คนเราเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ แล้วทำยังไง?? ให้รู้..ในสิ่งที่ควรรู้...
 
ทำไมต้องจุดธูป 3 ดอก เทียน 2 เล่ม?

เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมเวลาไปไหว้พระต้องจุดธูป 3 ดอก เทียน 2 เล่ม และดอกไม้อีก หรือที่เราเรียกกันว่า เอาดอกไม้ธูปเทียนไปไหว้พระ

ทำไมธูปต้อง 3 ดอก?
ทำไมเทียนต้อง 2 เล่ม?
แต่ดอกไม้ ไม่เห็นมีการจำกัดว่าต้องเป็นดอกนั้นดอกนี้?

จากที่ค้นคว้ามาก็มีหลากหลายความเห็น จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ หรือว่าเค้าเล่าต่อกันมา เค้าเล่าว่า เค้าเล่าว่า แล้วควรเชื่ออันไหนดี

สำหรับผม ผมเลือกเชื่อนักปราชญ์ดีกว่า ซึ่งบุคคลที่ผมเลือกเชื่อก็คือ ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ท่านเป็นพระที่น่านับถือและมีสติปัญญาเป็นที่เลื่องลือมาก เชื่อบัณฑิตอย่างท่านน่าจะปลอดภัยกว่า ท่านกล่าวว่า

การจุดธูป เทียน และถวายดอกไม้นั้นเป็นการบูชาพระรัตนตรัย ซึ่งก็คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั่นเอง โดยความหมายของแต่ละอย่างนั้นก็คือ

ธูป 3 ดอก เป็นการบูชาคุณ 3 อย่างของพระพุทธเจ้า นั่นคือ

พระปัญญาิคุณ ที่ท่านตรัสรู้
พระวิสุทธิคุณ ความบริสุทธิ์จากการที่พระองค์ตรัสรู้
พระมหากรุณาิคุณ ความเมตตากรุณาที่พระองค์มีต่อสรรพสัตว์

แล้วทำไมธูปต้องหอม กลิ่นหอมของธูปก็เปรียบเสมือนกลิ่นคุณความดี หรือกิตติศัพท์ คุณความดีของพระองค์ ซึ่งกลิ่นของความดีนั่นดีกว่ากลิ่นของธูป เพราะกลิ่นธูปนั่นต้องไปตามลมเท่านั่น ในขณะที่กลิ่นความดี ไปทวนลมก็ได้ ฟุ้งกระจายไปได้รอบทิศทาง

เทียน 2 เล่ม เป็นการบูชาพระธรรม ซึ่งศาสนาพุทธแยกออกเป็น 2 ส่วนคือ พระธรรม กับ พระวินัย ที่มักจะได้ยินรวมกันว่า พระธรรมวินัย ทั้งสองอย่างต้องควบคู่กันจึงจะทำให้พุทธศาสนาอยู่ยั่งยืน ถ้ามีพระธรรม ไม่มีพระวินัย ศาสนาก็อยู่ไม่นาน ถ้ามีแต่พระวินัย ไม่มีพระธรรม ก็ไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าพระวินัยจะสื่อไปถึงอะไร

พระธรรม คือเนื้อหาสาระ ธรรมคำสั่งสอนที่พระพุทธเจ้าสอน
พระวินัย คือรูปแบบ การจัดตั้งวางแผน วางระบบ ทำให้สามารถสื่อธรรมะ หรือพระธรรมออกไปได้ในวงกว้าง มีแบบแผนชัดเจน

เทียนจุดแล้วสว่าง ก็เปรียบเสมือนแสงสว่างหรือปัญญา นำทางให้กับผู้คนได้ดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง มองเห็นทางเดินได้ถูกเส้นทาง มีพระธรรมนำทางย่อมเดินอยู่บนเส้นทางที่ถูกและปลอดภัย

