Group Blog
 
All Blogs
 

Manet : The Man Who Invented Modern Art | Willy Ronis : The Photographer of Paris Par Excellence



เพิ่งได้ชมสารคดีของ BBC ตอน Manet : The Man Who Invented Modern Art ที่ได้ออกฉายกลางปีนี้ มี Waldemar Januszczak เป็นผู้ดำเนินรายการ กับการ “ตามรอยมาเนต์” ในกรุงปารีส

Januszczak เล่าตั้งแต่พ่อของมาเนต์ ซึ่งทำงานด้านตุลาการที่ Palais de Justice ไปจนถึงหลุมศพของมาเนต์ที่สุสาน Passy ผมชอบเวลาที่ Januszczak วิเคราะห์แง่มุมของภาพมาสเตอร์พีซอย่าง Le dejeuner sur l'herbe, Olympia และ Le Bar aux Folies-Bergere

ผมจำได้ว่าครั้งแรกที่เข้าชม Musee d’Orsay ภาพ Le dejeuner sur l'herbe เป็นภาพที่มีคนมุงดูกันเยอะมาก ภาพนี้เป็นภาพที่ช็อกผู้คนในศตวรรษที่ 19 ซึ่งการเปลือยกายในที่สาธารณะยังเป็นสิ่งต้องห้าม ที่มาของภาพก็ตีความกันหลากหลาย บ้างก็ว่าองค์ประกอบการจัดวางท่าทางของทั้งสามคนมาจากภาพของราฟาเอล บ้างก็ว่านิ้วมือของชายในภาพได้แรงบันดาลใจจาก Creation of Adam ของมิเคลันเจโล

ดูสนุก เพลินดี เวลาชั่วโมงครึ่งกับการชมสารคดีชุดนี้ผ่านไปเร็วมาก



หากมหานครปารีสเปรียบดั่งสตรีแสนสวย (Alistair Horne เปรียบปารีสเป็นผู้หญิง ส่วนลอนดอนเป็นผู้ชาย) ที่ผ่านมาเธอช่างโชคดีเหลือเกิน เพราะมี “ตากล้อง” มากฝีมือคอยถ่ายภาพความงดงามในอิริยาบถต่างๆของเธอ ช่างกล้องผู้โด่งดังเหล่านั้น ได้แก่ Robert Doisneau, Henri Cartier-Bresson, Brassai และ Willy Ronis

ได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของ Willy Ronis ในวัย 99 ปี เขาถือเป็นคนสุดท้ายในกลุ่มนักถ่ายภาพคนดังที่ได้จากโลกไป Ronis เกิดที่ปารีสในปี 1910 บิดามารดามาจากยุโรปตะวันออก ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง Ronis เป็นฝ่ายซ้าย ดังนั้นภาพถ่ายของเขาจำนวนมากเป็นรูปของผู้คนชั้นล่างของสังคม

ประธานาธิบดีซาร์โกซี กล่าวถึง Ronis ว่าเป็น "chronicler of postwar social aspirations and the poet of a simple and joyous life." ส่วนรัฐมนตรีวัฒนธรรม เฟรเดอริค มิตเตอรองด์ กล่าวยกย่องว่า "for each of us the poetry of our daily lives and saved it from lost time. This immense narrator gave us a gift that will last forever."



หนึ่งในภาพของ Ronis ซึ่งเป็นภาพโปรดของผมคือ "Les Amoureux de la Bastille" ซึ่งเป็นภาพของคู่รักกับทัศนียภาพของกรุงปารีส




 

Create Date : 17 กันยายน 2552    
Last Update : 17 กันยายน 2552 10:27:06 น.
Counter : 999 Pageviews.  

The Letters of Vincent Van Gogh ฟาน ก็อกห์ คือยอดนักเขียนและนักอ่าน



ผมเคยผ่านตากับจดหมายบางฉบับของฟาน ก็อกห์ ในหนังสือเล่มอื่นๆที่หยิบมาเขียนถึง ครั้งนี้มีโอกาสอ่านหนังสือรวมจดหมายของเขา แม้ไม่ใช่ฉบับครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ด้วยความยาว 500 หน้า ก็ทำให้รู้จักฟาน ก็อกห์ ดียิ่งขึ้น เล่มนี้เป็นฉบับ Penguin Classics มี Ronald De Leeuw (ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ฟาน ก็อกห์ อัมสเตอร์ดัม) เป็นผู้คัดสรรจดหมายและเขียนคำอธิบายซึ่งเชื่อมโยงจดหมายแต่ละฉบับเข้ากับช่วงชีวิตของฟาน ก็อกห์

การได้อ่านจดหมายของเขา ให้ความรู้สึกที่ดีเหลือเกิน ท่ามกลางโลกปัจจุบันที่สื่อรอบด้านแห่ประโคมใครต่อใครเป็น “ศิลปิน” เราย่อมตระหนักดีว่า ภาพที่สร้างจากการตลาดนั่นคือภาพลวงตาทั้งนั้น

