Chapter V : เมื่อต้องลง MARC
ทักทายครับ

เรื่องทางวิชาการนี่หายไปหลายวัน - - ชักหมดไอเดีย ตอนที่แล้วยังไอเดียเพียบอยู่เลย คราวนี้เริ่มมอดซะแล้ว

ไม่ใช่อะไร - - ช่วงนี้งานยุ่งมาก ไหนต้องแค๊ต ไหนต้องเตรียมสอนอีก มีประชุมพวกคณะทำงานอะไรกันอีกก็ไม่รู้ (เฮ้อ! ขอถอนหายใจหน่อย ไอ้เราก็นึกว่างานบรรณารักษ์สบายซะอีก ถึงตอนนี้มันก็สายเกินกลับตัวแล้วหล่ะครับ)

นอกเรื่องนิดหนึ่งน่ะครับ มีใครก็ไม่รู้บอกไว้ว่า คณะทำงานคือกลุ่มคนที่ไม่รู้อะไร ถูกแต่งตั้งโดยคนที่ไม่รู้อะไร เพื่อมาทำงานเรื่องที่ก็ไม่จำเป็นต้องมีคณะทำงาน - - ขำขำครับ

*
*
*
มาต่อเรื่อง MARC น่ะครับ

ไม่เข้าใจก็ถามได้น่ะครับ เพราะตรงนี้บางส่วนเป็นtechnical term เล็กน้อย

ในบรรณานุกรม 1 อันเนี่ย MARC จะประกอบไปด้วย

1. ฟิลด์ (fields) ซึ่งในแต่ะฟิลด์บางครั้งก็จะมีซับฟิลด์(subfield) แล้วแต่ฟิลด์นั้นๆ โดยจะมีฟิลด์อาทิเช่นผู้แต่ง หัวเรื่อง ฯลฯ

ในและฟิลด์เนี่ยแหล่ะที่จะมีการกำหนดด้วยแท๊ก (tag) ที่จะมี 3 หลักเริ่มตั้งแต่ 0xxx - 9xxx

ในแต่ละฟิลด์ยังมีอินดิเคเตอร์อีก 2 หลัก ใช้ตัวเลขแทน โดยมีค่าตั้งแต่ 0-9

ยกตัวอย่างน่ะครับ

ใน tag 100 ฟิลด์ชื่อผู้แต่งที่เป็นบุคคล - - ชื่อผู้แต่งนี่มีหลายประเภทน่ะครับ ทั้งที่เป็นนิติบุคคล ก็ต้องลงอีกลักษณะหนึ่ง จะมาลง MARC แบบนี้ไม่ได้ - - ชักยากแล้วใช่ไหม

ผมเองกว่าจะเรียนรู้พอถูๆ ไถๆ อย่างปัจจุบันนี่ก็นานโข ด้วยความที่ไม่ได้เรียนในหลักสูตร ต้องมาเรียนรู้เองนอกหลักสูตร กว่าจะจับจุดได้ก็เหนื่อยเหมือนกัน

ยกตัวอย่างรักษาการนายกเราในปัจจุบันหล่ะกัน - - ไม่ได้มีเจตนาอะไรแอบแฝงจริงๆ เพียงแต่คิดว่าทุกคนคงรู้จักแน่นอน

ก็สามารถลง MARC ได้ดังนี้

100 0# |aทักษิณ ชินวัตร|d2492-

100 คือ tag
0 คืออินดิเคเตอร์ที่ 1 ที่หมายความว่าชื่อผู้รับผิดชอบ/ผู้แต่งคนนี้ไม่ต้องกลับเอานามสกุลขึ้นก่อน เพราะถ้าเป็นชาวต่างชาติอินดินเคเตอร์ตัวนี้จะเป็น 1 # คืออินดิเคเตอร์ที่ 2 คือ blank คือไม่ได้กำหนดไว้เลยใส่ blank ไว้
|a คือ subfield เป็นชื่อผู้รับผิดชอบ |d คือ subfield เป็นปีที่เกิดของผู้รับผิดชอบ คือถ้าบรรณารักษ์รู้ก็จะใส่ไป ไม่รู้ก็ไม่ต้องใส่

ทั้งนี้ใน tag 100 นี่ยังมี subfiled อีกไม่ต่ำกว่า 10 subfeild

คือถ้าจะใส่ครบก็ใส่กันสนุกหล่ะครับ

นี่ที่ยกตัวอย่างมานี่แค่ชื่อผู้รับผิดชอบที่เป็นบุคคลน่ะครับยังไม่ได้นับส่วนอื่นๆ พื้นฐานของหนังสือเลย เช่น ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง เลขหมู่ พิมพ์ลักษณ์ ฯลฯ

