images by free.in.th
"
Group Blog
 
All blogs
 
คณิตศาสตร์โอลิมปิกญี่ปุ่น ระดับจูเนียร์ ปี 2003-2009 : บันไดขั้นแรกสู่การแข่งขันระดับนานาชาติ

6 วันผ่านไปแล้วสำหรับงานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 15
คิดว่าหลาย ๆ คนคงได้ไปเดินเล่นที่งานกันมาบ้างแล้ว (บางคนก็อาจจะหลายครั้งแล้วด้วย )

สำหรับใครที่ยังไม่ได้ไป ก็เหลือเวลาอีกเพียงแค่ 5 วันเท่านั้นนะคะ เคลียร์คิวให้ว่าง นัดคนไปด้วยให้พร้อม แล้วลุยเลยค่ะ อย่ารีรอ
友達、ブックフェアへ行きましょう。(เพื่อน ๆ ไปงานหนังสือกันเถอะ เย้ !)

และสำหรับสัปดาห์สุดท้ายของงานมหกรรมหนังสือระดับชาตินี้ ส.ส.ท. ของเราก็ยังมีของฝากมาส่งท้ายกันอีกชิ้นหนึ่ง นั่นคือ...

บันไดขั้นแรกสำหรับเยาวชนที่ต้องการชิงชัยในการแข่งขันคณิตศาสตร์ระดับนานาชาติ ผลงานเล่มใหม่ล่าสุดที่ออกมาเพื่อเอาใจบรรดาน้อง ๆ ที่คลั่งไคล้คณิตศาสตร์โดยแท้

นั่นก็คือ คณิตศาสตร์โอลิมปิกญี่ปุ่น ระดับจูเนียร์ ปี 2003-2009 เล่มนี้นี่เองง !!!







คณิตศาสตร์โอลิมปิกญี่ปุ่น ระดับ Junior ปี 2003-2009
ผู้เรียบเรียง: The Mathematical Olympiad Foundation of Japan
ผู้แปล: ดร.บัณฑิต โรจน์อารยานนท์
ขนาด: 145 x 210 mm.
จำนวนหน้า: 344 หน้า
ISBN: 9789744434265


ได้ยินแล้วบางคนอาจสงสัยว่า คณิตศาสตร์โอลิมปิกญี่ปุ่น ระดับจูเนียร์ คืออะไร ?

ก็ขออธิบายที่มาให้ทราบว่า ที่ญี่ปุ่น (รวมถึงประเทศอื่น ๆ และประเทศไทยด้วย) จะมีการจัดสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ภายในประเทศ เพื่อคัดตัวแทนเยาวชนไปแข่งขันคณิตศาสตร์ในเวทีระดับโลก หรือที่รู้จักในชื่อ IMO ซึ่งย่อมาจาก The International Mathematical Olympiad หรือ "คณิตศาสตร์โอลิมปิก" ที่พวกเราคนไทยคุ้นหูกันดีนั่นเอง

แต่การสอบแข่งขันภายในประเทศญี่ปุ่นจะเรียกในชื่อ JMO (ของไทยเราก็มีนะคะ เดิมจัดการสอบในชื่อ TMO หรือ Thai Mathematical Olympiad แต่ปัจจุบันเรียกในชื่อ “คณิตศาสตร์โอลิมปิก สอวน.” ที่จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ)

ดังนั้นเพื่อเป็นการลองสนามหรือจะเรียกว่าเป็นการเตรียมตัวเด็ก ๆ ของเค้าก็ได้ ที่ญี่ปุ่นจึงมีการจัดสอบแข่งขันในระดับ ม.ต้น ด้วย ซึ่งลักษณะข้อสอบจะเป็นแนวเดียวกับคณิตศาสตร์โอลิมปิก แต่ระดับความซับซ้อนรวมถึงเวลาที่ใช้จะต่างกับของพี่ ม.ปลาย และการสอบในระดับนี้จะเรียกว่า JJMO (Japan Junior Mathematic Olympiad) ซึ่งก็เป็นที่มาของหนังสือเล่มนี้นั่นเอง....


เอาละ...ได้รู้จักที่มาที่ไปกันไปแล้ว

งั้นเรามาเข้าเรื่องเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้เลยแล้วกันนะคะ

เนื้อหาหลัก ๆ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็น ภาคข้อสอบ ซึ่งเป็นข้อสอบเด่น ๆ และน่าสนใจที่รวบรวมมาจากการแข่งขันคณิตศาสตร์ระดับ ม.ต้น ของหลายประเทศ ทั้งจากญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป (แต่บางข้อก็อาจเป็นของระดับพี่ ม.ปลาย พ่วงมาเป็นของแถมให้ด้วยนะคะ)

ส่วนนี้มีไว้เพื่อให้น้อง ๆ ได้ลองฝึกแก้โจทย์และทำความคุ้นเคยกับการทำข้อสอบในแนวคณิตศาสตร์โอลิมปิก เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าโจทย์คณิตศาสตร์โอลิมปิกนั้น ส่วนใหญ่ไม่ใช่โจทย์ที่ให้หาคำตอบอย่างตรงไปตรงมาเหมือนที่ใช้สอบกันในโรงเรียน แต่เป็นโจทย์ที่ต้องมีการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และต้องใช้ทฤษฎีหรือหลักการต่าง ๆ ของคณิตศาสตร์มาช่วยแก้ปัญหา