จดหมายของฟาน ก็อกห์ ถึงน้องชาย (เธโอ) ได้ถ่ายทอดตัวตนทั้งหมดของเขา ภาพที่ผู้คนปัจจุบันมักคิดกันว่า เขาเป็นจิตรกรเพี้ยน เป็นคนประหลาด นั้นไม่ใช่เลย เขาเป็นคนที่ลึกซึ้งอ่อนไหว มีศรัทธาในศาสนาและศิลปะ วรรณศิลป์ที่ถ่ายทอดผ่านจดหมายของเขาเยี่ยมยอดไม่แพ้ภาพวาดอันโด่งดังที่เราชื่นชอบกัน

บางอย่างที่คนทั่วไปไม่รู้ อาทิ ฟาน ก็อกห์ เป็นคนที่ well read ชอบอ่านหนังสือมาก พูดเขียนได้ 4 ภาษา นอกจากภาษาดัตช์แล้ว ยังได้ทั้งฝรั่งเศส, อังกฤษ และเยอรมัน เขาอ่านทั้ง Dickens, George Eliot, Balzac, Michelet, Zola, Voltaire ฯลฯ ในจดหมายเขาเขียนถึงนักเขียนและหนังสือมากมาย ซึ่งหลายเล่มเป็นแรงบันดาลใจในการวาดภาพด้วย เขาบอกว่า “I cannot understand how one can be a painter of figures and not have a feeling for it (literature).”

ฟาน ก็อกห์ อ่าน Les Miserables ของ Hugo หลายรอบ โดยบอกว่าการอ่านหนังสือของ Hugo ช่วยให้ “keep some feelings and moods alive. Especially love of mankind and belief in, and awareness of, something higher…”

และเขาเขียนถึงพระคัมภีร์ไบเบิลว่า “I, for my part, am always glad that I have read the Bible more carefully than many people do nowadays, just because it gives me some peace of mind to know that there used to be such lofty ideals.”

จดหมายของเขาหลายฉบับที่ผมรู้สึกจับใจอย่างมาก เขาเขียนได้ดีเยี่ยม นี่ไม่ใช่นวนิยาย นี่เป็นจดหมายในชีวิตจริง เขาเขียนถึงครอบครัว ความผูกพันกับเธโอ มิตรภาพ ศาสนา ความรัก แง่มุมทางศิลปะ หนังสือเล่มนี้พาให้เราได้สัมผัสจิตวิญญาณของเขา

ชีวิตของฟาน ก็อกห์ เป็นสิ่งยืนยันว่าคุณค่ามนุษย์ไม่ได้วัดกันตรงระยะเวลาที่มีลมหายใจ ทว่าวัดกันที่เจตจำนงและการกระทำ เขาเสียชีวิตด้วยวัย 37 ปี




 

Create Date : 16 กันยายน 2552    
Last Update : 16 กันยายน 2552 9:08:53 น.
Counter : 1155 Pageviews.  

Brideshead Revisited ปี 1981 (ทีวีซีรีส์ 11 ตอน) อังกฤษและโอ้ Arcadia อันผ่านพ้น



เคยได้ยินชื่อเสียงของทีวีซีรีส์ Brideshead Revisited ที่ฉายในอังกฤษในปี 1981 ว่าเป็นซีรีส์ที่เยี่ยมยอดเป็นตำนานงานสร้างจนถึงทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะชมผมยังลังเลใจ ว่าจะดีจริงหรือ เพราะส่วนใหญ่หนังที่ดัดแปลงจากวรรณกรรมอมตะ มักทำไม่ได้ดีเท่าต้นฉบับหนังสือ

ทว่าเมื่อได้ชมจนจบ อา.. นี่เป็นหนึ่งในข้อยกเว้น ซีรีส์ชิ้นนี้ทำได้อย่างพิถีพิถัน ถ่ายทำอย่างปราณีต ด้วยความยาว 11 ตอน ทำให้เก็บรายละเอียดต่างๆได้อย่างครบถ้วน John Mortimer เขียนดัดแปลงบทได้ดีมาก และนักแสดงนำทั้ง Jeremy Irons และ Anthony Andrews ก็เล่นได้ดี ซีรีส์ใช้ปราสาท Howard แทนคฤหาสน์ไบรด์สเฮด และถ่ายทำในอ๊อกซฟอร์ดด้วย



ตั้งแต่ฉากเริ่มต้นของตอนแรก ที่ตัวเอก ชาร์ลส์ ไรเดอร์ ได้ยินเสียงของเพื่อนทหารเอ่ยนามของ “สถานที่แห่งความหลัง” เบื้องหน้าเขา.. ผมเคยคิดว่าหนังสือเขียนบรรยายได้งดงามมาก แต่พอได้ยินตัวอักษรเหล่านี้แปรเปลี่ยนเป็นคำพูดในซีรีส์แล้ว.. ผมเหมือนโดนมนต์สะกดหน้าจอโทรทัศน์..

