขับถ่ายออกมา มูลของปูจะกลายเป็นปุ๋ย
ที่เป็นแร่ธาตุกลับคืนสู่ดิน และสู่ต้นไม้อย่างเป็นวัฏจักร
หรือแม้แต่พฤติกรรมการขุดรูของปูที่ขุดชอนไชลงไปในดินเพื่ออาศัย
ยังเป็นเส้นทางนำพาออกซิเจนเข้าสู่ชั้นดินเบื้องล่าง
เพิ่มความสามารถในการย่อยสลายอินทรียสารให้กับจุลชีพ
ซึ่งสร้างแร่ธาตุให้กับดินอีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นคำตอบของคำกล่าวที่ว่า
มีเธอถึงมีฉัน นั่นก็เพราะมีปูจึงมีป่าชายเลนนั่นเอง


นอกจากนี้
จากการศึกษาชนิดความหลากหลายของปูน้ำเค็มในพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณอุทยาน
แห่งชาติหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้
ทำให้พบว่าพื้นที่บริเวณนี้มีความหลากหลายของปูน้ำเค็มหลายชนิด
โดยขณะนี้สามารถรวบรวมได้แล้วถึง 21 ชนิด จาก 14 สกุล ใน 7 วงศ์
ซึ่งแต่ละชนิดมีสีสันที่สวยงาม จนเปรียบได้ว่าเป็น
อัญมณีสีสดใสในผืนป่าชายเลน อาทิ ปูก้ามดาบ หรือเปี้ยวโนรา
ปูที่พบมากที่สุดในบริเวณนี้
ด้วยลักษณะพฤติกรรมที่ชอบโบกก้ามข้างใหญ่ไปมาคล้ายกับท่ารำของการรำโนรา
และสีสันที่หลากหลาย ทั้งสีส้ม เหลือง ชมพู
ปูแสมหลายชนิดที่มีสีสันฉูดฉาดสดใสไม่แพ้กัน 


เห็นได้ว่าพื้นที่ชายฝั่งและในทะเลของประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพ
มีสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่ถูกค้นพบ
และสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดล้วนมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
หากขาดสิ่งมีชีวิตตัวใดตัวหนึ่งไป ก็อาจจะส่งผลกับระบบนิเวศทั้งหมดได้
เป็นเหตุผลที่ว่าเหตุใดมนุษย์อย่างเราจึงควรหันมาให้ความรักกับธรรมชาติ
ก็เพราะมนุษย์เองก็ไม่อาจจะอยู่รอดได้ หากขาดทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้
และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ.



ที่มา: 





18 กุมภาพันธ์ 2552


//www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Columnid=70048&Newstype=2&template=2







Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2552 13:44:23 น. 6 comments
Counter : 445 Pageviews.  

 
สรรพชีวิตพึ่งพาอาศัยกัน เกื้อกูลหนุนเนื่องกัน ก็มีแต่มนุษย์นี่หล่ะ ที่ชอบทำตัวเป็นส่วนเกิดของธรรมชาติ


โดย: endless man วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:22:11:12 น.  

 
เห็นได้ว่าพื้นที่ชายฝั่งและในทะเลของประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพ
มีสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่ถูกค้นพบ
และสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดล้วนมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
***หากขาดสิ่งมีชีวิตตัวใดตัวหนึ่งไป ก็อาจจะส่งผลกับระบบนิเวศทั้งหมดได้
เป็นเหตุผลที่ว่าเหตุใดมนุษย์อย่างเราจึงควรหันมาให้ความรักกับธรรมชาติ
ก็เพราะมนุษย์เองก็ไม่อาจจะอยู่รอดได้ หากขาดทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้
และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ.***


เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ


โดย: Poo-Ma วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:17:12:51 น.  

 
มาศึกษาชีวิตของปู ทำในสิ่งที่ชอบ ย่อมดีที่สุด

รักษาสุขภาพนะคะ
พักผ่อนบ้างนะคะ
อย่าหักโหม เดี๋ยวจะไม่สบาย
ด้วยความปรารถนาดีค่ะ


โดย: chinanod วันที่: 4 มีนาคม 2552 เวลา:20:12:46 น.  

 
มีความสุขในวันหยุดนะคะ


โดย: chinanod วันที่: 6 มีนาคม 2552 เวลา:19:35:38 น.  

 
ขอบคุณครับ วันนี้วันหยุดก็จริง แต่ต้องมาเตรียมหาข้อมูลที่จะบรรยายให้เด็กม.ปลาฟังน่ะครับ เป็นงานที่ไม่ถนัดเอาเสียเลย งานแนวๆ การสอนการพรีเซนต์เนี่ย


โดย: นกกินเปี้ยว วันที่: 8 มีนาคม 2552 เวลา:15:37:08 น.  

 


โดย: นกกินเปี้ยว วันที่: 1 ธันวาคม 2552 เวลา:9:12:29 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นกกินเปี้ยว
Location :
ภูเก็ต Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




www.flickr.com
This is a Flickr badge showing items in a set called Marine Brachyuran Crabs of Pattani. Make your own badge here.



www.flickr.com
This is a Flickr badge showing public photos and videos from CrabHunter. Make your own badge here.
[Add นกกินเปี้ยว's blog to your web]