ผมยกตัวอย่างหนังสือเล่มหนึ่งจากห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันที่เขาเป็นคนกำหนดเจ้า MARC นี่แล้วกัน

000 01688cam a2200385 a 450
001 12103280
005 20041202101819.0
008 000711s2000 nyua c 000 1 eng
906 __ |a 7 |b cbc |c orignew |d 1 |e opcn |f 20 |g y-gencatlg
925 0_ |a acquire |b 2 shelf copies |x policy default
955 __ |a HAND CARRY to HLCD pb18 07-11-00; lb14 07-12-00; lb18 07-13-00;
lb11 07-17-00; lb05 07-17-00 to cip; lb16 07-21-00 added copy 3
010 __ |a 00131084
020 __ |a 0439139597
040 __ |a DLC |c DLC |d WaU |d DLC
042 __ |a lcac
050 00 |a PZ7.R79835 |b Hal 2000
082 00 |a [Fic]
100 1_ |a Rowling, J. K.
245 10 |a Harry Potter and the goblet of fire / |c by J.K. Rowling ; illustrations by
Mary GrandPré.
250 __ |a 1st American ed.
260 __ |a New York : |b Arthur A. Levine Books, |c c2000.
300 __ |a xi, 734 p. : |b ill. ; |c 24 cm.
500 __ |a "Year 4"--Spine.
500 __ |a Sequel to: Harry Potter and the prisoner of Azkaban.
520 __ |a Fourteen-year-old Harry Potter joins the Weasleys at the Quidditch
World Cup, then enters his fourth year at Hogwarts Academy where he is
mysteriously entered in an unusual contest that challenges his wizarding skills,
friendships and character, amid signs that an old enemy is growing stronger.
650 _0 |a Wizards |v Juvenile fiction.
650 _0 |a Magic |v Juvenile fiction.
650 _0 |a Hogwarts School of Witchcraft and Wizardry (Imaginary place) |v
Juvenile fiction.
650 _0 |a Schools |v Juvenile fiction.
651 _0 |a England |v Juvenile fiction.
650 _1 |a Wizards |v Fiction.
650 _1 |a Magic |v Fiction.
650 _1 |a Schools |v Fiction.
651 _1 |a England |v Fiction.
700 1_ |a GrandPré, Mary, |e ill.

เป็น MARC ของบรรณานุกรมหนังสือ 1 เล่ม

ลองกะดูคร่าวๆ น่าจะมี subfield กว่า 100 subfield ได้

คุณ ๆ ลองเดาดูซิครับว่าที่ผมยกตัวอย่างมานี่จะเป็นของหนังสือชื่อเรื่องอะไร ใบ้ให้นิด เป็นหนังสือดังมาก
*
*
*
มันเป็น MARC ของหนังสือชื่อ Harry Potter and the goblet of fire นั่นเองครับ

สงสัยไหมผมดูจากตรงไหน ถึงรู้ว่ามันชื่อเรื่องนี้ ให้ดูตรง tag 245 นั่นไงครับ ตรง subfiled a

ให้สังเกต tag 100 น่ะครับ indicator ตัวแรกมีค่าเป็น 1 เพราะเอานามสกุลขึ้นก่อน จะแตกต่างจากที่ผมยกตัวอย่างไปก่อนหน้านี้

และให้ดู tag 520 ตรงนี้เป็น field สำหรับเนื้อเรื่องย่อถ้าเป็นพวกวิจัยก็จะเป็น abstract ครับ

จริงๆ แล้ว MARC สามารถลงสารบัญของหนังสือได้ด้วยน่ะครับ อยู่ที่ tag 505 แต่เล่มนี้บรรณารักษ์อาจจะขี้เกียจลงหรือเห็นว่าเล่มนี้ไม่จำต้องลงก็ได้ (แต่แนวโน้มน่าจะเป็นเหตุผลหลังน่ะครับ ก็บรรณารักษ์อย่างพวกผมน่ะขยันจะตาย ^_^)

ใน tag 65x เป็นหัวเรื่อง ยังจำได้ไหมครับว่าหัวเรื่องคืออะไร ถ้าจำไม่ได้ ให้มีดู chapter II (ขี้เกียจพิมพ์ซ้ำครับ ^_^) subfield a เป็นหัวเรื่องหลัก subfiled v เป็นหัวเรื่องรองที่เป็นประเภทของสารสนเทศ