He told me and, on the instant, it was as though someone had switched off the wireless, and a voice that had been bawling in my ears, incessantly, fatuously, for days beyond number, had been suddenly cut short; an immense silence followed, empty at first, but gradually, as my outraged sense regained authority, full of a multitude of sweet and natural and long forgotten sounds: for he had spoken a name that was so familiar to me, a conjuror's name of such ancient power, that, at its mere sound, the phantoms of those haunted late years began to take flight. (จบประโยคนี้ ภาพแฟลชแบ็กไปยังวัยหนุ่มสมัยเป็นนักศึกษาอ๊อกซฟอร์ด)



ชาร์ลส์ ไรเดอร์ และ เซบาสเตียน ไฟลท์ ในเวนิส

ผมถามตัวเองว่าเหตุใดจึงชอบซีรีส์เรื่องนี้เป็นอันมาก คงเป็นเพราะตัวเองชอบเรื่องราวที่ wistful และ nostalgic และเรื่องนี้ก็ให้อารมณ์แบบนั้น




 

Create Date : 15 กันยายน 2552    
Last Update : 15 กันยายน 2552 13:53:30 น.
Counter : 1522 Pageviews.  

Paris Edition



Siegfried Kracauer เขียน Memory of a Paris Street ใน Words Without Borders ของเดือนนี้

It’s been almost three years since I ended up on that street in the
Grenelle quarter. Chance led me there—or rather, not so much chance as intoxication. The intoxication of the streets that always seizes me in Paris. At the time I encountered the street, I was spending four weeks completely alone in Paris and would walk for several hours each day through the quarters. It was an obsession that I couldn’t resist…



J'ai Deux Amours

On dit qu'au dela des mers
La-bas sous le ciel clair
Il existe une cite
Au sejour enchante
Et sous les grands arbres noirs
Chaque soir
Vers elle s'en va tout mon espoir

J'ai deux amours
Mon pays et Paris
Par eux toujours
Mon coeur est ravi
Manhattan est belle
Mais a quoi bon le nier
Ce qui m'ensorcelle
C'est Paris, c'est Paris tout entier

Le voir un jour
C'est mon reve joli
J'ai deux amours
Mon pays et Paris

Manhattan est belle
Mais a quoi bon le nier
Ce qui m'ensorcelle
C'est Paris, c'est Paris tout entier

Le voir un jour
C'est mon reve joli
J'ai deux amours
Mon pays et Paris




 

Create Date : 07 กันยายน 2552    
Last Update : 7 กันยายน 2552 16:13:21 น.
Counter : 711 Pageviews.  

The Millions Interview : Phillip Lopate

บทสัมภาษณ์ Phillip Lopate ของ The Millions Interview

TM: Returning to what you were saying about the imagination and Sontag’s writing, in spite of her triumphs with the essay, she preferred to think of herself as a novelist. In the book you mentioned that you, as well as many others, don’t think that her fiction measures up to the level of her essays. Do you think her disdain was a reflection of a greater literary sentiment?

PL: Certainly I think that fiction has more status than nonfiction, just as poetry does. In the beginning of MFA programs, God created fiction and poetry and saw that it was good. Some upstarts came from nonfiction and said, “Hey we want to get in on this boat, too.” I think that if you look at the prizes that are given out every year, there are many more given out in fiction and poetry than are given out in essay writing or other kinds of nonfiction. I don’t think that Sontag was alone at all in this. She was part of a whole generation of writers who actually can be said to have been better at nonfiction than fiction but preferred to think of themselves as fiction writers. I include in that James Baldwin, Mary McCarthy, Gore Vidal, possibly even Norman Mailer, Joan Didion.

Sontag felt the big game was fiction. And that’s where you win the Noble Prize. You don’t win it for writing essays…

ผมจำได้ จอร์จ สไตเนอร์ เคยบอกว่า ความจริงเขาก็อยากเป็นนักเขียน fiction แต่เขาไม่มีความสามารถเช่นนักเขียนฮีโร่ของเขา (เช่น ดอสโตเยฟสกี้) จึงทำได้แค่เป็นนักวิจารณ์ที่เขียน nonfiction

Phillip Lopate พูดได้ถูกต้องว่าสถานะของ fiction ดูสูงกว่า nonfiction อย่างที่สไตเนอร์บอก ใครจะเสียเวลาเป็น Critic ถ้าคุณเขียนได้อย่างดอสโตเยฟสกี้!




 

Create Date : 01 กันยายน 2552    
Last Update : 1 กันยายน 2552 9:19:58 น.
Counter : 604 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  

BlueWhiteRed
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add BlueWhiteRed's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.