Group Blog
 
All Blogs
 
Mahler : A Biography



Mahler : A Biography
Jonathan Carr
Publisher: Overlook Press, 254 pages


“มาห์เลอร์คือศาสดาแห่งยุคสมัยของความวิตกกังวลและเคลือบแคลงใจ” - Harold Schonberg

สำหรับคนที่สนใจมาห์เลอร์ หนังสือชีวประวัติที่เขียนโดย โจนาธาน คารร์ เล่มนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ผู้เขียนเป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษที่อาศัยอยู่ในเยอรมัน เขาเป็น ‘แฟนพันธ์แท้มาห์เลอร์’ หนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือนความพยายามของสาวกคนหนึ่งที่เขียนถึงมาห์เลอร์ (ช่างเป็นแฟนที่รู้รอบจัดจริงๆ!)

คารร์เขียนถึงเหตุการณ์สำคัญในช่วงชีวิตของมาห์เลอร์ ตั้งแต่วัยเด็กที่บ้านเกิดโบฮีเมีย ผ่านการเป็นนักเรียนดนตรีในกรุงเวียนนา จากนั้นเข้าสู่อาชีพวาทยากรในที่ต่างๆ อาทิ บูดาเปสต์และฮัมบูร์ก จนได้อำนวยเพลงในสถานที่อันสูงเกียรติอย่าง Vienna Opera และท้ายสุดกับการเดินทางไปคุมวงที่นิวยอร์ก เขาเขียนถึงซิมโฟนีแต่ละชิ้นโดยเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อม, วิกฤตของชีวิต และแนวคิดทางปรัชญา ในหนังสือเล่มนี้มีการค้นคว้าข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ประเด็นที่เป็น ‘Mahler Myth’ ในเรื่องต่างๆ

มาห์เลอร์เป็นคนที่สนใจหนังสือวรรณคดีและปรัชญา เขาอ่านเกอเธ่และนิตช์เช่ ซึ่งทั้งสองคนมีอิทธิพลต่อซิมโฟนีของเขาอย่างชัดเจน (เกอเธ่กับหมายเลข 8 และนิตช์เช่กับหมายเลข 3) หนึ่งในหนังสือเล่มโปรดของเขาคือ ‘The Brothers Karamazov’ ของดอสโตเยฟสกี้

มีเกร็ดที่น่าสนใจ ครั้งหนึ่งที่มาห์เลอร์เชิญเพื่อนมาทานอาหารที่บ้านในตอนเย็น เพื่อนคนหนึ่งได้เอ่ยขึ้นว่า “The Brothers Karamazov เป็นหนังสือที่ overrate ได้รับการยกย่องเกินจริง” ปรากฎว่าในเย็นวันนั้น มาห์เลอร์นั่งเล็กเชอร์หนังสือเล่มนี้ให้ฟังเป็นชั่วโมง!

มาห์เลอร์เป็น perfectionist หลายครั้งหลังจากที่เปิดการแสดง เขากลับมาแก้ไข โดยเพิ่มเติมตัดทอนงานขึ้นมาใหม่ สำหรับชีวิตส่วนตัวเขาเป็นคนที่เชื่อในโชคลาง เมื่อประพันธ์เพลงต่อจากซิมโฟนีหมายเลข 8 เขาเลี่ยงที่จะไม่ใช้คำว่าหมายเลข 9 แต่ใช้ชื่อบทเพลงว่า Das Lied von der Erde (Song of the Earth) โดยเชื่อว่าสิ่งนี้อาจช่วยให้เขารอดพ้นจากความตาย (เบโธเฟน, ชูเบิร์ต , บรุกเนอร์ ล้วนเสียชีวิตหลังจากประพันธ์ซิมโฟนีหมายเลข 9)

มีแง่มุมที่น่าสนใจคือ คารร์ได้ให้ทัศนะว่าผลงานของมาห์เลอร์หลายชิ้นไม่ได้สะท้อนภาพชีวิตของตัวเขาในขณะนั้น ยกตัวอย่าง ปี 1906 ที่เขาแต่งซิมโฟนีหมายเลข 6 อันเศร้าสลด กลับเป็นช่วงเวลาที่เขามีความสุขอย่างมาก

ในกระบวนสุดท้ายของซิมโฟนีหมายเลข 6 มาห์เลอร์ ได้กำหนดให้ใช้อุปกรณ์ hammer ทุบลง 3 ครั้ง ซึ่งต่อมาภรรยาของเขา ‘อัลมา’ บอกว่า สิ่งนี้เปรียบเหมือนเคราะห์กรรมแห่งโชคชะตา 3 หน ที่ต่อมามาห์เลอร์ต้องเผชิญ ได้แก่ การเสียชีวิตของลูกสาวคนโต, การลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยเพลงของ Vienna Opera และการถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจ .. อย่างไรก็ตาม อัลมาลืมบอกไปอย่าง เคราะห์กรรมที่ 4 คือการนอกใจไปมีชายอื่นของเธอ!