จะเห็นว่า ถ้าบรรณารักษ์ขยันมากแค่ไหนก็จะลงรายการได้ละเอียดเท่านั้น

แบบที่ยกตัวอย่างมานี่ บรรณารักษ์แกลงได้ละเอียดมาก เช่นหัวเรื่องให้ตั้ง 9 หัวเรื่อง มีโน๊ต 2 แห่ง (tag 500)
*
*
*
จะเห็นว่าตัวระบบห้องสมุดฯ จำเป็นต้องมีการจำแนกพวก field และ subfield รวมถึง indicator เหล่านี้ให้ได้

ใน MARC ที่ผมยกตัวอย่างมานี่ผมว่ามี tag ประมาณ 30 tag ได้ subfield ทั้งหมดนี่น่าจะหลักร้อยขึ้นไป นับเป็นส่วนน้อย เพราะหนังสือแต่ละเล่นการลงรายการในแต่ละ field และ subfield สามารถแตกต่างกันได้

ยังไม่รวมถึงตัวฐานข้อมูลในส่วนของสมาชิกอีก จำนวนสิทธิการยืม ประเภทนี้ยืมได้กี่วัน ค่าปรับกี่บาท อะไรทำนองเนี้ย

เห็นไหมหละครับว่าฐานข้อมูลห้องสมุดมันเยอะแยะขนาดไหน แล้วห้องสมุดปัจจุบันมีแค่หนังสือซะที่ไหนหล่ะครับ

มีทั้งซีดีรอม ฐานข้อมูล วารสาร หนังสือพิมพ์ แผนที่ ฯลฯ

*
*
*
วันนี้มีโอกาสคุยกับคนที่ใช้ระบบห้องสมุดอีกตัว (ที่ไม่ใช่ยักษ์ใหญ่แห่งวงการระบบห้องสมุดอย่าง Innopac ) เห็นว่า ณ ตอนนี้เขาเสียค่าบำรุงปีละ 300,000 บาท

ซึ่งระบบนี้นิยมใช้ในห้องสมุดขนาดเล็ก - กลาง แต่อย่างที่ผมเคยบอก ถ้าห้องสมุดมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ส่วนใหญ่จะใช้ Innopac หรือไม่ก็ Dynix

เอ...แล้วนี่ประเทศไทยไม่เคยมีใครเคยเขียนระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่สามารถรองรับ MARCออกมาให้ใช้กันบ้างเลยหรือ

ทำไมเราต้องเสียเงินกันเป็น แสนๆ ล้านๆ ซื้อระบบฯจากนอกประเทศ รู้ๆ อยู่ว่าเราขาดดุลต่างประเทศปีๆ หนึ่งไม่รู้กี่ล้าน

มีครับ ระบบนั้นชื่อว่า ALIST

แล้วถ้ามีโอกาสจะมาเล่าถึงระบบ ALIST นี้ให้ฟัง (นี่ไม่ใช่โฆษณาขายสินค้าน่ะ)



Create Date : 07 กันยายน 2549
Last Update : 11 กันยายน 2549 11:56:21 น.
Counter : 684 Pageviews.

12 comments
  
ALIST for Windows หรือเปล่าครับ เคยเจอที่สวนสุนันทาสมัยเรียน ตอนนี้ไม่ทราบใช้ระบบไหนแล้ว

ปล.ยินดีที่เจอคนอาชีพเดียวกันนะครับ
โดย: สายลมสีชา วันที่: 9 กันยายน 2549 เวลา:12:48:41 น.
  
คนละอันน่ะครับ

อันนั้งคงจะเป็น ALICE ครับ

ออกเสียงคล้ายๆ กัน
*
*
*
ยินดีที่ได้รู้จักครับ

โดย: บรรน่ารัก IP: 202.12.74.6 วันที่: 10 กันยายน 2549 เวลา:11:45:36 น.
  
อืมม์ มีมาอีกคนแล้วเหรอ "อาชีพเดียวกัน" เนี่ย ^_^
โดย: ดาริกามณี วันที่: 11 กันยายน 2549 เวลา:20:06:09 น.
  
อืมๆ อ่านๆไปก็เริ่มๆจำได้
ตอนฝึกงานที่หอสมุดแห่งชาติก็ลง MARC นี่ล่ะ
โดย: wanwitcha วันที่: 13 กันยายน 2549 เวลา:10:35:18 น.
  
ว้าว! คุณ wanwitcha ฝึกงานที่หอชาติหรือครับ
โดย: บรรน่ารัก IP: 202.12.74.6 วันที่: 14 กันยายน 2549 เวลา:9:53:06 น.
  