ดอกไม้ เป็นการบูชาพระสงฆ์

ดอกไม้ไม่ได้จำกัด ไม่ได้ระบุประเภท จึงมีการนำดอกไม้หลากหลายสี หลากหลายพันธ์มาบูชา ดอกไม้ที่นำมาบูชาจึงมีสารพัด มีสีต่างๆ มีพันธ์ต่างๆ เล็กบ้างใหญ่บ้าง และเวลานำมาบูชาก็มักจะมีการจัดให้สวยงาม เช่น จัดเป็นพวงมาลาพวงมาลัย จัดใส่แจกัน จัดใส่พาน ซึ่งดูเป็นระเบียบเรียบร้อย

ดอกไม้พวกนี้ก็โยงไปเปรียบเทียบกับพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่คณะ เป็นชุมชน ประกอบด้วยพระสงฆ์ที่มาจากชาติตระกูลต่างๆ กัน ภูมิหลังการศึกษา การอบรมต่างๆ กัน ชีวิตความรู้สึกจิตใจต่างกัน คือมีความต่างกันในหลายๆ อย่าง แต่พอเข้ามารวมกันเป็นคณะสงฆ์ อยู่ในหมู่สงฆ์ด้วยกัน จะมีวินัยอันหนึ่งอันเดียวกัน และปฏิบัติตามธรรมะของพระพุทธเจ้าอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยเฉพาะปฏิบัติตามพระวินัยอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงทำให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ก็มีความงดงาม

ซึ่งเปรียบเสมือนดอกไม้ต่างสีต่างพันธ์ดอกเล็กดอกใหญ่มากมายนั้น ช่างจัดดอกไม้สามารถจัดให้ดูสวยงามได้ ทำให้การบูชาดอกไม้เปรียบเหมือนกับการบูชาพระสงฆ์นั่นเอง เพราะพระสงฆ์เมื่อมารวมกันแล้วปฏิบัติตามพระวินัยก็ดูงดงามเรียบร้อย น่าเคารพบูชา

อย่างไรก็ตาม การบูชาในพุทธศาสนามีอยู่ 2 อย่างคือ อามิสบูชา และปฏิบัติบูชา

อามิสบูชา คือการบูชาด้วยสิ่งของ การบูชาธูปเทียนดอกไม้นั้นก็จัดว่าเป็นอามิสบูชา เป็นการแสดงออกของความมีน้ำใจ การแสดงออกถึงความเคารพ เราจึงบูชาด้วยสิ่งของเหล่านี้ แต่การบูชาแบบนี้พระพุทธเจ้าไม่นิยมสรรเสริญ

ธรรมบูชา หรือเรียกอีกอย่างว่า ปฏิบัติบูชา คือการปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ถือว่าเป็นการบูชาที่สูงสุดและพระพุทธเจ้านิยมสรรเสริญมากกว่าอามิสบูชา เพราะว่าพระองค์ไม่ได้ต้องการสิ่งของจากพุทธศาสนิกชน แต่พระองค์ต้องการให้ทุกคนปฏิบัติธรรม ตามที่พระองค์ได้ทรงเผยแผ่มากกว่า ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้ปฏิบัติเอง พระองค์ไม่ได้รับประโยชน์อันใดเพิ่มขึ้นเลย

----------------------------------------------------

ส่วนการจุดธูป 1 ดอก 5 ดอก 7 ดอก 9 ดอก หรือมากมายกว่านั้น ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ไม่ได้กล่าวไว้ แล้วที่มีการกล่าวอ้างกันสืบๆ ต่อกันมา ก็หาหลักฐานไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าเป็นพิธีกรรมของศาสนาอื่นหรือเปล่า ศาสนาพุทธเราจริงๆ มีพิธีกรรมน้อยมากๆ สิ่งที่เราเห็นกันปัจจุบันนี้ ปะปนกันเยอะมาก บางอย่างเป็นของพราหมณ์ ฮินดู หรือของศาสนาอื่น แต่เราเข้าใจไปว่าเป็นพุทธก็มี

เพราะคนเราเกิดมาพร้อมกับความ "ไม่รู้" ไงครับ เมื่อไม่รู้แล้วรออะไรล่ะครับทุกท่าน???? อยู่เฉยๆ จะรู้ขึ้นมาได้เองได้ยังไงล่ะครับ????