ในปี 1910 มาห์เลอร์พบวิกฤตครั้งสำคัญในชีวิตเมื่อได้รู้ว่าภรรยาคนสวย ‘อัลมา’ ไปแอบคบกับสถาปนิกหนุ่ม Walter Gropius (Gropius ต่อมาเป็นบุคคลสำคัญแห่ง Bauhaus) ความโศกเศร้าจากการนอกใจของอัลมานั้น เราเห็นได้จากต้นฉบับของซิมโฟนีหมายเลข 10 ซึ่งเต็มไปด้วยลายมือของมาห์เลอร์ที่เขียนระบายความทุกข์ใจ

หัวใจของมาห์เลอร์เต็มไปด้วยความหม่นหมองตรองตรม ทำให้เขาตัดสินใจขอคำปรึกษาจากจิตแพทย์ชื่อดังแห่งยุค ‘ซิกมุนด์ ฟรอยด์’ มาห์เลอร์ได้พบกับฟรอยด์ในบ่ายของวันที่ 26 สิงหาคม 1910 ที่เมือง Leiden เนเธอร์แลนด์ การพบกันในวันนั้นได้กลายเป็นเรื่องเล่าสืบต่อมาในปัจจุบัน ฟรอยด์ใช้หลักจิตวิทยาวิเคราะห์มาห์เลอร์ว่ามีปม ‘Oedipus Complex’ ในวัยเด็ก และมาห์เลอร์ใช้แรงขับส่วนนี้มาสร้างสรรค์งานดนตรี อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นปริศนาว่าแท้ที่จริงแล้วทั้งคู่ได้สนทนาอะไรกันบ้าง

ในช่วงชีวิตมาห์เลอร์ ชาวเวียนนานับถือเขาในฐานะผู้อำนวยเพลงโอเปร่า ซึ่งนำยุคทองของโอเปร่ามาสู่กรุงเวียนนา ทว่าบทเพลงที่เขาประพันธ์ขึ้นกลับไม่ได้รับการยกย่อง ผู้คนต่างเมินเฉย มองว่าเข้าใจยาก

แต่สถานการณ์ในปัจจุบันนั้นกลับกัน ซิมโฟนีของมาห์เลอร์กลายเป็นซิมโฟนียอดฮิตตามงานแสดงต่างๆ (ยกเว้นประเทศไทย) สมแล้วกับที่มาห์เลอร์เคยบอกไว้ “My Time will come.”



Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2551 16:13:46 น. 1 comments
Counter : 608 Pageviews.

 
Sawasdee ka, Came to your blog via Pantip - your kratoo on Barenboim to be precise, but since I don't have a log-in (even though I have been lurking in the Classical forum for ages - and never contributing, which is naughty of me, I know, given that it is quite a quiet forum and could do with more lively discussions), I thought I would leave a comment on your blog instead.

Anyway, I went to the whole Barenboim series (and was lucky enough to be in the front row choir seat). Magical. Of course, listening to the whole Beethoven 32 live is an experience in itself, but the thing with Barenboim recitals is that they are as much about his charisma and effect on the audience as the music. It may not be the best Beethoven playing ever, but it is rare to find the whole auditorium mesmerised. (I went to his Bach 48 cycle a couple of years ago as well and didn't like it, though. Angela Hewitt is playing that this year and you would think the pieces were written for the piano...)

As a side note, I particularly like the way Barenboim walked around the stage and seemed to almost thank the audience one by one. Oh, and Mitsuko Uchida was in the audience for 3 or 4 of the performances; it was fun trying to spot her.

Sorry this is quite long and unrelated to your entry above (apart from saying I am not a Mahler fan at all although I do agree with your last sentence - there are at least one performances of Mahler symphonies per month here in London)

PS> You probably are aware of it, but Mahler did have a brush with composing an opera early in his career when he completed one of Weber's unfinished (comic?) opera. The reason Mahler never wrote one is widely debated and I can't substantiate the following as I've read it somewhere some time ago. The mainstream view is that in line with Wagnerism, music for Mahler is not only about technique but also incorporates some sort of 'philosophical seriousness' and being a perfectionist, it is simply too much to work-rework-rehearse-rework a whole opera to get everything 'just right' and without imitating Wagner, especially as, in his view, opera is a form of high arts and not mere theatrical entertainment. There is also another view that many of his symphonies, the 8th(?) in particular which is based on Faust, are in fact operatic pieces along the line of Handel/Haydn oratorios and using instruments in place of voices.

PS2> If you haven't, try Pollini for the late Beethoven sonatas as well


โดย: Just passing by... IP: 199.67.203.141 วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:22:32:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

BlueWhiteRed
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add BlueWhiteRed's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.