แต่รู้อย่างนี้ก็อย่าเพิ่งท้อนะคะ...บอกแล้วว่าเป็นส่วนที่ใช้ฝึกปรือ จึงมีทั้งโจทย์ที่ง่ายและยากคละเคล้ากันไป ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระดับ โดยระดับความยาก-ง่ายนี้จะแทนด้วยสัญลักษณ์รูปดาว ถ้าเป็นข้อที่ง่ายหน่อยก็จะมี 1 ดาว ส่วนข้อที่ยากที่สุดจะเป็น 5 ดาวนะคะ


คำแนะนำสำหรับการใช้หนังสือเล่มนี้คือ ในการแก้โจทย์แต่ละข้อให้ลองใช้ความพยายามจนถึงที่สุดก่อน จากนั้นถ้ายังแก้โจทย์ไม่ได้ หรือยังนึกไม่ออกอยู่ดีว่าจะไปทางไหนดี เราก็ยังมีตัวช่วย นั่นคือจะมีข้อแนะนำให้พลิกไปดูที่หลักการหรือทฤษฎีซึ่งอยู่ในส่วนที่ 2 คือ ภาคความรู้พื้นฐาน ให้น้อง ๆ ได้ฟื้นความจำว่าถ้าใช้สูตรนี้หรือหลักการนี้น่าจะหาทางแก้โจทย์ได้แน่ ๆ

...แต่สุดท้าย ถ้ายังคิดไม่ออกจริง ๆ จะดูเฉลยเลยแล้วทำความเข้าใจตาม ก็ไม่ว่ากันนะคะ เพราะบ่อยครั้งเราก็เรียนรู้ได้จากประสบการณ์ของคนอื่นเหมือนกัน จริงไหมคะ...

ด้านล่างเป็นตัวอย่างโจทย์จากส่วนแรก ให้เห็นเป็นน้ำจิ้มว่าโจทย์ที่บอกว่าให้ลองฝึกฝีมือนั้นเป็นยังไง




ผ่านไป 2 ส่วนแล้วนะคะ สุดท้ายก็มาถึงการลงสนามแข่งจริงจนได้ นั่นคือ ภาครวมข้อสอบคณิตศาสตร์โอลิมปิกของ JJMO ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003-2009 โดยข้อสอบในแต่ละปีมีประมาณ 12 ข้อ ให้เวลาทำ 2-3 ชม. (จำนวนข้อและจำนวน ชม. อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับข้อสอบในแต่ละปี) ขอกระซิบว่าของจริงไม่ง่ายเลยค่ะ เชื่อว่าพี่ ม.ปลายหลายคนที่ไม่ชำนาญข้อสอบแนวนี้ เห็นแล้วคงอึ้งไปเหมือนกัน ...

มาดูตัวอย่างจากข้อสอบของ JJMO ปี 2005 กันค่ะ



วิธีทำคือ



เหตุผลที่ยกข้อนี้มาเป็นตัวอย่าง เพราะ บ.ก. รู้สึกประทับใจเป็นพิเศษกับการเฉลยหรือวิธีพิสูจน์ของเค้าที่เรียบง่าย ชัดเจน และกระชับจริง ๆ ค่ะ คือถ้าไม่พิสูจน์ด้วยวิธีนี้ ก็ยังนึกไม่ออกเลยว่าการพิสูจน์จะออกมาในแนวทางไหนหรือว่าจะยืดยาวไปได้สักแค่ไหน ถ้าใครดูแล้วเห็นว่าน่าจะมีวิธีพิสูจน์ที่ง่ายกว่านี้ก็ลองมาแลกเปลี่ยนกันได้นะคะ


หวังว่าผลงานเล่มใหม่ล่าสุดนี้จะเป็นที่ถูกอกถูกใจแฟน ๆ คณิตศาสตร์ของ สำนักพิมพ์ ส.ส.ท นะคะ

หรืออาจไม่ใช่แค่ถูกใจ เพราะผู้แปลท่านบอกมาว่า “รับรองว่าถึงใจแน่ ๆ” ได้ยินอย่างนี้แล้วก็อย่าพลาดนะคะ

ลองไปหยิบไปจับกันดูว่าจะ “ถูกใจ” หรือ “ถึงใจ” ซักแค่ไหน...


=======================================

แวะเยี่ยมบูท ส.ส.ท. ในงานมหกรรหนังสือระดับชาติครั้งที่ 15 21-31 ต.ค. 53
ได้ที่ R56 โซน C2

แวะชมหนังสือใหม่เล่มอื่น ๆ ของ สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.




Create Date : 27 ตุลาคม 2553
Last Update : 10 กันยายน 2557 9:05:54 น. 0 comments
Counter : 3262 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

textbook
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 20 คน [?]




สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. สรรค์สร้างสาระสู่สังคม
มุ่งมั่นผลิตตำราวิชาการและหนังสือเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ การบริหารจัดการ ด้านส่งเสริมการศึกษา เพื่อการพัฒนาตนเองและองค์กร สำหรับภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรม
Friends' blogs
[Add textbook's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.