สวัสดีค่ะพี่ๆ ทุกคน
หนูกำลังศึกษาในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ชั้นปีสุดท้าย กำลังจะออกฝึกงานในเทอมหน้านี้ คือ พฤศจิกายน-มกราคม แต่ยังไม่ทราบว่าจะต้องเตรียมตัวเรื่องอะไรบ้าง
อยากให้พี่ๆ ที่เคยทำงานแล้วแนะนำด้วยค่ะ
กำลังจะออกสังคมการเรียนสู่สังคมการทำงาน น้องขอฝากตัวกับพวกพี่ๆ ด้วยนะคะ
โดย: lamy IP: 210.246.184.252 วันที่: 17 กันยายน 2549 เวลา:13:08:58 น.
  
ถูกต้องนะคับ คุณ บรรณน่ารัก ฝึกที่หอชาติ
ตอนนั้นคิดแค่ขอฝึกใกล้ๆที่พักอ่ะ เดินเอาไม่ต้องนั่งรถเมล์ ประหยัดๆๆๆๆ
แต่แอบน้อยใจ รุ่นพี่บอกว่า ฝึกหอชาติ กี่รุ่นๆได้อย่างเก่งก็ B+ ไม่เคยมีใครได้ A
อ้ายเราก็ไม่เชื่อ สุดท้าย ได้แค่ B+ จริงๆ
เพื่อไปฝึกที่ ธรรมศาสตร์ ได้Aกลับมาทุกคนอ่ะ

โดย: wanwitcha วันที่: 18 กันยายน 2549 เวลา:14:23:50 น.
  
สำหรับคุณ lamy ให้เตรียมตัวกับเตรียมใจครับ

กายพร้อม ใจพร้อม (เหมือนโฆษณาไปหรือเปล่าเนี่ย )
*
*
*
สังคมการทำงานบางอย่างคงต้องตามวัฒนธรรมองค์กรนั้นๆ ด้วยน่ะครับ อย่าเอาแต่ในตำราซะอย่างเดียว

ขอให้โชคดีครับ - - ไม่ใช่ซิต้อง A สถานเดียว ได้ B+ แบบ คุณ wanwitcha นี่มันน่าน้อยใจแทนคุณ wanwitcha จริงๆ เลยน่ะเนี่ย สงสัยมาตรฐานที่หอชาติคงสูงมาก

แล้วก็ยินดีต้อนรับบรรณารักษ์ใหม่ในอนาคตครับ
โดย: บรรน่ารัก IP: 202.12.74.8 วันที่: 19 กันยายน 2549 เวลา:10:59:48 น.
  
เอ่อ มาช่วยแก้ไข

100 0# |aทักษิณ ชินวัตร|d2492-

ก่อน |d ต้องมี comma (,) คั่นด้วยเน้อ

100 0# |aทักษิณ ชินวัตร,|d2492-
โดย: cat เก้อ IP: 58.8.135.209 วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:23:53:51 น.
  
พอดีว่าไปสอบทำงานเข้าจุฬาแต่จบ บัญชีก็เลยงงค่ะ ว่า การลงรายการแบบแองโกอเมริกันหรือ marc คืออะไร เลยทำข้อสอบไม่ได้ วันนี้ก็ได้คำตอบแล้วแต่ว่าก็ยังไม่ละเอียดเท่าไหร่ ถ้ามีรายละเอียดการลงรายการมากกว่านี้จะขอบคุณค่ะ
โดย: jeed IP: 203.113.51.164 วันที่: 17 ธันวาคม 2550 เวลา:21:16:53 น.
  
ยินดีท่ได้รู้จักจ๊ะ
บังเอิญผ่านเข้ามาก้อเลยอยากมาทักทายคนอาชีพเดียวกัน
เป็นบรรณารักษ์อยู่เทคโนฯบางมดค่ะ
แต่MARC ยังเอ๋อๆอยู่ ต้องฟื้นอีกเยอะ
หนักฐานข้อมูลมากกว่า
จะชอบผิดตรง tag 100กะ245แล้วก็พวกผู้แต่งร่วม นิติบุคคลอะไรประมารเนี้ยจ้า
โดย: mygirl_tk9@hotmail.com IP: 202.28.5.6 วันที่: 4 มีนาคม 2552 เวลา:7:52:36 น.
  
koha ก็เป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่สามารถรองรับ MARC ที่ดีไปกว่านั้นคือเป็นโปรแกรมแบบ open source นะครับไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
โดย: waropat IP: 124.122.138.220 วันที่: 16 เมษายน 2554 เวลา:15:15:24 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

บรรน่ารัก
Location :
ภูเก็ต  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



"I have always imagined that Paradise will be a kind of library"
-Jorge Luis Borges-