Create Date : 28 ตุลาคม 2550
Last Update : 28 ตุลาคม 2550 1:26:55 น. 15 comments
Counter : 19285 Pageviews.  
 
 
 
 
ผมก็เคยรู้มาอย่างที่ท่านพระอาจารย์ว่าล่ะคับ
 
 

โดย: เก่งกว่าผมตายไปหมดแล้ว วันที่: 28 ตุลาคม 2550 เวลา:12:37:41 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากค่ะพอดีพระอาจารย์ให้มาศึกษาตอนแรกเข้าใจว่าธูปสามดอกนั้นหมายถึงการบยูชา พระพุทธ พระธรม และพระสงฆ์
 
 

โดย: แพลน แพลน IP: 118.173.53.155 วันที่: 19 พฤษภาคม 2552 เวลา:19:18:44 น.  

 
 
 
ขอบคุณมากค่ะพอดีพระอาจารย์จะมีสอบก้อเลยใช้ได้
 
 

โดย: สิ่งไม่รู้มีอีกมาก IP: 183.89.237.27 วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:15:49:43 น.  

 
 
 
สาธุ.... ^^
 
 

โดย: JACKMAJOR IP: 10.0.2.245, 58.9.72.186 วันที่: 25 มิถุนายน 2555 เวลา:0:07:30 น.  

 
 
 
สวัสดี
 
 

โดย: dap IP: 223.206.176.117 วันที่: 20 กรกฎาคม 2555 เวลา:13:01:19 น.  

 
 
 
ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง
 
 

โดย: wasan IP: 223.205.128.128 วันที่: 12 มิถุนายน 2556 เวลา:16:41:09 น.  

 
 
 
ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง
 
 

โดย: wasan IP: 223.205.128.128 วันที่: 12 มิถุนายน 2556 เวลา:16:41:18 น.  

 
 
 
พะ
 
 

โดย: อิอิ IP: 118.173.102.93 วันที่: 12 มิถุนายน 2556 เวลา:20:04:24 น.  

 
 
 
ขอบคุณ
 
 

โดย: โลกธรรม๘ IP: 49.231.101.178 วันที่: 30 สิงหาคม 2556 เวลา:11:14:43 น.  

 
 
 
ขอบคุณ
 
 

โดย: โลกธรรม๘ IP: 49.231.101.178 วันที่: 30 สิงหาคม 2556 เวลา:11:15:50 น.  

 
 
 
สาธุ ๆ ๆ.....ขอบคุณสำหรับความรู้
 
 

โดย: บัวใต้นํา IP: 87.127.181.186 วันที่: 9 ตุลาคม 2556 เวลา:9:54:39 น.  

 
 
 
ขอบคุนมากน่ะค้าาาาา กว่าจะทำการบ้านได้
 
 

โดย: ทนยสวท่นยวงสใว IP: 223.205.56.50 วันที่: 5 กรกฎาคม 2558 เวลา:16:22:02 น.  

 
 
 
ชอบมากๆครับขอบคุณจริงๆ
 
 

โดย: buddapraphantha IP: 119.76.67.25 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2558 เวลา:11:10:11 น.  

 
 
 
ขอบคุณครับ
 
 

โดย: ภูวสิษฎ์ IP: 202.129.52.103 วันที่: 22 กรกฎาคม 2562 เวลา:12:47:10 น.  

 
 
 
ยิ้มได้
 
 

โดย: ป้อม IP: 171.101.101.6 วันที่: 6 เมษายน 2565 เวลา:5:28:12 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

Bluefriday
 
Location :
Umea Sweden

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ปี 2522 ผมยังเด็กอยู่เลย ตอนนี้อายุเท่าไหร่แล้วหว่า!!
[Add Bluefriday's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com